การทำงานของเครื่องบังคับการยิง

ฉ. การทำงานของเครื่องบังคับการยิง

         ๑. ยิงเป็นชุด ในการยิงเป็นชุดนั้นผู้ยิงยังคงเหนี่ยวไกอยู่ตลอดเวลาในการที่ผู้ยิงเหนี่ยวไกอยู่ตลอดเวลานี้หัว สะพานไกจะลดตัวต่ำอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นทุกครั้งที่ลูกเลื่อนปิดท้ายรังเพลิงสนิทและขัดกลอนเรียบร้อยแล้วกระ เดื่องไก ซึ่งเคื่ลอนที่มาพร้อมกับลูกเลื่อนจะถูกปลายสะพานไกกดให้ต่ำลงปลดปล่อยให้หลอดต่อท้ายเข็มแทงชนวนเป็นอิสระจากกระเดื่องไกแหนบรับเข็มแทงชนวนจะขยายตัวส่งให้เข็มแทงชนวนวิ่งไปข้างหน้าเพื่อแทงชนวนท้ายปลอกกระสุนปืนจึงยิงเป็นชุด

         ๒. ยิงทีละนัด เมื่อต้องการจะยิงทีละนัด ให้ปลดคันบังคับเหล็กปลดลูกเลื่อนขึ้นข้างบน เมื่อปลดคันบังคับเหล็กหยุด ลูกเลื่อนออก เหล็กหยุดลูกเลื่อนจะเป็นอิสระจากแรงกดของปลายคันบังคับเหล็กหยุดลูกเลื่อนแหนบเหล็กหยุด ลูกเลื่อนจะกดปลายเหล็กหยุดลูกเลื่อนจะกดปลายเหล็กหยุดลูกเลื่อนลดตัวต่ำลงเมื่อลูกเลื่อนถอยมาข้างหลัง จนกระทั่งท้ายลูกเลื่อนมาสัมผัสกับปลายเหล็กหยุดลูกเลื่อนแล้ว ท้ายลูกเลื่อนจะดันให้ปลายเหล็กหยุดลูกเลื่อนขึ้น ไปข้างบนหลีกทางให้ลูกเลื่อนเคลื่อนที่มาข้างหลังได้อีกต่อไป เมื่อลูกเลื่อนเคลื่อนที่มาข้างหลังจนสุดระยะถอยแล้วเหล็กหยุดลูกเลื่อนจะอยู่ตรงกับร่องบากบนท้ายลูกเลื่อนเมื่อเหล็กหยุดลูกเลื่อนอยู่ตรงกับร่องบากบนท้าย ลูกเลื่อน แล้วแหนบเหล็กหยุดลูกเลื่อนจะขยายตัวกดให้เหล็กหยุดลูกเลื่อนลดตัวต่ำลงไปขัดลูกเลื่อนไว้ทำให้ ลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไปข้างหน้าไม่ได้ ปืนจึงหยุดยิง

         เมื่อต้องการจะยิงต่อไปจะต้องกดคันบังคับเหล็กหยุดลูกเลื่อนลงข้างล่าง ในการที่กดคันบังคับเหล็ก หยุดลูกเลื่อนลงข้างล่างนี้ปลายคันบังคับเหล็กหยุดลูกเลื่อนจะหมุนปลายเหล็กหยุดลูกเลื่อนขึ้นข้างบนจนกระทั่งพ้น จากลูกเลื่อน แหนบส่งลูกเลื่อนจึงส่งให้ลูกเลื่อนวิ่งไปข้างหน้า ปืนจึงจะทำการยิงต่อไปได้ เมื่อต้องการยิงเป็น ชุดต้องกดคันบังคับเหล็กหยุดลูกเลื่อนลงข้างล่าง แล้วหมุนปลอกเก็บคันบังคับเหล็กหยุดลูกเลื่อนไปทางซ้าย จนกระทั่งขอปลอกเก็บคันบังคับเหล็กหยุดลูกเลื่อนเกี่ยวคันบังคับเหล็กหยุดลูกเลื่อนไว้ไม่ให้หมุนขึ้นข้างบนได้ ใน การบังคับเหล็กหยุดลูกเลื่อนหมุนขึ้นข้างบนนี้เอง ปลายคันบังคับเหล็กหยุดลูกเลื่อนจะผลักให้ปลายเหล็กหยุด ลูกเลื่อนจะผลักให้ปลายเหล็กหยุดลูกเลื่อนสูงอยู่ตลอดเวลาลูกเลื่อนจึงเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ ทุกครั้งหลังจาก ถอยมาข้างหลังจนหลุดแล้วทำให้ปืนยิงเป็นชุดได้

ข้อควรระวังในการใช้ ปก.๙๓ มีดังต่อไปนี้.-

         ๑. ก่อนที่จะปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับปืน ไม่ว่ากรณีใด ๆ จงถือเสมอว่าปืนนั้นบรรจุกระสุนอยู่เสมอ อย่า เชื่อความทรงจำของคน (ที่ว่าไม่มีกระสุนอยู่ในรังเพลิง) ฉะนั้นเหนือสิ่งอื่นใด จะต้องตรวจดูเสียก่อนว่ามี กระสุนตกค้างอยู่ในรังเพลิงหรือไม่ ดังต่อไปนี้.-

              ก) เปิดฝาปิดห้องลูกเลื่อนออก

              ข) ถ้ามีสายกระสุนบรรจุอยู่ในตัวปืน ให้ยกสายกระสุนออก

              ค) ดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลังจนสุด แล้วตรวจดูว่ามีกระสุนค้างอยู่ในตัวปืนหรือไม่ถ้ามีให้เอาออกเสีย

         ๒. แม้ว่าจะตรวจดูแล้วว่าไม่มีกระสุนอยู่ในรังเพลิงก็ตามแต่ ทุกครั้งที่ลั่นไกต้องหันปากกระบอกปืนไป ในทิศทางที่ไม่เกิดอันตรายแก่ชีวิตหรือวัตถุ ถ้าหากปืนลั่นออกไป

         ๓. อย่าล้อเพื่อนเล่นด้วยปืนเป็นอันขาด

         ๔. ในการถอดคุมชิ้นส่วนที่เป็นแหนบ โดยเฉพาะแหนบเหล็กหยุดลูกเลื่อนแหนบส่งลำกล้องกลับเข้าที่และ แหนบกดรั้งกระสุน จงระมัดระวังอย่าให้เกิดอันตรายได้

         ๕. ในการยิงกระสุนซ้อมรบซึ่งใช้ปลอกทวีความถอยนั้นก่อนที่จะทำการยิง นายทหารชั้นสัญญาบัตรจะต้อง ตรวจดูว่า ได้ประกอบเหล็กบังคับกระสุนซ้อมรบหรือเปล่า เพราะเหตุว่าเหล็กบังคับกระสุนซ้อมรบนี้นอกจากจะ ทำให้ปืนยิงกระสุนซ้อมรบไปแล้ว ยังป้องกันมิให้ปืนยิงกระสุนจริงได้  ถ้าหากบังเอิญกระสุนจริงหลงติดอยู่ในสาย กระสุนซ้อมรบ

         ๖. ก่อนที่จะทำการยิง จะต้องปรับหน้าลูกเลื่อนให้เป็นการเรียบร้อยถูกต้องเสียก่อน

         ๗. ในขณะที่หยุดยิงระหว่างชุด ควรจะให้หยุดลูกเลื่อนไว้ข้างหลัง เพื่อป้องกันมิให้กระสุนลั่นออกมา เพราะความร้อนของลำกล้องปืนอาจจุดดินส่งกระสุนได้ และเพื่อช่วยระบายความร้อนของปืนด้วย

         ๘. ในขณะที่ขึ้นนกหรือหยุดยิง ห้ามเดินผ่านลำกล้องปืน

         ๙. อย่าบรรจุกระสุนทิ้งไว้ในรังเพลิงที่ร้อนจัด

         ๑๐. เมื่อลำกล้องร้อน ให้เปลี่ยนใหม่ ใช้ลำกล้องอะไหล่ยิงแทน

         ๑๑. ห้ามยิงปืนที่ลำกล้องไม่สะอาด เช่น มีฝุ่น ผง หรือเศษผ้า โคลนติดอยู่ในลำกล้อง เพราะอาจจะทำ ให้ลำกล้องชำรุดแตกร้าวได้

         ๑๒. ก่อนจะทำการยิงจะต้องเช็ดรังเพลิงให้แห้งสะอาด ปราศจากน้ำมันและฝุ่นผง

         ๑๓. ห้ามใช้กระสุนสกปรกยิง

         ๑๔. อย่าปล่อยให้กระสุนตากแดดเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ความดันเปลี่ยนแปลง

         ๑๕. ในการยิงข้ามทหารฝ่ายเดียวกัน มีข้อควรระวังในการยิงเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากกฎเกณฑ์ธรรมดา ดังต่อไปนี้.-

              ก) ไม่ควรยิงด้วยความเร็วเกินกว่า ๕๐ นัด/นาที

              ข) ถ้าหากระยะยิงไม่เกิน ๘๐๐ เมตร (๙๐๐ หลา) และทหารฝ่ายเดียวกันอยู่ห่างไม่เกินจากที่ตั้งปืน ไม่ต่ำกว่า ๔๐๐ หลา การหามุมนิรภัยโดยพลยิงให้กระทำดังนี้.-

                  ๑) ตั้งมาตราระยะยิงและเล็งไปยังที่เป้าหมาย

                  ๒) โดยไม่ขยับเขยื้อนปืน ตั้งมาตราส่วนระยะยิง (๑,๗๐๐ หลา)

                  ๓) แล้วเล็งยอดศูนย์ และจำตำบลที่เส้นเล็งตัดพื้นไว้ ปืนจะทำการยิงข้ามทหารฝ่ายเดียวกัน โดยปลอดภัย ถ้าหากทหารฝ่ายเดียวกันยังเคลื่อนไปไม่ถึงตำบลนั้น

              ค) ถ้าหากระยะยิงเกินกว่า ๘๐๐ เมตร (๙๐๐ หลา) จะทำการยิงข้ามทหารฝ่ายเดียวกันได้ก็ต่อ เมื่อนายทหารผู้บังคับการยิงได้ตรวจสอบด้วยตนเองอย่างแน่นอนแล้วว่า ไม่เกิดอันตรายขึ้นแก่ทหารฝ่ายเดียวกัน และจะต้องเป็นผู้สั่งให้ทำการยิง

              ง) ถ้าสามารถทำได้ควรจะได้ตกลงนัดหมายกับหน่วยทหารที่จะทำการยิงข้ามนั้นเสียด้วย

วิธีใช้และตรวจ ปก.๙๓

         ๑. วิธีบรรจุกระสุนเข้าสายกระสุน การบรรจุ ปก.๙๓ เข้าสายกระสุนข้อต่อโลหะนั้นเพื่อความรวดเร็วจะต้องบรรจุกระสุนเข้าสาย กระสุนด้วยเครื่องบรรจุกระสุนเข้าสาย วิธีบรรจุกระสุนเข้าสายให้กระทำดังนี้.-

              ก) วางเครื่องบรรจุกระสุนเข้าสายลงบนโต๊ะหรือม้าที่เรียบ ๆ

              ข) ใช้ควงยึดเครื่องบรรจุกระสุนให้แน่นโดยใช้ควงเกลียวขัดลงไปในรูที่เจาะไว้บนฐานเครื่องบรรจุกระสุน

              ค) ต้องต่อสายกระสุนเข้าด้วยกันโดยให้ด้ามที่มีห่วงเดียวของข้อต่ออันที่ ๒ สอดเข้าไปอยู่ในระหว่างทั้งสองของข้อต่ออันที่ต่อกันไปเช่นนี้เรื่อยจนครบ ๑๐ ข้อต่อ ในการต่อข้อต่อให้ต่อโดยวางลงไปในราง ของฐานเครื่องบรรจุกระสุนและให้ปลายห่วงด้านใหญ่หันไปข้างหน้าและอยู่ข้างหลังของรูปตัว U บนฐาน เครื่องบรรจุกระสุนเข้าสายและปลายห่วงข้างเล็กหันไปข้างหลังและอยู่หน้าเดือยกลมบนฐานเครื่องบรรจุ กระสุนเข้าสาย

              ง) วางกระสุนลงบนรางในเครื่องบรรจุกระสุนเข้าสาย ให้ปลายลูกกระสุนอยู่ตรง และจรดกับห่วง ข้อต่อสายกระสุนพอดี ยกแผ่นรั้งกระสุนให้สูงกว่าระดับของกระสุนแล้วผลักคันบรรจุกระสุนไป ข้างหน้ากระทั่งคันเลื่อนกระสุนยันท้ายปลอกกระสุนพอดี ปล่อยให้แผ่นรั้งกระสุนค้างอยู่บนกระสุน

           จ) ผลักคันบรรจุกระสุนไปข้างหน้าจนสุด กระสุนจะถูกผลักเข้าไปอยู่ในห่วงของข้อต่อสายกระสุน

         ๒. วิธีถอดกระสุนออกจากสายกระสุน การถอดกระสุนออกจากสายนั้น เพื่อความรวดเร็วจำเป็นจะต้องใช้เครื่องบรรจุกระสุนเข้าสายถอดกระสุนออกจากสาย วิธีถอดกระสุนออกจากสายให้กระทำดังนี้

              ก) วางสายกระสุนลงบนฐานเครื่องบรรจุกระสุนเข้าสาย ให้หัวกระสุนหันไปข้างหน้า ข้อต่อสาย สายกระสุนอยู่ระหว่างช่องรูปตัว U และเดือยกลมบนฐานเครื่องบรรจุกระสุน

              ข) ยกแผ่นรั้งกระสุนให้สูงกว่าระดับของกระสุน แล้วผลักคันบรรจุกระสุนไปข้างหน้าจนเลื่อนคัน กระสุนยันท้ายกระสุนพอดี ปล่อยให้แผ่นรั้งกระสุนค้างอยู่บนกระสุน

              ค) ดึงคันบรรจุกระสุนมาข้างหลังจนสุด กระสุนจะถูกดึงหลุดมาจากสายกระสุน

         ๓. วิธีบรรจุสายกระสุนเข้ากับตัวปืน วิธีบรรจุสายกระสุนเข้ากับตัวปืน ให้สอดปลายกระสุนเข้าไปในช่องบรรจุสายกระสุนจนกระทั่งเหล็ก ยึดสายกระสุนยึดกระสุนนัดแรกไว้

         ๔. วิธีขึ้นนก วิธีขึ้นนกให้ดึงคันรั้งลูกเลื่อนข้างหลังจนสุด ๒ ครั้ง หลังจากดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลังแต่ละครั้งให้ปล่อยไปข้างหน้าหลังจากดึงคันรั้งเลื่อนมาข้างหลังและปล่อยไปข้างหน้า ๒ ครั้ง แล้วปืนจะอยู่ในอาการขึ้นนกและพร้อมที่จะทำการยิงได้

         ปก.๙๓ นี้ นอกจากจะมีขึ้นนกแล้ว ยังมีวิธีกึ่งขึ้นนก หรือกึ่งบรรจุได้อีก โดยดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลังและปล่อยไปข้างหน้าเพียงครั้งเดียว

         ๕. วิธีเลิกบรรจุ การเลิกบรรจุให้ปฏิบัติดังนี้.-

              ก) ถ้ายิงเป็นชุด ให้ปล่อยคันบังคับการยิงออกจากปลอกเก็บคันบังคับการยิง

              ข) เปิดฝาปิดห้องลูกเลื่อนออก

              ค) ดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลัง และลูกเลื่อนจะค้างอยู่ข้างหลัง

              ง) ในการที่ลูกเลื่อนถอยมาข้างหลังนี้ กระสุนนัดที่อยู่ในรังเพลิง จะอยู่ร่องหน้าลูกเลื่อนดึงออกมาจากรังเพลิง ให้กระสุนนัดนี้ออกจากร่องหน้าลูกเลื่อน แล้วตรวจดูในรังเพลิงให้เป็นที่แน่นอนว่า มีกระสุนอยู่หรือไม่

              จ) ปิดฝาปิดห้องลูกเลื่อน

              ฉ) กดคันบังคับการยิง เพื่อปลดให้ลูกเลื่อนวิ่งไปข้างหน้า

              ช) ลั่นไก


         ๖. วิธีเปลี่ยนทางป้อนกระสุน

              ก) วิธีเปลี่ยนทางป้อนกระสุน การเปลี่ยนทางป้อนกระสุนนั้น จำเป็นจะต้องกลับการติดตั้งของชิ้นส่วนสำคัญ ๆ ดังนี้

                  ๑) กลับคันเลื่อนสายกระสุน

                  ๒) กลับโครงเหล็กเลื่อนสายกระสุน

                  ๓) กลับเหล็กผลักกระสุน การกลับเหล็กผลักกระสุนนี้ ถือเอาเหล็กเลื่อนสายกระสุนเป็นหลัก คือหมายถึงเปลี่ยนจากติดด้านหนึ่งของเหล็กเลื่อนสายกระสุนไปติดในด้านตรงข้ามแต่หลังจากกลับเหล็กผลัก กระสุน เหล็กผลักกระสุนจะต้องอยู่ทางด้านหลังเสมอหลังจากรวมเหล็กเลื่อนสายกระสุนเข้ากับโครงเหล็ก เลื่อนสายกระสุนแล้ว

                  ๔) กลับเหล็กกันกระสุนอันหน้าและอันหลังสำหรับเหล็กกันกระสุนอันหลังต้องเปลี่ยนใหม่

                  ๕) กลับเหล็กยึดสายกระสุน

                  ๖) กลับแผ่นเปลี่ยนทางป้อนกระสุน

                  ๗) เปลี่ยนการติดเครื่องขึ้นนกไปติดอีกด้านหนึ่งของผนังห้องลูกเลื่อน

              ข) วิธีตรวจชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนทางป้อน ถ้าหากได้สับเปลี่ยนการติดชิ้นส่วนต่าง ๆ จากด้าน หนึ่งไปอีกด้านหนึ่งแล้ว ให้ตรวจดูว่าการสับเปลี่ยนนั้นถูกต้องหรือไม่ ตามตารางข้างล่างนี้

รูปที่ ๒๓  วิธีปรับหน้าลูกเลื่อนโดยใช้แบบวัด


ก) เปิดฝาห้องลูกเลื่อนออก

ข) สอดปลายแบบวัดข้างที่หนา GO ๐.๒๐๒ นิ้ว ลงไปในช่องระหว่างหน้าลูกเลื่อนกับท้ายรังเพลิง ถ้า หากสอดแบบวัดเข้าไปไม่ได้ แสดงว่าปรับหน้าลูกเลื่อนชิดเกินไป ให้คลายลำกล้องออกจนกระทั่งสอดปลาย แบบวัดเข้าไปได้

              ค) เมื่อปลายแบบข้างที่หนา GO ๐.๒๐๒ นิ้ว เข้าไปได้แล้ว ให้ลองสอดปลายแบบวัดข้างที่หนา NO GO ๐.๒๐๖ นิ้ว เข้าไปใหม่ ถ้าสอดปลายแบบวัดเข้าไปได้ แสดงว่าการปรับหน้าลูกเลื่อนห่างเกินไป  ต้อง ขันลำกล้องเข้าไปอีก จนกระทั่งสอดปลายเข้าไปไม่ได้

         ๑๐. ผลเสียที่เกิดจากการปรับหน้าลูกเลื่อนผิด

              ก) ปรับหน้าลูกเลื่อนชิดเกินไป ถ้าหากปรับหน้าลูกเลื่อนชิดเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียหายดังต่อไปนี้.-

                  ๑) เครื่องกลไกฝืด จนกระทั่งลูกเลื่อนไม่ถอยมาข้างหลัง

                  ๒) กลอนลูกเลื่อนฝังตัวเข้าไปในลูกเลื่อนไม่สนิท ซึ่งอาจจะทำให้กลอนลูกเลื่อนโครงต่อท้ายลำ กล้องหรือลูกเลื่อนชำรุดได้

                  ๓) ไม่ถอนปลอกกระสุน

              ข) ปรับหน้าลูกเลื่อนห่างเกินไป ถ้าหากปรับหน้าลูกเลื่อนห่างเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียหายดังต่อไปนี้.-

                  ๑) ปลอกกระสุนขาด

                  ๒) ถ้าหากยิงติดต่อกันเป็นเวลานานอาจจะทำให้ลูกเลื่อนกลอนลูกเลื่อนและแท่นบังคับกลอน ลูกเลื่อนชำรุดได้

                  ๓) ปืนลั่นไกไม่ได้

         ๑๑. วิธีปรับสะพานไก (รูปที่ ๒๔, ๒๕)

              ก) ลักษณะของเครื่องปรับสะพานไก เครื่องปรับสะพานไกติดอยู่ประจำกับปืนรุ่นใหม่ทุกกระบอกของเครื่องปรับสะพานไกประกอบด้วย

                  ๑) แท่นแป้นปรับสะพานไก

                  ๒) แหนบบังคับแป้นปรับสะพานไก

                  ๓) แป้นปรับสะพานไก

                  ๔) ควงยึดแท่นปรับสะพานไก

              ข) ประโยชน์ของเครื่องปรับสะพานไก เครื่องปรับสะพานไกนี้มีประโยชน์ในการปรับให้สะพานไกทำงานในขณะที่ชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ไป ข้างหน้าจนสุดแล้ว  ซึ่งหมายความว่า หน้าลูกเลื่อนปิดท้ายรังเพลิงสนิทและขัดกลอนเรียบร้อยแล้วอีกประการ หนึ่งยังช่วยขจัดความยุ่งยากในการแต่งสะพานไก เพื่อปรับเวลาลั่นไกให้ถูกต้องหลังจากเปลี่ยนสะพานไกใหม่อีก ด้วยทั้งนี้เป็นเพราะเหตุว่าในการเปลี่ยนสะพานไกใหม่นั้น เมื่อติดสะพานไกใหม่เข้าไปแล้ว ปลายสะพานไกอาจจะห้อยต่ำลงไปกว่าเดิม ทำให้ปืนลั่นไกเร็วกว่าที่หน้าลูกเลื่อนจะปิดท้ายรังเพลิงสนิทและขัดกลอนเรียบร้อยแล้วถ้าหากไม่มีเครื่องปรับสะพานไกแล้วจะต้องถอดสะพานไกได้โดยไม่ต้องถอดสะพานออกมาแต่งใหม่ เพราะเหตุ ว่าแป้นปรับสะพานไกนั้นอยู่เหนือท้ายสะพานไกพอดี ในเมื่อคลายหรือขันแป้นเกลียวสะพานไก แป้นเกลียวสะพานไกจะทำให้ท้ายสะพานไกสูงหรือต่ำลงได้ในการที่ท้ายสะพานไกสูงหรือต่ำลงได้นี้ ย่อมทำให้สะพานไกต่ำลงหรือ สูงขึ้นไกด้วยฉะนั้นจึงเป็นการปรับเวลาลั่นไกไปด้วยในตัว


              ค) วิธีปรับสะพานไก วิธีปรับสะพานไกให้กระทำดังนี้.-

                  ๑) ต้องการให้ลั่นไก ช้า ให้หมุนแป้นเกลียวปรับสะพานไกไปทางซ้าย

                  ๒) ต้องการให้ลั่นไก เร็ว ให้หมุนแป้นเกลียวปรับสะพานไกไปทางขวา แป้นเกลียวปรับสะพานไกนี้หมุนไปทางใดแล้ว สันของแหนบบังคับแป้นเกลียวปรับสะพานไกจะต้องฝัง ตัวลงในร่องแป้นเกลียวปรับสะพานไกบังคับแป้นเกลียวปรับสะพานไกไว้มิให้แป้นเกลียวปรับสะพานไกขยับ เขยื้อนเพราะความกระเทือนได้ในการปรับสะพานไกนี้ จะต้องระวังอยู่เสมอว่า อย่าปรับสะพานไกให้ต่ำลง ไปจนกระทั่งปลายสะพานไกสัมผัสกับลูกเลื่อน ต้องปรับสะพานไกใหม่ ในการหมุนแป้นปรับสะพานไกไป ๑ ช่อง จะทำให้ระดับของปลายสะพานไกเปลี่ยนไป ๐.๐๐๔ นิ้ว

              ง) วิธีติดเครื่องปรับสะพานไก ปก.๙๓ นั้น ไม่มีเครื่องปรับสะพานไกติดมาทุกกระบอก คงมีแต่เฉพาะปืนรุ่นใหม่เท่านั้นสำหรับ ปืนรุ่นเก่ามักจะไม่มีเครื่องปรับสะพานไกติดอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากต้องการติดเครื่องปรับสะพานไกในปืน รุ่นเก่าก็ย่อมได้ วิธีติดเครื่องปรับสะพานไกให้กระทำดังนี้.-

                  ๑) ตะไบปุ่มสะพานไกให้เล็กลงจาก ๐.๕๙๒ เป็น ๐.๔๐๐ นิ้ว

                  ๒) ถอดควงยึดแท่นประกับผนังห้องลูกเลื่อนออก

                  ๓) ใส่เครื่องปรับสะพานไกเข้าไปในห้องลูกเลื่อน ใส่แผ่นเกลียวปรับสะพานไกอยู่เหนือท้าย สะพานไกพอดี

                  ๔) ใส่ควงยึดแท่นเครื่องปรับสะพานไก เมื่อไขควงเข้าที่แน่นอนแล้วให้ย้ำให้แน่น

              จ) วิธีตรวจการปรับสะพานไก เมื่อได้ปรับสะพานไกด้วยแผ่นเกลียวปรับสะพานไกเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องตรวจเวลาลั่นไกด้วยแบบวัดเวลาลั่นไก วิธีตรวจการปรับสะพานไกให้กระทำดังนี้

                  ๑) ดึงลูกเลื่อนมาข้างหลังประมาณ ๑/๑๖ นิ้ว แล้วสอดแบบวัดอันที่หนา (FIRE) ๐.๐๒๐ นิ้วเข้าไประหว่างแท่นรองลำกล้องกับหน้าโครงต่อท้ายลำกล้องให้ด้านลาดวางอยู่บนลำกล้อง แล้วค่อย ๆ ปล่อย ให้ลูกเลื่อนและโครงต่อท้ายลำกล้องเคลื่อนไปข้างหน้า จนกระทั่งโครงต่อท้ายลำกล้องยันแบบวัดเวลาลั่นไกไว้ระหว่างโครงท้ายลำกล้องกับแท่นรองลำกล้องแล้วลั่นไก ถ้าหากปรับสะพานไกถูก ปืนก็จะลั่นไก

   ๒) เสร็จแล้วเอาแบบวัดหนา (FIRE) ๐.๐๒๐ นิ้วออก ใส่แบบวัดหนา (NO FIRE) ๐.๑๑๖ นิ้ว เข้าไปแล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๑) ถ้าหากปรับสะพานไกไม่ถูก เข็มแทงชนวนต้องไม่ทำงาน 

ก) เปิดฝาห้องลูกเลื่อนออก

ข) สอดปลายแบบวัดข้างที่หนา GO ๐.๒๐๒ นิ้ว ลงไปในช่องระหว่างหน้าลูกเลื่อนกับท้ายรังเพลิง ถ้า หากสอดแบบวัดเข้าไปไม่ได้ แสดงว่าปรับหน้าลูกเลื่อนชิดเกินไป ให้คลายลำกล้องออกจนกระทั่งสอดปลาย แบบวัดเข้าไปได้

              ค) เมื่อปลายแบบข้างที่หนา GO ๐.๒๐๒ นิ้ว เข้าไปได้แล้ว ให้ลองสอดปลายแบบวัดข้างที่หนา NO GO ๐.๒๐๖ นิ้ว เข้าไปใหม่ ถ้าสอดปลายแบบวัดเข้าไปได้ แสดงว่าการปรับหน้าลูกเลื่อนห่างเกินไป  ต้อง ขันลำกล้องเข้าไปอีก จนกระทั่งสอดปลายเข้าไปไม่ได้

         ๑๐. ผลเสียที่เกิดจากการปรับหน้าลูกเลื่อนผิด

              ก) ปรับหน้าลูกเลื่อนชิดเกินไป ถ้าหากปรับหน้าลูกเลื่อนชิดเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียหายดังต่อไปนี้.-

                  ๑) เครื่องกลไกฝืด จนกระทั่งลูกเลื่อนไม่ถอยมาข้างหลัง

                  ๒) กลอนลูกเลื่อนฝังตัวเข้าไปในลูกเลื่อนไม่สนิท ซึ่งอาจจะทำให้กลอนลูกเลื่อนโครงต่อท้ายลำ กล้องหรือลูกเลื่อนชำรุดได้

                  ๓) ไม่ถอนปลอกกระสุน

              ข) ปรับหน้าลูกเลื่อนห่างเกินไป ถ้าหากปรับหน้าลูกเลื่อนห่างเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียหายดังต่อไปนี้.-

                  ๑) ปลอกกระสุนขาด

                  ๒) ถ้าหากยิงติดต่อกันเป็นเวลานานอาจจะทำให้ลูกเลื่อนกลอนลูกเลื่อนและแท่นบังคับกลอน ลูกเลื่อนชำรุดได้

                  ๓) ปืนลั่นไกไม่ได้

         ๑๑. วิธีปรับสะพานไก (รูปที่ ๒๔, ๒๕)

              ก) ลักษณะของเครื่องปรับสะพานไก เครื่องปรับสะพานไกติดอยู่ประจำกับปืนรุ่นใหม่ทุกกระบอกของเครื่องปรับสะพานไกประกอบด้วย

                  ๑) แท่นแป้นปรับสะพานไก

                  ๒) แหนบบังคับแป้นปรับสะพานไก

                  ๓) แป้นปรับสะพานไก

                  ๔) ควงยึดแท่นปรับสะพานไก

              ข) ประโยชน์ของเครื่องปรับสะพานไก เครื่องปรับสะพานไกนี้มีประโยชน์ในการปรับให้สะพานไกทำงานในขณะที่ชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ไป ข้างหน้าจนสุดแล้ว  ซึ่งหมายความว่า หน้าลูกเลื่อนปิดท้ายรังเพลิงสนิทและขัดกลอนเรียบร้อยแล้วอีกประการ หนึ่งยังช่วยขจัดความยุ่งยากในการแต่งสะพานไก เพื่อปรับเวลาลั่นไกให้ถูกต้องหลังจากเปลี่ยนสะพานไกใหม่อีก ด้วยทั้งนี้เป็นเพราะเหตุว่าในการเปลี่ยนสะพานไกใหม่นั้น เมื่อติดสะพานไกใหม่เข้าไปแล้ว ปลายสะพานไกอาจจะห้อยต่ำลงไปกว่าเดิม ทำให้ปืนลั่นไกเร็วกว่าที่หน้าลูกเลื่อนจะปิดท้ายรังเพลิงสนิทและขัดกลอนเรียบร้อยแล้วถ้าหากไม่มีเครื่องปรับสะพานไกแล้วจะต้องถอดสะพานไกได้โดยไม่ต้องถอดสะพานออกมาแต่งใหม่ เพราะเหตุ ว่าแป้นปรับสะพานไกนั้นอยู่เหนือท้ายสะพานไกพอดี ในเมื่อคลายหรือขันแป้นเกลียวสะพานไก แป้นเกลียวสะพานไกจะทำให้ท้ายสะพานไกสูงหรือต่ำลงได้ในการที่ท้ายสะพานไกสูงหรือต่ำลงได้นี้ ย่อมทำให้สะพานไกต่ำลงหรือ สูงขึ้นไกด้วยฉะนั้นจึงเป็นการปรับเวลาลั่นไกไปด้วยในตัว


              ค) วิธีปรับสะพานไก วิธีปรับสะพานไกให้กระทำดังนี้.-

                  ๑) ต้องการให้ลั่นไก ช้า ให้หมุนแป้นเกลียวปรับสะพานไกไปทางซ้าย

                  ๒) ต้องการให้ลั่นไก เร็ว ให้หมุนแป้นเกลียวปรับสะพานไกไปทางขวา แป้นเกลียวปรับสะพานไกนี้หมุนไปทางใดแล้ว สันของแหนบบังคับแป้นเกลียวปรับสะพานไกจะต้องฝัง ตัวลงในร่องแป้นเกลียวปรับสะพานไกบังคับแป้นเกลียวปรับสะพานไกไว้มิให้แป้นเกลียวปรับสะพานไกขยับ เขยื้อนเพราะความกระเทือนได้ในการปรับสะพานไกนี้ จะต้องระวังอยู่เสมอว่า อย่าปรับสะพานไกให้ต่ำลง ไปจนกระทั่งปลายสะพานไกสัมผัสกับลูกเลื่อน ต้องปรับสะพานไกใหม่ ในการหมุนแป้นปรับสะพานไกไป ๑ ช่อง จะทำให้ระดับของปลายสะพานไกเปลี่ยนไป ๐.๐๐๔ นิ้ว

              ง) วิธีติดเครื่องปรับสะพานไก ปก.๙๓ นั้น ไม่มีเครื่องปรับสะพานไกติดมาทุกกระบอก คงมีแต่เฉพาะปืนรุ่นใหม่เท่านั้นสำหรับ ปืนรุ่นเก่ามักจะไม่มีเครื่องปรับสะพานไกติดอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากต้องการติดเครื่องปรับสะพานไกในปืน รุ่นเก่าก็ย่อมได้ วิธีติดเครื่องปรับสะพานไกให้กระทำดังนี้.-

                  ๑) ตะไบปุ่มสะพานไกให้เล็กลงจาก ๐.๕๙๒ เป็น ๐.๔๐๐ นิ้ว

                  ๒) ถอดควงยึดแท่นประกับผนังห้องลูกเลื่อนออก

                  ๓) ใส่เครื่องปรับสะพานไกเข้าไปในห้องลูกเลื่อน ใส่แผ่นเกลียวปรับสะพานไกอยู่เหนือท้าย สะพานไกพอดี

                  ๔) ใส่ควงยึดแท่นเครื่องปรับสะพานไก เมื่อไขควงเข้าที่แน่นอนแล้วให้ย้ำให้แน่น

              จ) วิธีตรวจการปรับสะพานไก เมื่อได้ปรับสะพานไกด้วยแผ่นเกลียวปรับสะพานไกเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องตรวจเวลาลั่นไกด้วยแบบวัดเวลาลั่นไก วิธีตรวจการปรับสะพานไกให้กระทำดังนี้

                  ๑) ดึงลูกเลื่อนมาข้างหลังประมาณ ๑/๑๖ นิ้ว แล้วสอดแบบวัดอันที่หนา (FIRE) ๐.๐๒๐ นิ้วเข้าไประหว่างแท่นรองลำกล้องกับหน้าโครงต่อท้ายลำกล้องให้ด้านลาดวางอยู่บนลำกล้อง แล้วค่อย ๆ ปล่อย ให้ลูกเลื่อนและโครงต่อท้ายลำกล้องเคลื่อนไปข้างหน้า จนกระทั่งโครงต่อท้ายลำกล้องยันแบบวัดเวลาลั่นไกไว้ระหว่างโครงท้ายลำกล้องกับแท่นรองลำกล้องแล้วลั่นไก ถ้าหากปรับสะพานไกถูก ปืนก็จะลั่นไก

   ๒) เสร็จแล้วเอาแบบวัดหนา (FIRE) ๐.๐๒๐ นิ้วออก ใส่แบบวัดหนา (NO FIRE) ๐.๑๑๖ นิ้ว เข้าไปแล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๑) ถ้าหากปรับสะพานไกไม่ถูก เข็มแทงชนวนต้องไม่ทำงาน