ปลย.เอ็ม.๑๖ เอ ๒

คุณลักษณะและการทำงาน

๑. การทำงานและคุณลักษณะอาวุธ ปลย.เอ็ม.๑๖ เอ ๒ ขนาด ๕.๕๖ มม.บรรจุกระสุนด้วยแมกกาซีนทำงานด้วยแก๊ส ระบายความร้อนด้วยอากาศ ทำการยิงด้วยการประทับบ่า

๒. รายการทั่วไป

ก. น้ำหนักปืนพร้อมบรรจุกระสุนในซองกระสุน ๓๐ นัด ๓.๙๙ กก. ๘.๗๔ ปอนด์

ข. ยาว

- ปืนและดาบปลายปืน เอ็ม.๗………………….………….๑๑๔.๐ ซม. ๔๙.๘๗ นิ้ว

- ปืนและปลอกลดแสง……………………………………..๑๐๐.๖ ซม. ๓๙.๖๒ นิ้ว

๓. ขีดความสามารถ เอ็ม.๑๖ เอ ๒

ก. อัตราการยิงสูงสุด……………………………………………๘๐๐ นัด/นาที

ข. อัตราการยิงเฉลี่ย…………………………………………….๑๐ - ๑๒ นัด/นาที

ค. อัตราการยิงต่อเนื่อง………………………………………….๑๒ - ๑๕ นัด/นาที

ง. ระยะยิงไกลสุด………………………………………………..๓,๕๓๔ เมตร

จ. ระยะยิงหวังผล

- เป้าหมายเป็นจุด/บุคคล……………………………………๕๕๐ เมตร

- เป้าหมายเป็นพื้นที่…………………………………………๘๐๐ เมตร

๔. รายการการปรับปรุง เอ็ม.๑๖ เอ ๒ จาก เอ็ม.๑๖ เอ ๑

ก. เปลี่ยนปลอกลดแสง เพื่อลดแรงดันที่ทำให้ลำกล้องกระดอนขึ้นข้างบนในขณะทำการยิง

ข. ลำกล้องหนาขึ้น เพื่อเพิ่มความทนทานของลำกล้อง อัตราการบิดของเกลียวลำกล้องเพิ่ม ๑ ใน ๗ ส่วนเพิ่มการทรงตัวของหัวกระสุนที่หนักขึ้น

ค. เปลี่ยนฝาครอบลำกล้องซ้าย - ขวา รูปสามเหลี่ยมเป็นฝาครอบลำกล้อง บน - ล่าง รูปมนและมีเส้นกันลื่นบนฝาครอบลำกล้องทั้งสอง

ง. เหล็กรัดฝาครอบลำกล้องทำให้เรียว (ด้านล่างใหญ่กว่าด้านบน) เพื่อมีพื้นผิวจับได้ดีกว่าในการถอดประกอบ

จ. ศูนย์หลังสามารถปรับได้ทั้งทางสูงและทางทิศโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ

ฉ. โครงปืนอันบนมีเดือยสำหรับป้องกันปลอกกระสุนสำหรับพลยิงถนัดซ้าย

ช. แท่งศูนย์หน้าได้เปลี่ยนจากแท่งกลมเป็นแท่งสี่เหลี่ยม เพื่อให้การเล็งเป้าหมายคมชัดยิ่งขึ้น

ซ. ด้ามปืนเปลี่ยนเป็นซูเปอร์ไนลอนและมีร่องสำหรับนิ้ว

ฌ. คันบังคับการยิงสามารถใส่ได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของปืน ตำแหน่ง BURST แทนตำแหน่ง AUTO

ญ. พานท้ายเปลี่ยนเป็นซูเปอร์ไนลอนและยาวกว่า เอ็ม.๑๖ เอ ๑ ๕/๘ นิ้ว

๕. การตรวจความปลอดภัย เอ็ม.๑๖ เอ.๒ ข้อพิจารณาอันดับแรกของอาวุธทุกชนิดที่จับต้องนั้นต้องปลอดภัยการตรวจความปลอดภัย เอ็ม.๑๖ เอ.๒

ก. พยายามตั้งคันบังคับการยิงไว้ที่ตำแหน่งห้ามไก ถ้าปืนไม่ได้ขึ้นนก ปืนนั้นก็ไม่สามารถตั้งคันบังคับการยิงมาที่ตำแหน่งห้ามไกได้

ข. ปลดซองกระสุน

ค. ดึงคันรั้งให้ลูกเลื่อนมาข้างหลังและกดเหล็กหยุดลูกลื่นให้ลูกเลื่อนค้างอยู่ข้างหลัง

ง. ตรวจโครงปืนและรังเพลิง

จ. ตรวจคันบังคับการยิงให้แน่ใจว่าอยู่ในตำแหน่งห้ามไก

๖. การถอดประกอบ

ก. การถอดในสนาม

๑. แน่ใจว่าปืนนั้นปลอดภัย

๒. ปล่อยให้ลูกเลื่อนวิ่งไปข้างหน้าคันบังคับการยิงอยู่ที่ตำแหน่งห้ามไก

๓. กดสลักยึดโครงปืนจากด้านขวา ทั้งอันบนและอันล่างแล้วแยกโครงอันล่างและอันบนออกจากกัน

๔. ดึงคันรั้งออกและโครงลูกเลื่อนออกจากโครงปืน

๕. ถอดกลุ่มของโครงลูกปืน

๖. ถอดเครื่องรับแรงถอย

๗. ถอดฝาครอบลำกล้อง

ข. การถอดในรายละเอียด ไม่อนุญาตเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจหรือเจ้าหน้าที่สรรพวุธ

ค. การประกอบกระทำย้อนกลับกับการถอด

ง. การตรวจสอบการทำงาน การตรวจสอบการทำงานของ เอ็ม.๑๖ เอ ๒ ประกอบด้วยการทำงานของเอ็ม.๑๖ เอ ๒ ในตำแหน่งของคันบังคับการยิงในตำแหน่งห้ามไกยิงเดี่ยว - ยิงชุด (จังหวะ ๓ นัด)

๑. ตั้งคันบังคับการยิง "ห้ามไก" (ปืนต้องขึ้นนก) เมื่อเหนี่ยวไกแล้วนกปืนจะไม่ฟาดตัวไปข้างหน้า

๒. ตั้งคันบังคับการยิง ยิงเดี่ยว เมื่อเหนี่ยวไกแล้วนกปืนต้องฟาดไปข้างหน้า

๓. ตั้งคันบังคับการยิง ยิงชุด (จังหวะ ๓ นัด) ดึงนกปืนมาข้างหลัง (นกปืนในท่าขึ้นนก)เหนี่ยวไกและดึงค้างไว้ นกปืนจะฟาดไปข้างหน้า ดึงนกปืนมาข้างหลังและผลักส่วนบนของกระเดื่องไกนกปืนจะฟาดไปข้างหน้ากระทำอย่างเดียวกันอย่างนี้ ๔ ครั้ง การกระทำในครั้งที่ ๔ นกปืนจะไม่ฟาดไปข้างหน้าเมื่อปล่อยไกและเหี่ยวไกอีกครั้ง และผลักกระเดื่องไกนกปืนจะต้องฟาดไปข้างหน้า

๗. การปรับศูนย์

ก. ศูนย์หน้า เป็นแท่งสี่เหลี่ยมหมุนปรับขึ้นลงได้และมีสปริงบรรจุภายใน

๑. การตั้งศูนย์ ศูนย์สามารถปรับได้เมื่อทำการตั้งศูนย์ ๒๐๐ เมตร (ศูนย์หน้า) ในสนามยิงหรือเมื่อกำหนดการตั้งศูนย์ที่ระยะ ๓๐๐ เมตร หรือในสนามย่นระยะ ๒๕ เมตร เมื่อปรับศูนย์หน้าจนสามารถสอบศูนย์ได้ แล้วจะไม่ปรับศูนย์หน้าอีก


๒. การปรับศูนย์หน้า โดยการหมุนแท่งสี่เหลี่ยมของศูนย์หน้าโดยใช้เครื่องมือ (ตะปูหรือหัวกระสุน) กดลงบนสลักยึดศูนย์หน้าและหมุนแท่งศูนย์หน้า ถ้าต้องการให้ตำบลกระสุนสูงขึ้นให้หมุนแท่งศูนย์หน้าตามเข็มนาฬิกาถ้าต้องการให้ตำบลตกต่ำให้หมุนแท่งศูนย์หน้าทวนเข็มนาฬิกา เมื่อหมุนแท่งศูนย์หน้าขึ้นหรือลง ๑ คลิ๊ก จะทำให้ ตำบลกระสุนแตกต่าง คือ

ระยะ ตำบลกระสุนตกแตกต่าง

๒๕ เมตร………………………………๐.๙ ซม. ( ๓/๘ นิ้ว )

๑๐๐ เมตร…………………………….๓.๕ ซม. ( ๑ ๓/๘ นิ้ว )

๒๐๐ เมตร……………………………๗.๐ ซม. ( ๒ ๓/๔ นิ้ว )

ข. ศูนย์หลัง ศูนย์หลังประกอบด้วย ใบศูนย์หลัง ๒ ใบ ลูกบิดปรับทางทิศ ลูกบิดปรับทางสูงและขีดมาตรา

๑. ช่องเล็งระยะใกล้ (๐ - ๒) ช่องเล็งระยะใกล้ใช้ระยะ ๒๐๐ เมตร หรือน้อยกว่า ช่องเล็ง๐ - ๒ เป็นช่องเล็งที่ใหญ่ที่สุด ช่องเล็ง ๐ - ๒ ใช้ทำการยิงเป้าหมายในสนามรบหรือทำการยิงเป้าหมายคลื่นที่ ช่องเล็ง ๐ - ๒ จะไม่ใช้ทำการยิงบันทึกผลทุกระยะ

๒. ช่องเล็งระยะไกล เป็นช่องที่เล็กกว่าช่องเล็ง ๐ - ๒ ใช้ทำการยิงเป้าหมายในสนามรบ ๒๐๐เมตร หรือไกลกว่า ช่องเล็งระยะไกล ใช้ทำการยิงเป้าหมายในทุกระยะในสนามยิงปืนเพื่อบันทึกผล

๓. การปรับทางทิศ การปรับศูนย์หลังทางทิศโดยหมุนลูกบิดทางทิศ ซึ่งอยู่ทางขวาของแท่นศูนย์หลังหมุนลูกบิดไปทางขวา - ซ้าย ๑ คลิ๊ก จะทำให้ตำบลกระสุนแตกต่าง

ระยะ ตำบลกระสุนแตกต่าง

๒๕ เมตร………………………..๐.๓ ซม. (๑/๘ นิ้ว)

๑๐๐ เมตร………………………๑.๒๕ ซม. (๑/๒ นิ้ว)

๒๐๐ เมตร………………………๒.๕๐ ซม.(๑ นิ้ว)

๓๐๐ เมตร………………………๓.๘ ซม. (๑ ๑/๒ นิ้ว)

๔๐๐ เมตร………………………๕.๐ ซม. (๒ นิ้ว)

๕๐๐ เมตร………………………๖.๓ ซม.( ๒ ๑/๒ นิ้ว)

๖๐๐ เมตร………………………๗.๖ ซม.(๓ นิ้ว)

๗๐๐ เมตร………………………๘.๘ ซม.(๓ ๑/๒ นิ้ว)

๘๐๐ เมตร………………………๑๐.๐ ซม.(๔ นิ้ว)

๔. การปรับมุมสูง การปรับมุมสูงโดยใช้ศูนย์หลังโดยหมุนลูกบิดศูนย์หลังทางระดับใต้แท่นศูนย์หลังอ่านมาตราระยะทางซ้ายของศูนย์หลังที่กำหนดระยะที่ตั้งบนลูกบิดศูนย์หลัง ตั้งระยะบนลูกบิดที่ศูนย์หลัง ๘/๓ คือระยะ ๓๐๐ หรือ ๘๐๐ ถ้ามีช่องว่างระหว่างฐานกับแท่นศูนย์หลัง ๑/๔ นิ้ว เมื่อตั้ง ๘/๓ บนมาตราระยะศูนย์หลังนั้นจะตั้งระยะ ๘๐๐ เมตร ถ้าช่องว่างระหว่างฐานกับแท่นศูนย์หลัง เล็กพอเห็นได้ ศูนย์หลังนั้นจะตั้งระยะ ๓๐๐ เมตร เมื่อหมุนแท่นศูนย์หลังขึ้นหรือลง ๑ คลิ๊ก จะทำให้ตำบลกระสุนเปลี่ยนไป

ระยะ ตำบลกระสุนแตกต่าง

๒๕ เมตร…………………………๐.๙ ซม.(๓/๔ นิ้ว)

๑๐๐ เมตร……………………….๓.๕ ซม.(๑ ๓/๘ นิ้ว)

๒๐๐ เมตร……………………….๗.๐ ซม.(๒ ๓/๔ นิ้ว)

ขั้นการปรับศูนย์รบ ๓๐๐ เมตร ในสนามย่นระยะ ๒๕ เมตร

๑) ไม่ต้องปรับแท่นศูนย์หน้าในเวลานี้ มันได้ตั้งจากโรงงานหรือโดยพลยิงคนก่อนอาจจะใกล้เคียงกับศูนย์ของท่าน

๒) ตั้งศูนย์หลังให้ได้กึ่งกลางโดยลูกบิดทางทิศไปทางซ้าย-ขวา คือ การตั้งศูนย์ทางช่าง รูปที่ ๑

๓) ยกใบศูนย์หลังที่ไม่มีเครื่องหมาย (ใบศูนย์หลังอันหน้าที่รูปเล็ก) ตั้งขึ้น รูป ๒

๔) หมุนลูกบิดทางสูงลงในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ลูกบิดทางสูงจะหยุดเมื่อผ่านระยะ ๓๐๐ เมตร ไปแล้ว ๓ คล๊ก ทำเครื่องหมายที่ลูกบิดทางสูง ให้ตรงกับเส้นขีดหลักที่แท่นศูนย์หลัง รูป ๓ คือ การตั้งศูนย์ทางช่างถ้ามาตราระยะไม่ตรงกันกับเส้นขีดหลักให้เจ้าหน้าที่สรรพวุธปรับลูกบิดทางสูงให้ระยะถูกต้อง

๕) หมุนควงมุมสูงขึ้น ๑ คล๊ก หลังจากผ่านระยะ ๓๐๐ เมตร เมื่อตั้งศูนย์หลังได้แล้วไม่ต้องปรับลูกบิดทางสูงอีกการปรับตำบลกระสุนให้ปรับที่แท่นศูนย์หน้าเพียงอย่างเดียว

รูป ๔ การตั้งศูนย์รบ

๖) เล็งอย่างระมัดระวังและยิงไปยังกึ่งกลางเป้า

๗) ถ้ากลุ่มกระสุนไม่ถูกกึ่งกลางเป้า ใช้ตารางสี่เหลี่ยมจตุรัสของแผ่นเป้าคำนวณการแก้เป็นคลิ๊ก เมื่อแก้ตำบลกระสุนตกให้ถูกกึ่งกลางเป้าหมาย

๘) ถ้าต้องการยกให้สูงขึ้นกลุ่มกระสุนในครั้งต่อไป ให้หมุนแท่งศูนย์หน้าตามเข็มนาฬิกา ๑ คลิ๊ก จะทำให้ตำบลกระสุนตกเปลี่ยนไปทางสูง ๑ ช่อง ตารางสี่เหลี่ยมจตุรัสของแผ่นเป้า

ถ้าต้องการลดกลุ่มกระสุนให้ต่ำลงในครั้งต่อไปให้หมุนแท่งศูนย์หน้าทวนเข็มนาฬิกา

การปรับทางทิศจะปรับด้วยลูกบิดทางทิศ ๓ คลิ๊ก จะทำให้ตำบลกระสุนตกเปลี่ยนไปทางระดับ ๑ ช่องตารางสี่เหลี่ยมของแผ่นเป้า

ถ้าต้องการเลื่อนตำบลกระสุนตกไปทางซ้าย หมุนลูกบิดทางทิศทวนเข็มนาฬิกา

ถ้าต้องการเลื่อนตำบลกระสุนตกไปทิศทางขวา หมุนลูกบิดทางทิศตามเข็มนาฬิกา

๙) เล็งอย่างระมัดระวังและยิงกลุ่มกระสุนต่อไปยังกึ่งกลางของเป้าหมาย

๑๐) ถ้ากระสุนไม่ถูกกึ่งกลางของเป้าให้ทำซ้ำชั้น ๗ และ ๘ อีก

๑๑) ถ้ากลุ่มกระสุนถูกกึ่งกลางเป้าหมาย ถือได้ว่าปืนของท่านได้ปรับศูนย์เรียบร้อยแล้วที่ระยะ ๓๐๐ เมตร จากนั้นก็หมุนลูกบิดความสูงลดลง ๑ คลิ๊ก ระยะ ๓๐๐ จะตรงกับขีดหลักของแท่นศูนย์หลัง

๘. วงรอบการทำงาน วงรอบการทำงานประกอบด้วย ๘ ขั้นตอน ป้อนกระสุน,บรรจุกระสุน,ขัดกลอน,ยิงปลดกลอน,รั้งปลอก,คัดปลอก,และขึ้นนก การทำงานบางขั้นตอนจะทำพร้อมกัน ๒ ขั้นตอน การทำงานของ เอ็ม.๑๖เอ ๒ - ยิงเดี่ยว (SEMI) ยิงชุด (BURSI) โดยใช้คันบังคับการยิง

การยิงเดี่ยว (SEMI)

๑. การขึ้นนก โครงลูกเลื่อนถอยมาข้างหลังกดนกปืนให้ต่ำลงแหนบนกปืนถูกอัดแง่นกปืนจะขัดกับจมูกไก

๒. การป้อนกระสุน เมื่อโครงลูกเลื่อนถอยพ้นด้านบนสุดของซองกระสุนแล้ว และกระสุนนัดบนสุดจะขึ้นมาอยู่ในเส้นทางเดินของลูกเลื่อนด้วยกำลังของแหนบกระสุน

๓. การบรรจุกระสุน ขณะที่โครงลูกเลื่อนถอยมาข้างหลังเครื่องรับแรงจะถูกกระแทกและทำให้แหนบรับแรงถอยถูกอัดตัวแรงขยายตัวของแหนบรับแรงถอยเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและดันโครงลูกเลื่อนไปข้างหน้าลูกเลื่อน จะชนเข้ากับจานท้ายกระสุนและดันกระสุนนัดนั้นเข้าสู่รังเพลิง พร้อมกันนั้นขอรั้งปลอกจะจับจานท้ายปลอกกระสุน และเหล็กคัดปลอกถูกดันให้ยุบตัว

๔. การขัดกลอน เมื่อโครงลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีก ๑/๒ นิ้วจะสุดระยะ สลักลูกเบี้ยวจะถูกร่องลาดลูกเบี้ยวบังคับให้เคลื่อนที่ไปตามแนวของร่องลาดทำให้ลูกเลื่อนหมุนตัวทวนเข็มนาฬิกาไปอยู่ในช่อง ขัดกลอน

๕. การยิง เมื่อเหนี่ยวไกทำให้ปลายหน้าไกต่ำลงหลุดจากแง่ล่างของนกปืน นกปืนฟาดตัวไปข้างหน้าด้วยแรงขยายของแหนบนกปืน นกปืนจะตีเข้ากับท้ายเข็มแทงชนวนและทำให้เข็มแทงชนวนพลุ่งแทงจอกกระทบ แตกที่จานท้ายปลอกกระสุนขณะที่เหนี่ยวไกอยู่นั้นสะพานไกก็จะกระดกไปข้างหน้าด้วยแก๊สซึ่งเกิดจากการไหม้ของ ดินขับหัวกระสุนให้วิ่งไปตามลำกล้อง เมื่อผ่านรูแก๊สที่ใต้ศูนย์หน้า แก๊สส่วนน้อยจะไหลไปตามรูแก๊สเข้าไปในกระบอก สูบที่อยู่ในกุญแจโครงนำลูกเลื่อนส่งนำลูกเลื่อนถอยหลังก่อนที่เราจะปล่อยไกโครงนำลูกเลื่อนถอยหลังกดให้นกปืนถอนตัวไปข้างหลัง เมื่อปล่อยไกแล้วนกปืนจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเล็กน้อยหลุดจากการขัดตัวกับสะพานไกแง่ล่าง ของนกปืนจะไปขัดตัวกับแง่หน้าไก

๖. การปลดกลอน เมื่อลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไปข้างหลังร่องลาดบังคับสลักลูกเบี้ยวทำให้ลูกเลื่อนหมุนตัวจนแง่ขัดกลอนที่โครงต่อท้ายลำกล้อง

๗. การรั้งปลอกกระสุน โครงนำลูกเลื่อนยังคงเคลื่อนที่มาข้างหลังพร้อมกับลูกเลื่อนขอรั้งที่ติดอยู่กับลูกเลื่อนจะดึงปลอกกระสุนที่ยิงแล้วออกจากรังเพลิง

๘. การคัดปลอกกระสุน เมื่อโครงลูกเลื่อนเคลื่อนที่ผ่านช่องคัดปลอกกระสุนปลอกกระสุนจะถูกเหวี่ยงออกด้วยแรงดันของแหนบคัดปลอก ครบวงรอบการทำงาน

การยิงเป็นชุด (จังหวะ ๓ นัด)

๑. เมื่อผลักคันบังคับการยิงไปตำแหน่งเป็นชุด (BURST) ปืนจะยิงจังหวะ ๓ นัด

๒. เมื่อเหนี่ยวไกมาข้างหลัง วงรอบการทำรอบก็เริ่มขึ้น นกปืนขึ้นนก เมื่อโครงลูกเลื่อนเคลื่อนที่มาข้างหลังจะทำให้ลูกเบี้ยวตัวกลางของคันบังคับการยิงกดส่วนท้ายของสะพานไกให้หลบจากการขัดตัวกับแง่ของนกปืน

๓. ขณะเดียวกันส่วนล่างของกระเดื่องไกอัตโนมัติก็จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจับแง่บนของนกปืนจนกระทั่งโครงลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ส่วนหลังโครงลูกเลื่อนจะกระทบกับส่วนบนของกระเดื่องไกปล่อยให้นกปืนฟาดไปข้างหน้าเป็นสาเหตุให้ปืนลั่นออกไป

๔. เมื่อปืนยิงไปแล้ว ๓ นัด ตามวงรอบการทำงานของเครื่องลั่นไกดังที่กล่าวมาแล้วปืนจะหยุดยิงเนื่องจากลูกเบี้ยวนกปืนหมุนตัวจนไปทำให้แง่ลูกเบี้ยวช่องที่ใหญ่ที่สุดขัดตัวกับกระเดื่องไกช่วย จากนั้นสะพานไกก็จะเคลื่อนตัวขึ้นบนไปขัดกับแง่ล่างของนกปืน

๙. กระสุน

กระสุนธรรมดา……………….เอ็ม.๑๙๓

กระสุนธรรมดา……………….เอ็ม.๘๕๕ (หัวทาสีเขียว)

กระสุนฝึกบรรจุ………………เอ็ม.๑๙๙

กระสุนส่องวิถี………………..เอ็ม.๑๙๖ หรือ เอ็ม.๘๕๖ (หัวทาสีแดง)

กระสุนซ้อมรบ………………..เอ็ม.๒๐๐ (หัวทาสีม่วง)

๑๐. การแก้ไขเหตุติดขัด เหมือนกับ เอ็ม.๑๖ เอ ๑

ข้อมูลทางเทคนิคของปืนเล็กยาว M.16 A.2

ระบบอังกฤษ ระบบเมตริก

ขนาดกระสุน - .223 เรมิงตัน 5.56 x 45 มม. (นาโต้)

ความจุซองกระสุน - 30 นัด 30 นัด

น้ำหนักซองกระสุน (30 นัด) - 0.25 ปอนด์ 0.11 กิโลกรัม

น้ำหนักซองกระสุน + กระสุน 30 นัด - 1.0 ปอนด์ 0.45 กิโลกรัม

น้ำหนักปืนเปล่า - 7.9 ปอนด์ 3.4 กิโลกรัม

ความยาวของตัวปืน - 39.625 นิ้ว 1.00 เมตร

ความยาวของลำกล้อง - 20.0 นิ้ว 0.51 เมตร

กลไกการทำงาน - ระบบแก๊ส ระบบแก๊ส

ความเร็วต้นของกระสุน M.193 - 3250 ฟุต/วินาที 991 เมตร/วินาที

ความเร็วต้นของกระสุน (SS 109/M.855) - 3100 ฟุต/วินาที 948 เมตร/วินาที

ความดันปากลำกล้องของกระสุน M.193 - 1270 ฟุต/ปอนด์ 175 กิโลกรัม-เมตร

ความดันปากลำกล้องของกระสุน (SS 109/M.855) - 1302 ฟุต/ปอนด์ 180 กิโลกรัม-เมตร

ระยะหวังผลไกลสุด (M.193) - 503 หลา 460 เมตร

ระยะหวังผลไกลสุด (SS 109/M.855) - 875 หลา 800 เมตร

อัตราเร็วในการยิง - 600-940 นัด/นาที 600-940 นัด/นาที

ลักษณะการยิงของปืน M.16 A.2 แบบ 701 - กึ่งอัตโนมัติ และอัตโนมัติ

แบบ 705 - กึ่งอัตโนมัติ และยิงเป็นชุด ๆ ละ 3 นัด

การเทียบมาตรา

ระบบอังกฤษ ระบบเมตริก ระบบอังกฤษ ระบบเมตริก

1/2 นิ้ว = 1.27 เซนติเมตร 500 หลา = 457 เมตร

1 นิ้ว = 2.54 เซนติเมตร 600 หลา = 549 เมตร

1 1/4 นิ้ว = 3.1 เซนติเมตร 700 หลา = 640 เมตร

100 หลา = 91 เมตร 800 หลา = 732 เมตร

200 หลา = 183 เมตร 900 หลา = 823 เมตร

300 หลา = 274 เมตร 1,000 หลา = 914 เมตร

400 หลา = 366 เมตร

----------------------------