คุณลักษณะและขีดความสามารถ

คุณลักษณะและขีดความสามารถ

๑. ครอบตายาง                                           ๘. เชือก

               ๒. วงแหวนปรับภาพเล็ง                                          ๙. เครื่องลั่นไก

               ๓. ปลอกกันสะเทือนหลัง                                        ๑๐. ไก

               ๔. เรือนกล้องเล็ง                                                    ๑๑. ปุ่มห้ามไก

               ๕. เรือนเครื่องรับแสงอินฟราเรด                              ๑๒. หมุดขัดกลอน (๔ ตัว)

               ๖. ปลอกกันสะเทือนหน้า                                        ๑๓. ตัวเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้า

               ๗. ฝาครอบแว่นแก้ว                        ๑๔. ฝาครอบตัวเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าพร้อมเชือก


รูปที่ ๒ เครื่องเล็งและควบคุมวิถี

ก. เครื่องเล็งและควบคุมวิถี (TRACKER)

           เครื่องเล็งและควบคุมวิถี ทำด้วยอลูมิเนียม ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ดังนี้คือ

           ๑. เครื่องเล็งและเครื่องรับแสงอินฟราเรด

           ๒. เครื่องอิเล็กทรอนิกส์

           ๓. เครื่องลั่นไก

           ๔. ตัวกันกระเทือนหน้าและหลัง

           ๕. ฝาครอบเลนส์พร้อมสาย

           ๖. ตัว CONNECTOR พร้อมฝาครอบ

           เครื่องเล็งและควบคุมวิถีนี้ สามารถใช้งานได้ตลอดไป และจะบรรจุอยู่ในถุงและมีชุดเครื่องมือทำ ความสะอาดอยู่ในถุงนี้ด้วย

           ๑. เครื่องเล็งและเครื่องรับแสงอินฟราเรด เครื่องเล็ง จะอยู่ทางตอนบนด้านซ้ายของเครื่องเล็งและควบคุมวิถี เป็นกล้องเทเลสโคป ซึ่งมีกำลังขยายได้ ๖ เท่า และความกว้างของภาพการเห็น ๖ องศา ที่ตัวเลนส์จะมีเส้นกากบาทและเส้นกะระยะอีก ๒ เส้น เส้นกะระยะนี้จะช่วยพลยิงในการพิจารณาเป้าหมายว่าอยู่ในระยะ (๑,๐๐๐ เมตร) หรือไม่ และเส้นกากบาทจะช่วยพลยิงในการเล็งต่อเป้าหมาย เครื่องเล็งนี้ยังมีที่ปรับความชัดของเลนส์ให้เหมาะกับสายตาของพลยิงและมีกระบอกยางที่จะช่วยให้พลยิงมองเป้าหมายได้ชัดและลดแสงรบกวนจากภายนอก นอกจากนั้นยังป้องกันลูก นัยตาของพลยิงจากการกระเทือนในขณะที่ทำการยิงด้วย พลยิงไม่จำเป็นต้องสวมแว่นตาในขณะทำการเล็ง เพราะมีที่ปรับความชัดของเลนส์ให้เหมาะสมกับสายตาของแต่ละคนอยู่แล้ว การสวมแว่นตาจะทำให้พลยิงมอง เป้าหมายไม่ถนัด และมีโอกาสที่จะยิงไม่ถูกเป้าได้มาก รูปทรงกระบอกกันใหญ่และเลนส์ทางด้านขวาตอนบนของเครื่องเล็งและควบคุมวิถีนี้  ก็คือเครื่องรับ แสงอินฟราเรด เครื่องรับแสงอินฟราเรดนี้จะมีเลนส์อยู่อันหนึ่ง และมีส่วนประกอบภายในซึ่งมีหน้าที่ให้ข่าวสาร เกี่ยวกับตำแหน่งของลูกจรวดแก่เครื่องอิเล็กทรอนิกส์

           ๒. เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอยู่ทางตอนล่างของเครื่องเล็งและควบคุมวิถี จะมีหน้าที่แปลงข่าวสารที่ได้รับจากเครื่องรับแสงอินฟราเรด เป็นแรงกระตุ้นไฟฟ้า (ELECTRICAL IMPULSES) ซึ่งจะถูกส่งไปยังลูกจรวด

           ๓. เครื่องลั่นไก เครื่องลั่นไก อยู่ทางด้านขวาของเครื่องเล็งและควบคุมวิถี เป็นแหล่งกำเนิดของแรงกระตุ้นไฟฟ้า ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยการเหนี่ยวไก เป็นการเริ่มต้นระบบการยิงอาวุธชนิดนี้

           ๔. ตัวกันกระเทือนหน้าหลัง ทำด้วยโฟมอ่อนนิ่ม เช่นเดียวกับของเครื่องยิง ซึ่งจะมีหน้าที่ป้องกันมิให้เกิดความเสียหายขึ้นกับตัว เครื่องเล็งและควบคุมวิถี เมื่อตกลงกับพื้นหรือหลุดมือ

           ๕. ฝาครอบเลนส์พร้อมสาย ฝาครอบเลนส์ทางด้านหน้า สวมเข้าพอดีกับตัวกันกระเทือนหน้า และมีสายโยงยึดไว้กับเครื่องเล็ง และวิถีควบคุม ซึ่งจะทำหน้าที่ป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่เลนส์ ของเครื่องเล็ง และเลนส์รับแสง อินฟราเรดและยังป้องกันมิให้สิ่งสกปรกหรือฝุ่นละอองเข้าไปถูกเลนส์อีกด้วย

           ๖. ตัว CONNECTOR พร้อมฝาครอบ จะอยู่ทางด้านหลังตอนล่างของเครื่องเล็งและควบคุมวิถีอย่าดึงเชือกเมื่อต้องการจะเปิดฝาครอบ เพราะอาจจะทำให้เชือกขาดได้ ที่ด้านล่างของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ จะมีหมุดอยู่ ๔ ตัว (ข้างละ ๒ ตัว) ซึ่งหมุดเหล่านี้จะเข้าได้พอดีกับ ๔ ช่องที่แท่นรองรับเครื่องเล็งและควบคุมวิถี และหมุดทางด้านหลังข้างซ้ายอีกตัวหนึ่งก็จะจับพอดีกับคลิ๊ป ที่แท่นรองรับเครื่องเล็งและควบคุมวิถี

           แผ่นฝาทางด้านล่างเรียกว่าฝาครอบเครื่องอุปกรณ์ (ACCESS COVER) ทำหน้าที่ป้องกันเครื่อง อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอยู่ข้างหลังแผ่นนี้ ฝาครอบนี้ปิดแน่นโดยมีสกรูยึดอยู่ทั้ง ๒ ข้าง

 ข. เครื่องยิงครบนัด (DRAGON ROUND)

         ส่วนแรกของอาวุธเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังนำวิถีดรากอน ที่จะกล่าวถึงในรายละเอียดก็คือ "เครื่องยิงครบนัด" เครื่องยิงครบนัด เปรียบเสมือนเป็น "ลูกกระสุน" ของอาวุธชนิดนี้ มีน้ำหนัก ๑๑๕ กิโลกรัม ๒๕.๓๐ (ปอนด์) และมีความยาว ๑๑๕ เซ็นติเมตร (๔๕.๕๐ นิ้ว)

รูปที่ ๓ เครื่องยิงครบนัด

           เครื่องยิงครบนัด ประกอบด้วย กระบอกเครื่องยิง และลูกจรวดซึ่งบรรจุอยู่ภายในเรียบร้อยจาก โรงงานผู้สร้าง กระบอกเครื่องยิงนี้ สามารถที่จะถือ และนำติดตัวไปได้โดยสะดวก และทำการยิงได้ทันทีที่ต้องการและทิ้งไปได้หลังจากทำการยิงไปแล้ว

ลูกจรวด ซึ่งบรรจุอยู่ภายในกระบอกเครื่องยิงนี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ ส่วนคือ

           ๑. ส่วนหัวรบ (WARHEAD SECTION) ประกอบด้วยดินระเบิด และระบบฟิวส์

           ๒. ส่วนกลาง (ENTER SECTION) ประกอบด้วย ROCKET MOTORS และแผงวงจรการยิง (FIRINGCIRCUIT BOARDS)

           ๓. ส่วนท้าย (AFT SECTION) ประกอบด้วย BATTERY, GYRO, MISSILE ELECTRONIC SINFRARED FLARE, WIRE AND BOBBIN ASSEMBLY และ FIN ASSEMBLY

           ลูกจรวดของอาวุธเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังนำวิถีดรากอนนี้มี ๒ แบบคือ

           ๑) ลูกจรวด M 222 ซึ่งหัวรบ (WARHEAD) จะบรรจุดินระเบิดต่อสู้รถถังแรงสูง

           ๒) ลูกจรวดฝึก M 223

           กระบอกเครื่องยิง จะประกอบด้วย

           ๑) ตัวกระบอกกลม ทำด้วยไฟเบอร์กลาส ผิวเรียบ มีใยเส้นลวดเล็ก ๆ ม้วนอยู่ภายใน

           ๒) BREECH AND GAS PRESSURL GENERRATOR ASSEMBLY

           ๓) LAUNCHER WIRING HARNESS

           ๔) TRACKER (THERMAL) BATTERY

           ๕) แท่นรองรับเครื่องเล็งและควบคุมวิถี

           ๖) ขาหยั่ง

           ๗) ตัวกันสะเทือนหน้าหลัง

           ๘) สายสะพาย

           เครื่องยิงครบนัดนี้สามารถนำติดตัวไปได้โดยจะติดเครื่องเล็งและควบคุมวิถีเข้าไปด้วยหรือไม่ก็ได้โดย ปกติแล้วการนำติดตัวไปด้วยจะมีอยู่ ๓ ท่าคือ

           ๑) ท่าสะพายใต้แขน

           ๒) ท่าสะพายเหนือไหล่

           ๓) ท่าสะพายขวาง

ท่าสะพายไหล่ขวาเครื่องยิงทำมุมกับพื้น 

ท่าสะพายไหล่ซ้าย  

ท่าสะพายขวาง 

ท่าสะพายไหล่ขวาเครื่องยิงขนานกับพื้น  

รูปที่ ๔ ท่าถืออาวุธ 


           สายสะพายสามารถปรับได้ เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละท่า และปรับให้ตึงเมื่อเก็บรักษา ตัวกันกระเทือนหน้า ทำด้วยโฟมอ่อนนิ่มปิดอยู่ด้านหน้าของเครื่องยิงเพื่อป้องกันมิให้ฝุ่นละอองหรือความชื้นเข้าไปทางด้านหน้าตัวกันกระเทือนหน้านี้หลุดออกมาโดยอัตโนมัติ เมื่อเรากางขาหยั่งออกก่อนที่จะทำการยิงทางด้านหน้าของ ตัวกันกระเทือนหน้านี้จะมีช่องซึ่งมีมาตราวัดความชื้นติดอยู่ มาตราวัดความชื้นนี้จะเป็นวงกลม ๓ วงมีตัวเลข ๓๐, ๔๐ และ ๕๐ อยู่ภายใน วงกลมเหล่านี้จะเป็น สีน้ำเงิน เมื่อภายในเครื่องยิงมีความแห้ง และจะเปลี่ยนเป็น สีชมพู เมื่อภายในเครื่องยิงมีความชื้นที่ด้านหลังของมาตราวัดความชื้น จะมีแผ่นดูดความชื้น อยู่ซึ่งมีหน้าที่ดูดซับความชื้นที่จะเข้าไปภายในเครื่องยิงถ้าความชื้นที่เข้าไปในเครื่องยิงมีปริมาณ เกินกว่าที่แผ่น ดูดความชื้นจะรับได้ ช่องวงกลมของมาตราวัดความชื้นนี้จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูซึ่งมีความชื้นมากขึ้นเท่าใด ช่องนี้ก็จะยิ่งเป็นสีชมพูมากขึ้นเท่านั้น

แท่นรองรับเครื่องเล็งและการควบคุม

           จะอยู่ทางด้านหลังของตัวกันกระเทือนหน้าและอยู่ด้านบนของตัวเครื่องยิงจรวดมีจุดประสงค์เพื่อสามารถที่จะติดตั้งเครื่องเล็ง และควบคุมวิถีเข้ากับกระบอกเครื่องยิงได้รวดเร็วทางด้านข้างของแท่นรองรับนี้จะมีช่องอยู่ ๔ ช่อง เพื่อที่จะนำเครื่องเล็งและควบคุมวิถีเข้าที่ได้โดยสะดวก และจะมีคลิ๊ปอีกตัวหนึ่งอยู่ทางด้านหลังทางซ้ายของแท่นรองรับนี้ ทำหน้าที่ล๊อคเครื่องเล็งและควบคุมวิถีให้แน่นอยูกับที่ทางด้านหลังของแท่นรองรับนี้จะมีตัว ELECTRICAL CONNECTOR ซึ่งจะสวมเข้ากับเครื่องเล็งและควบคุมวิถีพอดี และจะก่อให้เกิดระบบไฟฟ้าที่สมบูรณ์ขึ้น ตัว CONNECTOR นี้จะมีฝาครอบซึ่งจะป้องกันมิให้ถูกน้ำและฝุ่นละอองต่าง ๆ

           จากตัว CONNECTOR นี้จะมีทางเดิน ของสายไฟไปทางด้านหลัง ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อตัวเครื่องเล็งและควบคุมวิถีเข้ากับปลายด้านท้ายของเครื่องยิงครบนัดและตัวลูกจรวดซึ่งอยู่ภายใน

           ที่ปลายของทิศทางเดินสายไฟจะมีหมุดโลหะอยู่ ๒ ตัว ซึ่งจะนำสายไฟจากทางเดินสายไฟเข้าสู่ TRACKER BATTERY TRACKER BATTERY นี้จะทำให้ตัว GYRO ทำงานและก่อให้เกิดกำลังแก่เครื่องเล็งและ ควบคุมวิถี

ตัวกันกระเทือนหลัง

           ทำด้วยโฟมอ่อนนิ่มเช่นเดียวกับตัวกันกระเทือนหน้า ปิดแน่นอยู่กับด้านหลังของเครื่องยิงตัวกันกระเทือนหลังนี้จะกระเด็นออกมาโดยแรงระเบิด ทางท้ายที่เกิดขณะทำการยิง ตัวกันกระเทือนหลังยัง ทำหน้าที่ป้องกันBREECH AND GAS PRESSURE GENERATOR ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและก่อให้เกิดแรงดันที่จะไป ขับดันลูกจรวดออกไปจากเครื่องยิง GENERATOR ตัวนี้ยังทำหน้าที่ลดแรงสะท้อนถอยหลัง และก่อให้เกิดความ เร็วต้นแก่ลูกจรวดด้วยภายใน GENERATOR นี้จะบรรจุดินขับระเบิด (EXPLOSIVE PROPELLANT) หนัก ๓๒๐ กรัม(๐.๗ ปอนด์) เมื่อขับดินระเบิดขึ้นก็จะเกิดแรงดันขึ้น เมื่อแรงดันนี้เพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้แผ่น DIAPHRAGMของ GENERATOR แตกและทำให้สกรูที่ยึดลูกจรวดขาด ลูกจรวดก็จะวิ่งออกจากเครื่องยิงและตัวกันกระเทือน หลังก็จะกระเด็นออกมา

ขาหยั่ง

           ติดอยู่ทางด้านซ้ายของเครื่องยิง และอยู่ในที่ของมันโดยมีสายรัดขาหยั่งอยู่ ขาหยั่งนี้จะช่วยในการเล็ง ไปยังเป้าหมาย เมื่อพับเก็บอยู่ในที่ มันจะแบนราบไปกับตัวเครืองยิงและติดอยู่กับตัวกันกระเทือนหน้าจะหลุดออกโดยอัตโนมัติ ขาหยั่งนี้สามารถปรับได้ทั้งทางสูงและทางระดับ เพื่อให้เหมาะกับพลยิงและ สภาพภูมิประเทศและกางออกได้ ๔๕ องศา ไปทางซ้ายและทางขวาจากกึ่งกลางของมัน

แผ่นป้ายโลหะ

           ที่ติดอยู่กับเครื่องยิงนี้ จะบอกถึงชนิดของเครื่องยิงและหมายเลข (LOT NUMBER)

แถบสี

           รอบตัวเครื่องยิงทางด้านหน้าและด้านหลังของเครื่องยิงจะบอกถึงชนิดของเครื่องยิงเช่นเดียวกันแถบสีน้ำตาล, ทางด้านหลังและแถบสีเหลืองทางด้านหน้า จะเป็นกระสุนจริง (M 222) แถบสีน้ำเงินด้านหน้า หมายถึงกระสุนฝึก (M 223)

ค. การทำงานของลูกจรวดดรากอน

ลูกจรวดดรากอน ประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๓ ส่วนคือ

           ๑. ส่วนหัวรบ

           ๒. ส่วนกลาง

           ๓. ส่วนท้าย

รูปที่ ๕ ลูกจรวดอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอน (MISSILE)


           ๑. ส่วนหัวรบ ประกอบด้วย

                  ก) ส่วนชนวนประกอบด้วย ๒ ส่วนใหญ่คือ

                  - สวิตช์ระเบิดที่ปลายหัวจรวด ซึ่งจะจุดชนวนเมื่อหัวจรวดกระทบพื้นดินหรือที่หมาย

                  - เครื่องนิรภัยและเครื่องยิงจะทำการ  "ห้ามไก" หรือ "ลั่นไก" และจะเริ่มทำการ "เริ่ม จุดหัวรบ" เมื่อหัวจรวดกระทบพื้นที่หรือที่หมาย.pa

                  ข) สวิตช์ไฟที่ปลายสุดของหัวจรวด จะอยู่ปลายสุดของหัวจรวด และจะระเบิดทันทีเมื่อปลายหัว จรวดนั้นกระทบพื้นหรือของแข็ง (เพราะผิวนอกกระทบผิวใน) เมื่อผิวนอกและผิวในกระทบกันแล้ว จะจุดระเบิดจากการกระทบกันโดย SAFETY AND ARMING DEVICE แต่ถ้ากระทบสิ่งขวางหน้าที่อ่อนหรือบอบบางเช่น ยอดหญ้า หญ้าปล้อง จะไม่ระเบิดแต่ถ้ากระทบกับของแข็งเข้าอย่างเต็มที่ ถึงแม้จะเป็นการกระทบมุมเฉียงก็สามารถจะระเบิดได้ วัตถุระเบิดใช้ระเบิดจาก อ๊อกทอล (OCTAL)  มีดินโพรงวัตถุระเบิด  อ๊อกทอล ๓.๕ ปอนด์ (OCTAL 3.5 POUND) ที่หัวรบ

                  ค) เครื่องนิรภัยและเครื่องยิง จะติดกับฐานของหัวรบเครื่องกลซึ่งต้องการกำลังไฟฟ้า(ELE- CTRICAL ENNERGY) และกำลังพุ่งหรือพุ่งไปข้างหน้า ก่อนที่เครื่องยิงจะทำงาน (WILL ARM) เครื่องยิงหรือเครื่องนิรภัยจะทำงาน "ยิง" ที่หัวรบในระยะ ๕ เมตร

           ๒. ส่วนกลาง ประกอบด้วย ๓ ท่อน

           - แต่ละท่อนจะเป็นฐานติดตั้งเครื่องขับจรวดทั้ง ๖๐ ตัว

           - ในแต่ละท่อนจะมีแผงไฟ ๒ แผง และจะมีตัวต่อสายไฟกับเครื่องขับจรวด เพื่อจุดระบบไฟให้ สม่ำเสมอ

                  ก) เครื่องขับจรวดจะจ่ายกำลังให้กับจรวดโดยสม่ำเสมอด้วยแรงพุ่ง TURUST และควบคุมการวิ่ง ของจรวด เครื่องขับจรวดเป็นเครื่องยนต์จังหวะเดียวแต่ยิงทีละคู่ เครื่องยนต์จะยิงจากไปด้านข้างทุกตัว

                  ข) เครื่องขับจรวดตัวที่ ๑ จะยิงระบบไฟ (FIRES) เมื่อจรวดยิงไปแล้ว ๑๐ เมตร จรวดทั้ง หมดมี ๓๐ คู่

                  ค) แผงไฟวงจรทั้ง ๖ แผงจะยิงด้วยระบบไฟ จ่ายไฟให้แก่เครื่องขับจรวดและเครื่องรายงาน ความผิดพลาด ทั้งยังควบคุมเครื่องคำนวณความผิดพลาดโดยทางสัญญาณ

           ๓. ส่วนท้าย (AFT SECTION) จะประกอบด้วย

                  - เรือนของส่วนท้ายและโครงสำหรับติดตั้งแบตเตอรี่จรวด

                  - กล้องไยโร

                  - กล้องคอมพิวเตอร์

                  - ชุด FLARE หรือชุด FLARE และอินฟราเรด

                  - สายควบคุมการวิ่งของลูกจรวด

                  - ชุดหางนำทิศ

 

                  ก) แบตเตอรี่ของ TRACKER THERMAL

                         - จะถูกจุดโดยการลั่นไก (กดไก) และจะทำการจุดจรวดด้วยแบตเตอรี่

                         - แบตเตอรี่ของจรวดจะจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับทุกส่วนของจรวด

                         - กำลังไฟฟ้าก็จะจุด (TO FIRE) และ GAS PRESSURE GENERATOR

                  ข) THE GAS DRIVEN,FREE GYROACOPE จะป้อนข่าวให้แก่ CONTROL SINGAL COMPUTER และจะเป็นตัวหลักในเรื่องการบอกตำแหน่งที่อยู่ของจรวด.pa

                  ค) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมสัญญาณ จะอยู่ข้างในเรือนปุ่ม (BOBBIN) เครื่องคอมพิวเตอร์จะ เปลี่ยนสัญญาณการบอก "ที่อยู่และระดับของจรวด" จาก TRACKER ให้เป็นคำสั่งยิงแบบสัญญาณ (FIRING SIGNALS) แก่เครื่องขับจรวด สัญญาณนี้จะส่งเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือกระแสไฟฟ้า

                  ง) THE FLARE ASSEMBLY (INFRARED SOURCE) จะอยู่ตอนท้ายของจรวดและจะบอกราย ละเอียดของตำแหน่งให้แก่ TRACKER

                  จ) THE GUIDANCE WIRE AND SUPPORT ASSEMBLY มี SIX POUND TEST อยู่ ๓ ตัว มีสายห้อยกันมิให้กระแสไฟฟ้ารั่วได้ ๓ สายพันกันเป็นเกลียว (เป็นเส้นเดียว) สายต่อที่ว่านี้จะติดต่อระหว่างเครื่อง ยิงและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ของต่อไปยังเครื่องควบคุมคอมพิวเตอร์ที่ท้ายลูกจรวด

                         - เส้นที่ ๑ จะบอกข้อมูลเรื่องระดับทางราบของลูกจรวดจากเครื่อง TRACKER ไปยังเครื่อง คอมพิวเตอร์

                         - เส้นที่ ๒ จะบอกมุมในทางดิ่ง (VERTICAL)

                         - เส้นที่ ๓ จะเป็นสายดิน (GROUND)

                  ข้อมูลที่อยู่ของลูกจรวดในขณะที่วิ่งอยู่ในอากาศจะถูกเปลี่ยนเป็น "คำสั่งยิง" ผ่านการตรวจแก้ของ เครื่องขับจรวดเพื่อให้จรวดวิ่งไปให้ถูกที่หมาย

                  ฉ) ชุดหาง จะติดอยู่กับส่วนท้ายของจรวดและครีบหางจะพับอยู่ที่ท้ายจรวดด้วยเมื่อยิงพ้นลำกล้อง แล้วครีบก็จะปิดเข้าที่ (กางออก) ครีบหางยาวประมาณ ๙ ซม. และจะทำมุม ๒ องศา เพื่อทำให้ลูกจรวดหมุนเมื่อจรวดวิ่ง ลูกจรวดหมุน ๕ รอบ/วินาที (ไม่ใช้ปฎิบัติ ๕ วินาที)

                  ช) ลำดับขั้นตอนของการทำงานของลูกจรวด (FIRING SEQUENCE)

                         - เมื่อลั่นไกหรือกดไก (DEPRESSED)

                         - เครื่องลั่นไกจะทำให้เกิดแรงผลักดัน (GENERATE) ไฟฟ้าขึ้นและจะส่งพลังไฟฟ้านี้ไปให้แก่แบตเตอรี่ของเครื่องลันไก

                         - แบตเตอรี่ของเครื่อง TRACKER จะไปกระตุ้นแบตเตอรี่ของจรวดและของ GYRO

                         - เมื่อเครื่องทรงตัวของ GYRO มีความเร็วถึงจุดหนึ่งที่ทำให้ FIRING PULSE (การจุดไฟฟ้าก็จะจุดต่อไปที่) เครื่องกำหนดความดันของแก๊สหรือ (GAS PRESSURE GENERATOR) ตั้งแต่การกดไกหรือ ลั่นไกจนกระทั่งจรวดพุ่งออกพ้นจากปากลำกล้องเครื่องยิงจะใช้เวลา .๖ วินาที (๖/๑๐ วินาที)

                  ซ) เมื่อดินส่งที่อยู่กำเนิดความดันของแก๊สถูกจุดแรงดันจะขยายตัวออกและกำหนดให้อยู่ระหว่างหน้าต่างจรวดและตัวจรวดกับจานปิดท้าย แรงดันที่ขยายตัวนั้นมีกำลังมากพอที่จะตัดน๊อตยึดจรวดและดันลูกจรวดออก จากเครื่องยิง และในเวลาเดียวกันนี้ตัวกันกระเทือนหลังก็จะปลิวออกจากท้ายของเครื่องยิง เมื่อลูกจรวดวิ่ง ออกไปในสนามยิงสวิตช์ของแรง (G) ดึงดูดของโลกจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวไปข้างหน้าและจะไปจุดสวิตช์ความเฉื่อยของเครื่องทรงตัว GYRO ให้ช้าลงซึ่งจะทำให้การยิงของเครื่องขับจรวดไม่เกิดอันตรายต่อพลยิง

                  ฌ) ในขณะที่จรวดวิ่งพ้นปากลำกล้องในระยะ ๒๕ เมตร ทุกอย่างก็จะทำงานได้พร้อมเสร็จโดย

                         - ครีบหางก็จะกางออกเข้าที่ได้สนิท

                         - แสงอินฟราเรดใน FLARE และสายควบคุมการยิงก็จะเริ่มทำงาน

                         - เครื่องยิงและเครื่องนิรภัยเริ่มทำงาน (PLAYED)

                         - เครื่องควบคุมสัญญาณใน TRACKER จะบอกความผิดพลาดระหว่างการเล็งของพลยิงกับ เครื่องควบคุมสัญญาณ (TRRACKER SIGNAL COMPARATOR)

                  ตำแหน่งของลูกจรวดจะถูกส่งกลับไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลูกจรวด ทางสายควบคุมลูกจรวดเครื่อง คอมพิวเตอร์จะทำการปรับให้ถูกต้อง ในความผิดพลาดของตำแหน่งจรวดที่ได้รับมาจากเครื่อง TRACKERเครื่องคอมพิวเตอร์จะควบคุมสัญญาณโดยบังคับให้กระทำอยู่ ๒ อย่างคือ

                         - ทำให้ลูกจรวดหมุนได้ตรงเพื่อการยิงของเครื่องขับจรวด

                         - ทำให้การยิงเครื่องขับจรวดทันที เมื่อได้รับคำสั่งที่ถูกต้องจากเครื่องบังคับการเล็งด้วยสายของตา พลยิง

                  ภารกิจอันสำคัญของการยิง ROCKET MOTER คือ

                         - การเร่งความเร็วของจรวด (ACCELERATION)

                         - การแก้ลูกจรวดให้ไปตรงทิศทางเพื่อให้ถูกที่หมาย

                  ญ) การทำงานของลูกจรวดตามลำดับขั้นนั้น จะติดต่อกันไปตลอดเวลาที่จรวดวิ่งไป การวิ่งของลูก จรวดจะทำงานด้วยระยะสั้น ๆ (SHORT TRAJECTORIES) จนกว่าลูกจรวดจะกระทบที่หมายระหว่างลูกจรวด กำลังวิ่งพลยิงเพียงแต่ปรับกากบาทในกล้องเล็งให้อยู่กึ่งกลางของเป้าหมายคือ รถถังเท่านั้น เมื่อกระทบ เป้าหมาย (UPON CONTACT) สวิตช์ปลายสุดของหัวรบจะจุดระเบิดและจุดชนวนให้ทำงานแล้วก็จะระเบิดหัวรบต่อไป

                  ฎ) จะต้องถอด TRACKER ออกจากเครื่องยิง (กระบอก) หลังจากระเบิด ณ ที่หมายแล้วให้ถอด คลิ๊ปยึดเครื่องรองรับ TRACKER ด้านซ้ายข้างหลังแล้วเลื่อนตัวไปข้างหน้าพร้อมกับยกออกจากเครื่องรองรับเป็นอันเสร็จพิธี กระสุนที่ใช้แล้วก็โยนทิ้งไปหรือทำลายเสีย