ประวัติ


M1911 เป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติที่ทรงพลังชนิดหนึ่งของโลก ออกแบบโดยจอห์น บราวนิง ผู้ออกแบบอาวุธปืนชาวเบลเยียม ผลิตโดยบริษัทโคลต์ จดสิทธิบัตรห้ามลอกเลียนแบบ ในปี ค.ศ.1911 (พ.ศ. 2454)

M1911 ถูกนำไปใช้ในหลายกองทัพและหลายสงคราม โดยถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1899-1913 ในขณะที่สหรัฐอเมริกาได้เข้าสงคราม Philippin American War เนื่องจากปืนพก .38 ACP ไม่สามารถหยุดยั้งนักรบ Moro ที่สวมเกราะไม้ไผ่ได้

M1911 ได้เป็นอาวุธประจำกายทหารสหรัฐต่อในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจบสงคราม ได้รายงานข้อบกพร่องต่าง ๆ ของปืน จากการใช้งานจริง เช่น เมื่ออากาศหนาว สวมถุงมือ เอานิ้วเข้าโกร่งไกลำบาก กระสุนกินต่ำ เป็นต้น Colt จึงได้แก้ไขปรับปรุงเป็น M1911A1 ในเวลาต่อมา

ในปี ค.ศ.1985 สิทธิบัตรคุ้มครองหมดสิ้นลง บริษัทปินอื่นจึงได้นำแบบไปผลิตกันเป็นจำนวนมาก M1911 ยังผลิตอยู่ในปัจจุบัน ใช้กระสุน .45 ACP บรรจุกระสุนได้ 7 นัด ซึ่งรุ่นของ M1911 ได้แก่ M1911A1, M1911A2 และ RIA Officer

M1911


M1911 A1

เป็นปืนที่ดัดแปลงมาจากปืนพก M1911 โดยมีรายการทั่วไป, การใช้งาน, การทำงานเหมือนกันทั้ง 2 แบบ การดัดแปลงมีดังนี้

  1. หางห้ามไกช่วยทำให้ยาวออกมาอีก เพื่อให้รับกับมือดีขึ้น

  2. โครงปืนบริเวณที่พักนิ้วเหนี่ยวไกเว้าเป็นช่องเข้าไป เพื่อเป็นที่พักของนิ้วชี้ขวา

  3. ไกสั้นเข้ามาและทำเป็นร่องลาย ช่วยให้การเหนี่ยวไกดีขึ้น

  4. ศูนย์หน้าใหญ่กว้างขึ้น

  5. เรือนแหนบนกปืน (MAIN SPRING HOUSING) ทำให้โค้งออกมาและเป็นร่องลายกันลื่นช่วยให้การจับกำดีขึ้น

RIA Officer

Rock Island Arsenal M15

คัดลอกมา

.45 เอซีพี

"เดอะ แมน สต็อปเป้อร์"

หากถามผู้ใช้อาวุธปืนไม่ว่าจะเป็นการยิงเพื่อการกีฬา หรือเพื่อการป้องกันตัวว่า"กระสุนในดวงใจ"ของแต่ละคนนั้นคือขนาดใด ให้เลือกมา 2 คำตอบ เชื่อว่ากว่า 99 เปอร์เซ็นต์จะต้องมีกระสุนขนาด .45 เอซีพี อยู่ในคำตอบนั้นด้วย เป็นขนาดกระสุนที่นักนิยมปืนเกือบทุกคนพยายามเหลือเกินที่จะแสวงหามาไว้ในครอบครองอย่างน้อยก็สักกระบอกหนึ่ง กระสุนขนาดนี้มีอานุภาพแค่ไหน? ทำไมทุกคนถึงอยากได้ไว้ในครอบครอง ยังมีความเร้นลับและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกระสุนขนาดนี้อีกมากมาย อะไรคือข้อเท็จจริง...ต่อไปนี้คือคำตอบ

กระสุนที่มีหน้าตัดขนาด .45 นิ้วถูกนำมาใช้ครั้งแรกกับโค้ลท์ ซิงเกิ้ล แอ็คชั่น อาร์มี่ เอ็ม 1873 หรือที่รู้จักกันดีในอีกชื่อหนึ่งว่าโค้ลท์ พี๊ซเมคเก้อร์(Colt Peacer Maker)ผลงานของแซมมวล โค้ลท์(Samuel Colt)ชาวสหรัฐฯซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1814-1862 เรียกว่า .45 ลองโค้ลท์ เป็นแบบมีขอบหรือ"ริมเมด"(Rimmed)ออกแบบขึ้นมาในปีค.ศ. 1872 น้ำหนักหัวกระสุน 250 เกรน ความเร็วต้น 860 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 420 ฟุต/ปอนด์ ยุคแรกใช้ดินขับแบบดินดำหรือ"แบล็ค เพาเด้อร์"(Black Powder) ก่อนเปลี่ยนมาเป็นดินขับไนโตร(Nitro-powder)

ในปีค.ศ.1900 กองทัพบกสหรัฐฯก็ปลดประจำการเอ็ม 1973 นำโค้ลท์ ดับเบิ้ล แอ็คชั่น .38 ลองโค้ลท์เข้าประจำการแทน เนื่องจากมีความเห็นว่าเป็นปืนที่มีน้ำหนักมาก การบรรจุและการคายปลอกกระสุนเชื่องช้าไม่ทันต่อการต่อสู้ แต่ในปีเดียวกันนั้นกองทัพบกสหรัฐฯ ก็ได้รับบทเรียนอันเจ็บปวด และกลายเป็นจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญยิ่งของโลกอาวุธปืน กันยายน 1900 พันตรีโรเบิร์ต บุลลาดนำเรือแคนนูขนาดเล็ก เข้าเกยชายหาดทะเลสาบลันโนของฟิลิปปินส์ ทันทีที่เท้าสัมผัสพื้นนักรบของพวกกบฏโมโร ที่ดักซุ่มรออยู่ในพุ่มไม้ห่างออกไปราว 20 หลาก็พุ่งทะยานเข้าหาพร้อมด้วยดาบโบโล่ที่คมกริบ พันตรีบุลลาดใช้โค้ลท์ ดับเบิ้ล แอ็คชั่น .38 ลองโค้ลท์ยิงสวนออกไป กระสุนจับเข้าที่ร่างของนักรบโมโรนัดแล้วนัดเล่า แต่ไม่อาจหยุดอีกฝ่ายหนึ่งได้ จนกระทั่งเขาระเบิดกระสุนนัดสุดท้ายออกไป นักรบผู้นั้นจึงทรุดยวบลงพร้อม ๆ กับที่เขาถึงตัวเขา นายทหารหนุ่มฟาดปืนในมือลงบนหัวอย่างไม่นับ จนฝ่ายตรงข้ามนิ่งเงียบไป เมื่อพลิกศพขึ้นดูก็พบว่ากระสุน .38 ทั้ง 6 นัดจับเข้าที่กลางทรวงอกอันเป็นจุดตายทั้งสิ้น แต่อานุภาพของกระสุนไม่สามารถจะสังหารฝ่ายตรงข้ามได้ เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดก็พบว่า นักรบบ้าเลือดผู้นั้นเสียชีวิตเพราะถูกทุบจนกระโหลกร้าว ทำให้เชื่อว่าลำพังอำนาจของกระสุน .38 คงไม่ทำให้นักรบหนุ่มเสียชีวิตเร็วอย่างนั้น

28 กันยายน 1900 กองพันทหารราบที่ 9 ของสหรัฐฯจำนวนกว่า 200 นายที่ส่งไปประจำการอยู่ที่ ตำบลบาลังกีกาของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เพื่อทำการปราบ"กลุ่มกบฏโมโร" โดยมีอาวุธหลักประกอบด้วยไรเฟิ่ลแคร๊กขนาด .30-40และปืนรีวอลเว่อร์โค้ลท์ ดับเบิ้ล แอ็คชั่น .38 ลองโค้ลท์ ถูกพวกกบฏที่มีเพียง"ดาบโบโล่"บุกเข้าสังหารเสียชีวิตเกือบกองพัน เหลือเอาชีวิตรอดมาได้เพียงแค่ 28 คน มีเพียงแค่ 4 คนเท่านั้นที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ! ทำให้สหรัฐฯต้องนำโค้ลท์ ซิงเกิ้ล แอ็คชั่น อาร์มี่ .45 ลองโค้ลท์ที่ปลดไปแล้วกลับเข้าประจำการอีกครั้ง พร้อมกับให้บริษัทโค้ลท์ผลิตรีวอลเว่อร์ดับเบิ้ล แอ็คชั่นโค้ลท์ นิวเซอร์วิส .45 ลองโค้ลท์เพิ่มอีก 5,000 กระบอกเพื่อส่งเข้าไปที่ฟิลิปปินส์ บทเรียนราคาแพงในครั้งนั้น กองทัพบกจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อค้นคว้าเรื่องอำนาจหยุดยั้งของกระสุนปืนสั้นขึ้นในปีค.ศ. 1904 ทำการค้นคว้าและทดสอบกระสุนตั้งแต่ .30 นิ้วขึ้นไปจนถึง .476 นิ้ว มีน้ำหนักหัวกระสุนตั้งแต่ 93 เกรนไปจนถึง 288 เกรน ความเร็วต้นตั้งแต่ 700 ฟุต/วินาทีถึง 1,420 ฟุต/วินาที ประกอบด้วยหัวกระสุนที่ใช้โลหะแตกต่างกันทั้งตะกั่วล้วน, ตะกั่วหุ้มเปลือกแข็ง ตลอดไปจนถึงรูปแบบต่าง ๆ ของหัวกระสุนเช่น หัวมนหรือราวด์โน๊ส(Round Nose)และหัวรูหรือ ฮอลโล่ว์ พ๊อยท์(Hollow Point) ทดสอบด้วยการยิงเป้าหมายที่มีชีวิตจริงได้แก่วัว 16 ตัว ม้า 2 ตัว รวมไปถึงศพของมนุษย์ที่ใช้ในการศึกษาทางการแพทย์อีกจำนวนมาก เพื่อดูผลอำนาจการทำลายล้างของกระสุนแต่ละขนาด ผลสรุปออกมาว่า...กระสุนปืนสั้นที่ให้อำนาจหยุดยั้งที่น่าเชื่อถือได้ต้องมีหน้าตัดไม่ต่ำกว่า .45 นิ้ว ในปีค.ศ. 1902 กองทัพบกสหรัฐฯจึงให้เบราว์นิ่งก์พัฒนาปืนพกกึ่งอัตโนมัติโค้ลท์ เอ็ม 1902 ขนาด .38 ที่ออกแบบไว้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1900 เพื่อให้ใช้กระสุนที่มีหน้าตัด .45 นิ้ว

กำเนิด.45 เอซีพี ในปีค.ศ. 1905 จอห์น โมเสส เบราว์นิ่งก์และบริษัทโค้ลท์ ไฟร์อาร์มส์(Colt Firearms)พัฒนาปืนออโต้ฯของโค้ลท์ เอ็ม 1905 ออกมาใช้กระสุนขนาด .45 ก่อนพัฒนาเป็นเอ็ม 1911 เรียกกระสุนที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ว่า... ".45 เอซีพี"( ACP= Automatic Colt Pistol) กระสุนมาตรฐานมีน้ำหนักหัวกระสุน 230 เกรน ยิงจากลำกล้องทดสอบ 5 นิ้วได้ความเร็วต้น 850 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 369 ฟุต/ปอนด์ โค้ลท์ เอ็ม 1911-เอ1และกระสุน .45 เอซีพี ผ่านสงครามใหญ่ ๆ มาแล้วอย่างโชกโชน ไม่ว่าจะเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1, ครั้งที่ 2, สงครามเกาหลีมาจนถึงสงครามเวียตนาม ก่อนถูกปลดในปี 1988 หลังจากที่รับใช้บรรดาจีไอมายาวนานถึง 77 ปี การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้มองกันว่ากระสุน.45 เอซีพี ได้เดินทางมาถึงวันสุดท้ายแล้ว สาเหตุที่แท้จริงก็เพื่อความสะดวกในการส่งกำลังบำรุง เนื่องจากประเทศในกลุ่มนาโต้ หรือนอร์ธ แอ็ตแลนติก ทรีตตี้ ออร์แกนไนเซชั่น(North Atlantic Treaty Organization) ใช้กระสุน 9 มม.พาราฯ ซึ่งได้เปรียบในเรื่องวิถีที่ราบเรียบกว่าและน้ำหนักของกระสุนที่น้อยกว่า ทำให้ทหารสามารถนำพากระสุน 9 มม.พาราฯติดตัวไปได้มากกว่าในน้ำหนักรวมที่เท่ากัน แต่นักยิงปืนที่ศึกษาในเรื่องอำนาจหยุดยั้งอย่างจริงจัง ทั้งในอเมริกาเองและในประเทศไทย ยังคงเชื่อมั่นในอำนาจหยุดยั้งของกระสุน .45 เอซีพีอย่างไม่เสื่อมคลาย พล.อ.จูเลี่ยน แฮ๊ทเช่อร์(Julain Hatcher) ติดตามผลการทดลองปีค.ศ. 1904 มาตลอดตั้งสูตรคำนวณหา"อำนาจทำลายสัมพันธ์"หรือ"อาร์เอสที"((Relative Stopping Power)ระบุว่า... "อำนาจทำลายของกระสุนปืนขึ้นตรงเป็นอัตราส่วนกับโมเม้นตั้มของหัวกระสุน และพื้นที่หน้าตัดของกระสุน ตลอดจนรูปลักษณะของหัวกระสุน"

พล.อ.จูเลี่ยน แฮ๊ทเช่อร์สรุปว่า...กระสุนที่มีอำนาจหยุดยั้งเชื่อถือได้ ต้องมีอำนาจทำลายสัมพันธ์ไม่ต่ำกว่า 50 หน่วย ส่วนกระสุนที่พอใช้ป้องกันตัวได้ต้องมีค่าไม่ต่ำกว่า 30 หน่วย เทาเซ่น เวเลนและจอมปืนอย่างเอลเม่อร์ คี๊ธซึ่งล้วนแต่เป็นปรมาจารย์ของอาวุธปืนสั้น ก็ตั้งทฤษฎีเอาไว้ตรงกันว่า กระสุนปืนที่มีอำนาจหยุดยั้งมนุษย์ได้ดีที่สุด คือกระสุนที่มีความเร็วพอประมาณ แต่ต้องมีหน้าตัดที่โตและต้องมีน้ำหนักมาก ขณะเดียวกับที่พ.อ.นายแพทย์มาร์ติน แฟ๊คเล่อร์(Martine Faclor)แห่งกองทัพบกสหรัฐฯก็ระบุว่า... "รูกระสุนที่ใหญ่กว่าและลึกกว่าจะทำให้สูญเสียโลหิตในปริมาณมาก ส่งผลให้ข้าศึกหมดสมรรถภาพในการสู้รบอย่างรวดเร็ว" ด้วยขนาดของหน้าตัด, น้ำหนักหัวกระสุนและความเร็วที่มีความสัมพันธ์กันได้อย่างลงตัว ถือเป็น"ความบังเอิญ"ทางเทคนิค นอกเหนือไปจากอำนาจหยุดยั้งอันศักดิ์สิทธิ์แล้วยังมีความแม่นยำสูงกว่ากระสุนปืนสั้นขนาดอื่น ๆ โดยเฉพาะในระยะไม่เกิน 25 เมตร ปัจจุบันผู้ผลิตกระสุนได้พยายามออกแบบหัวกระสุน ให้มีคุณสมบัติในการทำลายล้างและหยุดยั้งให้ดีขึ้นกว่ากระสุนหัวบอลเคลือบเปลือกแข็งที่ใช้กันมานาน กระสุนที่ให้อำนาจหยุดยั้งได้ดีก็คือ กระสุนหัวรูซึ่งเมื่อกระทบเป้าหมายหัวกระสุนไว้จะฉีกและแบะบานออก เพิ่มขนาดของหน้าตัดให้ใหญ่ขึ้นกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จาก .45 นิ้วจะเพิ่มขึ้นเป็น .60-.61 นิ้วสร้างความยับเยินให้กับบาดแผลมากขึ้น จากการรวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์ที่ยิงกันจริง ๆ ในสหรัฐอเมริกา โดยอีวาล พี. มาร์แชล ตั้งแต่ปีค.ศ. 1971-1996 พบว่า กระสุนเฟดเดอรัล หัวรูแบบไฮดร้าช็อค 230 เกรน ให้อำนาจหยุดยั้งดีที่สุด จากการยิงกันจริงด้วยกระสุนชนิดนี้จำนวน 67 กรณี ผลปรากฏว่าเป็นการยิง"ชนิดโป้งเดียวจอด"สูงถึง 62 ครั้งหรือร้อยละ 93

.45เอซีพี ปะทะ .357 แม็กนั่ม "คู่กัด"ที่มีความสมน้ำสมเนื้อและมักถูกนำมาเปรียบเทียบกับกระสุน .45 เอซีพีมากที่สุดคือ.357 แม็กนั่มซึ่งเป็นกระสุนยอดฮิตที่ใช้ในปืนรีวอลเว่อร์ กระสุนมาตรฐานของ .357 แม็กนั่มมีน้ำหนักหัวกระสุน 158 เกรน ความเร็วต้น 1,235 ฟุต/วินาที ให้แรงปะทะต้น 535 ฟุต/ปอนด์ เมื่อนำเอามาเปรียบเทียบกันจะพบว่า .45 เอซีพีหนักกว่าถึง 72 เกรน มีหน้าตัดใหญ่กว่า 0.10 นิ้วหรือ 2 มิลลิเมตร แต่ .357 แม็กนั่มให้ความเร็วต้นกว่า 385 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้นมากกว่า 166 ฟุต/ปอนด์ จากตัวเลขดังกล่าวกระสุน.357 แม็กนั่มจะดู "เหนือชั้นกว่า" แต่การจะตัดสินชี้ขาดลงไปว่า กระสุนขนาดใดมีอำนาจเหนือกว่านั้น ต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอำนาจหยุดยั้งของกระสุนนั้นแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อใหญ่ ๆ คือ 1. อำนาจหยุดยั้ง หรือ สต็อปปิ้ง เพาเว่อร์ (Stopping Power) 2. อำนาจสังหาร หรือ คีลลิ่ง เพาเว่อร์ (Killing Power) กระสุนที่มีอำนาจหยุดยั้งสูงไม่ได้หมายความว่า จะต้องมีอำนาจสังหารสูงตามไปด้วย ขณะเดียวกันกระสุนที่มีอำนาจสังหารสูง ก็ไม่ได้หมายความว่า มีอำนาจหยุดยั้งสูงด้วยเช่นเดียวกัน กระสุน .357 แม็กนั่มมีคีลลิ่ง เพาเว่อร์สูง แต่หัวกระสุนที่มีความเร็วสูงนั้นคมเกินไป เมื่อเจาะผ่านร่างกายของเป้าหมายหากไม่ถูกกระดูกขนาดใหญ่แล้วมักจะทะลุผ่าน พร้อมกับสร้างบาดแผลฉกรรจ์ให้เกิดขึ้น ซึ่งหากไม่จับเข้าจุดสำคัญจริง ๆ จะไม่สามารถหยุดหรือคว่ำคู่ต่อสู้ลงได้ในทันที หัวกระสุนจะถ่ายพลังงานเข้าใส่เป้าหมายได้เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น บางครั้งไม่ถึงครึ่งของพลังงานทั้งหมดที่มีอยู่ ผู้ที่ถูกยิงจะเกิดอาการชาและสามารถใช้อาวุธยิงตอบโต้สวนกลับมาได้ .357 แม็กนั่มจึงเป็นกระสุนที่มีคิลลิ่ง เพาเว่อร์สูง แต่มีสต็อปปิ้ง เพาเว่อร์ต่ำ ส่วนกระสุน.45 เอซีพีแม้มีความเร็วต่ำ แต่ด้วยน้ำหนักและหน้าตัดของหัวกระสุนที่สูง หัวกระสุนจึงมักไม่ทะลุผ่านเป้าหมาย เตลิดเปิดเปิงไปทำอันตรายผู้คนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่อะไรด้วยและสามารถถ่ายทอดพลังงานเข้าใส่เป้าหมายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงมีสต็อปปิ้ง เพาเว่อร์สูงกว่า ทำให้คู่ต่อสู้หยุดปฏิกิริยาการเคลื่อนไหวลงโดยสิ้นเชิง หมดโอกาสที่จะยิงสวนกลับออกมา ในการดวลกันระหว่าง .357 แม็กนั่มกับ .45 เอซีพี คนที่ถูกยิงด้วยกระสุน .357 แม็กนั่มนั้นตายแน่เนื่องจากบาดแผลที่ฉกรรจ์ แต่ยังมีโอกาสที่จะชักปืนของตนออกมายิงสวนกลับไปได้ ตรงข้ามผู้ที่ถูกยิงด้วยกระสุน .45 เอซีพีอาจไม่ถึงตาย แต่เมื่อถูกยิงเขาจะล้มลงในทันทีหยุดปฏิกิริยาที่จะตอบโต้ลงอย่างเฉียบพลัน ในการต่อสู้ระหว่างปืนกับปืน หลักการสำคัญที่สุดก็คือ จะต้องหยุดคู่ต่อสู้ให้ได้ด้วยกระสุนนัดแรก ตายหรือไม่ตายไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ต้องไม่เปิดโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามยิงสวนกลับออกมา ดังนั้นกระสุน .45เอซีพี จึงได้รับความเชื่อถือมากกว่า

จากประสบการณ์จริง เจฟฟ์ คูเป้อร์ ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นปรมาจารย์ทางด้านการต่อสู้และเป็นผู้ที่ใช้โค้ลท์ เอ็ม 1911-เอ1 .45 เอซีพีเป็นปืนคู่มือและก็เป็นผู้ที่ผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 มาแล้ว กล่าวว่า... เขาไม่สนใจกับทฤษฎีใหม่ ๆ เกี่ยวกับกระสุนปืน เขารู้แต่เพียงว่าในจำนวนคู่ต่อสู้ที่กระหายเลือดของเขา 20 คน ถูกเขายิงด้วย .45 ล้มคว่ำทันที 19 คน มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ไม่เสีย ชีวิตทันที เขามีความเชื่อมั่นในกระสุนขนาด .45 เอซีพีมากกว่ากระสุนยุคใหม่ ๆ และประเมินว่าเป็นกระสุนที่มีอำนาจหยุดยั้งระหว่าง 85-92 เปอร์เซ็นต์ ชั๊ค เทเล่อร์ซึ่งเป็นตำรวจมือปราบอีกรายและเป็นเจ้าของสถาบันสอนการยิงปืนอันโด่งดังคือธันเด้อร์ แร๊นช์กล่าวยืนยันความคิดเห็นของเจฟฟ์ คูเป้อร์ว่า... จากการที่เขาดวลปืนกับคนร้ายจำนวน 5 ราย ใน 5 พฤติการณ์ ทั้งหมดถูกหยุดด้วยโค้ลท์ เอ็ม 1911-เอ1 กระสุนขนาด .45 เอซีพีแบบหัวบอล 230 เกรนที่ใช้ในราชการ แต่ละคนถูกเขายิงเพียงคนละ 1 นัดเท่านั้น ไม่มีใครสามารถยิงสวนตอบกลับมา หรือหนีรอดเขาไปได้เลยสักคนเดียว ทั้งหมดเสียชีวิตก่อนที่เขาจะเดินเข้าไปถึงตัวเสียด้วยซ้ำ เทเล่อร์ยังกล่าวอีกด้วยว่า จากประสบการณ์ของเขา กระสุน .357 แม็กนั่มที่ยิงจากรีวอลเว่อร์ลำกล้อง 4 นิ้วเข้าที่กลางแผ่นอกของคนร้าย ปรากฏว่าคนร้ายยังสามารถวิ่งหนีไปได้ไกลถึง 60 หลาก่อนที่จะล้มลง แต่เขาเองก็ไม่กล้าชี้ขาดลงไปว่า กระสุน .357 แม็กนั่มด้อยอานุภาพในการหยุดยั้งคน

ในบ้านเราก็มีผู้ที่มีประสบการณ์จริงเกี่ยวกับอำนาจหยุดยั้งของกระสุน .45 เอซีพีเช่นเดียวกัน เท่าที่พอจะนำเอามาถ่ายทอดให้รับทราบกัน มี 3 กรณีคือ พล.อ.พิรัช สวามิวัศดุ์ ที่ปรึกษาของกัน แม็กกาซีนเล่าเหตุการณ์จริงที่ท่านได้ประสบมาด้วยตนเอง ในระหว่างที่เข้าไปรบในแบบกองโจรในลาวช่วงปี พ.ศ. 2507 "จากประสบการณ์ผมมั่นใจในขนาด .11 มม.มากกว่า ระยะใกล้ ๆ ตูมเข้าไปหงายหลังไปตั้ง 2-3 เมตร แต่ 9 มม.มันคมเกินไป แรงผลักน้อย ระยะประชิดเมื่อยิงปังเข้าไปแทนที่จะหงายออกไป กลับคว่ำหน้าเข้ามาเล่นเอาตกใจหมดเลย ถ้าเป็นการชาร์จเข้ามาของฝ่ายตรงข้าม ก็ถึงตัวเราก่อนจะล้มลง" (จากบทสัมภาษณ์พิเศษ กัน แม็กกาซีน ฉบับที่ 15 ปีที่ 2 )

2. ปี 2516 ที่เดิม ผมได้มีโอกาสใช้ปืนพกประจำตัวสังหาร โดยผมเป็นฝ่ายซุ่มโจมตีที่ระยะประมาณไม่เกิน 20 เมตร ผมจึงเก็บเอ็ม 16 วางไว้และลองดูอำนาจกระสุน 9 มม.พาราฯ (หัวบอลของยีโก้ในปืนเบราว์นิ่งก์ ไฮ-เพาเว่อร์) ส่วนลูกทีมผมที่เหลือใช้เอ็ม 16 ตามเดิม เราเป็นฝ่ายซุ่ม ผมจึงมีโอกาสเล็งประณีตและยิงไปบริเวณอก 1 นัด หัวไหล่ 1 นัด ลักษณะผู้ถูกยิงมีอาการดิ้นและไม่ตาย (หน้าอกขวาจัง ๆ เลยครับ) ต้องซ้ำที่หัวอีก 1 นัดระยะเดิมจึงสนิท

3. ผมได้รับกระสุนฮอลโล่ว์ พ๊อยท์ของเรมิงตัน 115 เกรน 9 มม.พาราฯ ในภารกิจเดิมแต่ปลายปีเดียวกันนั้น ยิงโดนบริเวณท้องน้อย 2 นัดระยะใกล้มาก ประมาณไม่เกิน 10 เมตร ยิงหน้า - 8 - อก 1 นัด รวม 3 นัด ด้วยกระสุนชนิดเดียวกัน ไม่สนิทครับสามารถยิงสวนโดนขาขวาผม(นอนรักษาอยู่เดือนครึ่ง) ด้วยคาร์บิน แต่ไม่โดนกระดูก เพื่อนผมต้องซ้ำด้วยเอ็ม 16 ซะชุดหนึ่งถึงอยู่

4. ผมมีโอกาสยิงคนข้างหลังด้วยกระสุนขนาด 9 มม.พาราฯ เดิม โดยใช้หัวบอลธรรมดาระยะประมาณ 20 เมตร โดยบริเวณหัวใจพอดีครับ ไม่ตายสนิทครับ ชักกระตุกอยู่ประมาณ 5 นาทีและเมื่อโดนแล้ว 1 นัดไม่ล้มทันที วิ่งไปได้ประมาณ 10-15 ก้าวจึงกลิ้งม้วน ผมยืนยิงและฝ่ายตรงข้ามวิ่งหนี

5. ในปี 2522 ผมจึงเปลี่ยนมาใช้ปืนของหลวง 11 มม. เอ็ม 1911 และได้มีโอกาสทดลองกับของจริงที่ จ.สุราษฎร์ธานี(ในภารกิจพิเศษ) ผมทำนอกเครื่องแบบและได้มีโอกาสดวลกับพวกโจรปล้นรถโดยสาร ซึ่งผมตามล่าเป็นทีมแต่เขาหนีจนถึงจุดอับที่เขาหนีต่อไปไม่ได้ (มีคลองกั้นหลัง) เขาจึงปักหลักซัดกันระยะประมาณ 25 เมตรครับ เขาโดนกระสุนหัวบอลกลางแสกหน้า ค่อนข้างต่ำเล็กน้อยเกือบถึงเบ้าตา เป็นกระสุนหลวงครับ W.W. กระสุนฝังในหัวครับ พี่เชื่อไหม แต่คอหักครับ ผมลองจับศพบิดดูครับและอีกคนผมยิงถูกบริเวณหน้าท้อง 1 นัด โดนขา 1 นัด ไม่ตายครับแต่คว่ำไปทันทีและดิ้นกระแด่วอยู่อย่างนั้น"

ข้อมูลจากนิตยสารจักรวาลปืน ฉบับที่ 83 ปีที่ 8 ประจำวันที่ 5 กันยายน 2527 โดย พ.ต.นิรนาม (ยศในขณะนั้น) ท่านเป็นทหารที่มีประสบการณ์ในการสังหารมาแล้ว 34 ราย ทั้งหมดท่านได้จดบันทึกลักษณะอาการของผู้ถูกสังหารด้วยอาวุธประเภทต่าง ๆ เอาไว้อย่างละเอียด กรณีที่ 3 ผมได้ประสบเหตุการณ์ด้วยตนเอง ในสมัยที่เริ่มสนใจศึกษาอาวุธปืนใหม่ ๆ ยุคนั้นที่บ้านผมที่จ.พระนครศรีอยุธยายัง"เถื่อน"อยู่พอสมควร การฆ่าแกงกันเกิดขึ้นเป็นประจำ จนกระทั่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของชาวบ้าน เป็นช่วงเวลาที่"เสือขาว"ขุนโจนชื่อดังกำลังอาละวาดอยู่แถวนั้น ญาติคนหนึ่งมีปัญหากับพวกนักเลงและถูกวางแผนลวงไปฆ่า ถูกยิงด้วยกระสุน .45 เข้ากลางแสกหน้าในระยะห่างเพียงแค่ 5 เมตร หนังหน้าผากไม่ขาด กระสุนไม่ทะลุผ่านเข้าไปฝังในสมอง แต่กระดูกหน้าผากยุบเข้าไปมีขนาดเท่ากับหัวกระสุน สามารถเอานิ้วก้อยแย่เข้าไปในรูหน้าผากได้ ผลก็คือญาติคนนี้เสียชีวิตทันทีเนื่องจากกระดูกก้านคอหัก จากกรณีทั้งหมดที่ยกเอามาเป็นตัวอย่างในบทความชิ้นนี้ คงจะประเมินหรือสรุปได้แล้วว่า กระสุนขนาด .45 เอซีพีหรือที่มักเรียกกันว่า 11 มม.นี้ คือกระสุนหยุดคนที่เชื่อถือได้และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในการต่อกรระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันทุกสถานการณ์ จากปีค.ศ. 1905 ที่จอห์น โมเสส เบราว์นิ่งก์ได้กำเนิดกระสุน .45 เอซีพี มาจวบถึงวันนี้เป็นระยะเวลายาวนานถึง 94 ปีแล้ว แต่กระสุนขนาดนี้ก็ยังเป็นกระสุนในดวงใจของบรรดานักยิงปืนระบบต่อสู้อย่างไม่เสื่อมคลายไปจนถึงศตวรรษที่ 21 .45 เอซีพีคือ กระสุนในชั้นแมน สต็อปเป้อร์(Man Stopper)อย่างแท้จริง!

ข้อมูลจาก ปืนและกระสุนครับ