ลักษณะทั่วไปของปืน

ปืนกลแบบ ๙๓ ขนาด ๑๒.๗ มม. เอ็ม ๒

ความเป็นมา

ลักษณะทั่วไปของปืน

         ๑. ชนิดของปืนเป็นปืนอัตโนมัติตั้งยิงบนขาหยั่ง

         ๒. ชนิดของการทำงานของเครื่องกลไก ทำงานด้วยแรงสะท้อนถอยหลังของลำกล้อง

         ๓. การปิดท้ายกระสุน ปิดท้ายกระสุนด้วยลูกเลื่อนโดยใช้กลอนลูกเลื่อนขัดไว้ มิให้ลูกเลื่อนถอยออกจากท้ายรังเพลิงก่อนที่ลูกกระสุนจะวิ่งผ่านพ้นปากลำกล้องไปแล้ว

         ๔. เครื่องป้อนกระสุน ป้อนกระสุนด้วยสายกระสุนข้อต่อโลหะป้อนกระสุนได้ทั้งทางซ้าย  (เอา  ๒ ห่วงเข้า) และทางขวา (เอา ๑ ห่วงเข้า) สายกระสุนมี ๒ ชนิด จุกระสุน ๑๐๐ นัด และ ๕๕ นัด

         ๕. เครื่องนิรภัย ปก.๙๓ ไม่มีห้ามไก มีแต่ห้ามลูกเลื่อน

         ๖. เครื่องบังคับการยิง ปก.๙๓ ยิงได้ทั้งกลและทีละนัด คันบังคับการยิงติดอยู่ที่เหล็กปิดท้ายห้องลูก เลื่อน

         ๗. ตำบลของลูกเลื่อน

              ก) เมื่อขึ้นนก

                  ๑) ยิงเป็นชุด ปิด

                  ๒) ยิงทีละนัด เปิด

              ข) เมื่อหยุดยิง

                  ๑) ยิงเป็นชุด ปิด

                  ๒) ยิงทีละนัด เปิด

              ค) เมื่อกระสุนหมด

                  ๑) ยิงเป็นชุด ปิด

                  ๒) ยิงทีละนัด เปิด

         ๘. การระบายความร้อน ปก.๙๓ ระบายความร้อนด้วยอากาศ รูกลมที่เจาะไว้ที่ปลอกรองลำกล้องช่วยให้อากาศเข้าไปหมุนเวียนรอบ ๆ ส่วนท้ายของลำกล้องปืนได้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังทำลำกล้องหนาเพื่อให้อุณหภูมิ  ของลำกล้องสูงขึ้นช้าเมื่อเริ่มยิงจากปืนที่ลำกล้องเย็น เพื่อป้องกันมิให้ลำกล้องร้อนจนกระทั่งความร้อนของลำ  กล้องจุดดินส่งกระสุนเองโดยมิได้สั่นไก ถ้ายิงด้วยอัตราจำกัดดังต่อไปนี้.-

 

              ก) ยิงชุดที่หนึ่ง ๗๕ นัด แล้วยิงต่อไปอีก ๒๐ ชุด ๆ ละ ๒๐ นัด

              ข) ยิงชุดละ ๒๕ นัด ๒๐ ชุด แล้วยิงต่อไปได้อีก ๘ ชุด ๆ ละ ๔๐ นัด

              ค) ระหว่างชุดให้หยุดพัก เพื่อระบายความร้อนประมาณ ๑ นาที

              ง) ห้ามยิงเกินกว่าชุดละ ๓๐๐ นัด

              จ) ถ้าไม่ขัดกับสถานการณ์ทางยุทธวิธี เมื่อลำกล้องร้อนให้เปลี่ยนใหม่ โดยใช้ลำกล้องอะไหล่ เปลี่ยนแทนลำกล้องที่ร้อน

         ๙. เครื่องเล็ง

         ศูนย์หน้า เป็นศูนย์คมมีด

         ศูนย์หลัง เป็นศูนย์พลิกจัดระยะยิงได้ตั้งแต่ ๑๐๐ หลา ถึง ๒,๖๐๐ หลา  นอกจากนั้นทางด้านข้าง ของศูนย์หลังยังทำมุมยิงไว้เป็นมิลเลียม  ตั้งแต่ ๐-๖๒ มิลเลียมอีกด้วย เครื่องแก้ทิศทางลมแก้ได้ข้างละ ๕ มิล เลียม

ลักษณะเฉพาะของปืนแบบต่าง ๆ  ปก.๙๓ แบ่งออกได้เป็นหลายแบบด้วยกันคือ

         ๑. ปก.๙๓ (สำหรับติดตั้งบนอากาศยาน) ระบายความร้อนด้วยอากาศ

         ๒. ปก.๙๓ (ระบายความร้อนด้วยน้ำ)

         ๓. ปก.๙๓ (แบบลำกล้องหนัก M 2 HB.) ระบายความร้อนด้วยอากาศ

         ในที่นี้จะกล่าวแต่เฉพาะรายการละเอียดของ ปก.๙๓ แบบลำกล้องหนักเท่านั้น

ขนาดน้ำหนักและความสามารถทางขีปนวิธี

         ๑. ขนาด

              - กว้างลำกล้อง ๑๒.๗ มม.(.๕๐ นิ้ว)

              - ปืนทั้งกระบอกยาว ๖๕.๑๒๕ นิ้ว

              - ลำกล้องยาว ๔๕ นิ้ว

         ๒. น้ำหนัก

              - ปืนทั้งกระบอก หนัก ๘๔.๐๐ ปอนด์

              - ลำกล้องปืน หนัก ๒๘.๐๐ ปอนด์

              - หีบกระสุนบรรจุกระสุนเต็ม

                  หีบละ ๑๐๕ นัด หนัก ๓๔.๗๕ ปอนด์

                  หีบละ ๕๕ นัด หนัก ๑๗.๕ ปอนด์

         ๓. ความสามารถทางขีปนาวิธี

              - ความเร็วต้น ๒๙๓๕ ฟุต/วินาที (โดยประมาณ) หรือ ๘๙๓ เมตร/วินาที

              - ระยะยิงสูงสุด ๖๗๖๖.๖๕ ม.(๗,๔๐๐ หลา)

              - ระยะยิงหวังผล

                  ที่หมายบนดิน ๑๘๒๘.๘๐ ม.(๒,๐๐๐ หลา)

                  ยิงต่อสู้อากาศยาน ๙๐๐ ม.(๑,๐๐๐ หลา)

              - ความเร็วในการยิง

                  ทางทฤษฏี อัตราเร็วในการยิงสูงสุด ๕๐๐ นัด/นาที

                  ทางปฏิบัติ อัตราเร็วในการยิงต่อเนื่อง ๔๐ นัด/นาที

                  อัตราเร็วในการยิงหวังผลสูงสุด ๑๐๐ นัด/นาที

              - เกลียวเวียนขวาบิดประจำ ๑ รอบต่อ ๑๕ นิ้ว

              - จำนวนเกลียวในลำกล้อง ๘ เกลียว

              - เขตส่ายของขาหยั่ง ๓๖๐ องศา

              - มุมทางสูงของขาหยั่ง ๕ - ๖ องศา

              - มุมทางต่ำของขาหยั่ง ๑๔ องศา

ลักษณะของเครื่องกลไก

         เครื่องกลไกของ ปก.๙๓ แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ ได้ดังนี้คือ.-

         ๑. ลำกล้องและโครงต่อท้ายลำกล้อง (Barrel & Barrel Extension Group)

         ๒. ห้องลูกเลื่อนและรองลำกล้อง (Reciver & Barrel Support)

         ๓. ฝาปิดห้องลูกเลื่อน (Cover Group)

         ๔. เรือนเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง เครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง (Oil Buffer Group)

         ๕. เหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อน (Back Plate)

ก. ลำกล้องปืนและโครงต่อท้ายลำกล้อง  (Barrel & Barrel Extension Group)

         ๑. ลำกล้อง (Barrel) กลมเรียวจากโคนไปหาปลาย ประมาณตรงกึ่งกลางของความยาวของลำกล้องทำเป็นสันนูนขึ้นมา โดยรอบของลำกล้องเพื่อติดด้ามหิ้วลำกล้อง ต่อจากที่ติดด้ามหิ้วลำกล้องนี้  ไปทางท้ายลำกล้องเสริมให้โตขึ้นอีก เช่นกัน เพื่อให้เท่ากับขนาดของรูรองลำกล้องตอนบริเวณรังเพลิงทำเกลียวเพื่อขันติดกับโครงท้ายลำกล้อง

         ๒. หูหิ้วลำกล้อง (Handle) ติดอยู่ใกล้ ๆ กับกึ่งกลางของความยาวของลำกล้อง มีลักษณะเป็นห่วงรูปคล้ายตัว U ส่วนที่ยึดติดกับ ลำกล้องนั้นทำเป็นปลอกสวมเข้าไปรอบลำกล้องแล้วใช้สลักหูหิ้วลำกล้องยึดให้ติดอยู่กับลำกล้อง

         ๓. โครงต่อท้ายลำกล้อง (Berrel Extension) เป็นแท่งสี่เหลี่ยม ตรงกลางเจาะเป็นช่องว่าง ตอนหัวทำเกลียวสำหรับรับกับท้ายลำกล้อง ด้านขวา ของโครงต่อท้ายลำกล้องเซาะร่อง  สำหรับติดแหนบยึดลำกล้องปืน  ตอนท้ายของโครงต่อท้ายลำกล้องประกอบ ด้วยกลอนลูกเลื่อนและเดือยโครงต่อท้ายลำกล้อง

ข. ห้องลูกเลื่อนและรองลำกล้อง (Receiver & Barrel Support)

         ๑. รองลำกล้อง (Barrel support) รองลำกล้องมีลักษณะเป็นท่อกลมเจาะรูรอบ ๆ เพื่อช่วยให้การระบายความร้อนดีขึ้น  ตอนท้ายของ รองลำกล้องทำเกลียวเพื่อขันติดเข้ากับแท่นรับรองลำกล้องตอนท้ายสุดของลำกล้องทำเป็นขอบที่ช่องนี้เจาะรูเพื่อรับกลอนปลอกรองลำกล้อง

         ๒. แผ่นจีมแท่นรับรองลำกล้อง (Trunnion Black Shim) แผ่นจีมแท่นรองรับลำกล้องนี้ทำไว้สำหรับจีมลำกล้อง เพื่อให้รูรับสลักกลอนรองลำกล้องอยู่ตรงกับ กลอนลำกล้องพอดี ในเมื่อขันรองลำกล้องเข้าที่จนสุดแล้ว

         ๓. ปลอกประคองลำกล้อง (Breech Bearing) เป็นปลอกรูปทรงกระบอกกลมเจาะรูกลวงตลอด  ด้านนอกทำเกลียวเพื่อขันติดกับด้านในแท่นรองรับ รองลำกล้อง

         ๔. แท่นรับรองลำกล้อง (Trunnion Block) เป็นแท่นเหล็กสี่เหลี่ยมเจาะรูกลวงตลอด  ตอนหัวต่อเป็นเดือยยื่นออกมาเพื่อรับกับรองลำกล้องด้านล่างเจาะรูสำหรับติดกลอนรองลำกล้องและแหนบกลอนรองลำกล้องด้านข้างทั้งสองย้ำติดกับพนังซ้ายและพนังขวาของห้องลูกเลื่อนด้านบนเป็นที่สำหรับติดศูนย์หน้าและฝาปิดห้องลูกเลื่อน

         ๕. พนังซ้ายห้องลูกเลื่อน (Side Plate L-H) พนังซ้ายห้องลูกเลื่อนเป็นเหล็กแผ่นด้านหน้าย้ำติดกับแท่นรองลำกล้อง  ด้านหลังย้ำติดพนังบนห้องลูก เลื่อนและพนังใต้ห้องลูกเลื่อน ตอนหน้าติดโครงเหล็กยึดสายกระสุน ตอนกลางด้านในติดลาดยกขารั้งกระสุนและรางขอรั้งกระสุน

         ๖. พนังขวาห้องลูกเลื่อน (Side Plate R-H) พนังขวาห้องลูกเลื่อนและพนังใต้ห้องลูกเลื่อนเป็นแผ่นเหล็ก  ด้านหน้าย้ำติดกับแท่นรองลำกล้องด้านหลังย้ำติดกับพนังห้องลูกเลื่อน ตอนหน้าด้านนอกติดโครงเหล็กกันกระสุน  บนโครงเหล็กกันกระสุนนี้ประกอบด้วย เหล็กกันกระสุนอันหน้า และเหล็กกันกระสุนอันหลัง ณ บริเวณกึ่งกลางของพนังขวาห้องลูกเลื่อนทำรางทางเดินของปุ่มลูกเลื่อน

         ๗. เครื่องขึ้นนก (Cocking Group) เครื่องขึ้นนกติดอยู่ที่พนังขวาของห้องลูกเลื่อน ประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้.-

              ก) คันขึ้นนก (Cocking Lever)

              ข) โครงเครื่องขึ้นนก (Retracting Slide Blacket)

              ค) เลื่อนผลักปุ่มลูกเลื่อน (Retracting slide)

              ง) กระเดื่องบังคับเลื่อนผลักปุ่มลูกเลื่อน (Retracting Slide Plinger)

         ๘. พนังใต้ห้องลูกเลื่อน (Bottom Plate) พนังใต้ห้องลูกเลื่อนติดอยู่ทางใต้  ของห้องลูกเลื่อน โดยย้ำติดกับพนังซ้ายและพนังขวาของห้องลูก เลื่อน ตอนหน้าของพนังใต้ห้องลูกเลื่อนติดแท่นบังคับกลอนลูกเลื่อน

         ๙. พนังบนห้องลูกเลื่อน (Top Plate) พนังบนห้องลูกเลื่อนเป็นแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยม  ด้านข้างพับเพื่อครอบไปบนพนังซ้าย  และพนังขวาของ ห้องลูกเลื่อน  แล้วใช้สลักย้ำยึดให้ติดกับพนังซ้ายและพนังขวาของห้องลูกเลื่อนด้านใต้ของพนังบนห้องลูกเลื่อนติดแท่นบังคับขึ้นนก ซึ่งมีลักษณะเป็นเหล็กสี่เหลี่ยมเจาะรูตรงกลาง เพื่อรับแหนบและแกนแหนบเหล็กหยุดลูกเลื่อน ท้ายของแกนแหนบหยุดลูกเลื่อนติดอยู่กับเหล็กหยุดลูกเลื่อนโดยสลักเหล็กหยุดลูกเลื่อนด้านบนของพนังบนห้องลูก เลื่อนติดแท่นศูนย์หน้า บนแท่นศูนย์หลังนี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างที่สำคัญของศูนย์หลัง

ค. ฝาปิดห้องลูกเลื่อน (Cover Group)

         กลอนฝาปิดห้องลูกเลื่อนติดอยู่กับแท่นรองรับลำกล้อง ด้วยแกนฝาปิดห้องลูกเลื่อนนอกจากนั้น  ในขณะปิด เปิดฝาปิดห้องลูกเลื่อน ฝาบิดห้องลูกเลื่อนยังหมุนรอบแกนนี้อีกด้วย ฝาปิดห้องลูกเลื่อนประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญดังต่อไปนี้.-

         ๑. กลอนปิดฝาห้องลูกเลื่อน (Cover Latch) กลอนปิดฝาห้องลูกเลื่อนติดอยู่ที่ตอนท้ายของฝาปิดห้องลูกเลื่อนด้วยแกนกลอนฝาปิดห้องลูกเลื่อนปลายด้านหนึ่งขัดกับพนังบนห้องลูกเลื่อน ปลายอีกข้างหนึ่งพับอยู่เหนือแหนบกลอนฝาปิดห้องลูกเลื่อน

         ๒. คันเลื่อนสายกระสุน (Belt Feed Lever) คันเลื่อนสายกระสุนมีลักษณะเป็นแผ่นติดกับฝาปิดห้องลูกเลื่อน ด้านแกนคันเลื่อนสายกระสุนคันเสื่อนสายกระสุนตอนหัวและตอนท้ายทำเป็นปุ่มสำหรับสวมเข้าไปในโครงเหล็กสายกระสุนและร่องบังคับคันเลื่อนสายกระสุนบนลูกเลื่อน

         ๓. แหนบกดขอรั้งกระสุน (Cover Extractor Spring) แหนบกดขอรั้งกระสุนเป็นแหนบแผ่น ตอนปลายผ่าเพื่อสวมปุ่มยึดแหนบกดขอรั้งกระสุนตอนท้ายทำเป็นแง่สี่เหลี่ยมยื่นออกไปเพื่อฝังเข้าไปในช่องใต้ลาดบังคับขอรั้งกระสุน

         ๔. ลาดบังคับขอรั้งกระสุน (Extractor Cover Cam) ติดอยู่กับฝาปิดห้องลูกเลื่อนสลักย้ำตอนท้ายทำร่องเว้ารูปเล็บมือสำหรับสอดไขควงเข้าไปงัดแหนบกดขอรั้งกระสุน ถัดจากร่องรูปเล็บมือนี้เข้าไปเซาะร่องสี่เหลี่ยมสำหรับใส่ท้ายแหนบกดขอรั้งกระสุน

         ๕. โครงเหล็กเลื่อนสายกระสุน (Belt Feed Slide) มีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กด้านข้างพับเป็นพนังขึ้นมา เพื่อติดเหล็กเลื่อนสายกระสุนและเหล็กผลักกระสุนที่ตรงพนังทั้งสองข้างนี้ทำช่องสำหรับปรับคันเลื่อนกระสุน

ง. ลูกเลื่อนและแหนบส่งลูกเลื่อน (Bolt Group)

         ๑. ลูกเลื่อนเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ภายนอกด้านข้างมีสันสำหรับเดินบนโครงต่อท้ายลำกล้อง

              - ด้านบนมีร่องบังคับคันเลื่อนสายกระสุน และมีช่องเว้ารูปวงกลมสำหรับติดแผ่นเปลี่ยนทางป้อน กระสุน

              - หัวลูกเลื่อนมีช่องสำหรับจับร่องท้ายปลอกกระสุน และเจาะรูเข็มแทงชนวน

              - ด้านขวาเจาะรูตามยาวของห้องลูกเลื่อน เพื่อรับแหนบส่งลูกเลื่อนแกนแหนบส่งลูกเลื่อน

              - ด้านซ้ายเจาะรูรับขอรั้งกระสุน

              - ท้ายลูกเลื่อนเจาะรูตามขวางของลูกเลื่อน เพื่อรับปุ่มคันรั้งลูกเลื่อน และทำร่องตามยาวสำหรับติดคันขึ้นนก กระเดื่องไก และแผ่นบังคับกระเดื่องไก

         ๒. แหนบส่งลูกเลื่อน (Driving Spring) แหนบส่งลูกเลื่อนเป็นแหนบเส้นลวดขดวงกลม แหนบส่งลูกเลื่อนมีทั้งหมดด้วยกัน ๒ ชุด  ขดใหญ่สวม อยู่รอบนอกของแหนบขดเล็ก  และแหนบทั้งสองขดนี้สวมอยู่โดยรอบของแกนแหนบส่งลูกเลื่อนโดยมีปลอกกันแหนบ ส่งลูกเลื่อน และสลักปลอกกันแหนบส่งลูกเลื่อน ไว้มิให้แหนบหลุดออกจากแกนแหนบ

         ๓. แกนแหนบส่งลูกเลื่อน (Driving Spring Rod) แกนแหนบส่งลูกเลื่อนเป็นเหล็กกลม ตอนท้ายทำบ่าสำหรับแหนบส่งลูกเลื่อนและสลักสำหรับขัดแกน แหนบส่งลูกเลื่อนให้ติดกับพนังห้องลูกเลื่อน ตอนปลายเจาะรูรับสลักปลอกกันแหนบส่งลูกเลื่อน

จ. เรือนเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังและเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง

         ๑. เรือนเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง (Oil Buffer Body) เครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังยึดติดอยู่ภายในห้องลูกเลื่อน ด้วยแหนบยึดเรือนเครื่องผ่อนแรงซึ่งมี ลักษณะเป็นแหนบแผ่นติดอยู่ภายในร่องด้านขวาของเรือนเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง เรือนเครื่องผ่อนแรง  สะท้อนถอยหลังนี้ เจาะเป็นรูกลวงตลอด เพื่อรับเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง  ตอนหัวของเรือนเครื่องผ่อน  แรงสะท้อนถอยหลังติดบานพับหัว เรือนเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง และเหล็กกดกลอนลูกเลื่อนด้านล่างของเรือนเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังมีแหนบยึดเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง

         ๒. เครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง (Oil Buffer Body) เครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก และประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ ๆดังต่อไปนี้.-

              ก) กระบอกสูบ (Oil Buffer Tube)

              ข) ลิ้นลูกสูบ (Value, Oil Buffer Piston)

              ค) ลูกสูบ (Oil Buffer Piston)

              ง) จุกเกลียวหัวกระบอกสูบ (Oil Buffer Take Cap)

              จ) แหวนปลอกกันรั่ว (Oil Buffer Packing)

              ฉ) แหนบแหวนปลอกกันรั่ว (Oil Buffer Packing Spring)

              ช) แป้นเกลียวอัดแหวนกันรั่ว (Oil Buffer Packing Gland Plug)

              ซ) ก้านสูบ (Oil Buffer Piston Rod)

              ฌ) แหนบส่งลำกล้องกลับเข้าที่ (Oil Buffer Spring)

         ญ) แหวนแหนบส่งลำกล้องกับเข้าที่ (Oil Buffer Spring Guide)

              ความจริงชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังมีมากกว่าที่ได้แสดงมาแล้ว แต่ทว่าปก.๙๓ นี้ใช้ลำกล้องหนาที่มีน้ำหนักมาก แรงกระแทกของลำกล้องจึงถูกลบล้างไปโดยความเฉี่อยและความฝืดของแหนบส่งลำกล้องกับเข้าที่เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ฉะนั้นในเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังของ ปก.๙๓ จึงมีชิ้นส่วนของเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังครบ คงมีแต่ชิ้นส่วนที่มีความจำเป็นจะต้องใช้เพื่อติดแหนบส่งลำกล้องกลับเข้าที่และชิ้นส่วนที่ช่วยให้แหนบส่งลำกล้องกลับเข้าที่ทำงานได้เท่ากัน

ฉ. เหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อนและเครื่องรับแรงกระแทกของลูกเลื่อน

            ๑. เหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อน (Back Plate) เป็นเหล็กแผ่นแบนด้านข้างทำสันนูนขึ้น เพื่อสวมเข้ากับร่องหนังข้างห้องลูกเลื่อนตอนบนติดโครงด้ามปืนอันบน ถัดจากโครงด้ามปืนอันบนลงมาติดไกและคันบังคับการยิง ตอนกลางด้านหลังมีเรือนเครื่องรับแรง สะท้อนถอยหลัง บนเรือนเครื่องรับแรงสะท้อนถอยหลัง มีปลอกเก็บคันบังคับการยิงติดอยู่ตอนล่างของเหล็กปิด ท้ายห้องลูกเลื่อนมีกลอนเหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อนและแผ่นบังคับกลอนเหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อน

         ๒. แท่นรับแรงกระแทก (Rocoil Plate) มีลักษณะเป็นเหล็กแท่งกลมตันติดอยู่ตอนหน้าของเรือนเครื่องรับแรงสะท้อนถอยหลัง และโผล่ยื่นออกไปจากเหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อนเล็กน้อย

         ๓. จานผ่อนแรงกระแทก (Fiber Disk) จานผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังทำด้วยไฟเบอร์ มีลักษณะเป็นจานกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๘ มม. หนา๓ มม.จานผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังนี้มีจำนวนทั้งหมด ๒๓ จาน บรรจุอยู่ระหว่างแท่นรับแรงสะท้อนถอยหลังและควงปรับเครื่องรับแรงสะท้อนถอยหลัง

         ๔. ควงปรับเครื่องรับแรงกระแทก ติดอยู่ท้ายเรือนเครื่องรับแรงสะท้อนถอยหลัง นอกจากจะทำหน้าที่ปิดท้ายเรือนเครื่องรับแรงสะท้อนถอยหลัง แล้วยังปรับเครื่องรับแรงสะท้อนถอยหลังได้อีกด้วย