ไส้อั่ว (Sai Ua)

Northern Thai Spicy Sausage

อัตลักษณ์

"ไส้อั่ว"

"ไส้อั่ว" เป็นวิธีการถนอมอาหารที่เก็บในระยะสั้น ๆ และเป็นอาหารที่พกพาสะดวก สามารถเป็นได้ทั้งอาหารจานหลัก และอาหารเรียกน้ำย่อย

ไส้อั่วเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวล้านนา มีรสชาติอร่อยเป็นที่ติดอกติดใจทั้งในหมู่ชาวไทยล้านนา และคนภาคอื่น

เรื่องราวของไส้อั่ว

ในสมัยโบราณในงานบุญเทศกาลโดยทั่วไป เริ่มต้นจากการล้มหมูและใช้เนื้อหมูจำนวนมาก เวลาบางครั้งอาจจะมีเนื้อหมูมากเกินไปที่จะนำมาประกอบอาหารในทันที ดังนั้นมีการถนอมอาหารเพื่อป้องกันการเน่าเสีย วิธีแรกที่นิยมคือการนำเนื้อหมูมาแล่แล้วย่างหรือตากแดดให้แห้งเพื่อเก็บไว้กินในภายหลัง

ต่อมาไปยังการพัฒนาเรื่อย ๆ และเป็นที่นิยมในการประกอบอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้นาน ตัวอย่างที่เรารู้จักกันก็คือ การทำแหนม และการทำไส้อั่ว ทั้งสองนี้เป็นอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ 1-3 วัน โดยการทำไส้อั่วมีความนิยมมากในคนล้านนา เพราะสามารถใช้ไส้หมูได้ด้วย เป็นการนำเสนอวิธีการใช้ประโยชน์จากหมูทั้งตัวอย่างที่คุ้มค่าทางอาหารได้ดีเช่นกัน.

“ไส้” หมายถึงลำไส้ และไส้ที่ใช้ นิยมใช้ลำไส้ของหมู เครื่องในหมูส่วนที่นำมาอาหาร ต้ม ย่าง ทอด จะใช้ลำไส้ใหญ่ สำหรับส่วนที่จะเอามาทำไส้อั่ว จะใช้ลำไส้เล็ก

“อั่ว” เป็นการประกอบอาหารอย่างหนึ่ง ในที่นี้หมายถึง การแทรก ยัด หรือกรอกเครื่องปรุงใส่เข้าไปในในลำไส้

การทำไส้อั่วจึงหมายถึง ไส้ที่เอาเนื้อหมูไปยัดไว้

ไส้อั่ว เป็นอาหารที่พบได้ในภาคเหนือของไทยและบางพื้นที่ในประเทศลาวตอนเหนือ และรัฐฉานของพม่า

การทำไส้อั่วต้องใช้เวลานานในการเตรียม ถือว่าเป็นอาหารที่หรูหรา และเป็นอาหารสำหรับชนชั้นสูงในสมัยก่อน หากเปรียบเทียบกับอาหารในปัจจุบัน อาทิ ซูชิ โอมากาเสะ ของญี่ปุ่น ที่มีราคาสูง ความหรูหรา และพิเศษ เป็นที่นิยมของชนชั้นสูง ซึ่งอาจมีราคาสูงอยู่ในระดับหลักพันบาท 

ดังนั้น ไส้อั่วเป็นอาหารที่แสดงถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของพื้นที่ และชนชั้นสังคมในสมัยก่อน

คุณค่าทางโภชนาการ

ไส้อั่วเป็นแหล่งโปรตีน และไขมันที่ให้พลังงานสูง อุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็กจากส่วนผสมเนื้อหมู และในส่วนของพริกแกงที่เป็นพืชสมุนไพร ล้วนอุดมด้วยวิตามินเอ บี1 บี2 วิตามินซี ไนอาซิน และเบตาแคโรทีน

สูตรสำหรับ ไส้อั่ว

ส่วนประกอบ (สำหรับ 6 ที่)

เครื่องปรุง

หมูเนื้อแดง 500 กรัม

หมูสามชั้น 250 กรัม

ไส้หมู (ไส้ขม) 1/2 กิโลกรัม

ใบมะกรูดหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ (10-15 กรัม)

ตะไคร้หั่นฝอยสับหยาบ 1/4 ถ้วย (40 กรัม)

น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)

ซีอิ๊วดำ 2 ช้อนชา (10 กรัม)

ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนชา (10 กรัม)

น้ำสะอาด 1 ถ้วย

น้ำมันสำหรับทอด 1 กิโลกรัม


เครื่องแกง

พริกแห้งเม็ดใหญ่แช่น้ำพอนุ่มหั่นละเอียด 5 เม็ด (15 กรัม)

ตะไคร้ซอย 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

กระเทียมซอย 3 ช้อนโต๊ะ (25 กรัม)

หอมแดงซอย 1/4 ถ้วย (40 กรัม)

ผิวมะกรูดหั่นละเอียด 2 ช้อนชา (5 กรัม)

เกลือ 1/2 ช้อนชา (2 กรัม)

กะปิ 1 ช้อนชา (5 กรัม)

วิธีทำ

ข้อควรรู้

การทำไส้อั่ว ให้มีรสชาติกลมกล่อมไม่เผ็ด ไม่แข็ง ส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี เมื่อนำไปหั่นแล้วไม่ยุ่ย ไม่มัน ไม่แห้งจนเกินไป สามารถเก็บได้หลายวันไม่เสียง่าย เริ่มมาจากการเตรียมส่วนผสมอย่างดี การกรอกไส้อั่วไม่ให้แน่นจนเกินไป และในขณะนำไปย่างไฟ ให้ใช้ไม้จิ้มระบายอากาศ จะทำให้ไส้ไม่แตก และควรย่างด้วยกาบมะพร้าว หรือมะพร้าวที่คั้นกะทิออกแล้ว

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2558). อัตลักษณ์อาหารไทย 4 ภาค (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
มติชนสุดสัปดาห์. (2566). ประวัติศาสตร์ที่มา และวิธีทำดั้งเดิมของ “ไส้อั่ว”. ค้นจาก http://www.matichonweekly.com/column/article_323933
วาณี เอี่ยมศรีทอง และประหยัด สายวิเชียร. (2538). อาหารล้านนา. กลางเวียงการพิมพ์.