จังหวัดเชียงราย (Chiang Rai)

"เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน 

ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง"

---- คำขวัญจังหวัดเชียงราย

ข้อมูลพื้นฐาน

ธงประจำจังหวัด

ชื่อภาษาไทย : เชียงราย

ชื่อภาษาอังกฤษ : Chiang Rai 

ชื่อภาษาไทยอื่น ๆ : เวียงไชยนารายณ์

ชื่อคำเมือง : เจียงฮาย

ชื่อภาษาพม่า : hkyinn rine

อักษรธรรมล้านนา

ภาษาพม่า

ตราประจำจังหวัด

ทำไม จึงต้องเป็นช้าง ?

เมื่อครั้งพญามังรายรวบรวมหัวเมืองทางฝ่ายเหนือได้แล้ว ทรงกรีธาทัพไปตีหัวเมืองทางใต้ และได้รวมพล ณ เมืองลาวกู่เต้า หมอควาญได้นำช้างมงคลของพระองค์ไปผูกไว้ แต่ช้างเกิดพลัดหายไป พญามังรายเสด็จจึงติดตามช้างเข้าไปจนถึงดอยทอง ริมแม่น้ำกก และได้ทัศนาภูมิประเทศที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การสร้างเมืองใหม่ เพราะจะก่อให้เกิดปราการดอยทองที่จะโอบล้อมเมืองไว้ ขนานนามเมืองว่า เมืองเชียงราย ตราประจำจังหวัดจึงใช้เป็นรูปช้าง

การปกครอง

นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์

ผู้ว่าราชการ:
นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์
ดำรงตำแหน่ง: 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน

แบ่งการปกครอง ออกเป็น 16 อำเภอ ดังนี้

1. อ. เมือง

2. อ. เชียงของ

3. อ. เวียงป่าเป้า

4. อ. เทิง

5. อ. ป่าแดด

6. อ. พาน

7. อ.เวียงชีย

8. อ. แม่จัน

9. อ. เชียงแสน

10. อ. แม่สาย

11. อ. แม่สรวย

12. อ. พญาเม็งราย

13. อ. เวียงแก่น

14. อ. ขุนตาล

15. อ. แม่ฟ้าหลวง

16. อ. แม่ลาว 

17. อ. เวียงเชียงรุ้ง

18. อ. ดอยหลวง

ประชากร (พ.ศ. 2562)

ทั้งหมด: 1,298,304 คน

 • อันดับ: อันดับที่ 14 ของประเทศ

 • ความหนาแน่น: 111.17 คน/ตร.กม. (287.9 คน/ตร.ไมล์)

พื้นที่

ทั้งหมด: 11,678.369 ตร.กม. (4,509.043 ตร.ไมล์)

อันดับพื้นที่: อันดับที่ 12

ดอกปีบทอง

ดอกพวงแสด

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ต้นไม้: กาซะลองดำ หรือ ปีบทอง

ดอกไม้: พวงแสด

สัตว์น้ำ: ปลาบึก

ปลาบึก

ประวัติ และความเป็นมา

เชียงรายเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำกก จึงเป็นดินแดนที่มีผู้คนเข้ามาตั้งหลักแหล่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีความรุ่งเรืองสืบต่อกันมาหลายยุคสมัยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในเขตที่ราบลุ่มรอบ แม่น้ำกก สันนิษฐานได้ว่าบริเวณนี้เป็นศูนย์กลางของชุมชนมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 1800 เพราะมีร่องรอยของซากเมืองที่มีความเจริญทางวัฒนธรมและศิลปะอยู่ตามริมแม่น้ำกก ซากเมืองโบราณที่ค้นพบในปัจจุบันมีถึง 27 เมือง ตั้งแต่ อ. ฝางของเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำกกมาจนถึงเมืองเชียงแสน ซึ่งโบราณสถานเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำกกอย่างหนาแน่น และได้ขยายตัวสร้างบ้านแปงเมืองกันไม่ขาดสาย ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงรายเริ่มต้นในสมัยต้นพุทธศตวรรษที่ 19 โดยพญามังราย (พ.ศ. 1781-1860) ปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์มังราย บุตรของพญาลาวเม็ง ผู้ครองนครหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสนในปัจจุบัน) ได้ขึ้นครองราชย์แทนพญาลาวเม็ง ในปี พ.ศ. 1802 และได้ย้ายราชธานีจากเมืองหิรัญนครเงินยาง มาสร้างราชธานีแห่งใหม่ที่ริมฝั่งแม่น้ำกก เมื่อ พ.ศ. 1805 และได้ขนานนามว่า 'เชียงราย' หมายถึง "เมืองของพญามังราย"

ขุนเขาที่สลับซับซ้อน
ของดินแดนประวัติศาสตร์ล้านนาไทย

ซากเมืองโบราณที่อยู่ในเขตกำแพงเมืองเชียงแสน

จากนั้นจึงได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือ ญาติสายเลือดลัวะจักราช เช่น เมืองเชียงไร เมืองไร เมืองปง เมืองเวียงคำ เชียงเงิน เชียงของ ฯลฯ เข้ามาไว้ในอำนาจ และแผ่อำนาจเข้าไปในเขตลุ่มน้ำปิง ปี พ.ศ. 1839 ทรงย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ให้ชื่อราชธานีใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" และครองราชย์อยู่ที่เชียงใหม่ตลอด โดยให้ราชโอรสไปครองเมืองเชียงรายแทน เชียงรายจึงกลายเป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่ไป 

เมื่อพญามังรายสวรรคตลง ภายในอาณาจักรล้านนาอันมี เมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีเกิดความแตกแยก เจ้าผู้ครองนครแก่งแย่งชิงอำนาจกันจนเกิดสงครามกลางเมือง พระเจ้าบุเรงนองฉวยโอกาสเข้าตีอาณาจักรล้านนาสำเร็จ พม่าได้ปกครองอาณาจักรล้านนาเป็นเวลากว่า 200 ปี และได้ฟื้นฟูเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นเมืองสำคัญในการปกครองของหัวเมืองฝ่ายเหนือ 

ต้นพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พญากาวิละ เป็นผู้มีบทบาทสูงในการเกลี้ยกล่อมให้บรรดาเมืองต่าง ๆ  ในล้านนาร่วมมือกันต่อสู้กับพม่า แต่ยังไม่สำเร็จ จนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1  ทรงส่งกำลังมาสนับสนุนพญากาวิละ ต่อสู้กับพม่าจนเป็นผลสำเร็จ ทรงสถาปนาให้เชียงใหม่เป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์ และแต่งตั้งพญากาวิละเป็น "พระเจ้ากาวิละ" ปกครองเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2347 พระเจ้ากาวิละทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน และกวาดต้อนผู้คนออกจากบริเวณเมืองจนหมด เมืองต่างๆ รวมทั้งเชียงรายจึงถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้างต่อมาในปี พ.ศ. 2386 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 เชียงรายได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้งในฐานะเมืองบริวารของเชียงใหม่ โดยมีเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าปกครองนคร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินนโยบายสร้างความเป็นเอกภาพทางการเมือง ประกาศจัดตั้งมณฑลพายัพขึ้นในปี พ.ศ. 2427 และยกเลิกหัวเมืองประเทศราชล้านนาไทย เมืองเชียงรายจึงจัดเป็น เมืองหนึ่งซึ่งขึ้นตรงต่อมณฑลพายัพ ในสมัยรัชกาลที่ 6 การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลถูกยกเลิก เชียงรายจึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของสยามประเทศมานับแต่นั้น

ซากคูเมืองโบราณที่อำเภอเชียงแสน

ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

อาณาเขต

เชียงราย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของประเทศไทยในเชิงภูมิศาสตร์ 

มีอาณาเขต แบ่งเป็นทิศ ดังนี้

ทิศเหนือ - ติดกับประเทศพม่าและลาว

ทิศใต้ - ติดกับ จ. ลำปาง และ จ. พะเยา

ทิศตะวันออก - ติดกับประเทศลาว

ทิศตะวันตก - ติดกับ จ. เชียงใหม่ และประเทศพม่า

สามเหลี่ยมทองคำ

สามเหลี่ยมทองคำ

สามเหลี่ยมทองคำ

ภูมิประเทศ

จังหวัดเชียงราย มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยมีดอยลังกาหลวง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด มีความสูง 2,031 เมตร บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีความสูงประมาณ 410-580 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ปกคลุม บริเวณเทือกเขามีชั้นความสูง 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีที่ราบเป็นหย่อม ๆ ในระหว่างหุบเขา และตามลุ่มน้ำสำคัญ จังหวัดเชียงรายมีภูเขาล้อมรอบโดยเฉพาะทางทิศตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาผีปันน้ำ ติดต่อกันไปเป็นพืดตลอดเขตจังหวัด

มีแม่น้ำสำคัญ ดังนี้

1. แม่น้ำกก มีความยาวตลอดสาย 145 กม.

2. แม่น้ำโขง มีความยาวตลอดสาย 94 กม. 

3. แม่น้ำอิง มีความยาวตลอดสาย 100 กม. 

4. แม่น้ำคำ มีความยาวตลอดสาย 85 กม. 

5. แม่น้ำลาว มีความยาวตลอดสาย 117 กม. 

6. แม่น้ำสาย เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ที่ไหลผ่าน อ.แม่สาย แบ่งเขตแดนระหว่างไทย และพม่า 

7. แม่น้ำรวก เป็นแม่น้ำที่ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บ้านสบรวก อ.เชียงแสน

ดอยนางนอน ภูเขาหินปูน

ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ภูมิอากาศ

จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส 

ภูชี้ดาว สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม
ช่วงฤดูหนาว

เอกสารอ้างอิง

สมัย สุทธิธรรม. (2539). เชียงราย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.

สารคดี. (2550). เชียงราย. กรุงเทพฯ: สารคดี.

สำนักงานจังหวัดเชียงราย กลุ่มงานยุทธศาตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนา. (ม.ป.ป.). ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดเชียงราย. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://www.chiangrai.net/cpwp/?page_id=145/