วัดดอยงำเมือง

ข้อมูลจาก : หนังสือ วัดในเขตเทศบาลนครเชียงราย โดย เทศบาลนครเชียงรา

วัดงำเมือง หรือวัดพระธาตุดอยงําเมือง ตั้งอยู่บนถนนอาจอํานวย อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย

Wat Ngam Muang is situated on Arj-Amnuay Road, Muang, Chiang Rai province or east of Chiang Rai Municipality. Wat Ngam Muang is under the administration of Mahanikaya Buddhist Sect.

ประวัติ

วัดงําเมือง หรือวัดพระธาตุดอยงําเมือง ตั้งอยู่บนถนน
อาจอํานวย อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสําคัญ วัดนี้สร้าง ขึ้นสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ชาวบ้านจะเรียกชื่อกันมาแต่เดิมว่า วัดงามเมือง ในยุคที่เมืองเชียงรายและเมืองเชียงแสนเป็นเมือง ร้างหลังจากศึกสงครามไล่พม่าออกจากเมืองแล้ว ทําให้ศาสนสถานต่างๆ รวมทั้งวัดงําเมืองเริ่มชํารุดทรุดโทรมลง

จากลักษณะของพื้นที่และทําเลการสร้างวัด วัดงําเมือง น่าจะเป็นวัดเก่าแก่มาแต่เดิม และคงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้ง เจ้าหลวงธรรมลังกาเป็นเจ้าหลวงเมืองเชียงราย ประมาณ พ.ศ. 2386 - 2417 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุด พบในเอกสาร จดหมายเหตุ ….. ครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี เสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมพสก นิกรในจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2469 เวลา 16.00 นาฬิกา พระองค์และพระบรมราชินี ทรงรถยนต์พระที่นั่งไปประพาส วัดพระสิงห์ วัดพระแก้ว วัดเมือง

หลังจากนั้นวัดงําเมืองชํารุดทรุดโทรมเพราะขาดการทํานุบํารุง จนกลายเป็นวัดร้าง ในราวปี พ.ศ. 2495 พระวีรญาณมุนี เจ้าคณะ จังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายให้พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์เจ้าอาวาส วัดพระแก้วทําการฟื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์วัดงําเมืองขึ้นใหม่

สําหรับโบสถ์และวิหารวัดงําเมืองของเดิมได้พังลงหมดแล้ว คงอยู่เฉพาะพระพุทธรูป 2 องค์ องค์ใหญ่ก่ออิฐถือปูน องค์กลางสร้างด้วย ทองเหลือง เรียกว่า “พระเจ้าล้านทอง” (อ่าน “พระเจ้าล้านตอง) เดิมประดิษฐานเป็นพระประธานวัดแสนทอง ซึ่งเป็นวัดร้างใจกลาง เมืองเชียงราย และได้ย้ายมาที่วัดงําเมือง ต่อมาได้ย้ายไปประดิษฐาน ที่พระอุโบสถวัดพระแก้วเชียงราย ถาวรวัตถุและโบราณสถานที่สําคัญ ของวัดได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรได้แก่ พระพุทธรูป 2 องค์และเจดีย์ 1 องค์

History

Wat Ngam Muang or Wat Pra That Doi Ngam Muang is located on Ajamnuay Road, Muang district, Chiang Rai Province. It is a very ancient and important temple. There is no evidence found on the exact date of the temple's establishment, but the temple has been called Wat Ngam Muang since the city of Chiang Rai and Chiang Sean became the abandoned after the war against the Burmese troop. The city including Wat Ngam Muang and other religion places were declined and ruined.

According to the location and the construction area of the temple, it appears that Wat Ngam Muang has probably been an ancient temple and was restored by Chao Luang Thammalangka who was the ruler of Chiang Rai between 1282- 1328. The oldest written evidence was found in the archival documents describing ...When King Prajadhipok or King Rama VII and Queen Rambhai Barni were on their visit to Chiang Rai on January 16th , 1383 at 4 p.m., they travelled by car to visit Wat Phra Singh, Wat Phra Keaw and Wat Ngam Muang... After that, Wat Ngam Muang was abandoned. Until 1952, Phra Weerayanmunee, the monk dean of Chiang Rai, mandated the abbot of Wat Phra Keaw, Phra Phuttiwongwiwat, to reconstructed Wat Ngam Muang.

The original ubosot (ordination hall) and viharn (assembly hall) were totally collapsed except 2 Buddha images. The biggest one was made of brick and mortar and the middle one was made of brass called “Phra Chao Lanthong” Or (pronounced "Phra Chao Lantong). Phra Chao Lanthong” used to be the principal Buddha image in Wat Sean Thong, an abandoned temple in the heart of Muang Chiang Rai city, then this Buddha image was moved to the ubosot of Wat Phra Kaew. The permanent ancient remains of the temple consisted of 2 Buddha images and 1 chedi were registered by Fine Arts department.

เจดีย์วัดงําเมือง

เจดีย์องค์ปัจจุบันสร้างเมื่อไหร่ไม่ปรากฏหลักฐานแต่ชาวบ้านทั่วไปเชื่อว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิของพญามังราย กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์มังราย ซึ่งพระองค์ได้สถาปนาอาณาจักรล้านนา จึงเรียกกันติดปากว่า “กู่พญามังราย” และในปัจจุบันทางวัด ได้นําพระรูปหล่อของพญามังรายไปไว้ที่บริเวณหน้าที่เจดีย์เพื่อให้คนทั่วไปได้สักการะบูชาอีกด้วย

เมื่อพิจารณาจากรูปทรงขององค์เจดีย์องค์ปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายยุคหลายสมัยจนไม่ทราบว่า องค์เดิมมีรูปแบบทางศิลปะเป็นเช่นใด รูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดเดี่ยว ส่วนฐานปัทม์ลูกแก้วอกไก่ ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จตรงกลางของด้านทั้งสี่รองรับเรือนธาตุทั้งสี่ มีซุ้มจระนําประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน เหนือฐานปัทม์ แปดเหลี่ยมน่าจะเป็นองค์ระฆัง ซึ่งปัจจุบันได้พังทลายเสียหาย ซึ่งเจดีย์ลักษณะนี้คล้ายกับเจดีย์วัดพระธาตุสองพี่น้องและเจดีย์วัดมุงเมือง เมืองเชียงแสน


Wat Ngam Muang 's Chedi

There is no evidence found on the exact date of construction but the villagers believed that the ashes of Phraya Mangrai, the first king of Mangrai dynasty, who founded Lanna Kingdom was enshrined in the chedi, so it was called “Ku Prava Mangrai". At present, the Phraya Mangrai's statue is also built in front of the chedi for the public to worshi

When consider the shape of the present chedi, it can be seen that it has been rebuilt so many times that it cannot be identified the original pattern. Its recent pattern is in castle shape with single top and the base with crystal chicken breast in the square shape lifted the ornamental glass in the middle of four sizes to support the important part of the chedi, The Buddha images were mahrined in every four - sided niches and above the octagonal base might be placed with the bell shape part which is now collapse and damaged. Its pattern looks like Phra That Song Pee Nong Chedi and Wat Mung Muang schedi in Muang Chiang Rai.

วิหารวัดงําเมือง

วิหารวัดงําเมืองเป็นศิลปะล้านนาประยุกต์ กล่าวคือ เป็นอาคารสูงแบบที่นิยมสร้างในภาคกลาง ต่างจากศิลปะล้านนาแบบดั้งเดิมที่นิยมสร้างวิหารแบบเตี้ยๆ แต่ยังคงประดับตกแต่งแบบล้านนา ด้วยเครื่องไม้สลักลงรักปิดทอง ได้แก่ หน้าบันและโก่งคิ้ว ป้านลมโค้งอ่อนแบบล้านนาเน้นระนาบเอน ของตับหลังคา เพิ่มความโดดเด่นแก่บันไดทางเข้าด้วยรูปพญานาคที่ราวบันได ซึ่งเป็นพญานาค ที่ถูกคายออกมาจากปากมกร แบบที่นิยมในล้านนา ภายในวิหารตกแต่งด้วยลวดลายสวยงาม โดยเฉพาะผนังหลังพระพุทธรูปองค์ประธานและเสาทุกต้นในวิหาร เช่น ลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ เครือเถา ผักกูด และดอกประจํายาม

Wat Ngam Muang s’ Vihara (ordination hall)

Wat Ngam Muang Vihara (ordination hall) is in applied Lanna style with the high building which is popular in the central part of Thailand. It is quite different from the traditional Lanna style which is built as the low building. However, it is decorated in Lanna style with the gilded lacquered carvings like facade, Kong Kiew, curved gable in Lanna style emphasize on the leaning plane of the roof. It is also highlighted on each side of the staircase with a single-headed Naga serpent spewing Makara Serpent which was a popular style in Lanna region. Inside the ubosot (ordination hall), there was the decoration of beautiful patterns such as Poom Khao Bin, Krua Tao, Pak Kud, and Dok Pra Jam Yam, especially on behind the Buddha image and on the pillars.

พระพุทธรูปองค์ประธาน

พระพุทธรูปองค์ประธานในวิหารวัดงําเมือง เป็นพระพุทธรูป ศิลปะล้านนาที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัย คือ มีพระพักตร์รูปไข่ มีไรพระศก พระขนงจบกันที่สันพระนาสิก พระเนตรรูปกลีบบัว ขมวดพระเกศาเล็กละเอียด พระเกตุมาลาเป็นรูปครึ่งวงกลม พระรัศมี เป็นรูปเปลวเพลิง พระชงฆ์เป็นสัน ครองจีวรเฉียง ชายจีวรเป็นแผ่น พาดผ่านจากพระอังสาซ้ายยาวลงจรดพระนาภีปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิราบ คล้ายกับพระเจ้าเก้าตือ พระพุทธรูปองค์ประธานวิหารหลวงวัด สวนดอกเมืองเชียงใหม่

The Principal Buddha Image

The principal Buddha image houses in Wat Ngam Muang s’ ubosot (ordination hall) is in Lanna style influenced with Sukhothai art: oval face with hairline, the eyebrows converged at the nose bridge, lotus pedal shaped eyes, small hair curls, the aura above the head is in semicircular form with a flame halo, and prominent shin. The robe is put vertically across from the left shoulder to the navel. This Buddha image is in the subduing Mara posture similar to Phra Chao Kao Tue, the principal Buddha image in Wat Suan Dok s’ ubosot (ordination hall), Chiangmai.

รายการอ้างอิง

เทศบาลนครเชียงราย. (2559). วัดในเขตเทศบาลนครเชียงราย. เชียงราย: เทศบาลนครเชียงราย.