ไทลื้อ บ้านศรีดอนชัย

ประวัติหมู่บ้านศรีดอนชัย ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ โดยย่อ

บ้านศรีดอนชัยเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองอูเหนือ แคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนานประเทศจีนตอนใต้ ต่อมาการทำมาหากินก็อัตคัดขัดสนเพราะพลเมืองมีจำนวนมาก และถูกจีนรุกรานจนทนไม่ไหว จนปี พ.ศ. 2428 มีราษฎรจำนวน 994 คนได้รวมตัวกันอพยพมาจากเมืองอูเหนือ แคว้นสิบสองปันนา โดยการนำของพญาแก้ว ซึ่งได้อพยพมาตั้งอยู่ที่ดอยหลักเขตแดนจีนต่อประประเทศลาวเวลา 1 ปีเศษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2429 ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ที่ริมน้ำโขงระหว่างน้ำคุก (ซึ่งอยู่ที่โรงบ่มใบยาบ้านหาดบ้าย ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ) ต่อมาได้อพยพไปอยู่ที่บ้านใหม่ทุ่งหมด หมู่ที่ 8 ตำบลสถานปัจจุบัน จากนั้นก็แยกย้ายกันไปเป็นกลุ่มดังนี้


กลุ่มที่ 1 ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ริมห้วยเม็งปัจจุบันเป็นบ้านห้วยเม็งหมู่ที่ 6 ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

กลุ่มที่ 2 กลับไปอยู่ประเทศลาว เรียกว่าบ้านโปรง และบ้านท่าฟ้า (บ้านซาง) ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน

กลุ่มที่ 3 อพยพไปอยู่ที่บ้านท่าข้าม ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น ต่อมามีประชากรเพิ่มขึ้น การทำมาหากินก็คับแคบ ในปี พ.ศ. 2492 พ่อกำนันเสนา วงศ์ชัย อดีตกำนันตำบลม่วงยายพร้อมด้วยพ่อบัวระวงศ์ วงศ์ชัย พ่อสิทธิ์ยศ วงศ์ชัย พ่อเฟือย วงศ์ชัย พร้อมด้วยผู้ติดตามได้อพยพออกมาทำมาหากินและตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หัวไร่ปลายนาริมบริเวณหมู่บ้านศรีมงคล ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ ในครั้งแรกเข้ามาอยู่เพียง 8 หลังคาเรือนเท่านั้น ต่อมาได้มีราษฎรอพยพมาจากบ้านก้อนตื่น โดยมีการนำของพ่อใหม่ผัด วงศ์ไทย จากประเทศลาวเข้ามาสมทบ

ในปี พ.ศ. 2496 จึงได้ย้ายจากบ้านไร่ปลายนา มาสร้างบ้านอยู่ตามแนวถนนพหลโยธินระหว่างเทิง – เชียงของ ตอนนั้นการปกครองขึ้นอยู่กับบ้านลุงหมู่ที่ 8 ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศจัดตั้งหมู่บ้านศรีดอนชัย หมู่ที่ 1 ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายทองดี วงศ์ชัย ต่อมาก็มีผู้ใหญ่บ้านตามลำดับ สาเหตุที่เรียกบ้านศรีดอนชัยนั้นเพราะสภาพบ้านเป็นลุ่มดอนและมีต้นโพธิ์มาก (ภาษาพื้นบ้านเรียกว่าต้นสลี อยู่ที่หน้าวัด) และชาวบ้านมีนามสกุลเหมือนกันหมดจึงเรียกชื่อบ้านว่า บ้านศรีดอนชัย ได้แยกการปกครองออกจากตำบลสถานมาเป็นตำบลศรีดอนชัย กำนันคนแรกของตำบลศรีดอนชัยคือ นายทองดี วงศ์ชัย

หมู่บ้านศรีดอนชัย ไทลื้อ

ชุมชนศรีดอนชัย ไตลื้อ เป็นชุมชนของชาวไทลื้อที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย นอกจากบ้านเรือน อาหาร วัฒนธรรม และประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว

ผ้าทอมือ ไทลื้อถือเป็นอัตลักษณ์ทีสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะนอกจากลายดั่งเดิมแล้ว ยังมีลายผ้าที่คิดค้นจากช่างฝีมือ ซึ่งสั่งสมความรู้และประสบการณ์จนก่อเกิดเป็นลายผ้าที่งดงาม และลายผ้าแต่ละผืนก็มีเรื่องราวและความเชื่อแฝงอยู่ในนั้นอีกด้วย

การทอผ้าของชาวไทลื้อ

เอกลักษณ์การทอผ้าที่สำคัญของชนกลุ่มนี้ คือ การทอผ้าด้วยเทคนิค เกาะหรือล้วง (Tapestry Weaving) หรือที่เป็นที่รู้จักกันว่า “ลายน้ำไหล” ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความยุ่งยากซับซ้อน แต่ทำให้เกิดลวดลาย และสีสันที่งดงามแปลกตา และเป็นอัตลักษณ์อันโดดเด่นเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างจากผ้าซิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มอื่นๆ นอกจากผ้าซิ่นแล้ว ชาวไทลื้อยังทอผ้าชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น ผ้าหลบ

สัมผัสความงดงามบนผืนผ้าทอไทลื้อที่บ้านศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย
บ้านแม่ครูดอกแก้ว ธีระโคตร ครูศิลปหัตถกรรม และกลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนชัย

ในปัจจุบันมีชุมชนไทลื้อที่มีความสามารถทอผ้าเกาะล้วง แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มไทลื้อ อำเภอเชียงของ อาเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

2. กลุ่มไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

3. กลุ่มไทลื้อ อำเภอปัว อำเภอทุ่งช้างและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน

เครื่องแต่งกายผู้ชายไทลื้อ

ผู้ชายไทลื้อจะสวมเสื้อคอกลมแขนยาว ผ่าหน้าติดกระดุม และเสื้อคอตั้งแบบคอจีน เสื้อทั้ง 2 แบบ มีการตกแต่งด้วยการปักลวดลายหรือใช้แถบผ้าสีหลากสีขลิบตรงสาบเสื้อ แขน และปักเย็บขอบรอบต่อโดยใช้เส้นไหมสีต่าง ๆนุ่งกางเกงขายาวทรงหลวมทั้งเสื้อและกางเกงนี้ตัดเย็บจากผ้าฝ้ายย้อมสีครามเข้มหรือสีดา หากเป็นชุดอยู่กับบ้าน หรือชุดลาลองโดยเฉพาะในเวลาอากาศร้อน อาจนุ่ง “ผ้าต้อย” ขนาดสั้นเพื่อโชว์ลาย สักหมึกบนขาอ่อน ถ้าเป็นผ้าขนาดยาว นุ่งแบบโจงกระเบนหรือนุ่งลอยชาย ผ้านุ่งนี้เป็นผ้าฝ้ายสีคราม หรือทอ เป็นลายตาราง ถ้าเป็นผ้านุ่งในโอกาสพิเศษมักจะใช้ผ้าไหมสีต่าง ๆ

เครื่องแต่งกายผู้หญิงไทลื้อ

ผู้หญิงไทลื้อในสิบสองพันนาในอดีตจะสวม “เสื้อปั๊ด”สีดาและนุ่งซิ่นลายขวาง ที่เรียกว่า “ซิ่นตา ”ในชีวิตประจาวัน โพกผ้าสีขาวเป็นลักษณะเด่นในฤดูร้อนหรือในเวลา อยู่กับบ้านอาจสวมเสื้อลาลองที่เรียกว่า “เสื้อปา”เป็นเสื้อแบบพอดีตัว ไม่มีแขน ผ่าอก ติดกระดุม ส่วนในฤดูหนาวจะสวมเสื้อปั๊ดเนื้อหนาที่มีผ้าซับใน เรียกว่า “เสื้อก๊บ”เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น โครงสร้างมาตรฐานของผ้าซิ่นไทลื้อ ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 3ส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่นเย็บต่อเข้าด้วยกัน

สถาปัตยกรรมแบบไทลื้อ

เฮือนไทลื้อ 100 ปี (เฮือนเอื้อยคา)

“เฮือนเอื้อยคำ” เป็นชื่อของเรือนที่พี่สหัสชายา นุชเทียน ทายาทรุ่นที่สองเป็นเจ้าของ เรือนดังกล่าวตั้งอยู่บนถนนสายหลักจากตัวเมืองในอาเภอเชียงของมุ่งหน้ายังตาบลศรีดอนชัย เรือนดังกล่าวสร้างขึ้นก่อน พ.ศ. 2500 นายผัดและนางเอื้อย วงศ์ไทย พ่อและแม่ของพี่สหัสชายาเป็นผู้ปลูกสร้างเรือน

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณธนนิตย์ และสหัสชายา นุชเทียน (เฮือนเอื้อยคา)
ศูนย์บริการวิชาการ. (2564). โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ตำบลศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ตัวเรือนมีลักษณะร่วมกับเรือนไทยที่เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง ทั้งเสาและโครงสร้างหลักเป็นไม้ หลังคาเป็นทรงปั้นหยาและจั่ว มุงด้วยกระเบื้องแบบดั้งเดิม บันไดทางขึ้นอยู่นอกเรือนและทาหลังคาคลุม แบ่งพื้นที่ใช้สอยดังนี้

1. เติ๋น เป็นส่วนที่ยกพื้นที่สูงขึ้นมาต่างระดับจากทางเดินเล็กน้อยอยู่ทางด้านหน้าของบ้าน บริเวณนี้มักสร้างเป็นม้านั่งยาวไปตามแนวชานใช้นั่งพักผ่อน ต้อนรับแขกและเป็นพื้นที่อเนกประสงค์สาหรับผู้อาศัย

2. ห้องนอน ห้องนอนยังคงปรากฏฝาที่กั้นไว้เป็นห้องนอนจานวน 4 ห้อง ไม่มีเพดานและผนังกั้นส่วนบนของห้อง ห้องนอนทางซ้ายสุดของเรือนซึ่งเคยเป็นห้องนอนของแม่เอื้อยคา และปัจจุบันเป็นห้องนอนของพี่สหัสชายาใช้งาน โดยมีนามุ้งสีดามาใช้และเป็นส่วนของการอธิบายถึงลักษณะเฉพาะของเรือนไทลื้อที่ใช้มุ้งเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงสัดส่วนพื้นที่ของแต่ละครอบครัวภายในเรือน

3. ฮ้านน้ำ (ร้านน้ำ) เป็นชั้นวางหม้อน้ำสาหรับคนในบ้านดื่ม และใช้ต้อนรับแขก สร้างไว้ตรงทางเดินที่เชื่อมระหว่างห้องครัวและหลองข้าว

4. หลองข้าว สร้างออกมาเพิ่มจากตัวบ้านเป็นอีกหลังหนึ่ง โดยสร้างหลังคาของหลองข้าวเป็นทรงปั้นหยามีหลังคาปีกนกชื่นออกมา ตัวบ้านและหลองข้าวมีทางเชื่อมต่อระหว่างกันด้านบนของทางเชื่อมซึ่งตรงกับช่วงต่อของหลังคาทั้งสองมีรางรินรองรับน้าฝน เพื่อไม่ให้พื้นระเบียงทางเดินเปียก ซึ่งปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเป็นสถานที่พักสำหรับผู้มาเยือน

5. ห้องครัว ถัดจากบริเวณโถงและห้องนอนต่างๆ เป็นพื้นที่ห้องครัว เตาไฟ จะตั้งอยู่กลางห้อง มีลักษณะเป็นแท่นฐานดินและก้อนเส้าพร้อมตั้งหม้อให้เห็นรูปแบบการใช้งาน เหนือเตาไฟจะแขวนตะแกรงไม้ไผ่วางเครื่องใช้และอาหารแห้ง เช่น ปลา เนื้อ ซึ่งเสมือนรมควันไปในตัว

6. พื้นและฝาบ้าน สร้างจากไม้จริงทั้งหมด การวางไม้จะเรียงแผ่นกระดานในแนวนอนตลอดทั้งแนว พื้นและฝาในส่วนของห้องนอนกับเติ๋นจะใช้ไม้ที่มีคุณภาพดีกว่าห้องครัว

7. ใต้ถุนบ้าน เป็นพื้นที่เปิดโล่งทุกด้านสามารถรับลมธรรมชาติได้ ใช้ในการพักผ่อน เก็บของและทอผ้า

8. โครงสร้างหลังคา โครงสร้างหลักเป็นไม้ หลังคาเป็นทรงปั้นหยาและจั่ว ไม่มีฝ้าเพดานปิด มุงด้วยกระเบื้องแบบดั้งเดิม

9. แป้นน้ำย้อย ใช้ประดับตกแต่งชายหลังคาด้านข้างและด้านหน้าที่คลุมบันไดทางขึ้นหน้าบ้าน ลวดลายที่ใช้เป็นลายเรขาคณิตที่เรียบง่าย ติดตั้งโดยการวางแผ่นไม้ที่ฉลุลายแล้วตามแนวตั้ง แป้นน้าย้อยแต่ละแผ่นจะมีขนาดและลวดลายเดียวกัน เมื่อนามาวางชิดกันแล้วจะได้ลายที่มีความสมมาตร

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณธนนิตย์ และสหัสชายา นุชเทียน (เฮือนเอื้อยคา)
ศูนย์บริการวิชาการ. (2564). โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ตำบลศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

วิดีทัศน์จากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

ขอบคุณวิดีโอจาก: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ชุมชนคุณธรรมต้นแบบบ้านศรีดอนชัย.

สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

รายการอ้างอิง :

ศูนย์บริการวิชาการ. (2564). โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ตำบลศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.