วัดพระธาตุดอยเขาควาย /

วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว

หมายเหตุ. ภาพจาก วัดในเขตเทศบาลนครเชียงราย, โดย เทศบาลนครเชียงราย, 2559, เทศบาลนครเชียงราย. สงวนลิขสิทธิ์ 2558 โดย เทศบาลนครเชียงราย.

วัดพระธาตุดอยเขาควาย หรือ วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว

วัดที่มีเรื่องราว ตำนาน ความเชื่อสู่ความศรัทธา มาอย่างยาวนาน

ที่อยู่วัด : ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

นิกาย : มหานิกาย

ประเภทวัด : วัดราษฎร์

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา : พุทธศักราช 2518

ตำนานควายเผือกเขาแก้ว

หมายเหตุ. ภาพจาก วัดในเขตเทศบาลนครเชียงราย, โดย เทศบาลนครเชียงราย, 2559, เทศบาลนครเชียงราย. สงวนลิขสิทธิ์ 2558 โดย เทศบาลนครเชียงราย.

ตำนาน อันเป็นที่มาของชื่อ "ดอยเขาควายแก้ว" หรือ "ดอยเขาควาย" ในปัจจุบันนั้น มาจากเรื่องเล่าในตำนานพระเจ้าเลียบโลกว่า...

ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล ในปีที่ 25 พระพุทธเจ้าได้พาพระอรหันตสาวก  เสด็จมาโปรดสัตว์ในเขตล้านนาทางเหนือตอนบนของประเทศไทย เสด็จมาถึงดอยลูกหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ได้ทรงทำนายไว้ว่า "บ้านเมืองนี้ต่อไป จะเจริญมั่นคงสมบูรณ์ ครั้นพระองค์เสด็จปรินิพานแล้ว ให้เอากระดูกนิ้วก้อยของพระองค์มาประดิษฐานบนดอยลูกนี้ ให้เป็นที่กราบสักการะบูชาของคนทั่วไป" ดอยลูกนี้มีนามว่า "ดอยเขาควายแก้ว"

อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า...

ปางก่อนมีควายสองแม่ลูกอาศัยหากินอยู่บนดอยลูกนี้กับฝูงควายฝูงหนึ่ง ควายผู้เป็นลูกนั้นเป็นควายพระโพธิสัตว์ มีเขาเป็นแก้ว ได้อาศัยหากินตามป่าตามหนองน้ำใกล้ๆ กับดอยลูกนั้น ควายเผือกเขาแก้วนี้ เมื่อโตขึ้นได้เป็นจ่าฝูงของควายทั้งหมด เนื่องจากมีพละกำลัง และสติปัญญาความ เฉลียวฉลาดเกินกว่าควายทั่ว ๆ ไปในฝูง ครั้นเวลาล่วงเลยมานาน ได้มีสองตายายไปทำไร่ทำสวนบริเวณดอยลูกนั้นจึงได้ไปพบเขาควายแก้ว ดอยลูกนั้นจึงได้มีชื่อว่า "ดอยเขาควายแก้ว" ตั้งแต่นั้นมาหลายร้อยปี

หลังจากนั้นหลายร้อยปี มีชาวบ้านสองแม่ลูกอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนั้น และมีควายตัวเมียอยู่หนึ่งตัวและควายตัวนี้ได้ออกลูกอีก 1 ตัว ลูกควายตัวนี้ถูกส่งมาจากสวรรค์ มีสีขาวและมีรูปร่างสวยงามชาวบ้านสองคนแม่ลูกได้เลี้ยงควายทั้งสองตัวในหนองน้ำข้างล่างดอย ทางทิศใต้ของพันธุมตินคร (ป็นชื่อเดิมของเชียงรายในโบราณกาล) เขาของลูกควายยาวขึ้นมากก่อนที่มันจะตาย เวลานานผ่านไปชาวนาคนหนึ่งพบกะโหลกและเขาควายฝังอยู่ในทรายและเกิดประทับใจในความยาวของมัน  เขาจึงขัดเขาของมันแล้วพบว่ามันเป็นแก้ว  เขาควายได้นำโชคมาให้และชาวนาคนนี้ได้กลายเป็นคนที่ร่ำรวย จึงเรียกเขานั้นว่า "ดอยเขาควายแก้ว"

หมายเหตุ. ภาพจาก วัดในเขตเทศบาลนครเชียงราย, โดย เทศบาลนครเชียงราย, 2559, เทศบาลนครเชียงราย. สงวนลิขสิทธิ์ 2558 โดย เทศบาลนครเชียงราย.

ตำนานวัดพระธาตุดอยเขาควาย

แมงสี่หูห้าตา กินถ่าไฟแดงขี้เป็นทองคำ อาศัยอยู่ในถ้ำดอยเขาควาย

หมายเหตุ. ภาพจาก วัดในเขตเทศบาลนครเชียงราย, โดย เทศบาลนครเชียงราย, 2559, เทศบาลนครเชียงราย. สงวนลิขสิทธิ์ 2558 โดย เทศบาลนครเชียงราย.

หมายเหตุ. ภาพจาก วัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย, โดย เทศบาลนครเชียงราย, 2558, เทศบาลนครเชียงราย. สงวนลิขสิทธิ์ 2558 โดย เทศบาลนครเชียงราย.

ตำนานวัดพระธาตุดอยเขาควายเป็นตำนานพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงเลื่องลือในอดีต คนแก่คนเฒ่ายุคโบราณจะเล่าให้ลูกๆ หลานๆ ฟังอย่างสนุกสนาน ลูกหลานฟังแล้วไม่เบื่อ โดยในตอนกลางคืนเดือนมืดมักจะมีการเล่นแสดงแมงสี่หูห้าตาให้ลูกหลานดู หลอกให้เด็กๆ ลูกหลานกลัววิ่งหนีกัน และแอบมองดูแมงสี่หูห้าตาเดินมาคล้ายหมียืนหรือเดินสองเท้า พวกเด็กๆ เห็นแล้ววิ่งหนี ทั้งกลัว ทั้งขำ ทั้งๆ แม้จะรู้ว่าเป็นการแสดงแต่ยังกลัวและอยากดูอยู่ ต่างผลัดกันเล่นผลัดกันแสดงสนุกสนานมาก

ตำนานของแมงสี่หูห้าตานั้น เป็นตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัด

พระธาตุดอยเขาควายแก้วของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นเรื่องราวของ "อ้ายทุกคตะ" มีความว่า...


ในอดีตกาล ประมาณ 1,000 กว่ามีมาแล้ว มีเมืองหนึ่งที่ชื่อ "เมืองพันธุมตินคร" มีพระเจ้าพันธุมติราชปกครองอย่างร่มเย็นเป็นสุข และพระเจ้าพันธุมติราชนั้นมีพระมเหสีเจ็ดพระองค์ ในเมืองนี้มีครอบครัว คนยากจนอยู่ครอบครัวหนึ่งซึ่งมี 3 พ่อแม่ลูก ออกขอทานหาเข้ากินค่ำ ลูกคนนี้มีชื่อว่า "อ้ายทุกคตะ" เมื่อเขามีอายุเพียง 4 ขวบแม่ก็มาด่วนจากเสียชีวิตไป การออกขอทานของอ้ายทุกคตะนั้นมีทั้งชาวบ้านที่ใจดียอมให้ทานและชาวบ้านที่ไม่ชอบหน้าขับไล่ไสส่ง เมื่ออ้ายทุกคตะมีอายุได้ 12 ปี พ่อให้ลูกไปรับจ้างเลี้ยงวัวเลี้ยงควายของผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน แต่ต่อมาไม่กี่ปีพ่อมาป่วยหนักและคิดว่าตนจะไม่รอดชีวิต จึงอบรมและสั่งเสียให้อ้ายทุกคตะเป็นคนดีมีศีลธรรม เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ เมื่อพ่อเสียชีวิตแล้วสั่งให้ฝังศพไว้ที่ป่า จนกว่าหัวกะโหลกของพ่อจะหลุด แล้วให้นำมาไหว้สักการบูชาที่บ้าน เมื่อครบอายุ 17 ปี ให้ลากหัวกะโหลกของพ่อขึ้นดอยทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถ้าหัวกะโหลกติดตรงไหนก็ให้ฝังตรงนั้น แล้วทำบ่วงแร้วดักจับสัตว์ตรงนั้นด้วย หากมีสัตว์ตัวใดมาติดบ่วงแร้ว ให้จับสัตว์มาเลี้ยงไว้

เมื่อพ่อเสียชีวิตลง อ้ายทุกคตะทำตามคำสั่งเสียของพ่อทุกอย่าง ต่อมาเมื่อมาดูศพของพ่อและพบว่า

หัวกะโหลกหลุดแล้ว จึงทำตามคำสั่งเสียของพ่อ อ้ายทุกคตะลากหัวกะโหลกของพ่อจนไปติดที่หน้าถ้ำ

แห่งหนึ่ง จึงได้ทำบ่วงแร้วดักจับสัตว์ที่นั่น และหลังจากนั้น 2-3 วัน เมื่ออ้ายทุกคตะมาดู ปรากฏว่ามี

สัตว์ประหลาดมาติดบ่วงแร้ว ลักษณะตัวดำ ต่ำอ้วนเหมือนหมี ขนยาวสีดำ มีหู 4 หู และมีตา 5 ตา จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก แมงสี่หูห้าตา

เมื่ออ้ายทุกคตะไต้เห็นแมงสี่หูห้าตามาติดบ่งแร้วจึงไหว้ระสึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และทำให้เข้าใจว่าพ่อได้กลับชาติมาเกิดเป็นแมงตัวประหลาดตัวนี้ หลังจากนั้นเขานำแมงสี่หูห้าตาไปเลี้ยงที่บ้าน และล้อมคอกไว้โดยไม่ให้ใครเห็น เอาข้าวเอาน้ำให้มันกิน แต่มันไม่ยอมกินอะไรที่เขาให้เลย ส่วนเขาก็ไม่มีเวลามาดูแลหรือให้ความสนใจกับแมงสี่หูห้าตามากนัก เพราะต้องเลี้ยงวัวเลี้ยงควายตามปกติ 

ในช่วงฤดูหนาว อ้ายทุกคตะเอาไม้มาจุดไฟเพื่อก่อกองไฟจนเป็นถ่าน และมีถ่านก้อนหนึ่งกระเด็นออกไปหาแมงสี่หูห้าตา และด้วยความหิวกระหาย มันจึงกินถ่านไฟแดงก้อนนั้น อ้ายทุกคตะเกิดความแปลกใจจึงก่อกองไฟและเขี่ยถ่านให้แมงสี่หูห้าตากินอย่างไม่ขาด วันต่อมา แมงสี่หูห้าตาได้ถ่ายขี้ออกมาเป็นทองคำจำนวนมาก เมื่อคิดได้เช่นนั้น ในแต่ละวันอ้ายทุกคตะจึงก่อกองไฟแล้วนำถ่านไฟแดงร้อน ๆ มาให้แมงสี่หูห้าตากินอย่างไม่ขาด และมันก็ขี้ออกมาเป็นทองคำทุกวัน อ้ายทุกคตะได้ขุดดินฝังทองคำจนเต็มไร่เต็มสวน

ต่อมามีข่าวการเผยโฉมของ "พระนางสีมา" พระราชธิดาของพระเจ้าพันธุมติราช ซึ่งเป็นพระราชธิดาที่มีรูปโฉมสวยงาม จนเหล่าบรรตาเจ้าเมืองต่างๆ หลายร้อยเมือง มาขอเป็นมเหสี (ขอแต่งงาน) พระเจ้าพันธุมติราชจึงตัดสินใจว่า ถ้าต้องการพระนางสีมาเป็นมเหสี ให้สร้างรางรับน้ำฝนทองคำจากบ้านมายังปราสาท ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ไม่น่าจะเป็นไปได้หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ จึงทำให้เรื่องนี้เงียบหายไป แต่เมื่ออ้ายทุกคตะได้ทราบถึงเรื่องนี้ เขาจึงไปจ้างช่างให้ทำรางรับน้ำฝนด้วยทองคำ โดยเริ่มสร้างจากบ้านไปยังปราสาทชาวบ้านในเมืองเห็นสิ่งที่น่าประหลาดใจ คือ รางรินน้ำทองคำ ที่ก่ายพาดตามทางยาวสุดหูสุดตา

เมื่อพระเจ้าพันธุมติราชทรงทราบ จึงสั่งให้เสนาอำมาตย์ ไปติดตาม และพบว่ารางน้ำนั้นมาจากบ้านของอ้ายทุกคตะ พระเจ้าพันธุมติราชจึงสั่งการให้ทำถนนเป็นอย่างดีไปจนถึงบ้านของอ้ายทุกคตะ เมื่อได้ฤกษ์ยามที่ดี อ้ายทุกคตะจึงได้อภิเษกสมรสกับพระนางสีมา หลังจากที่อ้ายทุกคตะได้อภิเษกสมรสมาเป็นบุตรเขยแล้ว พระเจ้าพันธุมติราชจึงถามเรื่องทองคำว่าได้มาจากไหน เขาตอบว่าได้มาจากแมงสี่หูห้าตา พระราชาจึงสั่งให้ไปขุดทองที่บ้านในสวนทั้งหมด เพื่อเอามาเป็นทรัพย์สมบัติ การขุดใช้เวลานานถึง 7 วัน 7 คืนจึงจะขุดทองคำได้หมด เมื่อถามถึงเรื่องตัวของแมงสี่หูห้าตาแล้ว จึงขอให้อ้ายทุกคตะไปเอาตัวมันมา แต่มันกลัวพระเจ้าพันธุมติราช จึงหนีหลุดออกไป พระราชาสั่งให้เสนาอำมาตย์ไปตามจับมา ซึ่งจับได้แต่หนีออกไปอีก 2 ครั้ง และในครั้งที่ 3 เมื่อจับได้จึงใส่กรง

วันหนึ่ง เมื่อพระเจ้าพันธุมติราชต้องการจะสัมผัสตัวแมงสี่หูห้าตา และเปิดกรงออก มันจึงหนีออกจากกรง พระราชาได้วิ่งไล่ตามมาจนถึงหน้าถ้ำแห่งหนึ่ง พระราชาคิดว่าแมงสี่หูห้าตาวิ่งหนีเข้าไปในถ้ำจึงตามเข้าไป แต่ดินกลับถล่มปิดปากถ้ำ พระเจ้าพันธุมติราชออกมาไม่ได้และถูกขังอยู่ในถ้ำ เสนาอำมาตย์จึงหาพระเจ้าพันธุมติราชไม่เจอ เมื่อพระเจ้าพันธุมติราชถูกขังอยู่ในถ้ำนั้น พระองค์ได้แต่โทษตัวเองว่า ด้วยความโลภที่อยากได้แมงสี่หูห้าตา จึงถูกกักขังไว้ในถ้ำแห่งนี้ และคาดว่าคงจะต้องสวรรคตในถ้ำนี้แน่ ในถ้ำแตกออกเป็นรูเล็กๆ พระองค์จึงร้องเรียกความช่วยเหลือจนเสนาอำมาตย์มาพบ และสั่งให้เสนาอำมาตย์ไปตามพระมเหสีทั้ง 7 มาพบ และสั่งให้พระมเหสีทั้ง 7 คนพากันสละความอายด้วยการเปิดผ้าถุงให้เห็นสรีระเป็นครั้งสุดท้ายก่อนสวรรคต พระมเหสีของพระเจ้าพันธุมติราชต่างเกี่ยงกันไปเกียงกันมาด้วยความอาย ไม่กล้าเปิดผ้าถุง แต่แล้วพระมเหสีคนที่ 7 ตัดสละความอายเปิดผ้าถุงให้ดู และเกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นคือ มีเสียงหัวเราะ จากถ้ำและทำให้ปากถ้ำเปิด พระเจ้าพันธุมติราชจึงหนีรอดออกมาได้

พระราชาพามเหสีทั้ง 7 คนและเสนาอำมาตย์กลับเข้าเมือง ต่อมาไม่นานได้สละราชสมบัติให้อ้ายทุกคตะราชบุตรเขยเป็นพระราชาปกครองสมบัติสืบต่อมา และทรงพระนามว่า "พระยาธรรมมิกะราช" บรรดาพระราชาร้อยเอ็ดหัวเมืองเมื่อทราบข่าวจึงส่งเครื่องบรรณาการของฝากมาถวาย มีการเฉลิมฉลอง พระราชาองค์ใหม่ 7 วัน 7 คืน พระยาธรรมมิกะราชได้ครองราชย์สมบัติปกครองไพร่ฟ้าประขาชนให้อยู่เย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า มีพระสงฆ์มาเผยแผ่ศาสนาและนำเอาพระบรมพุทธสารีริกธาตุมาถวายเป็น ข้อมือนิ้วก้อยข้างซ้ายของพระพุทธเจ้า พระยาธรรมมิกะราชทรงมีความเคารพศรัทธาในพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ และพระบรมพุทธสารีริกธาตุเป็นอย่างมาก จึงได้โปรดให้สร้างวัดวาอารามต่างๆ เพิ่มขึ้น และได้สร้างวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้วขึ้นตรงยอดดอยที่มีถ้ำที่แมงสี่หูห้าตามาติดบ่วงแร้ว แล้วเอาพระบรมพุทธสารีริกธาตุนิ้วกัอยข้างข้ายมาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์ เพื่อเป็นสถานที่สำหรับกราบไหว้สักการบูชาของพระองค์ เสนาอำมาตย์ และประซาชนทั่วสารทิศต่อไป

วิธีการเล่นแสดงแมง 4 หู 5 ตา แบบง่ายๆ

หมายเหตุ. ภาพจาก วัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย, โดย เทศบาลนครเชียงราย, 2558, เทศบาลนครเชียงราย. สงวนลิขสิทธิ์ 2558 โดย เทศบาลนครเชียงราย.

วิธีการเล่นแสดงแมง 4 หู 5 ตา ใช้ความมืดเป็นฉากแสดง และเตรียมอุปกรณ์ คือ

1) ก่อกองไฟ กองเล็กๆ 1 กอง และ 2) ธูปหอมหรือธูปหัวโตแบบสั้น จำนวน 13 ดอกและจุดไฟให้แดงเรื่อๆ แล้วแบ่งไว้เป็นส่วนๆ คือ

1. เหน็บไว้ที่ง่ามเท้าซ้าย-ขวา ข้างละ 1 ดอก หนีบไว้ให้แน่น (เป็น 2 เท้าหลัง)

2. มือถือไว้ซ้าย-ขวา ข้างละ 1 ดอก (เป็น 2 เท้าหน้า)

3. เหน็บไว้ที่หูซ้าย-ขวา ข้างละ 2 ดอก สลับหัวท้ายหน้า-หลัง (เป็น 4 หู)

4. ปากคาบไว้อีก 5 ดอก ให้ปลายธูปห่างกันพอประมาณ (เป็น 5 ตา)

แมง 4 หู 5 ตาจะเดินออกมาท่ามกลางความมืด (แมง 4 หู 5 ตา มีสีมืดดำจึงมองไม่ค่อยเฉพาะแสงไฟหรือไฟจากหัวธูป) เดินเข้ามาหาผู้ชม ทำท่าเหลียวซ้าย-ขวา หน้า-หลัง บ้าง เดินไปหากองไฟทำท่าทางคุ้ยเขี่ยถ่าน ทำท่าจะกินถ่านไฟแดงบ้าง ใช้มือถือธูปนั้นคุ้ยเขี่ยถ่านไฟแล้วก้มลงเอาปากที่คาบธูป 5 ดอกนั้นจุดไฟที่มีถ่านไฟให้เปลวไฟน้อยๆ แต่ไม่ถึงกับไฟลุก เดินไปหาเด็กๆ หรือผู้ชม ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 5 เมตร 10 เมตร หรือ 20 เมตรก็ได้ เห็นแล้วน่าหัวเราะและน่ากลัวเดินไปเดินมาทำท่าวิ่งเต้นได้สักครู่แล้ว ก็ถ่ายซื้ออกมาเป็นทองคำให้เด็กๆ หรือผู้ชมได้ดูกันสนุกๆ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทำเป็นขี้คือ ก้อนหินหรือก้อนดิน ห่อหุ้มด้วยกระดาษสีทอง หรือเอาดินหรือปูนมาปั้นเป็นลูกหรือเป็นแท่งๆ ตากแห้งหรือเผาให้สุกแล้ว ทาสีทองคำ นำมาใส่ในถุงรูดชิปและเอาถุงไว้ที่กันหรือหน้าท้อง เวลาขี้ก็เปิดชิปออกตามต้องการ ขนาดของก้อนขี้ทองคำให้มีความใหญ่ประมาณเท่ากับขนาดของไข่เป็ดไข่ไก่ขึ้นไป

วัดพระธาตุดอยเขาควาย

หมายเหตุ. ภาพจาก วัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย, โดย เทศบาลนครเชียงราย, 2558, เทศบาลนครเชียงราย. สงวนลิขสิทธิ์ 2558 โดย เทศบาลนครเชียงราย.

วัดพระธาตุดอยเขาควาย แห่งนี้จึงได้มีการสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้งหลายสมัย วัดพระธาตุดอยเขาควายตั้งอยู่เลขที่ 690 หมู่ 24 ตำบลเมืองเขียงราย จังหวัดเขียงราย ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 5 กิโลเมตร ทางไป ถนนลาดยางขึ้นถึงบนวัด

ในปีหนึ่งๆ จะมีงานนมัสการหรืองานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในวันเพ็ญวิสาขบูชาหรือเดือน 8 เป็งของทุกปี ซึ่งส่วนมากจะตรงกับเดือนพฤษภาคมในงานจะมีพิธีบวชเนกขัมมะนารีชีพราหมณ์ กวนข้าวทิพย์ ข้าวมธุปายาส และปฏิบัติธรรม ถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อขึ้นไปทำบุญบนวัดแล้วสามารถชม ทิวทัศน์ของเมืองเซียงรายได้รอบทิศ สวยงามดีมาก ในยามราตรีจะมีแสงสีของไฟฟ้าประดับระยิบระยับ เสมือนอัญมณีหลากสีสัน สวยงาม พระอิธิการสนอง สุมะโน หรือพระอาจารย์ครูบาสนอง เจ้าอาวาส รูปปัจจุบันได้บูรณปฏิสังชรณ์ ก่อสร้างถาวรวัตถุ กูฏิ ศาลา พัฒนาวัดวาอารามให้เจริญรุ่งเรืองสวยงาม เหมาะสมที่จะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของเมืองเชียงราย เทศบาลนครเชียงราย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้สนับสนุนงบประมาณมาเทคอนกรีตบนลานวัดทั้งหมดอยู่บนวัดสามารถมองเห็น เมืองเซียงรายไต้รอบทิศ สวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน

ตามตำนานเล่าว่าพระยาธรรมมิกะราชโปรดให้สร้างวัดพระธาตุดอยเขาควายขึ้น และได้นำพระบรมพุทธสารีริกธาตุนิ้วก้อยข้างซ้ายมาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์ เพื่อเป็นศาสนสถานสำหรับกราบไหว้สักการบูชาของพระองค์และประชาชนทั่วไป วัดพระธาตุดอยเขาความได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง ตามตำนานบอกว่าได้รับการบูรณะสมัยเชียงแสน สมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราชใน ปี พ.ศ. 1805 และพระอาจารย์ครูบาคำหล้า สังวโร กับครูบินถา สุทันโต ในปี พ.ศ. 2500 และ 2510

รูปแบบของพระธาตุดอยเขาควายในปัจจุบันคล้ายกับเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา เจดีย์รูปแบบนี้ ปรากฏขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ 21 โดยปรับจากเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด (ตัวอย่างเช่น เจดีย์วัดป่าสัก เชียงแสน)ให้เหลือเพียงยอดเดียวโดยไม่มีเจดีย์ประดับที่มุมทั้งสี่เหนือเรือนธาตุ แต่พระธาตุดอยเขาควาย แห่งนี้มีการประดับเจดีย์บริวารที่บริเวณฐานเขียงด้านล่างแทน

หมายเหตุ. ภาพจาก วัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย, โดย เทศบาลนครเชียงราย, 2558, เทศบาลนครเชียงราย. สงวนลิขสิทธิ์ 2558 โดย เทศบาลนครเชียงราย.

หมายเหตุ. ภาพจาก วัดในเขตเทศบาลนครเชียงราย, โดย เทศบาลนครเชียงราย, 2559, เทศบาลนครเชียงราย. สงวนลิขสิทธิ์ 2558 โดย เทศบาลนครเชียงราย.

องค์ประกอบของพระธาตุดอยเขาควายองค์นี้คือ

ส่วนฐาน ฐานเขียง 2 ฐาน รองรับฐานบัว 1 ฐาน ซึ่งมีการย่อมุม (เพิ่มมุม) เพื่อรองรับจระนำที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปของส่วนเรือนธาตุ และมีเจดีย์บริวารที่มุมทั้ง 4 ของฐานเขียง ส่วนกลาง เรือนธาตุ เป็นอาคารสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบ ประดับซุ้มจระนำที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน ส่วนยอด เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ประกอบด้วยฐานเหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบ และชุดฐานกลมรองรับองค์ระฆังเหนือขึ้นไปคือ องค์ระฆังไม่มีบัลลังก์ ต่อด้วยปล้องไฉน ปลียอด และประดับฉัตร ตามลำดับ และมีการประดับตกแต่งพระธาตุด้วยกระจกสีทั้งองค์

รายการอ้างอิง

เทศบาลนครเชียงราย. (2558). วัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย. เทศบาลนครเชียงราย.

เทศบาลนครเชียงราย. (2559). วัดในเขตเทศบาลนครเชียงราย. เทศบาลนครเชียงราย.