แกงฮังเล (Gang Hunglay)

Northern Style Pork Curry with Garlic

อัตลักษณ์

"แกงฮังเล" เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับ อิทธิพลมาจากพม่า ในสมัยอดีตเป็นแกงของไทใหญ่ จัดเป็นอาหารยอดนิยมอันตับต้น ๆ ของชาวล้านนา ถือว่าเป็นอาหารมงคลชนิดหนึ่ง อีกทั้งยังมีวัตถุดิบในการปรุงที่มีราคาสูงชาวบ้านจึงนิยมนำไปถวายพระ เนื่องในโอกาสวันสำคัญต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา ตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงยุคปัจจุบัน และแกงฮังเลที่เหลือจะนำมาทำแกงจานใหม่ เรียกว่า แกงโฮ๊ะ ซึ่งจะเพิ่ม มะเขือพวง ถั่วฝักยาว วุ้นเส้น หน่อไม้เปรี้ยว ตำลึง เป็นต้น

ประวัติของ แกงฮังเล

จากประวัติศาสตร์และความเป็นของอาณาจักรล้านนาโดยสังเขปตั้งแต่การรวบรวมดินแดนจนถึงการอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า รวมถึงการค้าขายและสัมปทานป่าไม้ของพม่าในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวสนับสนุนประวัติศาสตร์การได้รับอิทธิพล "แกงฮังเล" มาจากพม่า นอกจากนั้นจากการศึกษารวบรวมเอกสาร หนังสือและงานเขียนต่าง ๆ พบว่าเอกสารและงานเขียนได้กล่าวถึง "แกงฮังเล" เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าและแคว้นสิบสองปันนาในประเทศจีน ซึ่งเรียกว่า "ฮินเล" โดยที่ "ฮิน" แปลว่า "แกง" และ "เล" แปลว่า "เนื้อสัตว์" ในภาษาพม่า

ภายหลังมีการศึกษา พบความขัดแย้งเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งพบว่า "แกงฮังเล" ของคนล้านนาซึ่งในภาษาพม่าเรียกว่า "แวะตาฮีน" โดยที่ "แวะตา" หมายถึง "เนื้อหมู" ส่วนคำว่า "ฮีน" หมายถึง "แกง" ความหมายโดยรวมจึงหมายถึง "แกงหมู" และหากใช้เนื้อวัวเป็นวัตถุดิบก็เรียกว่า "อะแมตาน" ทั้งนี้จากการรวบรวมข้อมูลที่มีผู้ได้ทำการศึกษายังพบว่า "ฮินเล" ไม่ได้มีความหมายถึง "แกงฮังเล" แต่ "ฮินเล" ในความหมายของพม่าหมายถึง การนำเอาแกงเหลือหลากหลายชนิดมารวมกันและทำการปรุงใหม่อีกครั้งซึ่งมีความหมายตรงกับ "แกงโฮ๊ะ" ของล้านนา

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า "แวะตาฮีน" ในภาษาพม่า มีความหมายตรงกับ "แกงฮังเล" ในขณะที่ "ฮินเล" ในภาษาพม่ามีความหมายตรงกัน "แกงโฮ๊ะ" ในความหมายของคนล้านนา 

อย่างไรก็ตามความเป็นมาของ "แกงฮังเล" ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา ประกอบด้วย

(1) การเข้าปกครองของพม่าในอาณาจักรล้านนา ทำให้อาณาจักรล้านนได้รับอิทธิพลจากพม่าในการเข้าปกครอง

(2) การเคลื่อนย้ายของแรงงาน สืบเนื่องจากในอดีตปรากฏการค้าขายและสัมปทานป่าไม้ของบริษัทประเทศอังกฤษโดยมีพ่อค้าและแรงงานพม่าซึ่งเป็นคนในบังคับของอังกฤษเข้ามาตั้งบ้านเรือนและชุมชนในอาณาจักรล้านนา

(3) การมีอาณาเขตติดต่อกันระหว่างพม่ากับอาณาจักรล้านนา ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายของผู้อยู่อาศัยระหว่างพม่ากับอาณาจักรล้านนา

โดยแกงฮังเลสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ แกงฮังเลม่านและแกงฮังเลเชียงแสน

แกงฮังเลม่าน มีลักษณะเป็นแกงที่มีสีน้ำตาลแดง น้ำแกงขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าสีแดงส้มจากเครื่องแกง เนื้อสัมผัสของหมูที่เปื่อยนุ่ม รสเปรี้ยว เค็ม หวาน และเผ็ดตาม

แกงฮังเลเชียงแสน จะคล้ายกับแกงโฮะ แบบล้านนา โดยแกงฮังเลเชียงแสนไม่มีวุ้นเส้นเป็นส่วนผสม มีส่วนของน้ำแกงเล็กน้อย สีของแกงฮังเลเชียงแสนจะมีสีเหลืองเขียวจากส่วนผสมของผัก เนื้อสัมผัสที่เปื่อยนุ่มของหมูและผัก มีรสกลมกล่อม 

สูตรสำหรับ แกงฮังเล

ส่วนประกอบ (สำหรับ 10 ที่)

เครื่องปรุง

เนื้อหมูสันนอก 1 กิโลกกรัม
หมูสามชั้น 500 กรัม
กระเทียมแกะเปลือก 50 กรัม (1/4 ถ้วย)
ขิงอ่อนซอย 50 กรัม (1/4 ถ้วย)
ซีอิ๊วดำ 15 กรัม (1 ช้อนโต๊ะ)
ผสมผงฮังเลหรือผงกะหรี่ 10 กรัม (1 ช้อนโต๊ะ)
น้ำมะขามเปียก 45 กรัม (3 ช้อนโต๊ะ)
น้ำ 1,000 กรัม (4 ถ้วย)

เครื่องแกง

พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ดออกแช่น้ำ 15 กรัม (5 เม็ด)
กระเทียมซอย 15 กรัม (1 ช้อนโต๊ะ)
หอมแดงซอย 30 กรัม (2 ช้อนโต๊ะ)
ข่าหั่นละเอียด 5 กรัม (1 ช้อนชา)
ตะไคร้ซอย 15 กรัม (1 ช้อนโต๊ะ)
เกลือป่น 5 กรัม (1 ช้อนชา)
กะปิ 5 กรัม (1 ช้อนชา)

หมูสามชั้น

เกลือ

ผงฮังเล

เนื้อหมูสันนอก

ซีอิ๊วดำ

น้ำมะขามเปียก

กระเทียม

ขิง

หอมแดง

พริกแห้ง

ข่า

กะปิ

ตะไคร้

เครื่องแกง

วิธีทำ

ข้อควรรู้

แกงฮังเลเจ้าของตำรับดั้งเดิมจะรับประทานกับกล้วยไข่นึ่ง แกงฮังเลบางตำรับ จะใส่กระท้อนด้วยโดยหั่นชิ้นหนาพอประมาณเพื่อแทนมะขามเปียกให้รสชาติเปรี้ยว ซึ่งจะทำให้มีกลิ่นหอม และน้ำแกงควรข้นคล้ายมัสมั่น หมูสุกนุ่มเปื่อย กระเทียม ขิงสุก รสไม่เผ็ดจัดไม่หวาน การเคี่ยวเครื่องแกง ครรใช้ไฟปานกลาง การเลือกหมูสามชั้น ควรเลือกที่มันของเนื้อหมูไม่หนาเกินไป

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2558). อัตลักษณ์อาหารไทย 4 ภาค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ฐิติวรฎา ใยสำลี. (2562). "แกงฮังเล" วัฒนธรรมและความเชื่อ. [รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(2), 172-186.