(ที่มา: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.)

ประวัติโดยย่อ นางตุ่นแก้ว แสนเพ็ญ

นางตุ่นแก้ว แสนเพ็ญ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2470 อยู่หมู่บ้านสันโค้ง ถนนสันโค้งหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

แม่ตุ่นแก้ว แสนเพ็ญ ได้เริ่มศึกษาเรียนรู้การทำเครื่องสักการะล้านนาด้วยตนเอง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2518 โดยสืบทอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งจะใช้เครื่องสักการะล้านนาในงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ต้นผึ้ง ต้นเทียน ต้นดอก หมากเบ็ง และหมากสุ่ม วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องสักการะล้านนาส่วนใหญ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ทั่วไปในท้องถิ่น ที่เรียกว่า "เครื่องสด"

เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านเครื่องสักการะล้านนา โดยผลงานของท่านมีภูมิปัญญาที่แตกต่างจากการทำเครื่อวสักการะล้านนาจากวิธีเดิม คือ การคิดค้นกรรมวิธีที่จะทำให้เครื่องสักการะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ซึ่งจะเหมาะกับการนำไปจัดแสดงเผยแพร่ในงานที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการเผยแพร่ผลงานเป็นเวลานาน ซึ่งจากเดิมที่เครื่องสักการะล้านนา จะทำขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งแม้ว่าชิ้นงานจะมีความสวยงาม แต่เนื่องจากทำจากวัสดุธรรมชาติ จึงทำให้ไม่สามารถเก็บรักษาได้ในระยะเวลานาน

(ที่มา: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย)

ดอกผึ้ง
(ที่มา: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.)

หลังจากลองผิดลองถูกมาหลายวิธี แม่อุ๊ยตุ่นแก้ว แสนเพ็ญ และครอบครัวผู้เป็นปราชญ์ด้านเครื่องสักการะล้านนา จึงได้มีการคิดค้นนำ ขี้ผึ้งแผ่น มาทำเป็นดอกผึ้ง เพื่อใช้แทนวัสดุธรรมชาติ ใช้วิธีการทำพิมพ์ดอกผึ้งแล้วชุบลงในขี้ผึ้งเหลวที่ต้ม ต่อมาจึงได้มีการเพิ่มกาวลาเท็กซ์ลงไปผสมกับขี้ผึ้ง เพื่อให้ดอกผึ้งทนความร้อนจากแสงแดดมากขึ้น ทำให้ยังสามารถคงรูปทรง และยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้นอีกด้วย

นอกจากการทำเครื่องสักการะล้านนาแล้ว แม่ตุ่นแก้วยังเชี่ยวชาญในการประดิษฐ์ดอกไม้ใบตองประเภทต่าง ๆ เช่น การทำบายศรี การจัดพุ่มดอกไม้ พุ่มสักการะ เป็นต้น โดยได้ทำการศึกษา ด้วยตนเองจนเกิดความเชี่ยวชาญ และเป็นที่รู้จักของผู้คนในจังหวัดเชียงราย

ตัวอย่างเครื่องสักการะในพิธีทานหาแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (ที่มา: งานจดหมายเหตุ)

ทำความรู้จักกับ เครื่องสักการะล้านนา

เครื่องสักการะล้านนา ประกอบด้วย พุ่มหมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นเทียน ต้นผึ้ง ต้นพลู และต้นดอก ถือเป็นเครื่องพลีกรรมที่เริ่มมีใช้มาตั้งแต่ยุคสมัยพญามังราย ตามตำนานกล่าวว่า ใช้เป็นเครื่องประกอบยศของชนชั้นเจ้านาย และใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

ในปัจจุบัน เครื่องสักการะทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ใช้ในงานประเพณี และพิธีกรรมความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งเครื่องสักการะเองก็ได้แฝงความหมายเอาไว้ สะท้อนจากวิถีชีวิต และความเชื่อ เนื่องจากประชาชนชาวล้านนามีชีวิตอยู่เนื่องด้วยปัจจัยสี่ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค จึงนำปัจจัยสี่เหล่านี้มาใช้ประดิษฐเป็นเครื่องสักการะ เช่น นำเอาผ้ามาทำเป็นตุง นำข้าวมาทำข้าวมธุปายาส นำเอาไม้และโลหะมาทำเป็นอาสนา เครื่องสูง ราชกกุธภัณฑ์ นำเอ่น้ำผึ้งน้ำตาลและอาหารที่เป็น ยามกาลิก มาถวายเป็นเภสัชทาน

ดังนั้น เครื่องสักการะ จึงเหมือนกระจกที่ส่องสะท้อนให้เห็นความเป็นมาในอดีตที่มีประเพณีพิธีกรรมห่อหุ้มไว้ และเป็นเครื่องบอกถึงอารยธรรมที่ฝังอยู่อย่างแนบแน่นในการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา

เครื่องสักการะ พุ่มหมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นเทียน ต้นผึ้ง ต้นพลู และต้นดอก

ตัวอย่างเครื่องสักการะในพิธีทานหาแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (ที่มา: งานจดหมายเหตุ)

ประวัติการทงาน/การเผยแพร่องค์ความรู้

พ.ศ. 2525 เริ่มเผยแพร่องค์ความรู้ในการทเครื่องสักการะล้านนา และการประดิษฐ์ดอกไม้ ใบตองให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

พ.ศ. 2535 จัดทเครื่องสักการะล้านนาในงาน 4 ชาติสัมพันธ์ ณ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม และเป็นวิทยากรสาธิตการทหมากเบ็ง ดอกผึ้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2535 จัดดอกไม้ในงานประเพณี หรืองานเทศกาลต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย เช่น งานขบวนแห่ในงานพ่อขุนเม็งราย งานลอยกระทง งานสงกรานต์ และงานพิธีต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมของไร่แม่ฟ้าหลวง และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงราย

เป็นวิทยากรเผยแพร่องค์ความรู้และภูมิปัญญาในการท าบายศรีสู่ขวัญ กระทงใบตอง และ งานประดิษฐ์จากดอกไม้ ใบตองให้กับคณะครูและนักเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในจังหวัดเชียงราย และเผยแพร่ความรู้ในการประดิษฐ์ดอกไม้ใบตองให้กับกลุ่มคนที่สนใจทั่วไป เช่น กลุ่มแม่บ้านชุมชนบ้านสันโค้ง อเภอเมือง, กลุ่มแม่บ้านป่าตาล อเภอเทิง, กลุ่มแม่บ้านป่าก่อดเภอเมือง,กลุ่มแม่บ้านห้วยพลู อเภอเมือง รวมทั้งกลุ่มผู้สูงอายุที่สนใจทั่วไป

เป็นวิทยากรสาธิตการทเครื่องสักการะล้านนาให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พ.ศ. 2536 เป็นวิทยากรสาธิตการทเครื่องสักการะล้านนาในงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ณ จังหวัดพิษณุโลก และครั้งที่ 12 จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ. 2540

พ.ศ. 2539 สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ได้มาถ่ายทวิธีการทเครื่องสักการะไหว้สา เพื่อเผยแพร่ใน ายการ ฒ.ไม่เฒ่า

รางวัลและเกียรติยศ

  • พ.ศ. 2537 ได้รับประกาศเกียรติคุณที่สนับสนุนกิจกรรมของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงราย

  • พ.ศ. 2538 ได้รับโล่ประกาศเกียรติ คุณผู้มีผลงานดีเด่นด้านการประดิษฐ์ดอกไม้ ใบตองแบบล้านนาของจังหวัดเชียงราย

  • พ.ศ. 2544 ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ โปรแกรมวิชาคหกรรมทั่วไปของสถาบันราชภัฏเชียงราย

  • พ.ศ. 2552 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ด้านการประดิษฐ์เครื่องสักการะล้านนาของสถาบันราชภัฏเชียงราย
    ในโอกาสสถาปนาสถาบันครบรอบ 25 ปี

สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

มณี พยอมยงค์, ศิริรัตน์ อาศนะ. (2549). เครื่องสักการะในล้านนาไทย. ส.ทรัพย์การพิมพ์.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย. (2554). เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซน์.

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (ม.ป.ป.). ข้อมูลการรวบรวมองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา “เอตทัคคตา ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น” สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ด้าน : ศิลปกรรมหัตถกรรม. http://ctc.crru.ac.th/wp-content/uploads/2016/03/Sillapahattakram-1.pdf