วัดพระแก้ว

ข้อมูลจาก : หนังสือ วัดในเขตเทศบาลนครเชียงราย โดย เทศบาลนครเชียงราย

พิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates )

Location 47 Q0586597

UTM 2201950

N 19° 54.716' E 099° 49.642'

Elevation 409 m

วัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่บนถนนไตรรัตน์ ตําบลเวียง อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2521

วัดพระแก้วมีเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 9.9 ตารางวา เดิมชื่อวัดป่าญะ เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีไม้ญะ ซึ่งเป็นไม้ไผ่พันธุ์พื้นเมือง ชนิดหนึ่ง คล้ายไผ่สีสุก หรือไผ่รวกคํา ขึ้นเป็นจํานวนมาก

Wat Phra Keaw is a third – common – class royal temple situated in the area of 10,640 square metres on Trairat road, Wiang sub-district, Muang Chiang Rai in Chiang Rai city.

ประวัติ

วัดพระแก้วสร้างขึ้นแต่สมัยใด ไม่มีหลักฐาน ปรากฏแน่ชัด เมื่อพระแก้วถูกนําไปจากเชียงราย และไปประดิษฐานยังที่ต่างๆ หลายแห่ง เรื่องราว ของวัดจึงได้เงียบหายไป

มีหลักฐานเกี่ยวกับวัดพระแก้ว ระบุ พ.ศ. 2469 เป็นเอกสารจดหมายเหตุ ภายหลังพิมพ์เผยแพร่ ในนิตยสารโยนก ฉบับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2528 กล่าวถึง วัดพระแก้วเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณีเสร็จพระราชดําเนิน เยี่ยมพสกนิกรในเขตมณฑลพายัพและพระราชทาน พระราชศัตรา ประจําจังหวัดเชียงราย ความว่า วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2469 เวลา 10.00 นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องเต็มยศ ราชการสนามประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทรงสอด สายสะพายมหาจักรีบรมราชวงศ์พร้อมด้วยสมเด็จ พระบรมราชินีเสด็จออกยังพลับพลาหน้าศาลากลาง ในงานพิธีพระราชทานพระแสงราชศัตราทรงมี พระราชดํารัสตอบดังนี้

“อันเมืองเชียงรายนี้ถึงแม้ห่างไกลชื่อเสียงย่อม ปรากฏอยู่แก่ใจสาธุชนชาวสยามโดยมาก เพราะเหตุได้พบ พระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต ซึ่งเป็นมิ่งขวัญ ของกรุงรัตนโกสินทร์ ณ เมืองเชียงรายแต่เดิมมา...”

นอกจากนี้ยังมีข้อความบรรยายถึงสภาพวัด พระแก้วในขณะนั้นไว้ด้วย ความว่า

“เวลา 16.00 นาฬิกา พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ทรงรถยนต์ ไปประพาส วัดพระสิงห์ วัดพระแก้ว วัดเมือง วัดพระแก้วนั้นเป็นวัดเล็ก มีโบสถ์และเจดีย์อยู่เบื้องหลัง โบสถ์กับกุฏิเครื่องไม้สําหรับพระสงฆ์อยู่หย่อมเดียว เท่านั้น...”

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดพระแก้ว เป็นโบราณสถานสําคัญของชาติ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 ในช่วงปี พ.ศ. 2493 – 2529 พระพุทธิวงศ์ วิวัฒน์เจ้าอาวาสในขณะนั้นได้บูรณปฏิสังขรณ์ : และปรับปรุงเพิ่มเติมเสนาสนะต่างๆ จนได้รับการยกย่อง ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างจาก กรมศาสนา ในปี พ.ศ. 2510 และวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ในปี พ.ศ. 2514 และต่อมาเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน (พระธรรมราชานุวัตร) ได้บูรณปฏิสังขรณ์ และสร้างเสนาสนะต่างๆ ภายในวัด ต่อจากเจ้าอาวาสรูปก่อน

History

Wat Phra Keaw is a historically significant Buddhist monastery of royal status called " third - common class The temple precinct covers 10,640 square meters and is situated on Trairat Road, in downtown Chiang Rai province. Originally, ist

name was Pa Yia which referred to the bamboo grove that existed within the monastery. This species is similar to the Giant Thorny Bamboo which in is very thorny.

Two evidences reveal that were no evidences when Wat Phra Keaw was built since the Emerald Buddha was moved from Chiang Rai to many places and the story about Wat Phra Keaw was quietly disappeared.

However, Wat Phra Keaw was found initially mentioned in the annals of 1926 and was later published in Yo Nok Magazine of 1 January 1985. It was said about Wat Phra Kaew by the time when King Prajadhipok or King Rama VII and Queen Rambhai Barni were on their visit to the North-West region and bestow the royal sword to Chiang Rai province as a witness of royal power. It was on January 16, 1926 at 10.00 a.m., the King in his full royal costume went along with the Queen to the pavilion in front of Chiang Rai provincial hall to preside the bestowing ceremony of the royal sword. A part of His Majesty's speech is as follows:

“Although Chiang Rai city is located in a remote area, its fame has always remained in most of Siamese people's hearts owing to the discovery of the Emerald Buddha which is the venerable mascot of Rattanakosin dynasty...”

Besides, the actual condition of Wat Phra Kaew was also mentioned, “...at 4.00.p.m, the King and the Queen had a ride to visit Wat Phrasingh, Wat Phra Kaew, Wat Ngam Muang... Wat Phra Kaew is a small temple with an Ubosot, a Chedi and a few parsonages at the back..."

Fine Arts Department announced the registration of Wat Phra Kaew as the national historic site on February 25, 1935. During the years 1950 - 1968,

Phra Buddhiwongviwat, the abbot has restored the temple and added more residential buildings and the temple was recognized as a developed model by the Department of Religion in 1967 and a temple with outstanding performance in the year 1971. The actual abbot, Phra Dhamma Ra Cha Nu Wat, has kept restoring and improving the temple up to the present.

หลักฐานทางประวัติศาสตร์พระแก้ว

  • พ.ศ. 1977 เกิดอัสนีบาตฟาดใส่พระเจดีย์วัดป่าญะ เมือง เชียงรายจนพังทลายลงพบพระพุทธรูปลงรักปิดทององค์หนึ่ง ต่อมาปูนที่พอกกะเทาะออกจนเห็นเป็นแก้วสีเขียว เมื่อลอกปูน ออกทั้งองค์จึงพบว่าเป็นพระพุทธรูปทําด้วยแก้ว ต่อมา วัดป่าญะ จึงมีผู้เรียกว่า วัดพระแก้ว

  • พ.ศ. 1979 - พ.ศ. 2011 (32 ปี) พญาสามฝั่งแกน กษัตริย์ นครเชียงใหม่ได้จัดขบวนช้างอัญเชิญพระแก้วไปเชียงใหม่ระหว่าง ทางถึงทางแยกเมืองแจ้สัก ช้างตื่นหนีเข้าไปเมืองลําปาง จึงได้อัญเชิญไป ประดิษฐาน ณ วัดพระแก้วดอนเต้า เมืองลําปาง

  • พ.ศ. 2011 - พ.ศ. 2096 (85 ปี) พระเจ้าติโลกราช เจ้าครอง นครเชียงใหม่ขณะนั้น ได้โปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาอัญเชิญพระแก้ว ไปประดิษฐานไว้ในซุ้มจระนํามุขพระเจดีย์หลวง ด้านทิศตะวันออก วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่

  • พ.ศ. 2096 (ไม่ถึงปี) หลังจาก พระเมืองเกษเกล้า เสด็จ สวรรคตในปี พ.ศ. 2088 อาณาจักรล้านนาก็เกิดความวุ่นวายจากการ สรรหาผู้เหมาะสมที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์นครเชียงใหม่เหล่า ขุนนางจึงได้อัญเชิญ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช อุปราชแห่งอาณาจักร ล้านช้างซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโพธิสารและพระนางยอดคํา พระธิดาของพระเมืองเกษเกล้าให้มาครองนครเชียงใหม่ในฐานะ ศูนย์กลางอาณาจักรล้านนา ต่อมาไม่นาน พระเจ้าโพธิสารพระราม บิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้สวรรคต พระองค์จึงเสด็จ กลับไปยังนครหลวงพระบาง ได้อัญเชิญ พระแก้ว พระพุทธสิหิงค์ และพระแซกคํา ไปยังนครหลวงพระบาง ต่อมาพระองค์ได้คืนพระ พุทธสิหิงค์ให้นครเชียงใหม่

  • พ.ศ. 2096-2322 (226 ปี) พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้ย้าย เมืองหลวงจากนครหลวงพระบางไปยังนครเวียงจันทน์ ด้วยเหตุผล ความมั่นคงของอาณาจักรล้านช้าง โดยพระองค์ได้อัญเชิญพระแก้ว และพระแซกคําไปด้วย พระแก้วจึงได้ย้ายมาประดิษฐานยังวัดพระแก้ว ในนครเวียงจันทร์

  • พ.ศ. 2322 - พ.ศ. 2327 ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาจักรี (ต่อมาคือพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี) ให้ยกทัพไปตีนครหลวงเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. 2321 และได้อัญเชิญพระแก้ว มาประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรี

  • พ.ศ. 2327 - ปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก ได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ตั้งปฐมราชวงศ์จักรี จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรี รัตนศาสดาราม ณ วันจันทร์ เดือน 4 แรม 14 ค่ำ ปีมะโรง

Historical Evidences of the Emerald Buddha

In 1434, there was a thunderbolt that struck the chedi at Wat Pa Yia, Muang Chiang Rai. Among the ruins of the chedi from the damage, there was found stucco Buddha image which was later cracked off and showed a gilded shiny green glass inside. When the whole body was peeled off, it was realized to be

the renowned Emerald Buddha. Since then, the temple has been called Wat Phra Kaew instead of Wat Pa Yia.

From 1436 to 1468 (32 years), Phaya Sarm Fang Kaen, The King of Lanna invited the Emerald Buddha to relocateto Chiangmai on the elephant back. When the procession arrived at the junction of Chaesak city, the elephant was shocked and fled into the city of Lampang. The Emerald Buddha was finally invited in be enshrined at Wat Phra Kaew Don Tao in Lampang city.

From 1468 to 1553 (85 years), Phra Chao Tilokaraj, King of Chiangmai respectfully engaged the Emerald Buddha to be enshrined in the East niche of Chedi Luang Chedi at Wat Chedi Luang Chiangmai.

In 1553 after Phra Muang Ketklao of Lanna passed away in 1545, Lanna Kingdom was busy recruiting for a new ruler of Chiangmai. The noblemen decided to invite Phra Chao Chaichetthathiraj: Regent of Lan Chang Kingdom and a royal son of Phra Chao Bodhisarn and Phra Nang Yodkam ; Phra Muang Ketklao's daughter, to rule Chiangmai. Sometime later, Phra Chao Bodhisarn passed away, and King Chaichetthathiraj had to return to Luang Phrabang City and also invited the Emerald Buddha, Phra Buddha Sihing, and Phra Saek Kam to reside in Luang Phrabang, Laos. After that, he returned Phra Buddha Sihing back to Chiangmai.

From 1553 to 1779 (226 years) King Chaichetthathiraj had moved the capital city from Luang Phrabang to Vientiane for creating stability in the Lan Chang Kingdom. The Emerald Buddha and Phra Saek Kam were also invited to be enshrined at Wat Phra Kaew in Vientiane.

From 1553 to 1784, King Taksin of Thonburi City ordered Phraya Chakri (later he became known as King Rama I of the Chakri Dynasty) to attack Vientiane and relocated the Emerald Buddha to Thonburi.

From 1784 to the present, after the ascending to the throne, King Buddha Yodfa Chulalok the Great, the first King of Chakri Dynasty, invited the Emerald Buddha to be relocated inside the ubosot of Wat Phrasi Ratana Satsadaram or Temple of the Emerald Buddha, Bangkok on Monday, 14th day of waning moon in January, the year of the Great Snake.



พระอุโบสถวัดพระแก้ว

บริเวณพื้นที่ตั้งพระอุโบสถหลังปัจจุบัน เดิมพื้นที่ส่วนนี้เคยเป็นวิหาร แต่เมื่อ ปี พ.ศ. 2433 , เจ้าอาวาสวัดพระแก้วขณะนั้น ได้รื้อวิหารออกและสร้างพระอุโบสถแทน ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2503 อุโบสถหลหลังนี้ ชำรุดทรุดโทรม จึงได้รื้อออกทั้งหมด ชิ้นส่วนที่สําคัญบางชิ้นได้นําไปแสดงไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน เช่น เศียรนาคประดับบ้านลม เครื่องประดับส่วนบนอุโบสถ และสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ตามรูปเดิมทุกประการ

โดยเปลี่ยนเสาไม้เป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ทางวัดจึงได้จัดสมโภช และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงยกช่อฟ้าเอกพระอุโบสถ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

อุโบสถหลังปัจจุบันเป็นศิลปะล้านนาประยุกต์ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 3 ห้อง ยาว 5 ห้อง โดยยกเก็จออกทางด้านหน้าและด้านหลัง อย่างละ 1 ช่วง (ซด) หลังคามีการลดชัน ซึ่งสอดคล้องกับ การยกเก็จของผังพื้นวิหาร โดยมีการลดหลังคาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ 1 ชั้น ส่วนพื้นหลังคามีการ ซ้อนกัน 2 ชั้น (ตับ)

โครงสร้างหลังคาเป็นแบบเสาและคานรับน้ําหนักแบบล้านนาที่เรียกว่า ชื่อม้าต่างไหม ที่วางขื่อหลวง ไว้เหนือเสาวิหาร ขื่อหลวงนี้จะรองรับขื่อยี่และขื่อมาสวมที่ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป มีลักษณะคล้ายม้านั่งวาง ซ้อนกันขึ้นไป เพื่อรับน้ําหนักของแปและกลอน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบ ประดับด้วยช่อฟ้า จํานวน 4 ตัว บ้านลมเป็นสีทอง ปลายเป็นรูปพญานาค หน้าแหนบหรือหน้าบัน เป็นกรอบลูกฟักในโครงสร้างม้าต่าง ใหม ซึ่งล้านนาเรียกว่า ลายฝาตาผ้า ทําด้วยไม้แกะสลัก ปิดทองล่องชาด หน้าแหนบปีกนก มีการทําเทคนิคเกี่ยวกับหน้าแหนบ โค่งคิ้วเป็นไม้แกะสลักประดับด้วยกระจกสี ทางบันไดขึ้นประดับด้วยพญานาค อ้าปากมีหงอนสองตัว หางพญานาคพาคตามราวบันไดขึ้นไปจนถึงชายคาพระอุโบสถ

Wat Phra Kaew's Chapel

The current ubosot (ordination hall) was built in contemporary Lanna Style with a rectangular floor plan of 3 blocks in width and 5 blocks in length with the roof that reach out 2 meters at the front and the back. The layers of the front and rear roof were reduced 1 level in correspondence to the levels of the floor plan. The whole body of the roof was stacked in two layers.

In 1890, the abbot demolished the original Assemble Hall and panted boundary stones creating an Ordination Hall. In 1960, it was renovated to its present shape. Some parts of the former ubosot (ordination hall) are on display in Chiang Saen National Museum. Besides, the renovated ubosot (ordination hall) was presided over by Princess Maha Chakrim Sirindhorn in the ceremony for mounting the gable – finial on 13 February 2007.

Roof structure is in Lanna style: using pillars and beams to support the roof weight called “Keu Ma Tang Mai” similar to a horse carrying silk cargo during caravans in the past from Yunnan China. The main beams were placed above the temple pillars to support the second

beams and the third beams that were cascading like stacked up benches. The multi-tiered roofs are covered with glazed terracotta tiles, garnished with 4 gable finials and golden Naga gables. The facade is in a mullion frame design of “Ma Tang Mai Structure” which was called “Lai Fah Tah Phah” pattern and is made of gilded carved wood. The façade has roof wing supports. Kong Kiew decoration is a piece of wood carving bejeweled with stained glass. The staircase is adorned with two horned Nagas opening their mouths and their tails leaning on the rail up to the eaves of the building.

พระเจ้าล้านทอง

พระพุทธรูปประธานที่ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระแก้ว เป็นพระพุทธรูปสําริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 2.80 เมตร ศิลปะล้านนาอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 มีลักษณะเด่น คือ พระพักตร์ กลม แสดงอาการอมยิ้ม ไม่มีขอบไรพระศก ขมวดพระเกศากลมใหญ่ พระขนงโค้งเป็นเส้น พระเนตรเหลือบลงต่ํา สันพระนาสิกเล็กยาว พระโอษฐ์เล็ก พระหนุมีปุ่มกลม พระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน ครองจีวรห่มเฉียง มีชายสังฆาฏิ ห้อยอยู่เหนือพระถันซ้ายปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ประทับนั่ง ขัดสมาธิราบ

พระพุทธรูปประธานองค์นี้ เดิมเป็นของวัดพระเจ้าล้านทอง (ปรากฏชื่อเดิมว่า วัดพระเจ้าแสนทอง) แต่ได้มีสภาพเป็นวัดร้างจึงถูกรื้อ ออกไป ปัจจุบันคือบริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และโรงเรียนอนุบาลเชียงราย เมื่อวัดถูกรื้อ จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปไว้ ณ วัดดอยงําเมือง หรือดอยงามเมืองต่อมา พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ (ครูบาวงศ์ ได้ขออนุญาตกรมศิลปากรอัญเชิญมาประดิษฐานเป็น พระประธานในพระอุโบสถวัดพระแก้ว เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ชาวเชียงรายจึงนิยมเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระเจ้า ล้านทอง”เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนชาวเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือเป็นอันมาก

นอกจากนี้ยังมีพระสาวกที่หล่อขึ้นโดยพญาหลวงมังปละสแพก เจ้าเมืองไฮ เจ้านายพม่าที่ปกครองเมืองเชียงแสนและเมืองเชียงราย โดยมีจารึกกล่าวถึงชื่อผู้สร้างและปีที่สร้าง คือ พุทธศักราช 2269 ได้แก่ พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร สิ่งที่แสดงความเป็นสาวก คือ ไม่มีพระเกตุมาลาและพระรัศมี รวมทั้งการครองจีวรที่มีผ้าหรือ เชือกมารัดที่พระอุระ (เรียกกันทั่วไปว่า การห่มดอง)

Phra Chao Lanthong

Phra Chao Lanthong, the principal Buddha Image in the ordination ubosot (ordination hall) of Wat Phra Kaew is made of bronze in the Subduing Mara position. The bronze image size is 2 meters in width and 2.80 meters in height. It was built in the 21st Buddhist century in Lanna style: round and smiling face with no hairline edge, big round hair curls, curve eyebrows, downward

looking eyes, little long nose, small lips, dimple chin, lotus-like halo, plump body, embossed chest, with robe end across the left chest and adorned with with centipede canines pattern, in the crossed leg meditated position.

The Buddha Image originally belonged to Wat Phra Chao Lanthong (Wat Phra Saenthong, the former name). Since the temple was deserted, it was therefore demolished. The actual area of this abandoned temple is the present day Chiang Rai govemor's residence and Chiang Rai, Primary Public School. As a result, the community held a ritual invitation ceremony to relocate the Buddha Image to Wat Doi Ngarm Muang. Later, Phra Buddhiwongviwat, the abbot, received authority from the Fine Arts Department to relocate again in another ritual initiation ceremony at the ubosot (ordination hall) of Wat Phra Kaew on November 9, 1961. Today this Buddha Image is popularly known as Phra Chao Lanthong and is considered one of the important sacred Buddha images in Chiang Rai and in neighboring provinces.

In addition, there are also two Lord Buddha's disciples: Phra Mok Kan La Na and Phra Sa Ree Butr, which were casted by Phra Ya Luang Mangkla Sa Paek, a Burmese prince who ruled the City of Chiang Saen. The name of the builder and the year of 1726 are mentioned in the inscription on the base. The signs which indicated that they were the disciples including the lack of flame-like halo and the robe wearing with a rope or strap bind around their chests (commonly called Karn Hom Dong in Thai).

เจดีย์วัดพระแก้ว

เจดีย์วัดพระแก้วองค์ปัจจุบันมีหลักฐานปรากฏว่า ในปี พ.ศ. 2495 ทางเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดได้ ขออนุญาตกรมศิลปากรบูรณปฏิสังขรณ์ โดยรักษารูป แบบทรงเดิมไว้ทุกประการ และสมโภช เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2497

เจดีย์องค์นี้ มีฐานเป็นรูปแปดเหลี่ยม แต่ละเหลี่ยม กว้าง 5.20 เมตร องค์เจดีย์มีเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 9.50 เมตร เหนือฐานเป็นลักษณะบัวคว่ํา มีลูกแก้วคั่นสองชั้น ต่อไป เป็นรูปบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นหน้ากระดาน ซ้อนสามชั้น ลดหลั่นกันไป ถัดจากหน้ากระดานเป็นส่วนลอนบัวหงายของ ตัวเจดีย์ซ้อนลดหลั่นกันไปอีกหลายชั้น ส่วนตัวบัลลังก์มุมย่อ ไม้สิบสอง เหนือขึ้นไปเป็นปล้องไฉนเป็นชั้นๆ จํานวนถึงเก้า ชั้น แล้วเป็นปลียอด มีส่วนสูงเท่าครึ่งของปล้องไฉน ถัดจาก ปลียอดขึ้นไปเป็นยอดฉัตรโลหะครอบอยู่

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ทางวัดได้บูรณปฏิสังขรณ์ อีกครั้ง โดยกะเทาะปูนเก่าออกและฉาบปูนใหม่ พร้อม ประดับด้วยทองจังโก

Wat Phra Waew's Stupa

According to the evidences, the current chedi of Wat Phra Kaew was restored in 1952 by the abbot and board of the temple under the permission of the Department of Fine Arts by keeping the same form and style in all respects. The celebration was held on April 6th, 1954.

The chedi has an octagonal base of 9.50 meter diameters. Each side of the chedi is 5.20 meters wide. The base is character ized by an overturn lotus decorated with two layers of crystals. Above, there are three stacked layers in descending order and upturned lotus curves which are stacked in several layers. The top of the chedi is built in the square - based chedi style with 12 indented corners (three – indented edges on each corner) with nine layers of Plong Chanai (a part of Thai Chedi) and Plee Yod spire (a top part of Thai Chedi) which is half of Plong Chanai's height, respectively. Besides, the apex is also decorated with multi-tiered metal umbrella.

Later in 1992, the chedi was restored again. The old mortar was shelled out and replaced by the new one and the whole body of chedi was decorated and gilded with "Jango” Gold metal plates.

หอพระหยกเชียงราย

วัดในเขตภาคเหนือสมัยโบราณนอกจากจะมีอุโบสถ วิหาร ศาลา กุฏิ หอระฆัง ฯลฯ แล้วยังมีหอพระเพื่อเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปสําคัญของวัดอีกด้วย หอพระหยกนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสําคัญเช่นเดียวกัน โดยสร้างเป็นอาคารไม้ทรงล้านนาโบราณ สร้างโดยคณะสงฆ์ จังหวัดเชียงรายรวมทั้งพุทธศาสนิกชนจังหวัดเชียงราย ร่วมกัน บริจาคทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับพระกรุณาจากทุน การกุศลสมเด็จย่า เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าวัดพระแก้วแห่งนี้เคยเป็น ที่ค้นพบพระแก้วมาก่อน การสร้าง “พระหยกเชียงราย” เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้สักการะบูชาทั้งเป็นการ เฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จย่า เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา

ผนังด้านในโดยรอบหอพระหยก ตบแต่งด้วยแผ่นหยก มีภาพเขียนฝีมือศิลป์นล้านนาเป็นภาพเหตุการณ์สร้างหอพระ หยก การสร้างพระหยกเชียงราย และประวัติความเป็นมาของ พระแก้วจํานวน 9 ภาพ แต่ละภาพมีข้อความบรรยายโดย พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

ภาพที่ 1 เป็นภาพต้นโพธิ์ทอง ภาพที่ 2 เป็นภาพต้นโพธิ์เงิน

ภาพที่ 3 เป็นภาพเกี่ยวกับการสร้างหอพระหยก และพระหยกเชียงราย

ภาพที่ 4 เป็นภาพเหตุการณ์ประกอบพิธีพุทธาภิเษก พระหยกเชียงราย

ภาพที่ 5 -6 ภาพประวัติความเป็นมาของพระแก้ว

Phra Yok Chiang Rai

In the past, apart from the ubosot (ordination hall), pavilion, kuti (monk's dwelling) and belfry, and etc., the temples in the north also have the Buddha image hall for keeping the important Buddha image. Likewise, Phra Yok hall is used for housing the scared Buddha image. The building was commissioned to be built in traditional Lanna style by the monks committee of Chiang Rai and the Chiang Rai people who made a large donation, especially the royal grace from the Princess Mother's charitable foundation. The purpose of Phra Yok Hall construction is to commemorate that Wat Phra Keaw is the place where the Emerald Buddha was found, and the objective of building of the Phra Yok Chiang Rai is to celebrate and to contribute as a royal charity to the Princess Mother on her 90th birthday anniversary.

The interior wall of the hall is decorated with pieces of jade and 9 paintings by Lanna artists describing the events of Phra Yok Hall construction, Phra Yok Chiang Rai building, and the history of the Emerald Buddha. The caption of each painting is described by Phra Dhamma Ra Cha Nu Wat, the current abbot.

• The 1st painting is the golden Bodhi tree

• The 2nd painting is the silver Bodhi tree

• The 3rd painting is the construction of Phra Yok hall and Phra Yok Chiang Rai

• The 4th painting is the events of Consecration of Phra Yok Chiang Rai

• The 5th - 9th paintings describe the history of the Emerald Buddha

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จมาทรงเปิดหอพระหยกเชียงราย ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541

ภายในหอพระหยกประดิษฐาน พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นอากรแห่งรัตนะ ซึ่งเป็นอนุสรณ์มงคล 90 พรรษา นามสามัญว่า พระหยกเชียงราย เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับพระแก้ว ประดิษฐาน ในบุษบกทําด้วยไม้แกะสลักปิดทอง เรือนยอดบุษบกทําด้วยไม้สัก สลักลวดลายลงรักปิดทองประดับกระจก มีฉัตร 7 ชั้น 1

พระหยกเชียงรายสร้างด้วยหยกชั้นดีที่สุดจากประเทศแคนาดา ซึ่งมิสเตอร์ ฮูเวิร์ด โล เป็นผู้นํามาถวายเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย โดยมีอาจารย์กนก วิศวะกุล เป็นผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ แล้วส่งให้ มิสเตอร์ เหยน หวุน หุ้ย นายช่างแกะสลักหยกของโรงงาน วาลินนานกู เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นผู้แกะสลัก โดยได้รับ ความอุปถัมภ์ จาก ฯพณฯ พลเอกชาติชาย และท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัน เป็นประธานอุปถัมภ์ และบริจาคเงินในการสร้าง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2534 และได้เสด็จพระราชดําเนินในพิธี ตั้งแต่ ทรงเจิม ทรงพระสุหร่าย และทรงจุดเทียนชนวนถวายสมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เพื่อทรงจุดเทียนชัย

ทางจังหวัดเชียงรายได้จัดทําพิธีอัญเชิญและสมโภช “พระหยกเชียงราย” โดยในวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2534 ได้เริ่มเคลื่อน ขบวนรถอัญเชิญพระแก้วหยกจากวัดศรีโคมคํา อําเภอเมือง จังหวัด พะเยา และในวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2554 ขบวนอัญเชิญพระพุทธรูป เข้าเมือง อันประกอบด้วยขบวนเสลี่ยง เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธ ชินวงศ์ ขบวนพระสงฆ์ 1,000 รูป และขบวนแห่เครื่องสักการบูชา นําโดยท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ แล้วเคลื่อนขบวนเข้าสู่ วัดพระแก้วเชียงราย

Phra Yok Hall was royally inaugurated by vani Vadhana, Galyani Vadhana,Princess of Naradhiwas on November 26, 1998.

Inside the hall is housed Phra Buddha Rattanakorn Na Wut Wassa Nu Sorn Mongkol which means the Buddha, Lord of the triple gems or commonly called Phra Yok Chiang Rai. It is in the attitude of meditation and it has the similar size as the Emerald Buddha's. Phra Yok is resided in the movable pavilion with pointed roof decorated with lacquered work and wood carving in many patterns, including stained glasses and the royal 7 tiered - umbrella decoration.

In addition, Phra Yok Chiang Rai was made of the best quality jade imported from Canada by Mr. Howard Low. Ajarn Kanok Wissawakul designs the master model and sent it to Mr. Yen Wun Hui, the jade sculptor of Walin Nanku factory, Beijing, China with a great support from General Chatchai Choonhavan and Thanphuying Bunruean Choonhawan for its construction.

H.M. King Bhumibol Adulyadej kindly bestowed the permission of Phra Yok consecration at Wat Phra Si Rattana Satsadaram in the Grand Palace on Friday September 20, 1991. The king also anointed, sprinkled the holy water, and lighted the triggered candle for presenting to Somdet Phra Nyanasamvara Somdet Phra Sangharaja at the ceremony.

The cerebration of Phra Yok was held in Chiang Rai Chiang Rai on Friday October 18, 1991, in a grand procession. On Saturday October 19, 1991, the procession including the palanquin of Chao Prakhun Somdet Phra Buddha Chin Na Wong along with 1,000 monks and the offerings preceded by Than Phu Ying Bunruean Chunhawan who paraded into Wat Phra Kaew, Muang Chiang Rai.

โฮงหลวงแสงแก้ว

บริเวณกําแพงวัดด้านทิศใต้ เป็นที่ตั้งของโฮงหลวงแสงแก้ว พิพิธภัณฑ์ของวัด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 ออกแบบโดย นายนภูคล ถึงควณิช สถาปนิกชาวเชียงราย สร้างบน พื้นที่บริเวณที่เป็นกุฏิสงฆ์และ หอฉันสมัยอดีตเจ้าอาวาสวัดพระแก้ว (พระพุทธวงศ์วิวัฒน์)

ลักษณะเป็นอาคารสองชั้นทรง ล้านนาโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งด้วยไม้สักทั้งภายนอกและภายใน โดยมีคุณแม่อมรา (แสงแก้ว) มุนิกานนท์ เป็นผู้อุปถัมภ์การก่อสร้างโดยมีวัตถุประสงค์

ดังนี้

1. เพื่อเป็นที่รวบรวมศิลปวัตถุ ที่สําคัญของวัด และสิ่งของที่มีผู้นํามา ถวาย ให้อยู่เป็นระบบอีกทั้งเป็นการ สงวนรักษาไว้ตลอดไป

2. จัดแสดงศิลปวัตถุเหล่านี้ให้ แก่ผู้เข้าชมทุกกลุ่ม เช่น นักเรียน นักศึกษา ประชาชน อีกทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ

3. เป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย ทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมล้านนา


Hong Luang Saeng Kaew

Hong Luang Saeng Kaew or the museum of Wat Phra Kaew is located south of the temple. It was designed by Mr. Noppadon Ingkavach, the architecture of Chiang Rai and built in 1995. Originally, the area was the kuti (monk's dwelling) and the dining hall during the administration of Phra Buddhi Wong Wiwat, the previous abbot.

The museum is a two-storey building in Lanna Style, constructed by reinforced concrete and decorated with teakwood both interior and exterior. Mrs. Amara (Saengkaew) Munikanont gave a support for the construction with the objectives as follows:

1. To systematically collect the important artifacts of the temple and other historical donations in order to conserve them forever.

2. To exhibit the artifacts for all visitors, including students, general public, Thai and foreign tourists.

3. To be an informal education learning center for religion and Lanna culture.

ภายในจัดแสดงศิลปวัตถุเกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรม ล้านนาที่วัดสะสมไว้ และที่มีผู้มีจิตศรัทธามาถวาย จัดแสดงใน รูปแบบที่น่าสนใจพร้อมทั้งคําบรรยายด้วยภาษาไทยภาษาอังกฤษ และภาษาล้านนาที่สําคัญได้แก่

- พระพุทธศรีเชียงราย ประดิษฐานเป็นพระประธานชั้นล่าง ออกแบบโดยอาจารย์เสนอ นิลเคช ศิลปินแห่งชาติ เป็นพระรูปโลหะ หล่อปิดทอง รูปแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ปางมารวิชัย

- พระเจ้าทันใจ เป็นพระพุทธรูปโบราณอยู่คู่กับวัด ประดิษฐานเป็น พระประธานบนชั้นสองเป็นพระพุทธรูปสําริดปิดทองสมัยเชียงแสน ตอนปลาย ปางมารวิชัย

- พระธาตุของพระอรหันตสาวก เป็นของที่วัดมีอยู่และ มีผู้มาถวายสมทบ จัดแสดงพร้อมปราสาท 9 ยอด ศิลปะเชียงตุงทําด้วย โครงไม้บุด้วยแผ่นเงินทั้งองค์

- พระพุทธรูปโบราณศิลปะล้านนา เชียงรุ่ง พม่า ฯ

- เครื่องใช้เกี่ยวกับทางศาสนา และของใช้ในชีวิตประจําวัน ของชาวล้านนา ได้แก่

สัตตภัณฑ์หีบธรรม เครื่องบูชา ฉัตร ตุง เครื่องเงิน เครื่องเขิน เป็นต้น

- กลุ่มพระพุทธรูปโบราณ แกะจากหินอ่อน ศิลปะพม่า เป็นของสะสมของคุณลาวัลย์ ใบหยก ได้ถวายไว้ ณ วัดพระแก้ว

- ชุดเครื่องแบบของเจ้านายฝ่ายเหนือสมัยรัชกาลที่ 5 ทายาท มาถวายวัดพระแก้ว

In the museum, there are the displays of Lanna roligious and cultural artofacts with the description in both Thai and English version such as:

* Phra Buddha Sri Chiang Rai which is the principal Buddha image resided on the ground tloor. It was the metal Buddha image covering with gold, designed in Chiang Saen Singh I style with an attitude of Subduing Mara designed by Ajarn Saner Nindech, the national artist,

* Phra Chao Than Jai is an ancient Buddha image in an attitude of Subduing Mara enshrined on the second floor. It was made of bonze covering with gold at the end of Chiang Saen period.

*Relics of the Lord Buddha's disciples: They are fiom both the collections of the temple and the offerings of the Buddhists. They are exhibited with a castle of 9 tops which is made of wood frame with pieces of silver in Chiang Tung style.

* The ancient Buddha Images in Lanna, Chiang Rung and Burmese style, etc.

* The religious utensils and Lanna daily life - utensils such as candlestand, dharma scripture cabinets, offerings, multi-tiered – umbrella, flag, silverware and lacquer ware , etc.

* Group of ancient marble carved Buddha images in Burmese style. They were donated to Wat Phra Kaew by Ms. Lawan Baiyok.

* The costumes of the nobles in the north during the reign of King Rama V. They were bestowed to Wat Phra Kaew by the heir of the King.

ป้ายวัดพระแก้ว 6 ภาษา

ป้ายวัดพระแก้ว 6 ภาษา ป้ายวัดพระแก้ว 6 ภาษา จัดทําขึ้นใหม่เมื่อเดือนสิงหาคม 2555 เพื่อรองรับประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบไปด้วย ภาษาล้านนา ภาษาลาว ภาษาพม่า ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอาหรับ ซึ่งพระธรรมราชานุวัตร ได้มีนโยบาย ให้วัดในเวียงเชียงราย จัดทําป้ายภาษาต่างๆ เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย

Wat Phra Kaew Signboard in 6 Languages

The signboard was made in August 2012 to serve the ASEAN Community and foreign visitors. It consists of 6 languages: Lanna, Laos, Burmese, Chinese, Japanese and Arabian. The current abbot of Wat Phra Kaew, Phra Dhamma Racha Nuwat's policy is to have all the temples in Chiang Rai make their signboards in various languages to serve the ASEAN Community.

การฝึกนั่งสมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน

การฝึกนั่งสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน เป็นกิจกรรมพิเศษที่คณะศรัทธาและพระอาจารย์ ุสุธี สุตสุนทรต้องการให้นักท่องเที่ยวที่สนใจในการฝึกสมาธิด้วยวิธีนี้ซึ่งที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยว ช่างชาติที่ศึกษาเรื่องนี้อยู่ไม่น้อยได้มีการสอบถามและแลกเปลี่ยนความรู้กับวิทยากรของ วัดพระแก้ว จํานวนมาก อนึ่ง กิจกรรมนี้เหมาะสมสําหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลามากพอ อาจอยู่ เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน นอกจากนี้ วัดพระแก้วยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และสํานักงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่เหมาะสม เป็นสถานที่ในการให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกสมาธิ ดังกล่าว

Meditation Practice (Vipassana Meditation)

Meditation practice is a special activity that the Buddhists and Phra Ajarn Suthee Suttasuntorn would like to make the interested visitors to join this activity in the temple. Usually, quite a lot of the foreign visitors study this kind of meditation and exchange their knowledge with the guest speakers of Wat Phra Kaew. Besides, the activity is suitable for the visitors who are available or have enough time possibly a week or a month. In addition, Wat Phra Kaew is also the location of Phrapariyatidhamma School, General Education Division and Mahachulalongkornrajavidyalaya University Office, therefore it is appropriate to be a center for studying and researching knowledge about Buddhist meditation.

รายการอ้างอิง

เทศบาลนครเชียงราย. (2559). วัดในเขตเทศบาลนครเชียงราย. เชียงราย: เทศบาลนครเชียงราย.