น้ำพริกอ่อง (Namprik Ong)

Spicy Meat and Tomato Dip

อัตลักษณ์

"น้ำพริกอ่อง"

"น้ำพริกอ่อง" เป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วไปพอ ๆ กับน้ำพริกหนุ่ม สีของน้ำพริกมีสีส้มของมะเขือเทศผลเล็กชนิดพวงหรือมะเขือเทศสีดา ลักษณะ ข้นมีกลิ่นถั่วเน่า รสไม่เผ็ด ไม่หวาน ไม่ใส่น้ำตาล นิยมรับประทานกับผักสดได้แก่ แตงกวา มะเขือเปราะ กระถิน ถั่ว และผักนี่ง ได้แก่ ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักบุ้ง หัวปลี ยอดแค ฟักทอง ฟักเขียว เป็นต้น

ความหมายของน้ำพริกอ่อง

คำว่า อ่อง ทางเหนือก็หมายถึง วิธีการปรุงน้ำพริกที่ต้องผัดเคี่ยวแล้วทิ้งไว้ให้น้ำค่อยๆ งวดลง อีกทั้งน้ำพริกอ่องยังสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการกินของคนเหนือที่ชัดเจน สังเกตได้จากส่วนผสมต่าง ๆ ในน้ำพริก ส่วนใหญ่จะได้มาจากธรรมชาติ และสามารถปลูกเองที่บ้าน

เรื่องราวของน้ำพริกอ่อง

น้ำพริกอ่องยังมีเรื่องเล่าขานต่อ ๆ กันมาว่า .... 

เมื่อก่อนมีชาวพม่าชื่อ “นายอ่องหม่อง” อยากจะกินขนมเส้นน้ำเงี้ยว หรือขนมจีนน้ำเงี้ยว เขาก็เลยจะตำน้ำพริกเพื่อจะทำน้ำเงี้ยว ตอนที่เขากำลังเตรียมส่วนผสมคั่วพริกคั่วหอมอยู่ ลูกนายของอ่องหม่องก็ร้องไห้หนักเพราะหิวข้าว นายอ่องหม่อง บอกให้ลูกเงียบก็ไม่เงียบสักที นายอ่องหม่องโมโห จึงตักน้ำพริกที่กำลังทำแบบที่ยังไม่เสร็จให้ลูกชายกิน น้ำพริกตอนนั้นมันเผ็ดมาก นายอ่องหม่องเลยไปเก็บผักมาให้กับน้ำพริก ปรากฏว่าอร่อย และก็รู้สึกติดใจ ก็เลยลองเอาไปให้ชาวบ้านแถวนั้นกิน ชาวบ้านก็ติดใจไปด้วย ก็เลยพากันเรียก “น้ำพริกปู่อ่อง” พอนานวันเข้า ก็เรียกชื่อเพี้ยนไป ให้สั้นลง เหลือเพียง “น้ำพริกอ่อง” ที่่เรียกติดปากกันมาถึงทุกวันนี้

สูตรสำหรับ น้ำพริกอ่อง

ส่วนประกอบ (สำหรับ 5 ที่)

เครื่องปรุง

พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ดออกแช่น้ำจนนุ่ม 10 เม็ด (20 กรัม)

ตะไคร้ซอย 2 ช้อนโต๊ะ (20 กรัม)

เกลือสมุทร 1 ช้อนโต๊ะ + 1 ช้อนชา (15-20 กรัม)

กระเทียมซอย 4 ช้อนโต๊ะ

หอมซอย 5 ช้อนโต๊ะ

ถั่วเน่าแผ่นย่างไฟโขลกละเอียด 2 แผ่น (30 กรัม)

เนื้อหมูบด 120 กรัม

มะเขือเทศลูกเล็กหั่นหยาบ 600 กรัม

น้ำมันพืช 4 ช้อนโต๊ะ (40 กรัม)

กระเทียมสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ (10 กรัม)

น้ำสะอาด 1/2 ถ้วย (100 กรัม)

เครื่องเคียง

ผักต้มหรือนี่ง เช่น  ฟักทอง ฟักเขียว บวบ ดอกแค หัวปลี

ผักสด เช่น ยอดกระถิน ถั่ว มะเขือเปราะ แตงกวา

วิธีทำ

ข้อควรรู้

น้ำพริกอ่อง ควรรับประทานกับแคบหมู ไข่ต้ม พร้อมผักที่เป็นเครื่องเคียง ผักตัม ผักสด และถ้าไม่เปรี้ยวให้ใส่น้ำมะขามเปียก ถั่วเน่าคือ ถั่วเหลืองที่หมักแล้วโม่ทำให้เป็นแผ่นตากให้แห้งซึ่งจะใช้แทนกะปิ

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2558). อัตลักษณ์อาหารไทย 4 ภาค (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
วาณี เอี่ยมศรีทอง และประหยัด สายวิเชียร. (2538). อาหารล้านนา. กลางเวียงการพิมพ์.
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 6. (2543). มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.