โครงการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ วัดคุ้งตะเภา

ณ หัวทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี (วัดคุ้งตะเภา)


สมโภช ๒๕๐ ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา : 250th anniversary of Wat Kungtaphao


ความเป็นมาของโครงการฯ

ความเป็นมา

จากหลักฐานปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และหลักฐานการก่อตั้งวัดของกระทรวงธรรมการ รวมทั้งจากการค้นพบเอกสารโบราณ ตำนานชุมชน และการสันนิษฐานของนักวิชาการประวัติศาสตร์ ซึ่งสรุปได้จากหลักฐานทั้ง ๕ แห่ง เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัดคุ้งตะเภา ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ พระวีรกรรมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระยาพิชัยดาบหัก เมื่อครั้งเสด็จขึ้นมาปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางที่เมืองสวางคบุรี ประทับยั้งทัพพักพลตลอดฤดูน้ำ ในเดือน ๙ จุลศักราช ๑๑๓๒ พร้อมกับมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จัดการการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ พร้อมทั้งจัดการชำระคณะสงฆ์สถาปนาวัดคุ้งตะเภาในจุดยุทธศาสตร์ขึ้นในคราว เดียวกันนั้น เพื่อให้เป็นศูนย์รวมชุมชนใหม่ และเป็นที่พำนักสั่งสอนของพระสงฆ์มหาเถระผู้ทรงภูมิธรรมที่อาราธนานิมนต์มา จากกรุงธนบุรี

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรีนั้น ถือเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำ ให้ทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสีย กรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี ๒๓๑๐ และนับเป็นการ สถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกสมรภูมิสวางคบุรี ในปี ๒๓๑๓ การ ก่อกำเนิดของนามวัดคุ้งตะเภาขึ้นในปี ๒๓๑๓ จึงมีความเกี่ยวข้องกับการสถาปนากรุงธนบุรี อันเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่สำคัญยิ่งในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทยอีก ด้วย

จากการลงพื้นที่สำรวจพื้นที่ ที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของชาติ โดย นายภีมเดช อมรสุคนธ์ นายกสโมสรจังหวัดระยอง และอดีตรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (อบจ.) ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ ได้มีการปรารภถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเมืองสวางคบุรี ที่ทรงประทับยั้งทับอยู่ถึง ๒ เดือน แต่ ปัจจุบัน ไม่มีการสร้างพระบรมรูปหล่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชใด ๆ ให้ผู้ศรัทธาในพระเกียรติคุณของพระองค์ได้รำลึกถึงความเสียสละของบรรพบุ รษและมหาวีรกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ในดินแดนประวัติศาสตร์แห่งนี้แต่อย่างใด และสมควรจะได้มีการพิจารณาก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช ขึ้น ณ บริเวณมณฑลวัดคุ้งตะเภา อันเป็นอารามแห่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของดินแดนทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี ฝั่งซ้ายแม่น้ำน่าน ของอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอยู่ในเขตพื้นที่เดินทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั้งทางบกและ ทางน้ำ ต่อเนื่องกับเมืองสวางคบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ตามหลักฐานในพระราช พงศาวดาร เพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของวีรกษัตริย์ รวมถึงใช้เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อการพัฒนาให้แหล่งเรียนรู้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อไป

"...แลพ่ออุตสาหะทรมานเที่ยวทำสงครามมาทั้งนี้

ใช่จะจงพระทัยปรารถนาหาความสุขแต่พระองค์ผู้เดียวหามิได้

อุตสาหะสู้ยากลำบากพระกายทั้งนี้เพื่อจะทำนุบำรุงพระศาสนา

ให้สมณะชีพราหมณ์ประชาราษฎรเป็นสุขทั่วขอบขันธเสมา..."

"พระราชดำรัสสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"

จาก พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) หน้า ๖๒

วัตถุประสงค์ของโครงการ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. เพื่อเทิดพระเกียรติและเป็นอนุสรณ์สถานแด่พระเจ้าตากสินมหาราช และพระยาพิชัยดาบหัก

๒. เพื่อเฉลิมฉลองการสมโภชสถาปนาวัดคุ้งตะเภาครบรอบ ๒๕๐ ปี ในปี ๒๕๖๓

๓. เพื่ออนุรักษ์ภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี

๔. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุตรดิตถ์

๕. เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวตำบลคุ้งตะเภาในอนาคต


ลักษณะโครงการ

๑. เป็นอนุสรณ์สถานรวบรวมพระวีรกรรมขององค์พระเจ้าตากสินมหาราช และวีรกรรมของพระยาพิชัยดาบหัก ขุนศึกคู่พระทัย

๒. พัฒนาให้เป็นจุดแวะพัก เพื่อเป็นบริเวณพักผ่อนสาธารณะสำหรับชาวเมืองอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียง


สถานที่

คณะกรรมการดำเนินงานจัดสร้างฯ มีความเห็นว่า สถานที่ก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ บริเวณหัวทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี วัดคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความเหมาะสมตามเหตุผลหลัก ๕ ประการ คือ

ความเหมาะสมด้านสถานที่จัดสร้างฯ

คณะกรรมการดำเนินงานจัดสร้างฯ มีความเห็นว่า สถานที่ก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ บริเวณหัวทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี วัดคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความเหมาะสมตามเหตุผลหลัก ๕ ประการ คือ


๑. ด้านประวัติศาสตร์การพระราชสงคราม พื้นที่ก่อสร้างมีความสอดคล้องกับพระราชประวัติ และพระมหาวีรกรรมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระยาพิชัยดาบหัก เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนทุ่งสมรภูมิรบปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ชุมนุมอิสระสุดท้าย บนพื้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำน่าน ของอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอยู่ในเขตพื้นที่เดินทัพหน้าและทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั้ง ทางบกและทางน้ำ ที่อยู่ในเขตต่อเนื่องกับเมืองสวางคบุรีโดยทางบก อันถือเป็นการสำเร็จพระราชภารกิจสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุง ศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี ๒๓๑๐ และสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกสมรภูมิสวางคบุรี ในปี ๒๓๑๓ พื้นที่ดังกล่าวจึงถือเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ตาม หลักฐานในพระราชพงศาวดาร


๒. ด้านประวัติศาสตร์การพระศาสนา พื้นที่ก่อสร้างมีความสอดคล้องกับพระราชประวัติ และพระราชศรัทธาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องจากวัดคุ้งตะเภา ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อคราวที่พระองค์ประทับยั้งทัพพักพลตลอดฤดูน้ำ หลังปราบชุมนุมเจ้าพระฝางสำเร็จ ในเดือน ๙ จุลศักราช ๑๑๓๒ พร้อมกับมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จัดการการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ พร้อมทั้งสถาปนาวัดขึ้นในคราวเดียวกันนั้น เพื่อให้เป็นศูนย์รวมชุมชน และเป็นที่พำนักสั่งสอนของพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิธรรมที่ทรงอาราธนานิมนต์มา จากกรุงธนบุรี การก่อกำเนิดของนามวัดคุ้งตะเภาขึ้นในปี ๒๓๑๓ จึงมีความเกี่ยวข้องกับการพระราชศรัทธาในพระบวรพระพุทธศาสนา หลังการทรงสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างสมบูรณ์


๓. ด้านผังเมืองและการคมนาคม เป็นจุดที่มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ ๑๑ (พิษณุโลก-เด่นชัย) ผ่านด้านหน้าพื้นที่ ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรสำคัญระหว่างภาคอีสาน-ภาคเหนือ และภาคกลาง-ภาคเหนือ (ล้านนาตะวันออก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ด้านหน้าสี่แยกคุ้งตะเภา ซึ่งเป็นต้นทางการคมนาคมโดยถนนเส้นคุ้งตะเภา-บ้านพระฝาง เพื่อเดินทางไปยังวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ของกรมทางหลวงชนบท


๔. สภาพพื้นที่ ที่ใช้ตั้งโครงการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ สภาพโดยทั่วไปอยู่ด้านหน้าวัดคุ้งตะเภา ติดทางหลวงแผ่นดิน ใกล้กับซุ้มประตูวัดคุ้งตะเภา ซึ่งเป็นซุ้มประตูวัดที่มีขนาดสูงใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ อีกทั้งมีลานกว้างด้านหน้าพื้นที่ ติดสี่แยกคุ้งตะเภา-บ้านพระฝาง ไม่มีอาคารสูงและต้นไม้ที่จะบดบังทัศนียภาพพระบรมราชานุสาวรีย์


๕. ด้านสิ่งแวดล้อมทั่วไป อยู่ด้านหน้าวัดคุ้งตะเภา และเป็นต้นทางไปยังแหล่งโบราณสถานสำคัญของจังหวัดคือ วัดพระฝางสวางคบุรีนุนีนาถ สามารถปรับปรุงสภาพเพื่อใช้เป็นที่ท่องเที่ยว จุดแวะพัก เนื่องจากมีการคมนาคมที่เข้าถึงสะดวก และอยู่ห่างย่านธุรกิจแออัด


๖. ด้านค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพื้นที่ การก่อ สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ติดทางหลวงแผ่นดินสายหลักของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตำแหน่งที่ดิน ระวาง ๕๐๔๔|||๒๐๕๐ เลขที่ดิน ๑๔๒๘ หน้าสำรวจ ๕๙๓๕ ตำบลคุ้งตะเภา ตามหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ ลงวันที่ ๖ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ โฉนดที่ดิน เลขที่ ๗๖๒๓๓ เล่ม ๗๖๓ หน้า ๓๓ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าว อยู่ภายใต้ความคุ้มครองตามมาตรา ๓๔ แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ อย่างสมบูรณ์ โครงการฯ สามารถเข้าใช้พื้นที่เพื่อปรับแต่งก่อสร้างอนุสาวรีย์ได้ทันที โดยไม่ต้องจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม


แนวความคิดในการออกแบบ

๑. ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ให้อยู่ในบริเวณใกล้กับวัดคุ้งตะเภา หันพระพักตร์สู่ทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี และสี่แยกเส้นทางเชื่อมต่อไปยังวัดพระฝางสวางคบุรีนุนีนาถ เพื่อเชื่อมโยงสิ่งก่อสร้างหลักเข้ากับโบราณสถานที่มีอยู่เดิมตามหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ในพระราชพงศาวดาร

๒. บริเวณโดยรอบจะใช้ประโยชน์เป็นที่นั่งพักผ่อนของประชาชน และมีการตกแต่งบริเวณด้วยต้นไม้ดัดบางส่วน เพื่อให้ผู้สัญจรบนถนนผ่านไปมาได้พักผ่อนสายตา

๓. การอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้มาใช้สอย จัดให้มีลานจอดรถอยู่ทางฝั่งด้านหน้าวัดคุ้งตะเภาในระยะห่างพระบรมราชานุสาว รีย์ฯ ประมาณไม่เกิน ๒๐ เมตร นอกจากนี้ในบริเวณจะจัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น ม้านั่ง ถังขยะ ฯลฯ ทั่วไปเป็นระยะ


ระยะเวลาในการจัดสร้าง

๕ ปี ในระหว่างปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๓ (กำหนดแล้วเสร็จ สมโภชสถาปนาวัดคุ้งตะเภาครบ ๒๕๐ ปี )

การยืนยันและเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการประวัติศาสตร์

กิจกรรม อันเนื่องด้วยโครงการนี้ ได้กำหนดกรอบการทำงานเชิงวิชาการร่วมด้วยควบคู่กัน โดยทีมนักวิจัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการประวัติศาสตร์ระดับประเทศ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อทำการศึกษาสืบค้น และค้นคว้าวิจัย เรื่อง "๒๔๕ ปี คุ้งตะเภา-สวางคบุรี: ศึกเจ้าพระฝาง กับความเชื่อมโยงในบริบทประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" เพื่อสืบค้นข้อมูล ทั้งในเชิงเอกสาร พระราชพงศาวดาร เอกสารปฐมภูมิ และทุติยภูมิ รวมทั้งการลงพื้นที่จริงโดยทีมนักวิจัย และจะมีการตีพิมพ์หนังสือดังกล่าว เพื่อเป็นการอนุสรณ์สมโภชวัดคุ้งตะเภาครบ ๒๔๕ ปี (กำหนดตีพิมพ์หนังสือแจกจ่ายห้องสมุดทั่วประเทศ จำนวนไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เล่ม โดยใช้ทุนอุดหนุนวัดคุ้งตะเภา ของกระทรวงวัฒนธรรม ตีพิมพ์ปลายปี ๒๕๕๘)

คลิกเพื่ออ่าน : สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา


ผู้ประสานงานโครงการ

นายภีมเดช อมรสุคนธ์ นายกสโมสรจังหวัดระยอง และอดีตรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง

งบประมาณ

จากการสนับสนุนบริจาคของประชาชนทั่วไป

บัญชีโครงการ

ชื่อบัญชี “โครงการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากฯ และ อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก”

ธนาคาร กรุงไทย สาขา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เลขที่บัญชี 983-7-81309-1

อนุโมทนาบัตร และการลดหย่อนภาษี

การ บริจาคอันเนื่องด้วยโครงการนี้ เป็นการบริจาคให้แก่วัดคุ้งตะเภาโดยตรง ซึ่งเป็นวัดวาอารามในพระพุทธศาสนา ที่ตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามนัยในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ผู้บริจาคผู้มีเงินได้ที่ขอรับใบอนุโมทนาบัตรจากวัดคุ้งตะเภา มีสิทธิขอหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ ตามมาตรา ๔๗(๗) แห่งประมวลรัษฎากร

แบบร่างพระบรมราชานุสาวรีย์

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก

พื้นที่หน้าวัดคุ้งตะเภา ก่อนเริ่มทำการจัดสร้างอนุสาวรีย์ฯ

- พิธีวางศิลาฤกษ์ ณ วัดคุ้งตะเภา โดย ฯพณฯ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นประธานในพิธี


พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และประวัติศาสตร์เกี่ยวเนื่องกับสถานที่จัดสร้าง จากพระราชพงศาวดารฯ




ประวัติศาสตร์เกี่ยวเนื่องกับสถานที่จัดสร้าง จากพระราชพงศาวดารฯ


การพระราชสงครามศึกสวางคบุรี


พระราชศรัทธาการศาสนา ณ สวางคบุรี


การชำระคณะสงฆ์และสถาปนาวัดคุ้งตะเภา


คลิกเพื่ออ่าน : สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา


ประมวลข้อมูลและความคืบหน้า"การจัดสร้างฯ"


เอกสาร


เอกสารตั้งคณะกรรมการจัดสร้าง


โครงการจัดสร้าง


การดำเนินงานจัดสร้าง


พิธีกรรม


การปั้นพระรูป


ประวัตินายช่างจากวิทยาลัยช่างศิลป์

กรมศิลปากร


วัตถุมงคล



กิจกรรมระดมทุน

ประมวลความคืบหน้าล่าสุด


๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ - พิธีบวงสรวงเบิกฤกษ์ปั้นพระรูป ณ โรงปั้นนายช่างจากวิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร จังหวัดปทุมธานี


๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - ประชุมขับเคลื่อนโครงการ


๑๒ พ.ย. ๒๕๕๙ - พิธีวางศิลาฤกษ์ ณ วัดคุ้งตะเภา โดย ฯพณฯ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นประธานในพิธี


ความคืบหน้าปั้นพระรูปพระรูป 2559


ความคืบหน้าสร้างกำแพงอนุสาวรีย์ 2560