พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา

- ความเป็นมา

- รายนามผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพิพิธภัณฑ์

- อาคารที่ตั้งพิพิธภัณฑ์

(พิกัดภูมิศาสตร์)

- แผนผังพิพิธภัณฑ์

- รับเกียรติบัตรออนไลน์

- พิพิธภัณฑ์ออนไลน์

-ภาษาถิ่นคุ้งตะเภา

-เอกสารโบราณ

-พระพุทธรูปและเครื่องใช้ทางศาสนา

-เครื่องมือในการทำนา

-ยานพาหนะโบราณ

-เครื่องมือช่างโบราณ

-เครื่องมือในการจับสัตว์

-เครื่องมือเกษตรกรรมและเหล็ก

-กลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือน

-เครื่องใช้ที่ทำจากโลหะ

-เครื่องลายครามและเบญจรงค์

-อาวุธโบราณ

-พระเครื่อง ธนบัตร เหรียญกษาปณ์และเงินโบราณ

-โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์

- วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มังคละเมืองฝาง, ภาษาถิ่นคุ้งตะเภา, ประเพณี ๙ เดือน

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา

Wat Kungtapao Local Museum

ทั้งนี้ส่วนจัดแสดงหัวข้อ "ร้อยเรียงเรื่องราวแห่งคุ้งตะเภา วัดที่เก่ากว่าอุตรดิตถ์" อยู่ในพื้นที่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ชั้น ๑ โดยชั้น ๒ ยังคงจัดแสดงโบราณวัตถุ-ศิลปวัตถุในรูปแบบพิพิธภัณฑ์โชว์ของเช่นเดิม โดยส่วนจัดแสดงชั้น ๑ เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน และส่วนจัดแสดงชั้น ๒ เปิดให้เข้าชมได้เฉพาะวันพระ (อย่างไรก็ดีการชมชั้น ๑ สามารถแจ้งล่วงหน้า เพื่อจัดวิทยากรบรรยาย)

5. หลัง ๒๔๗๕ : วิถีเกษตรคุ้งตะเภา (พ.ศ. ๒๔๗๖-๒๕๐๐) ยุคสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง การสานต่อโรงเรียนประชาบาลวัดคุ้งตะเภา สงครามโลก วิถีเกษตรคุ้งตะเภาในยุครอยต่อ ก่อนจะปิดท้ายที่ความทรงจำกระพ้อมข้าวหลังสุดท้ายที่หายไปจากชุมชนในยุคร่วมสมัย

4. วัดคุ้งตะเภา : ย้อนอดีตอารามเก่า (พ.ศ. ๒๓๑๓-๒๔๗๕) โบราณวัตถุที่พบในวัด กับประวัติศาสตร์ความสืบเนื่องผู้คนแห่งเมืองฝางสวางคบุรี ที่ต่อมากลายเป็นคุ้งตะเภา-ผาจุก และการที่เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา เคยได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง ในราชทินนามพระครูสวางคมุนี (จัน) เป็นรูปสุดท้ายก่อนยุบเลิกเมืองฝาง และเปลี่ยนเป็นเมืองอุตรดิตถ์จนปัจจุบันนี้

3. รัชกาลที่ ๕ - ๖ : โชติ์ช่วงรัชสมัย (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๖๐) ก่อนยุคมณฑลเทศาภิบาล ถึงยุคสมัยแห่งสัมปทานและการปรับตัว กับการเล่าเรียนของสงฆ์ พระมหาองค์แรก ภาพเก่า ๆ คุ้งตะเภาท่าเสาในยุคสัมปทานไม้ขอนสัก จัดแสดงส่วนหนึ่งของไม้หมอน ไม้มีจมูกเจาะสำหรับให้ช้างลากผูกแพล่องไปกรุงเทพ ที่หลงเหลือตกค้างใต้แม่น้ำน่านบ้านคุ้งตะเภา

2. ต้นกรุงรัตนะ : ท่าเหนือเรืองโรจน์ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๔๑๑) เข้าสู่ยุคบ้านเมืองสงบ การค้าทางน้ำรุ่งเรือง จากการเปิดตลาดแลกเปลี่ยนกับล้านนา-ล้านช้าง การอพยพย้ายถิ่นของชุมชนลาวพวนบ้านงิ้วงามในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยจัดแสดงเครื่องมือทอผ้าแบบไทพวนงิ้วงาม และเอกสารโบราณตำราหมอดู หมอยา และสมุดไทยอักษรล้านนาที่พบในชุมชนคุ้งตะเภา สื่อถึงยุคสมัยแห่งการปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรม

พระเจ้าตากสร้างวัด -> ท่าเหนือเรืองโรจน์ -> โชติ์ช่วงรัชสมัย -> ย้อนอดีตอารามเก่า -> วิถีเกษตรคุ้งตะเภา

1. ปฐมกรุงธนบุรี : พระเจ้าตากสร้างวัด (พ.ศ. ๒๓๑๓) จัดแสดงพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในพระอิริยาบททรงชี้พระดัชนีลงพื้น เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างวัดและชุมชนคุ้งตะเภาหลังเสร็จศึกปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง พร้อมทั้งจัดแสดงเครื่องมือก่อสร้างในยุคร่วมสมัย

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา (พิพิธภัณฑ์ประเภทวัดและชุมชน ๑ ใน ๔ แห่งของประเทศ ที่ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ "พิพิธภัณฑ์ต้นแบบการเรียนรู้" จาก สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (NDMI) ประจำปี ๒๕๕๖ ) ตั้งอยู่ที่ อาคารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา (อาคารอสีติวัสสายุมงคล) วัดคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ไม่ไกลจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้จุดศูนย์รวมต้นทางเส้นทางสายท่องเที่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์ เช่น ทางไปวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ โบราณสถานสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ เขื่อนสิริกิติ์ บ่อเหล็กน้ำพี้ วนอุทยานถ้ำจัน และวนอุทยานสักใหญ่ที่สุดในโลก ทางเข้าวัดคุ้งตะเภาสามารถสังเกตได้ง่าย เนื่องจากมีซุ้มประตูวัดที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ให้เห็น เด่นสะดุดตา บนสี่แยกคุ้งตะเภาริมถนนสายเอเชีย (ก่อนข้ามสะพานแม่น้ำน่าน) สามารถเดินทางมาได้โดยสะดวก

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนขนาดเล็ก โดยชุมชน เพื่อชุมชน จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยดำริของพระมหาเทวประภาส ที่ได้เก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุของวัด โดยได้รับความอนุเคราะห์จากอดีตเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภาในสมัยนั้น ให้ใช้บางส่วนของอาคารกุฎิปั้นหยาจัดเป็นสถานที่สำหรับรวบรวมเอกสารโบราณและวัตถุโบราณของวัดและที่ทางวัดได้รับบริจาคจากชาวบ้าน เช่น พระพุทธรูปโบราณ สมุดไทย สมุดข่อย ใบลาน นำมาจัดแสดงให้คนในท้องถิ่นได้ศึกษาขนบวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในอดีตของบรรพบุรุษ และเพื่อให้คนในท้องถิ่นได้รับรู้และเกิดความภาคภูมิใจในมรดกและความเป็นมาของชุมชนบ้านคุ้งตะเภาที่มีอายุความเป็นมายาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย นอกจากนี้ วัดคุ้งตะเภายังเป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญแห่งจังหวัดอุตรดิตถ์อีก ด้วยคือ หลวงพ่อสุวรรณเภตรา และหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ พระพุทธรูปโบราณ อายุกว่า ๘๐๐ ปี ๑ ใน ๙ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญแห่งเมืองอุตรดิตถ์

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ วัดคุ้งตะเภา โดยดำริของพระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภารูปปัจจุบัน มีโครงการสร้างห้องพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภาโดยเฉพาะ บนอาคารศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภาหลังใหม่ ทำให้สามารถนำเอกสารโบราณและวัตถุโบราณของวัดออกมาจัดแสดงได้เป็นการถาวร โดยมีโครงการแบ่งพื้นที่หอจัดแสดงออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนจัดแสดงประวัติความเป็นมาของชุมชนและวัด ส่วนจัดแสดงเอกสารโบราณ และส่วนจัดแสดงโบราณวัตถุ โดยมีการรับบริจาคสิ่งของจัดแสดงจากประชาชน และใช้งบประมาณเพื่อการจัดสร้างส่วนจัดแสดงจากคณะสงฆ์และศรัทธาของคนในชุมชน

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา สร้างส่วนจัดแสดงมิวเซียมเล่าเรื่องในพื้นที่อาคาร ๒ ชั้น ภายใต้หัวข้อ "ร้อยเรียงเรื่องราวแห่งคุ้งตะเภา วัดที่เก่ากว่าอุตรดิตถ์" เพื่อเป็นส่วนหนึ่งสมโภชสถาปนาวัดคุ้งตะเภาครบ ๒๔๙ ปี โดยได้แบ่งส่วนจัดแสดงเป็นห้องนิทรรศการจำนวน ๕ ห้อง ตามลำดับช่วงเวลาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวัดคุ้งตะเภา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๓ จนถึงยุค พ.ศ. ๒๕๐๐ ดังนี้

ตั้งแต่​​​​ :: ​​​​๒๕๕๐

ทั้งนี้ในต้นปี ๒๕๖๒ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ร่วมกับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย กรมศิลปากร และหลักสูตรสาขาการจัดการวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้จัดทำโครงการเครือข่ายดูแลรักษาเอกสารโบราณ ประจำปี ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๑ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยลงพื้นที่ปฏิบัติงานจิตอาสา ณ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ระหว่างวันที่ ๔-๗ มีนาคม ๒๕๖๒ ซึ่งได้มีการทำความสะอาดคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย จัดทำทะเบียน บัญชีเอกสารโบราณและการจัดเก็บรักษาตามหลักวิชาการ รวมทั้งการทำทะเบียนวัตถุ ณ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการอีกด้วย

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา เปิดเข้าให้ชมในเวลา ๐๘.๒๐-๑๗.๓๐ น. ทุกวันธัมมัสวนะ ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ ๐๘-๔๘๑๓-๑๓๑๕

ติดตามความเคลื่อนไหว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ได้ที่

http://www.facebook.com/wkplocalmuseum