ประวัติความเป็นมาของมังคละเมืองสวางคบุรี

ความภาคภูมิใจของเรา

รางวัลองค์กรเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม

ดีเด่น ๑ ใน ๒ แห่งระดับประเทศ

ประจำปี ๒๕๕๘

อารัมภกถา

มังคละเภรี ดนตรีศรีพระพุทธศาสนา

ประมวล

องค์ความรู้

"มังคละเภรี"

ภาพจากระเบียงสาญจีสถูป รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย

พระสถูปที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช แสดงให้เห็นภาพปางปรินิพพาน (แสดงภาพพระพุทธองค์ด้วยสัญลักษณ์ คือสถูปรูปบาตรคว่ำ)

สื่อเผยแพร่ของศูนย์ฯ

มีการถวายบังคมพระบรมศพ

และการบรรเลงด้วยเครื่องบรรเลงรูปร่างแปลก มีบางอย่างซึ่งชาวอินเดียยอมรับว่า ในบัดนี้หาของจริงดูไม่ได้แล้ว ยังมีอยู่แต่ในภาพเช่นนี้

ซึ่งอาจารย์เคียง ชำนิ สันนิษฐานว่า ภาพดังกล่าวเป็นกลองสองหน้า ลักษณะการบรรเลงคล้ายกลองมังคละเภรี

หากเป็นไปตามนี้ มังคละเภรีจะมีที่มาเก่าแก่ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

และสืบทอดมาสู่ลังกาเมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณฑูตไปยังลังกา หลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๓

โดยมี พระมหินทเถระ (พระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช) เป็นหัวหน้าสายภิกษุ

พร้อมกับ พระสังฆมิตตาเถรี (พระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช) เป็นหัวหน้าสายภิกษุณี

สันนิษฐานว่ามังคละเภรีจากอินเดีย เข้าสู่ลังกาเมื่อครั้งนั้น สำหรับประโคมสมโภชในทางพระพุทธศาสนา

(ปัจจุบันยังพบอยู่ในศรีลังกา ดังการประโคมมังคละบูชาพระเขี้ยวแก้ว ฯลฯ)

รวมบทความมังคละ

"ดนตรีในตำนาน

แห่งสวางคบุรี"

มังคละหลากลีลา

อารยะศาสตร์และศิลป์

เล่าขานตำนานถิ่น

รุ่นสู่รุ่น "มังคละ"

สืบสาน "น่านวารินทร์"

คู่แผ่นดินแห่ง "เมืองฝาง"

เคียงคู่สู่เมืองงาม

"มหาธาตุพระศาสดา"

บัดนี้ใกล้สิ้นชื่อ

สิ้นนับถือผู้รักษา

ใกล้ผ่านกาลเวลา

"ดับอรุณ" สุโขทัย

"มังคละมรดกโลก"

จะสู่โศกนิมิตหมาย

"กู้เก่ากลับคืนกลาย"

คือ "หน้าที่พิทักษ์ธรรม"

(เทวประภาส)

๑๒ พ.ค. ๕๘

วานท่านขอวานเถิด

สิ่งประเสริฐจงรักษา

มังคละคืออัชฌา

คือ "ปัญญาแห่งผองชน"ฯ

ชีวิตนี้น้อยนัก

พึงพิทักษ์เชิดชูไว้

มังคละสิ้นเมื่อใด

สิ้นหายใจ "จิตวิญญาณ์"

"คุ้งตะเภาเภรี"

บรรเลงศรีคู่สยาม

ดํบงดํกลองตาม

คือสายธารเชิดชูไทย

(รูปวาดของชาวมอญ ค้นพบในสมุดโบราณที่เมืองพม่า ลักษณะเป็นเบญจดุริยางค์แท้ คล้ายคลึงกับมังคละอย่างยิ่ง

สันนิษฐานว่ารับมาเมื่อคราวพระมหาสวามีสังฆราชจากลังกามาสืบศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์ที่สุโขทัย

ขึ้นฝั่งที่เมาะตะมะ หัวเมืองมอญ ตัดเมืองฉอด เข้าโขทัย ทำให้ปี่กลองมังคละตกค้างอยู่เมืองมอญมาแต่ครั้งนั้น

ภาพจากหนังสือของ รองศาสตราจารย์.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)

และต่อมาธรรมเนียมมังคละเภรีก็ได้เข้าสู่ไทย เมื่อครั้งอาณาจักรสุโขทัย รับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์

เป็นดนตรีสำหรับพุทธบูชา ตามหลักฐานในศิลาจารึก และต่อมาได้คลี่คลายเป็นดนตรีพื้นบ้านในสมัยหลัง

ข้อสันนิษฐานสำคัญคือ ชุมชนผู้ใช้สุโขทัยโบราณ และมีที่ตั้งโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ในอาณาจักรสุโขทัย

จะมีมังคละเภรีอยู่ด้วยเสมอ

โดย พระบรมทันตธาตุพระฝาง เมืองสวางคบุรี เป็นพระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์ ดังปรากฎในจารึกวัดศรีชุม

อันเป็นโบราณสถานและเมือง ที่ไม่ถูกเทครัวอพยพ และไม่ถูกทำลาย

ในตลอดช่วงระยะประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย-อยุธยา-รัตนโกสินทร์

สายวงมังคละเภรีโบราณจึงยืนหยัดอยู่อย่างมั่นคง

แต่ในช่วงหลัง วัดพระฝาง และเมืองสวางคบุรี อันประดิษฐานพระบรมทันตธาตุพระฝาง ได้ร่วงโรยลง

ทำให้ในช่วงหลัง มังคละเภรีได้ขาดสูญ และเหลือผู้สืบทอดเพียงคนเดียว คือปู่ประชุม วงพิณิต

การสืบทอดมังคละเภรีศรีสวางคบุรี จึงไม่ใช่แค่เพียงการสืบทอดดนตรีพื้นบ้าน

หากแต่คือการสืบทอดลมหายใจและจิตวิญญาณแห่งพระพุทธศาสนา

ดนตรีโบราณในพระพุทธศาสนา ที่มีความเป็นมายาวนานกว่า ๒,๐๐๐ ปี

"มังคละเมืองท่าเหนือ ที่ใกล้จะไม่เหลือให้ลูกหลาน"

"ใต้สุด" ของคนพูดสำเนียงในอาณาจักรสุโขทัย คือ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ คนตีกลองมังคละคนสุดท้าย ได้เสียชีวิตไปแล้วเมื่อราว ๆ ๓๐ ปีที่ผ่านมา เหลือกลองยืน กับกลองหลอน เก็บปิดตายอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดหนองกลับ

และรู้หรือไม่ว่า "เหนือสุด" ของคนพูดสำเนียงในอาณาจักรสุโขทัย คือบ้านพระฝางสวางคบุรี อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ นี่เอง

และปู่ประชุมคือคนสุดท้ายแห่งบ้านฝาง ที่ตีมังคละเป็น! บัดนี้ สังขารปู่ร่วงโรย อายุ ๗๒ สายตาฝ้าฟาง แทบหาคนสืบวิชาจริงจังมิได้เลย

ปู่เคยพูดว่า "ใครก็ได้มาเรียนจากผมที ผมจะไม่ไหวแล้ว"

ได้เวลาแล้วหรือยัง ที่คนท่าเหนือจักพยายามทุกประการ เพื่อไม่ให้กลองมังคละของปู่ประชุม ต้องถูกเก็บตายเข้าพิพิธภัณฑ์ใด ๆ และสิ้นเสียงมังคละเภรี เหนือสุดแห่งอาณาจักรสยาม ไปตลอดกาล...

จากการศึกษาค้นคว้าของพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา พบว่า ชุมชนบ้านวัดคุ้งตะเภา มีบริบทชาติพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเมืองฝางสวางคบุรี ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า ๗๐๐ ปี ตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และจากการประสานกับอาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ รองปลัดเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย นักวิชาการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านชาติพันธ์และการใช้ภาษาถิ่นสุโขทัย เพื่อลงพื้นที่ในชุมชนบ้านวัดคุ้งตะเภา ในวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๘ อาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ ได้พาคณะดูงานวัดคุ้งตะเภา ไปพบปู่ประชุม วงพินิต อายุ ๗๒ ปี (เกิดปีมะแม พ.ศ. ๒๔๘๖) ผู้สืบทอดมังคละเภรีเมืองฝาง ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ชุมชนที่ใช้ภาษาถิ่นสุโขทัย ที่มีประวัติตามศิลาจารึก เหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตสุโขทัย ที่มีประวัติสืบมาแน่ชัดกว่า ๗๐๐ ปี

ภาพถ่ายเมื่อคราว อาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ นักวิชาการประวัติศาสตร์

พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี

ถ่ายร่วมกับครูประชุม วงพินิต ปราชญ์มังคละเภรีคนสุดท้ายของบ้านพระฝาง ต.ผาจุก

ในการลงพื้นที่ครั้งแรก วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๘

ซึ่งปู่ประชุม เป็นครูดนตรีมังคละคนสุดท้ายของเมืองฝาง ซึ่งมีหน้าที่สืบรักษามังคละเภรี สำหรับประโคมถวายพระบรมธาตุพระฝาง ซึ่งเป็นพระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์ ในวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ตั้งอยู่ที่บ้านฝาง หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ติดกับ ต.คุ้งตะเภา เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๐๐ (ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช) เป็นวัดพระมหาธาตุประจำเมืองสวางคบุรี ซึ่งในอดีตได้รับการนับถือเทียบเท่ากับพระธาตุเจดีย์หริภุญชัย และพระพุทธบาทสระบุรี ซึ่งพระยาลิไท ได้ถวายข้าพระโยมสงฆ์ ไว้เป็นมหัคฆภัณฑ์มหาพุทธบูชาพระบรมทันตธาตุพระฝางมาตั้งแต่โบราณ

เฉกเช่นเดียวกับธรรมเนียมลังกา ซึ่งสันนิษฐานว่า พระบรมธาตุสวางคบุรี เหนือสุดแห่งอาณาจักรสุโขทัยโบราณ ก็ได้รับพระราชทานข้าพระโยมสงฆ์สำหรับประโคมพระบรมธาตุ ถวายขาดไว้ในพุทธศาสนา คือไม่ต้องไปราชการทัพ มานับแต่สมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จากการสอบถามปุู่ประชุม พบว่า ในช่วง ๕๐ ปี ก่อนที่มีการละเล่นมังคละครบวงนั้น การประสมวงมังคละ จะมีกลองหลอน กลองยืน ฆ้อง ๓ ใบ และปี่ (แตร) ในรูปแบบเดียวกับในศิลาจารึก และในบ้านพระฝาง จะตีมังคละในงานมงคล โดยการรวมตัวของผู้เป็นมือกลองและฆ้องแตร จากบุคคลต่าง ๆ ในหมู่บ้าน โดยการหยิบยืมเครื่องมือมังคละที่ขาดซึ่งกันและกัน เหล่านี้เป็นข้อยืนยันว่าชุมชนบ้านพระฝางเป็นชุมชนที่อาจมีความเป็นมาจากการพระราชทานข้าพระโยมสงฆ์สำหรับประโคมพระบรมธาตุพระฝาง เป็นเหตุให้ชุมชนรอบบรมธาตุพระฝาง ๒ หมู่บ้าน และคุ้งตะเภาหมู่ ๓,๔ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากบ้านพระฝาง ยังคงหลงเหลือผู้ใช้สำเนียงสุโขทัยโบราณสืบมาจนปัจจุบันนี้

"...พาทย์คู่หนึ่ง ให้ข้าสองเรือนตีบำเรอแก่พระเจ้า

ฆ้องสองอัน กลองสามอัน แตร...

แต่งให้ไว้แก่พระเจ้า (พระพุทธรูป)..."

จากการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และการลงพื้นที่ในวันดังกล่าว อาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ นักวิชาการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านชาติพันธ์และการใช้ภาษาถิ่นสุโขทัย ให้ข้อสรุปว่า สาเหตุที่คนพระฝาง และคุ้งตะเภา ที่มีพื้นที่ตำบลติดกันใกล้ที่สุด ยังคงใช้สำเนียงถิ่นสุโขทัยโบราณเหมือนกัน เพราะคือเชื้อสายส่วนหนึ่ง ผู้สืบสายตระกูลตรงจากข้าพระโยมสงฆ์ ที่พระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัย ถวายขาดไว้เป็นมหัคฆภัณฑ์มหาพุทธบูชาพระบรมทันตธาตุพระฝาง แห่งพระบรมกษัตริย์กรุงสุโขทัย สำหรับประโคมสมโภชพระมหาธาตุเมืองฝาง และไม่ต้องไปราชการทัพ ดังปรากฎตัวอย่างในจารึกวัดช้างล้อม เมืองเก่าสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๒๗ ว่า

ปู่จั่น ย่าผล โตนาคน้อย บรรพชนคนพระฝาง

ผู้ถ่ายทอดวิชามังคละเภรีให้แก่พ่อประชุม วงพินิต ปู่ครูมังคละเภรีบ้านพระฝางคนสุดท้าย

(ภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๖ ในงานวัดพระแท่นฯ)

เมื่อปี ๒๔๖๘ พ่อจั่น แม่ผล โตนาคน้อย บรรพชนสวางคบุรี ได้ทำหน้าที่ประโคมสมโภชพระบรมธาตุเมืองสวางคบุรีเป็นวงสุดท้าย ต่อมาบุตรีพ่อจั่น คือ แม่ไสว โตนาคน้อย ได้สมรสกับพ่อบุญช่วย ทับป้อม ก่อน พ.ศ. ๒๔๘๖ และพ่อจั่น โตนาคน้อย ได้ถ่ายทอดวิชามังคละเภรีให้แก่พ่อบุญช่วย ๆ มีความสามารถประดิษฐ์และเล่นดนตรีมังคละได้ทุกประเภท ทั้งปี่, กลองยืน, กลองหลอน, กลองมังคละ โดยพ่อจั่นและพ่อบุญช่วย ได้ร่วมเป็นวงมังคละบ้านพระฝาง วงสุดท้าย หลังจากพ่อจั่นเสียชีวิตลง วงได้แยกย้าย และมังคละขาดช่วงไประยะหนึ่ง ก่อนพ่อบุญช่วยดำริฟื้นฟูทำวงมังคละขึ้นใหม่ในปี ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยทำในครอบครัวและอดีตลูกวงพ่อจั่นในอดีต และสอนการทำกลองให้แก่ปู่ประชุม วงพิณิต (เกิด ๒๘ พ.ย. ๒๔๘๖) ซึ่งมังคละพ่อบุญช่วย-ปู่ประชุม เล่นเต็มวงครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ในงานบวชนาควัดพระฝาง โดยไม่มีปี่ (เนื่องจากพ่อบุญช่วยชราภาพมากแล้ว) หลังจากนั้น มังคละเมืองสวางคบุรีก็ได้เงียบเสียงลงและไม่มีผู้สืบทอดไปอีกกว่า ๕๐ ปี (๒๔๐๕-๒๕๕๓)

อย่างไรก็ตาม ในวันนั้น ปู่ประชุม วงพินิต อายุ ๗๒ ปี ปราชญ์ภูมิปัญญามังคละเภรีคนสุดท้าย แห่งบ้านพระฝาง มีสายตาพร่ามัว หูไม่ได้ยินชัด สังขารทรุดโทรม หาผู้สนใจที่จะสืบสายวิชามังคละโบราณอันเก่าแก่นี้แทบมิได้ กลองมังคละใบสุดท้าย ได้เคยถูกทิ้งตากลมฝนไว้กลางไร่ ปี่ กลองหลอน กลองยืน กระจัดกระจายไปตามที่ต่าง ๆ จนแทบหาผู้สืบสายวิชาไม่ได้ ทำให้ปู่ประชุม วงพินิต ติดตามค้นหากลองมังคละจนพบ และนำมาขึ้นกลองใหม่ ตามวิชาที่ครูเคยทำเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว เพื่อพยายามรักษาสืบทอดวิชาไว้ให้ลูกหลาน

และในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ คณะวัดคุ้งตะเภา นำโดย พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ ได้เดินทางไปรับมังคละเภรี ณ บ้านครูสมชัย บุญญา ซึ่งเป็นปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นคนเดียวในจังหวัดสุโขทัย ที่สามารถขึ้นกลองมังคละเภรีได้ โดยเครื่องดนตรีในวงมังคละ มหามงคลดนตรี เบญจดุริยางค์แท้ ๙ ประการ ที่รับมานั้น ประกอบด้วย

ด้วยเหตุนี้ พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา จึงนำกราบเรียน พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา เพื่อทราบ ซึ่งได้มีความเห็นให้ควรสนับสนุนการสืบทอดภูมิปัญญามังคละเภรี ให้คงอยู่ต่อไป และเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อชุมชน และให้องค์ความรู้สืบทอดโดยไม่ขาดสาย จึงได้ดำริให้ อาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ นักวิชาการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประสานกับ ครูสมชัย บุญญา เจ้าของวงปี่พาทย์มังคละเภรี เอกชัย บุญญา บ้านคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เพื่อสั่งทำชุดเครื่องดนตรีมังคละครบสำรับ ภายใต้งบประมาณของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในโครงการเสริมพลังเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาเพื่อสังคมควบคุมปัจจัยเสี่ยง ประจำปี ๒๕๕๘ เพื่อมีเครื่องมือสำหรับฝึกและสืบทอดวิชามังคละเมืองสวางคบุรีไม่ให้สูญสิ้น ซึ่งครูสมชัย บุญญา เป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับ พระครูสุมณฑ์ธรรมธาดา เครือข่ายองค์กรงดเหล้า จ.สุโขทัย เจ้าอาวาสวัดคลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ซึ่งที่วัดคลองกระจงมีการจัดตั้งวงดนตรีในวัด เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เช่นเดียวกัน

๑. กลองมังคละ

๒. ปี่

๓. กลองหลอน

๔. กลองยืน

๕. ฆ้องโหม่งซ้าย-ขวา

๖. ฆ้องเล็กหน้า

๗. กรับ

๘. ฉาบยืน

๙. ฉาบเล็ก

เครื่องมังคละครบสำรับ จากครูวันชัย บุญญา เมืองสวรรคโลก

ที่วัดคุ้งตะเภาจัดซื้อ เพื่อตั้งวงมังคละเภรีศรีสว่างคบุรี วงสุดท้ายเหนือสุดของลุ่มแม่น้ำน่าน

ภาพการรับมอบเครื่องมังคละครบสำรับ จากครูวันชัย บุญญา เมืองสวรรคโลก

ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘

โดยทั้งหมด วัดคุ้งตะเภา ได้นำไปฝึก และครอบครูมังคละ จากครูประชุม วงพินิต เมืองสวางคบุรี เพื่อนำมาสอนประชาชน เยาวชนและนักเรียนในชุมชนบ้านวัดคุ้งตะเภา โดยในขณะนี้ได้ประสานโรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา เพื่อจัดชั่วโมงสอนวิชามังคละเภรี ให้แก่เยาวชน ทั้งในวันที่มีการเรียนการสอน และวันหยุดราชการ เพื่อให้เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อตั้ง “วงมังคละเภรีศรีสวางคบุรี วัดคุ้งตะเภา” สืบทอดวิชามังคละ ๗๐๐ ปี ให้คงอยู่ต่อไปได้ โดยจะเป็นวงมังคละที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และจะมีพัฒนาการต่อไปตามลำดับ เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญามรดกโลก และขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อนำสื่อพื้นบ้านมาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพของคนในชุมชน ให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรม เกิดความภาคภูมิใจ รวมทั้งสามารถถ่ายทอดสื่อพื้นบ้านที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นให้แก่ผู้ที่สนใจได้ทราบสืบไป

ถ้าใช้ในงานศพ เช่น ประโคมศพ แห่ศพ จะใช้เฉพาะปี่ กลองสองหน้า และฆ้อง เรียกว่า "วงปี่กลอง"

มังคละมักใช้แห่ในงานมงคล เช่น งานบวช ทอดกฐิน ฯลฯ จะเรียกว่า "วงกลองมังคละ"

กลองมังคละจึงเป็นดนตรีที่เป็นมงคล เครื่องดนตรีมังคละ ประกอบด้วยกลองสองหน้า จำนวน 2 ใบ กลองมังคละ (จ๊กโกร๊ด) ๑ ใบ ฆ้องโหม่ง จำนวน ๓ ใบ ปีชวา ๑ เลา ฉาบเล็ก ๑ คู่ ฉาบใหญ่ ๑ คู่ และอาจจะมีกรับไม้อีก ๑ คู่ก็ได้

ทั้งนี้ ดนตรีพื้นบ้านมังคละ เป็นการละเล่นพื้นบ้าน มาตั้งแต่ยุคสุโขทัยเป็นราชธานี เป็นดนตรีที่สืบทอดมาทางพระพุทธศาสนาจากศรีลังกาเข้าสู่นครศรีธรรมราชและสุโขทัย โดยเฉพาะในรัชสมัยพระยาลิไท อาราธนาและต้อนรับ พระสังฆราชเข้ามาพำนักที่วัดป่ามะม่วงด้วยการปูผ้าแพร ๕ สี ให้พระสังฆราชเดินตามขบวนกลองมังคละตั้งแต่ ประตูเมือง ด้านหัวนอนจนถึงวัดที่พำนัก ซึ่งแต่เดิมนั้นกลองมังคละจะเล่นประกอบพิธีอันเป็นมงคลของพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะว่ามังคละ หมายถึง “มงคล” ซึ่งพอจะรวมเป็นสาระสำคัญได้ว่า มังคละนั้นเป็นดนตรีที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อนานกว่า ๗๐๐ กว่าปีมาแล้ว

การเล่นมังคละปัจจุบันยังคงพบใน ๓ จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน สันนิษฐานว่า การละเล่นมังคละมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เพราะมีหลักฐานในหลักศิลาจารึก หลักที่ ๑ ว่า

"...เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้...ไปสูดญัติกฐินเถิงอรัญญิกพู้น...เท้าหัวลานดํบงดํกลอง ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ..."

คำว่า "ดํบงดํกลอง" เป็นคำโบราณที่มีใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แปลว่า เป็นการประโคม หรือตีกลองที่ขึงด้วยหนัง

เมื่อครั้งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือเมื่อปี พ.ศ.2444 พระองค์ท่านบันทึกถึงกลองมังคละขณะที่ผ่านเมืองพิษณุโลกว่า "...ลืมเล่าถึงมังคละไป...เครื่องมังคละนี้ เป็นเครื่องเบญจดุริยางค์แท้ มีกลองเล็กรูปเหมือนเถิดเทิงแต่สั้นขึงหนังหน้าเดียว มีไม้ตียาวๆ ตรงกับ "อาตต" ใบหนึ่ง...เสียงเพลงนั้นเหมือนกลองมลายู..."

พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (พ.ศ.๒๔๔๔) ที่ว่าดนตรีมังคละนี้คือ “เบญจดุริยางค์แท้” ประกอบด้วย วาตฺต วิตตํ อาตฺตวิตฺตํ สุริสํ และฆนํ ครบบริบูรณ์ ซึ่งหมายความว่า ดนตรีมังคละนี้ คือ ดนตรี Classic ตามที่กำหนดไว้ในวรรณกรรมบาลีสันสกฤตโบราณ

ดนตรีชนิดนี้มีประวัติความเป็นมาช้านาน เดิมทีเดียวเป็นของทหารในเมืองลังกา คล้ายกลองสะบัดชัยของไทย เป็นการประโคมดังและรวดเร็วเพื่อให้กำลังใจแก่กองทัพฝ่ายตน และข่มขู่ศัตรูให้สะพรึงกลัว ในขณะเดียวกันเอามาใช้ในวัง เพราะทหารเป็นฝ่ายถวายอารักขา เช้าเย็นจะมีการประโคมมังคละถวายบังคม ในขบวนเสด็จทหารจะนำหน้าโดยเป่าปี่ตีกลองและร่ายรำ เป็นการสำแดงถึงพระเดชานุภาพ

ต่อมาภายหลังพระมหากษัตริย์ศรีลังกา ผู้ศรัทธาในพระศาสนาทรงเห็นดนตรีมังคละและการรำมังคละเป็นของสูง จึงมีศรัทธาถวายวัด จึงกลายเป็นเครื่องประดับพระบารมีพระเขี้ยวแก้วและพระเจดียสถานที่สำคัญ ๆ จนทุกวันนี้

นอกจากจะใช้ดนตรีมังคละในการประดับพระบารมีพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ชาวบ้านยังใช้ดนตรีมังคละในพิธีมังคละในพิธีมงคลทุกอย่าง เช่นจะเผดียงพระไปสวดพระปริตต์ที่บ้านคหบดีก็จะจ้างวงมังคละนำแห่พระจากวัดตามคันนาไปถึงบ้าน เมื่อให้ติสรณะและปัญจศีลแล้ว ให้ประโคมมังคละเป็นการขับไล่เสนียดจัญไร และเชิญเทวดามาร่วมบุญร่วมกุศลด้วย เป็นต้น ดนตรีชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า “มังคละ” คือ พอได้ยินเสียงดนตรีมังคละ ผีปีศาจและสิ่งเลวร้ายจะหนีกระเจิง ในขณะที่เทวดาและความดีงามจะเข้ามาสิงสถิต เจริญขวัญเจริญพรแก่ชาวบ้านทั้งปวง

การเล่นมังคละนี้ สุโขทัยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียและศรีลังกา คำว่า "มังคละ" แปลว่า มงคล หรือสิ่งที่เจริญก้าวหน้า

---------------------------------------------------------------------------

คุณค่าของมังคละ

ใช่แค่เสียงประโลมโลกย์

---------------------------------------------------------------------------

(สัมภาษณ์ ปู่ครูประชุม วงพินิจ

ปราชญ์มังคละเภรี คนสุดท้ายแห่งเมืองสวางคบุรี ๒๘ เม.ย. ๕๘)

"ดนตรีในตำนานแห่งสวางคบุรี"

มังคละหลากลีลา อารยะศาสตร์และศิลป์

เล่าขานตำนานถิ่น รุ่นสู่รุ่น "มังคละ"

สืบสาน "น่านวารินทร์" คู่แผ่นดินแห่ง "เมืองฝาง"

เคียงคู่สู่เมืองงาม "มหาธาตุพระศาสดา"

บัดนี้ใกล้สิ้นชื่อ สิ้นนับถือผู้รักษา

ใกล้ผ่านกาลเวลา "ดับอรุณ" สุโขทัย

"มังคละมรดกโลก" จะสู่โศกนิมิตหมาย

"กู้เก่ากลับคืนกลาย" คือ "หน้าที่พิทักษ์ธรรม"

"คุ้งตะเภาเภรี" บรรเลงศรีคู่สยาม

ดํบงดํกลองตาม คือสายธารเชิดชูไทย

ชีวิตนี้น้อยนัก พึงพิทักษ์เชิดชูไว้

มังคละสิ้นเมื่อใด สิ้นหายใจ "จิตวิญญาณ์"

วานท่านขอวานเถิด สิ่งประเสริฐจงรักษา

มังคละคืออัชฌา คือ "ปัญญาแห่งผองชน"ฯ

(เทวประภาส)

๑๒ พ.ค. ๕๘

ความดี อะไรในตัวที่พอมีอยู่

ก็มีแต่จะ "ไหลออกหมด"..."

จะใส่ความรู้อะไรไป ก็ไม่เข้า...

คนเราก็เหมือนกัน ถ้าใจไม่เที่ยง มีอคติ

ถ้าแก้ว "เอียง" น้ำก็ไหลออกจากแก้ว

(สัมภาษณ์ พ่อครูวันชัย บุญญา

ปราชญ์มังคละเภรี บ้านคลองกระจง เมืองสวรรคโลก ๑๐ พ.ค. ๕๘)

---------------------------------------------------------------------------

"...ใจคนเราก็เหมือนแก้วใส่น้ำ

"น้ำ" คือ "ความรู้ ความดี"

ชีวิตทุกวันนี้มีความสุขมาก..."

ตอนนี้ผมอายุมากแล้ว แต่ก็พยายามสานต่อวิชาดนตรีให้กับเด็ก ๆ ... ไปมาหาสู่ครูดนตรีด้วยกันตลอด

ใครไม่เชื่อเรื่องบุญกุศล ผมไม่สน แต่ผมเชื่อสนิทใจ เพราะผมเห็นมากับตัวเอง ลูกผมเป็นดนตรี รับครูมังคละ ไม่กินเหล้ายา บรรจุเป็นครูดนตรี จบป.โท หน้าที่การงานดีหมดทุกคน

ของมีครู ปู่ผมส่งวิชามาให้ ผมไม่ทิ้งวิชา สานต่อ

"...ผมคิดถูกที่ไม่ทิ้งดนตรีไทยไปตอนนั้น (วัยเด็ก)