ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี

ศูนย์อนุรักษ์

ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี

พลิกฟื้นปลุกวิญญาณวงมังคละเภรี ๗๐๐ ปี เหนือสุดแห่งอาณาจักรสยาม

***(สัญลักษณ์ศูนย์เป็นภาพลายเส้นกลองมังคละ ฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระบิดาแห่งมังคละเภรี)

กิจกรรมในโครงการ

ออก ททบ ๕

ความภาคภูมิใจของเรา

รางวัลองค์กรเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม

ดีเด่น ๑ ใน ๒ แห่งระดับประเทศ

ประจำปี ๒๕๕๘

ปู่ประชุม วงพิณิต

บรมครูผู้รั้งลมหายใจสุดท้าย

ของมังคละเมืองสวางคบุรี

ประมวล

องค์ความรู้

"มังคละเภรี"

ครั้งแรกที่มีการแสดงมังคละโดยลูกหลานคุ้งตะเภาครั้งแรก อย่างเป็นทางการ

นับแต่มังคละคุ้งตะเภาล่มวงไปมากกว่า ๘๐ ปี วีดีทัศน์นี้จึงเป็นวีดีทัศน์ประวัติศาสตร์ครั้งแรกในรอบ ๖๐ ปีของตำบลคุ้งตะเภา

โดยสืบรากจากกลองยืนหลอนบ้านหมอนไม้, ปี่โบราณทุ่งยั้ง และหน้าไม้มังคละพระฝาง

- กลุ่มดนตรีพื้นบ้านเยาวชนเสียงทองกลองยาวมังคละ ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

+ ชมรมในสถานศึกษา

ผลสัมฤทธิ์ของศูนย์ (ห้วงปี ๒๕๕๘-๒๕๕๙)

+ ชมรมนอกสถานศึกษา

โครงการอบรมดนตรีพื้นบ้านมังคละภาคเหนือตอนล่าง ณ วัดคุ้งตะเภา

วันที่ ๖-๗-๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมวัดคุ้งตะเภา ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยนเรศวร จัด โครงการกระบวนการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนารูปแบบการแสดงมังคละ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง เพื่อฟื้นฟูดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีแห่งอุตรดิตถ์ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีโบราณฐานรากแห่งวัฒนธรรมไทยอาณาจักรสุโขทัยโบราณ ที่ขาดการสืบต่อและถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ โดยความอนุเคราะห์จากคณาจารย์ด้านดุริยางคศาสตร์ไทยและนาฏศิลป์ระดับประเทศ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยนเรศวร ...

"ดนตรีในตำนาน

แห่งสวางคบุรี"

มังคละหลากลีลา

อารยะศาสตร์และศิลป์

เล่าขานตำนานถิ่น

รุ่นสู่รุ่น "มังคละ"

สืบสาน "น่านวารินทร์"

คู่แผ่นดินแห่ง "เมืองฝาง"

เคียงคู่สู่เมืองงาม

"มหาธาตุพระศาสดา"

บัดนี้ใกล้สิ้นชื่อ

สิ้นนับถือผู้รักษา

ใกล้ผ่านกาลเวลา

"ดับอรุณ" สุโขทัย

"มังคละมรดกโลก"

จะสู่โศกนิมิตหมาย

"กู้เก่ากลับคืนกลาย"

คือ "หน้าที่พิทักษ์ธรรม"

"คุ้งตะเภาเภรี"

บรรเลงศรีคู่สยาม

ดํบงดํกลองตาม

คือสายธารเชิดชูไทย

ชีวิตนี้น้อยนัก

พึงพิทักษ์เชิดชูไว้

มังคละสิ้นเมื่อใด

สิ้นหายใจ "จิตวิญญาณ์"

วานท่านขอวานเถิด

สิ่งประเสริฐจงรักษา

มังคละคืออัชฌา

คือ "ปัญญาแห่งผองชน"ฯ

(เทวประภาส)

๑๒ พ.ค. ๕๘

- ชมรมดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดพระฝาง ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

- ชมรมดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

    • ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ติดตามพบพยานบุคคล ยืนยันการมีมังคละเภรีศรีกัมโพชนคร ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

  • อาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ นักวิชาการประวัติศาสตร์สุโขทัย เดินทางมายัง บ.เนินซ่าน ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล เพื่อสืบค้นติดตามหลักฐานการมีอยู่ของมังคละบ้านเนินซ่านในพื้นที่ จากการบอกเล่าของนายสาย เพ็งวัน อายุ ๗๙ ปี บ้านพระแท่น ผู้ทันพบเห็นวงมังคละบ้านเนินซ่าน จากการลงพื้นที่ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ ผลการสืบค้นในวันนี้ พบว่า นายป่วน อ่วมอ่ำ อายุ ๗๘ ปี บ้านเลขที่ ๘๒ หมู่ที่ ๙ บ้านเนินซ่าน ต.ทุ่งยั้ง นายป่วน ให้สัมภาษณ์ว่า ปู่แหยม อ่วมอ่ำ ซึ่งเป็นน้องของปู่ของท่าน เป็นผู้ตีมังคละบ้านเนินซ่าน (นายป่วน อ่วมอ่ำ เป็นบุตรของพ่ออ็อด อ่วมอ่ำ ซึ่งเป็นบุตรของปู่เผือก อ่วมอ่ำ) โดย นายป่วน พบเห็นปู่แหยมตีมังคละวงบ้านเนินซ่าน ครั้งสุดท้าย ด้วยตาตนเอง เมื่ออายุได้ราว ๑๐ ขวบ (ประมาณ ราว พ.ศ. ๒๔๙๐) จากหลักฐานพยานบุคคลการพบ นายป่วน อ่วมอ่ำ ในวันนี้ สอดรับกับหลักฐานพยานบุคคลจากบ้านไผ่ล้อม จึงยืนยันได้ว่า เมืองทุ่งยั้งเคยมีมังคละเภรีศรีกัมโพชนครจริง

  • (อาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ, จีรวัฒน์ น้อยทิม)

- ชมรมดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนแสนตอวิทยา ต.แสนตอ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

(โดยการผลักดันสนับสนุนจาก สกว.และ ม.มหิดล)

  • ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ ค้นพบตำนานมังคละเภรีศรีคุ้งตะเภา

  • วัดคุ้งตะเภา โดยพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ประธานศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี ค้นพบตำนานมังคละบ้านคุ้งตะเภา โดยนายสงบ กลิ่นลอย อายุ ๖๘ ปี (เกิด ๒๔๙๐) หนึ่งในมือวงกลองยาวบ้านคุ้งตะเภาอันโด่งดังในสมัยก่อน ซึ่งประกอบไปด้วย พ่อคำ มากคล้าย, พ่อสันต์ รวยอบกลิ่น, พ่อสมพงษ์ เข็มจ้อย เป็นต้น ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อน บ้านคุ้งตะเภามีชื่อเสียงเรื่องกลองยาว คือวงของปู่ยัง กลิ่นลอย ซึ่งเล่นครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยในบ้านวงกลองยาวของตายังสมัยนั้น มีกลองสองหน้า ซึ่งเป็นกลองยืนกลองหลอนในวงมังคละ แต่ไม่มีผู้ใดรับสืบวิชา และสูญหายไปหมดแล้ว นอกจากนี้ ผู้เล่นมังคละคนสุดท้าย คือปู่กี่ มีชำนะ ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ (เสียชีวิตขณะอายุประมาณ ๘๐ ปี นับจนบัดนี้ก็อายุได้ร่วม ร้อยปีแล้ว) โดยปู่กี่มีเครื่องมังคละคือกลองยืน สำหรับเล่นเข้าวงเล็ก ๆ ศัพท์ภาษาปากเรียกว่า "วงปี่พาทย์ฆ้องกลอง" หรือ "อังคละ", "มังคละ" ประกอบด้วย กลองยืน ๑ ใบ ฆ้อง ๑ ลูก, ฉาบยืน ๑, ฉาบหลอน ๑, ฉิ่ง ๑ และซอ สำหรับสีเพื่อเดินเพลงแทนปี่ ที่หาผู้เป่าในชุมชนไม่ได้ในช่วงหลัง (เดิมบ้านคุ้งตะเภามีหมอปี่หลายคน แต่ปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว) วงมังคละนี้ ใช้สำหรับแห่ในงานบุญต่าง ๆ ซึ่งกลองยืนนี้ ลูกหลานของท่านได้ถวายไว้เพื่อเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา สันนิษฐานว่า ปู่กี่ คือคนสุดท้ายที่สืบทอดการละเล่นมังคละของบ้านคุ้งตะเภา และในช่วงหลัง ปู่กี่หาผู้เข้าประสมวงตามนวภัณฑ์ไม่ได้ (เนื่องจากการเข้ามาแทนที่ความนิยมของกลองยาว) จึงกลายมาเป็นวงปี่กลองที่ใช้กลองเพียงลูกเดียว และใช้ซอสีแทนปี่ซึ่งหาผู้เป่ายากในช่วงสุดท้าย ของลมหายใจมังคละบ้านคุ้งตะเภา

  • ชมคลิป

สื่อเผยแพร่ของศูนย์ฯ

รวมบทความมังคละ

"ดนตรีในตำนาน

แห่งสวางคบุรี"

มังคละหลากลีลา

อารยะศาสตร์และศิลป์

เล่าขานตำนานถิ่น

รุ่นสู่รุ่น "มังคละ"

สืบสาน "น่านวารินทร์"

คู่แผ่นดินแห่ง "เมืองฝาง"

เคียงคู่สู่เมืองงาม

"มหาธาตุพระศาสดา"

บัดนี้ใกล้สิ้นชื่อ

สิ้นนับถือผู้รักษา

ใกล้ผ่านกาลเวลา

"ดับอรุณ" สุโขทัย

"มังคละมรดกโลก"

จะสู่โศกนิมิตหมาย

"กู้เก่ากลับคืนกลาย"

คือ "หน้าที่พิทักษ์ธรรม"

"คุ้งตะเภาเภรี"

บรรเลงศรีคู่สยาม

ดํบงดํกลองตาม

คือสายธารเชิดชูไทย

ชีวิตนี้น้อยนัก

พึงพิทักษ์เชิดชูไว้

มังคละสิ้นเมื่อใด

สิ้นหายใจ "จิตวิญญาณ์"

วานท่านขอวานเถิด

สิ่งประเสริฐจงรักษา

มังคละคืออัชฌา

คือ "ปัญญาแห่งผองชน"ฯ

(เทวประภาส)

๑๒ พ.ค. ๕๘

    • วัดคุ้งตะเภา จัดพิธีไหว้ครูและครอบครูจัดตั้งชมรมกลองยาวมังคละเภรีศรีกัมโพชนคร

    • วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ (ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘) วัดคุ้งตะเภา โดยพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ประธานศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี จัด พิธีไหว้ครูและครอบครูดนตรีพื้นบ้านมังคละสวางคบุรี วงมังคละเหนือสุดของอาณาจักรสยาม พิธีครอบครูเต็มสูตร ตามแบบฉบับโบราณเมืองฝางสวางคบุรี ณ บ้านมังคละ ๗๐๐ ปี ปู่ประชุม วงพิณิต ผู้สืบวิชามังคละคนสุดท้ายของเมืองสวางคบุรี บ้านพระฝาง ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเสริมสร้างสิริมงคลและขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์มังคละเภรีศรีสวางคบุรี เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านอุตรดิตถ์ที่ หาชมได้ยากยิ่งให้คงอยู่สืบต่อไป โดยในวันนี้ เป็นคณะเยาวชนยุวะมังคละ ซึ่งได้ริเริ่มจัดตั้งชมรมกลองยาวมังคละเภรีศรีกัมโพชนคร เพื่อฟื้นลมหายใจแห่งมังคละเมืองทุ่งยั้ง โดยกลุ่มเยาวชนจากบ้านตาล หมู่ ๔ ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ นำโดยนายจีรวัฒน์ น้อยทิม ประธานกลุ่มฯ จากนั้นจึงได้นำคณะไปดำบงสมโภช ภายในพระวิหารหลวงวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ เป็นการสมโภชมังคละครบสำรับ เป็นครั้งแรกในรอบนับร้อย ๆ ปีโดยมีช่อง ททบ.๕ มาถ่ายทำบันทึกเทปและสัมภาษณ์กิจกรรมในวันนี้ด้วย

  • พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ประธานศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี เชิญอาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ นักวิชาการประวัติศาสตร์สุโขทัย และอาจารย์เคียง ชำนิ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยและปี่กลองมังคละจากสุโขทัย เดินทางมายังเมืองท่าเหนืออุตรดิตถ์ เพื่อพิสูจน์สมมุติฐานสำคัญคือ ชุมชนสำเนียงสุโขทัยรอบพระบรมธาตุพระฝาง และพระบรมธาตุทุ่งยั้งโบราณสมัยสุโขทัย ต้องมีการละเล่นมังคละเภรี ดนตรีพุทธบูชาหลงเหลืออยู่ จากการที่พระมหากษัตริย์สุโขทัยถวายข้าพระโยมสงฆ์ไว้ประโคมพระบรมธาตุ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่โบราณนับ ๖๐๐ ปี ดังปรากฎหลักฐานธรรมเนียมดังกล่าวในจารึกวัดช้างล้อม โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ได้ตั้งสมมุติฐานใน ๒ ชุมชนหลัก คือ ชุมชนฝั่งขวาแม่น้ำน่าน เมืองทุ่งยั้ง ปรากฎในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๓๘ ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๗ คำว่า บ้านไผ่ล้อม ปรากฎในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๔๙ หรือจารึกวัดสรศักดิ์ ด้านแรก บรรทัดที่ ๒๘ และฝั่งซ้ายแม่น้ำน่าน เมืองฝาง

  • ปรากฎในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๓ ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๕๐ และศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑๑ ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๔ ผลการสัมภาษณ์ในวันนี้ พบว่า อุตรดิตถ์ตอนบนแม่น้ำน่านฝั่งขวา ในชุมชนทุ่งยั้งเมืองโบราณที่ยังมีผู้คนใช้สำเนียงสุโขทัย มีวงมังคละโบราณ ๒ วง และแม่น้ำน่านฝั่งซ้ายชุมชนสำเนียงสุโขทัยโบราณ มีวงมังคละ ๔ วง เพิ่มเติม จากการค้นพบครูมังคละคนสุดท้ายแห่งบ้านพระฝางเมื่อปี ๒๕๕๓ (ปู่ประชุม วงพิณิต อายุ ๗๒ ปี ยังมีชีวิตอยู่) คือ วงบ้านคุ้งตะเภา (สูญวงแล้ว) วงบ้านหมอนไม้ (เหลือผู้สืบเพียงคนเดียว คือ ปู่สำอางค์ ทองเปรม อายุ ๘๓ ยังมีชีวิตอยู่) วงบ้านบุ่งวังงิ้ว (สูญวงแล้ว) และวงบ้านหาดกรวด (สูญวงแล้ว) ซึ่งเป็นชุมชนสำเนียงสุโขทัยเดิมทั้งสิ้น จากการสอบถามอายุของผู้สืบทอดคนสุดท้าย พบว่า ปี่กลองมังคละ ในวงทุ่งยั้งโบราณ สามารถสืบค้นยืนยันไปได้ชัดเจน ว่ามีการละเล่นมังคละมาแล้วมากกว่า ๑๑๙ ปี ตามลำดับ เป็นอย่างน้อยที่สุดจากการสัมภาษณ์ โดยไม่มีการละเล่นครบวงอีกแล้ว มามากกว่า ๖๐ ปี ทุกวง นอกจากนี้ ยังพบว่า

  • วงปี่กลองมังคละที่ทุ่งยั้ง ได้ยุติการละเล่นไปเมื่อ ๗๐ ปีที่ผ่านมา ทั้ง ๒ วง และทุ่งยั้ง ไม่เหลือผู้สืบทอด ในขณะที่แม่น้ำน่านฝั่งซ้าย เหลือผู้สืบคือ ปู่ประชุม วงพิณิต อายุ ๗๒ ปี และปู่สำอางค์ ทองเปรม อายุ ๘๓ ปี แห่งบ้านหมอนไม้ เพียง ๒ คน เท่านั้น โดยหน้าไม้กลองมังคละที่สืบได้ มีทั้งหมด ๙ ไม้โบราณ ข้อค้นพบดังกล่าว ยืนยันได้ชัดเจนว่าดนตรีพื้นบ้านมังคละ เป็นวัฒนธรรมโบราณร่วมกัน ของบ้านเมืองในแว่นแคว้นอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งยังคงสืบทอดยาวนานมาจนปัจจุบัน แต่ใกล้จะสูญสิ้นในระยะเวลาอันใกล้ หากไม่มีผู้สืบสานต่อไปสู่คนรุ่นหลัง (สัมภาษณ์ปู่สุข มั่นแย้ม อายุ ๗๗ ปี ผู้ทันพบเห็นวงมังคละผู้ใหญ่ใยบ้านเกาะตาเพชร และ snowball sampling จนค้นพบนายสาย เพ็งวัน อายุ ๗๙ ปี ผู้ทันพบเห็นวงมังคละบ้านเนินซ่าน และสัมภาษณ์ปู่สำอางค์ ทองเปรม ปี่กลองมังคละสุดท้ายของบ้านหมอนไม้)

  • คลิกเพื่อชมภาพ

  • ชมคลิป สัมภาษณ์ ปู่สาย เพ็งวัน ผู้ยืนยันการมีอยู่จริงของมังคละกัมโพชนคร

      • ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘ ค้นพบตำนานดนตรีโบราณที่สาบสูญจากเมืองทุ่งยั้ง

  • จากการติดตามของนายจีรวัฒน์ น้อยทิม ยุวชนยุวะมังคละคนทุ่งยั้ง เครือข่ายอาสาสืบของศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี ได้ ค้นพบ ปู่สุข มั่นแย้ม อายุ ๗๗ ปี (เกิด ๑๖ ก.ค. ๒๔๘๑) บ้านเลขที่ ๑๓/๑ (บ้านตาล) หมู่ที่ ๔ ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ตาของท่านเป็นมือกรับในวงมังคละโบราณวงสุดท้ายของเมืองทุ่งยั้ง เล่าให้ฟังถึงการพบเห็นการละเล่นมังคละทุ่งยั้ง ครั้งสุดท้าย เมื่อ ๗๐ ปี ที่ผ่านมา และนี่เป็นครั้งแรกที่มีผู้ถามถึงมังคละเมืองทุ่งยั้ง มังคละโบราณ ที่เกือบสูญหายไปจากความทรงจำของผู้คน ขอบคุณคุณปู่ที่ยังจดจำภาพความงดงามของมังคละเภรี ดนตรีบรรพชนทุ่งยั้ง ดนตรีศรีพระพุทธศาสนาเอาไว้ได้/ พระบรมธาตุเจดีย์ แห่งเมืองทุ่งยั้ง อันสถาปนาในสมัยสุโขทัย มีมังคละเภรีอันกษัตริย์สุโขทัยถวายเป็นพุทธบูชาอยู่ แต่มังคละทุ่งยั้งนี้ ขาดผู้สืบทอด และหายจากการรับรู้ของชาวทุ่งยั้งไปเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ การหายไปของมังคละ คือช่องว่างของหลักฐานยืนยันถึงความเก่าแก่และสืบต่อของบรรพชนคนทุ่งยั้ง-ไผ่ล้อม ที่มีสำเนียงพูดแบบเดียวกับคนสุโขทัยมาแต่โบราณ ดังนั้นการสืบค้นการมีอยู่ของมังคละทุ่งยั้ง คือการรื้อฟื้นยืนยันถึงวิถีบรรพชนคนทุ่งยั้งโบราณ (สัมภาษณ์ปู่สุข มั่นแย้ม อายุ ๗๗ ปี) ชมคลิป

ภาพตาจันทร์ ปี่หวาน คนสุดท้ายที่เป่าปี่มังคละเภรีทุ่งยั้ง

จากคำให้สัมภาษณ์ของตาสุข มั่นแย้ม อายุ ๗๗ ปี ขอบคุณภาพและข้อมูลจากจีรวัฒน์ น้อยทิม

  • ๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ วัดคุ้งตะเภา จัดทำแผนที่ภูมิศาสตร์การค้นพบปี่กลองมังคละสวางคบุรีโบราณ (คลิกเพื่อดาวโหลด)

  • แผนที่นี้ พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ประธานศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี จัดทำเมื่อ ๘ มิ.ย. ๕๘ เพื่อความเข้าใจเบื้องต้น ถึงความสัมพันธ์ทางอัตลักษณ์วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านของเมืองท่าเหนือ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากมีการค้นพบพยานบุคคล พยานหลักฐาน หรือพยานวัตถุเพิ่มเติม จากสภาพภูมิศาสตร์การค้นพบปี่กลองมังคละโบราณ จากเมืองฝาง (ปู่ประชุม วงพิณิต อายุ ๗๒ ปี อ.สมชาย เดือนเพ็ญ ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓) บ้านหมอนไม้ (ปู่สำอางค์ ทองเปรม อายุ ๘๓ ปี ค้นพบ ๘ มิ.ย. ๕๘) และบ้านบุ่งวังงิ้ว บ้านหาดกรวด (ตามคำสัมภาษณ์ปู่สำอางค์) และมังคละบ้านคุ้งตะเภา (จากการค้นพบกลองยืนโบราณในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ๘ มิ.ย. ๕๘) ชุมชนที่มีมังคละเหล่านี้ ล้วนอยู่ในปริมณฑลเมืองสวางคบุรีมาแต่โบราณทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำน่าน และเป็นชุมชนไทยที่มีสำเนียงสุโขทัยโบราณทั้งสิ้น โดยชุมชนหาดกรวด เป็นที่ตั้งของวัดวังหมู และวัดพระฝางสวางคบุรี ปรากฏหลักฐานการตั้งวัดพร้อมกันในปี พ.ศ. ๑๗๐๐ เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และเป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่สุด ๑ ใน ๒ แห่ง ของเมืองอุตรดิตถ์ ส่วนวัดคุ้งตะเภา ปรากฏหลักฐานการตั้งวัดในปี พ.ศ. ๒๓๑๓ เมื่อปีที่พระเจ้าตากสินมาปราบชุมนุมพระฝางและสถาปนาวัดคุ้งตะเภาขึ้น สำหรับวัดหมอนไม้ ปรากฏหลักฐานการตั้งวัดในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ วัดบุ่งวังงิ้ว ตั้งวัดในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ตามลำดับ

    • ๘ มิ.ย. ๒๕๕๘ ค้นพบปี่กลองมังคละคนสุดท้ายแห่งบ้านหมอนไม้ (ปู่สำอางค์ ทองเปรม อายุ ๘๓ ปี)

  • วัดคุ้งตะเภา โดยพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ประธานศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี ค้นพบปู่สำอางค์ ทองเปรม อายุ ๘๓ ปี ปราชญ์ด้านดนตรีไทย ซึ่งได้ให้ข้อมูลว่ารับสืบมังคละมาจากบ้านหมอนไม้ดั้งเดิม โดยระบุว่ามีวงมังคละบ้านบุ่งวังงิ้ว และบ้านหาดกรวด (ตามคำสัมภาษณ์ปู่สำอางค์) ชุมชนที่มีมังคละเหล่านี้ ล้วนอยู่ในปริมณฑลเมืองสวางคบุรีมาแต่โบราณทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำน่าน และเป็นชุมชนไทยที่มีสำเนียงสุโขทัยโบราณทั้งสิ้น ซึ่งถือเป็นการค้นพบมังคละคนที่ ๒ ที่ยังเหลืออยู่ของเมืองท่าเหนือ "สมัยก่อนไม่มีอะไรก็เล่นปี่กลองมังคละ" (สัมภาษณ์ปู่สำอางค์ อายุ ๘๓ ปี) ชมคลิป

  • ชมคลิป สัมภาษณ์ปู่สำอางค์ ทองเปรม ปี่กลองมังคละสุดท้ายของบ้านหมอนไม้

    • ๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ วัดคุ้งตะเภา ค้นพบกลองมังคละคุ้งตะเภา

    • ค้นพบ "กลองยืนมังคละ" ที่ชาวบ้านคุ้งตะเภาถวายเข้าพิพิธภัณฑ์มานานแล้ว ผู้ดูแลไม่ทราบมานานว่าเป็นกลองชนิดใด จนเมื่อทางวัด หันมาสนใจอนุรักษ์มังคละเมืองสวางคบุรี จึงเกิดการเปรียบเทียบระหว่างกลองที่พบเมืองพระฝาง กับกลองในพิพิธภัณฑ์วัดคุ้งตะเภา เพื่อตรวจสอบข้อสันนิษฐาน โดยพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ประธานศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี จึงนำไปสอบถามปู่สำอางค์ ทองเปรม ปราชญ์พื้นบ้านด้านดนตรีไทยแห่งเมืองอุตรดิตถ์ ท่านยืนยันชัดเจนหนักแน่นว่า กลองในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภาใบนี้ คือ "กลองยืน" ในวงปี่กลองมังคละโบราณ ชัดเจน กลองหลอน กลองยืน รูปแบบกลองสองหน้า อันเป็นเอกลักษณ์จำเพาะของวงมังคละเท่านั้น ที่ไม่พบในวงดนตรีไทยกระแสหลักอื่น ๆ ในประเทศไทย จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน พบว่า เดิมบ้านคุ้งตะเภาก็เล่นกลองหลอนยืนมาช้านาน ในการละเล่นต่าง ๆ ซึ่งจากหลักฐานบอกเล่า และกลองยืนที่ยังเหลืออยู่ใบสุดท้ายนี้ เท่านี้ก็เพียงพอที่จะสันนิษฐานได้ว่า บ้านคุ้งตะเภา ก็มีปี่กลองมังคละเล่นมาช้านาน แต่สูญขาดผู้สืบทอดไปในช่วงไม่เกิน ๑๐๐ ปี มานี้ ปี่กลองมังคละ ดนตรีพุทธบูชาโบราณที่สืบมาตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย และสำเนียงสุโขทัยของชาวบ้านคุ้งตะเภา เป็นประจักษ์พยานสำคัญ ที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมอันเป็นมรดกโลก และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนคุ้งตะเภามาช้านาน ชมคลิป

  • วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๕๘ วัดคุ้งตะเภา โดยพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ประธานศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี พาคณะกลองยาวยุวชน ไผ่ล้อมบ้านตาลทุ่งยั้ง หมอปี่จีรวัฒน์ น้อยทิม (อายุ ๑๘ ปี) และยุวมังคละอาสา เยาวชนใฝ่ดี ทั้ง ๘ คน มากราบและฝึกวิชามังคละเภรี สายปู่ประชุม วงพิณิต ปราชญ์มังคละเภรีคนสุดท้ายแห่งสวางคบุรี ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งวัน ก็สามารถจดจำไม้ประโคมสมโภชได้ จึงประกอบกุศลจิต น้อมใจ พากันมากราบพระบรมธาตุพระฝาง พุทธปูชนียสถานสำคัญของอาณาจักรสยาม ที่เคยได้รับนับถือเทียบเท่ากับรอยพระพุทธบาทสระบุรี และพระธาตุหริภุญชัย มาแต่โบราณกาล พร้อมประโคมนวภัณฑ์ครบวงมังคละเภรีสมโภชดํบงดํกลองถวายพระทันตธาตุ เป็นครั้งแรกหลังจากมังคละเงียบเสียงสนิทไปเมื่อนานมาแล้ว ในวันนั้น เสียงแห่งมังคละอันประกอบครบทั้งนวภัณฑ์ มีปี่เป็นต้น ได้ดังประโคมสมโภชพระบรมธาตุพระฝาง ปูชนียสถานที่ถูกลืม เป็นครั้งแรกในรอบนับร้อย ๆ ปี ชมคลิป

    • วัดคุ้งตะเภา จัดพิธีไหว้ครูและครอบรับครูดนตรีพื้นบ้านมังคละสวางคบุรี รุ่นที่ ๑

    • วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ (ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๗) วัดคุ้งตะเภา จัด พิธีไหว้ครูและครอบครูดนตรีพื้นบ้านมังคละสวางคบุรี วงมังคละเหนือสุดของอาณาจักรสยาม พิธีครอบครูเต็มสูตรครั้งแรกในรอบ ๕๐ ปี ตามแบบฉบับโบราณเมืองฝางสวางคบุรี ณ บ้านมังคละ ๗๐๐ ปี ปู่ประชุม วงพิณิต ผู้สืบวิชามังคละคนสุดท้ายของเมืองสวางคบุรี บ้านพระฝาง ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเสริมสร้างสิริมงคลและขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์มังคละเภรีศรีสวาง คบุรี เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านอุตรดิตถ์ที่ หาชมได้ยากยิ่งให้คงอยู่สืบต่อไป

    • ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ วัดคุ้งตะเภา ได้รับชุดมังคละครบชุด

    • วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ คณะวัดคุ้งตะเภา นำโดย พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ ได้เดินทางไปรับมังคละเภรี ณ บ้านครูสมชัย บุญญา ซึ่งเป็นปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นคนเดียวในจังหวัดสุโขทัย ที่สามารถขึ้นกลองมังคละเภรีได้ โดยเครื่องดนตรีในวงมังคละ มหามงคลดนตรี เบญจดุริยางค์แท้ ๙ ประการ เครื่องมังคละครบสำรับ จากครูวันชัย บุญญา เมืองสวรรคโลก ที่วัดคุ้งตะเภาจัดซื้อ เพื่อตั้งวงมังคละเภรีศรีสว่างคบุรี วงสุดท้ายเหนือสุดของลุ่มแม่น้ำน่าน

    • ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ วัดคุ้งตะเภา ตัดสินใจรับสืบทอดวิชามังคละเภรีศรีสวางบุรี

    • วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๘ พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา จึงนำกราบเรียน พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา เพื่อทราบ ซึ่งได้มีความเห็นให้ควรสนับสนุนการสืบทอดภูมิปัญญามังคละเภรี ให้คงอยู่ต่อไป และเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อชุมชน และให้องค์ความรู้สืบทอดโดยไม่ขาดสาย จึงได้ดำริให้ อาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ นักวิชาการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประสานกับ ครูสมชัย บุญญา เจ้าของวงปี่พาทย์มังคละเภรี เอกชัย บุญญา บ้านคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เพื่อสั่งทำชุดเครื่องดนตรีมังคละครบสำรับ ภายใต้งบประมาณของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในโครงการเสริมพลังเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาเพื่อสังคมควบคุมปัจจัยเสี่ยง ประจำปี ๒๕๕๘ เพื่อมีเครื่องมือสำหรับฝึกและสืบทอดวิชามังคละเมืองสวางคบุรีไม่ให้สูญสิ้น ซึ่งครูสมชัย บุญญา เป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับ พระครูสุมณฑ์ธรรมธาดา เครือข่ายองค์กรงดเหล้า จ.สุโขทัย เจ้าอาวาสวัดคลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ซึ่งที่วัดคลองกระจงมีการจัดตั้งวงดนตรีในวัด เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เช่นเดียวกัน

    • ๑๘ เมษายน ๒๕๕๘ วัดคุ้งตะเภา ลงพื้นที่สำรวจมังคละคนสุดท้ายของเมืองสวางคบุรี

    • วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๘ วัดคุ้งตะเภา โดยพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ได้รับการประสานจากอาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ รองปลัดเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย นักวิชาการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านชาติพันธ์และการใช้ภาษาถิ่นสุโขทัย เพื่อลงพื้นที่ในชุมชนบ้านวัดคุ้งตะเภา ในวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๘ อาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ ได้พาคณะดูงานวัดคุ้งตะเภา ไปพบปู่ประชุม วงพินิต อายุ ๗๒ ปี (เกิดปีมะแม พ.ศ. ๒๔๘๖) ผู้สืบทอดมังคละเภรีเมืองฝาง ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ชุมชนที่ใช้ภาษาถิ่นสุโขทัย ที่มีประวัติตามศิลาจารึก เหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตสุโขทัย ที่มีประวัติสืบมาแน่ชัดกว่า ๗๐๐ ปี เป็นครั้งแรก และพบว่าไม่มีผู้สนใจสืบต่อวิชามังคละเภรีสวางคบุรี ชมคลิป