กฎระเบียบและข้อวัตรปฏิบัติ ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ (วัดคุ้งตะเภา)

ประวัติหลวงพ่อ

(พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ)

ข้อวัตรปฏิบัติและหลักการ

ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓

(วัดคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์)

๑. จะต้องอดทนข่มอินทรีย์อย่างยิ่ง

๒. จะต้องไม่ตกเป็นทาสของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสใดๆ ทั้งสิ้น

๓. จะต้องสำรวมกาย วาจา ใจ ไม่ให้ฟุ้งซ่าน

๔. จะต้องไม่หลงใหลในวัตถุอันเป็นเหตุตัณหากามคุณ

๕. จะต้องถือสันโดษไม่หลงอำนาจ ลาภ ยศ สิ่งสักการบูชา

๖. จะต้องไม่หลงระเริงยึดติดอยู่กับการยกย่องสรรเสริญ

๗. จะต้องพิจารณาตนไม่ประพฤติให้เกิดความเสื่อมเสียเป็นอันขาด

๘. จะต้องพิจารณาโดยแยบคายก่อนแล้วบริโภคปัจจัยสี่

๙. จะต้องพิจารณาเห็นความไม่งามและโทษภัยของร่างกาย

๑๐. จะต้องเห็นโทษภัยของตัณหากามคุณกิเลสเป็นภัยอันใหญ่หลวง

๑๑. จะต้องพิจารณาให้เห็นชีวิตนี้ถูกไฟเผาไหม้อยู่ตลอดเวลา

๑๒. จะต้องพิจารณาให้เห็นความตายอยู่แค่ปลายจมูก

๑๓. จะต้องมองเห็นเกียรติยศชื่อเสียงเหมือนเสี้ยนหนาม

๑๔. จะต้องมองเห็นเกียรติยศชื่อเสียงคือภัยทำลายความสงบสุข

๑๕. จะต้องมองเห็นลากสักการะเหมือนกองอุจจาระ

๑๖. จะต้องมองเห็นทรัพย์สมบัติใดๆ ในโลกเป็นเพียงภาพลวงตา

๑๗. จะต้องมองเห็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดของโลกคือความเป็นอนิจจัง

๑๘. จะต้องมองเห็นมรดกอันยิ่งใหญ่ของโลกคือความว่างเปล่า

๑๙. จะต้องสงบนิ่งและเรียบง่ายที่สุด

๒๐. จะต้องทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสอยู่เสมอ

๒๑. จะต้องพิจารณามรณานุสติ (นึกถึงความตาย) เป็นอารมณ์

๒๒. จะต้องมองชีวิตและโลกเป็นของว่าง

๒๓. จะต้องมีเมตตาธรรม เสียสละเพื่อประโยชน์สุขเกื้อกูลแก่ชนทั้งหลาย

กฎระเบียบและข้อวัตรปฏิบัติ

ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓

(วัดคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์)

๑.) ไม่สูบบุหรี่ กินหมาก ของมึนเมาให้โทษทุกชนิด

๒.) ไม่เล่นของขลัง แร่ เหรียญ ปลุกเสก พิธีรีตองต่าง ๆ

๓.) ไม่มัวเมาในโลกธรรม ๘ ติดวัตถุ คน สัตว์ สังขาร อามิส ปัจจัย

๔.) มีสังวร ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องกำกับประดับตน

๕.) มีสารธรรม ๕ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอาภรณ์ของกายใจ

๖.) เจริญสมถะ วิปัสสนา มีสติทุกอิริยาบท น้อยใหญ่

๗.) ต้องละพยศ ลดตำแหน่ง เลิกแข่งดี ไม่มีทิฏฐิ มายา

๘.) เว้นสุรา อิตถียา เงินตรา มิจฉาชีพ ไม่ควรแตะต้องและเข้าใกล้อย่างเด็ดขาดเป็นเยี่ยม

๙.) เสพอยู่ซึ่งศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ปฏิภาณ หิริ โอตัปปะ

๑๐.) ไม่ชวนทะเลาะก่อวิวาท ประมาท เกียจคร้าน เห็นแก่กินนอน โอ้อวด มากแต่พูด

๑๑.) ใช้ของที่มีอยู่ในวัด จงรู้จักเก็บรักษา ทำความสะอาด ฉลาดอยู่กับหมู่คณะ สละอารมณ์ บ้า ๆ บอ ๆ จากจิตใจ ละพิษโลเลทางกามคุณออกเสีย

๑๒.) อยู่ด้วยพรหมวิการธรรม ๔ อย่าง สุญญตา อริยา พรหม อนุบุพพวิหาร ไม่พึงว่างจากธรรมเหล่านี้ แม้แต่วินาทีเดียว

๑๓.) เคารพกฎระเบียบยึดธรรมวินัย เป็นทางเดินของชีวิตประจำวันตลอดไป