ยานพาหนะโบราณ : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภาออนไลน์

ยานพาหนะโบราณในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา

ยานพาหนะโบราณที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา เช่น เกวียนเทียมวัวและควาย, เรือสำเภาจำลอง, ใบพายเรือ และจักรยานโบราณ เป็นต้น

เกวียน

จำ​​​​​​​นวน​​​​​​​ผู้​​​​​​​เข้า​​​​​​​เยี่ยมชม

(เกวียนแบบลำปาง แบบที่ใช้ทั่วไปในแถบหัวเมืองล้านนา)

เกวียน (ฮินดี : थाई भैंस टोकरी, อังกฤษ : Thai Buffalo Cart) เกวียนคือยานพาหนะของคนโบราณ มนุษย์รู้จักใช้เกวียนเป็นยานพาหนะในการเดินทาง และบรรทุกสินค้ามานานนับพันปี ปรากฏหลักฐานการเกิดขึ้นของเกวียนครั้งแรกในคัมภีร์ฤคเวทของอินเดียเมื่อ กว่า ๔,๐๐๐ ปี ก่อน สันนิษฐานว่าประเทศไทยรับคติการใช้เวียนมาจากอินเดียเมื่อกว่า ๓,๐๐๐ ปีก่อน

รูป แบบเกวียนในแต่ละประเทศ และในแต่ละท้องที่มีลักษณะที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศเป็น สำคัญ เกวียนในประเทศไทยปัจจุบันมีอยู่ ๒ ประเภท คือเกวียนเทียมวัวและเกวียนเทียมควาย

หมู่ บ้านคุ้งตะเภาสมัยโบราณมีเกวียนทั้งสองชนิดใช้ และมีเกวียนรูปแบบภาคกลางและภาคเหนือ (ระแทะ/กะแซะ) ใช้ เนื่องจากเคยเป็นทางผ่านชุมทางค้าขายสำคัญระหว่างอาณาจักรอยุธยากับอาณาจักร ล้านนาและล้านช้างมาตั้งแต่สมัยโบราณ

เรือสำเภาจำลอง

ตั้งแต่​​​​ :: ​​​​๒๕๕๐

เรือแข่งขุดไม้ตะเคียนทั้งต้น

เรือขุดไม้ตะเคียนโบราณ

เรือขุดไม้ตะเคียนโบราณวัดคุ้งตะเภา เป็นเรือที่ขุดจากต้นไม้ตะเคียนทั้งต้น เรียกว่า เรือพายม้า หรือ ไพม้า มีกงตั้งและเสริมกราบ มีหูกระต่าย ทั้งหัวและท้ายเรือ สามารถกลับข้างใดข้างหนึ่งให้เป็นหัวหรือท้ายได้ทันที ทำให้เคลื่อนที่ได้โดยใช้พายหรือแจวความเป็นมา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงนิพนธ์ว่า เรือขุดขนาดเล็กแบบนี้มีรูปร่างเหมือนกับเรื่อที่พบเห็นในเมืองพม่าจึงทรงสันนิษฐานว่า เรือพายม้าคงได้รับแบบอย่างจากพม่า และชื่อเรียกพายม้านั้น คงเพี้ยนมาจากชื่อเรียกเดิมคือเรือพม่าประโยชน์เรือพายม้า คือใช้บรรทุกสินค้า ผลผลิตการเกษตรจำนวนไม่มากนัก รวมทั้งบรรทุกคนโดยสารและใช้งานอื่น ๆ สำหรับในบ้านเรือนได้ ในสมัยโบราณ พื้นที่ที่พบเห็นการใช้เรือพายม้า อยู่ในลุ่มน้ำภาคกลางทั่วไป โดยในจังหวัดอุตรดิตถ์ พบในบริเวณลำน้ำน่าน อายุประมาณ ๑๐๐ – ๑๕๐ ปี ขึ้นไป