สัญลักษณ์ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี

ความภาคภูมิใจของเรา

รางวัลองค์กรเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม

ดีเด่น ๑ ใน ๒ แห่งระดับประเทศ

ประจำปี ๒๕๕๘

ประมวล

องค์ความรู้

"มังคละเภรี"

สัญลักษณ์ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี เป็นภาพลายเส้นกลองมังคละ ฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระองค์ได้ทรงบันทึกไว้ว่าดนตรีชนิดนี้ “เป็นเบญจดุริยางค์แท้” เมื่อครั้งเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ มาเหนือสุดยังเมืองสวางคบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และพระองค์ได้ทรงร่างภาพลายเส้นมังคละนี้ไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง “จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก” ด้วย

สื่อเผยแพร่ของศูนย์ฯ

รวมบทความมังคละ

ทำให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากครูมังคละ ด้วยการถวายพระนาม “พระบิดาแห่งมังคละเภรี” เพื่อเป็นนิมิตหมายของดนตรีมังคละ วัดคุ้งตะเภาจึงอัญเชิญภาพลายเส้นนี้ มาเป็นสัญลักษณ์ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี เพื่อเตือนให้อนุชนรุ่นหลังได้ภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ อันเป็นส่วนหนึ่งของการธำรงอัตลักษณ์ท้องถิ่น ที่บรรพชนได้จดจำและส่งต่อ ผ่านดนตรีมังคละ อันเป็นแก่นรากเหง้าของวิถีชีวิต ที่จะสร้างตัวตนให้ชาวอุตรดิตถ์ มีศักดิ์ศรี มีเกียรติยศ มีความภาคภูมิใจ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการสร้างสรรค์ความดีงาม และเป็นเสมือนเกราะปกป้องผู้รักษาสืบทอด ให้หลีกออกจากความเลวร้ายทั้งปวง

"ดนตรีในตำนาน

แห่งสวางคบุรี"

มังคละหลากลีลา

อารยะศาสตร์และศิลป์

เล่าขานตำนานถิ่น

รุ่นสู่รุ่น "มังคละ"

สืบสาน "น่านวารินทร์"

คู่แผ่นดินแห่ง "เมืองฝาง"

เคียงคู่สู่เมืองงาม

"มหาธาตุพระศาสดา"

บัดนี้ใกล้สิ้นชื่อ

สิ้นนับถือผู้รักษา

ใกล้ผ่านกาลเวลา

"ดับอรุณ" สุโขทัย

"มังคละมรดกโลก"

จะสู่โศกนิมิตหมาย

"กู้เก่ากลับคืนกลาย"

คือ "หน้าที่พิทักษ์ธรรม"

"คุ้งตะเภาเภรี"

บรรเลงศรีคู่สยาม

ดํบงดํกลองตาม

คือสายธารเชิดชูไทย

ชีวิตนี้น้อยนัก

พึงพิทักษ์เชิดชูไว้

มังคละสิ้นเมื่อใด

สิ้นหายใจ "จิตวิญญาณ์"

วานท่านขอวานเถิด

สิ่งประเสริฐจงรักษา

มังคละคืออัชฌา

คือ "ปัญญาแห่งผองชน"ฯ

(เทวประภาส)

๑๒ พ.ค. ๕๘