- พระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระสังฆนายกแห่งสหภาพพม่า

พระบรมสารีริกธาตุจากพระสังฆราชพม่า

สถิตย์ ณ วัดคุ้งตะเภา จังหวัดอุตรดิตถ์

วัดคุ้งตะเภามีพระบรมสารีริกธาตุ (ธาตุอัฐิหรือกระดูกของพระพุทธเจ้า) ซึ่งได้รับมอบมาจากหลายแห่ง แต่ที่สำคัญและมีประวัติความเป็นมาที่เชื่อถือได้ในทางประวัติศาสตร์พระพุทธ ศาสนา คือพระบรมสารีริกธาตุส่วนวิปปกิณณาธาตุ ที่ได้รับประทานมาจาก สมเด็จพระสังฆนายกแห่งสหภาพพม่า (พระสังฆราชพม่า)

พระ บรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระมหาสังฆนายกพม่า ที่ประดิษฐานในวัดคุ้งตะเภานี้ เป็นพระบรมสารีริกธาตุส่วนวิปปกิณณาธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้มาจากการบูรณะและค้นพบพระสถูปพระบรมธาตุโบราณอายุกว่าพันปีของ กษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกามในเมืองพุกาม (ပုဂံခေတ်) ในประเทศพม่า (พ.ศ. ๑๕๘๗- พ.ศ. ๑๘๓๐) ที่เคยรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ เมื่อกว่า ๑,๒๐๐ ปีที่แล้ว เมื่อครั้ง ฯพณฯ อูนุ นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศพม่า จัดให้มีการบูรณะพุทธสถานโบราณในพุกามเพื่อเตรียมการฉลองกึ่งพุทธกาลในช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐

ฯพณฯ อูนุ (ဦးနု)

นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศพม่า

ประวัติความเป็นมา

พระ บรมสารีริกธาตุส่วนนี้เป็นส่วนวิปปกิณณาธาตุของพระพุทธเจ้า มีประวัติความเป็นมาและตำนานจารึกกำกับพระบรมสารีริกธาตุสืบทอดมากว่าพันปี นับแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นพระบรมสารีริกธาตุส่วนวิปปกิณณาธาตุ ซึ่งเป็นของเดิมที่ได้มาแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณฑูตมาเจริญพระศาสนายังเมืองสุธรรมวดี (หรือเมืองสะเทิม) เมื่อกว่า ๒๓๐๐ ปีก่อน

ใน ปี พ.ศ. ๑๕๘๗ พระเจ้าอโนรธา สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และทรงควบคุมเมืองสุธรรมวดีไว้ในอำนาจเมื่อปี พ.ศ. ๑๖๐๐ พระเจ้าอโนรธาจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระไตรปิฎก และพระเถระผู้เชี่ยวชาญในพระธรรมวินัยจากเมืองสุธรรมวดี มาเผยแผ่ในอาณาจักรพุกาม พระมหากษัตริย์แห่งพุกามจึงทรงมีพระบัญชาให้ก่อสร้างองค์พระมหาเจดีย์บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุไว้จำนวนมาก เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและประกาศความเป็นปึกแผ่นของแผ่นดินและความเจริญ รุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในอาณาจักรพุกาม

มหาทะเลเจดีย์ที่เมืองพุกาม

ต่อมาในรัชสมัยของ พระเจ้านราธิหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๗๗๘ – ๑๘๓๐) เมืองพุกามเสียให้แก่ราชวงศ์หยวนของจีน พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุในเมืองพุกามก็ถูกทิ้งร้างปรักหักพังจำนวนมาก ต่อมาหลังจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศพม่าล่มสลายและตกเป็นเมือง ขึ้นของอังกฤษ และได้รับเอกราชในเวลาต่อมา รัฐบาลพม่าจึงริเริ่มการบูรณะพุทธสถานในเมืองโบราณพุกาม

รัฐบาลพม่าค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ รัฐบาลพม่าโดยการนำของ ฯพณฯ อูนุ (ဦးနု) นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศพม่า ได้เตรียมการเฉลิมฉลองประเทศหลังได้รับเอกราช และ เตรียมการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ หรือกึ่งพุทธกาล ที่จะมาถึงในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงได้มีโครงการเข้าไปบูรณะพระเจดีย์บางส่วนในเมืองพุกาม และได้พบองค์พระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในพระสถูปโบราณอายุกว่าพันปี

ฯพณฯ อูนุ นายกรัฐมนตรีคนแรกของสหภาพพม่า (ผู้เชิญพระบรมสารีริกธาตุ)

ผู้ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุโบราณในเจดีย์เมืองพุกาม

ซึ่งต่อมาพระบรมธาตุส่วนหนึ่งได้รับอัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ ณ วัดคุ้งตะเภา

การค้นพบพระบรมสารีริกธาตุส่วนวิปปกิณณาธาตุ ซึ่งเป็นพระบรมธาตุของโบราณดั้งเดิมแท้จริงในครั้งนั้น เป็นนิมิตหมายและเหตุการณ์สำคัญของประเทศพม่า ก่อนการจัดทำฉัฏฐสังคีติ หรือ The World Tipitaka Council B.E. 2500 ที่ถ้ำสัตบรรณคูหาจำลอง เมืองย่างกุ้ง รัฐบาลพม่าจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ค้นพบ ถวายไว้แก่สมเด็จพระสังฆนายกแห่งประเทศสหภาพพม่า (เซออูตวนมหาเถระ) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาพระพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่า (The Union of Burma Buddha Sāsana Council) เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นของคณะสงฆ์พม่า

การจัดทำฉัฏฐสังคีติ

หรือการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๖ ที่ถ้ำสัตบรรณคูหาจำลอง เมืองย่างกุ้ง ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙

สมเด็จพระสังฆราชพม่าประทานพระบรมสารีริกธาตุแก่คณะสงฆ์ไทย

สมเด็จพระสังฆนายกแห่งสหภาพพม่า เซออูตวนมหาเถระ

ประธานสภาพระพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่า (The Union of Burma Buddha Sāsana Council)

ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อครั้งกระทำฉัฏฐสังคีติการก

ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๒ สมเด็จ พระสังฆนายกแห่งสหภาพพม่า ได้ส่งรองพระสังฆนายกแห่งสหภาพพม่านำคณะสงฆ์พม่าเข้ามาศึกษาดูงานการจัดการ ศึกษาพระอภิธรรมัตถะสังคหะ ตามแบบอย่างในประเทศพม่าในประเทศไทย ที่ พระอาจารย์ภัททันตะโชติกะ ธรรมาจริยะ หรือพระสัทธัมมโชติกะ ธรรมาจริยะ พระอาจารย์พระอภิธรรมชาวพม่า ที่มาริเริ่มจัดการสอนพระอภิธรรมในประเทศไทยที่อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่ง ประเทศไทย อันเป็นสำนักเรียนพระอภิธรรมมัตถสังคหะแห่งแรกในประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครฯ พร้อมทั้งได้มอบหมายให้รองพระสังฆนายกแห่งสหภาพพม่า อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนวิปปกิณณาธาตุดังกล่าวจำนวนหนึ่ง ซึ่งพระองค์ได้แบ่งมาประทานให้แก่คณะสงฆ์ไทยด้วย

รองพระส้งฆนายกพม่า

(ผู้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสังฆราชพม่ามายังประเทศไทย)

ศึกษาดูการจัดการศึกษาอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๒

ในครั้งนั้นรองพระสังฆนายกแห่งสหภาพพม่าเป็นสหธรรมิกกับพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามรูปปัจจุบัน ซึ่งท่านได้อนุโมทนาและได้ประทานพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวให้แก่ท่านเจ้า คุณจำนวนหนึ่งเพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

พระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ วัดคุ้งตะเภา

ต่อมาพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.๙) ได้มอบพระบรมธาตุส่วนหนึ่งให้แก่ พระครูศรีสังวราภิรม (เจนวิทย์ จนฺทวณฺโณ ป.ธ.๖) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระลูกศิษย์ผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด เพื่อ เก็บรักษา จำนวน ๙ องค์ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ท่านพระครูศรีสังวราภิรมจึงได้แบ่งถวายพระบรมสารีริกธาตุส่วนวิปปกิณณาธาตุ ดังกล่าว เพื่อประดิษฐานที่วัดคุ้งตะเภา จำนวน ๓ องค์

ปัจจุบัน พระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๓ องค์นี้ได้ประดิษฐานอยู่ ณ วัดคุ้งตะเภา โดยบรรจุอยู่ในผอบพร้อมด้วยพลอยและอัญมณีเครื่องบูชาพระธาตุต่าง ๆ ในพระบุษบกบรมคันธกุฎีพุทธวิหารบนอาคารมหาศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา และทางวัดคุ้งตะเภาจะอัญเชิญแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองราชคฤห์ดังกล่าว ไปบรรจุในพระมหาธาตุเจดีย์ศรีสุวรรณเภตรา ที่วัดคุ้งตะเภาจักได้จัดสร้างขึ้นในอนาคต เป็นหลักชัยแห่งพระพุทธศาสนาต่อไป

สันฐานพระบรมสารีริกธาตุจากพระสังฆราชพม่า

พระธาตุทั้ง ๓ องค์นี้ เป็นพระบรมสารีริกธาตุ (กระดูกของพระพุทธเจ้า) และมีลักษณะตรงตามพระไตรปิฎกคือ"วิปฺปกิณฺณา ธาตุ" อัน เป็นพระธาตุขนาดเล็ก ประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด ซึ่งมีบันทึกไว้ตั้งแต่ครั้งหลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา ชมพูทวีป โดยเป็นพระบรมธาตุที่โทณพราหมณ์ เป็นผู้จัดสรรให้แก่บรรดาเจ้าผู้ครองนครรัฐ ที่มาร่วมในงานถวายพระเพลิงพระบรมสรีระของพระพุทธเจ้า ณ เมืองกุสินารา และเป็นพระบรมสารีริกธาตุดั้งเดิมส่วนที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงบัญชาให้ขุด จากสถูปเจ้าผู้ครองนครโบราณสมัยพุทธกาล เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานยังแว่นแคว้นต่าง ๆ เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในปี พ.ศ. ๒๓๖

พระธาตุลักษณะนี้ ยังปรากฏในอรรถกถาบาลี มีคำอธิบายว่า "สพฺพขุทฺทกา ธาตุ สาสปวีชมตฺตา" ทางวัดคุ้งตะเภาเคยนำพระบรมธาตุทั้ง ๓ องค์นี้ออกสรงน้ำ ปรากฏว่าพระธาตุทั้ง ๓ องค์ ไม่จมน้ำแต่กลับลอยน้ำ โดยน้ำเป็นแอ่งบุ๋มลงไปรองรับพระบรมสารีริกธาตุไว้ และปรากฏรัศมีของน้ำรอบๆ พระบรมสารีริกธาตุเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ตรงตามคำโบราณาจารย์ที่บอกสืบกันมาทุกประการฯ