แผนผังพื้นที่ พุทธมณฑลอุทยานสังเวชนียสถานสี่ตำบล จังหวัดอุตรดิตถ์

แผนผังพื้นที่ "พุทธมณฑลอุทยานสังเวชนียสถานสี่ตำบล"

วัดคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

ประมวลข้อมูลและ

ความคืบหน้า

"การจัดสร้างฯ"

การชำระหนี้ที่ดินถวายวัด

(กำหนดชำระภายในเดือน พ.ย. ของทุกปี ตั้งแต่ 2559 จนถึง 2563)

ข้อมูล ณ พ.ย. 2563

ชำระหนี้ที่ดินไปแล้ว 5,000,000 บาท

ครบจำนวน

คลิกเพื่อชม

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ต้นไม้และอาคารตามแผนผังได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปบางส่วน

วัดคุ้งตะเภาจึงได้ออกแบบวางแผนผังพื้นที่สวนป่าริมน้ำน่านวัดคุ้งตะเภา ในแปลงใหม่ทั้งหมด

โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นทั้งที่ตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภาส่วนวิปัสสนาธุระ และเป็นแหล่งเรียนรู้พุทธประวัติสำหรับประชาชนและผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไป จึงได้ปรับแผนกำหนดเขตพื้นที่ใช้สอยวางผังใหม่ โดยกำหนดชื่อเรียกตามเขต ที่ใช้แนวคิดสอดคล้องกับสถานที่สำคัญในพระพุทธประวัติในชมพูทวีป และสังเวชนียสถานสำคัญสี่ตำบล ดังนี้

ลุมพินีวันสรณียสถาน (โซน 1)

โพธิคยาสรณียสถาน (โซน 2)

สารนาถสรณียสถาน (โซน 3)

เวฬุวันภาวนาสถาน (โซน 4)

ชีวกัมพวันภาวนาสถาน (โซน 5)

เชตวันภาวนาสถาน (โซน 6)

บุพพารามภาวนาสถาน (โซน 7)

สังฆิกาวาส (โซน 8)

สาลวโนทยานสรณียสถาน (โซน 9)

ศาลาจีรปุญญานุศาสก์ (โซน 10)

เนินสวนสน (โซน 11)

ลานมะเดื่อท่าน้ำวัดคุ้งตะเภา (โซน 12)

เอกสาร

เอกสารตั้งคณะกรรมการหาทุน

โครงการ

การดำเนินงานจัดสร้าง

ที่สำเร็จแล้ว

หรือระหว่างดำเนินการ

พระพุทธรูปปฐมประธาน

ถนนภายในพื้นที่ 2559

กลุ่มพื้นที่ โซน A

ลุมพินีวันสรณียสถาน (Zone 1, บริเวณ 1)

โพธิคยาสรณียสถาน (Zone 2, บริเวณ 2)

ปลูกสวนป่าสังเวชนียสถาน 2559-2563

กลุ่มพื้นที่ โซน B

กลุ่มพื้นที่ โซน C

สารนาถสรณียสถาน (Zone 3, บริเวณ 3)

ชีวกัมพวันภาวนาสถาน (Zone 5, บริเวณ 5)

เวฬุวันภาวนาสถาน (Zone 4, บริเวณ 4)

เชตวันภาวนาสถาน (Zone 6, บริเวณ 6)

ศาลาปฏิบัติธรรมริมน้ำน่าน 2560-2564

พระพุทธมหาสุวรรณเภตรา (Center Zone)

บุพพารามภาวนาสถาน (Zone 7, บริเวณ 7)

สาลวโนทยานสรณียสถาน (Zone 9, บริเวณ 9)

สังฆิกาวาส (Zone 8, บริเวณ 8)

ศาลาจีรปุญญานุศาสก์ (Zone 10, บริเวณ 10)

กลุ่มพื้นที่ โซน D

พระพุทธรูปหินทรายปางปฐมเทศนา 2560

เนินสวนสน (Zone 11, บริเวณ 11)

ลานมะเดื่อท่าน้ำวัดคุ้งตะเภา (Zone 12, บริเวณ 12)

พระพุทธรูปหินทรายปางปรินิพพาน 2560

สีน้ำตาล = พื้นที่ป่าปลูกและสังฆาวาส - ป่าและกุฎิจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์

สีเหลือง = พื้นที่ป่าปลูกเขตพุทธาวาส- ส่วนสังเวชนียสถานจำลอง (รวม ๔ ตำบล)

สีเขียว = พื้นที่ป่าปลูกเขตปักกลดปฏิบัติธรรม- ส่วนวัดสำคัญสมัยพุทธกาลจำลอง (รวม ๔ อาราม)

สีฟ้าอ่อน= พื้นที่เขตพุทธาวาสประธาน- ลานพระพุทธรูปใหญ่และต้นพระศรีมหาโพธิ์อินเดีย

สีชมพู = พื้นที่อาคารส่วนธรรมาวาส- ศาลาปฏิบัติธรรมสองชั้นริมแม่น้ำน่าน

พระพุทธรูปหินทรายปางประสูติ 2561

ระบบไฟฟ้าส่องสว่างถนนหลัก 2561

ห้องน้ำโซนริมน้ำ 2561

กุฎิกรรมฐาน โซน 4 (สวนเขตสงฆ์ริมน่าน) 2562

พระประธานใหญ่หน้าตัก 10 เมตร 2563 (หน้าตัก 10 เมตร สูง ๒๐ เมตร กลางพื้นที่ หล่อแล้ว พ.ค. 2563 อยู่ในขั้นตอนตกแต่งองค์พระ)

ตัดถนนพุทธบูชา 2563 (กำลังดำเนินการ)

สร้างแพสูบน้ำน่าน 2563 (กำลังดำเนินการ)

โครงการ

(ยังไม่ได้ดำเนินการ)

ภายใน 2564

กุฎิกรรมฐาน โซน 1 (สวนหิมพานต์)

กุฎิกรรมฐาน โซน 2 (สวนธรรมจักร)

กุฎิกรรมฐาน โซน 3 (สวนป่าไผ่เวฬุวัน)

กิจกรรมระดมทุน

ติดต่อโครงการ

ร่วมอนุโมทนาบุญปัจจัยวัตถุ ได้ที่

บัญชี "บูรณะและพัฒนาวัดคุ้งตะเภา"

ธนาคาร กรุงไทย สาขา มหาวิทยาลัยราชภัฏุตรดิตถ์

เลขที่บัญชี

981-4-77350-6

รายละเอียดรวมพื้นที่ทั้งหมด 17 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา

กลุ่มพื้นที่ โซน A

ลุมพินีวันสรณียสถาน (Zone 1, บริเวณ 1)

2 ไร่ 2 งาน

ประดิษฐาน พระสิทธัตถะราชกุมารศิลา บรมเชษฐ์โพธิสัตว์สถานอุปบัติ ลุมพินีวันสังเวชนียรฤก

พระประธานประจำลานสวนป่าลุมพินีวัน เป็นหินทรายแกะสลักปางประสูติ (ศิลปะอินเดียสมัยราชวงศ์กุษาณะ) แกะสลักด้วยมือทั้งองค์ หน้าตัก 1 เมตร สูง 2.5 เมตร หนัก 1.5 ตัน พร้อมทั้งดอกบัวศิลาแกะจากหินทรายอีกจำนวน 6 ดอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 50 ซม. ทุกชิ้นแกะสลักจากวัสดุหินทรายภูเขาตันทั้งองค์ ประดิษฐานเมื่อปี 2561

(บริเวณนี้ปลูกต้นสาละลังกา 40 ต้น และ ต้นสาละอินเดียตรงตามพุทธประวัติ 4 ต้น เมื่อปี 2562)

โพธิคยาสรณียสถาน (Zone 2, บริเวณ 2)

1 ไร่ 3 งาน

ประดิษฐาน พระพุทธปฐมรัตโนภาสศาสดา

พระประธานประจำลานโพธิคยาสรณียสถาน เป็นพระดินเผาสังคโลกเคลือบเขียวทั้งพระองค์ ขนาดหน้าตัก 1 เมตร ประดิษฐานเมื่อ 15 เม.ย. 2559

(พระพุทธรูปองค์แรกที่อัญเชิญจากศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภามาประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญสิริมงคลในที่ดินวัดแปลงใหม่)

(บริเวณนี้ปลูก ต้นพระศรีมหาโพธิ์อินเดีย 1 ต้น อัญเชิญหน่อมาจากต้นโพธิ์ตรัสรู้พุทธคยา ปลูกเมื่อปี 2559

ปลูกโดยพระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ย้ายปลูกหลังพระพุทธปฐมรัตโนภาสศาสดา ปี 2563)

กลุ่มพื้นที่ โซน B

กลุ่มพื้นที่ โซน C

สารนาถสรณียสถาน (Zone 3, บริเวณ 3)

2 ไร่ 3 งาน

ประดิษฐาน พระพุทธเมตตาปัญญานาถ ไตรโลกธาตุศิลาประธาน

พระหินทรายแกะสลักปางแสดงปฐมเทศนา หินแกะสลักหนัก 4 ตัน ประดิษฐานบนแท่นพระเศวตรศิลาดล (แท่นพระหินอ่อน) ประดิษฐานเมื่อปี 2560 ย้ายที่ประดิษฐานใหม่ 2562

(โซนสวนป่า และบริเวณนี้มี สวนกวางมฤคทายวัน สร้างปี 2562)

เวฬุวันภาวนาสถาน (Zone 4, บริเวณ 4)

2 ไร่ 1 งาน

(โซน สวนป่าไผ่ ปลูกต้นไผ่ล้อมรอบตลอดแนว บริเวณกลางแปลงมีป่าไผ่ใหญ่ จัดทำป้ายสวนเวฬุวันอนุสรณ์พระธรรมทูตเมืองไอกาวา เมื่อปี 2562)

ชีวกัมพวันภาวนาสถาน (Zone 5, บริเวณ 5)

3 งาน 12 ตารางวา

(โซน สวนมะม่วง ปลูกต้นมะม่วงภายในแปลง เริ่มปลูก เมื่อปี 2561)

เชตวันภาวนาสถาน (Zone 6, บริเวณ 6)

3 งาน 9 ตารางวา

(โซนสวนป่า ต่อจากสวนเวซุวัน

ด้านตรงข้ามปลูก ต้นอานันทโพธิ์ ที่พระครูธรรมธรเทวประภาส, ดร. รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา อัญเชิญหน่อมาจากต้นอานันทโพธิ์ที่วัดพระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย เมื่อปี 2561-ปลูกปี 2562)

หลวงพ่อใหญ่พระสัมพุทธมุนี สิริอุตรดิตถ์มหาปฏิมากร (Center Zone)

1 ไร่ 26 ตารางวา

โครงการจัดสร้างพระประธานประจำสำนักปฏิบัติธรรมฯ ขนาดหน้าตัก 10 เมตร สูงรวมฐาน 20 เมตร หล่อเมื่อ 2563

(ด้านซ้ายองค์พระใหญ่: ปลูก ต้นพระศรีมหาโพธิ์อินเดีย 1 ต้น

ที่พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา อัญเชิญหน่อมาจากต้นโพธิ์ตรัสรู้พุทธคยา

พระครูธรรมธรเทวประภาส, ดร. รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ปลูกเมื่อปี 2559)

(ด้านขวาองค์พระใหญ่: ปลูก ต้นอานันทโพธิ์อินเดีย 1 ต้น อัญเชิญหน่อมาจากวัดพระเชตวันมหาวิหาร อินเดีย

พระครูธรรมธรเทวประภาส, ดร. รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ปลูกเมื่อปี 2563)

บุพพารามภาวนาสถาน (Zone 7, บริเวณ 7)

1 ไร่ 92 ตารางวา

(โซนสวนป่าปลูก และโครงการจัดสร้างอาคารที่พักอุบาสิกา)

สาลวโนทยานสรณียสถาน (Zone 9, บริเวณ 9)

2 งาน 4.5 ตารางวา

ประดิษฐาน พระพุทธนิโรธนวมินทรบพิตร

พระหินสบู่แกะสลักปางปรินิพพาน หินแกะสลักหนัก 2 ตัน ประดิษฐาน ประดิษฐานเมื่อปี 2560 ย้ายที่ประดิษฐานใหม่ 2562

(บริเวณนี้ปลูกต้น ต้นสาละอินเดียตรงตามพุทธประวัติ 12 ต้น ปลูกปี 2562)

สังฆิกาวาส (Zone 8, บริเวณ 8)

1 ไร่ 6 ตารางวา

(โซนสวนป่าปลูก และหมู่กุฎิกรรมฐานเดี่ยวสำหรับพระภิกษุ)

ศาลาจีรปุญญานุศาสก์ (Zone 10, บริเวณ 10)

1 งาน 29 ตารางวา

ศาลาปฏิบัติธรรมครึ่งปูนครึ่งไม้สองชั้น ลักษณะอาคารทรงโรง ด้านบนแบบไทยประเพณี มีช่อฟ้าใบระกา เสาเครื่องบนและพื้นไม้เนื้อแข็ง ส่วนด้านล่างเป็นคอนกรีต ชั้น 2 มีเสาไม้รวม 64 ต้น, ด้านข้างมีห้องน้ำ

กลุ่มพื้นที่ โซน D

เนินสวนสน (Zone 11, บริเวณ 11)

1 ไร่ 2 งาน

(โซนสวนป่าสนปลูก และกุฎิกรรมฐานเดี่ยวสำหรับพระภิกษุ)

ลานมะเดื่อท่าน้ำวัดคุ้งตะเภา (Zone 12, บริเวณ 12)

3 งาน 4 ตารางวา

(โซนต้นมะเดื่อใหญ่ อายุร้อยปี, กุฎิกรรมฐานเดี่ยวสำหรับพระภิกษุ

และแพวังปลาอภัยทานเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำวัดคุ้งตะเภา ริมแม่น้ำน่าน)

สีน้ำตาล = พื้นที่ป่าปลูกและสังฆาวาส - ป่าและกุฎิจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์

สีเหลือง = พื้นที่ป่าปลูกเขตพุทธาวาส- ส่วนสังเวชนียสถานจำลอง (รวม ๔ ตำบล)

สีเขียว = พื้นที่ป่าปลูกเขตปักกลดปฏิบัติธรรม- ส่วนวัดสำคัญสมัยพุทธกาลจำลอง (รวม ๔ อาราม)

สีฟ้าอ่อน= พื้นที่เขตพุทธาวาสประธาน- ลานพระพุทธรูปใหญ่และต้นพระศรีมหาโพธิ์อินเดีย

สีชมพู = พื้นที่อาคารส่วนธรรมาวาส- ศาลาปฏิบัติธรรมสองชั้นริมแม่น้ำน่าน