งานบุญประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือกวัดคุ้งตะเภา ประจำปี ๒๕๕๖

วันที่โพสต์: Feb 10, 2013 5:27:20 PM

เช้าวันที่ ๑๐ ก.พ. ๕๖ คณะศรัทธาชาวบ้านคุ้งตะเภา ร่วมใจกันเป็นเจ้าภาพ งานบุญประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือกวัดคุ้งตะเภา ประจำปี ๒๕๕๖ โดยมีคณะศรัทธาบ้านวัดคุ้งตะเภาและใกล้เคียงร่วมบุญในครั้งนี้จำนวนมาก

งานบุญประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือก เริ่มตั้งแต่วันที่ ๙ ก.พ. ๕๖ ซึ่งทางวัดได้จัดรถรับส่งข้าวสารบริการรอบหมู่บ้าน เพื่อรับข้าวสารและไทยท

านมาร่วมก่อองค์พระเจดีย์ข้าวเปลือก และเมื่อถึงวันที่ ๑๐ ก.พ. ๕๖ เป็นวันที่ทางวัดกำหนดให้มีการจัดพิธีถวายองค์พระเจดีย์ข้าวเปลือก พิธีเริ่มในช่วงเช้า มีการถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ฉลององค์พระเจดีย์ข้าวเปลือก รับถวายภัตตาหารเช้า และกล่าวคำถวายพระเจดีย์ข้าวเปลือกตามประเพณีเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาร่วมกัน ในการนี้ คณะกรรมการวัดคุ้งตะเภา ได้สรุปยอดรายรับรายจ่ายงานบุญประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือกวัดคุ้งตะเภา ประจำปี ๒๕๕๕ มี รายรับทั้งสิ้น ๗๒,๒๖๕บาท (เจ็ดหมื่นสองพันสองร้อยหกสิบห้าบาทถ้วน) ถวายพระภิกษุสงฆ์สามเณรวัดคุ้งตะเภาที่เจริญพระพุทธมนต์รวม ๑๖ รูป เป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๖๐๐ บาท (หกพันบาท) หักค่าใช้จ่ายแล้วแล้ว คงเหลือ ๗๐,๖๖๕ บาท (เจ็ดหมื่นหกร้อยหกสิบห้าบาท) โดยคณะกรรมการจะนำปัจจัยไปดำเนินการบูรณะศาลาการเปรียญและบูรณะถาวรวัตถุภายในวัดต่อไป งานบุญประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือกวัดคุ้งตะเภา หรือกลายมาจากคติความเชื่อใน "ประเพณีแรกตักข้าว" แห่งชุมชนบ้านคุ้งตะเภา ชุมชนคนไทยโบราณสุดท้ายเหนือสุดแห่งที่ราบลุ่มวัฒนธรรมสุโขทัย-อยุธยา ซึ่งเป็นประเพณีโบราณที่จัดสืบเนื่องมากว่าสามร้อยปี

ความเป็นมาเชิงวัฒนธรรม

พิธีก่อเจดีย์ข้าวเปลือกบ้านคุ้งตะเภาในบริบทวิถีเกษตรกรรม

โดยมีคติมาแต่โบราณว่า เมื่อเสร็จฤดูเก็บเกี่ยวนำข้าวขึ้นยุ้งฉางแล้ว ทุกบ้านต้องทำพิธี "แรกตักข้าว" คือเป็นวันแรกที่จะทำการตักข้าวที่เก็บเกี่ยวจากปีก่อนออกจากฉ

างมาทำการสี โดยกำหนดวันแรกตักไว้ มีความเชื่อว่าถ้าตักข้าวเก่าในฉางออกมาก่อนวันที่กำหนดนี้ ข้าวในฉางจะถูก ผีตะมอย กิน คือถ้าตักหนึ่งขัน ข้าวในฉางก็จะหายไปหนึ่งขัน เพื่อไม่ให้นำข้าวใหม่มาสีกินก่อนเวลาอันควร โดยคตินี้น่าจะมาจากอุบายของคนโบราณและสอดคล้องกับสภาพของข้าวใหม่ที่เก็บ เกี่ยวในปีก่อน โดยก่อนที่จะถึงเดือน ๓ ข้าวใหม่จะยังไม่แห้งดี ไม่สมควรแก่การบริโภค แต่เมื่อถึงเดือน ๓ ข้าวก็จะแห้งพอสมควรที่จะนำไปสีนำมารับประทานได้ และเพื่อให้ใช้ข้าวเก่าค้างยุ้งมารับประทานให้หมดไม่เหลือทิ้งไว้ ทำนองได้ใหม่ไม่ลืมเก่านั่นเอง พิธีนี้คล้ายพิธีสู่ขวัญข้าว ตามความเชื่อโบราณของคนในแถบลุ่มอารยธรรมอุษาคเนย์ ที่เชื่อกันว่าทุกสิ่งมี "ขวัญ" สถิตย์อยู่ เมื่อชาวบ้านทำนาเพาะปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวได้แล้ว ก่อนนำข้าวมาบริโภคหรือจำหน่าย จะมีการทำพิธี "สู่ขวัญข้าว" ทำนองเป็นการบูชาผีที่สถิตย์อยู่ในข้าว เป็นการแสดงความเคารพต่อสรรพสิ่งและนบน้อมต่อธรรมชาติ ซึ่งต่อมาเมื่อรับวัฒนธรรมแบบชาวพุทธเถรวาทซึ่งปฏิเสธการบูชาเซ่นทรวงเข้ามา จึงได้ "ปรับ" ประเพณีนี้ให้เข้ากับวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิมของตน คือการนำข้าวแรกเกี่ยวไปถวายพระหรือก่อพระเจดีย์เพื่อเป็นการทำบุญเป็นพุทธบูชาแทน ซึ่งชาวบ้านคุ้งตะเภาก็ได้ถือคติปฏิบัติเช่นนี้สืบมาจนถึงปัจจุบัน

- จดหมายข่าววัดคุ้งตะเภา วันที่ ๑๐ ก.พ. ๕๖

สดุดีชาวนา "ข้าคือเกษตรกร"

ผู้อยู่เบื้องหลังทุกการพัฒนาแห่งวัดคุ้งตะเภา

"วัดคุ้งตะเภา" หาใช่วัด กษัตริย์สร้าง

ใช่วัดอ้าง อำมาตย์ สร้างมาก่อน

แต่เป็นวัด ของ "กูเกษตรกร"

เริ่มสร้างสอน สืบมา สามร้อยปี

ยอดระกา ศาลา ระยิบยับ

สารพัด สรรพสิ่ง ในวัดนี้

ล้วนก่อเกิด จากหยาดเหงื่อ ชั่วตาปี

จึงสร้างมี วัดคุ้งตะเภา ขึ้นมาได้

หากสงสัย จงรำลึก ที่ตัวเถิด

ชาติกำเนิด สูเจ้า โคตรแต่ไหน

ล้วนมาจาก ชาวนา ทำนาไร่

อย่าลืมไซร้ ซึ่งตีน ปีนสู่ฟ้า

"วัดคุ้งตะเภา" ของเรา เราฝากสอน

ขอวิงวอน จงช่วย สืบรักษา

"คนบ้านเรา" อย่าลืมเหง้า สานสืบมา

เพราะเราข้า คือชาวนา ผู้ทรนง!