ศาสนสถาน

ศาสนสถานวัดคุ้งตะเภา

วัดคุ้งตะเภาได้รับอนุญาตให้สร้างวัดในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓

ไม่มีหลักฐานระบุว่ามีพื้นที่วัดเท่าใด สันนิษฐานว่าพื้นที่ตั้งวัดเก่าอยู่ติดริมแม่น้ำน่านเก่า

ปัจจุบันตัววัดที่จำพรรษาของพระสงฆ์ตั้งอยู่บนพื้นที่ดอน ห่างจากริมแม่น้ำน่านเก่าประมาณ ๒๐เมตร

เขตวัด

ปัจจุบันตัววัดตั้งอยู่บนพื้นที่ดอน ห่างจากริมแม่น้ำน่านเก่าประมาณ ๒๐ เมตร

มีอาณาเขตสมมุติติจีวราวิปวาส หรือเขตที่ตั้งภายในกำแพงวัด เนื้อที่ ๑๐ ไร่เศษ

เมื่อรวมกับพื้นที่อาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ตั้งวัดด้านศาลาหลังเก่านอกกำแพงทางทิศเหนือลงไปพื้นที่ท้องแม่น้ำน่านโบราณ

จะมีพื้นที่กรรมสิทธิ์รวม ๑๔ ไร่ ๓ งาน ๘๐ ตารางวา

เป็นพื้นที่หลักของวัดสำหรับพระสงฆ์สามเณรจำพรรษาและเป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมและกิจกรรมทางศาสนาของพระสงฆ์และชาวบ้าน

เขตติจีวราวิปวาสวัดคุ้งตะเภา

มีอุโบสถเป็นจุดศูนย์กลาง มีพื้นที่ติดต่อกับที่ดินข้างเคียง ดังต่อไปนี้

  1. ทิศเหนือ ติดต่อกับที่ดินมีกรรมสิทธิ์ของชาวบ้าน (เดิมติดแม่น้ำน่านเก่า) มีกำแพงวัดกั้นเป็นเขต

  2. ทิศใต้ ติดต่อกับทางสาธารณประโยชน์ มีกำแพงวัดกั้นเป็นเขต

  3. ทิศตะวันออก ติดต่อกับทางสาธารณประโยชน์ มีกำแพงวัดกั้นเป็นเขต

  4. ทิศตะวันตก ติดต่อกับที่ดินมีกรรมสิทธิ์ของชาวบ้าน มีกำแพงวัดกั้นเป็นเขต

  5. เขตวิสุงคามสีมา

    1. วัดคุ้งตะเภาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา หรือพื้นที่ตั้งสำหรับทำอุโบสถสังฆกรรม เมื่อวันอังคารที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เนื้อที่กว้าง ๑๐ เมตร

    2. ยาว ๒๙ เมตร มีเนื้อที่กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๙ เมตร ตั้งอยู่ภายในเขตติจีวราวิปวาสของวัด

    3. ตัวอาคารที่ตั้งบนวิสุงคามสีมาหรืออุโบสถนั้น เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยอาคารอุโบสถนี้เป็นอาคารปูนหลังแรก

    4. ของหมู่บ้านคุ้งตะเภา ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานมีนามว่า "พระพุทธสุวรรณเภตรา" ผู้ดำริให้จัดสร้างคือ

    5. พระครูธรรมกิจจาภิบาล (กลม สุวณฺโณ) อธิบดีสงฆ์วัดดอยท่าเสา และเกจิอาจารย์รูปสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น

    6. อุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณะใหญ่ใน ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยดำริของพระสมุห์สมชาย จีรุปญฺโญ (รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภารูปปัจจุบัน)

    7. โดยทำการบูรณะเสร็จในปี ๒๕๓๙ ใช้เงินบูรณะจำนวน ๑.๖ ล้านบาท

เขตธรณีสงฆ์

วัดคุ้งตะเภามีที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิ์จำนวน ๒ แปลง

ธรณีสงฆ์แปลงที่หนึ่ง มีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๕๘ ตารางวา (โฉนดที่ดิน เลขที่ ๕๐๑๔ เล่ม ๕๑ หน้า ๑๔)

และที่ธรณีสงฆ์แปลงที่สอง มีเนื้อที่ - ไร่ ๑ งาน ๒๔ ตารางวา (โฉนดที่ดิน เลขที่ ๗๖๒๓๓ เล่ม ๗๖๓ หน้า ๓๓)

ที่ธรณีสงฆ์ทั้งสองแปลง ตั้งอยู่ห่างจากตัววัดคุ้งตะเภาประมาณ ๑๐๐ เมตรไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

พื้นที่ธรณีสงฆ์นี้ เดิมเป็นพื้นที่สุสานของหมู่คุ้งตะเภาที่มีการกันเขตแน่นอน

ต่อมาในประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ชาวบ้านจึงได้ยกที่ธรณีสงฆ์นี้เป็นพื้นที่ฌาปนสถานวัดคุ้งตะเภา

ปัจจุบันตั้งอยู่ติด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ (พิษณุโลก-เด่นชัย) ขาขึ้น

มีซุ้มประตูวัดคุ้งตะเภาเป็นจุดสังเกต

(คำอธิบายภาพ)

ภาพถ่ายดาวเทียมวัดคุ้งตะเภา แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ตั้งของวัดคุ้งตะเภาดังนี้

เขตวิสุงคามสีมา: แสดงในกรอบสี่เหลี่ยมระบายสีเทา (กลางเขตติจีวราวิปวาส)

เขตติจีวราวิปวาส: แสดงในกรอบเส้นสีเหลือง

เขตที่ตั้งวัดนอกเขตติจีวราวิปวาส: แสดงในกรอบสีขาว

เขตฌาปนสถาน: แสดงในกรอบเส้นสีน้ำเงิน

เขตที่ธรณีสงฆ์: แสดงในกรอบเส้นสีแดง

อุโบสถ วัดคุ้งตะเภา

อุโบสถ วัดคุ้งตะเภา เริ่มสร้างในปี ๒๔๙๒ และสร้างเสร็จเมื่อปี ๒๔๙๘ (อาคารอุโบสถนี้เป็นอาคารปูนหลังแรกของหมู่บ้านคุ้งตะเภา) ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานมีนามว่า "พระพุทธสุวรรณเภตรา" ผู้ดำริให้จัดสร้างคือ พระครูธรรมกิจจาภิบาล (กลม สุวณฺโณ) อธิบดีสงฆ์วัดดอยท่าเสา และเกจิอาจารย์รูปสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น

อุโบสถหลังนี้เป็นอุโบสถทรงไทยประยุกต์ ขนาดกลาง ทรงโรง ลายหน้าบันด้านทิศตะวันตกปั้นรูปพระอินทร์ถือสังข์และจักรประดิษฐานในพระ แท่นมุขย่อมุมปูนปั้นลายไทยกนกล้อม ปิดทอง ประดับกระจกสีฟ้า หน้าบันด้านทิศตะวันออกปั้นรูปเหมือนด้านตะวันออกหลังรูปปั้นพระอินทร์ ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำโบราณ และพระพุทธรูปอื่น ๆ ประดับศิลาอ่อนจารึกฤกษ์อุโบสถ ลายไทยกนกล้อมรอบ หลังคาอุโบสถมุงกระเบื้องขอ มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มีเสาหานกลมทั้งสองด้าน ปูพื้นด้วยหินอ่อนทั้งด้านนอกและด้านในรวมทั้งบันได มีรูปพญานาคบันไดทางขึ้นอุโบสถ ศิลปะล้านนา ๔ ตน หน้าต่างแกะสลักลายไทยรูปเทพจำหลัก ล้อมลายกนก ลายเครือเถา ประตูด้านทิศตะวันตกจำหลักเป็นรูปนารายณ์และอิศวรเทพประทับครุฑ (นารายณ์ทรงครุฑ) ประตูด้านทิศตะวันออกจำหลักพระพุทธรูปปางประทานพร ลงรักชาด ปิดทอง

(อุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณะใหญ่ใน ปี ๒๕๓๗ โดยดำริของพระสมุห์สมชาย จีรุปญฺโญ (รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภารูปปัจจุบัน) โดยทำการบูรณะเสร็จในปี ๒๕๓๙ สิ้นงบประมาณ ๑,๖๗๕,๓๒๙.๕๐ บาท)

อุโบสถวัดคุ้งตะเภาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันอังคารที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙ มีเนื้อที่กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๙ เมตร

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานวิสุงคามสีมา, เล่ม ๖๔, ตอน ๔๑, ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๐, หน้า ๕๔๘

พระนิมมานโกวิท (หลวงปู่ทองดำ)

ปลุกเสกวัถุมงคลรุ่นบูรณะอุโบสถ และเจิมแผ่นศิลาฤกษ์บูรณะอุโบสถวัดคุ้งตะเภาปี ๒๕๓๙

ซุ้มประตูวัดคุ้งตะเภา

ซุ้มประตู วัดคุ้งตะเภา ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดริมทางแยกคุ้งตะเภา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ ๑๑ หรือ ถนนสายเอเชีย) ลักษณะซุ้มเป็นซุ้มประตูทรงไทยประยุกต์ศิลปะล้านนาขนาดใหญ่ ออกแบบโดยสล่าเมืองเหนือ ประยุกต์จากรูปแบบเจดีย์ล้านนา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่นำมาจากจังหวัดลำปาง ๓ องค์บนองค์เจดีย์บนยอดซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ซุ้มจรนัมทั้ง ๔ ด้าน ประดับเสาและตัวซุ้มด้วยลวดลายปูนปั้นสัตว์หิมพานต์และลายเครือเถาศิลปะล้านนาสวยงาม โครงซุ้มประตูทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งซุ้ม ฐานเสาเข็มเทปูนแท่งเสริมเหล็กลึก ๕ เมตร ขนาดกว้าง ๕ เมตร สูง ๑๙ เมตร แล้วเสร็จบริบูรณ์สิ้นราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑,๐๗๖,๗๖๙. บาท

ซุ้มประตูนี้เริ่มสร้างก่อฐานรากในปี ๒๕๔๐ และค้างการก่อสร้างไปหลายปี เหตุที่การสร้างใช้เวลาหลายปีเพราะภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ในสมัยนั้น แต่ก็สามารถสร้างจนแล้วเสร็จและสมโภชในปี ๒๕๔๕ โดยมีการจัดทำเหรียญวัตถุมงคลที่ระลึก รุ่นสร้างซุ้มประตู แจกแก่ผู้ร่วมสมทบทุนด้วย

ศาลาการเปรียญ

ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา โดยลักษณะของตัวสถาปัตยกรรมไม่มีความพิเศษอะไรมาก แต่จากที่ตั้งของตัวศาลานั้น เป็นหลักฐานสำคัญทว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ ทำให้ทราบลักษณะการอยู่อาศัยและสัญจรของคนโบราณในแถบนี้ได้ เพราะที่ตั้งของตัวศาลาวัดในสมัยก่อนนั้นมักตั้งอยู่ริมแม่น้ำ (ปัจจุบันแม่น้ำน่านได้ตื้นเขินห่างจากตลิ่งศาลาวัดไปมากกว่า ๑ กิโลเมตร) เป็นหลักฐานยืนยันถึงความเป็นวัดและหมู่บ้านที่มีประวัติศาสตร์อัน ยาวนานกว่าวัดและหมู่บ้านอื่นในแถบนี้

เดิมที นั้น ก่อนสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ตัวศาลาเดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน อันเป็นทางสัญจรคมนาคมในสมัยก่อน ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าศาลาในที่ตั้งเดิมนั้นสร้างในสมัยใด (คาดว่าอาจจะสร้างมาแต่ครั้งแรกตั้งวัดในสมัยอยุธยาตอนปลาย)

จากหลักฐานบ่อน้ำข้างบันไดศาลาทำให้ทราบว่าศาลาหลังนี้ย้ายที่ตั้งขึ้นมาจากริม แนวแม่น้ำน่านเดิมบริเวณต้นโพธิ์หลังวัดมาตั้งในพื้นที่ปัจจุบัน ในปี ๒๔๗๒ โดยตัวโครงศาลาประธานในปัจจุบันที่ย้ายมานี้น่าจะมีอายุเกือบ ๑๐๐ ปีแล้ว (แต่รูปแบบโครงศาลาประธานน่าจะมีอายุเก่ากว่านั้น-ผู้เขียน)

ศาลาการเปรียญหลังนี้ (หลังเดิมก่อนบูรณะ) เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยภาคกลาง สร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง เสาทุกต้นเป็นเสาสี่เหลี่ยม เป็นอาคารทรงโรงขนาดกลาง หลังคาประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ปูนปั้น หน้าบันเป็นพื้นไม้เรียบ เดิมเปิดโล่งทั้งสี่ด้าน มีชายยื่นออกมารับทางขึ้นศาลาทางทิศเหนือ (อักษรข้างบันไดศาลาระบุว่าสร้างในปี ๒๔๘๓)

ศาลาหลังนี้ใช้เป็นอาคารสำหรับบำเพ็ญกุศลหลักของวัด มีการบูรณะและต่อเติมจากตัวโครงศาลาเดิมมาเป็นระยะ ต่อมาได้มีการต่อเติมปิดทึบเฉพาะด้านหอพระ ห้องเก็บของของโรงครัวด้านทิศตะวันออกและตะวันตกบางส่วน และมีการสร้างบันไดใหม่ทางด้านทิศตะวันตกหลังจากมีการสร้างถนนสายเอเชีย ในยุคหลัง ๒๕๐๐

ในปลายปี ๒๕๔๙ ทางวัดคุ้งตะเภาได้ทำการบูรณะและต่อเติมศาลาการเปรียญครั้งใหญ่ (ปัจจุบันยังคงทำการบูรณะต่อเติมอยู่) มีการรื้ออาคารประกอบทั้งหมดออก โดยยังคงรักษาโครงไม้ตัวศาลาประธานเดิมไว้อยู่ ซึ่งหลังบูรณะเสร็จ หากมองจากภายนอกศาลาจะไม่สามารถเห็นตัวหลังคาศาลาเดิมได้อีกต่อไป เพราะการบูรณะนั้นมีการเสริมมุขและสร้างอาคารประกอบปิดรอบตัวศาลาประธานทั้ง สี่ด้าน

หอสวดมนต์

หอสวดมนต์วัดคุ้งตะเภา เป็นอาคารสองชั้นครึ่งอิฐครึ่งปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบดินเผาชนิดหนาพิเศษ ประช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ปูนปั้น หน้าบันประดับลายเทพพนมฝีมือพื้นบ้าน

หอสวดมนต์หลังนี้สร้างหลัง ๒๕๐๐ ปัจจุบันนอกจากจะใช้เป็นหอสวดมนต์ประจำวัดแล้ว ยังใช้เป็นหอฉันชั่วคราว (แทนหอฉันเดิมที่ถูกรื้อเพื่อขยายพื้นที่ในการสร้างศาลาการเปรียญวัดคุ้ง ตะเภาหลังใหม่) ชั้นล่างในอดีตยังเคยใช้เป็นห้องสมุดวัดคุ้งตะเภาอีกด้วย ปัจจุบันได้รื้อบันไดหน้าหอสวดมนต์ออกแล้วเพื่อต่อเติมชายคาและติดตั้ง ประตูกระจก

หอระฆัง

หอระฆังวัดคุ้งตะเภา ตั้งอยู่บริเวณหมู่กุฎิสงฆ์ (กุฎิเจ้าอาวาส-หอสวดมนต์) สูงประมาณ ๙ เมตรจากพื้นดินโดยประมาณ เป็นอาคาร ๓ ชั้น ชั้นแรกและชั้นสองเป็นห้องน้ำสำหรับพระสงฆ์ ในชั้นสองนั้นมีบันไดเหล็กเพื่อขึ้นไปชั้นที่สาม อันเป็นที่ติดตั้งระฆังและกลองสำหรับตีประจำวัน

หลังคาเป็นแบบอุโบสถทรงโรงขนาดย่อมไม่

มี เสาหาน มีสองมุข หันไปทางทิศเหนือและใต้ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนไม้แกะสลักปิดทอง ทาสีทองที่องค์พระพุทธรูป ล้อมประดับด้วยไม้แกะสลักลายกนกประดับกระจกสวยงาม ตัวหลังคามุง

ด้วย กระเบื้องขอแบบโบราณ สีเขียวแดงและเหลืองเลียนตามหลังคาพระที่นั่ง

หลังคา ประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ปูนปั้นประดับกระจก เน้นสีทองเป็นหลัก (หอระฆังวัดคุ้งตะเภา เป็นอาคารศาสนสถานหลังเดียวในวัดคุ้งตะเภาที่ใช้กระเบื้องดินขอไล่สีเหมือน หลังคาพระที่นั่ง)

ชั้นสามติดตั้งระฆังและกลองเภรีขนาดใหญ่ กลองเภรีมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ เมตร ๒๕ เซนติเมตร เป็นกลองเก่าแก่ของวัด ปัจจุบันชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้

พระธรรมเจดีย์

บริเวณด้านหน้าอุโบสถวัดคุ้ง ตะเภา มีเจดีย์ก่อิฐถือปูนเก่าแก่อยู่องค์หนึ่ง มีสัณฐานแบบเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองประยุกต์ องค์เจดีย์มีซุ้มจรนัมทั้ง ๔ ทิศ ยอดปล้องไฉนนพศูรย์ ล้วนทำด้วยปูนปั้นทั้งสิ้น สัณฐานสูง ๓ เมตรโดยประมาณ ซุ้มจรนัมเจาะช่องเล็ก ๆ สำหรับไว้ช้างไม้และเครื่องบูชาปิดหน้าซุ้มด้วยแผ่นกระจก ปัจจุบันคงเหลือสมบูรณ์เพียงด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ บริเวณคอองค์เจดีย์มีกรอบอักษรทำด้วยปูนมีอักษรจารึกว่า

"เดือนมิถุนายน ๒๔๙๓

นายบุตร นางไฝ ก่อพระธรรม

เจดีย์อุทิศให้เจ้าอธิการกอง"

เจดีย์ นี้ชาวบ้านคุ้งตะเภารุ่นปู่ย่า เรียกว่าพระธรรมเจดีย์ หรือธรรมเจดีย์ ไว้สำหรับบรรจุใบลานธรรมสำหรับบูชา ผู้ที่ยังทันมาเห็นขณะสร้างเจดีย์กล่าวว่าผู้สร้างเจาะช่องบริเวณองค์เจดีย์ สำหรับไว้บรรจุพระธรรมใบลาน ปัจจุบันคาดว่าใบลานคงเปื่อยยุ่ยหมดแล้ว เนื่องจากความชำรุดและความชื้นขององค์เจดีย์

นอกจากนี้บริเวณทิศตะวันออกของพระธรรมเจดีย์ยังมีผู้มาสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิบรรพบุรุษด้วย

โดยลอกแบบพระธรรมเจดีย์ไปสร้าง โดยเรียงจากทิศเหนือไปทิศใต้

ท่านเล่าว่าเจดีย์องค์แรกเป็นเจดีย์รวมบรรจุอัฐิของบรรพบุรุษชาวบ้านคุ้งตะเภา

โดยเคยมีซุ้มไม้กระดานเล็ก ๆ เขียนไล่สายบรรพบุรุษบ้านคุ้งตะเภาอยู่

แต่ปัจจุบันนี้ได้สูญหายไปหมดแล้ว

กลุ่มฌาปนสถาน

กลุ่มอาคารฌาปนสถานวัดคุ้งตะเภา ตั้งอยู่เป็นเอกเทศจากเขตวัด

ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ (ถนนสายเอเชีย) บนที่ธรณีสงฆ์เนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๕๖ ตารางวา ปัจจุบันประกอบไปด้วยอาคารธรรมสังเวชเอนกกุศลศาลาสำหรับ บำเพ็ญกุศลหลัก ๑ หลัง (ภายในอาคารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปพระมาลัยโปรดสัตว์ และภาพคติธรรม) เมรุมณฑปจัตุรมุข ๑ หลัง (หลังใหม่สร้างเสร็จในปี ๒๕๔๙) และกลุ่มศาลารายรอบเมรุอีก ๔ หลัง

นอกจากนี้บนพื้นที่ธรณีสงฆ์ยังเป็นที่ตั้งของโรงประปาหมู่บ้าน อาคารธนาคารหมู่บ้านคุ้งตะเภา ร้านค้าชุมชน

และร้านค้าวิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านคุ้งตะเภาอีกด้วย

ที่ ตั้งกลุ่มอาคารฌาปนสถานวัดคุ้งตะเภาในปัจจุบันนั้น เดิมเป็นป่าช้าวัดคุ้งตะเภา และตั้งอยู่หลังวัดคุ้งตะเภา แต่หลังจากการตัดถนนสายเอเชีย ทำให้การคมนาคมย้ายจากถนนเลียบน้ำน่าน (ศาลาการเปรียญ) มาเป็นถนนสายเอเชียแทน ทำให้ฌาปนสถานมาอยู่หน้าวัดดังในปัจจุบัน

ใน สมัยที่ยังมีการฝังศพ เมื่อกว่า ๕๐ ปีที่แล้วนั้น ท่านเล่าว่าบริเวณป่าช้ามีอาณาเขตจำเพาะ จะไม่มีการฝังนอกพื้นที่ ภายในป่าช้ามีต้นไม้ใหญ่ต้นไผ่ขึ้นครึ้มดูน่าวังเวง มีกองฟอนโบราณอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของป่าช้า ไว้สำหรับฌาปนกิจ สมัยก่อนนั้นบ้างเผา บ้างฝัง ทับถมในพื้นที่มาหลายรุ่นแล้ว จนเมื่อ ๓๐ ปีมานี้มีการทำบุญใหญ่ล้างป่าช้าวัดคุ้งตะเภาและสร้างเมรุ (หลังเก่า) และศาลาบำเพ็กุศลอย่างเป็นกิจจะลักษณะขึ้น พร้อมกับตัดไม้ปราบที่จนเตียน

ใน ปี ๒๕๔๕ ได้มีการสร้างเมรุหลังใหม่ ทดแทนหลังเดิมที่ชำรุด เป็นเมรุทรงมณฑปจัตุรมุขสร้างพร้อมอาคารประกอบ ทั้งหมดแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๙ เป็นกลุ่มอาคารบริเวณฌาปนสถานที่สร้างครั้งหลังสุด