จ่าสิบเอกบุญเลี่ยม แสงวิจิตร

ไวยาวัจกรวัดคุ้งตะเภา คนที่ ๒

จ่าสิบเอกบุญเลี่ยม แสงวิจิตร

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ - ปัจจุบัน

จ่าสิบเอกบุญเลี่ยม

แสงวิจิตร

จ่าสิบเอกบุญเลี่ยม แสงวิจิตร เกิดที่บ้านเลขที่ ๔๔ หมู่ที่ ๔ บ้านท่าหาดตำบลธรรมมูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๔๘๗ เป็นบุตรของนายเขียว -นางสวิง แสงวิจิตร มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๓ คน คือ นายบุญรอด แสงวิจิตร, จ่าสิบเอกบุญเลี่ยม แสงวิจิตร, อาจารย์ปัญา แสงวิตร ปัจจุบันสมรสกับ นางเครือ สิงห์ประพันธ์ มีบุตรด้วยกัน ๑ คนคือ ดร.ประภากรณ์ แสงวิจิตร (ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

จ่าสิบเอกบุญเลี่ยม เข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่ โรงเรียนวันพิกุลงาม จนจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และได้เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนพยุหะวิทยา อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒

จ่าสิบเอกบุญเลี่ยม ขณะรับมอบใบตราตั้งไวยาวัจกรวัดคุ้งตะเภา

วันที่ ๑๒ ส.ค. ๔๙

วาระ

ดำรงตำแหน่ง

เกิด

สมรสกับ

การศึกษา

อาชีพ

ที่อยู่

อิสริยาภรณ์

- ชัยสมรภูมิ

- พิทักษ์เสรีชน

- ราชการชายแดน

อยู่ในตำแหน่ง

๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๙

๗ กรกฎาคม ๒๔๘๗

นางเครือ สิงห์ประพันธ์

โรงเรียนนายสิบทหารบก

ทหาร (เกษียณอายุราชการ)

บ้านคุ้งตะเภา จังหวัดอุตรดิตถ์

ในปี ๒๕๐๘ จ.ส.อ.บุญเลี่ยม แสงวิจิตร ได้เข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์โดยฝึกทหารใหม่ที่ค่ายธนะรัชต์ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และออกร่วมรบในสงครามเวียดนาม จนได้รับ เหรียญชัยสมรภูมิ (ช.ส.) ต่อมาได้ปลดประจำการและอุปสมบทที่วัดบ้านเกิด ในปี ๒๕๑๔ ได้เข้ารับราชการทหารอีกครั้ง ได้รับประดับยศในขั้นแรกที่สิบตรี ต่อมาได้ร่วมรบเพื่อรักษาอธิปไตยและเพื่อประเทศชาติในหลายเหตุการณ์เช่น การปราบปรามคอมมิวนิสต์ที่จังหวัดน่าน, เหตุการณ์ ๓ หมู่บ้าน จังหวัดอุตรดิตถ์, การรบ ณ ภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก-เพชรบูรณ์ และที่สงครามไทย-ลาว ที่บ้านร่มเกล้า จากนั้นได้รับราชการทหารเรื่อยมาจนเกษียณอายุราชการในปี ๒๕๔๖

หลังจากเกษียณ จ่าสิบเอกบุญเลี่ยม ได้ช่วยงานทางด้านศาสนพิธี และสาธารณูปการของวัดคุ้งตะเภามาโดยตลอด จนในปี ๒๕๔๙ จ่าสิบเอกบุญเลี่ยม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นไวยาวัจกรวัดคุ้งตะเภา (คนที่ ๒) เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของไวยาวัจกรวัดคุ้งตะเภาคนที่ ๑ (พันเอกสิงหนาท โพธิ์กล่ำ) และช่วยในการศาสนพิธี สาธารณะประโยชน์ และสาธารณูปการของวัดคุ้งตะเภามาจนถึงปัจจุบัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :

- พ.ศ. ๒๕๑๕ เหรียญบำเหน็จกล้าหาญชัยสมรภูมิ (การรบสงคราม ณ สาธารณรัฐเวียดนาม)

- พ.ศ. เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๒

- พ.ศ. เหรียญราชการชายแดน

เล่าประวัติ-ความในใจของ จ.ส.อ.บุญเลี่ยม แสงวิจิตร

หมายเหตุ

*ไวยาวัจกรฝ่ายศาสนพิธี

จำ​​​​​​​นวน​​​​​​​ผู้​​​​​​​เข้า​​​​​​​เยี่ยมชมหน้านี้

ข้าพเจ้า เกิดที่บ้านเลขที่ ๔๔ หมู่ที่ ๔ บ้านท่าหาด ตำบลธรรมมูล

อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๔๘๗

เข้ารับการศึกษาที่ โรงเรียนวันพิกุลงาม จนจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และได้เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนพยุหะวิทยา อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒

เมื่อปี ๒๕๐๒ ข้าพเจ้าติดตามครอบครัวไปทำไร่ข้าวโพด ไร่ถั่วที่ตำบลตากฟ้า ต่อมาก็ได้ย้ายไปทำที่ อำเภอชัยบาดาน จังหวัดลพบุรี

เมื่อปี ๒๕๐๘ ข้าพเจ้าได้รับเกณฑ์ทหารเข้ารับการฝึกทหารใหม่ที่ค่ายธนะรัชต์ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเวลา ๔ เดือน และต่อมาได้เข้ารับการฝึกกำลังทดแทนที่ ตำบลลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปลายปี ๒๕๑๑ เป็นเวลา ๖ เดือน ได้เดินทางไปร่วมรบในสงครามเวียดนามทางเรือ รุ่นที่ข้าพเจ้าไปนั้น เป็นรุ่นผลัดที่ ๑ ส่วนที่ ๒ (รุ่นเสือดำ) เป็นกำลังไปผลัดเปลี่ยน (รุ่นจงอางศึก) ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในเวียดนามนั้น ได้เข้ากวาดล้างและทำลายต่อพื้นที่เป้าหมายหลายครั้ง ไม่สามารถกล่าวในที่นี้ได้ จนหมดภารกิจ ครบวาระ ๑ ปี ได้รับเหรียญราชอิสริยาภรณ์ชัยสมรภูมิ (ช.ส.) จึงได้เดินทางกลับ

เมื่อปลดประจำการข้าพเจ้าได้เข้าบรรพชาอุปสมบท ๑ พรรษาที่วัดพิกุลงาม เมื่อลาสิกขาบทมาก็ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการทหารที่ กองพันทหารม้าที่ ๗ เมื่อ ๔ กรกฎาคม ๒๕๑๔ ได้รับประดับยศเป็นสิบตรี เงินเดือน ๖๐๐ บาท ในระหว่างที่ข้าพเจ้ารับราชการอยู่นั้น ข้าพเจ้าได้ไปปฏิบัติงานปราบปรามคอมมิวนิสต์แทบจะทุกตารางนิ้วในจังหวัดน่าน และครั้งสุดท้ายที่เขตงาน ๔ และเขตงาน ๕ นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ ในเหตุการณ์ ๓ หมู่บ้าน จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก-เพชรบูรณ์ ครั้งสุดท้ายที่ข้าพเจ้าเข้าร่วมรบคือที่บ้านร่มเกล้า เมื่อครั้งเครื่องบิน F-105 ตกเมื่อปี ๒๕๓๐ และได้รับราชการทหารเรื่อยมาจนเกษียณอายุราชการในปี ๒๕๔๖

ในระหว่าง ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ หากจะถามว่ามีช่วงใดที่ข้าพเจ้าภูมิใจที่สุดและดีใจที่สุด ก็ขอตอบว่าในช่วงที่ข้าพเจ้าได้ประดับเหรียญชัยสมรภูมิ ซึ่งนับเป็นช่วงที่ข้าพเจ้าภูมิใจที่สุดในชีวิตนับแต่เกิดมา

เมื่อ ข้าพเจ้าได้ลาออกจากราชการมา ข้าพเจ้าก็ได้อยู่ที่บ้านระยะหนึ่ง ก็มองเห็นว่าสมควรที่จะได้มีส่วนช่วยเหลือชาวบ้านที่อยู่ใกล้ชิดกันที่เขามี ความเดือดร้อน ก็เลยเข้าวัดช้วยเหลืองานของวัด ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้างก็ดี งานศาสนพิธีก็ดี จนในที่สุดข้าพเจ้าก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นไวยาวัจกรเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ ถ้าจะถามว่าข้าพเจ้ามีความคิดอย่างไรจึงมาทำงานด้านนี้ ก็ขอตอบว่า ข้าพเจ้าเกิดมาชาติหนึ่งเรามีโอกาสได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามแต่ที่เราจะ ทำได้ ข้าพเจ้าดีใจ ภูมิใจ และมีความสุขที่เราได้มีโอกาสได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือผู้ที่เขาเดือดร้อน เป็นความภูมิใจ เป็นความสุข

ตั้งแต่​​​​ :: ๑๙ ​​​​ธันวาคม​​​​ ๕๑