วัฒนธรรมประเพณีบ้านคุ้งตะเภา

ประเพณี ๙ เดือน

(บ้านคุ้งตะเภา)

โดยชาวบ้านจะเป็นผู้ร่วมกันกำหนดวันทำบุญ

ขั้นตอนในการประกอบพิธีทำบุญกลางบ้านเริ่มจากชาวบ้านเตรียมทำกระทงใบตอง โดยทำเป็นถาดกาบกล้วยรูปสี่เหลี่ยม ปักธงกบิล ๔ ทิศ ใช้ดินเหนียวปั้นเป็นรูปคนเท่าจำนวนคนในบ้านรวมไปถึงวัวควาย ไก่หรือ สัตว์เลี้ยงอื่นด้วย ใส่เสื้อผ้าให้รูปคน มีการใส่ผักพล่าปลายำ พริกแห้ง เกลือ หัวหอม ข้าวสาร แล้วปักธูปลงในกระทง และใส่สตางค์ลงไปด้วย

วันจัดงานทำบุญกลางบ้านชาวบ้านจะถือกระทงนำไปวางไว้บริเวณปรำพิธีซึ่งตั้งอยู่บริเวณพระพุทธรูป โดยจะมีการก่อเจดีย์ทรายปักธงบนยอดเจดีย์และประดับด้วยใบมะพร้าว ธงกบิลฯลฯ พร้อมกับทำกำแพงล้อมทั้ง ๔ ทิศ พร้อมกับนิมนต์พระสงฆ์จากวัดคุ้งตะเภามา เจริญพระพุทธมนต์พระปริตรในเวลาเย็น ในระหว่างพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อพระสวดจบบทหนึ่งก็จะมีการตีฆ้อง ๓ ครั้ง ครั้นพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบในช่วงค่ำ พระสงฆ์จะสวดบท สุมงฺคลคาถา (สุนกฺขตฺตํ สุมงฺคลํ) และชาวบ้านก็จะจุดธูปเทียนใน กระทงและนำกระทงไปวางไว้ตามทางสามแพร่งหรือสถานที่ ๆ กำหนดไว้ และมีการละเล่นต่าง ๆ ในเวลากลางคืน ในวันที่สองจะนิมนต์พระสงฆ์มา

ด้วยเหตุนี้บ้านคุ้งตะเภา จึงมีประเพณีและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับชาวพุทธเถรวาทในแถบภาคกลางตอนบนของประเทศไทย โดยส่วนใหญ่การจัดประเพณีหรือกิจกรรมของหมู่บ้านมักจะจัดที่วัดคุ้งตะเภา อันเป็นวัดประจำหมู่บ้าน ซึ่งพอประมวลประเพณีที่ยังคงปฏิบัติอยู่และสูญหายไปแล้วได้ทั้งสิ้น ๙ เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย ดังนี้

ประเพณีเดือนสาม

บ้านคุ้งตะเภา

เดือน ๓ ประเพณีทำบุญกลางบ้าน

ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ของชาวบ้านคุ้งตะเภาคล้ายคลึงกับหมู่บ้านในแถบภาคกลาง แต่มีการปรับประยุกต์ขั้นตอนบางอย่างให้สะดวกขึ้น โดยประเพณีทำบุญกลางบ้านนี้ชาวบ้านคุ้งตะเภาจะแยกจัดพิธีเป็นสองครั้งคือ ในต้นเดือน ๓ จัดพิธีทำบุญกลางบ้านที่บ้านคุ้งตะเภาฝั่งตะวันออก (บ้านเหนือ) และปลายเดือน จัดพิธีทำบุญกลางบ้านที่บ้านคุ้งตะเภาฝั่งตะวันตก (บ้านใต้) โดยมีบริเวณในการจัดแน่นอน โดยบ้านเหนือจัดที่ีทางสามแพร่งเหนือหมู่บ้าน ส่วนบ้านใต้จัดที่ลานข้าวกลุ่มเกษตรกรทำนาคุ้งตะเภา

หมู่บ้านคุ้งตะเภา เป็นชุมชนโบราณ ที่มีผู้คนอยู่อาศัยสืบต่อกันมายาวนานแห่งหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันชาวบ้านคุ้งตะเภาทั้งหมดเป็นชาวพุทธเถรวาท มีวัดประจำหมู่บ้าน ๑ แห่ง คือ วัดคุ้งตะเภา ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าสองร้อยห้าสิบปี ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี อยู่คู่มากับการตั้งหมู่บ้านแห่งนี้นับแต่โบราณกาล ประเพณีและวัฒนธรรม ดั้งเดิมส่วนใหญ่ของหมู่บ้านคุ้งตะเภา คล้ายคลึงกับหมู่บ้านในแถบภาคกลางตอนบน เพราะโดยพื้นเพของคนคุ้งตะเภานั้นเป็น “คนไทยเหนือ” ตามคำปากของคนในสมัยอยุธยา คือเป็นกลุ่มคนชาติพันธ์ไทยเดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ปลายดินแดนหัวเมืองทางเหนือของอาณาจักรอยุธยา อันเป็นรอยต่อระหว่างวัฒนธรรมภาคกลางและวัฒนธรรมล้านนา โดยคนคุ้งตะเภาดั้งเดิมนั้นจะมีสำเนียงการพูดคล้ายคนสุโขทัยเดิม (ดูเพิ่มใน พจนานุกรมภาษาถิ่นบ้านคุ้งตะเภา) เมืองฝางสวางคบุรีและทุ่งยั้ง ในเรื่องนี้ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ประจำกรมศิลปากร สันนิษฐานว่าสำเนียงการพูดของคนคุ้งตะเภานั้น เป็นสำเนียงดั้งเดิมของคนไทยที่ตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย โดยกล่าวว่าคนบ้านคุ้งตะเภานั้น"มีสำเนียงพูดเหน่อ... แบบเดียวกับสำเนียงชาวบ้านฝาง บ้านท่าอิฐ บ้านทุ่งยั้ง ..บ้านท่าเสา.. และหมู่บ้านในเขตอำเภอพิชัย ที่อยู่ในเขตจังหวัดเดียวกัน

และเหมือนกับสำเนียงพื้นบ้านของชาวสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร

อันเป็นกลุ่มหัวเมืองเหนือในสมัยอยุธยา หรือบ้านเมืองที่เคยอยู่ในเขตแคว้นของสุโขทัยแต่เดิม"

— พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ประจำกรมศิลปากร

ฉันภัตตาหารเช้าถวายจตุปัจจัย จึงเป็นอันเสร็จพิธี

คติความเชื่อของประเพณีนี้มาจากการผสานความเชื่อเรื่องผีของคนโบราณเข้ากับความเชื่อทางพุทธศาสนา มาจากคติความเชื่อเรื่องผีในการขอบคุณผีที่ประทานความอุดมสมบูรณ์จนสามารถ เก็บเกี่ยวได้ และเป็นการสะเดาะห์เคราะห์คนในหมู่บ้านทั้งหมด และสอดคล้องกับวิถีชีวิตทางเกษตรกรรมของคนในชุมชน โดยประสานกับคติทางพุทธศาสนาเถรวาท ด้วยการจัดให้มีการทำบุญเพื่อเป็นอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษและเสริม สวัสดิมงคลความอุดมสมบูรณ์ของคนในหมู่บ้านหลังฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งประเพณีนี้เป็นประเพณีที่แปลกกว่าประเพณีอื่น ๆ โดยจัดนอกวัด ชาวบ้านจะเลือกเอาสถานที่จัดบริเวณลานกว้างในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการชุมนุมชาวหมู่บ้านมาร่วมจัดงานด้วยกัน เป็นการไต่ถามสารทุกข์สุกดิบซึ่งกันและกัน โดยมีการก่อพระเจดีย์ทรายไว้เป็นเครื่องหมาย ซึ่งคติการก่อเจดีย์ทรายไว้กลางหมู่บ้านนี้มาจากเรื่องราวในธรรมบทเพื่อ เป็นการสร้างกุศลก่อ เจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชาร่วมกัน และมีการทำกระทงใบตองใส่ดินปั้นผู้อาศัยในครัวเรือนของตน ๆ ซึ่งเป็นอุบายของคนโบราณในการสำรวจประชากรและสัตว์เลี้ยงในหมู่บ้านคุ้งตะเภาได้อย่างดียิ่ง

เดือน ๓ ประเพณีแรกตักข้าว

เมื่อเสร็จฤดูเก็บเกี่ยวนำข้าวขึ้นยุ้งฉางแล้ว ชาวคุ้งตะเภามีคติความเชื่อเรื่องหนึ่งคือ "แรกตักข้าว" คือเป็นวันแรกที่จะทำการตักข้าวที่เก็บเกี่ยวจากปีก่อนออกจากฉางมาทำการสี โดยกำหนดวันแรกตักไว้ตรงกับ วัน ๓ ค่ำเดือน ๓ มีความเชื่อว่าถ้าตักข้าวเก่าในฉางออกมาก่อนวันที่กำหนดนี้ ข้าวในฉางจะถูก ผีตะมอย กิน คือถ้าตักหนึ่งขัน ข้าวในฉางก็จะหายไปหนึ่งขัน เพื่อไม่ให้นำข้าวใหม่มา

สีกินก่อนเวลาอันควร

คตินี้น่าจะมาจากอุบายของคนโบราณและสอดคล้องกับสภาพของข้าวใหม่ที่เก็บ เกี่ยวในปีก่อน โดยก่อนที่จะถึงวัน ๓ ค่ำเดือน ๓ ข้าวใหม่จะยังไม่แห้งดี ไม่สมควรแก่การบริโภค แต่เมื่อถึงเดือน ๓ ข้าวก็จะแ้ห้งพอสมควรที่จะนำไปสีนำมารับประทานได้ และเพื่อให้ใช้ข้าวเก่าค้างยุ้งมารับประทานให้หมดไม่เหลือทิ้งไว้ ทำนองได้ใหม่ไม่ลืมเก่านั่นเอง

แต่ในปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีบ้านใดทำพิธีนี้อีกแล้ว เพราะไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน ประเพณีนี้พึ่งสูญหายไปเมื่อไม่เกิน ๓๐ ปีมานี้ คงเหลือไว้แต่เพียงคำบอกเล่าเท่านั้น

เดือน ๓ ประเพณีบำเพ็ญกุศลวันมาฆบูชา

ประเพณีกุศลวันมาฆบูชาประจำปีของหมู่บ้านคุ้งตะเภาจัดตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สอง

หน หรือปีอธิกมาส จะเลื่อนไปจัดในเดือน ๓ หลัง เป็นประเพณีบำเพ็ญกุศลทางพระพุทธศาสนาที่รำลึกถึงวันคล้ายวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศโอวาทปาติโมกข์ แก่พระอรหันต์ ๑๒๕๐ รูป ที่มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาถือบำเพ็ญปฏิบัติสืบมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔

โดยในช่วงเช้า ชาวบ้านจะจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระ และเตรียมสำรับกับข้าวมาถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร ที่ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา เป็นการบำเพ็ญกุศลในช่วงเช้า โดยมีการเจริญชัยมงคลกถา ถวายภัตตาหารเช้า มีการแสดงพระธรรมเทศนามาฆบูชากถา เสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นให้พร เป็นเสร็จพิธีในช่วงเช้า โดยในช่วงเย็น เวลาประมาณ ๑ ทุ่ม จะเป็นกิจกรรมบำเพ็ญกุศลเวียนเทียนเนื่องในวันมาฆบูชา มีการทำวัตรสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา และสวดมนต์บทพิเศษ และมีการเดินเวียนเทียนโดยพร้อมเพรียงกันทั้งคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวหมู่ บ้านคุ้งตะเภา หากในปีใด เวลาที่กำหนดเวียนเทียนมีฝนตก ก็จะประกอบพิธีเวียนเทียนรอบองค์พระบุษบกบรมคันธกุฎีประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ บนอาคารอสีติวัสสายุมลคลมหาศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภาแทน

เดือน ๓ ประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือก

ประเพณีก่อข้าวเปลือก ประจำปีของหมู่บ้านคุ้งตะเภาจัดตรงกับ วัน ขึ้น ๑๔-๑

๕ ค่ำเดือน ๓ ของทุกปี โดยชาวบ้านจะแบ่งข้าวเปลือกที่ตนเองทำการเพาะปลูกได้ในปีก่อนนำมาถวายวัด โดยในวัน ขึ้น ๑๔ ค่ำ จะมีการเจริญพระพุทธมนต์ฉลององค์พระเจดีย์ข้าวเปลือก และอาจมีการละเล่นบ้างตามความเหมาะสม และวันรุ่งขึ้น มีการถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ในวัด พร้อมกับทำพิธีถวายองค์เจดีย์ (ข้าวเปลือก) จึงเสร็จพิธี

พิธีนี้คล้ายพิธีสู่ขวัญข้าว ตามความเชื่อโบราณของคนในแถบลุ่มอารยธรรมอุษาคเนย์ ที่เชื่อกันว่าทุกสิ่งมี "ขวัญ" สถิตย์อยู่ เมื่อชาวบ้านทำนาเพาะปลูกข้าวและเ็ก็บเกี่ยวได้แล้ว ก่อนนำข้าวมาบริโภคหรือจำหน่าย จะมีการทำพิธี "สู่ขวัญข้าว" ทำนองเป็นการบูชาผีที่สถิตย์อยู่ในข้าว เป็นการแสดงความเคารพต่อสรรพสิ่งและนบน้อมต่อธรรมชาติ ซึ่งต่อมาเมื่อรับวัฒนธรรมแบบชาวพุทธเถรวาทซึ่งปฏิเสธการบูชาเซ่นทรวงเข้ามา จึงได้ "ปรับ" ประเพณีนี้ให้เข้ากับวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิมของตน คือการนำข้าวแรกเกี่ยวไปถวายพระเพื่อเป็นการทำบุญเป็นสิริมงคลแทน ซึ่งชาวบ้านคุ้งตะเภาก็ได้ถือปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมา แต่ด้วยสภาพสังคมและการดำรงชีวิตในปัจจุับัน ทำให้การจัดพิธีก่อเจดีย์ข้าวเปลือกในวัด มีผู้มาร่วมงานบางตา แต่โดยส่วนใหญ่ของผู้ีที่ไม่มาร่วมงาน ก็ยังคงแบ่งข้าวเปลือกฝากมาถวายวัดตามประเพณีนี้ตลอดมา

ประเพณีเดือนสี่

บ้านคุ้งตะเภา

เดือน ๔ ประเพณีตรุษไทย (วันปีใหม่ไทย)

ตามจารีตประเพณีแต่ดั้งเดิมของไทยถือเอาวันแรม ๑ ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นการสอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนาซึ่งถีอเอาฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี แต่ต่อมาได้ถือว่าวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้าเป็นวันขึ้นปีใหม่ (ตรุษไทย) ซึ่งถึอตามปฏิทินทางจันทรคติและยึดถือมา จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเห็นว่าไทยได้ติดต่อกับประเทศต่างๆ มากขึ้น การใช้ปฏิทินทางจันทรคติไม่เหมาะสมและไม่สะดวกเพราะไม่ลงรอยกับปฏิทินสากล จึงประกาศให้ใช้วันทางสุริยคติตามแบบสากลแทน ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๒ เป็นต้นมา และถือเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ด้วย แต่ชาวคุ้งตะเภายังคงรักษาธรรมเนียมตรุษไทยไว้โดยจัดทำบุญติดต่อกัน ๒ วัน คือ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ถึง วันขึ้น ๑ ค่ำเดืือน ๕ ในสมัยโบราณจะมีการ "กวนข้าวแดง" ซึ่งส่วนประกอบหลัก ๆ ของข้าวแดงก็มี ข้าว อ้อย น้ำตาล ฯลฯ โดยมีการรวมตัวคนในหมู่บ้านมาช่วยกวนข้าวแดงด้วยกันเพื่อนำไปแจกจ่ายคนใน หมู่บ้านและถวายพระสงฆ์ ซึ่งนอกจากข้าวแดงแล้วยังมี ขนมต้ม และขนมจีนซึ่งแต่ละบ้านจะทำกันเองและนำมาแจกจ่ายกันในวันทำบุญ

ในปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีการรวมตัวเพื่อกวนข้าวแดงกันอีกต่อไปแล้ว คงเหลือแต่การทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์ตามปรกติเท่านั้น จะมีพิเศษบ้างก็แต่ชาวบ้านจะนำอ้อย ขนมจีน ขนมต้ม มาถวายพระมาก แต่ก็เป็นเพียงสิ่งที่ซื้อหากันมา มิได้เป็นสิ่งที่เกิดจากความสามัคคีของคนในชุมชนอย่างที่ควรจะเป็นอีกแล้ว

ประเพณีเดือนห้า

บ้านคุ้งตะเภา

เดือน ๕ ประเพณีสงกรานต์

การจัดประเพณีสงกรานต์ของ ชาวบ้านคุ้งตะเภาคล้ายคลึงกับพื้นที่อื่น คือมีการทำบุญ ๓ วัน (๑๓-๑๕ เมษายน) ในวันสุดท้ายจะมีพิธีสรงน้ำพระตามประเพณี และในบางปีจะมีการรวมตัวจัดอุปสมบทหมู่อีกด้วยเพื่อบวชลูกหลานซึ่งกลับมาจากต่างถิ่น โดยทุกเช้าของทั้งสามวันจะมีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ในวัดคุ้งตะเภา โดยในวันแรกจะมีการทอดผ้าป่าสามัคคีของคณะชาวบ้านคุ้งตะเภาและลูกหลานของ ชาวหมู่บ้านที่ไปทำงานต่างถิ่น ในวันที่สองมีการบวชนาคสามัคคี โดยเวลาเที่ยง มีการทำพิธีปลงผมนาค เวลาบ่ายทำการแห่นาค เมื่อถึงช่วงเย็นมีการเทศน์สอนนาค และอุปัชฌาย์พร้อมทั้งกรรมวาจา-อนุสาวนาจารย์ พระอันดับจะลงอุโบสถเพื่อประกอบการอุปสมบทนาคในเวลาตี ๕ ของวันรุ่งขึ้น คือวันที่ ๑๕ เมษายน อันเป็นวันมหาสงกรานต์ เมื่อบวชนาคเสร็จ เวลาเช้ามีการเจริญพระพุทธมนต์ฉลองพระบวชใหม่ และในเวลาบ่ายของวันนั้นมีการจัดพิธีษมากรรมและสรงน้ำพระสงฆ์ในวัดพร้อมกับ ผู้สูงอายุ และเมื่อสรงน้ำพระเสร็จ ชาวบ้านก็จะนำน้ำธูปเทียนดอกไม้ไปสักการะเจดีย์บรรจุอัฐิบรรพบุรุษที่ตั้งอยู่ในวัดหรือบ้านของตน ๆ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีสงกรานต์ที่จัดในวัดประจำหมู่บ้าน

เดือน ๕ ประเพณีแห่สมโภชสรงน้ำพระบรมธาตุวัดคุ้งตะเภา

ประเพณีแห่สมโภชสรงน้ำพระบรมธาตุวัดคุ้งตะเภา เป็นพีธีกรรมทางศาสนาประจำชุมชนคุ้งตะเภา ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รั

บมาจากสมเด็จพระสังฆราชสองประเทศ คือจากประเทศไทย และประเทศพม่า เป็นประเพณีที่กระทำสืบมาเป็นประจำทุกปี โดยช่วงเวลา วันที่ ๑๔ เมษายน ๑๕ และอัญเชิญขึ้นประดิษฐานสถานที่จัดไว้ชั่วคราว เพื่อเตรียมให้ประชาชนทำพิธีสรงน้ำถวายพระบรมสารีริกธาตุในวันรุ่งขึ้น วันที่ ๑๕ เมษายน เวลาเช้ามีพิธีทำบุญตักบาตรในวันมหาสงกรานต์ เวลาบ่ายมีพิธีถวายน้ำสรงพระบรมสารีริกธาตุ โดยเริ่มจากพิธีกรรมทางศาสนา นิมนต์พระสงฆ์ผลัดชุดลงสรงเรียงแถวนั่งเข้าหัตถบาส ประชาชนเตรียมน้ำผสมน้ำหอมเช่นน้ำอบไทยบรรจุในภาชนะขัน โรยหน้าด้วยดอกไม้หอมเช่นดอกกุหลาบหรือดอกมะลิ เมื่อพร้อมแล้วมีผู้กล่าวนำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ละคำถวายน้ำสำหรับสรงพระสงฆ์ ประชาชนในพิธีกล่าวตาม ต่อจากนั้นประชาชนร่วมกันสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และพระสงฆ์และสามเณรตามลำดับ โดยการสรงพระบรมสารีริกธาตุในแต่ละปี มีการทำรูปแบบแตกต่างกันไป บางปีให้สรงโดยตรงที่องค์พระสถูป บางปีทำเป็นรางริน หรือ ฮางริน ให้ประชาชนสรงโดยเทน้ำลงรางน้ำให้ไหลไปรวมกันที่องค์พระสถูปแบบโบราณ และเมื่อสรงน้ำพระเสร็จแล้วพระสงฆ์สามเณรก็ให้พร เป็นเสร็จพิธีสรงน้ำพระสงฆ์ จากนั้นก็เชิญผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านคุ้งตะเภานั่งเก้าอี้ และกล่าวขอขมา และอาบน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ ระหว่างนั้นก็เปลี่ยนกันรดน้ำสาดน้ำใส่กันอย่างสนุกสนาน เมื่อได้เวลาสมควร ผู้เหฒ่าผู้แก่ก็ให้ศีลให้พร เป็นเสร็จพิธี เนื่องด้วยพระบรมสารีริกธาตุเป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ตามคตินิยมแต่โบราณ บ้านใดเมืองใดได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน ย่อมเป็นสิ่งมงคลสูงสุด จึงเป็นธรรมเนียมแต่เดิมว่า ควรจัดกระทำการฉลองสมโภชโดยนานาประการ ประดุจองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาสู่เมืองและนครนั้น ๆ ด้วยพระองค์เอง หมู่บ้านคุ้งตะเภาจึงได้มีการจัดประเพณีแห่สมโภชสรงน้ำพระบรมธาตุวัดคุ้งตะเภาทุก ๆ ปี สืบมา

สาระสำคัญประเพณีแห่สมโภชสรงน้ำพระบรมธาตุวัดคุ้งตะเภา ๑. ประเพณีแห่สมโภชสรงน้ำพระบรมธาตุวัดคุ้งตะเภามีขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รวมตัวกันแสดงความสามัคคีของชุมชน และเป็นการแสดงความเคารพ และแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา และบุพการีชน เพื่อเป็นสิริมงคลประจำปีเนื่องในโอกาสเปลี่ยนจักรราศี ๒. ประเพณีแห่สมโภชสรงน้ำพระบรมธาตุวัดคุ้งตะเภามีขึ้น เพื่อเป็นการถวายสักการะอย่างสูงสุดแด่องค์พระบรมสารีริกธาตุซึ่งเป็นส่วนแห่งพระสรีรกายแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่วัดคุ้งตะเภาได้รับมาพระสังฆราชพม่าและไทย ซึ่งเป็นพระบรมธาตุเก่าแก่จากพระมหาเจดีย์เก่าแก่อายุนับพันปีในเมืองพุกาม เป็นมงคลวัตถุธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์สูงค่าที่สุดในโลก ๓. เป็นกิจกรรมทางสังคมที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนที่เป็นมาด้วยดี ด้วยความผูกพันและสามัคคี โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมของศรัทธาชุมชนอันมีพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง

ประเพณีเดือนหก

บ้านคุ้งตะเภา

เดือน ๖ ประเพณีบำเพ็ญกุศลวันวิสาขบูชา

ประเพณีกุศลวันวิสาขบูชาประจำปีของหมู่บ้านคุ้งตะเภาจัดตรงกับ วัน ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองหน หรือปีอธิกมาส จะเลื่อนไปจัดในเดือน ๗ เป็นประเพณีบำเพ็ญกุศลทางพระพุทธศาสนาที่รำลึกถึงวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญที่สุด ซึ่งชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาถือบำเพ็ญปฏิบัติสืบมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และถือว่าเป็นวันเปลี่ยนปีพุทธศักราชมาแต่โบราณ

โดยในช่วงเช้า ชาวบ้านจะจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระ และเตรียมสำรับกับข้าวมาถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร ที่ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา เป็นการบำเพ็ญกุศลในช่วงเช้า โดยมีการเจริญชัยมงคลกถา ถวายภัตตาหารเช้า มีการแสดงพระธรรมเทศนาวิสาขบูชากถา เสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นให้พร หลังจากพระสงฆ์ให้พรเสร็จ พนักงานเปิดพระบุษบกบรมคันธกุฎีประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กลางอาคารอสีติวัสสายุมลคลมหาศาลาการเปรียญ เพื่อให้เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภาอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานชั่วคราวในอุโบสถวัดคุ้งตะเภา

โดยการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุในช่วงเช้านั้น อัญเชิญนำประกอบเครื่องสูง มีพนักงานกั้น

เครื่องสูงบูชาพระบรมสารีริกธาตุอย่างโบราณประเพณี เดินทักษิณาวัตรรอบอุโบสถ และคณะพุทธศาสนิกชนชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาที่มาบำเพ็ญกุศลในช่วงเช้าทั้งหมด เดินเวียนเทียนตามพระบรมสารีริกธาตุ รอบอุโบสถ ๓ รอบ เสร็จแล้ว อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอุโบสถเพื่อประดิษฐานเป็นการชั่วคราวเปิดให้ประชาชนสักการะเนื่องในวันวิสาขบูชา โดยในช่วงเวลากลางวันตลอดทั้งวัน มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เช่น การแสดงนิทรรศการทางพระพุทธศาสนา การสมาทานอุโบสถศีล และมีพุทธศาสนิกชนอยู่ปฏิบัติธรรมตลอดทั้งวัน โดยในช่วงเย็น เวลาประมาณ ๑ ทุ่ม จะเป็นกิจกรรมบำเพ็ญกุศลเวียนเทียนเนื่องในวันวิสาขบูชา มีการทำวัตรสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา และสวดมนต์บทพิเศษ และมีการเดินเวียนเทียนโดยพร้อมเพรียงกันทั้งคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภา หากในปีใด เวลาที่กำหนดเวียนเทียนมีฝนตก ก็จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากอุโบสถขึ้นประดิษฐานในบุษบก และประกอบพิธีเวียนเทียนรอบองค์พระบุษบกบรมคันธกุฎีประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ บนอาคารอสีติวัสสายุมลคลมหาศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภาแทน

ประเพณีเดือนเจ็ด

บ้านคุ้งตะเภา

เดือน ๗ ประเพณีถวายสลากภัต

การจัดงานทำบุญถวายสลากภัตของชาวบ้านคุ้งตะเภาจัดตรงกับ วัน ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๗ ของทุกปี โดยชาวบ้านจะนำสำรับภัตตาหารและผลไม้มา ถวายพระสงฆ์ โดยจะนิมนต์พระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ ร่วม ๓๐ วัด กว่าร้อยรูป มาฉันภัตตาหารและถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ในอดีตมีการจับฉลากเลือกพระสงฆ์รับสังฆทานตามประเพณี และเวลากลางคืนมีการละเล่นต่าง ๆ เช่นชกมวยคาดเชือก มวยไทยสายพระยาพิชัย ฯลฯ แต่ปัจจุบันนี้คงเหลือเพียงการถวายภัตตาหารพระสงฆ์รวมเท่านั้น การละเล่นต่าง ๆ ทางวัดงดไปแล้ว แต่สำหรับวัดในแถบตำบลคุ้งตะเภา-ป่าเซ่า นิยมมีการจัดมหรสพดนตรีเป็นงานใหญ่ บางหมู่บ้านก็ขอทางวัดจัดให้มีกีฬาชกมวยไทย เป็นงานเอิกเริกประจำปีของหมู่บ้านนั้น ๆ

ประเพณีเดือนแปด

บ้านคุ้งตะเภา

เดือน ๘ ประเพณีบำเพ็ญกุศลวันอาสาฬหบูชา

ประเพณีกุศลวันวิสาขบูชาประจำปีของหมู่บ้านคุ้งตะเภาจัดตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองหน หรือปีอธิกมาส จะเลื่อนไปจัดในเดือน ๘ หลัง เป็นประเพณีบำเพ็ญกุศลท

างพระพุทธศาสนาที่รำลึกถึงวันคล้ายวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระอริยสัจธรรมและมีพระอริยสงฆ์สาวกเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก ซึ่งชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาถือบำเพ็ญปฏิบัติสืบมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๑ ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมวันอาสาฬหบูชาขึ้นในประเทศไทย

โดยในช่วงเช้า ชาวบ้านจะจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระ และเตรียมสำรับกับข้าวมาถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร ที่ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา เป็นการบำเพ็ญกุศลในช่วงเช้า โดยมีการเจริญชัยมงคลกถา ถวายภัตตาหารเช้า มีการแสดงพระธรรมเทศนาอาสาฬหบูชากถา เสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นให้พร เป็นเสร็จพิธีในช่วงเช้า

โดยในช่วงเย็น เวลาประมาณ ๑ ทุ่ม จะเป็นกิจกรรมบำเพ็ญกุศลเวียนเทียนเนื่องในวันอาสาฬหบูชา มีการทำวัตรสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา และสวดมนต์บทพิเศษ และมีการเดินเวียนเทียนโดยพร้อมเพรียงกันทั้งคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวหมู่ บ้านคุ้งตะเภา หากในปีใด เวลาที่กำหนดเวียนเทียนมีฝนตก ก็จะประกอบพิธีเวียนเทียนรอบองค์พระบุษบกบรมคันธกุฎีประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ บนอาคารอสีติวัสสายุมลคลมหาศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภาแทน

เดือน ๘ ประเพณีบำเพ็ญกุศลวันเข้าพรรษา

ประเพณีกุศลวันเข้าพรรษาประจำปีของหมู่บ้านคุ้งตะเภาจัดตรงกับ วันแรม ๑ ค่ำ ค่ำเดือน ๘ ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองหน หรือปีอธิกมาส จะเลื่อนไปจัดในเดือน ๘ หลัง เป็นประเพณีบำเพ็ญกุศลทางพระพุทธศาสนาที่ชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาถือปฏิบัติสืบต่อมาตั้งแต่โบราณตั้งแต่แรกตั้งวัด กว่า ๒๕๐ ปี โดยมีความพิเศษคือชาวบ้านคุ้งตะเภาจะเตรียมข้าวต้มมาถวายแด่พระสงฆ์เป็นพิเศษ เพื่ออุทิศกุศลให้แก่บุพการีชนด้วย

โดยในช่วงเช้า ชาวบ้านจะจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระ และเตรียมสำรับกับข้าวมาถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร ที่ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา เป็นการบำเพ็ญกุศลในช่วงเช้า โดยมีการเจริญชัยมงคลกถา ถวายภัตตาหารเช้า มีการแสดงพระธรรมเทศนา ถวายเทียนพรรษา และผ้าจำพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นให้พร เป็นเสร็จพิธี

ในช่วงเย็น เป็นพิธีของพระสงฆ์ มีการลงอุโบสถ ทำวัตรสวดมนต์ ประกาศกำหนดเขตอาราม และอธิษฐานพรรษา ว่าจะจำพรรษาอยู่ ณ วัดคุ้งตะเภาตลอดไตรมาสพรรษากาล

ประเพณีเดือนสิบ

บ้านคุ้งตะเภา

เดือน ๑๐ ประเพณีสารทไทย

สารทไทย เป็นวันเปลี่ยนกลางปีนักษัตรตามหลักโหราศาสตร์ไทย วันสารทจึงถือเป็นวันกลางปีของคนไทยมาแต่โบราณ โดยประเพณีนี้ชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาสืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยคู่กับประเพณีตรุษไทย โดยมีการรวมตัวคนในหมู่บ้านมาร่วมกันกวนข้าวกระยาสารทเพื่อถวายพระสงฆ์และ แจกจ่ายคนในหมู่บ้าน และมีการละเล่นต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันคงเหลือแต่การทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์ตามปรกติ การรวมตัวเพื่อกวนข้าวกระยาสารทไม่มีอีกแล้ว มีแต่ข้าวกระยาสารทซึ่งซื้อหามาถวายพระสงฆ์แทน โดยประเพณีสารทไทยหมู่บ้านคุ้งตะเภา เป็นประเพณีประจำเดือน ๑๐ ในรอบปีปฏิทินประเพณีบุญ ๙ เดือน ของบ้านคุ้งตะเภา ดังมีคำกล่าวสืบมาแต่โบราณว่า "วันตรุษอย่าให้ขาด วัดสารทอย่าให้เว้น" ดังนั้น ประเพณีสารทไทยจึงถือเป็นประเพณีที่สำคัญที่สุดประเพณีหนึ่งในรอบปีของชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภา

ประเพณีเดือนสิบเอ็ด

บ้านคุ้งตะเภา

เดือน ๑๑ ประเพณีบำเพ็ญกุศลวันออกพรรษา

ประเพณีกุศลวันออกพรรษาประจำปีของหมู่บ้านคุ้งตะเภาจัดตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี เป็นประเพณีบำเพ็ญกุศลทางพระพุทธศาสนาที่ชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาถือปฏิบัติสืบต่อมาตั้งแต่โบราณตั้งแต่แรกตั้งวัด กว่า ๒๕๐ ปี

โดยในช่วงเช้า ชาวบ้านจะจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระ และเตรียมสำรับกับข้าวมาถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร ที่ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา เป็นการบำเพ็ญกุศลในช่วงเช้า โดยมีความพิเศษคือชาวบ้านคุ้งตะเภาจะเตรียมข้าวต้มมาถวายแด่พระสงฆ์เป็นพิเศษ เพื่ออุทิศกุศลให้แก่บุพการีชนด้วย โดยมีการเจริญชัยมงคลกถา ถวายภัตตาหารเช้า มีการแสดงพระธรรมเทศนา เสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นให้พร เป็นเสร็จพิธี

ในช่วงเย็น เป็นพิธีของพระสงฆ์ มีการลงอุโบสถ ทำวัตรสวดมนต์ และกระทำปวารณาออกพรรษาตามพระวินัยบรมพุทธานุญาต

เดือน ๑๑ ประเพณีบำเพ็ญกุศลตักบาตรเทโวฯ

ประเพณีกุศลตักบาตรเทโวโรหณะประจำปีของหมู่บ้านคุ้งตะเภาจัดตรงกับ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ชาวบ้านจะจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระ และเตรียมสำรับกับข้าวมาถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร โดยในช่วงเช้าก่อนถวายภัตตาหารเช้า ชาวบ้านจะเตรียมข้าวสารอาหารแห้งมานั่งรอที่บริเวณรอบอุโบสถ และหน้าศาลาการเปรียญ พระภิกษุสงฆ์สามเณรนำไหว้พระในอุโบสถเสร็จแล้วออกจากอุโบสถ อัญเชิญพระพุทธตรีโลกนาถมุนี ประดิษฐานบนรถบุษบกน้อย ประกอบเครื่องสูง นำขบวนพระภิกษุสงฆ์ เพื่อให้ชาวบ้านตักบาตรแด่พระภิกษุสงฆ์สามเณรเนื่องในวันเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จขึ้นไปเทศน์โปรดพระพุทธมารดาตลอดไตรมาสพรรษากาลในช่วงต้นพุทธกาล

หลังจากตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งเสร็จแล้ว จะมีการประกอบพิธีถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์สามเณร ที่ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา เป็นการบำเพ็ญกุศล โดยมีการเจริญชัยมงคลกถา ถวายภัตตาหารเช้า เสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นให้พร เป็นเสร็จพิธี

เดือน ๑๑ ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีการจัดเทศน์มหาชาติของหมู่บ้านคุ้งตะเภา จัดตรงกับ วันแรม ๔,๕,๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี โดยจัดในวัดคุ้งตะเภา บางปีอาจจัดให้แล้วเสร็จในวันเดียว ภายหลังออกพรรษา ก่อนพ้นเดือน ๑๒ ก็ได้

ซึ่งในวันแรกจะมีการเทศน์ พระมาลัยสูตร ๓ ธรรมาสน์ ตามประเพณี เพื่อเป็นการชี้แจงอานิสงส์การฟังมหาชาติเวสสันดรชาดกในวันถัดไป ตามกัณฑ์เทศน์พระมาลัยนั้น องค์แสดงเป็นพระศรีอาริยเมตไตย จะชี้แจงผลานิสงส์ที่จะให้มาเกิดในยุคพระศรีอาริย์ โดยบอกเหตุว่า ผู้ใดฟังเวสสันดรชาดกครบ ๑๓ กัณฑ์ พันพระคาถา ตั้งใจมุ่งมาบังเกิดในยุคของพระศรีอาริย์ก็จะสำเร็จผลดังปรารถนา ซึ่งพระมาลัยสูตรนั้น เป็นเรื่องที่พระภิกษุชาวสิงหล (ศรีลังกา) แต่งขึ้น เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๐๐ กล่าวถึงพระอรหันต์องค์หนึ่ง ซึ่งลงไปเยี่ยมเมืองนรกและสวรรค์และได้พบกับพระศรีอาริยเมตไตยบนสวรรค์นั้น

ในวันที่สองเวลาเช้า พระสงฆ์ในวัดจะขึ้นธรรมมาสน์อ่านเวสสันดรชาดกเป็นภาษาบาลี และเจ้าภาพผู้รับขันกัณฑ์เทศน์ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ จะจุดเทียนธูปบูชาตามคาถาของกัณฑ์ที่ตนรับเป็นเจ้าภาพไว้ (เช่นทานกัณฑ์ มีคาถาบาลี ๒๐๙ คาถา (ประโยค) เจ้าภาพจะนำเทียนและธูปเท่ากับจำนวน ๒๐๙ คาถา มาจุดบูชา) ต่อมาในเวลาบ่าย พระสงฆ์จะขึ้นเทศน์เวสสันดรชาดกเป็นทำนองเหล่ ครบ ๑๓ กัณฑ์ ทั้งหมดเสร็จสิ้นในเวลาเย็นของวันนั้น

ในวันที่สามเวลาเช้ามีการถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์และมีเทศน์อานิสงส์ฟังเวสสันดรชาดก เป็นอันเสร็จสิ้น

คติของประเพณีนี้สืบเนื่องมาจากช่วงเดือน ๑๑ ข้าวกำลังออกรวง ชาวบ้านว่างงานรอเก็บเกี่ยว จึงจัดพิธีเทศน์มหาชาติขึ้นโดยมีการรวมตัวคนในหมู่บ้านมาจัดประดับศาลา (โดยเฉพาะหนุ่มสาว ที่หวังจะมาพบปะและหยอกเอินหวังจีบกันในงานนี้) และมีการละเล่นต่าง ๆ รวมทั้งจัดประดับตกแต่งศาลาให้เป็นป่าหิมพานต์ มีต้นอ้อย กล้วย ธงกบิล ฉัตรบูชา ซึ่งเมื่อเลิกพิธีชาวบ้านจะแย่งกันนำต้นกล้วยอ้อยนำไปฝานเป็นแว่นเล็ก ๆ ใส่ชะลอมนำไปปักไว้ท้องนา เพราะเวลานั้นข้าวกำลังออกรวง เหมือนแม่โพสพตั้งท้อง จึงนำสิ่งเหล่านี้ไปถวายแม่โพสพ เพราะคิดว่าคนตั้งท้องน่าจะชอบของเหล่านี้ ตามความเชื่อในเรื่องผีของคนโบราณ

แต่ในปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนไป การจัดเทศน์มหาชาติไม่ค่อยมีคนหนุ่มสาวในหมู่บ้านสนใจ ส่วนใหญ่จะมีแต่พระสงฆ์และผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านที่ยังพอมีแรง มาช่วยกันประดับตกแต่งศาลาการเปรียญ ผู้มาฟังเทศน์ก็เป็นคนรุ่นเก่า และค่อนข้างน้อย เมื่องานเสร็จก็ไม่ปรากฏว่ามีการแย่งฉัตรธงอ้อยกล้วยกันอีกต่อไปฯ

โดยการจัดเทศน์มหาชาติวัดคุ้งตะเภา ในปัจุจบัน ได้นิยมจัดให้มีการแสดงพระธรรมเทศนาทั้งนั้น เสร็จสิ้นจบลงในวันเดียวกัน เพื่อให้เป็นไปตามอานิสงส์ซึ่งเชื่อกันว่า ผู้ใดได้ฟังเทศน์มหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ์ จบภายในวันเดียว ผู้นั้นก็จะได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ คือทันยุคพระศรีอริยเมตไตรย จะได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ จะไม่ไปเกิดในอบาย จะเป็นผู้มีสุข และจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ตามตำราโบราณ

เดือน ๑๑ ประเพณีกฐินทาน

ประเพณีบุญกฐินทานของวัดคุ้งตะเภา กำหนดจัดในช่วงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึงก่อนสิ้นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ โดยกำหนดเวลาไม่ตรงกันในแต่ละปี เพื่อถวายผ้ากฐินและบริวาร แด่พระสงฆ์วัดคุ้งตะเภาที่อยู่ประจำครบไตรมาสพรรษากาล ได้ประกอบกฐินัตถารกิจตามพระวินัย เพื่อให้ได้อานิสงส์แห่งการจำพรรษาบริบูรณ์

โดยในช่วงเช้า ชาวบ้านจะจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระ และเตรียมสำรับกับข้าวมาถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร ที่ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา เป็นการบำเพ็ญกุศลในช่วงเช้า โดยมีการเจริญชัยมงคลกถา ถวายภัตตาหารเช้า มีการแสดงพระธรรมเทศนา เสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นให้พร หลังจากนั้นเวลาประมาณ ๙ นาฬิกา จะเป็นการประกอบพิธีถวายผ้ากฐิน มีการสวดสมมุติและประกอบพิธีตามพระวินัย บนศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา เสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นอนุโมทนา หลังจากประกอบพิธีบนศาลาการเปรียญเสร็จ พระสงฆ์จะเข้าสู่อุโบสถ เพื่อประกอบพิธีกฐินัตถารกิจให้สมบูรณ์ตามพระวินัย ทั้งนี้ในช่วงบ่ายหรือเย็นวันทอดกฐิน หรือก่อนวันทอดกฐิน ๑ วัน อาจมีการจัดงานละเล่นสมโภชองค์กฐินตามแต่เจ้าภาพจะนำมาในแต่ละปี

ประเพณีเดือนสิบสอง

บ้านคุ้งตะเภา

เดือน ๑๒ ประเพณีลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทงของชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภา จัดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เพื่อรำ

ลึกถึงคุณของพระแม่คงคา โดยในอดีตกว่า ๒๕๐ ปี ก่อน ชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาจัดบุญลอยกระทงที่วัดคุ้งตะเภา ในเวลากลางคืนมีการละเล่นและลอย และประกอบพิธีลอยกระทงที่บริเวณศาลาการเปรียญหน้าวัดคุ้งตะเภา แต่หลังจากแม่น้ำน่านเปลี่ยนทางเดินออกไปไกลจากวัดมากในสมัยหลัง การจัดงานบุญลอยกระทงวัดคุ้งตะเภาจึงเหลือเพียงการบำเพ็ญกุศลในช่วงเช้า และเมื่อถึงช่วงเย็นก็จัดทำกระทงไปลอยที่บริเวณแม่้ำน่านบริเวณท่าที่สะดวก ในช่วงหลังมีการสร้างสวนสาธารณะหาดริมน้ำน่านบ้านคุ้งตะเภา สถานที่ดังกล่าวจึงเป็นศูนย์รวมการจัดกิจกรรมวันลอยกระทงของหมู่บ้านและตำบลคุ้งตะเภา มีการจัดงานติดต่อกัน ๓ วัน มีการแสดง การละเล่น และออกร้านต่าง ๆ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุน เป็นงานใหญ่สำคัญประจำปีของหมู่บ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบัน

  • เทวประภาส มากคล้าย. (2553). คุ้งตะเภา จากอดีตสู่ปัจจุบัน : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ISBN 9789743648847