ประเพณีและความเชื่อของมังคละเภรีศรีสวางคบุรี

ความภาคภูมิใจของเรา

รางวัลองค์กรเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม

ดีเด่น ๑ ใน ๒ แห่งระดับประเทศ

ประจำปี ๒๕๕๘

---------------------------------------------------------------------------

ประเพณีและความเชื่อของมังคละเภรีเมืองสวางคบุรี

---------------------------------------------------------------------------

๑) พิธีไหว้ครูหรือครอบครูก่อนการฝึกหัดหรือจับข้อมือ มังคละสวางคบุรี

การเริ่มฝึกหัดหรือเริ่มเรียนดนตรีมังคละสายสวางคบุรี นั้น ผู้เรียนจำเป็นจะต้องทำการครอบครูหรือจับข้อมือเสียก่อน เพื่อเป็นการขออนุญาตและรับมอบวิชาจากครู ซึ่งครูผู้สอนจะเป็นผู้กระทำพิธีครอบและจับข้อมือให้ ถ้าฝึกหัดด้วยตนเองโดยไม่ผ่านขั้นตอนดังกล่าวแล้ว อาจส่งผลให้มีอันเป็นไปในทางไม่ดี หรือที่เรียกว่า “ผิดครู”

พิธีครอบครูหรือจับข้อมือนั้น จะกระทำในวันพฤหัสบดีใดก็ได้ ยกเว้นว่าเป็นวันพฤหัสบดีที่ตรงกับวันพระ ซึ่งถือกันว่าเป็นวันครูเหมาะสำหรับการประกอบพิธีไหว้ครู พิธีไหว้ครูนั้น ผู้เรียนจะต้องจัดหาเครื่องกำนัลหรือเครื่องบูชาครูมาเอง ดังต่อไปนี้

ประมวล

องค์ความรู้

"มังคละเภรี"

เตรียมขันธ์ ๕ (ใส่พาน)

๑. ธูป ๕ ดอก

๒. เทียน ๑ บาท

๓. หมาก พลู ๕ คำ

๔. ยาเส้น ๕ มวน

๕. ดอกไม้ ๕ สี

๖. เงิน ๖ บาท

๗. เหล้า ๑ ขวด

๘. พาน

เตรียมเครื่องทำน้ำมนต์ ประกอบด้วย

๑.เทียน

๒.เงิน ๑ บาท

๓.ฝักส้มป่อย

๔.ใบส้มป่อย

๕.ใบธรณีสาร

๖.มะกรูด

๗.หญ้าคาพรม

๘.ขันน้ำมนต์

เตรียมเครื่องจุณเจิมมังคละ ประกอบด้วย

๑.ทองคำเปลว (เท่าจำนวนเครื่องดนตรี)

๒.ขี้ผึ้ง

๓.แป้งเจิม (น้ำอบไทย และดินสอพอง)

เตรียมเครื่องสังเวยครู ประกอบด้วย

๑. เหล้า ๑ ขวด

๒. บุหรี่ ๑ ซอง

๓. ปลา ๓ ตัว

๔. ธูป ๓ ดอก

การตั้งมณฑลพิธีครอบครูมังคละสวางคบุรี

ตั้งมณฑลพิธี โดยปูลาดผ้าขาวเป็น ๓ ชั้น โดยนำเศียรพ่อแก่วางไว้บนสุด วางพานบายศรีไว้ซ้ายขวา ถัดลงมา วางรูปครูมังคละผู้ล่วงลับ (รูปจั่น รูปครูบุญช่วย) ชั้นล่างสุด วางเครื่องดนตรีมังคละโดยวางกลองหลอนกลองยืนคว่ำ และพาดด้านบนด้วยไม้หามฆ้อง ใส่ฆ้องในไม้หามทั้ง ๓ ใบ จากนั้นวางอุปกรณ์ทั้งหมดไว้ที่ผ้าขาวตามลำดับ และวางเครื่องเซ่นสังเวยทั้งหมดไว้ด้านหน้าบนผ้าขาว

เมื่อตั้งมณฑลพิธีเสร็จแล้ว ก่อนเริ่มพิธีนั้น ครูจะจุดธูป ๓ ดอก สังเวยครู และจุณเจิม และปิดทองคำเปลวที่เครื่องดนตรีมังคละทั้งหมดเป็นปฐมฤกษ์

และเมื่อผู้เรียนเตรียมเครื่องบูชาครูมาพร้อมแล้ว ผู้ทำพิธีจะเริ่มทำพิธีตามลำดับขั้นตอน โดยให้ผู้เรียนว่าตาม ดังนี้

สื่อเผยแพร่ของศูนย์ฯ

รวมบทความมังคละ

(เทวประภาส)

๑๒ พ.ค. ๕๘

ชีวิตนี้น้อยนัก

พึงพิทักษ์เชิดชูไว้

มังคละสิ้นเมื่อใด

สิ้นหายใจ "จิตวิญญาณ์"

วานท่านขอวานเถิด

สิ่งประเสริฐจงรักษา

มังคละคืออัชฌา

คือ "ปัญญาแห่งผองชน"ฯ

"คุ้งตะเภาเภรี"

บรรเลงศรีคู่สยาม

ดํบงดํกลองตาม

คือสายธารเชิดชูไทย

"มังคละมรดกโลก"

จะสู่โศกนิมิตหมาย

"กู้เก่ากลับคืนกลาย"

คือ "หน้าที่พิทักษ์ธรรม"

บัดนี้ใกล้สิ้นชื่อ

สิ้นนับถือผู้รักษา

ใกล้ผ่านกาลเวลา

"ดับอรุณ" สุโขทัย

"ดนตรีในตำนาน

แห่งสวางคบุรี"

มังคละหลากลีลา

อารยะศาสตร์และศิลป์

เล่าขานตำนานถิ่น

รุ่นสู่รุ่น "มังคละ"

สืบสาน "น่านวารินทร์"

คู่แผ่นดินแห่ง "เมืองฝาง"

เคียงคู่สู่เมืองงาม

"มหาธาตุพระศาสดา"

๑. ครูจุดธูป ๓ ดอก

๒. ผู้เรียนมอบขันธ์ ๕ เครื่องบูชาครู

๓. กล่าวคำขอครอบครู ดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธสะ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)

สวาขาโต ภะคะวาตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

สาธุ ข้าพเจ้า ขอน้อบน้อมนมัสการ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ครูพัก ครูลัก ครูจำ ขอให้ครูพัก ครูลัก ครูจำ จงประสิทธิ์ ประสาท วิชาความรู้ ให้กับลูกศิษย์ลูกหา ขอให้ลูกศิษย์ลูกหา เกิดสติปัญญาว่องไวด้วยเถิด พุทธัง ประสิทธิ ธัมมัง ประสิทธิ สังฆัง ประสิทธิ สาธุ สาธุ สาธุ

๓. เมื่อผู้เรียนกล่าวตามจบแล้ว ผู้ประกอบพิธีจะทำทำพิธีทำน้ำมนต์ซึ่งเรียกว่า “ธรณีสารจืด” เพื่อใช้ประพรมให้แก่ผู้เรียน และเพื่อป้องกันเสนียดจัญไร โดยมีคาถา ดังนี้

โอมจักขุทะลุบาดาล

นะกำกวม งวมพระธรณีสาร

ผลาญจัญไร เอหิภิญโญ

โสทายะ อิสิโรเม

พทเทวัญจะ นะรากัญเจ

ประสิทธิเม แห่งข้าพเจ้า

กันครูนครลงกา กันเสี้ยนกันผา

กันอินทร์กันพรหม กันยมพระกาฬ

กันยักษ์กันมาร กันเสี้ยนกันมาร

กันเสี้ยนศัตรู พุทธังกะโรมิ

ธัมมังกะโรมิ สังฆังกะโรมิ

ต่อจากนั้น ผู้ประกอบพิธีจะจุดเทียนหยดลงในขันน้ำมนตร์ แล้วว่าคาถา “อิสิปะมิ นะชาลิติ”

๔. ครูผู้ประกอบพิธี นำพลู ๓ จีบ อันหมายถึงพระรัตนตรัยจุ่มลงไปในขันน้ำมนต์ แล้วจึงประพรมให้กับผู้เรียนเพื่อเป็นการป้องกันเสนียดจัญไรและสิ่งอัปมงคลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน

๕.การครอบครูหรือจับข้อมือ การครอบครูนั้น จะกระทำโดยการให้ผู้เรียนฝึกหัดตีกลองก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถือว่ากลองเป็นเครื่องดนตรีที่นักดนตรียึดถือในการประกอบพิธีไหว้ครู ในการครอบครูนั้น ผู้ประกอบพิธีจะจับข้อมือของผู้เรียนให้บรรเลงเพลงกลองยืน เพลงไม้สี่ ซึ่งถือกันว่าเป็นเพลงครู หรือเพลงแม่บทที่จะเป็นพื้นฐานในการเรียนเพลงอื่นๆ ต่อไป ผู้ที่ผ่านการครอบครูหรือจับข้อมือแล้ว จะสามารถเล่าเรียนวิชาความรู้ทางด้านดนตรีมังคละได้ทุกประเภท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของครูผู้ฝึกสอน หรือความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการจะฝึกหัดเครื่องดนตรีใด

๒) พิธีไหว้ครูประจำปี (แบบย่อ)

พิธีไหว้ครูประจำปี จะทำในวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุก ๆ ปี โดยเตรียมเครื่องสังเวย และตั้งมณฑลพิธีเหมือนพิธีครอบครูทุกประการ แต่งดเหล้าไว้ เมื่อตั้งเครื่องสังเวยพร้อมแล้ว ผู้ไหว้จุดธูป ๓ ดอก กล่าวชุมนุมเทวดา และกล่าวคำไหว้สังเวยครูดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธสะ

“ครูเคล้า ครูปลาย ครูตาย ครูยัง ครูแก่กินก่อน ครูอ่อนกินที่หลัง”

ฯลฯ

พระปรคนธรรพ บรมครูมังคละเภรีสายสวางคบุรี

คนธรรพ์นั้นเป็นเทวดาจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ระหว่างฟ้ากับดิน ถือเป็นครึ่งมนุษย์ครึ่งเทวดา มีหน้าที่ขับกล่อมบรรเลงดนตรีในสรวงสวรรค์ พระปรคนธรรพ มีร่างกายสีเขียว มีขนวนเป็นขด วงทักษิณาวรรตรอบตัว ทรงชฎายอดฤาษี ๑ พักตร์ ๒ กร

ในวงดนตรีไทย มีเครื่องดนตรีที่ได้รับการยกย่อง ให้เป็นตัวแทนของพระปรคนธรรพคือกลองสองหน้า หรือ "ตะโพน" เนื่องจาก พระปรคนธรรพเป็นประธานควบคุมการบรรเลงและจังหวะหน้าทับ และตามตำนานความเป็นมาของเพลงสาธุการที่เล่าว่า

สมัยเมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใหม่ๆ นั้น ท้าวผกาพรหม (บางแห่งเชื่อว่าคือพระอิศวร) ได้ท้าประลองฤทธิ์กับพระพุทธเจ้า โดยให้ผลัดกันหาที่ซ่อนตัวแล้วให้อีกฝ่ายค้นหา ครั้งแรกท้าวผกาพรหมเป็นฝ่ายซ่อนก่อนโดยเนรมิตกายเป็นละอองธุลีที่เล็กที่สุด แล้วหลบลงไปซ่อนอยู่ท่ามกลางก้นเกษียณสมุทรที่ดำมืด แต่ก็ไม่อาจหลบพ้นข่ายพระญานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ครั้นถึงคราวที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นฝ่ายซ่อนบ้าง พระองค์ทรงเนรมิตพระวรกายให้ย่อเล็กลงเท่าละอองธุลีเช่นเดียวกัน แต่เสด็จขึ้นไปประทับซ่อนอยู่ในมุ่นมวยผมบนเศียรของท้าวผกาพรหม ท้าวผกาพรหมใช้ทิพย์เนตรมองค้นหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนตลอดทั่วทั้งไตรภพ ก็ยังไม่สามารถมองเห็นพระพุทธองค์ได้จึงตรัสยอมแพ้

พระพุทธเจ้าจึงแสดงพระองค์ให้ท้าวผกาพรหมรู้ว่า ทรงประทับอยู่บนมวยผมของท้าวผกาพรหมนั่นเอง

เมื่อท้าวผกาพรหมยอมแพ้แล้วจึงกราบบังคมทูลอัญเชิญ ให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากมุ่นมวยผมอยู่หลายครั้ง แต่ก็ยังทรงนิ่งเฉยอยู่ จนเมื่อเหล่าคนธรรพ์พากันประโคมบรรเลงเพลงสาธุการขึ้น จึงได้เสด็จลงมาจากเศียรของท้าวผกาพรหม ดังบทสวดพระชัยมงคลคาถาตอนหนึ่งว่า

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง

พรัหมมัง วิสุทธิชุติ มิทธิพะกาภิธานัง

เมื่อเกิดความเห็นที่ยึดถือไว้ผิด ดุจงูร้ายฉกกัดเข้าที่มือ

ของท้าวพกาพรหมผู้มีฤทธิ์ สำคัญตนว่ารุ่งเรืองด้วยคุณบริสุทธิ์

ญาณาคะเทนะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

พระจอมมุนี ทรงชำนะด้วยวิธีแสดงญาณ คือความรู้ยิ่ง

ดังนั้นในเวลาต่อมาเพลงสาธุการจึงกลายเป็นเพลงที่ใช้ประโคมบรรเลง ในพิธีเพื่ออัญเชิญองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ และเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่เริ่มบรรเลงเพลงสาธุการก่อนเครื่องดนตรีชนิดอื่นใด ก็คือตะโพนนั่นเอง ดังนั้นนักดนตรีไทยจึงถือว่า “ตะโพน” เป็นเครื่องดนตรีอันศักดิ์สิทธิ์ และถือว่าเป็นตัวแทนของพระปรคนธรรพซึ่งเป็นบรมครูของเหล่าคนธรรพ์ทั้งปวง ที่บรรเลงประโคมเพลงสาธุการเพื่ออัญเชิญสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งนั้น

จึงทำให้นักดนตรีไทยยกย่องเคารพ “ตะโพน” ให้เป็นบรมครูสูงสุดของนักดนตรี เวลาเลิกจากการบรรเลงหรือในการจัดพิธีไหว้ครูดนตรีไทย จึงจัดวางตะโพนไว้สูงกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ด้วยมีความเชื่อว่าพระปรคนธรรพ (นารท) เป็นพรหมฤาษี มหาประชาบดีผู้ทรงศีล จึงนิยมห่มตะโพนเครื่องแทนองค์พระปรคนธรรพ ด้วยผ้าขาว

จากธรรมเนียมลังกา จะเห็นได้ว่า บรมครูมังคละเภรี ได้ใช้กลองหลอนและกลองยืน อันเป็นกลองที่มีสองหน้า เฉกเช่นเดียวกับตะโพน และกลองมังคละ ที่มีเสียงดังก้องกังวาล ในการประโคมบรรเลงเพื่อการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในทางพระพุทธศาสนา เช่น การอัญเชิญพระบรมสรีริกธาตุ การอัญเชิญพระไตรปิฎกคัมภีร์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และการอัญเชิญพระภิกษุสงฆ์ มาแต่โบราณกาล ดังนั้น มังคละเภรีสายเมืองสวางคบุรีซึ่งสืบสายมังคละโบราณมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จึงได้เคารพนับถือพระปรคนธรรพ ในฐานะเป็นบรมครูแห่งมังคละอีกองค์หนึ่ง อันเนื่องด้วยดนตรีมังคละเภรีนี้นับเป็นดนตรีในพระพุทธศาสนาโดยแท้