โครงการอบรมดนตรีพื้นบ้านมังคละภาคเหนือตอนล่าง ณ วัดคุ้งตะเภา

วันที่โพสต์: Dec 07, 2015 7:3:4 PM

หวังว่าผลจากการจัดกิจกรรมเสริมในครั้งจะสามารถสร้างประสบการณ์ให้นักเรียน ได้เรียนรู้หลักพุทธธรรมนำชีวิตภายใต้แนวคิดวิถีพุทธคือวิถีไทย บูรณาการเป็นภูมิคุ้มกันให้ดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาทขาดสติ เพื่อสร้างความอบอุ่นให้เกิดในชุมชนครอบครัวของตนเอง อันจะส่งผลให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิและรักกตัญญูต่อท้องถิ่นเกิดของตนเองและเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติได้ต่อไป ดังพระราชดำรัสในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ความว่า

“...ควรสอนให้อนุรักษ์วัฒนธรรม

เพราะเป็นสิ่งที่เป็นรากฐานชีวิตของนักเรียนทุกคน

เมื่อรู้ว่าท้องถิ่นของตนมีอะไรดีบ้าง

ก็จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ

มีการบันทึกสิ่งที่เป็นของมีคุณค่า

ที่เป็นความคิดของมนุษย์

เป็นจิตวิญญาณของบุคคล

ให้ร่วมกันทำงานอนุรักษ์

พร้อม ๆ กับงานพัฒนาชุมชน...”

...การพัฒนาก็จะดำเนินไปได้ด้วยความสามัคคีอย่างยั่งยืน...

- จดหมายข่าววัดคุ้งตะเภา วันที่ ๘ พ.ย. ๕๘

กิจกรรมดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายและขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์มังคละเภรีศรีสวางคบุรี ให้สถานศึกษาและเยาวชนมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านอุตรดิตถ์ที่หาชมได้ยากยิ่งให้คงอยู่สืบต่อไป

ดนตรีมังคละเภรี คือเครื่องหมายยืนยันถึงศักดิ์ศรีแห่งมรดกโลกของจังหวัดอุตรดิตถ์ ความภาคภูมิใจในฐานรากแห่งบรรพชนอุตรดิตถ์ที่ถูกละเลย และกำลังจะดับสูญ จาก อ.เมืองอุตรดิตถ์ และ อ.ลับแล ไปอย่างถาวร

และในบ่ายของวันที่ ๘ พ.ย. ๕๘ มีพิธีปิด โดยได้รับเกียรติจาก นายศักดิ์ตระกูล เลี้ยงประเสริฐ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมในโครงการ ก่อนพิธีปิด ได้มีพิธีแห่สลากมังคละ เพื่อให้เยาวชนได้แสดงชุดการแสดงที่ประดิษฐ์ขึ้นอีกด้วย โดยได้รับความสนใจจากทั้งชาวไทยและต่างประเทศอยู่ร่วมชมกิจกรรมในโครงการตลอดทั้ง ๓ วัน

ผลของโครงการคืออัตลักษณ์อันน่าภาคภูมิแห่งอุตรดิตถ์ ที่ไม่มีหน่วยงานใดคิดจะทำในจังหวัดนี้ ขอขอบคุณสถาบันการศึกษาระดับประเทศ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยนเรศวร รวมถึงสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่ให้ความสำคัญกับมรดกของบรรพชนคนอุตรดิตถ์ ที่กำลังจะสูญสิ้น

จัดโครงการกระบวนการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนารูปแบบการแสดงมังคละ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง เพื่อฟื้นฟูดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีแห่งอุตรดิตถ์ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีโบราณฐานรากแห่งวัฒนธรรมไทยอาณาจักรสุโขทัยโบราณ ที่ขาดการสืบต่อและถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ โดยความอนุเคราะห์จากคณาจารย์ด้านดุริยางคศาสตร์ไทยและนาฏศิลป์ระดับประเทศ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยนเรศวร นำคณาจารย์ลงพื้นที่จัดการอบรมกระบวนการ ณ ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา

โดยในวันที่ ๖ พ.ย. ๕๘ ช่วงเช้ามีพิธีเปิดโครงการ โดย อ.ดร.ณัฐชยา นัจจนาวากุล จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (หัวหน้าโครงการวิจัย) กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก นายอุดมศักดิ์ จักรน้ำอ่าง รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๑ เป็นประธานในพิธี กล่าวเปิดโครงการ จากนั้นมีกิจกรรมคำนับครู โดยมี ปู่ประชุม วงพิณิต เจ้าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดนตรีมังคละเภรีศรีสวางคบุรี ผู้รักษามังคละคนสุดท้ายของบ้านพระฝาง (ชุมชนโบราณสวางคบุรี) อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นประธานในพิธีคำนับครู และมี ปู่เรไร เรืองปิ่น ครูภูมิปัญญาดนตรีพื้นบ้านบ้านดงสระแก้ว ต.ไผ่ล้อม อ.ลับแล ผู้รักษาสืบทอดทำนองปี่มังคละโบราณของมังคละทุ่งยั้งที่สาบสูญ รวมทั้ง ครูทศพล แซ่เตีย ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านหลุม อ.เมือง จ.สุโขทัย ผู้อุทิศตนธำรงสืบทอดภูมิปัญญามังคละโบราณบ้านหลุม เป็นเป็นผู้นำกล่าวในพิธีคำนับครู และรับคำนับครู จากนั้น คณะครูและนักเรียนทุกโรงเรียน เข้าร่วมในพิธีคำนับครู จนแล้วเสร็จ

จากนั้นในวันที่ ๖-๗ และ ๘ พ.ย. ๕๘ เป็นกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยจิตอาสาคณาจารย์และนิสิตสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย นำโดย อ.ดร.ณัฐชยา นัจจนาวากุล จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (หัวหน้าโครงการวิจัย) และ อ.ดร.รุ่งนภา ฉิมพุฒ จากภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งจากการฝึกปฏิบัติ ๓ วัน ระหว่างวันที่ ๖-๘ พ.ย. ๕๘ ได้ประดิษฐ์ท่ารำมังคละขึ้นใหม่ในชุด “ระบำพุทธบูชามิ่งมังคละ สวางคปุระเภรี” โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการที่ชาวสวางคบุรี (พระฝาง-แสนตอ-คุ้งตะเภา) มีศูนย์รวมทางจิตใจที่พระบรมธาตุเมืองสวางคบุรี (พระบรมธาตุเมืองฝาง) โดยนำของดีเมืองสวางคบุรีมาผสมผสานกับวิถีความเป็นอยู่และดนตรีมังคละ ดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของสวางคบุรี มาประดิษฐ์เป็นท่ารำต่าง ๆ

วันที่ ๖-๗-๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมวัดคุ้งตะเภา ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยนเรศวร จัด โครงการกระบวนการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนารูปแบบการแสดงมังคละ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง เพื่อฟื้นฟูดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีแห่งอุตรดิตถ์ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีโบราณฐานรากแห่งวัฒนธรรมไทยอาณาจักรสุโขทัยโบราณ ที่ขาดการสืบต่อและถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ โดยความอนุเคราะห์จากคณาจารย์ด้านดุริยางคศาสตร์ไทยและนาฏศิลป์ระดับประเทศ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยนเรศวร นำคณาจารย์ลงพื้นที่จัดการอบรมกระบวนการ ณ ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา

โครงการดังกล่าว เพื่อมุ่งสร้างหลักสูตรเพื่อสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงมังคละเภรีในเขตอุตรดิตถ์ตอนบน พื้นที่ดั้งเดิมเมืองฝาง-ทุ่งยั้ง ตามหลักฐานในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๓ และชุมชนภาษาถิ่นสุโขทัย โดยมีคณะผู้บริหารและคณะครูนักเรียน โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา, โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อ.เมือง, โรงเรียนแสนตอวิทยา ต.แสนตอ อ.เมือง, โรงเรียนวัดพระฝาง ต.ผาจุก อ.เมือง และโรงเรียนลับแลศรีวิทยา ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล รวมถึงคณะเสียงทองดนตรีพื้นบ้าน ต.ทุ่งยั้ง-ไผ่ล้อม อ.ลับแล เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในหลักสูตร เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงมังคละเภรีศรีอุตรดิตถ์ ให้เป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ต่อไป