แบบทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตรออนไลน์ : ชุดความรู้สมโภช ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา

ระบบทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นคุ้งตะเภาออนไลน์ เพื่อรับเกียรติบัตรจากสภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา

สารบัญรายการ

วัตถุประสงค์โครงการแบบทดสอบความรู้ฯ

1. ทำ แบบทดสอบก่อนอบรม ระดับต้น

2. ศึกษา เนื้อหาองค์ความรู้ฯ ให้เข้าใจ

3. ทำ แบบทดสอบหลังอบรม ระดับต้น / ระดับกลาง เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจ

4. ทำแบบทดสอบผ่าน 75 % ได้เกียรติบัตรการอบรมด้วยระบบออนไลน์

เกณฑ์การทดสอบความรู้ด้วยระบบออนไลน์

คณะกรรมการออกแบบทดสอบฯ

- คณะกรรมการ

- ผู้ดูแลระบบ

โครงการแบบทดสอบความรู้ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชุดสมโภชสถาปนา ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา

ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

พ.ศ. ๒๕๖๓

สภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา และชมรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา ร่วมกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา

หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยในห้วงปี พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ เป็นศุภวาระมงคลดิถีแห่งการครบรอบ ๒๕๐ ปี ของวัดคุ้งตะเภา วัดประจำตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่ ๑ ใน ๙ วัดของเมืองอุตรดิตถ์ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ วัดแห่งนี้จะมีอายุครบ ๒๕๐ ปีเต็ม นับแต่ก่อตั้งวัดในปี พ.ศ. ๒๓๑๓ ตามหลักฐานของกรมการศาสนา

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมสมโภช ๒๕๐ ปี สถาปนาวัดคุ้งตะเภา ในวาระดังกล่าว สภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา และชมรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา จึงได้ร่วมกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา พัฒนาแบบทดสอบ ชุดความรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา (ระดับต้น-กลาง-สูง) โดยนำเนื้อหาจากหนังสือประมวลองค์ความรู้พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ฉบับตีพิมพ์ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (ฉบับปี ๒๕๖๐) ฉบับสำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ (ฉบับปี ๒๕๕๘) และฉบับสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ฉบับปี ๒๕๕๓) ซึ่งผ่านการค้นคว้าและตรวจสอบข้อมูลจากนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็นแนวทางในการส่งเสริมการรับรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดคุ้งตะเภา รวมถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา ในระบบออนไลน์

5. รับเกียรติบัตรที่เว็บไซต์ คลิก

6. หากระบบอัตโนมัติไม่ออกเกียรติบัตรให้ภายใน 30 นาที อาจเกิดจากระบบมีปัญหา (ระบบล่ม)

7. ท่านสามารถเข้ามาทำแบบทดสอบใหม่ได้ในวันถัดไป (รอให้ระบบเสถียร)

*** หากไม่สามารถเข้าทำแบบทดสอบได้ เนื่องจากจำนวนผู้เข้าทำแบบทดสอบเต็มตามที่ระบบกำหนด โดยปกติท่านสามารถเข้าทำได้ในวันถัดไป

แบบทดสอบ

(คำถามรวม 50 ข้อ 178 คะแนน)

- ระดับสูง (กำลังดำเนินการ)

(คำถามรวม 100 ข้อ 250 คะแนน)

ผู้ผ่านครบ ๓ ระดับ

จัดส่งวัตถุมงคลให้ถึงบ้าน

- ระดับต้น

(คำถามรวม 19 ข้อ 81 คะแนน)

วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในการ สมโภช ๒๕๐ ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา

2. เพื่อเป็นการส่งเสริมการรับรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดคุ้งตะเภา รวมถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา

3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ศึกษามีความสนใจในแนวคิดประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น

4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ศึกษารู้จักคิด วิเคราะห์ ศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น

5. ให้ข้อมูลย้อนกลับ กระตุ้นให้ผู้ศึกษาได้ค้นพบศักยภาพของตนเองและวางแผนพัฒนาตนวิเคราะห์ประเมินตนเองในการมีส่วนพัฒนาท้องถิ่นบ้านเกิดของตน โดยมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นฐาน

เป้าหมาย

เป้าหมายเชิงปริมาณ: ประชาชน บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป จากทั่วประเทศ ร่วมกิจกรรม ทั้งสามระดับ ประมาณ ๒,๐๐๐ คน

เป้าหมายเชิงคุณภาพ: ประชาชน บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ได้รับรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดคุ้งตะเภา รวมถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา เพิ่มมากขึ้น

ดาวน์โหลดเกียรติบัตร

ระดับกลางคงค้าง 14-15 เม.ย. 63

ระดับต้นคงค้าง 14-15 เม.ย. 63

ต้น-กลาง รวมผู้ผ่านตั้งแต่ 15 เม.ย. 63

วิธีดำเนินการ

1. ศึกษาค้นคว้าเอกสารอ้างอิง และรวบรวมข้อมูลที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ

2. วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดขอบเขตและลักษณะของแบบทดสอบที่จะพัฒนา

3. ออกแบบแบบทดสอบ มีการกำหนดลักษณะของแบบทดสอบ ระบบประมวลผล และระบบมอบเกียรติบัตร

4. กำหนดตารางการปฏิบัติงานของการนำใช้แบบทดสอบและทดลองระบบ โดยกำหนดช่วงเวลาอย่างกว้างๆ

5. ทำการพัฒนาแบบทดสอบขั้นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดยทำการพัฒนาส่วนย่อย ๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบ

ไว้แล้ว นำผลจากการศึกษาในช่วงนี้ไปปรับปรุงแบบทดสอบที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

6. เสนอเค้าโครงของแบบทดสอบต่อคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและดำเนินการ เป็นไปอย่างเหมาะสมเป็นขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด

ตัวอย่างรายงานการอบรมออนไลน์สำหรับครู ลิงก์1ลิงก์2 (รายละเอียดข้อความรายงานผลการเรียนรู้ฯ ของวัดคุ้งตะเภา ดูได้ด้านล่างแต่ละหลักสูตร)

มีผู้เข้าชมแล้ว

นับแต่ เม.ย. ๖๓

ระยะเวลาดำเนินการ

เดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม ๒๕๖๓

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

สภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา ชมรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา

ผู้เสนอโครงการ

พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี, ดร.

(รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา)

พระปริยัตินิเทศก์จังหวัดอุตรดิตถ์,

พระธรรมทูตสายต่างประเทศ,ที่ปรึกษาคณะกรรมการชุดก่อตั้งวัดไทยเลสเตอร์ สหราชอาณาจักร

ประธานคณะกรรมการบริหารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา,

ประธานชมรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา

ผู้เห็นชอบโครงการ

นายศักดิ์ตระกูล เลี้ยงประเสริฐ

(ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ระดับ ๙, ไวยาวัจกรวัดคุ้งตะเภา)

คณะกรรมการบริหารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา,

ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้เห็นชอบโครงการ

นายพินิจ แจ้งเปี่ยม

ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา

ผู้อนุมัติโครงการ

พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ

(เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา)

รองเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา,

ผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์,

เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓

ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา

แบบทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตรออนไลน์:

ชุดความรู้ประวัติศาสตร์ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา

(ระดับต้น)

ลิงก์เข้าทำแบบทดสอบ ระดับต้น

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวัดคุ้งตะเภา ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น หมู่ 4 บ้านคุ้งตะเภา

(คำถามรวม 19 ข้อ 81 คะแนน)

ผู้ทดสอบที่สามารถทำแบบทดสอบ ร้อยละ 75 ขึ้นไป จึงจะได้รับใบเกียรติบัตรออนไลน์ จากประธานชมรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา

>>> วัตถุประสงค์ (Course Objectives)<<<

1. เพื่อเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในการ สมโภช ๒๕๐ ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา

2. เพื่อเป็นการส่งเสริมการรับรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดคุ้งตะเภา รวมถึงประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น หมู่ 4 บ้านคุ้งตะเภา

3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ศึกษามีความสนใจในแนวคิดประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น

4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ศึกษารู้จักคิด วิเคราะห์ ศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น

5. ให้ข้อมูลย้อนกลับ กระตุ้นให้ผู้ศึกษาได้ค้นพบศักยภาพของตนเองและวางแผนพัฒนาตนวิเคราะห์ประเมินตนเองในการมีส่วนพัฒนาท้องถิ่นบ้านเกิดของตน โดยมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นฐาน

>>> เนื้อหา <<<

แบบทดสอบส่วนที่ 1 : ประวัติความเป็นมาวัดคุ้งตะเภา จำนวน 9 ข้อ

แบบทดสอบส่วนที่ 2 : ประวัติความเป็นมาประเพณีวัฒนธรรมชุมชนบ้านคุ้งตะเภา จำนวน 10 ข้อ

>>> การวัด และประเมินผล <<<

คะแนนรวม 81 คะแนน คะแนนร้อยละ 75 ขึ้นไป จึงจะมีสิทธิ์รับเกียรติบัตรจากประธานชมรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา

>>> เอกสาร <<<

ผู้ทำแบบทดสอบระดับต้น สามารถศึกษาข้อมูลความรู้เพื่อตอบแบบทดสอบเพิ่มเติม ได้จากวีดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์วัดและชุมชนคุ้งตะเภา และเอกสารตีพิมพ์เผยแพร่ของวัดคุ้งตะเภา

ข้อมูลตัวอย่าง: แบบรายงานผลอบรมการจัดการศึกษา การอบรมหลักสูตรออนไลน์ ช่วงปิดภาคเรียน (กิจกรรมพัฒนาตนเอง ในช่วงปิดภาคเรียนกรณีพิเศษ ยุค COVID-19) บนระบบอิเล็กทรอนิกส์

ชื่อหลักสูตร: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สมโภช 250 ปี วัดคุ้งตะเภา

รูปแบบการอบรม: ทดสอบความรู้ เกณฑ์การผ่านประเมิน ต้องได้ร้อยละ 80

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้: 1 ชั่วโมง วัน เดือน ปี: เมษายน 2563 หน่วยงาน: ชมรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา ร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา ที่มา: https://sites.google.com/site/watkungtaphao/kitchakam/kungtapaomuseum/online-learning-certificate

ความรู้ที่ได้รับ:

ได้ทราบประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดคุ้งตะเภา รวมถึงประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น หมู่ 4 บ้านคุ้งตะเภา ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ได้รับทราบถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชุมชนคุ้งตะเภา หรือเมืองสวางคบุรีโบราณ ที่เคยเป็นที่ตั้งทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คราวยกทัพปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง และสามารถรวบรวมแผ่นดินได้เป็นหนึ่งเดียว ในปี พ.ศ. 2313 และทรงได้สถาปนาวัดคุ้งตะเภา ณ บริเวณที่ตั้งพระตำหนักค่ายหาดสูง เพื่อเป็นอนุสรณ์การชำระคณะสงฆ์หัวเมืองฝ่ายเหนือ และการเคลื่อนย้ายของผู้คนวัฒนธรรมแบบภาษาถิ่นสุโขทัย จากเมืองฝางสวางคบุรี มาตั้งยังชุมชนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่การตั้งบ้านท่าเสา และเกิดย่านการค้าท่าอิฐ และกลายเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน

แบบทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตรออนไลน์:

ชุดความรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา

(ระดับกลาง)

ลิงก์เข้าทำแบบทดสอบ ระดับกลาง

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา

(คำถามรวม 50 ข้อ 178 คะแนน)

ผู้ทดสอบที่สามารถทำแบบทดสอบ ร้อยละ 75 ขึ้นไป จึงจะได้รับใบเกียรติบัตรออนไลน์ จากประธานสภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา

>>> วัตถุประสงค์ (Course Objectives)<<<

1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ศึกษามีความสนใจในแนวคิดประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น

2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ศึกษารู้จักคิด วิเคราะห์ ศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น

3. ให้ข้อมูลย้อนกลับ กระตุ้นให้ผู้ศึกษาได้ค้นพบศักยภาพของตนเองและวางแผนพัฒนาตนวิเคราะห์ประเมินตนเองในการมีส่วนพัฒนาท้องถิ่นบ้านเกิดของตน โดยมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นฐาน

>>> คำอธิบายชุดความรู้ <<<

การศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา คือการศึกษาเรียนรู้พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่น เพื่อให้เข้าใจ ความหลากหลาย ผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลคุ้งตะเภา

>>> เนื้อหา <<<

บทที่ 1 : ความหมายของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (คำถาม 8 ข้อ 24 คะแนน)

บทที่ 2: หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตำบลคุ้งตะเภา (คำถาม 8 ข้อ 30 คะแนน)

บทที่ 3: ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ตำบลคุ้งตะเภา (คำถาม 9 ข้อ 30 คะแนน)

บทที่ 4: ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม ในตำบลคุ้งตะเภา (คำถาม 7 ข้อ 24 คะแนน)

บทที่ 5: ประเพณีและความเชื่อ ในตำบลคุ้งตะเภา (คำถาม 8 ข้อ 24 คะแนน)

บทที่ 6: ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในตำบลคุ้งตะเภา (คำถาม 10 ข้อ 40 คะแนน)

>>> การวัด และประเมินผล <<<

วิธีศึกษา วิดีโอ เอกสารอ่านประกอบ

คะแนนรวม 178 คะแนน คะแนนร้อยละ 75 ขึ้นไป จึงจะมีสิทธิ์รับเกียรติบัตรจากสภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา ลงนามโดยประธานสภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา กระทรวงวัฒนธรรม

>>> ตำราและเอกสารหลัก (Required Texts) <<<

- เทวประภาส มากคล้าย. (2553). วัดคุ้งตะเภา จากอดีตสู่ปัจจุบัน : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น - อนุสรณ์สมโภชการบูรณะศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ISBN 978-974-364-884-7

- ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ ๒๔๕ ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม . ISBN 978-616-543-334-1

- เทวประภาส มากคล้าย. (2560). สารพันบันทึกเล่าพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา.-- กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

๔๓๗ หน้า. ISBN 978-616-543-452-2

- กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรมวิถีชีวิตและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN : 978-616-543-387-7

ข้อมูลตัวอย่าง: แบบรายงานผลอบรมการจัดการศึกษา การอบรมหลักสูตรออนไลน์ ช่วงปิดภาคเรียน (กิจกรรมพัฒนาตนเอง ในช่วงปิดภาคเรียนกรณีพิเศษ ยุค COVID-19) บนระบบอิเล็กทรอนิกส์

ชื่อหลักสูตร: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา หลักสูตรระดับกลาง

รูปแบบการอบรม: ทดสอบความรู้ เกณฑ์การผ่านประเมิน ต้องได้ร้อยละ 80

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้: 3 ชั่วโมง วัน เดือน ปี: เมษายน 2563 หน่วยงาน: ชมรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตำบลคุ้งตะเภา ร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา ที่มา: https://sites.google.com/site/watkungtaphao/kitchakam/kungtapaomuseum/online-learning-certificate

ความรู้ที่ได้รับ:

ได้ทราบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความหมายของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รวมถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของตำบลคุ้งตะเภา ทั้งที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุสำคัญ ชื่อบ้านนามเมือง หลักฐานการเสด็จพระราชดำเนินของพระบรมวงศานุวงศ์ในเขตตำบล ภูมิศาสตร์ทางวัฒนธรรม อาคารสถานที่สำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและเกี่ยวข้องกับผู้คนร่วมสมัย และพงศาวลีการสืบนามสกุลของผู้คนในเขตตำบล รวมไปถึงภูมิวัฒนธรรม ทางด้านภาษาท้องถิ่น ชาติพันธุ์ การตั้งรกรากของผู้คนในชุมชนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้ทราบถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเพณีและความเชื่อ ในตำบลคุ้งตะเภา ที่มีความสืบเนื่องของวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโบราณ เช่น ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายในงานบุญกลางบ้าน ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายน้อยบนโต๊ะหมู่ เมื่อจัดงานทำบุญในบ้าน หรือกระทั่ง ประเพณีเปรียบมวยงานบุญสลากภัต ซึ่งเป็นประเพณีที่ปรากฎในประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก วีรบุรุษของชาวอุตรดิตถ์ในสมัยธนบุรี ที่ยังคงมีปรากฎในพื้นที่ตำบลคุ้งตะเภา และได้ทราบถึงตัวอย่างภูมิปัญญาท้องถิ่น ในตำบลคุ้งตะเภา ทั้งที่เป็นภูมิปัญญาที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ เช่น สายผู้สืบวิชาครูมวยจากสำนักครูเมฆ บ้านท่าเสา (มวยสายพระยาพิชัย, มวยเลี้ยงประเสริฐ) อาหารพื้นบ้าน พ่อเพลงแม่เพลงพื้นบ้าน การละเล่นดั้งเดิม เช่น มังคละ กลองยาว ปี่พาทย์ ซึ่งรวมเป็นส่วนหนึ่งของพลวัตรในการขับเคลื่อนมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนคุ้งตะเภา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 1 ใน 3 ชุมชนวัฒนธรรมเก่าแก่ของจังหวัดอุตรดิตถ์

ดาวโหลดเกียรติบัตร (ระบบไม่จัดส่งอีเมล์)

(ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป)