เครื่องลายครามและเบญจรงค์ : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภาออนไลน์

เครื่องลายครามและเบญจรงค์ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา

กลุ่มเครื่องใช้ที่ทำจากเครื่องลายครามและเครื่องเบญจรงค์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา เช่น โถ, ถ้วย, หม้อใส่ข้าว, ช้อน, ผอบ และพานเบญจรงค์โบราณ เป็นต้น

เครื่อง เบญจรงค์หมายถึงเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ เขียนลายโดยลงยาด้วยสีต่างๆ นอกจากสีหลักทั้ง 5 อันมีสีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียว(หรือคราม) ยังมีสีรองอย่างชมพู ม่วง น้ำตาล แสด มาเสริมสวย เป็นเครื่องถ้วยที่ต้องใช้ฝีมือสูง ต้องละเอียด ประณีต จากเครื่องใช้ในรั้วในวังถึงปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์ยังได้รับความนิยมโดย เฉพาะในแง่เป็นตัวแทนแสดงความเป็นไทย (แม้รากฐานจะเป็นของจีนก็ตาม) ลายยอดนิยมคือลายกระหนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพนม นรสิงห์

การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่าเป็นงานด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และ

เป็น งานของช่างฝีมือที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่แสดง ถึงลักษณะเฉพาะของไทย ในปัจจุบันมีการทำกันในหลายพื้นที่ทั่ว ทุกภาคของประเทศไทย และสามารถใช้ได้กับบุคคลทั่วไป

เครื่อง เบญจรงค์เป็นเครื่องถ้วยที่มีการลงสีที่พื้นและลวดลาย เป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภท เซรามิคส์ (Ceramics) ใช้เนื้อดิน ประเภทพอร์ซเลน (Porcelain ware) โดยเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เขียนลายด้วยวิธีลงยา หรือสีผสมเคลือบ (Enamel) เป็นง านที่มีต้น กำเนิดในประเทศจีน ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในรัชสมัยพระเจ้าซวนเต๊อะ (พ.ศ. ๑๙๖๙-๑๙๗๘) สมัยราชวงศ์หมิง มีการผลิตครั้งแรก ในแคว้นกังไซ มณฑลเจียงซี (หรือที่คนไทยเรียกว่า กังไส) และพัฒนาต่อมาจนเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยพระเจ้าเฉิงฮั่ว (พ.ศ. ๒๐๐๘-๒๐๓๐) การเขียนลายตามแบบของจีนจะใช้ตั้งแต่ ๓ สีขึ้นไป มีชื่อเรียกในภาษ

าจีน ต่างๆกัน เช่น อู๋ไฉ่ โต้วไฉ่ เฝินไฉ่ และฝาหลั่งไฉ่ ส่วนที่เป็นของไทยนั้น จะนิยมลง ๕ สีด้วยกัน คือ ขาว เหลือง ดำ แดง เขียว (คราม) จึงเรียกว่า เครื่องเบญจรงค์ หรือ ๕ สี โดยทั้ง ๕ สีนี้จัดได้ว่าเป็นแม่สีเครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทย

และ ในบางครั้งอาจมีการใช้สีมากกว่า ๕ สีด้วย เช่น ชมพู ม่วง แสด และน้ำตาล ในอดีตใช้การสั่งทำ ที่ประเทศจีนตามความคิดและลวดลายของไทย การสั่งทำนั้นจะมีช่างของไทยเดินทางไปควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้รูปลักษณะที่ เป็นแบบไทย เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ยุคที่ ๓ ช่วงประมาณรัชสมัย พระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๓-๒๑๙๘)

และ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลาย โดยเฉพาะใน สมัยพระเจ้าวั่นลี่ และต่อเนื่องจนถึงสมัยราชวงศ์ชิง การสั่งทำจากประเทศจีนในสมัยนั้นได้สั่งทำเป็นโถปริก และโถฝาขนาดกลาง เขียน เป็นลายกนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพนม ลายนรสิงห์ และยังมีที่เป็นลวดลายของจีน เช่น ลายเทพนมจีน (เทวดาท้องพลุ้ย) มีพื้นสี ต่างๆ เช่น เหลือง ชมพู ม่วงอ่อน เครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทยมีทั้งสั่งทำที่เมืองจิงเต๋อเจิ้น และจากเตาเผาที่มณฑลฝูเจี้ยนและ กวางตุ้ง เครื่องเบญจรงค์ที่สั่งทำจากเมืองจิงเต๋อเจิ้น มักเป็นของใช้ในราชสำนักเพราะเนื้อดินปั้นละเอียด แกร่ง และช่างมี ฝีมือดี เขียนลายได้ละเอียดสวยงาม

ส่วน เครื่องถ้วยลายน้ำทอง จะเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เขียนลายด้วยวิธีลงยาเช่น เดียวกันกับเครื่องเบญจรงค์ แต่จะใช้สีทองที่ทำจากทองคำ ในอดีตเริ่มต้นมาจากการสั่งทำจากประ เทศจีนเช่นเดียวกัน โดยลายน้ำทองนี้ นิยมในประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ชิง ใน รัชสมัยของพระเจ้า คังซี (พ.ศ. ๒๒๐๕-๒๒๖๖) และพระเจ้าหย่งเจิ้น (พ.ศ. ๒๒๖๖-๒๒๗๙) ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชจนถึงรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ ซึ่งในสมัยนี้มีการสั่งทำเครื่องถ้วยลายน้ำทอง จากประเทศญี่ปุ่นด้วย เครื่องถ้วยลายน้ำทองได้รับความนิยมมากในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ขอบคุณข้อมูลจาก http://student.swu.ac.th/fa471010251/benja.htm

จำ​​​​​​​นวน​​​​​​​ผู้​​​​​​​เข้า​​​​​​​เยี่ยมชม

ตั้งแต่​​​​ :: ​​​​๒๕๕๐