หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี อายุ ๘๐๐ ปี

พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

“อิมัสสะมิง เภตะระนะทีตีระอาราเม

อัคคะสิทธัตถะโลหะมะยัง สุโขทัยยัง นาม พุทธะปะฏิมัง

สิระสา นะมามิหัง

อิมิสสานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เมฯ”

-

​​ พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี หรือ หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ เป็น ๑ ใน ๙ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ มีพุทธลักษณะปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์บริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒ ศอกเศษ มีพุทธลักษณะงดงามตามแบบอย่าง สกุลช่างสุโขทัย-เชียงแสน ซึ่งเป็นแบบที่พบได้น้อยมากและหายากที่สุด โดยหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญเพียงองค์เดียวในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่องค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงยกย่องเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ และทรงมีพระเมตตาธิคุณทรงตั้งพระนามขึ้นใหม่ถวายเป็นพุทธบูชาเป็นกรณีพิเศษ

​ โดย ที่องค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ เดิมนั้นทางวัดไม่เปิดเผยสถานที่ประดิษฐาน และไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าสักการะได้ถึงองค์พระ เนื่องด้วยปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัย โดยจะอัญเชิญหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีออกให้ประชาชนทั่วไปนมัสการ ได้ถึงตัวองค์พระเพียงในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น แต่ในปัจจุบัน วัดคุ้งตะเภา ได้สร้างห้องตู้กระจกนิรภัย พร้อมทั้งติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จึงทำให้สามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสักการะได้ทุกวัน โดยปัจจุบันหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีประดิษฐานอยู่ที่หอพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี วัดคุ้งตะเภา

พระพุทธลักษณะวินิจฉัย​​

​ ​ หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ เดิมองค์พระถูกพอกปูนลงรักปิดทองอารักขาภัยไว้ ตัวองค์พระสำริดดังปรากฏในปัจจุบันนั้นสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยแรกก่อตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สกุลช่างเชียงแสนยุคปลายผสมสกุลช่างสุโขทัยยุคต้น หรือในช่วงยุครอยต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย เป็นรัชสมัยระหว่างพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับพญาลิไท มีอายุประมาณ ๘๐๐ ปี มีประวัติความเป็นมาและอภินิหารที่น่าสนใจยิ่ง

​ หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์นั้น จัดเป็นพระพุทธรูปเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยศิลปะสกุลสุโขทัย-เชียงแสนแปลง แบบท่านมหาสวน ปัจจุบันปรากฏเพียงไม่กี่องค์ในประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เขียน ยิ้มศิริ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปินชั้นเยี่ยมสาขาจิตรกรรม กล่าวยกย่องคุณค่าทางศิลปะของพระพุทธรูปแบบหลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์ อุตรดิตถ์มุนีไว้ในหนังสือ "พุทธานุสรณ์" ของท่านว่า พระพุทธรูปแบบหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์เช่นนี้ "เป็นศิลปะชั้นครู (Masterpiece)" ซึ่งนับว่าหายากมาก ทั้งหมดมีขนาดเท่ากันคือขนาดเท่าคน มีจุดเด่นที่พระพักตร์อันสงบงามยิ่ง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เขียน ยิ้มศิริ ยกย่องพระพุทธรูปแบบหลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีไว้ในหนังสือพุทธานุสรณ์ว่า

...อารมณ์การแสดงออกของท่านมีความสงบเป็นสำคัญ ยิ่งดูท่านนาน

เพียงไร ก็ยิ่งจับใจในความสง่างามของท่านยิ่งขึ้นเพียงนั้น...

ผศ.เขียน ยิ้มศิริ

​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เขียน ยิ้มศิริ กล่าวอีกว่าพระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ประดิษฐานในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบความงดงามสู้กับพระพุทธรูปแบบหลวงพ่อพระพุทธสุโข สัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีได้เลย เพราะพระพุทธรูปแบบหลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีนับว่ามีจิต วิญญาณภายในมากกว่า ดังนั้นจึงนับได้ว่าในด้านความมีวิญญาณผุดผ่องภายในเชิงศิลปะของหลวงพ่อพระ พุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีนั้นนับได้ว่าเป็นเลิศ

​ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เขียน ยิ้มศิริ ได้สรุปสันนิษฐานไว้เป็นแนวคิดของท่านว่า พระพุทธรูปแบบหลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีนั้น สร้างขึ้นโดย "ผู้มีภูมิสง่าราวกับกษัตริย์" หรือสร้างขึ้นโดยผู้มีบุญบารมีหรือโดยพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองนั่นเอง

​ อาศัยข้อสันนิษฐาน​​​จาก​​​พระพุทธลักษณะขององค์หลวงพ่อสุ​​​โขทัยสัมฤทธิ์ ประกอบ​​ ​กับ​​​เกณฑ์การแบ่งยุคพระพุทธรูปสมัยสุ​​​โขทัยข้างต้นนี้​​ ​​จึง​​​สันนิษฐานว่าหลวงพ่อสุ​​​โขทัยสัมฤทธิ์ของวัดคุ้งตะ​​​เภาองค์นี้​​ ​ได้​​​สร้างขึ้นก่อน​​​​​สมัยสุ​​​โขทัยยุคที่​​ ๑ ​​หรือ​​​ร่วมสมัยยุคแรก​​ ​​ใน​​​ราว​​พุทธศตวรรษที่​​ ๑๗ ​​ถึง​​ ​​พุทธศตวรรษที่​​ ๑๘ ​​คำ​​​นวนอายุที่สร้างองค์หลวงพ่อก็นับว่า​​​ไม่​​​น้อยกว่า​​ ๘๐๐ ​​ปีมา​​​แล้ว

ตำนานความเป็นมาและอภินิหารโดยสังเขป

​ ​ พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ได้สถาปนาขึ้นโดยพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ เมื่อ ๘๐๐ ปี ก่อน ​​​​ใน​​​ช่วงราวพุทธศตวรรษที่​​ ๑๗ – ๑๘ เพื่อประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองภายในพระวิหารหลวง ​​​เป็นมิ่งขวัญ​​​ที่เคารพสักการะของชาวอาณาจักรโบราณที่รุ่งเรือง​​​และ​​​รุ่มรวย​​​ด้วย​​​อารยธรรมมานานหลายร้อยปี ​​ต่อมาเมื่อมีการสงครามรบทัพจับศึกโกลาหลจน​​​ถึง​​​ขั้นเสียเมือง​​ ​​ชาวบ้านที่มี​​​ใจศรัทธา​​​ไม่​​​ต้อง​​​การ​​​ให้​​​พระพุทธรูปอัน​​​เป็น​​​ที่​​​เคารพรัก​​​และ​​​หวงแหนยิ่ง ต้อง​​​ตกไป​​​อยู่​​​ใน​​​มือของข้าศึก​​ ​​จึง​​​ได้​​​ร่วมใจ​​​กัน​​​พอกปูนลงรัก​​​ไว้​​​เพื่ออำ​​​พรางปิดบังข้าศึก และด้วยพระพุทธบารมีองค์​​​หลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี​​​จึง​​​รอดพ้นภยันตรายจากข้าศึกมา​​​ได้​​ ​​แต่องค์หลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีก็​​​ต้อง​​​ถูกปิดบัง​​​พระพุทธลักษณะเอา​​​ไว้​​​เพื่อ​​​ความ​​​ปลอดภัยมานาน​​นับร้อย​​ ​​ๆ​​ ​​ปี​​ ​​นับแต่บัด​​​นั้น​​ ​​

สมัยรัตนโกสินทร์​(หลังถูกทอดทิ้ง กลายเป็นพระฯ ที่ถูกเลือก)

​ ​ จวบจนยุคสมัยก้าวล่วง​​​เข้า​​​สู่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์​​ ​​ภายหลังยุคจลาจลเมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ไม่นาน องค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา​​​โลกมหาราช รัช​​​​กาลที่​​ ๑ ​​ได้ทอดพระ​​​เนตรเห็นพระพุทธรูป​​​ซึ่ง​​​อยู่​​​ตามหัวเมืองต่าง​​ ​​ๆ​​ ​​ทั้ง​​​ที่​​​เป็น​​​พระปูน​​ ​​พระ​​​โลหะ​​ ​​ซึ่ง​​​ถูกทอดทิ้ง​​​ไว้​​​อย่างน่า​​​เวทนา​​ภายในหัวเมืองโบราณต่าง ๆ ทั้งหัวเมืองเหนือและหัวเมืองล้านนา ทรงมีพระราชศรัทธาเปี่ยมล้นในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับคืนมารุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี จึงมีพระบรมราชโองการ ในปี พ.ศ. 2337 ให้​​​อัญเชิญเคลื่อยย้ายพระพุทธรูป​​​ซึ่ง​​​ถูกทอดทิ้งตามพระอารามร้างวิหารหลวงโบราณและ​​​จากวัดต่าง​​ ​​ๆ​​ ​​ทั่ว​​​พระราชอาณา​​​เขต​​ ​​​​​มารวบรวม​​​ไว้​​​ใน​​​พระนครเพื่อรอการอัญเชิญไป​​​ประดิษฐาน​​​ไว้​​​ยังพระอารามอันสมควรแก่การสักการบูชา​​ ความว่า

...ศุภมัสดุ พระพุทธศักราชล่วงแล้ว ๒๓๒๗ พระวะษา ตยุลศักราช ๑๑๕๖ ปีขาล ฉ้อศก ณ วัน ๕ฯ๙ ค่ำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมธรรมิกะมหาราชาธิราชเจ้า พระองค์ปรารถนาพระบรมโพธิญาณ ทรงพระราชศรัทธาธิคุณเปนอัคะสาสะนูปะถำ พกพระพุทธสาศนา ทรงพระราชกุศลจินดาไมยญาณไปว่า พระพุทธรูปพระนครใดที่ท่านผู้ทานาธิบดีศรัทธาสร้างไว้แต่ก่อน บัดนี้หามีผู้ทำนุกบำรุงปติสังขรณะไม่ ประหลักหักพังยับเยือนเปนอันมาก เปนที่หมิ่นปรมาทแห่งบุทคลอันทพาลแลมฤทาทิฐิ ทรงพระราชดำริไปก็บังเกิดสังเวดในพระบรมพุทธาวิฐารคณเปนอันมาก จึ่งมี พระราชบริหารดำหรัส สั่งให้ พญารักษมณเทียรกรมวังหลวง สมเด็จพระขรรคกรมพระแสงใน ขึ้นไปเชิญเสด็จพระพุทธรูปณะเมืองศุกโขไทย ผู้รั้งกรมการกับข้าหลวงจัดเรือขนาบมีร่มตลอดหัวท้าย มีฉัตรธงปักรายแคมแล้วเชิญเสด็จพระพุทธรูปเจ้าลงเรือล่องมายังกรุงเทพมหานคร ศรีอยุธยา จึ่งเชิญขึ้นประดิษถานไว้ ณะพระอารามพระเชตุพน..."

​​โดย​​​ในครั้งนี้มีการอัญเชิญพระพุทธรูป​​​จาก​​​หัวเมืองต่าง​​ ​​ๆ​​ ​​มา​​​ยัง​​​กรุงเทพมหานคร​​ ​​มากกว่า​​ ๑,๒๔๘ ​​องค์​​ (หนึ่งพันสองร้อยสี่สิบแปดองค์) ​​ซึ่ง​​​พระพุทธรูปปูนปั้นหุ้มหลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีก็ได้​​​ถูกอัญเชิญมา​ใน​​​คราวเดียว​​​กัน​​นี้​​ ​​ใน​​​การ​​​นั้น​​ ​​ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ​​โปรดเกล้าฯ​​ ​​ให้​​​ประดิษฐานองค์หลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี และพระพุทธรูป​​​จาก​​​หัวเมืองต่าง​​ ​​ๆ​​ ​​ที่​​​ได้​​​รวบรวมมาประดิษฐาน​​​ไว้​​ ​​ณ​​ ​​พระระ​​​เบียงวัดพระ​​​เชตุพนวิมลมังคลาราม​​ ​​ที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์​​​เสร็จสิ้น​​​ใน​​​ปี​​ ​​พ​​.​​ศ​​. ๒๓๔๔

พระระ​​​เบียงวัดพระ​​​เชตุพนวิมลมังคลาราม​​

ประดิษฐานยังวัดราชบุรณะ (วัดเลียบ)

​ ​ ต่อมาในปี​​ ​​พ​​.​​ศ​​. ๒๓๓๖ ​​พระสัมพันธวงศ์​​​เธอ​​ ​​เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์​​ ​​พระ​​​โอรส​​​ใน​​​สมเด็จพระ​​​เจ้าบรมวงศ์​​​เธอ​​ ​​เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระ​​พี่นางเธอ​​​ใน​​​รัชกาลที่​​ ๑ ​​ทรงทำ​​​การบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบเสร็จ​​​แล้ว​​​ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา​​​โลก​​มหาราช​​ ​​รัชกาลที่​​ ๑ ​​แห่งกรุงรัตนโกสินทร์​​ ​​ได้พระราชทานนามวัดว่า​​ "วัดราชบุรณราชวรวิหาร" ​​ตามนามวัดราชบุรณะ​​​ซึ่ง​​​เป็น​​​วัดคู่​​​เมืองราชธานีตลอดมาตั้งแต่สมัยสุ​​​โขทัย​​ ​​และ​​​ได้​​​มีพระบรมราชูปถัมภ์​​​ใน​​​การบูรณปฏิสังขรณ์​​​ด้วย

​ ​ กาลเวลาผ่านมาจน​​ ​​ในสมัย​​​รัชกาลที่​​ ๒ ​​พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย​​ ​​ทรงพระกรุณา​​​โปรดเกล้าฯ​​ ​​ให้​​​ถอนสีมาวัดเลียบเก่า​​ ​​แล้ว​​​สร้างพระอุ​​​โบสถ​​​และ​​​พระวิหาร​​​ใหม่​​ ​​พร้อม​​​กับ​​​ทำ​​​การสร้างพระระ​​​เบียงล้อมรอบพระอุ​​​โบสถ​​ ​ภาย​​​ใน​​​อัญเชิญพระพุทธรูป​​​ซึ่ง​​​​พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา​​​โลก​​ ​​ทรงพระกรุณา​​​โปรดเกล้าฯ​​ ​​ให้​​​นำ​​​มา​​​จาก​​​หัวเมืองรวม​​ ๑๖๒ ​​องค์​​ ​​มาประดิษฐาน​​​ไว้​​ ​​ซึ่ง​​​หนึ่ง​​​ใน​​​นั้น​​​ก็คือองค์หลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี​​​ด้วย

​​รอดจากระเบิดสัมพันธมิตร

บรรยากาศหน้าสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ฝั่งพระนคร ปี พ.ศ. ๒๔๗๕

ด้านซ้ายคือตึกโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กลางภาพเห็นวัดราชบุรณราชวรวิหาร (ก่อนถูกทำลายหมดทั้งวัดจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในปี พ.ศ. ๒๔๘๘) เห็นภาพโรงไฟฟ้าวัดเลียบอยู่ด้านหลังวัด (ถูกทำลายในคราวสงครามโลกครั้งที่สองเช่นเดียวกัน)

และด้านขวามือสุดคือพระปรางค์วัดราชบุรณะ ศาสนสถานแห่งเดียวที่รอดจากการถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร

​ ​ ​กาลล่วงเลยมาจน​​​ถึง​​ ​​พ​​.​​ศ​​. ๒๔๘๘ ​​ใน​​​ระหว่างสงครามโลกครั้งที่​​ ๒ ​​วัดราชบุรณะถูกระ​​​เบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร​​ ​​ทำ​​​ให้​​​พระอุ​​​โบสถ​​ ​​พระวิหาร​​ ​​และ​​ ​​กุฏิ​​​เสนาสนะ​​ ​​เสียหายมาก​​ ​​คณะสังฆมนตรี​​ ​​และ​​​คณะรัฐมนตรีขณะ​​​นั้น​​​มีมติว่า​​ ​​สมควรยุบเลิกวัดเสีย​​ ​​จึง​​​นำ​​​ความ​​​กราบบังคมทูล​​ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ​​และ​​​ได้รับพระบรมราชานุญาตให้​​​ยุบเลิกวัดได้ ทางราชการจึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ​​ ​​ลงวันที่​​ ๓๐ ​​กรกฎาคม​​ ​​พ​​.​​ศ​​. ๒๔๘๘ ​​เมื่อถูกยุบเลิก​​ ​​ทางวัด​​​ได้​​​อนุญาต​​​ให้​​​วัดต่าง​​ ​​ๆ​​ ​​ใน​​​หัวเมือง​​ ​​อัญเชิญพระพุทธรูปที่พระระ​​​เบียงที่รอด​​​จาก​​​การถูกทำ​​​ลาย​​ ​​ไปประดิษฐาน​​​ยัง​​วัดของตน​​​ได้​​​ตามแต่ประสงค์​​ ​​หลัง​​​จาก​​​สงครามสงบลง​​​ใน​​​ปี​​​เดียว​​​กัน​​ ​​พระพุทธรูปเหล่า​​​นั้น​​​จึง​​​กระจายไป​​​อยู่​​​ตามวัดต่าง​​ ​ๆ

​​อัญเชิญขึ้นมายังอุตรดิตถ์

​ วัดคุ้งตะเภา ซึ่งในสมัยนั้นกำลังทำการก่อสร้างอุโบสถ และยังไม่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่สำหรับเป็นพระประธานเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงได้แจ้งความจำนงขอรับพระพุทธรูปเก่าจากวัดราชบุรณราชวรวิหารมาองค์หนึ่ง กรมการศาสนาจึงได้ส่งพระพุทธรูปโบราณทั้งที่เป็นพระปูนพระสัมฤทธิ์ รวมทั้งองค์หลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีที่เคยประดิษฐานที่พระ ระเบียงคต รวมจำนวน ๘ องค์ คู่กับรูปหล่อสัมฤทธิ์พระอัครสาวกที่เคยประดิษฐานเป็นพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์ ภายในวิหารซึ่งเป็นพระที่รอดจากการทำลายจากระเบิดสัมพันธมิตรในครั้งนั้นมา ด้วย

​ การเคลื่อนย้ายนั้น กรมการศาสนาได้อัญเชิญหลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีและพระพุทธ รูปอื่น ๆ ขึ้นมายังจังหวัดอุตรดิตถ์โดยทางรถไฟมาลงที่สถานีรถไฟศิลาอาสน์ และอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่วัดธรรมาธิปไตย ซึ่งเป็นวัดของพระเดชพระคุณพระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.๘) เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ในขณะนั้น โดยท่านได้ทำการจัดแบ่งถวายยังวัดต่าง ๆ ที่แจ้งความประสงค์มาโดยการเลือกบ้างจับสลากบ้าง พระปลัดป่วน ซึ่งยังเป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภาในครั้งนั้นจึงได้ส่งมัคนายกวัดคุ้งตะเภา ๒ ท่าน คือทายกบุตร ดีจันทร์ และทายกอินทร์ รัตนมาโต มาที่วัดธรรมาธิปไตยเพื่อคัดเลือกและรับอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อพระพุทธสุ โขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีมายังวัดคุ้งตะเภา โดยได้รับถวายรูปหล่อพระอัครสาวกมาจำนวน ๒ องค์เพื่อประดิษฐานคู่กับหลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีด้วย (ปัจจุบันรูปพระอัครสาวกทั้งสองได้สูญหายไปนานแล้ว)

​ การเคลื่อนย้ายหลวงพ่อพระพุทธสุโข สัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีมายังวัดคุ้งตะเภาในครั้งนั้น ทายกทั้งสองได้ชวนคนวัดและชาวบ้านร่วมกันอัญเชิญมาลงที่ท่าอิฐไม่ไกลจากวัด ธรรมาธิปไตย และทวนแพมาขึ้นฝั่งหน้าวัดคุ้งตะเภาโดยทางแม่น้ำน่านในช่วงสงกรานต์ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ในครั้งนั้นเล่ากันมาว่ามีน้ำหลากสูงเต็มตลิ่งผิดปกติ ทำให้ชาวบ้านสามารถอัญเชิญหลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีขึ้นฝั่ง ตรงหน้าวัดบริเวณ ต้นโพธิ์หน้าศาลาการเปรียญได้เป็นอัศจรรย์

สถานที่แม่น้ำน่านเต็มตลิ่งถึงหน้าวัดเป็นอัศจรรย์

เป็นเหตุให้สามารถอัญเชิญหลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีขึ้นแพยังฝั่งแม่น้ำหน้าวัดคุ้งตะเภาเดิมได้

(แม่น้ำน่านในสมัยนั้นอยู่ห่างจากตลิ่งวัดไปกว่า ๑ กิโลเมตร)

​ ในช่วงแรก ชาวบ้านคุ้งตะเภาได้ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นหลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์ อุตรดิตถ์มุนีไว้เป็นพระประธานบนบนศาลาการเปรียญเปิดโล่งสี่ทิศ หรืออาคารศาลาการเปรียญหลังเก่าที่สร้างมาแต่ พ.ศ. ๒๔๗๒ ซึ่งเป็นศาสนสถานหลักของวัดในสมัยนั้นก่อนจะมีการสร้างอุโบสถเพื่อประดิษฐาน ในช่วงหลัง โดยผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบมาว่าหลังอัญเชิญหลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์ อุตรดิตถ์มุนีมาประดิษฐาน เป็นหลักชัยของวัดในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้มีฝนตกต้องตามฤดูกาลเสมอมา ชาวบ้านคุ้งตะเภาในช่วงนั้นหากินได้อุดมสมบูรณ์มากกว่าปกติ และต่างเชื่อกันว่าเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปที่นำมาจากวัดราช บุรณะ ในภายหลังจึงได้การขนานพระนามถวายองค์พระว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" ที่แปลว่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่บันดาลความสุขอุดมสมบูรณ์และความสำเร็จดังปรารถนา มาให้ จนในช่วงหลังพระสงฆ์ในวัดเรียกกันคุ้นปากว่า "หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์" ที่มีความหมายถึงความสุขเช่นเดียวกัน

ต่อมาในช่วงหน้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มีลมพายุพัดรุนแรงมากจนทำให้กิ่งไม้หักถูกศาลาการเปรียญต้ององค์พระปูนปั้นหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ชำรุดจนเห็นเนื้อภายใน ทำให้พระสงฆ์วัดคุ้งตะเภาได้ทราบว่าพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาแต่วัดราชบุรณะนั้นเป็นพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์โบราณ จึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานในอุโบสถของวัดคู่กับหลวงพ่อสุวรรณเภตรา พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำวัดคุ้งตะเภา ปะปนกับพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ โดยไม่ได้เปิดเผยว่าเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์โบราณ และมีพระสงฆ์วัดคุ้งตะเภาเข้าจำพรรษาเฝ้าระวังหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ทุกพรรษาในอุโบสถ ทำให้ในช่วงหลังนามหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ได้ลืมเลือนไปจากชาวบ้านรุ่นที่ทันเห็นในคราวที่ยังเป็นพระพุทธรูปปูน จนถึงกลางปี พ.ศ. ๒๕๓๗ มีการบูรณะอุโบสถวัดคุ้งตะเภา พระสงฆ์จึงได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์เข้าประดิษฐานยังห้องลับของวัดจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อออกประดิษฐานให้ประชาชนสักการะเป็นการชั่วคราวในเทศกาลสงกรานต์ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ วัดคุ้งตะเภาได้สร้างตู้กระจกนิรภัยพร้อมกับติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยอิเล็กทรอนิกส์บนอาคารศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา และได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นประดิษฐานในหอพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีประสิทธิมงคล เปิดโอกาสให้ประชาชนสักการะเป็นการถาวรจนถึงปัจจุบัน

งานนมัสการหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี

​ หลังจากที่วัดคุ้งตะเภาได้อัญเชิญหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี กลับมาสู่แดนมาตุภูมิ (แถบนี้เคยเป็นหัวเมืองของกรุงสุโขทัยในอดีต) ก็มิได้มีการเปิดให้สักการบูชาและเปิดเผยองค์หลวงพ่ออย่างเป็นทางการเช่นในอดีต เนื่องจากปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัย เพราะองค์หลวงพ่อเป็นโบราณวัตถุที่ประเมินค่ามิได้ และเป็นที่ปรารถนาสำหรับพ่อค้าวัตถุโบราณ ทำให้ทางวัดจำเป็นต้องเก็บงำปูชนียวัตถุโบราณสำคัญยิ่งของชาติชิ้นนี้ไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ภายในวัดโดยไม่ได้เปิดเผยให้ประชาชนทั่วไปทราบมานานกว่า ๖๐ ปี

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ วัดคุ้งตะเภาจึงได้ทำการเปิดเผยองค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สักการะปิดทองสรงน้ำได้ถึงองค์พระ โดยจะอัญเชิญหลวงพ่อมาประดิษฐานให้ประชาชนทำการสักการบูชาได้เฉพาะในช่วง เทศกาลสงกรานต์เท่านั้น

จนในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ วัดคุ้งตะเภาได้สร้างตู้กระจกนิรภัยพร้อมกับติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัย อิเล็กทรอนิกส์บนอาคารศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา และได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นประดิษฐานในหอพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์ประสิทธิมงคล เปิดโอกาสให้ประชาชนสักการะเป็นการถาวรจนถึงปัจจุบัน

ได้รับถวายพระนามและยกย่องเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์

​ ​ ด้วยฤทธานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี และพระพุทธศิลปะแบบสุโขทัย-เชียงแสน ที่หาชมได้ยากยิ่ง ทำให้ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงได้ยกย่ององค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีเป็นพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง ๑ ใน ๙ องค์ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ และวัดคุ้งตะเภาถูกบรรจุให้เป็นหนึ่งในเส้นทางทำบุญไหว้พระ ๙ วัด ของจังหวัดอุตรดิตถ์อีกด้วย

และเนื่องในมหาศุภวาระมงคลดิถีสัมพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี (การฉลอง ๒๖ พุทธศตวรรษ แห่งการตรัสรู้) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก องค์พระสังฆบิดรแห่งคณะสงฆ์ไทย จึงได้มีพระเมตตาธิคุณเปลี่ยนถวายพระนามองค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีใหม่ให้สอดคล้องกับชื่อจังหวัดอุตรดิตถ์ จากพระนามเดิม หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ เป็น พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี

โดยปรากฏข้อความทรงยกย่องในหนังสือตอบการประทานพระนามจากสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ว่า

...เป็นพระพุทธรูปโบราณสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์

ปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน-สุโขทัย

เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์...

และการที่ทรงมีพระเมตตาธิคุณประทานเปลี่ยนพระนามใหม่ให้เป็น พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี นั้น เพื่อให้คล้องกับพระนามเดิมที่รู้จักกันทั่วไป และต่อสร้อยให้คล้องกับนามจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีจึงมีพระนามใหม่ตั้งแต่นั้นมา

องค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ จึงนับเป็นพระพุทธรูปโบราณ ทรงพลานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนามาช้านานนับ ๘๐๐ ปี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ ยังนับเป็น พระพุทธรูปศิลปะผสมเชียงแสน-สุโขทัย ศิลปะชั้นครู แบบที่หาพบได้น้อยมากและหายากที่สุดในประเทศไทย และในโลก จึงนับเป็นนิมิตหมายและสิริมงคลยิ่งของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ อันเป็นจังหวัดที่ประกอบด้วยกลุ่มชนพหุวัฒนธรรม ทั้งไทยกลาง และไทยล้านนา ดุจเดียวกับพุทธศิลป์แห่งองค์หลวงพ่อ ได้มีบารมีแห่งองค์หลวงพ่อพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นมิ่งขวัญสิริมงคล และเป็นหลักชัยแห่งชนชาวอุตรดิตถ์มาช้านาน