- พระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระสังฆราชแห่งราชอาณาจักรไทย

พระบรมสารีริกธาตุส่วนพระองค์

รับประทานจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

เพื่อสถิตย์ ณ วัดคุ้งตะเภา จังหวัดอุตรดิตถ์

พระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระสังฆราชแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เป็นพระบรมสารีริกธาตุหลวงส่วนพระองค์ ที่วัดคุ้งตะเภาได้รับประทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ซึ่งพระองค์เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่รักษาสืบมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธศาสนามาตั้งมั่นในสยามประเทศ และ เป็นพระบรมธาตุส่วนเดียวกับที่ได้แบ่งอัญเชิญไปประดิษฐานยังพระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ บนยอดดอยอินทนนท์ (ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลงในพระกรัณฑ์ วันจันทร์ที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐)

การประทานพระบรมสารีริกธาตุ

โดยองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ได้ทรงอนุโมทนาและทรงมีพระเมตตาธิคุณประทานแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลวงส่วนพระองค์แก่วัดคุ้งตะเภา เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐานเป็นที่สักการะบูชา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นที่ตั้งมั่นแห่งพระพุทธศาสนา เป็นสิริมงคล เป็นขวัญกำลังใจ แก่พระภิกษุ สามเณร และพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อบรรจุในพระบุษบกบรมคันธกุฎีพุทธวิหารบนอาคารมหาศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา ซึ่งมีท่านธีรวัจน์ สุโกศลวิสิทธิ์ เป็นต้นบุญเจ้าภาพใหญ่ถวายสถาปนาองค์พระบรมบุษบก และถวายสถาปนาพระสถูปสุวรรณกรัณฑ์ทองคำ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเป็นการถาวร และทางวัดคุ้งตะเภาจะอัญเชิญแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลวงไปบรรจุในพระพุทธรูปใหญ่ ที่วัดคุ้งตะเภาจักได้จัดสร้างขึ้นในอนาคต

การเข้ารับประทานพระบรมสารีริกธาตุ

เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภารับประทานพระบรมสารีริกธาตุจากผู้แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราช

โดยสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ได้ประกอบพิธีประทานพระบรมสารีริกธาตุหลวงส่วนพระองค์แก่วัดคุ้งตะเภา ในวันศุกร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เวลา ๑๓.๐๐ น.

คณะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ วัดคุ้งตะเภา ในวันที่ ๑๘ พ.ค. ๕๕

ในการนี้หลวงพ่อพระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา เป็นผู้รับมอบจากผู้แทนพระองค์ ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับประทานในครั้งนี้มีจำนวน ๙ พระองค์ ประดิษฐานในผอบทอง บนฐานบัวแก้ว รองรับด้วยพระสถูปแก้วปิดทองคำแท้

สัณฐานพระบรมสารีริกธาตุหลวงส่วนพระองค์ วัดคุ้งตะเภา

ภาพพระบรมสารีริกธาตุที่วัดคุ้งตะเภาไ้ด้รับประทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

หลังจากวัดคุ้งตะเภาได้เข้ารับประทาน ในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และอัญเชิญมาประดิษฐานในอุโบสถวัดคุ้งตะเภา รุ่งขึ้นในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ทางวัดคุ้งตะเภาจึงได้ตั้งพิธีสรงน้ำรับพระบรมธาตุจากสมเด็จพระสังฆราช (เป็นการภายใน) เพื่ออัญเชิญออกจำแนกสัณฐานพระบรมธาตุและบันทึกภาพพระบรมธาตุเป็นหลักฐาน

โดยถือคติหลักจำแนกพระบรมธาตุจากตำราอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ปรากฎว่า พระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับประทานมา เป็นพระบรมสารีริกธาตุลักษณะตรงตามคัมภีร์ทุกประการทุกพระองค์

ภาพพระบรมสารีริกธาตุที่วัดคุ้งตะเภาไ้ด้รับประทานจากสมเด็จพระสังฆราช

พระบรมสารีริกธาตุหลวงส่วนพระองค์วัดคุ้งตะเภานี้ มีทั้งหมด ๙ พระองค์ โดยแบ่งเป็น สัณฐานเมล็ดข้าวสาร ๕ พระองค์ (มหาธาตุ มชฺเฌ ภินฺนตณฺฑุลมตฺตา), สัณฐานเมล็ดถั่วเขียวผ่ากลาง ๔ พระองค์ (อติมหตี มชฺเฌ ภินฺนมุคฺคามตฺตา) เมื่อจำแนกโดยวรรณะ (สี) ตามพระคัมภีร์ แบ่งเป็น วรรณะเหมือนดอกมะลิตูม ๘ พระองค์ (สุมนมกุลสทิสา) และ วรรณะทองอุไร ๑ พระองค์ (สุวณฺณจุณฺณา)

โดยสรุป พระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดเป็นขนาดเขื่อง คือมีขนาดใหญ่กว่าพระบรมธาตุชนิดเมล็ดพันธุ์ผักกาด ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุขนาดเล็กที่สุดเท่าที่มีปรากฎในพระคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎก

พระบรมสารีริกธาตุหลวงแสดงปาฏิหาริย์

เมื่อทางวัดทำการจำแนกและบันทึกภาพแล้ว วัดคุ้งตะเภาจึงได้ตั้งแท่นพิธีอัญเชิญตักพระบรมธาตุลงสรงน้ำรับพระบรมธาตุตามประเพณีปกติ ซึ่งเป็นธรรมเนียมโบราณที่ต้องประกอบพิธีนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติแด่องค์พระบรมสารีริกธาตุเป็นครั้งแรกหลังจากได้ทำการย้ายสถานที่ประดิษฐาน และเมื่อวัดคุ้งตะเภาอัญเชิญองค์พระบรมสารีริกธาตุหลวงลงสู่ภาชนะบรรจุน้ำสรงบนแท่นสุวรรณเจดีย์สรงพระบรมสารีริกธาตุ ได้ปรากฎเหตุการณ์อัศจรรย์ กล่าวคือองค์พระบรมสารีริกธาตุหลวงที่ได้รับประทานมา แสดงปาฏิหาริย์ลอยน้ำเป็นแอ่งบุ่มรองรับพระบรมสารีริกธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุทุกพระองค์ได้เสด็จลอยมาเกาะกลุ่มประดิษฐานอยู่กึ่งกลางภาชนะที่สรงพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นยากมาก เพราะพระบรมธาตุที่ได้รับประทานมานี้ ทั้งหมดเป็นขนาดเขื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์ที่มีสัณฐานเมล็ดถั่วเขียวซึ่งมีขนาดใหญ่ ซึ่งมักไม่แสดงปาฏิหาริย์ลอยน้ำให้ปรากฎบ่อยครั้งนัก

การสมโภชพระบรมสารีริกธาตุหลวง ๓ มหาวาระ ณ วัดคุ้งตะเภา

เนื่องด้วยพระบรมสารีริกธาตุเป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ตามคตินิยมแต่โบราณ บ้านใดเมืองใดได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน ย่อมเป็นสิ่งมงคลสูงสุด จึงเป็นธรรมเนียมแต่เดิมว่า ควรจัดกระทำการฉลองสมโภชโดยนานาประการ ประดุจองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาสู่เมืองและนครนั้น ๆ ด้วยพระองค์เอง ทางวัดคุ้งตะเภาจึงได้กำหนดจัดกิจกรรมสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ เป็น ๓ วาระ ให้ครบถ้วนตามโบราณพุทธประเพณี แบ่งเป็น วาระที่ ๑ (ปฐมวาร) คือ การจัดขบวนแห่สมโภช พระบรมธาตุ ในวันที่ ๓๐-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ วาระที่ ๒ (ทุติยวาร) คือ การเวียนเทียนสมโภช ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุ ในวันวิสาขบูชาที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ และวาระที่ ๓ (ตติยวาร) การฉลองสมโภช พระบรมธาตุ ในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายละเอียดดังนี้

วาระที่ ๑ : การแห่สมโภชพระบรมธาตุ (วาระแรก)

วัดคุ้งตะเภาได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมสมโภชพระบรมสารีริกธาตุวัดคุ้งตะเภา เพื่อฉลองสัมพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ โดยร่วมมือกับพุทธศาสนิกชนชาวตำบลคุ้งตะเภาทั้ง ๘ หมู่บ้าน คณะสงฆ์ตำบลคุ้

พระพุทธวิหารให้ประชาชนสักการะเป็นการชั่วคราว เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชามหาพุทธชยันตี โดยมีกิจกรรมการบำเพ็ญกุศลถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร การเจริญชัยมงคลคาถา การแสดงพระธรรมเทศนา การทอดผ้าป่าฉลองพุทธชยันตี การจัดแสดงนิทรรศการผ้าพระบฏทังก้าโบราณ รูปพระพุทธประวัติและภาพคติธรรมของนิกายวัชรยานแบบทิเบต มีการปฏิบัติธรรมตลอดทั้งวัน การทำวัตรสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา การเจริญบทพระพุทธคุณ บทพระธรรมคุณ บทพระสังฆคุณ เป็นภาษาบาลี ๑๐๘ จบ และมีการเจริญพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนา เช่น พระธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร เป็นต้น รวมถึงการสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ และการเวียนเทียนประทักษิณาวัตรรอบพระบุษบกบรมคันธกุฎีประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุวัดคุ้งตะเภาด้วย

วาระที่ ๓ : การฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ (ตติยวาระ)

งตะเภา ทั้ง ๙ วัด คือ วัดป่ากล้วย วัดใหม่เจริญธรรม วัดคุ้งตะเภา วัดป่าสักเรไร วัดหาดเสือเต้น วัดบ่อพระ วัดหนองบัว วัดเด่นกระต่าย และวัดหนองปล้อง เครือข่ายครูพระสอนศีลธรรมวัดคุ้งตะเภา ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดคุ้งตะเภา นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลคุ้งตะเภา เทศบาลตำบลคุ้งตะเภา และโรงเรียนในเขตตำบลคุ้งตะเภาทั้ง ๖ โรงเรียน คือ โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา โรงเรียนบ้านหาดเสือเต้น โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา โรงเรียนป่ากล้วยเสริมวิทยา โรงเรียนบ้านหัวหาด และโรงเรียนบ้านบ่อพระ โดยมีการจัดกระบวนแห่สมโภชพระบรมสารีริกธาตุจากวัดคุ้งตะเภาอย่างสมพระเกียรติ เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเป็นการชั่วคราวให้ประชาชนสักการะ ณ มณฑลพิธีสัปดาห์วิสาขบูชาประจำตำบลคุ้งตะเภา ในวันพุธที่ ๓๐ ถึง วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา การจัดกิจกรรมแสดงนิทรรศการประวัติพระบรมสารีริกธาตุ นิทรรศการวันวิสาขบูชา และยังมีกิจกรรมการประกวดโต๊ะหมู่บูชาพระบรมสารีริกธาตุด้วย โดยในวันตั้งขบวนแห่สมโภชพระบรมธาตุวัดคุ้งตะเภานั้น มีนักเรียนและประชาชนมาร่วมงานกว่า ๕๐๐ คน

วาระที่ ๒ : การเวียนเทียนสมโภชพระบรมธาตุ (มัชฌิมวาระ)

เป็นการจัดกิจกรรมของวัดคุ้งตะเภา ในวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในพระบุษบกบรมคันธกุฎีพุทธวิหารบนอาคารมหาศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา สถาปนาให้เป็น

เป็นการจัดกิจกรรมสมโภชพระบรมสารีริกธาตุเป็นครั้งสุดท้ายและยิ่งใหญ่ที่สุด โดยเป็นการจัดกิจกรรมของวัดคุ้งตะเภา ในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานในพระบุษบกบรมคันธกุฎีพุทธวิหารบนอาค

ารมหาศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา สถาปนาให้เป็นพระพุทธวิหารให้ประชาชนสักการะเป็นการถาวร และมีการอาราธนาพระราชาคณะและเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ระดับเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะตำบลในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ เช่น พระเทพปริยัติวิธาน เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าอาวาสวัดคลองโพธิ์พระอารามหลวง พระครูวิสุทธิปัญญาสาร รองเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ พระครูเกษมธรรมาลังการ เจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ เป็นต้น และได้นิมนต์พระสงฆ์จาก ๕ อำเภอ ๔๙ วัด จากทั้งอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล อำเภอพิชัย อำเภอทองแสนขัน และอำเภอตรอน รวมกว่า ๒๑๙ รูป เพื่อมาฉลองศรัทธาฉันสมโภชนาหาร ตามประเพณีโบราณเนื่องในการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีการเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์และภริยา และหัวหน้าภาคส่วนราชการต่าง ๆ เช่น นายนาวิน สินธูสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ นายพรศักดิ์ สงวนผล นายอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ นายชัยพจน์ คชโคตร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ และคณะเหล่า

กาชาดจังหวัดอุตรดิตถ์ มาเป็นประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่งเจ้าหน้าที่มาทำข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวงานฉลองพระบรมสารีริกธาตุวัดคุ้งตะเภา โดยในวันงานมีคณะนักเรียนจิตอาสาจากศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดคุ้งตะเภา และโรงเรียนในเขตตำบลคุ้งตะเภาทั้ง ๖ โรงเรียน เช่น โรงเรียนบ้านหาดเสือเต้น โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา และโรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา รวมทั้งเจ้าหน้าที่คณะอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.). หมู่ ๔ ตำบลคุ้งตะเภา ให้ความช่วยเหลือการจัดสถานที่และดูแลความเรียบร้อย รวมถึงการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในบริเวณงาน ซึ่งมีคณะศรัทธาพุทธศาสนิกชนและประชาชนชาวอุตรดิตถ์มาร่วมพิธีฉลองและสักการะพระบรมสารีริกธาตุในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ ตลอดทั้งวันนับพัน ๆ คน โดยต้องใช้พื้นที่อาคารมหาศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภาเต็มทั้งพื้นที่ (พื้นที่อาคารมหาศาลาฯ รวมกว่า ๒ ไร่เศษ) โดยงานฉลองพระบรมสารีริกธาตุวัดคุ้งตะเภาในวันนั้น สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต ๔ พิษณุโลก ซึ่งรายงานข่าวครอบคลุม ๙ จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี ได้นำข่าวงานฉลองพระบรมสารีริกธาตุวัดคุ้งตะเภาไปเสนอเป็นข่าวเด่นประจำภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง เนื่องจากเป็นประวัติศาสตร์ของงานบุญที่มีผู้เข้าร่วมพิธีมากที่สุดครั้งหนึ่ง

(อ่านหน้าจดหมายเหตุสมโภชพระบรมสารีิริกธาตุวัดคุ้งตะเภา)

หนังสือทรงประทานพระบรมสารีริกธาตุแก่วัดคุ้งตะเภา