ไม้ดอก ไม้ประดับ

ไม้ดอก ไม้ประดับ

1 เอื้องหมายนา ขยายโดยการแยกหน่อ

2 หูปลาช่อน ขยายด้วยการปักชำ

3 นาก ขยายโดยการ ปักชำ

4 ขาไก่ด่าง ขยายด้วยการปักชำ

5 เล็บครุฑ ขยายด้วยการตัดกิ่งแช่น้ำให้งอกราก

6 เดหลี จักพรรดิ ขยายด้วยการแยกหน่อ

7 โกศลขยายด้วยการปักชำ

8 นากประดับ ขยายด้วยการปักชำ

9 หมากผู้หมากเมีย ขยาด้วยการตัดขั้อ หรือกิ่งปักชำ

10หมากผู้หมากเมีย อีกแบบ

11 บีโกเนีย ขยายด้วย ยอด หรือข้อ

12 เฟิร์น ขยายด้วยการแยกหน่อ

13 กวนอิมด่าง ขยายด้วยการปักชำ

14 ระฆังทอง ขยายด้วยหัว หรือต้นอ่อน

15 เศรษฐีเรือนนอก ขยายด้วยหัวหรือหน่อ

16 วาสนาราชินี ขยายด้วยการตัดกิ่ง รอให้แตกหน่อที่ต้นแม่ แล้วย้ายปลูก

17ช้างกระ ขยายด้วยการตัดหน่อจากต้นแม่ หรือ ตัดข้อสั้นๆแล้วฝังดิน

18ช้างเผือก ทำเหมือนช้างกระ

19 นางพญาหงสาวดี อันนี้ทนมากๆ ตัดเป็นท่อนๆ แล้วฝังดิน ได้ต้นใหม่ที่งามๆ

20 กนกลายไทย ตัดปักชำ

21 เศรษฐีวินสัน ตัดยอดต้นแม่ที่สูงเกินงาม รอให้แตกหน่อ แล้วตัดหน่อแยกปลูก

22 นางกวักใบโพธิ์ ขยายด้วยการ แยกหน่อ

1.คริสต์มาส

ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia pulcherrima Willd.ex Klotzsch.

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่อสามัญ : Poinsettia, Pointed Leaf, Lobster Plant, Chrismas Star

ชื่ออื่น : บานใบ (ภาคเหนือ) โพผัน สองระดู (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ใบ เดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลม ขอบใบหยัก 2-3 หยัก ทุกส่วนมียางสีขาวเหมือนน้ำนม ดอก ช่อ ออกปลายกิ่ง ในหนึ่งช่อดอกมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ร่วมกัน มีใบประดับสีแดงรูปหอกขนาดใหญ่อยู่รอบๆ ช่อดอกเป็นจำนวนมาก

ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาวจากใบ ต้น

สารพิษ : resin สารออกฤทธิ์เป็นกลุ่ม diterpene ester

การเกิดพิษ : น้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคืองมาก ผิวหนังเป็นปื้นแดง ต่อมาจะบวมพองเป็นตุ่มน้ำ ภายใน 2- 8 ชั่วโมง ถ้ารับประทานจะทำให้กระเพาะอักเสบ

การรักษา : ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร และรักษาตามอาการ

2.หมามุ่ย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mucuna pruriens (L.) DC.

ชื่อพ้อง M. prurita Hook.f.

วงศ์ : Leguminosae - Papilionaceae

ชื่อสามัญ : Cowitch , Cowhage

ชื่ออื่น : บะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กลออื้อแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย ใบ ประกอบ คล้ายใบถั่วฝักยาว คือมี 3 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่ปลายแหลม มีขนทั่วไป ดอก ช่อ ดอกย่อย แบบดอกถั่ว สีม่วงแก่ ออกตามง่ามใบแถวปลายยอด ฝักแก่จัดสีเหลืองทองถึงเหลืองแก่ มีขนค่อนข้างยาว ถ้าสัมผัสจะคัน ฝักแก่จัดขนจะร่วงปลิวไป หมามุ่ยมีหลายชนิด

ชนิดที่ 1 ฝักจะไม่ยาวมาก ประมาณ 5-7 เซนติเมตร ฝักตรง

ชนิดที่ 2 ฝักจะยาวกว่าชนิดแรกเล็กน้อย แต่ปลายฝักจะงอนออก ยาว 5-8 เซนติเมตร

ชนิดที่ 3 เป็นหมามุ่ยใหญ่ (หมามุ่ยช้าง, สะบ้าลิง) ฝักรูปทรงกระบอกค่อนข้างแบน ผิวผลย่นๆ เป็นสันและยาวกว่า 2 ชนิดแรก ยาว 10-12 เซนติเมตร ขนสีน้ำตาลแดง

ส่วนที่เป็นพิษ : ขนจากฝัก

สารพิษและสารเคมี : ขนมี mucunain enzyme สามารถย่อยโปรตีนได้ ในขนมี serotonin เป็นสารกระตุ้น ให้ร่างกายคนหลั่ง histamine ก่อให้เกิดการแพ้ผื่นคัน บวมแดง

อาการเกิดพิษ : ผิวหนังเมื่อถูกขนหมามุ่ย จะคัน ระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อน บวมแดง

การรักษา : ให้พยายามเอาขนออกให้หมด โดยใช้เทียนไขลนไฟ ให้นุ่ม หรือข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว คลึงจนกระทั่งขนหลุดหมด แต่ถ้าไม่มีของพวกนี้ อาจใช้ถูไปมาบนผม ถ้าเป็นผมสั้นๆ จะได้ผลดี เมื่อคลึงเอาขนหลุดหมดแล้ว ถ้ายังคันให้ทายาคาลาไมน์หรือครีมที่มีสเตียรอยด์ เช่น ครีมพวกเพนนิโซโลน และรับประทานยาแก้แพ้ทุก 6 ชั่วโมง

3.ตำแย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Laportea interrupta (L.) Chew

วงศ์ : Urticaceae

ชื่อสามัญ : -

ชื่ออื่น : กะลังตังไก่ (ภาคใต้) ตำแยตัวเมีย (ภาคกลาง) ว่านช้างร้อง (เชียงใหม่) หานไก่ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 เซนติเมตร ทุกส่วนมีขน ใบ เดี่ยว รูปหัวใจปลายแหลม ขอบใบหยัก ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ ไม่มีกลีบดอก

ส่วนที่เป็นพิษ : ทุกส่วนที่มีขน

สารพิษ : สาร histamine, acetylcholine, formic acid, 5-hydroxy tryptamine, acetic acid ฯลฯ

อาการเกิดพิษ : ขนเมื่อถูกผิวหนังจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน ระคายเคือง บวมแดง ถ้าเป็นบริเวณผิวหนังอ่อนนุ่มจะมีอาการรุนแรงยิ่งขึ้น

การรักษา : เอาขนที่ติดอยู่ออกก่อน โดยใช้วิธีเดียวกับเอาขนหมามุ่ยออก ถ้ายังมีอาการคันให้ทายาคาลาไมน์ หรือครีมที่เข้าสเตียรอยด์ เช่น เพนนิโซโลน ถ้ายังมีอาการปวดอยู่ ให้รับประทานยา chorpheniramine 4 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง

4.ตำแยช้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocnide stimulans (L.f.) Chew

วงศ์ : Urticaceae

ชื่ออื่น : สามแก้ว (ภาคใต้) หานเดื่อ หานสา (ภาคเหนือ) เอ่โก่เปอ ไอ้ขุนา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 5 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทา และมีประช่องระบายอากาศทั่วไป ใบเดี่ยวเรียงสลับหรือเวียนกัน ทรงใบรูปหอกกลับ โคนใบสอบ ปลายสุดของใบเรียวแหลม ผิวใบด้านล่างเป็นคราบขาว ดอกเล็กสีขาวปนเหลือง หรือสีม่วงอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อยาวๆ ห้อยตามง่ามใบ ผลเล็ดกลมสีเขียว

ส่วนที่เป็นพิษ : ขนหรือเกล็ดตามส่วนต่างๆ เช่น ใบ ช่อดอก จะทำให้เกิดอาการคัน ผิวหนังไหม้เกรียม หรือแดง เป็นผื่นและปวดมาก

5.หญ้าคา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Imperata cylindrica (L.) P.Beauv.

วงศ์ : Poaceae (Gramineae)

ชื่อสามัญ : Thatch Grass , Wolly Grass, Lalang, Alang-alang

ชื่ออื่น : ลาลาง ลาแล (มลายู-ยะลา)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินสีเหลืองอ่อน ยาวและแข็ง ลำต้นเทียมบนดินสูงได้ 0.3-0.8 เมตร ใบ เดี่ยว แทงออกจากเหง้า ใบเล็กยาว ขอบใบคม ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า ดอกย่อย ขนาดเล็ก รวมกันอยู่ช่อแน่น สีเงินอมเทาอ่อนๆ ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก

ส่วนที่เป็นพิษ : ขอบใบคม อาจบาดทำให้เป็นแผล สัมผัสผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน

6.พญาไร้ใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia tirucalli L.

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่อสามัญ : Pencil Plant, Milk Bush

ชื่ออื่น : เคียะจีน พญาร้อยใบ (เชียงใหม่) เคียะเทียน (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 1-3 เมตร ลำต้นสีเขียว กลมขนาดเล็ก อวบน้ำ มียางสีขาวทุกส่วน ส่วนบนจะแตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นต่อกันเป็นข้อๆ ใบ เดี่ยว ขนาดเล็กมาก ร่วงง่าย ดอก เป็นกระจุกตามข้อหรือปลายกิ่ง สีขาวอมเหลือง ส่วนใหญ่เป็นเพศเมีย ดอกสมบูรณ์เพศมีเล็กน้อย ผล ไม่ค่อยติด รูปร่างผลยาว มี 3 พู ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลเข้ม

ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม

สารพิษ : ยางมีสาร 4-deoxyphorbol และอนุพันธ์เป็นสารร่วมก่อมะเร็ง euphorbon, euphorone, resin, taraxasterol, tirucallol

อาการเกิดพิษ : ถ้าถูกผิวหนัง ทำให้เป็นผื่น อักเสบ บวมแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบแดง ถ้ารักษาไม่ถูกหรือทิ้งไว้ตาอาจบอดได้

ถ้ารับประทานเข้าไปมาก ช่องปากจะบวม คลื่นไส้ อาเจียน กระเพาะปัสสาวะและลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง อาจอุจจาระเป็นเลือด

การรักษา : ถ้าเข้าตาหรือถูกผิวหนัง ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง มียาสเตียรอยด์ให้ทาที่ผิวหนัง ถ้ามียาหยอดตาที่เข้าสเตียรอยด์ให้ยอดตา

ถ้ารับประทาน 1. ให้ใช้ activated charcoal รับประทานเพื่อดูดเอาส่วนที่ยังไม่ดูดซึมออก 2. ล้างท้องหรือทำให้อาเจียน 3. ให้ดื่มนมหรือไข่ขาว เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ 4. ส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น

7.ชวนชม

ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenium obesum (Forsk.) Roem.&Schult.

วงศ์ : Apocynaceae

ชื่อสามัญ : Mock Azalea, Desert Rose, Impala Lily, Pink Bigmonia, Salsi Star

ชื่ออื่น : ลั่นทมแดง ลั่นทมยะวา (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นอวบน้ำมียางขาวทุกส่วน ใบ เดี่ยว รูปช้อน เรียงแบบเวียน ดอก เดี่ยวหรือช่อสั้นๆ กลีบดอกสีแดง โคนกลีบดอกเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก ผล เป็นฝักคู่รูปยาวรี แก่แตกได้ (ปัจจุบันมีต้นที่มีดอกสีขาวและสีชมพู)

ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาว ถูกผิวหนังอักเสบ ถ้ากินมีพิษต่อหัวใจ

สารพิษ : เป็นสารกลัยโคไซด์ เช่น abobioside, echubioside ฯลฯ การเกิดพิษ : ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ กินเข้าไปจะเป็นพิษ แต่น้ำยางมีรสขมมาก โอกาสกินมีน้อย ถ้ากินจะมีผลต่อหัวใจ อาการเบื้องต้นจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า หัวใจเต้นอ่อน ความดันลดลงอาจตายได้

การรักษา : ทำให้อาเจียนโดยใช้ยาพวก ipecac แล้วรับประทาน activated charcoal (ถ่าน) ส่งโรงพยาบาล ด่วน ถ้ายางถูกผิวหนัง ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง ถ้าเข้าตาก็ล้างให้สะอาดเช่นกัน มียาที่เข้าสเตียรอยด์ให้ใส่หรือทา

8.บอน

ชื่อไทย :บอน

ชื่อสามัญ :Elephant ear

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Colocasia esculenta (L.) Schott var. aquafiilis Hassk.

ชื่อวงศ์ :ARACEAE

ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชล้มลุกหลายฤดู ชอบขึ้นตามชายน้ำหรือที่ลุ่มมีน้ำขัง ลำต้นเป็นหัวเล็ก ๆ อยู่ในดิน ชูก้านใบโผล่ขึ้นมา มีไหลเลื้อยไปเกิดเป็นต้นใหม่ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ใบเป็นใบเดี่ยว มีก้านอวบน้ำใหญ่ยาว ใบมีรูปร่างหลายแบบคล้ายหัวลูกศร ก้านใบติดกับแผ่นใบทางด้านล่าง โคนก้านใบแผ่กว้างหุ้มประกบกัน ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกสั้นกว่าก้านใบ มีก้าบหุ้มดอกยาวรี โคนป่องมีช่องเปิดเห็นช่อดอกตรงกลาง ส่วนบนของช่อดอกเป็นดอกตัวผู้ ส่วนล่างเป็นดอกตัวเมีย ต้นบอนจะมีน้ำยางเหนียวสีขุ่น ๆ ถ้าถูกจะคัน

ประโยชน์ :ก้านใบใช้ประกอบอาหารประเภทต้มแกง แต่ต้องทำให้สุกจึงจะไม่คัน

9.โหรา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalomena aromatica

วงศ์ : Araceae

ชื่อสามัญ : โหรา

ชื่ออื่น : คูน กระดาดขาว กระดาดดำ ออดิบ

ลักษณะ: ไม้ล้มลุก ต้นแตกกอเป็นพุ่มกว้าง สูงกว่า 1 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ก้านใบสีดำเป็นมัน

ส่วนที่เป็นพิษ: น้ำยางจากทุกส่วนของต้นและเมล็ด

สารพิษ: Calcium Oxalate ลักษณะผลึกเป็นรูปเข็ม ไม่ละลายน้ำ (bundle of the needle like crystals ; raphides) ส่วนที่มีผลึกมาก คือ น้ำยางใสจากทุกส่วนของต้น โดยเฉพาะลำต้น และใบ

อาการพิษ :หลังจากรับประทานแล้ว จะมีอาการระคายเคืองในลำคอ ปากและลิ้น ทำให้ลิ้นแข็ง ไม่สามารถพูดได้

10.พลูแฉก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Monstera deliciosa Liebm.

วงศ์ : Araceae

ชื่อสามัญ : Mexican breadfruit, Swiss cheese plant

ชื่ออื่น : พลูฉีก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เลื้อยที่มีรากตามข้อ มีรากออกตามข้อของลำต้น ช่วยในการเกาะยึด ก้านใบยาว ใบคล้ายรูปหัวใจ แผ่นใบอาจเว้าลึกหลายแห่ง หรือไม่เว้าเลยก็มี ใบมีสีเขียวเป็นมัน ดอกสีขาวออกเป็นช่อเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ยอด ส่วนที่เป็นพิษ ยางจากต้น และสารจากต้น

สารพิษ : สารในต้น สารพิษและสารเคมีอื่นๆ calcium oxalate, lycorine alkaloids

การเกิดพิษ : ถ้าเคี้ยวเข้าไปจะทำไห้ปาก ลิ้น เพดาน แสบและร้อนแดง เกิดอาการอาเจียน ท้องเสียเล็กน้อย เนื่องจากสารพิษไประคายเคือง mucosa และไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางที่ควบคุมการอาเจียน

การรักษา : เมื่อได้รับสารพิษจากต้นให้ยาระงับปวดจำพวก meperidine(Demerol) บ้วนปากและกลั้วคอ รับประทาน aluminum magnesium hydroxide งดอาหารจำพวกไขมัน ให้อาหารอ่อนๆ

11.โป๊ยเซียน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia milii Des Moul.

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่อสามัญ : Crown of Thorns, Corona de Sespina

ชื่ออื่น : ระวิงระไว พระเจ้ารอบโลก ว่านเข็มพญาอินทร์ (เชียงใหม่) ไม้รับแขก (ภาคกลาง) ว่านมุงเมือง(แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยมมนสีน้ำตาล มีหนามแหลม ออกเป็นกระจุก ใบ เดี่ยว ออกบริเวณส่วนปลายลำต้น ไม่มีก้านใบ ใบอวบน้ำ รูปไข่กลับ ปลายใบมน ใบออกสลับ ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุกใกล้ส่วนยอด มีชนิดต้นดอกสีแดง สีนวล สีเหลือง ฯลฯ ขนาดของดอกย่อยแตกต่างกัน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยาง

สารพิษ : resin, diterpene ester

การเกิดพิษ : ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังหรือเข้าตา ทำให้เกิดระคายเคือง แสบ บวม แดง ถ้ารับประทานจะทำให้ทางเดินอาหารอักเสบ

12.โพทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์: Thespesia populnea L. Soland.ex Corr.

วงศ์ : Malvaceae

ชื่อสามัญ : Cork tree, Portia tree, Rosewood of Seychelles, Tulip tree

ชื่ออื่น : บากู (มลายู-นราธิวาส) ปอกะหมัดไพร (ราชบุรี) ปอมัดไซ (เพชรบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กสูง ๘ – ๑๒ เมตร ลำต้นโค้ง แตกกิ่งในระดับต่ำเรือนยอดแผ่กว้าง ค่อนข้างหนาทึบ เปลือกเรียบสีเทาอ่อน หรือขรุขระมีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึก ใบ เดี่ยวเรียงสลับ รูปคล้ายหัวใจ

ประโยชน์ : เนื้อไม้ สีน้ำตาลอมแดงคล้ำ มีริ้ว สีอ่อนและแก่กว่าสีพื้นสลับ เสี้ยนเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เนื้อละเอียดพอประมาณ เหนียวมาก แข็ง ทนทาน เลื่อยไสกบตบแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน กระดานพื้น เครื่องกลึง ด้ามเครื่องมือ เครื่องดนตรี พานท้ายปืน รางปืน ทำแจว พาย กรรเชียง ทำไม้คิวแทงบิลเลียด เปลือก ใช้ตอกหมันเรือ ทำเชือก สายเบ็ด เปลือกและเนื้อไม้มีสารที่เรียกว่าน้ำฝาด นอกจากนี้ยังใช้เป็นสมุนไพร ผล และใบ ใช้ตำพอกแก้หิด น้ำต้มจากเปลือกใช้ชะแผลเรื้อรัง ราก ใช้กินเป็นยาบำรุง

ส่วนที่เป็นพิษ : ยางจากต้น เปลือก

การเกิดพิษ : ถ้าเข้าตาทำให้ตาบอดได้ เปลือกมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน

13.มะม่วงหิมพานต์

ชื่อวิทยาศาสตร์: Anacardium occidentale L.

วงศ์ : Anacardiaceae

ชื่อสามัญ : Cashew Nut Tree

ชื่ออื่น : กะแตแก (มลายู-นราธิวาส) กายี ตำหยาว ท้ายล่อ ส้มม่วงชูหน่วย (ภาคใต้) นายอ (มลายู-ยะลา) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์) มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา มะม่วงสิงหน มะม่วงหยอด (ภาคเหนือ) มะม่วงทูนหน่วย ส้มทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี) มะม่วงยางหุย มะม่วงเม็ดล่อ (ระนอง) มะม่วงไม่รู้หาว มะม่วงหิมพานต์ (ภาคกลาง) ยาร่วง (ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 6-10 เมตร ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ ขนาดกว้าง 7.5-10 เซนติเมตร โคนใบแหลม ปลายใบมน ช่อดอกยาว 15-20 เซนติเมตร โดยแตกออกจากซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกเริ่มแรกจะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีการพัฒนาฐานรองดอกให้ขึ้น มีลักษณะคล้ายผลชมพู่ สีเหลืองแกมชมพู แล้วค่อยเปลี่ยนกลายเป็นสีแดง เนื้อในนิ่ม ที่ปลายจะมีผลติดอยู่เป็นรูปไต ลักษณะเปลือกแข็ง สีน้ำตาลแกมเทา ยาว 2.5-3 เซนติเมตร ความแตกต่างของฐานรองดอก หรือขั้วผล ทำให้แบ่งมะม่วงหิมพานต์ออกเป็น 3 varieties คือ Americanum ซึ่งลักษณะก้านชูอับเรณูยาว ไม่มีอับเรณู ขั้วผลโตกว่าผลจริง 10 เท่า และ Indicum ซึ่งก้านชูอับเรณูยาวเช่นกัน แต่มีอับเรณูหนา และขั้วผลโตกว่าผลจริงประมาณ 3 เท่า ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ส่วนที่เป็นพิษ : ยางจากผล

สารพิษ : resin, diterpene ester

การเกิดพิษ : ถ้าถูกยางจากผลทำให้เกิดบาดแผลพุพองต่อผิวหนัง ถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองรุนแรงต่อปาก ลิ้น คอ และหลอดลมอักเสบ

การรักษา :ถ้าน้ำยางถูกภายนอก ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วล้างเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ช่วยให้น้ำยางออกมมากยิ่งขึ้น ถ้ามียาที่เข้าสเตียรอยด์ใช้ทา ถ้ารับประทานเข้าไป ให้ใช้ activated charcoal (ถ่าน) รับประทาน ล้างท้องหรือทำให้อาเจียน ถ้าอาการหนักให้ส่งโรงพยาบาล

14.ตาตุ่มทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์: Excoecaria agallocha L.

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่อสามัญ : Blind Your Eyes

ชื่ออื่น : ตาตุ่ม ตาตุ่มทะเล (กลาง) บูตอ (มลายู-ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น ใบใหญ่หนาทึบ รูปร่างขอบขนาน ปลายแหลมมน ใบติดกับกิ่งแบบเวียน มีผิวมัน ดอกออกเป็นช่อเรียวยาว ตามโคนและก้านใบ ลำต้นและส่วนต่างๆ มียางขาว ขึ้นตามชายน้ำ ป่าชายเลน

ส่วนที่เป็นพิษ : ยางจากต้น และสารจากต้น

สารพิษ : oxocarol, agalocol, isoagalocol ellagic acid, gallicacid

การเกิดพิษ : ยาง หรือควันไฟจากการเผาไหม้ตาตุ่มทะเลเข้าตา จะทำให้ตาเจ็บ ถ้ามากอาจทำให้ตาบอดได้ถ้าหอยปูไปเกาะไม้ตาตุ่ม เมื่อนำมารับประทานจะทำให้เกิดอาการพิษ ท้องเสียอย่างรุนแรง อาเจียน

การรักษา : ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร และรักษาตามอาการ

15.สลัดไดป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphobia antiquorum L.

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่อสามัญ : Triangular Spurge, Malayan Spurge Tree

ชื่ออื่น : สลัดไดป่า (ภาคกลาง) เคียะผา (ภาคเหนือ) กะลำพัก (นครราชสีมา) เคียะเลี่ยม หงอนงู (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูงประมาณ 8 เมตร ลำต้นกิ่งอวบน้ำมี 3-6 เหลี่ยมตามแนวสัน ที่สันมีหนาม ผิวสีเขียว ถ้าแก่จัดมีสีน้ำตาล ทุกส่วนมียางสีขาวขุ่น ใบ เดี่ยว มีจำนวนน้อย ออกตามแนวสัน รูปไข่กลับ ปลายใบกลม ดอก เป็นช่อสั้นๆ มีใบประดับออกเป็นคู่ตรงข้าม และมีใบประดับย่อยขนาดเล็กๆ รูปครึ่งวงกลมติดอยู่รอบดอก ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกเพศผู้หลายๆ ดอก และมีดอกเพศเมียดอกเดียว ผล เป็นผลสด

ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาว

สารพิษ: เป็นสารพวก deoxyphorbol เช่น euphorbin มี tetracyclic diterpene เป็นต้น

การเกิดพิษ: น้ำยางถ้าถูกผิวหนังจะคันแดงแสบ ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ ถ้ารับประทานยางเป็นยาถ่ายอย่างแรง

16.เผือก

ชื่อสามัญ : Taro

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Colocasia esculenta (L.) Schott.

ชื่อวงศ์ : ARACEAE :

แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ : เขตร้อนของเอเชียตะวันออก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว [แบบเผือก] รูปลูกข่างกลม สีน้ำตาล มีขนาดใหญ่ ถ้ามีหัวย่อยขนาดใหญ่จะมีจำนวนน้อย ถ้าหัวย่อยมีขนาดเล็กจะมีจำนวนมาก ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปลูกศรแกมรูปหัวใจ โคนใบแต่ละด้านกลมหรือเป็นเหลี่ยม ปลายใบแหลม เส้นใบเด่นชัด ก้านใบยาวได้ถึง 1 เมตร ช่อดอกเป็นช่อเชิงลดมีกาบ ออกเดี่ยวๆ หรือหลายช่อ ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร สั้นกว่าก้านใบ กาบหุ้มช่อดอกยาว 15-35 เซนติเมตร ตั้งตรง สีเขียว ปลายกาบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง สีเหลืองอ่อน ช่อดอกสั้นกว่ากาบ ผลสีเขียว

เผือก (Colocasia esculenta) นิยมใช้หัวเป็นอาหาร แต่ต้องต้มให้สุกเสียก่อน เพื่อที่จะได้ไม่คัน เพราะในเผือกมียาง เช่นเดียวกับบอน แต่ปริมาณน้อยกว่า

17.กลอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioscorea hispida Dennst.

ชื่อพ้อง D. hirsuta Blume

วงศ์ Dioscoreaceae

ชื่อท้องถิ่น กลอยข้าวเหนียว กลอยนก กลอยหัวเหนียว กอย คลี้ มันกลอย Intoxicating yam, Nami, Wild yam

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถา ลำต้นกลม มีหนาม หัวใต้ดิน ส่วนมากกลม เปลือกสีเทาหรือสีฟาง เนื้อขาว หรือเหลืองอ่อน อมเขียว เป็นพิษ ปริมาณสารพิษจะแตกต่างกันไป ในช่วงฤดูฝน (เดือนสิงหาคม) จะมีพิษมากที่สุด และในฤดูร้อน (เดือนเมษายน) จะมีพิษน้อยที่สุด กลอยทอดเหลืองกรอบ ส่งกลิ่นหอม น่าอร่อย นับว่าเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ผู้เขียนชอบ รับประทาน และคิดว่าหลายๆท่านก็ชอบรับประทานเช่นเดียวกัน แต่ในความกรอบอร่อยนี้ น้อยคนนักที่จะรู้ว่ากลอยนั้นถ้าผ่านกระบวนการทำไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดพิษต่อผู้ที่รับประทาน

สารพิษ พืชในสกุล Dioscorea จะมีสารพิษ คือ dioscorine ในปริมาณที่แตกต่างกันแล้วแต่ species ในหัวกลอยจะมี dioscorine ในปริมาณมาก หัวกลอยแห้งและลอกเปลือกออก

อาการพิษ : หากรับประทานหัวกลอยมาก จะกดระบบทางเดินหายใจ และทำให้ตายได้ จากรายงานการวิจัยของ วรา จันทร์ศิริศรี และคณะ ฉีดน้ำสกัดกลอยเข้าทางเส้นเลือดดำของหนูถีบจักร พบว่ากลอยจะไปกระตุ้นในระยะแรก ตามมาด้วยการกดระบบประสาทส่วนกลาง การเคลื่อนไหว (motor activity) ลดลงภายหลังฉีดน้ำสกัดกลอยในขนาดที่เริ่มทำให้เกิดพิษ (กดระบบประสาทส่วนกลางเพียงอย่างเดียว) แต่ถ้าฉีดในขนาดสูงมากจนสัตว์ทดลองตาย หนูถีบจักรจะชักในระยะแรก แล้วในที่สุดจะตายเนื่องจากระบบการหายใจถูกกด

18.มะกล่ำตาหนู

ชื่อวิทยาศาสตร์: Abrus precatorius L.

วงศ์ : Papilionaceae

ชื่อสามัญ : Jequirity bean, rosary bean, Buddhist rosary bean , Indian bead, Seminole bead, prayer bead, crab 's eye, weather plant, lucky bean

ชื่ออื่น : กล่ำเครือ กล่ำตาไก่ มะกล่ำแดง มะแด๊ก มะขามไฟ ตาดำตาแดง ไม้ไฟ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชตระกูลถั่ว มีใบออกเป็นคู่รูปขนนก มีใบย่อย 8- 15 คู่ ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ กลีบดอกมีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู หรือขาว ผลเป็นฝักคล้ายถั่วลันเตา ภายในฝักจะมี 3-5 เมล็ด เมล็ดกลมรียาวขนาด 6-8 มิลลิเมตร เมล็ดมีเปลือกแข็ง สีแดงสดเป็นมัน มีสีดำตรงขั้วประมาณ 1 ใน 3 ของเมล็ด มะกล่ำตาหนู เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปบริเวณประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตร ได้แก่ ทางตอนใต้ของจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ตอนใต้ของอาฟริกา และประเทศไทย เป็นต้น

ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด

สารพิษ : เมล็ดมะกล่ำตาหนู ภายในเมล็ดมีส่วนประกอบของ N-methyltryptophan, abric acid, glycyrrhizin, lipolytic enzyme และ abrin ซึ่งสูตรโครงสร้างของ abrin คล้าย ricin เป็นส่วนที่มีพิษสูงมาก หากเคี้ยว หรือกินเข้าไป เนื่องจากสารพิษจะไปทำลายเม็ดเลือดแดง ระบบทางเดินอาหาร และไต อย่างไรก็ดีสาร abrin นี้เมื่อถูกความร้อนจะสลายตัวง่าย แต่คงทนอยู่ในทางเดินอาหาร ขนาดเพียง 0.01 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือกินเพียง 1 เมล็ด ก็ทำให้เสียชีวิตได้ หากสารพิษถูกผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นคัน หากถูกตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาจถึงกับตาบอดได้

19.เทียนหยด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Duranta repens L.

วงศ์ : Verbenaceae

ชื่อสามัญ : Duranta, Sky Flower, Pigeon Berry, Golden Dewdrop

ชื่ออื่น : พวงม่วง ฟองสมุทร (กรุงเทพฯ) เครือออน (แพร่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม แตกกิ่งก้าน กิ่งลู่ลง ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปไข่กลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบ ขอบใบจัก ดอก ช่อ มี 3 ชนิด คือดอกสีขาว สีม่วงอ่อน และสีม่วงแก่ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล ออกเป็น ช่อ ห้อยลง รูปกลมสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง

ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ ผล

สารพิษ : ใบ ผล มีสาร saponin และผลมีสาร narcotine alkaloids

การเกิดพิษ : รับประทานผลอาจตายได้ จะทำให้อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ มีไข้ ตาพร่า กระหายน้ำมาก ถ้าได้รับพิษมาก เม็ดเลือดแดงแตกได้ พืชนี้เป็นพิษต่อสัตว์เลือดเย็นด้วย

การรักษา :

• ส่งโรงพยาบาล

• ให้กินนม หรือไข่ขาว เกลือบกระเพาะ เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ

• ล้างท้อง

• ถ้าเสียน้ำมาก ต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด

20.หนุมานนั่งแท่น

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jatropha podagrica Hook.f.

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่อสามัญ : Gout Plant, Guatemala Rhubarb, Fiddle-leaved Jatropha

ชื่ออื่น : ว่านเลือด (ภาคกลาง) หัวละมานนั่งแท่น (ประจวบคีรีขันธ์) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม ลำต้นขยายใหญ่มากมีน้ำยางใส ใบ เดี่ยว ก้านใบยาว แผ่นใบเว้าลึก จะออกที่ปลายลำต้นแบบวนสลับ ดอก ช่อ ก้านดอกยาวมาก ก้านดอกย่อยและดอกย่อยสีแดงส้ม ออกเป็นช่อเหมือนซี่ร่ม ผล กลมยาว เป็นพูตามแนวยาว ผลแตกได้

ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด ยาง

สารพิษ : สารพิษมีฤทธิ์คล้าย toxalbumin,curcin พิษจาก resin alkaloid glycoside

การเกิดพิษ : น้ำยางถูกผิวหนังเกิดอาการแพ้ บวมแดงแสบร้อน เมล็ดถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กล้มเนื้อชัดกกระตุก หายใจเร็ว การเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันต่ำ พิษคล้ายละหุ่ง เมล็ดมีรสอร่อยแต่รับประทานเพียง 3 เมล็ด ก็เกิดอันตรายได้

การรักษา : ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร และรักษาตามอาการ

21.ว่านหางจระเข้

ชื่อวิทยาศาสตร์: Aloe vera L. Burm. f.

วงศ์ : Asphodelaceae (Liliaceae)

ชื่อสามัญ : Aloe, Star Cactus

ชื่ออื่น : ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ) หางตะเข้ (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร มีข้อและปล้องสั้นๆ ใบเดี่ยว อวบน้ำมาก สีเขียว ภายในใบมีน้ำยางสีเหลือง ถัดไปเป็นวุ้นใส ดอก ช่อ ก้านช่อดอกยาวมาก ออกจากลางต้น ดอกย่อยเป็นหลอดสีส้มห้อยลง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้

ส่วนที่เป็นพิษ : ยางสีเหลืองจากใบ

สารพิษ :

การเกิดพิษ : ยางสีเหลืองจากใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้อาเจียน

22.ว่านแสงอาทิตย์

ชื่อวิทยาศาสตร์: Haemanthus multiflorus (Tratt.) Martyn

วงศ์ : Amaryllidaceae

ชื่อสามัญ : Blood Lily

ชื่ออื่น : ว่านตะกร้อ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ล้มลุกใบอวบน้ำ มีลำตัวเป็นหัวลักษณะคล้ายหอมหัวใหญ่ เจริญอยู่ใต้ดิน กลุ่มใบที่เกิดจากหัวชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบรูปหอกสีเขียวเข้มยาวประมาณ 8 นิ้ว เมื่อออกดอกจะชู้ก้านดอกเป็นลำตรงสีเขียวอ่อน จากกลางต้นสูงมาพ้นใบ ดอกออกติดกันแน่นเป็นทรงกลม สวยงามสะดุดตามาก ดอกของแสงอาทิตย์ช่อหนึ่ง ๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว และจะบานติดต้นอยู่ประมาณ 7-10 วันจึงจะโรย

ส่วนที่เป็นพิษ : หัวและใบ

การเกิดพิษ : หัวและใบทำให้ท้องเดิน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

23.ว่านสี่ทิศ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hippeastrum johnsonii Bury

วงศ์ : Amaryllidaceae

ชื่อสามัญ : Star Lily

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพรรณไม้ดอกอายุสั้น พุ่มสูง 35 - 60 เซนติเมตรที่มีลักษณะมีลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน และส่วนที่โผล่ขึ้นมานั้นจะเป็นส่วนก้านใบและตัวใบเท่านั้น ซึ่งหัวนี้ลักษณะจะคล้ายๆกับหอมหัวใหญ่ สำหรับ ใบที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปหอกเรียวยาว และมีสีเขียวสดเป็นมัน ใบหนา ขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 - 30เซนติเมตร หรือาจจะมากกว่านั้นก็ได้ ดอกออกปลายก้าน ออกเป็นช่อ 4 - 8 ดอก หันไปทั้งสี่ทิศ ดอกรูปถ้วย ขนาดดอก 8 - 15 เซนติเมตร มี 6 กลีบ มี สีขาาว สีชมพู สีแดง และบาางชนิด มีแถบสีต่างๆพาดกลีบ ดอกแรกที่จะบานจะรอจนดอกที่ 4 บานจึงจะเหี่ยว ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม - เดือนมิถุนายน หัว รูปกลม หัวโตเต็มที่พร้อมให้ดอกมีขนาด 4 เชนติเมตร ส่วนหัวลูกขนาดเล็ก แยกหัวนำมาปลูกเลี้ยง ใบให้หัวโตเต็มที่ แล้วจะออกดอกต่อไป

ส่วนที่เป็นพิษ : หัวและใบ

การเกิดพิษ : ทำให้อาเจียนและท้องเดินได้

24.รัก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Calotropis gigantea L. Dryandr ex W.T.Aiton

วงศ์ : Asclepiadaceae

ชื่อสามัญ : Milk Weed , Crown Flower, Giant lndian Milk

ชื่ออื่น : ดอกรัก รักดอก รักร้อยมาลัย (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูง 1.5-3 ม. ทุกส่วนมีน้ำยาง ขาวเหมือนน้ำนม ตามกิ่งมีขน ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรี แกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนเว้า กว้าง 6-8 ซม. ยาว 10-14 ซม เนื้อใบหนาใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น ดอก สีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเทาเงิน หรือสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน เมื่อเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. มีรยางค์เป็นสันคล้ายมงกุฎ 5 เส้น เกสรตัวผู้ 5 อัน ผล เป็นฝักคู่ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดแบนสีน้ำตาล จำนวนมาก มีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง

ส่วนที่เป็นพิษ : ยางจากส่วนต่างๆ มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจรุนแรงผิดปกติ

การเกิดพิษ : ยางจากส่วนต่างๆ มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจรุนแรงผิดปกติ

25.แพงพวยฝรั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Catharanthus roseus L.

วงศ์ : Apocynaceae

ชื่อสามัญ : Madagascar Periwinkle, West Indian Periwinkle

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงได้ถึง 80 ซม. ลำต้นและกิ่งก้าน มีขนละเอียดปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงกันข้าม ก้านใบยาว 2-8 มม. ใบเกลี้ยง รูปไข่ถึงไข่กลับ ยาว 1.5-6 ซม. กว้าง 0.6-2.6 ซม. ปลายใบมนหรือกลม มีติ่งที่ปลายใบ โคนใบกลม หรือรูปลิ่ม มีเส้นใบแขนงจำนวน 7-10 คู่ เป็นสันนูนชัดเจน มีขนปกคลุม ดอกเป็นดอกช่อ จำนวน 1-2 ดอก ออกที่ปลายกิ่ง มีขนปกคลุม กลีบเลี้ยงจำนวน 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคนกลีบ ส่วนปลายแยกเป็นแฉกปลายแหลมขนาดเล็ก 5 แฉก ขนาดยาว 1.5-5 มม. กว้าง 0.5-0.7 มม. มีขนปกคลุม กลีบดอกมีสีขาว, ชมพู-ม่วง, ชมพู หรือชมพูขาว รูปหลอดยาว ปากเปิด ยาว 2.3-2.9 ซม. ผิวนอกมีขนสั้นปกคลุม กลีบดอกส่วนปากเปิด แยกเป็น 5 กลีบ รูปไข่กลับ ขนาดยาว 1.3-2 ซม. เกสรเพศผู้ตั้งอยู่ที่กลีบดอกส่วนปลายหลอด ก้านชูอับเรณูยาว 0.4 มม. รังไข่รูปไข่ ยาว 1.9-3 มม. มีขนปกคลุมก้านชูเกสรเพศเมียและเกสรเพศเมีย รวมกันยาว 1.9-2.1 ซม. ผลเป็นชนิดผลคู่ แห้งแล้วแตกแนวเดียวตามยาว ปลายแหลม มีขนบางปกคลุม ยาว 1.5-2.5 ซม. กว้าง 1.5-3 มม. มีเมล็ดหลายเมล็ดภายใน

ส่วนที่เป็นพิษ : ทุกส่วนของต้น (โดยเฉพาะใบ) พบ alkaloids มากกว่า 80 ชนิด ที่สำคัญได้แก่ Ibogaine-like alkaloids, Vinblastine, Vincristine, Vinrosidine, Lenrosine, Lenrosivine, Rovidine, Carosine, Perivine, Perividine, Vindolinine และ Pericalline

การเกิดพิษ : ใบทำให้ท้องเดินและมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ และอาจหมดสติได้

26.พลับพลึงตีนเป็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hymenocallis littoralis Salisb.

วงศ์ : Amaryllidaceae

ชื่อสามัญ : Spider Lily

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ต้น มีหัวอยู่ใต้ดินลำต้นกลมสูงประมาณ 30 ซม. ใบ รูปแถบแคบเรียวแหลม ออกตรงข้ามกันสองข้าง ขอบใบเรียบ อวบน้ำ ดอก เป็นช่อกระจุกโปร่งมี 8 - 10 ดอก แต่ละดอกมีระยางค์ที่เกิดจาก ก้านเกสรเพศผู้ ที่เชื่อมติดกันเป็นวงคล้ายถ้วย บานตอนกลางคืน - เช้า มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผล ผลสดสีเขียว รูปร่างค่อนข้างกลม แก่จะเป็นสีน้ำตาล เมล็ด รูปร่างกลม ๆ เล็ก แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล

ส่วนที่เป็นพิษ : หัว ใบ และราก

การเกิดพิษ : รับประทานเข้าไปทำให้อาเจียน ท้องเดิน

27.ฝิ่นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jatropha multifida L.

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่อสามัญ : Coral Bush , Coral Plant, Physic Nut

ชื่ออื่น : มะหุ่งแดง (ภาคเหนือ) มะละกอฝรั่ง (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-5 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาวเหลือง ใบ เดี่ยวขนาดใหญ่ ขอบใบเว้าลึกเป็นแฉกๆ แบบนิ้วมือ 9-10 แฉก แต่ละแฉกแบ่งเป็นหยักปลายแหลมเรียว ก้านใบยาว โคนก้านใบมีหูใบเป็นเส้นๆ หลายเส้น ใบออกแบบสลับ ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีแดง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ผล รูปร่างค่อนข้างกลมมี 3 พู แต่ละพูมี 1 เมล็ด ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยาง ใบ ต้น เมล็ด

สารพิษ : น้ำยางมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการอักเสบระคายเคือง เมล็ดมีสาร curcin, jatrophin ซึ่งเป็นสารพิษพวก toxalbumin

การเกิดพิษ : น้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคือง บวมแดงแสบร้อน ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้กระเพาะอักเสบ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาจมีอาการชา แขนขาอาจเป็นอัมพาต ได้ถึง 24 ชั่วโมง และจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 7 วัน การหายใจเต้นเร็ว ความดันต่ำ ถ้ารับประทาน 3 เมล็ด อาจตายได้

การรักษา : ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร และรักษาตามอาการ

28.ผกากรอง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lantana camara L.

วงศ์ : Verbenaceae

ชื่อสามัญ : Cloth of Gold, Hedge Flower, Orange Sedge

ชื่ออื่น : ก้ามกุ้ง เบญจมาศป่า (ภาคกลาง) ขะจาย ตาปู มะจาย (แม่ฮ่องสอน) ขี้กา คำขี้ไก่ (เชียงใหม่) ดอกไม้จีน (ตราด) ยี่สุ่น (ตรัง) สามสิบ (จันทบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูงได้ถึง 40-90 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีขนทุกส่วน ยกเว้นกลีบดอกและผล ใบ เดี่ยว แผ่นใบสากมีขน ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอก ช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กมาก มีหลายสี เช่น สีขาว ชมพู เหลือง ม่งและแดง ผล ขนาดเล็ก กลม สีเขียว สุกสีดำ

ส่วนที่เป็นพิษ : ผลแก่แต่ยังไม่สุก และใบ

สารพิษ : ในใบพบสาร triterpenes ชื่อ lantadene A และ B, lantadene A มีพิษมากกว่า lantadene B และสารขม corchorin

การเกิดพิษ : สาร lantadene A และ B เป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง แต่ไม่เป็นพิษต่อตับ แต่อนุพันธ์ของมันเป็นพิษต่อตับ ในเมล็ดมีสาร glycosides corchoroside A และB จะกระตุ้นหัวใจ ส่วนสารขม corchorin กินมากทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ม่านตาขยาย ชีพจรผิดปกติ และอาจหมดสติ

29.ปัตตาเวีย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jatropha integerrima Jacq.

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่อสามัญ : Cotton leaved Jatropha

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 1.5 - 2 เมตรมีสีน้ำตาลเข้ม (Dark Brown) ทรงต้นค่อนข้างสูงโปร่ง ใบ มีสีเขียวแก่ (Dark Green) เป็นรูปไข่ขนาดใหญ่ ใบเดี่ยว หลังใบค่อนข้างแดง ดอก เป็นช่อตามปลายกิ่ง สีแดง ชมพู (Red Pink) มีกลีบดอก 5 กลีบออกดอก เป็นระยะตลอดปี ดอกตัวผู้กับตัวเมียแยกกัน และมักจะอยู่คนละช่อ เมล็ด ลักษณะกลม เหลืองออกน้ำตาล

ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ

การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน

30.บานบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์: Allamanda cathartica L.

วงศ์ : Apocynaceae

ชื่อสามัญ : Golden Trumpet, Allamanda, Golden Bell

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มแกมเลื้อย (scandent) ใบ เดี่ยว รูปใบหอก ออกเรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบรูปไข่กลับหรือขอบขนาน ทุกส่วนมียางสีขาวเหมือนน้ำนม ดอก เดี่ยวหรือออกเป็นช่อสั้นๆ กลีบดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ผล กลม สีเขียว มีหนามรอบๆ ผล ผลแก่แตกได้

ส่วนที่เป็นพิษ : ผล และยางต้น

สารพิษ : resin ซึ่งเป็นส่วนผสมของ polycyclic acid และ phenol

การเกิดพิษ : ยางต้นเมื่อถูกผิวหนังจะอักเสบ คัน แดง ถ้ารับประทานยางหรือผลเข้าไปทำให้อาเจียน ทองเดิน ท้องร่วงอย่างรุนแรง การหายใจไม่สม่ำเสมอ ไข้สูง ถ้าสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากอาจถึงตาย

การรักษา : ถ้ายางถูกผิวหนังหรือเข้าตา ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งจนหมดยาง ถ้ารับประทาน ส่งโรงพยาบาลทันทีเพื่อล้างท้อง หรือให้นมสดหรือไข่ขาวรับประทานเพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ ให้น้ำเกลือ หรือรักษาตามอาการ

31.บอนสี

ชื่อวิทยาศาสตร์: Caladium bicolor Vent

วงศ์ : Araceae

ชื่อสามัญ : Fancy Leaf Caladium, Corazon de Maria

ชื่ออื่น : บอนฝรั่ง (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดิน ใบ เดี่ยว ออกเวียนสลับรอบลำต้นเกิดจากตาที่อยู่บนยอดของหัวใต้ดิน ก้านใบยาวงอกออกมาจากลำต้นใต้ดิน แผ่นใบใหญ่รูปหัวใจหรือรูปสามเหลี่ยม ฐานใบเว้าลึก แผ่นใบมีสีแตกต่างกัน ดอก ช่อ เป็นช่อชนิด spadix ก้านช่อดอกงอกออกมาจากหัวใต้ดินเป็นรูปยาวโคนป่อง ช่อดอกมีดอกเพศเมียอยู่ทางโคน ดอกเพศผู้อยู่ทางปลาย มีใบประดับขนาดใหญ่ (spathe) หุ้มมิดขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผล กลม

ส่วนที่เป็นพิษ : ทั้งต้น

สารพิษ : เป็นผลึกรูปเข็มของ calcium oxalate และสารอื่นๆ เช่น sapotoxin

การเกิดพิษ : ถ้ากินเข้าไปจะเกิดอาการไหม้ที่เพดานปาก ลิ้นและคอ กล่องเสียงอาจบวม การเปล่งเสียงจะผิดปกติ และมีอาการคัน อาจอาเจียนด้วย ถ้ายางเข้าตา ตาจะอักเสบระคายเคือง

32.มันแกว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pachyrhizus erosus L. Urb.

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Jicama, Yam bean

ชื่ออื่น : มันแกว (กลาง), หัวแปะกัวะ (ใต้), มันแกวละแวก มันแกวลาว (เหนือ), มันเพา (อีสาน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพัน มีหัวใต้ดิน เป็นรากสะสมอาหาร ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ดอกช่อกระจะ ออกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ มีขนสีน้ำตาล กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน แบน มีขน เมล็ดมี 4-9 เมล็ด ส่วนที่เป็นพิษ : มันแกวเป็นพืชที่มีหัวใต้ดินซึ่งรับประทานได้ แต่บางส่วนของมันแกวก็เป็นพิษได้เช่นกัน เช่น ใบและเมล็ดของมันแกวนั้นเป็นพิษ

สารพิษ : ฝักอ่อนของมันแกวสามารถรับประทานได้ แต่เมื่อแก่จะเป็นพิษ โดยเฉพาะที่เมล็ดของมันแกวนั้น มีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง หลายชนิด ได้แก่ pachyrrhizin, pachyrrhizone, 12-(A)-hydroxypachyrrhizone, dehydropachyrrhizone, dolineone, erosenone, erosin, erosone , neodehydrorautenone, 12 -(A)-hydroxy lineonone, 12-(A)-hydroxymundu- serone (8), rotenone (9) นอกจากนี้ยังมีสารซาโปนิน ได้แก่ pachysaponins A และ B ซึ่งละลายน้ำได้ และเป็นพิษต่อปลาทำให้ปลาตาย ส่วนใบของมันแกวนั้นมีสารพิษคือ pachyrrhizid ซึ่งมีพิษต่อโคและกระบือมากกว่าม้า

การรักษา : ล้างท้อง ให้รับประทานพวก demulcents เช่น นมและไข่ขาว ระวังการเสีย น้ำและ electrolyte balance ถ้าสูญเสียมากต้องให้น้ำเกลือ ทางเส้นเลือด

33.มันสำปะหลัง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Manihot esculenta Crantz

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่อสามัญ : Tapioca Plant Cassava ,Manioc

ชื่ออื่น : มันสำโรง (กลาง) ต้างน้อย ต้างบ้าน (ภาคเหนือ) มันตัน มันไม้ (ภาคใต้) มันหิ่ว(พังงา) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตรที่มีรากสะสมอาหาร ลำต้นมียางสีขาว ผิวลำต้นมีรอยแผลเป็นของใบอยู่ทั่วไป รากออกเป็นกลุ่ม 5-10 อัน ใบเดี่ยวออกแบบเวียน แผ่นใบเว้าลึก ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้บริเวณยอด โดยแยกเป็นช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมีย แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ผลค่อนข้างกลม

ส่วนที่เป็นพิษ : ราก

สารพิษ : cyanogenetic glycoside

การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานดิบจะทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กันหายใจขัด กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย ชักกระตุก หมดสติ

34.ยี่โถ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nerium indicum L.

วงศ์ : Apocynaceae

ชื่อสามัญ : Sweet Oleander, Rose Bay, Ceylon Tree

ชื่ออื่น : ยี่โถฝรั่ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 1-3 เมตร มียางสีขาวทุกส่วน ใบ เดี่ยว รูปเรียว ยาวปลายและโคนใบแหลม ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีแดง สีเหลือง มีทังชนิดกลีบลา และชนิดกลีบซ้อน มีกลิ่นหอมเมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอก เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวยปลาย 5 แฉก ผล เป็นฝัก รูปเรียวยาว แก่จัดผลแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีขน

ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม และทุกส่วนของต้น

สารพิษ : เป็น cardiotonic glucosides เช่น neriin, oleandrin เป็นต้น ออกฤทธิ์คล้าย digitalis

การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า มองไม่ชัด ถ้ามากจะเพื่อคลั่ง หัวใจเต้นอ่อน โลหิตลดลง อาจตายได้

35.ราตรี

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cestrum noctumum L.

วงศ์ : Solanaceae

ชื่อสามัญ : Night Blooming Jasmine, Queen of the Night, Cestrum, Lady of the Night-

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูงไม่เกิน 2 เมตร แตกกิ่งก้าน ใบ เดี่ยว ใบเรียว ขอบขนาน ปลายใบแหลม ดอก ช่อ สีขาวอมเหลือง กลีบดอกเป็นหลอดยาว ปลายแบ่งเป็น 5 แฉก ดอกบานตอนกลางคืน มีกลิ่นหอมมาก ( ราตรีสีทอง = Cestrum auranticum Lindl. )

ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ ผล เปลือกต้น

สารพิษ : ผลดิบมีสารพวก solanine alkaloids ผลสุกมี atropine alkaloids ใบมี nicotine, nornicotine alkaloids เป็นต้น

การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเข้าไปภายในครึ่งชั่วโมงจะมีอาการปากคอแห้ง มึนงง ม่านตาขยาย อุณหภูมิในร่างกายขึ้นสูง หัวใจเต้นเร็ว ปัสสาวะไม่ออก การหายใจจะช้าลง

36.รำเพย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Thevetia peruviana L.

ชิ่อพ้อง Cerbera thevetia L., Thevetia neriifolia uss.

วงศ์ : Apocynaceae

ชื่อสามัญ : Trumpet Flower, Yellow Campanilla, Yellow Oleander, Lucky Nut

ชื่ออื่น : กระบอก กะทอก บานบุรี ยี่โถฝรั่ง ดอกกระบอก (กรุงเทพฯ) รำพน (ภาคกลาง) แซน่าวา แซะศาลา (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูงได้ถึง 4 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มใหญ่ ใบ เดี่ยว รูปเรียวยาว ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบขนาน แผ่นใบแคบมาก ใบจัดแบบสลับ ดอก เดี่ยว หรือเป็นช่อสั้นๆ มีดอก 3 สี คือ ต้นดอกสีขาว ดอกสีเหลือง และดอกสีส้ม กลีบดอกรูปคล้ายกรวย โคนติดกัน แปลายแบ่งออกเป็น 5 กลีบ จัดซ้อนกัน ผล เป็นรูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างกลม สีเขียว ห้อยลง เมื่อแก่จัดสีดำ ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม

ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยาง เมล็ด

สารพิษ : เป็นพวก glycosides thevetin, thevetoxic ออกฤทธิ์คล้าย digitalis แต่ออกฤทธิ์ช้ากว่า

การเกิดพิษ : น้ำยางถูกผิวหนัง จะมีอาการแพ้เป็นผื่นคัน แดง แสบ ถ้าเคี้ยวเมล็ดจะรู้สึกชาที่ลิ้นและปาก มีอาการปวดแสบปวดร้อน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อาจท้องเสีย ง่วงนอน ม่านตาขยาย ความดันลดลง หัวใจเต้นผิดปกติ ชีพจรเต้นช้าลง ถ้ามีอาการมากและรักษาไม่ทันท่วงทีอาจตายได้ (เด็กรับประทาน 1-3 เมล็ด ผู้ใหญ่รับประทาน 8-12 เมล็ด อาจตายได้)

37.ละหุ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ricinus communis L.

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่อสามัญ : Castor Bean

ชื่ออื่น : มะโห่ง,ละหุ่งแดง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กทรงพุ่มเตี้ย พบมีปลูกมากในประเทศบราซิล และบริเวณประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตรเช่นประเทศไทยขนาดความสูงของต้นละหุ่งประมาณ 3-5 เมตร มีใบเดี่ยวขนาดใหญ่คล้ายใบปาล์มขอบใบหยัก ก้านยาว ผลมีหนามโดยรอบมี 3 พู รวม 3 เมล็ด เมล็ดแบนรี ด้านนอกโค้งด้านในแบน เมล็ดมีสีชมพูเป็นลายพล้อยปนสีเทาเมล็ดที่แก่จัดจะนำไปใช้ประโยชน์มากมายทางด้านอุตสาหกรรม

ส่วนที่เป็นพิษ : ความเป็นพิษของละหุ่งเกิดจาก ไรซิน (ricin) ซึ่งเป็นสารที่มีพิษสูงมากชนิดหนึ่งในบรรดาอาณาจักรของพืช เนื้อเยื่อในของเมล็ดละหุ่งประกอบด้วยไกลโคโปรตีน (glycoprotein) เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ หอบหืดในหมู่คนงาน

สารพิษ : ส่วนของใบ ลำต้น เมล็ดละหุ่งประกอบด้วย โปแตสเซียม ไนเตรท (Potassium nitrate) และกรดไฮโดรไซยานิค ( Hydrocyanic acid) ขนาดของพิษ ricin ที่ทำให้คนถึงแก่ชีวิตประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณละหุ่ง 8 เมล็ด การกินเมล็ดละหุ่งโดยการเคี้ยวและกลืนเข้าไปจะเป็นอันตรายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก ซึ่งมีโอกาสที่จะแพ้สารพิษได้ง่าย แม้จะเป็นเพียงแค่เคี้ยวและกลืนเข้าไปเพียง 1 เมล็ดเท่านั้นก็อาจเสียชีวิตได้

38.ไฮแดรนเนีย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hydrnagea macrophylla Thunb.) Ser.

วงศ์ : Hydrangeaceae

ชื่อสามัญ : Hydrangea

ชื่ออื่น : ดอกสามเดือน (เชียงใหม่) ดอกหกเดือน (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 0.8-1.3 เมตร แตกกิ่งก้าน ใบ เดี่ยว รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบมน แต่แหลมกว่าโคนใบ ขอบใบจัก ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่สีเทา ดอก ช่อ ออกเป็นกลุ่มใหญ่ ดอกสีน้ำเงิน ฟ้า ชมพู่อ่อน หรือเมื่อบานนานๆ จะเป็นสีขาว (ดอกบานได้หลายวัน)

ส่วนที่เป็นพิษ : ทั้งต้นสด

สารพิษ : Cyanogenetic glycosides

การเกิดพิษ : รับประทานจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน เดินเซเหมือนคนเมา หายใจลำบาก กล้ามเนื้อเปลี้ย ถ้าเป็นมากหมดสติ บางรายมีอาการชัก

39.กระท่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mitragyna speciosa (Roxb.) Korth.

วงศ์ : Rubiaceae-

ชื่ออื่น : อีถ่าง (ภาคกลาง) ท่อม (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม รูปไข่กว้าง ยาว 12-18 ซม. กว้าง 5-10 ซม. ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้านกลม แผ่นใบบาง ด้านท้องใบมีเส้นใบเป็นสันขึ้นมาชัดเจนเมื่อแก่ เส้นแขนงใบข้างละ 8-14 เส้น ก้านใบยาว 2-3 ซม. มีหูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ จำนวน 1 คู่ ลักษณะคล้ายแผ่นใบ ยาว 3-4 ซม. กว้าง 1-2.5 ซม. ปลายแหลม ดอกออกเป็นดอกช่อกระจุกกลม แตกจากปลายกิ่ง มี 1-3 ช่อ ก้านดอกช่อยาว 3-5 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ขนาดสั้น ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคนกลีบ ส่วนปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 5 มม. มีขนปกคลุมภายในกลีบดอก เกสรเพศผู้มีจำนวน 5 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลรูปไข่เกือบกลม ขนาดยาว 5-7 มม. มีสันตามความยาวจำนวน 10 สัน เมล็ดมีปีก

ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ

สารพิษ : ในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนินที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติดทางจิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง

การเกิดพิษ : ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทนแดดไม่รู้สึกร้อน ทำให้ผิวหนังไหม้เกรียมมีอาการมีนงง ปากแห้ง นอนไม่หลับ ท้องผูก ทำให้ร่างการทรุดโทรม มีอาการประสาทหลอน จิตใจสับสน

40.กลอย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dioscorea hispida Dennst. var. hispida

ชื่อพ้อง : D. hirsuta Blume

วงศ์ : Dioscoreaceae

ชื่อสามัญ : Intoxicating yam, Nami, Wild yam

ชื่ออื่น : กลอยข้าวเหนียว กลอยหัวเหนียว (นครราชสีมา) กลอยนก กอย (ภาคเหนือ) คลี้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น ไม่มีมือเกาะลำต้นมีหนามเล็กๆ กระจายทั่วไปและมีขนนุ่มๆ สีขาวปกคลุม มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะทรงกลมรี มีรากเล็กๆ กระจายทั่วทั้งหัว มี 3-5 หัวต่อต้น เปลือกหัวบางสีน้ำตาลออกเหลือง เนื้อในหัวมี 2 ชนิด คือ สีขาว (กลอยหัวเหนียว) และสีครีม (กลอยไข่,กลอยเหลือง) ใบ เป็นใบประกอบก้านใบยาว 10-15 ซม. มี ใบย่อย 3 ใบ รูปรีปลายใบแหลมขอบใบเรียบเส้นใบนูน ผิวใบสากมือ มีขนนุ่มๆ ปกคลุม ความกว้างของใบ 3-5 ซม. ยาว 8-10 ซม. ดอก เป็นดอกช่อ ออกตามซอกใบ ก้านดอกเดี่ยวยาวห้อยย้อยลงมา มีดอกเล็กๆ ติดบนก้านดอกจำนวน 30-50 ดอก ผล คล้ายผลมะเฟืองมี 3 พู แต่ละพูมี 1 เม็ด เมื่อแก่แตกได้เอง เมล็ด ลักษณะกลมแบน มีปีกบางใสรอบเมล็ดช่วยในการปลิวตามลม

ส่วนที่เป็นพิษ : หัว

สารพิษ : พืชในสกุล Dioscorea จะมีสารพิษ คือ dioscorine ในปริมาณที่แตกต่างกันแล้วแต่ species ในหัวกลอยจะมี dioscorine ในปริมาณมาก หัวกลอยแห้งและลอกเปลือกออก แล้ว จะมีแอลคาลอยด์ที่เป็นพิษ 0.19 %

41.กัญชา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cannabis sativa L.

วงศ์ : Canabaceae

ชื่อสามัญ : Hemp, Indian Hemp, Ganja, Kif, Weed, Grass, Pot

ชื่ออื่น : กัญชาจีน (ทั่วไป), คุนเช้า (จีน), ปาง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ยานอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 0.9-1.5 ซม. ไม่ค่อยแตกสาขา ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ เรียงสลับ ขอบใบเว้าลึกจนถึงจุดโคนใบเป็น 5-7 แฉก โคนและปลายสอบ ขอบจักฟันเลื่อย ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายยอด ช่อดอกและใบของต้นเพศผู้จัดเรียงตัวกันห่างๆ ต่างจากต้นเพศเมียที่เรียงชิดกัน ดอกเล็ก ผลแห้งเมล็ดล่อน เล็ก เรียบ สีน้ำตาล

ส่วนที่เป็นพิษ : ใบและช่อดอก

สารพิษ : ยอดของต้นเพศเมียที่กำลังออกดอกเรียก กะหลี่กัญชา เมื่อตากให้แห้งแล้วนิยมนำมาใช้สูบ กะหลี่กัญชาให้เรซินซึ่งเป็นยาเสพย์ติด

การเกิดพิษ : ผู้ที่เมากัญชาจะมีอาการเกิดขึ้นต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม อาจมีอารมณ์สนุกหรือโศกเศร้าก็ได้ มีความรู้สึกเลอะเลือนในเรื่องเวลา บางคนมีอาการก้าวร้าว แต่บางคนมีความหวาดกลัว ความคิดสับสนและเกิดอารมณ์เคลิ้มฝัน ฤทธิ์ของกัญชาอยู่ในร่างกายได้นาน 3-5 ชั่วโมง หลังจากนี้ผู้เสพจะมีอาการเซื่องซึมและหิวกระหาย เมื่อสร่างเมาแล้วนิยมกินของหวาน ผู้ที่สูบเป็นประจำมักสมองเสื่อมและเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

42.ทองหลางใบมน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythrina Fuscsa Lour.

ชื่อพ้อง : Erythrina glauca Willd.

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Chekring, Coral Bean, Purple Coral-Tree, Swamp

ชื่ออื่น : ทองหลางน้ำ ทองโหลง (ภาคกลาง) ทองหลางบ้าน (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ กิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบ เรียงสลับ มี 3 ใบย่อย มีหูใบ ใบย่อยรูปไข่หรือโค้ง ใบมีขน ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกแบบสลับ ออกที่ยอด ดอกย่อยออกเป็นกระจุก กระจายกันตามก้านดอก ดอกสีแดงอิฐ มีใบประดับรูปไข่ ผลเป็นฝัก เปลือกแข็ง มีขนปกคลุม เมล็ดรูปโค้งแกมขอบขนาน สีน้ำตาลดำหรือดำ

ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด

สารพิษ : agglutinin, butyric acid, g-amino, erysodine, erysopine, erythraline, erythratidine, erythratine, d-acetyl-ornithine

การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไป ทำให้คลุ้มคลั่ง คล้ายวิกลจริต

43.ใบระบาด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer

วงศ์ : Convolvulaceae

ชื่อสามัญ : Morning Glory , Baby Hawaiian Woodrose

ชื่ออื่น : ผักระบาด (ภาคกลาง) เมืองบอน (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ยาวได้ถึง 10 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว และขนสีขาวหนาแน่น ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปหัวใจ กว้าง 9 - 25 เซนติเมตร ยาว 11 - 30 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้า ด้านล่างมีขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม สีเทาเงิน ดอก สีม่วงอมชมพูออกเป็นช่อตามซอกใบ ก้านช่อแข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ใบประดับ รูปไข่ ยาว 3 - 5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกรูปกรวย ยาวประมาณ 6 เซนติเมตรปลายแผ่ออกและหยักเป็นแฉกตื้น ๆ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายมีติ่ง

ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ เมล็ด

สารพิษ : เมล็ด( white seed coat exterior) มี cyanogenic glycosides

การเกิดพิษ : ใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลุ้มคลั่ง ตาพร่า มึนงง เมล็ด ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน

44.ผักบุ้งทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea pes-caprae ( L.) R.br.

วงศ์ : Convolvulaceae

ชื่อสามัญ : Goat's Foot Creeper, Beach Morning Glory

ชื่ออื่น : ละบูเลาห์ (มลายู-นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยล้มลุก เลื้อยไปตามผิวทรายหรือดิน ชอบขึ้นในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ใบ เดี่ยว แผ่นใบกว้าง โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึก ดอก ช่อ มี 4-6 ดอก กลีบดอกสีชมพูอมม่วง กลีบดอกติดกันปลายบานคล้ายปากแตร ดอกบานตอนเช้า บ่ายๆ จะหุบเหี่ยว ผล เป็นผลแห้งแตกได้

ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด

การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน คลุ้มคลั่ง หวาดผวาคล้ายวิกลจริต

45.เพชฌฆาตสีทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gelsemium elegans (Gardner&Champ.) Benth.

วงศ์ : Loganiaceae

ชื่อสามัญ : Graceful gelsemium, Chinese gelsemium

ชื่ออื่น : ก๊กม่วน (อุดรธานี) ซัวนาตั้ว (แม้ว-น่าน) มะเค็ด (น่าน) มะลินรก สามใบตาย (น่าน) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงกันข้าม ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. รูปใบหอกแกมรูปไข่ ยาว 5-14 ซม. กว้าง 2-5 ซม. ปลายแหลม โคนใบกลมมนหรือเรียวเป็นครีบ มีเส้นแขนงใบ 6-12 คู่ ดอกเป็นดอกช่อกระจุกแน่น เป็นช่อยาว 3-12 ซม. ผิวเกลี้ยง มีใบประดับย่อยที่โคนช่อดอก ยาว 1-2 มม. รูปหอก มีขนยาวปกคลุม ก้านดอกยาวได้ถึง 6 มม. กลีบเลี้ยงมีสีเขียว ยาว 0.5-1 มม. มีขนปกคลุม มี 5 กลีบ กลีบดอกรูปหลอด ยาวประมาณ 1.5 ซม. มี 5 กลีบ สีเหลือง หรือออกเหลืองส้ม เส้นผ่านศูนย์กลางกลีบดอกประมาณ 7 มม. มีจุดประสีแดงภายใน กลีบดอกแยกเป็นแฉก 5 กลีบ จักลึกประมาณ 7 มม. ปลายแหลม หรือกลมมน เกสรเพศผู้ติดกับผนังกลีบดอก ก้านชูอับเรณูติดกับโคนกลีบดอก อับเรณูยาวรี ยาวประมาณ 2 มม. รังไข่มีก้านเกสรเพศเมีย 1 อัน ยาว 8-12 มม. ผลทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. มีเมล็ด 8-10 เมล็ด ๆ แบน มีปีก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 มม.

ส่วนที่เป็นพิษ : ทุกส่วนของต้นให้น้ำยางที่เป็นพิษ โดยจะพบ alkaloid ที่เป็นพิษมาก ได้แก่ Gelsemine, Gelsemicine, Koumine, Kouminine, Kouminicine, Kumatenidine alkaloids ที่เป็นพิษดังกล่าว เมื่อกินเข้าไป จะทำให้เกิดการหลั่งน้ำลายมาก, สมองมึนงง, ความรู้สึกสับสน, กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง, สั่น, ชัก และถ้ามีอาการหนักก็ทำให้หยุดหายใจได้ ในทางยาเรานำมารักษาโรคเนื้องอกในโพรงจมูก และเนื้องอกที่ผิวหนังบางชนิด ในขนาดต่ำ ๆ ใช้เป็นยาลดไข้ ยาชงจากใบมะลินรกเพียงสามใบใช้เป็นยาสั่ง (ตาย) ได้

46.แสลงใจ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Strychnos nux-vomica L.

วงศ์ : Strychnaceae

ชื่อสามัญ : Nux-vomica Tree, Snake Wood

ชื่ออื่น : กระจี้ กะกลิ้ง ตูมกาแดง แสลงทม แสลงเบื่อ แสลงเบือ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5 - 8 ซม. ยาว 7 - 12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลสด รูปกลม เมล็ดกลมแบนคล้ายกระดุม สีเขียวแกมเทา มีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่มปกคลุม

ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด ดอก

สารพิษ : เมล็ดแก่แห้ง พบว่ามีแอลคาลอยด์ strychnine และ brucine ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีความเป็นพิษสูง

การเกิดพิษ : strychnine มีพิษมากประมาณ 60-90 มก. ก็ทำให้คนตายได้ มีพิษต่อระบบส่วนกลาง เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารและลำไส้ หลังจากนั้นประมาณ 1 ชม. คนไข้จะชักแขนขาเกร็งและหยุดหายใจในที่สุด

47.เลี่ยน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Melia toozendan Siebold et Zucc.

วงศ์ : Meliaceae

ชื่อสามัญ : Bustard Cedar, Persian Lilac, Bead Tree, China Tree, China Ball, Pride of India, Indian Lilac, China Berry

ชื่ออื่น : เฮี่ยน (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ 12-16 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยหยักเป็นฟันเลื่อย ดอก ช่อ เกิดที่ซอกใบ มี 2 ชนิด คือต้นดอกสีม่วงและต้นดอกสีขาว (Melia toozendan Siebold et Zucc.) ตามธรรมชาติช่อดอกสีขาวพบน้อยมาก ดอกขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วงแก่หรือสีขาว ผล เป็นผลสด รูปร่างกลม เปลือกต้นสีน้ำตาลดำ มีจุดสีขาวนวลรอบๆ ต้น แก่จัดจะแตกเป็นร่องตามยาว

ส่วนที่เป็นพิษ : ดอก ผล เปลือก ต้น

สารพิษ : ผล มีอัลคาลอยด์ azaridine

การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเข้าไปมากจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียรุนแรง อาจเป็นลม กระหายน้ำอย่างรุนแรง ความจำสับสน หายใจลำบาก ชักและเป็นอัมพาต อาจง่วงหลับ มีรายงานว่า เด็กรับประทานผลเลี่ยน 6-8 ผล ถึงแก่ความตาย

48.ลำโพง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Datura alba Nees

วงศ์ : Solanaceae

ชื่อสามัญ : Jimson Weed, Devil's Apple, Thorn Apple, Stinkweed, Mad Apple, Devil's Weed, Malpitte, Moonflower, Witch's Thimble

ชื่ออื่น : ลำโพงขาว, มะเขือบ้า, มะเขือบ้าดอกดำ, ลำโพงกาสลัก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเมื่อโตเต็มที่มีขนาดความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลักษณะลำต้น ใบ คล้ายต้นมะเขือพวง ลำต้น กิ่ง ก้าน ก้านใบมีสีเขียว ใบสีเขียวอมเหลืองอ่อนเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ ดอกเป็นชนิดดอกเดี่ยว ดอกจะออกตรงบริเวณโคนก้านใบกับแขนงของกิ่ง เมื่อดอกโตเต็มที่จะบานออกมีรูปร่างคล้ายแตร หรือเครื่องลำโพงขยายเสียง ดอกมีขนาดยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร สีนวลชั้นเดียว

ส่วนที่เป็นพิษ : ทุกส่วนของต้น

สารพิษ : ทุกส่วนของลำต้น ใบ ดอก ผลของลำโพง มีคุณสมบัติ เป็นพิษทั้งสิ้น เช่น ลำโพงที่มีชื่อว่า Datura stramonium มีอัลคาลอยด์ (alkaloid) หลายชนิดรวมกันประมาณ 0.7 % ได้แก่ hyoscyamine, atropine, belladonine และ scopolamine สารพิษในต้นลำโพงไม่สามารถทำลาย ด้วยความ ร้อน ผลลำโพงเมื่อแก่เต็มที่จะแตกออก จะมองเห็น เป็นกระเปาะราว 4 กระเปาะ ภายในจะมีเมล็ดสีน้ำตาลอมส้มหรือ สีเทาดำ ประมาณ 50-100 เมล็ด เมล็ดลำโพงมีพิษสูงมาก เมล็ดลำโพง 10 เมล็ดจะมีปริมาณของ atropine 1 มิลลิกรัม

49.ยาสูบ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nicotiana tabacum L.

วงศ์ : Solanaceae

ชื่อสามัญ : Tobacco

ชื่ออื่น : จะวั้ว (เขมร-สุรินทร์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก อายุปีเดียว มีลำต้นตั้งตรง สูง 0.7-1.50 ม. ใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ใบมีลักษณะหยาบ รูปไข่แกมรี ถึงรูปยาวรี หรือรูปไข่กลับ ขนาดยาว 10-35 ซม. กว้าง 12-18 ซม. โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม หรือมน ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ปลายต้น กลีบเลี้ยงมีสีเขียวรูปถ้วยเชื่อมติดกันที่โคนกลีบ รูปไข่ หรือรูปหลอด ยาว 1-1.5 ซม. ส่วนปลายจักเป็น 5 แฉก กลีบดอกมีสีขาว ชมพู ม่วงอ่อน ฯลฯ รูปทรงยาวรี หรือทรงกรวย ยาวประมาณ 5 ซม. เกสรเพศผู้มีจำนวน 5 อัน ติดอยู่ภายในหลอดกลีบดอก รังไข่มี 2 ช่อง ผลเป็นชนิดแห้งแล้วแตก รูปไข่ ยาว 1.5-2 ซม. มีเมล็ดเล็ก ๆ ภายในจำนวนมาก

ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ

สารพิษ : ใบยาสูบเป็นแหล่ง alkaloids หลายชนิด โดยเฉพาะ Nicotine (พบครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 1828) และ Nor-nicotine, Nicoteine, Nicotelline, Nicotinine, Anabasine และสารอื่น ๆ อีก

การเกิดพิษ : จัดเป็นสารเสพติดที่ติดง่ายยิ่งกว่าอัลกอฮอล์ จัดเป็นสารสงบประสาท, ระงับความอยากอาหาร, เพิ่มน้ำตาลในโลหิตเล็กน้อย ทำให้ประสาทเกี่ยวกับการรับรสเสียไป ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด และอันตรายต่อร่างกายนานาประการ ถ้าทำการสกัด Nicotine ออกมาจากซิการ์เพียงมวนเดียว แล้วฉีดเข้าเส้นเลือดในคน จะมีพิษถึงขนาดทำให้ตายได้

50.ฝิ่น

ชื่อวิทยาศาสตร์: Papaver somniferum L.

วงศ์ : Papaveraceae

ชื่อสามัญ : Opium Poppy

ส่วนที่เป็นพิษ : ยาง ยางของผลฝิ่นที่ถูกกรีดจะมีสีขาว เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลง กลายเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียวและรสขม เรียนว่า ฝิ่นดิบ ส่วนฝิ่นที่มีการนำมาใช้เสพ เรียกว่า ฝิ่นสุก ได้มาจากนำฝิ่นดิบไปต้มหรือเคี่ยวจนสุก

สารพิษ : Morphine และ อัลคาลอยด์ของฝิ่น (สารเสพติด)

การเกิดพิษ : ในขณะที่ผู้เสพตกอยู่ใต้อิทธิพลของยาเสพติดจะมีอาการง่วงนอน เซื่องซึม ชีพจรเต้นช้า ไม่รู้สึกหิว ไม่พูดมาก และไม่สนใจกับสิ่งต่างๆรอบตัว อาจจะนั่งเหม่อมองออกไปโดยไม่มีจุดหมาย นัยน์ตาอาจเปลี่ยนสีและขนาดของม่านตาอาจจะเล็กลงเท่าขนาดรูเข็ม เมื่อเริ่มมีความต้องการยาครั้งต่อไปและมีอาการของการขาดยาเสพติดจะมีลักษณะอาการเริ่มต้น คือ น้ำตา น้ำมูกไหล ปวดหัว เกิดอาการคัน หาวนอน ขนลุก สะบัดร้อนสะบัดหนาว ม่านตาขยาย ผู้ติดยาเสพติดจะหงุดหงิด กระวนกระวาย ตื่นตกใจ อาการขั้นรุนแรงขึ้น คือ นอนไม่หลับ เหงื่อออก ปวดเมื่อยตามแขนขา คลื่นเหียนอาเจียน มีอาการท้องร่วง

การรักษา : ตามอาการ และงดเสพโดยเด็ดขาด

51.ขี้กาแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gymnopetalum integrifolim Kurz.

ชื่ออื่น แตงโมป่า มะกาดิน ขี้กาขาว เป็นไม้เถาเลื้อย ลำเถาอวบน้ำและสากมีขนสีขาวสั้นตั้งตรงเกาะติดหนาแน่น

ลักษณะ : ใบ เป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียนและมีหนวดที่โคนก้านใบ ใบรูปไข่เกือบกลม 5 เหลี่ยม ขนาดประมาณ 10 x 15 เซนติเมตร ปลายแหลมโคนเว้าเป็นติ่งหู ขอบหยักบิดเป็นคลื่น แผ่นใบผิวหยาบสากเป็นลอนตามรอยกดเป็นร่องของเส้นใบ หลังใบมีขนสั้นสีขาวจำนวนมาก ก้านใบสีเขียวอ่อนแกมเหลืองยาว มีขนชนิดเดียวกัน

ดอก เป็นดอกเดี่ยวแยกเพศกัน เกิดที่ซอกใบ ดอกสีขาวกลีบดอกส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 4 - 5 กลีบ ดอกเพศเมียที่ฐานดอกมีรังไข่ทรงกลม ดอกเพศผู้ไม่มี

ผล ทรงกลมโตเท่าผลส้มเขียวหวาน ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว มีริ้วสีขาวจางๆ ผลสุกนั้นจะมีสีแดงห้อนเป็นระย้า ผลสุกใช้ตากแห้งจะแข็งและหนา ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก

เมล็ด ทรงกลมรีแบนมีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นเมือกใสสีเขียวเข้มเกือบดำ เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีเขียวเข้ม เมล็ดมีพิษเพียวแค่ 2-3 เมล็ด ก็สามารถทำให้คนถ้าหากกินถึงตายได้ในเวลาเพียงเล็กน้อ

52.เดลฟินเนียม

อาณาจักร: พืช

ดิวิชั่น: พืชดอก

ชั้น: Magnoliopsida

อันดับ: Ranunculales

วงศ์: วงศ์พวงแก้วกุดั่น

สกุล: Delphinium คาโรลัส ลินเนียส เดลฟินเนียม (อังกฤษ: Delphinium) เป็นสกุลพืชที่มีด้วยกันราว 300 สปีชีส์ ที่เป็นพืชโตชั่วฤดูยืนต้นประเภทพืชดอกในวงศ์พวงแก้วกุดั่น เป็นพืชที่มีถิ่นฐานทางซีกโลกตอนเหนือ (Northern Hemisphere) และบนที่สูงในบริเวณเขตร้อนในแอฟริกา ชื่อสามัญ “ลาร์คเสปอร์” ใช้ร่วมกับสกุล Consolida ที่ใกล้เคียงกัน ทรงใบเป็นรูปใบปาล์มเป็นอุ้งเป็นสามถึงเจ็ดแฉก กิ่งดอกชลูดขึ้นไป ขนาดของแต่ละสปีชีส์ก็ ต่างกันออกไปที่สูงตั้งแต่ 10 เซนติเมตรไปจนถึงสองเมตร แต่ละก้านก็จะมีดอกรอบกระจายออกไปรอบก้าน สีก็มีตั้งแต่สี่ม่วง, น้ำเงิน, ฟ้า ไปจนถึงแดง เหลือง และขาว แต่ละดอกมีคล้ายกลีบนอกห้ากลีบแต่ติดกันตลอดเหมือนถุงที่มีจงอยตรงปลาย ภายในกลีบนอกก็จะมีกลีบในสี่กลีบ เมล็ดมีขนาดเล็กและมักจะเป็นสีดำเป็นมัน ดอกบานตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงปลายฤดูร้อน ผสมพันธุ์โดยผีเสื้อและผึ้ง สปีชีส์ส่วนใหญ่เป็นพิษ

53.ตีนเป็ดทราย

ตีนเป็ดทราย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cerbera manghas) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Apocynaceae ยางสีขาว รากแผ่กว้างเพื่อยึดกับทราย ใบยาวรี ค่อนข้างหนา ผิวเคลือบใบหนา ดอกสีขาว ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีแดง มีพิษ รับประทานไม่ได้ ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง

ชื่อสามัญของพืชนี้ในแต่ละถิ่นจะต่างกันไป ภาษาอังกฤษเรียก Sea mango (ตรงตัว: มะม่วงทะเล) ในมาดากัสการ์เรียก Tanguin Samanta Tangena ในซามัว เรียก Leva ในตองกาเรียก Toto ในฟิจิเรียก Vasa ส่วนในภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาซุนดา เรียก Bintaro

ความเป็นพิษ ใบและผลมีสารที่เป็นพิษต่อหัวใจ คือ cerberin ซึ่งจะเป็นพิษมากเมื่อถูกย่อย ในอดีตเคยใช้ยางของพืชชนิดนี้เป็นยาพิษเพื่อล่าสัตว์ เนื่องจากพืชในสกุลนี้เป็นพิษ ชื่อสกุลจึงมาจาก Cerberus สุนัขในนรกของเทพนิยายกรีก ในมาดากัสการ์ ใช้เมล็ดของพืชชนิดนี้เป็นยาพิษ

54.ตีนเป็ดน้ำ

ตีนเป็ดน้ำ หรือ ตีนเป็ดทะเล (อังกฤษ: Suicide tree, Pong-pong, Othalanga; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cerbera odollam) มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า ตุม (กาญจนบุรี), พะเนียงน้ำ หรือ สั่งลา (กระบี่), มะตะกอ (มลายู-นราธิวาส)[1]เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กชนิดหนึ่ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ มีลักษณะเป็นทรงพุ่มกลม ใบแน่น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีน้ำยางสีขาว กลีบดอกมีความสวยงาม มีสีขาว เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่าย ขึ้นได้ดี ต้องการแดดและความชื้นสูง สูงเต็มที่ประมาณ 12 เมตร มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนใต้ของจีน พบจนถึงนิวแคลิโดเนีย มักขึ้นในป่าชายเลนหรือบริเวณที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณชายทะเล

ตีนเป็ดน้ำมีผลทรงกลม คล้ายผลส้ม มีสีเขียว แต่ทว่ามีพิษ รับประทานมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ อีกทั้งยางก็มีพิษ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการทำเป็นสารเคมีฆ่าเหาได้

55.ถุงมือจิ้งจอก

จิทาลลิส หรือ ถุงมือจิ้งจอก (อังกฤษ: Digitalis) เป็นสกุลของไม้ 20 สปีชีส์ของสมุนไพรที่เป็นพืชสองปี (Perennial plant) ที่เรียกเป็นภาษาพื้นบ้านว่า “foxgloves” หรือ “ถุงมือจิ้งจอก” เดิมจัดอยู่ในวงศ์มณเฑียรทอง (Scrophulariaceae) แต่หลังจากการพิจารณาทางphylogenetic ก็ได้รับการจัดให้อยู่ในตระกูลที่ใหญ่กว่าในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (Plantaginaceae) ถุงมือจิ้งจอกเป็นไม้ที่มีถิ่นฐานอยู่ในยุโรป, เอเชียตะวันตก และ เอเชียกลาง, และทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา ชื่อวิทยาศาสตร์แปลว่า “เหมือนนิ้ว” เพราะขนาดของดอกพอดีกับการที่เอาปลายนิ้วสอดเข้าไปได้พอดี ดอกออกบนกิ่งเรียวยาวชลูดขึ้นไปจากกอที่ติดดิน ตัวดอกมีลักษณะเป็นหลอดสั้นๆ สีก็มีต่างๆ ที่รวมทั้งม่วง ชมพู ขาว และ เหลือง ชนิดที่พบบ่อยเรียกว่า “Digitalis purpurea”

“ถุงมือจิ้งจอก” นอกจากจะเป็นไม้ที่ขึ้นง่ายโดยทั่วไปเป็นดอกไม้ป่าแล้วก็ยังเป็นไม้บ้านเป็นพืชสองปีที่ มักปลูกเป็นไม้ประดับเพราะดอกที่มีความเด่นที่มีสีและแต้มด้านในของดอกต่างๆ ปีแรกที่ปลูกจะมีเพียงแต่ใบ ปีที่สองจึงออกดอก ความสูงของก้านประมาณระหว่าง 0.5 ถึง 2.5 เมตร คำว่า “ดิจิทาลลิส” ยังหมายถึงสาร Digoxin ที่สกัดจากไม้ที่ใช้ในการทำ Cardiac glycoside สำหรับการรักษาโรคหัวใจ แต่ “ถุงมือจิ้งจอก” บางพันธุ์ก็เป็นไม้มีพิษร้ายแรงทั้งต้นทั้งดอกที่ทำให้ได้สมญาว่า “กระดิ่งคนตาย” หรือ “ถุงมือแม่มด”

56.ทุเรียนเทศ

ทุเรียนเทศ หรือ ทุเรียนน้ำ (อังกฤษ: Soursop,Prickly Custard Apple; ชื่อวิทยาศาสตร์: Annona muricata L.) ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ทุเรียนแขก (ภาคกลาง) หมากเขียบหลด (ภาคอีสาน) และ มะทุเรียน (ภาคเหนือ) เป็นพืชในวงศ์เดียวกับน้อยหน่าและกระดังงา ใบเดี่ยว กลีบดอกแข็ง มีกลิ่นหอมตอนเช้า ผลมีรูปร่างคล้ายทุเรียน มีหนาม เปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดแกสีดำ ปลูกมากในแถบอเมริกากลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพืชที่ชอบที่ที่มีความชื้นสูง

การใช้ประโยชน์ ทุเรียนเทศใช้กินเป็นผลไม้สด และนำมาแปรรูปเป็นผลไม้กวน เยลลี่ ไอศกรีมและซอส ในมาเลเซียนำไปทำน้ำผลไม้กระป๋อง เวียดนามนิยมทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น เมล็ดมีพิษ ใช้ทำยาเบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลง

ความเสี่ยง มีงานวิจัยในแถบทะเลแคริบเบียนที่แสดงให้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการรับประทานทุเรียนเทศกับโรคพาร์คินสัน ทุเรียนเทศมีannonacinซึ่งเป็นสาเหตุของโรคนี้สูงทุเรียนเทศยังเป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ในยาที่ขายในตลาดในชื่อ Triamazon. Triamazon นี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นยาในอังกฤษ

57.บานเย็น

บานเย็น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mirabilis jalapaL.; ชื่อสามัญ: Four-o’clocks; Marvel of Peru) เป็นไม้ดอกในสกุล Mirabilis ที่นิยมปลูกมากที่สุด มีสีดอกที่หลากหลาย กล่าวกันว่าบานเย็นถูกนำออกมาจากถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาแอนดิส ในเปรู ช่วงปี ค.ศ. 1540 คำว่า Mirabilis ในภาษาละตินหมายถึง ยอดเยี่ยม, สวยงาม, มหัศจรรย์ ส่วนคำว่า Jalapa เป็นชื่อเมืองแห่งหนึ่งในประเทศเม็กซิโก ความน่าสนใจของบานเย็นคือ เป็นไม้ดอกที่สามารถมีดอกหลายสีอยู่บนต้นเดียวกันพร้อมๆ กันได้ นอกจากนี้ในแต่ละดอกอาจมีหลายสีปนกันอยู่ได้เช่นกัน จุดสนใจอีกประการหนึ่งคือการที่สีดอกจะเปลี่ยนไปเมื่อต้นบานเย็นมีอายุมาก ขึ้น เช่น บานเย็นพันธุ์ดอกเหลือง สีของดอกอาจค่อยๆ เปลี่ยนเป็นชมพูเข้ม หรือ พันธุ์ดอกขาวอาจจะเปลี่ยนเป็นม่วงอ่อนได้

ดอกบานเย็นจะบานในช่วงเวลาบ่ายแก่ๆ เป็นต้นไป จึงเป็นที่มาของชื่อไทยว่า "บานเย็น" หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า "ดอกสี่โมง" (four o'clock flower) เมื่อดอกบานจะมีกลิ่นหอมจัดแบบกลิ่นหอมหวานๆในประเทศจีน เรียกบานเย็นว่า "ดอกสายฝน" (shower flower) หรือ "ดอกหุงข้าว" (rice boiling flower) เพราะดอกบานเย็นจะบานในช่วงเวลานั้น ส่วนในฮ่องกง เรียกว่า "มะลิม่วง" (purple jasmine) ส่วนของกลีบดอกที่เห็นเป็นสีต่างๆ นั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่กลีบดอกแท้ แต่เป็นส่วนกลีบเลี้ยง (calyx) ที่เปลี่ยนรูปไปจากปกติและมีเม็ดสี (pigments) การผสมเกสรเกิดโดยแมลงกลางคืนชนิดที่มีลิ้นยาวซึ่งถูกดึงดูดมาหาดอกบานเย็น โดยกลิ่นหอมที่ปล่อยออกมานั่นเอง

58.มะคำดีควาย

มะคำดีควาย (อังกฤษ : Soap Nut Tree ;ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sapindus rarak A.DC.) ชื่อหรือเรียกอีกอย่างว่า ประคำดีควาย เป็นชื่อต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE มีลักษณะของใบประกอบที่เรียงสลับกัน ผลออกเป็นพวงและก็มีลักษณะค่อนข้างกลม มะคำดีควายนี้เป็นพืชที่มีคุณค่าทางสมุนไพรมากแต่มีผลที่เป็นพิษ

59.ลำโพงกาสลัก

ลำโพงกาสลัก เป็นพืชล้มลุก ประเภทเดียวกับมะเขือ ชื่อพื้นเมืองเช่น มะเขือบ้าดอกดำ เมื่อโตเต็มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้น กิ่ง และก้านใบมีสีม่วงเข้มดำมัน

* ชื่อวิทยาศาสตร์: Datura fastuosa L.

* ชื่อสามัญ: Thorn Apple

* ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่ สีเขียวเข้ม เรียงสลับกัน กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันหยาบๆ ฐานหรือโคนใบมักไม่เสมอกัน

* ดอก: มีสีม่วง ขนาดของดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น เมื่อดอกโตเต็มที่ปากดอกจะบานออกดูคล้ายรูปแตร ขนาดของดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น ดอกมักจะซ้อนกัน 3 ชั้น เป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นพันธุ์ผสม ดอกจะซ้อนกัน 2 และ 4 ชั้น

60.ปรงสาคู

ปรงสาคู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cycas revoluta) เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น ชื่อสามัญได้แก่ sago cycad บางครั้งเรียก king sago palm หรือ sago palm แต่เป็นพืชในกลุ่มของปรง ไม่ใช่ปาล์ม พืชชนิดนี้มีพิษในทุกส่วนของพืช แต่สามารถสกัดแป้งไปทำสาคูได้ โดยตัดกิ่ง รากและเมล็ด นำไปบดจนได้แป้ง แล้วล้างอย่างระมัดระวังหลายๆครั้งเพื่อล้างสารพิษออก แป้งที่เหลือนำมาทำให้แห้งและทำให้สุกด้วยกระบวนการเดียวกับการทำแป้งสาคู จากปาล์ม

ความเป็นพิษ ปรงสาคูเป็นพิษต่อสัตว์มาก รวมทั้งมนุษย์ถ้าถูกย่อย อาการทางคลินิกจะเกิดขึ้นภายใน 12 ชั่วโมงหลังการย่อยได้แก่อาเจียน ท้องร่วง อ่อนเพลีย เป็นลม การทำงานของตับล้มเหลว ทุกส่วนของพืชเป็นพิษ โดยในเมล็ดมีสารพิษที่เรียก cycasinในระดับสูง สารพิษนี้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ถ้าได้รับในระดับที่มากพอ จะทำให้ตับทำงานล้มเหลว [4] สารพิษตัวอื่นๆ ได้แก่ Beta-methylamino L-alanine ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาท และสารพิษที่ยังจำแนกไม่ได้อีกมากที่ทำให้เกิดอัมพาตในวัวควาย which has been observed to cause hindlimb paralysis in cattle.

กาแฟ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Robusta Coffee, Coffea canephora Pierre ex Froehner

ชื่อวงศ์: RUBIACEAE

ชื่ออื่น: กาแฟใบใหญ่

สรรพคุณของ กาแฟ : เมล็ด เมล็ดมีคาเฟอีนเป็นยากระตุ้นหัวใจ ยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนไม่หลับ พบสาร Theophylline มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จากการทดลองพบว่า การดื่มกาแฟทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพราะมีสาร Theobromine อาจทำให้มีอาการปวดแสบที่ลิ้นปี่ นอกจากนี้กาแฟ ยังลดการดูดซึมธาติเหล็กอีกด้วย จึงควรระวังในการดื่มกาแฟ โดยเฉพาะขณะท้องว่าง

กระเบา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chaulmoogra, Hydnoccarpus anthelminthicus Pierre

ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE

ชื่ออื่น : กระเบาน้ำ, กระเบาเบ้าแข็ง, กระเบาใหญ่, กาหลง, เบา

สรรพคุณของ กระเบา : เมล็ด ใช้น้ำมันที่บีบจากเมล็ด รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ มีรายงานวิจัยว่าน้ำมันที่บีบจากเมล็ดโดยไม่ใช้ความร้อน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคเรื้อนและวัณโรค

ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus (Linn.) Kurz.

ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง, หญ้ามันไก่

สรรพคุณของ ทองพันชั่ง : ใบสด, ราก ใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์ เอาน้ำเหล้าทาแก้กลากเกลื้อน สารสำคัญ คือ Rhinacanthin และ Oxymethylanthraquinone

สะบ้าลิง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mucuna gigantea (Willd.) DC.

ชื่อวงศ์ : FABACEAE

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ, หมามุ้ย

สรรพคุณของ สะบ้าลิง : เปลือก, ต้น มีสารกลุ่มซาโปนิน ใช้ล้างแผล สระผม, นำมาต้มน้ำผสมเกลือ อมแก้ปวดฟัน เมล็ด เผา บดเป็นผงผสมกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้คัน และโรคผิวหนัง

แพงพวยฝรั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Madagascar Periwinkle, West Indian Periwinkle, Catharanthus roseus (Linn.) Don ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ชื่ออื่น : แพงพวยบก, นมอิน, ผักปอดบก

สรรพคุณของ แพงพวยฝรั่ง : ต้น ใช้ทั้งต้นสกัดได้แอลคาลอยด์ Vincristine และ Vinblastine ซึ่งนำมาทำให้บริสุทธิ์ และใช้ในรูปยาฉีด รักษาคนไข้มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือด เป็นต้น

อินทนิลน้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Queen's flower, Lagerstroemia inermis Pers

ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE

ชื่ออื่น : อินทนิล

สรรพคุณของ อินทนิลน้ำ : ใบ ใช้ใบต้มน้ำกินแก้ปัสสาวะพิการ แก้เบาหวาน จากประสบการณ์ของผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนหนึ่งระบุว่าใช้ได้ผล แต่การทดลองในสัตว์พบว่าไม่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด จึงควรมีการทดลองต่อไป

ไคร้หางนาค

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus taxodiifolius Beille

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น : เสียวน้ำ, ตะไคร้หางสิงห์, เสียวเล็ก, เสียวน้อย

สรรพคุณของ ไคร้หางนาค : ต้น ใช้ทั้งต้นมีรสจืด เป็นยาขับปัสสาวะ

ไทรย้อยใบแหลม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus benjamina Linn.

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ชื่ออื่น: ไทร, ไทรกระเบื้อง, ไทรย้อย

สรรพคุณของ ไทรย้อยใบแหลม : ราก เป็นยาบำรุงน้ำนม รากอากาศขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอย หรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย)

เถาวัลย์เปรียง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris scandens Benth.

ชื่อวงศ์ : FABACEAE

ชื่ออื่น : เครือเขาหนัง, เถาตาปลา, พานไสน

สรรพคุณของ เถาวัลย์เปรียง : ใช้เถาขับปัสสาวะ แก้บิด แก้หวัด ใช้เถาคั่วไฟชงน้ำ กินแก้ปวดเมื่อย

พญาสัตบรรณ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Blackboard Tree, Devil Tree, Alstonia scholaris (Linn.) R. Br.

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ชื่ออื่น : สัตบรรณ, ตีนเป็ด, ตีนเป็ดขาว, ชบา, ยางขาว, หัสบรรณ

สรรพคุณของ พญาสัตบรรณ : เปลือกต้น ใช้แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ แก้บิด สมานลำไส้ การทดลองในสัตว์พบว่า สารสกัดจากเปลือกต้น มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด รักษาแผลเรื้อรัง และต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิด

กานพลู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clove, Syzygium aromaticum (Linn.) Merr. et Perry (Eugenia caryophylta) (Spreng.) Bullock et Harrison)

ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE

สรรพคุณของ กานพลู : ดอกตูมแห้ง ใช้แช่เหล้า เอาสำลีชุบอุดรูฟัน แก้ปวดฟัน หรือใช้ขนาด 5-8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ หรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับน้ำนม นอกจากนี้ ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก พบว่าในน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นจากดอก มีสาร Eugenol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ลดอาการปวดท้อง ขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ กระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยขับน้ำนม

ไผ่รวก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyrsostachys Siemens’s Gamble

ชื่อวงศ์: POACEAE

ชื่ออื่น : ตีโย, รวก, ฮวก

สรรพคุณของ ไผ่รวก : ต้น ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ ปวดแสบลิ้นปี่

-สมุนไพรใช้ใบ

กะเพรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.

วงศ์ : Labiatae

ชื่ออื่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง

สรรพคุณ - ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้มให้เดือดแล้วกรองเอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบ ๆสะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง

เมล็ด - เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง นั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย

ราก - ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

ฝรั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psidium guajava L.

ชื่อสามัญ : Guava

ชื่ออื่น : สุราษฎร์ธานี จุ่มโป่, ปัตตานี ชมพู่, เชียงใหม่ มะก้วย, เหนือ มะก้วยกา มะมั่น,แม่ฮ่องสอน มะกา, ตาก มะจีน, ใต้ ยามู ย่าหมู, นครพนม สีดา, จีนแต้จิ๋ว ปั๊กเกี้ย

สรรพคุณ

ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมานน้ำมันหอมระเหยในใบฝรั่ง สารแทนนินในฝรั่งยังยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้ และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยอาการเกร็งตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลงได้ แก้ปวดเบ่ง

ใบ - แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค) เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ใช้ใบ 2-3 ใบเคี้ยวๆ ระงับกลิ่นปาก แก้ฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนองและถอนพิษบาดแผล แก้เหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวดเนื่องจากเล็บขบ แก้แพ้ยุง

ผลอ่อน - แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก แก้บิดมูกเลือด มีไวตามินซีมาก เป็นกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ

ผลสุก - มีสารเพ็กตินอยู่มาก ใช้รับประทานเป็นยาระบายได้

ราก - แก้น้ำเหลืองเสีย เป็นฝี แผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล

กระทือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet (L.) Smith.

วงศ์ : Zingiberaceae

ชื่ออื่น : กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง(แม่ฮ่องสอน)

สรรพคุณ

ราก - แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก

เหง้า - บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง

- แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ

- แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ

- ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร

- เป็นยาบำรุงกำลัง

- แก้ฝี

ต้น - แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส

ใบ - ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ

- แก้เบาเป็นโลหิต

ดอก - แก้ไข้เรื้อรัง

- ผอมแห้ง ผอมเหลือง

- บำรุงธาตุ แก้ลม

กระชาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.

ชื่อสามัญ : Kaempfer

วงศ์ : Zingiberaceae

ชื่ออื่น : กระชายดำ กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ละแอน (ภาคเหนือ) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)

สรรพคุณ

เหง้าใต้ดิน - มีรสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร

เหง้าและราก - แก้บิดมูกเลือด เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ใช้เป็นยาภายนอกรักษาขี้กลาก

ใบ - บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ

กระท้อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr.

ชื่อสามัญ : Sentul, Santol, Red sentol, Yellow sentol

วงศ์ : MELIACEAE

ชื่ออื่น : เตียน ล่อน สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ,อุดรธานี) มะติ๋น (ภาคเหนือ) สตียา สะตู (มาเลย์-นราธิวาส) สะโต (มาเลย์-ปัตตานี)

สรรพคุณ

ใบสด - ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้

เปลือก - รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน

ผล - ฝาดสมาน เป็นอาหาร

ราก - เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ

ต้น - เป็นไม้ใช้สอย

ทับทิม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum L.

ชื่อสามัญ : Pomegranate , Punica apple

วงศ์ : Punicaceae

ชื่ออื่น : พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (เหนือ) หมากจัง (แม่ฮ่องสอน)

สรรพคุณ

ใบ - อมกลั้วคอ ทำยาล้างตา

ดอก - ใช้ห้ามเลือด

เปลือกและผลแห้ง - เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน แก้บิด

- แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด

เปลือกต้นและเปลือกราก - ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด , พยาธิตัวกลม

เมล็ด - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด

เปล้าน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton stellatopilosus Ohba

ชื่อพ้อง : Croton sublyratus Kurz

วงศ์ : EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น : เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)

สรรพคุณ

ใบ - ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคกระเพาะ บำรุงโลหิตประจำเดือน

มีสาร disterpene alcohol (CS-684 หรือ plaunotol) มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะ

ใบ ราก - แก้คัน รักษามะเร็งเพลิง

- รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน

- แก้พยาธิต่างๆ ริดสีดวงทวาร

- แก้ไอเป็นโลหิต

- เป็นยาปฏิชีวนะ

ดอก - ขับพยาธิ ฆ่าพยาธิ

ผล - แก้โรคน้ำเหลืองเสีย

เปลือก - บำรุงธาตุ

แก่น - ขับโลหิต

โมกหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Holarrhena pubescens Wall. ex G. Don

วงศ์ : APOCYNACEAE

สรรพคุณ

เปลือกต้น - แก้บิด แก้ไข้พิษ

ใบ - ขับไส้เดือนในท้อง

ผล - ขับโลหิต

เมล็ดใน - แก้ไข้

กระพี้ - ฟอกโลหิต

แก่น - แก้โรคกลาก

ราก - ขับโลหิต

โมกมัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia pubescens R.br.

วงศ์ : Apocynaceae

ชื่ออื่น : โมก, มูก (ภาคกลาง); มูกเกื้อ (จันทบุรี); โมกมัน (ชลบุรี, กาญจนบุรี,นครราชสีมา)

สรรพคุณ

ใบ - ขับเหงื่อ

ดอก - เป็นยาระบาย

ผล - แก้โรครำมะนาด

เปลือก - แก้โรคคุดทะราด

กระพี้ - บำรุงถุงน้ำดี

แก่น - ขับโลหิตเสีย

ราก - ขับลม

กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.

ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle

วงศ์ : Malvaceae

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง

สรรพคุณ

กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล

1. เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย

2. ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด

3. น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง

4. ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี

5. น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง

6. ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ

7. เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ

8. เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

ใบ - แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก

ดอก - แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก

ผล - ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ

เมล็ด - บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

-สมุนไพรที่ใช่ส่วนของราก

ต้นทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz

ชื่อสามัญ : White crane flower

วงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่

วิธีและปริมาณที่ใช้ : 1. ใช้รากทองพันชั่ง 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟครึ่งกล่อง นำมาตำเข้ากันให้ละเอียด ผสมน้ำมันใส่ผมหรือวาสลิน (กันไม่ให้ยาแห้ง) ทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนังบ่อยๆ

2.ใช้รากของทองพันชั่ง บดละเอียดผสมน้ำมะขามและน้ำมะนาว ชโลมทาบริเวณที่เป็นใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคันเรื้อรัง

กุ่มบก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs

ชื่อสามัญ : Sacred Barnar, Caper Tree

วงศ์ : Capparaceae

ชื่ออื่น : ผักกุ่ม

สรรพคุณ : ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

ข่า

ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย

ขมิ้นชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia galanga (L.) Willd.

ชื่อสามัญ : Galanga

วงศ์ : Zingiberaceae

ชื่ออื่น : ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง

ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

รักษาลมพิษ

ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น

รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.

ชื่อสามัญ : Turmaric

วงศ์ : Zingiberaceae

ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้)

วิธีและปริมาณที่ใช้

เป็นยาภายใน

เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง แก้ท้องอืด แก้ท้องร่วง แก้โรคกระเพาะ

เป็นยาภายนอก

เหง้าแก่แห้งไม่จำกัดจำนวน ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กนิยมใช้มากทาแก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง พุพอง ยารักษาชันนะตุและหนังศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน

นางแย้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.

ชื่อพ้อง : Volkameria fragrans Vent.

ชื่อสามัญ : Glory Bower

วงศ์ : Labiatae

ชื่ออื่น : ปิ้งหอม

สรรพคุณราก :

- ขับระดู ขับปัสสาวะ

- แก้หลอดลมอักเสบ ลำไส้อักเสบ

- แก้เหน็บชา บำรุงประสาท รวมทั้งเหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ

- แก้ไข้ แก้ฝีภายใน

- แก้ริดสีดวง ดากโผล่

- แก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง

- แก้ปวดเอว และปวดข้อ แก้ไตพิการ

เปล้าน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton stellatopilosus Ohba

ชื่อพ้อง : Croton sublyratus Kurz

วงศ์ : EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น : เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)

สรรพคุณ : ใบ ราก รักษาโรคผิวหนัง คัน กลากเกลื้อน

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ หรือรากสด ตำให้ละเอียด ใช้น้ำคั้นที่ออกมาทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

เหงือกปลาหมอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ebracteatus Vahl

ชื่อพ้อง : Acanthus ilicifolius L.

ชื่อสามัญ : Sea holly

วงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่ออื่น : แก้มหมอ แก้มหมอเล จะเกร็ง นางเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

สรรพคุณราก :

- ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด

- รักษามุตกิดระดูขาว

พิลังกาสา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia polycephala Wall.

วงศ์ : MYRSINACEAE

ชื่ออื่น : ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)

ส่วนที่ใช้ และสรรพคุณ : ราก - แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู

มะลิลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum Sambac (L.) Aiton

ชื่อสามัญ : Arabian jasmine

วงศ์ : OLEACEAE

ชื่ออื่น : มะลิ, มะลิลา (ทั่วไป), มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิ

ป้อม (ภาคเหนือ), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่)

สรรพคุณราก :ทำยาหยอดตา ฝนรับประทาน แก้ร้อนใน, เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน

แก้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata (L.) Jack.

ชื่อสามัญ : Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine

วงศ์ : RUTACEAE

ชื่ออื่น : กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง)

สรรพคุณราก : รสเผ็ด ขม สุขุม ใช้แก้ปวดเอว แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น และที่เกิดจากแมลงกัดต่อย

-สมุนไพรใช้ส่วนของผล / เมล็ด

มะแว้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum sanitwongsei Craib

ชื่อวงศ์: SOLANACEAE

รูปลักษณะ : มะแว้งต้น เป็นไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกตามกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบ สีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม

สรรพคุณของ มะแว้งต้น : ผล ใช้แก้ไอขับเสมหะ รักษาเบาหวาน ขับปัสสาวะ พบสเตอรอยด์ปริมาณค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน มะแว้งต้นเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้ง ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้นตามตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ

มะนาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ ::;Lime, Citrus aurantifolia (Christm. ET Panz.) Swing.

ชื่อวงศ์ :; RUTACEAE

ชื่ออื่น: ส้มมะนาว

รูปลักษณะ: มะนาว เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็กๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ

สรรพคุณของ มะนาว : น้ำมะนาวและผลดองแห้ง รับประทานเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะอื่นๆ เช่น ดีปลี นอกจากนี้ยังใช้แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี

กระโดนทุ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia acutangula Gaertn.

ชื่อวงศ์ : BARRINGTONIACEAE

ชื่ออื่น: จิก, กระโดนน้ำ, จิกน้ำ, ตอง

รูปลักษณะ: กระโดนทุ่ง เป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ลำต้นเป็นปุ่มปม ปลายกิ่งลู่ลง ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง รูปใบหอกหรือรูปไข่กลับ กว้าง 10-13 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายจะผายกว้างแล้วแหลม โคนแหลมขอบจักถี่ ดอก ออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่งสีแดง ห้อยลง ยาว 30-40 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ หลุดร่วงง่าย เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. เกสรตัวผู้สีแดงจำนวนมาก ผลกลมยาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. มีสันตามยาว 4 สัน

สรรพคุณของ กระโดนทุ่ง: เมล็ด ใช้เป็นยาแก้ไอในเด็ก เข้ายาลม ใช้แก้อาการจุกเสียด ใบแก่ แก้ท้องร่วง เปลือกต้น ใช้เบื่อปลา

ชะมวง

ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE

ชื่ออื่น: กระมวง, มวงส้ม, หมากโมก

รูปลักษณะ: ชะมวง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15-30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี แกมใบหอก กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 7-15 ซม. เนื้อใบหนาและเหนียว ผิวใบเป็นมัน ดอก แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุก มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือชมพูถึงแดง ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ผลเป็นผลสด รูปค่อนข้างกลม เมื่อสุกสีเหลืองแกมส้มหม่น

สรรพคุณของ ชะมวง : ใบและผล แก้กระหายน้ำ ระบายท้อง แก้ไข้

พริกขี้หนู

ชื่อวิทยาศาสตร์: Capsicum flutescens Linn.

ชื่อวงศ์: SOLANACAEAC

ชื่อสามัญ: Bird Chilli

ชื่อท้องถิ่น: พริกแต้ ดีปลีขี้นก หมักเพ็ด ลักษณะวิสัย: ไม้ต้น ลักษณะทั่วไป: พริกเป็นพืชที่มีอายุได้หลายฤดู ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 1-1.25 ฟุต ใบแบนเรียบเป็นมัน ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดเล็ก กลีบดอกจะมีสีขาว หรือสีม่วง เกสรตัวผู้ 1-10 อัน เกสรตัวเมีย 1-2 อัน ผลหลายขนาด ผลขนาดเล็กยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว ลูกอ่อนสีเขียวเข้ม เมื่อแก่เป็นสีแดง

ประโยชน์: ยอดอ่อนรับประทาน โดยลวกเป็นผักแกล้มน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหารประเภทแกงจืด แกงเลียง มีสรรพคุณทางยาขับลม ขับปัสสาวะ

กระเบาเบ้าแข็ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chaulmoogra, Hydnoccarpus anthelminthicus Pierre

ชื่อวงศ์: FLACOURTIACEAE

ชื่ออื่น: กระเบาน้ำ, กระเบา, กระเบาใหญ่, กาหลง, เบา

รูปลักษณะ : กระเบาเบ้าแข็ง เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 10-12 ซม. ดอกเดี่ยวหรือช่อสั้นๆ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ต้นตัวเมียเรียกว่า กระเบาต้นตัวผู้ เรียกว่าแก้วกาหลง กลีบดอกสีม่วงแดงจางๆ ผลเป็นผลสด รูปกลม เปลือกหนา มีขนกำมะหยี่สีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก

สรรพคุณของ กระเบาเบ้าแข็ง : เมล็ด ใช้น้ำมันที่บีบจากเมล็ด รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ มีรายงานวิจัยว่าน้ำมันที่บีบจากเมล็ดโดยไม่ใช้ความร้อน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคเรื้อนและวัณโรค

ลำโพงกาสลัก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : D. metel Linn. Var.Fastuosa Safford

ชื่อวงศ์: SOLANACEAE

ชื่ออื่น: กาสลัก, มะเขือบ้าดอกดำ

รูปลักษณะ: ลำโพงกาสลัก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบหยักซี่ฟันหยาบๆ ฐานใบมักไม่เสมอกัน ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงสีเขียวติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวดอก กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายบานออกเป็นรูปแตร ผลแห้ง แตกได้ มีขนหนาคล้ายหนาม ลำโพงขาวมีกิ่งก้านลำต้นสีเขียว กลีบดอกสีขาวชั้นเดียว ผลกลม ลำโพงกาสลักมีกิ่งก้านลำต้นสีม่วงปนเขียวถึงสีม่วงเข้ม กลีบดอกสีม่วง 2-3 ชั้นซ้อนกัน ผลรูปรี

สรรพคุณของ ลำโพงกาสลัก: เมล็ด ใช้หุงทำน้ำมันใส่แผล แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน ใบ ใช้ใบสดตำพอกฝี แก้ปวดบวมอักเสบ ใบและยอด มีแอลคาลอยด์ Hyoscyamineและ Hyoscine ใช้แก้อาการปวดท้องเกร็ง และขยายหลอดลม ใช้แก้หอบหืดได้ ดอก ใช้สูบแก้อาการหอบหืด

มะกรูด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.

วงศ์ RUTACEAE

ชื่ออื่นๆ หนองคาย : มะหูด (Ma-hut) ภาคเหนือ : มะกูด (Ma-kut) ภาคใต้ : ส้มมั่วผี (Som-mua-phi) ส้มกรูด (Som-krut) เขมร : โกรยเชียด (Kroit-chait)

ถิ่นกำเนิด มาเลเซีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินเดีย

รูปลักษณะ ไม้พุ่มขนาดใหญ่ ลำต้นเกลี้ยงเกลากิ่งก้านมีหนามแหลม ใบสีเขียวหนา มีกลิ่นหอมฉุน มีน้ำมันหอมระเหย ออกดอกเป็นช่อสีเขียวมีนวลเหลืองบ้าง ลูกกลมผิวหนาขรุขระ

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ใบ – มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ประกอบอาหาร ผล – ใช้แต่งกลิ่น สระผม ผิวจากลูก – บำรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น ราก – ถอนพิษ แก้ปวดท้อง แก้พิษฝีภายใน ลูกมะกรูด – หมักดองเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม รับประทานฟอกล้างและบำรุงโลหิต

กระเทียม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.

ชื่อวงศ์: LILIACEAE

ชื่อสามัญ: Garlic

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวใต้ดินมีลักษณะกลมแป้น มีแผ่นเยื่อสีขาวหรือม่วงอมชมพูหุ้มอยู่ 3-4 ชั้น ซึ่งลอกออกได้ แต่ละหัวมี 6-10 กลีบ ใบเดี่ยวขึ้นมาจากดินเรียงเวียน แบนเป็นรูปแถบแคบ โคนแผ่เป็นแผ่นและเชื่อมติดกันเป็นวงหุ้มรอบใบที่อ่อนกว่าและก้านช่อดอกทำให้เกิดเป็นลำต้นเทียม ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ก้านช่อดอกโดด ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรวม 6 กลีบ สีขาวหรือสีขาวอมชมพู เกสรเพศผู้ 6 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ มี 3 ช่อง ผลเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ดเล็ก สีดำ ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ หัวกลีบสด ป่น ดอง กินเป็นผัก เครื่องเทศ และสมุนไพร น้ำมันกระเทียมใช้แต่งกลิ่น

ส่วนของพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ หัว [แบบหอม]

น้อยหน่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sugar Apple, Annona squamosa Linn.

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ชื่ออื่น: น้อยแน่, มะนอแน่, หมักเขียบ

รูปลักษณะ: น้อยหน่า เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-13 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ห้อยลง กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว 6 กลีบ เรียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ หนาอวบน้ำ มีเกสรตัวผู้และรังไข่ จำนวนมาก ผลเป็นผลกลุ่ม ค่อนข้างกลม

สรรพคุณของ น้อยหน่า: ใบสดและเมล็ด ใช้รักษาหิด กลากและเกลื้อน ฆ่าเหา โดยใช้เมล็ดประมาณ 10 เมล็ด หรือใบสดประมาณ 1 กำมือ (15 กรัม) ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าวในอัตราส่วน 1:2 ขยี้ให้ทั่วศีรษะ ใช้ผ้าคลุมโพกไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง ใช้หวีสางเหาออก สระผมให้สะอาด (ระวัง! อย่าให้เข้าตา เพราะจะทำให้ตาอักเสบได้)

-สมุนไพรที่ใช่ส่วนของใบ

ตะไคร้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf.

ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine

วงศ์ : Poaceae (Gramineae)

ชื่ออื่น : จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ส่วนที่ใช้ :

ทั้งต้น เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บไว้ใช้

ต้น - มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน

บอระเพ็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f.& Thomson

วงศ์ : Menispermaceae

ชื่ออื่น : ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน (สระบุรี) หางหนู (สระบุรี,อุบลราชธานี) จุ่งจิง เครือเขาฮอ (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถากลมมีขนาดใหญ่เป็นปุ่มปม สีเทาอมดำ มีรสขม เปลือกลอกออกได้ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบยาว 8-10 ซม. ดอก ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ดอกสีเขียวอมเหลือง มีขนาดเล็กมาก ผล รูปทรงค่อนข้างกลม สีเหลืองหรือสีแดง

ส่วนที่ใช้ : ราก ต้น ใบ ดอก ผล ส่วนทั้ง 5 เถาสด

ต้น

- แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้เหนือ

- บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ

- แก้อาการแทรกซ้อน ขณะที่เป็นไข้ทรพิษ

- แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ

- แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สะอึก แก้พิษฝีดาษ

- เป็นยาขมเจริญอาหาร

- เป็นยาอายุวัฒนะ

มะขาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarind, Tamarindus indica Linn.

ชื่อวงศ์ : FABACEAE

รูปลักษณะ : มะขาม เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง มีลายสีม่วงแดง ผลเป็นฝัก มีเนื้อหุ้มเมล็ด สีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ

สรรพคุณของ มะขาม : มะขามเปียก ใช้เป็นยาถ่าย และยาแก้ไอกัดเสมหะที่เหนียวข้น เนื่องจากมีกรดอินทรีย์ เช่น กรด Trataric และกรด Citric เปลือกต้น เป็นยาสมานคุมธาตุ เนื้อในเมล็ด ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิไส้เดือน ใบและยอดอ่อน มีรสเปรี้ยว ใช้ในการอาบ อบสมุนไพร

แหรเข

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ชื่ออื่น : แกก้อง, สักขี, เหลือง, แกล, แกแล, ช้างงาต้อก, น้ำเคี่ยวโซ่, หนามเข

รูปลักษณะ : แหรเข เป็นไม้พุ่ม สูง 5-10 เมตร มียางขาว ใบเดี่ยว เรี่ยงสลับ เวียนรอบกิ่งรูปวงรี กว้าง 1-3.5 ซม. ยาว 2- 9 ซม. มีหนามแหลมออกตรงซอกใบ 1 อัน ยาวประมาณ 1 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น รูปกลม ผล เป็นผลรวม

สรรพคุณของ แหรเข : แก่น ใช้แก่นแก้ไข้รากสาด แก้ท้องร่วง บำรุงน้ำเหลือง บำรุงกำลัง บำรุงเลือด

กระท้อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr.

ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

ชื่ออื่น : เตียน, เลื่ยน, สะท้อน, มะต้อง, มะตึ๋น

รูปลักษณะ : กระท้อน เป็นไม้ยืนต้น มียางขาว สูง 15-30 เมตร ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี แกมขอบขนาน กว้าง 6-15 ซม. ยาว 8-20 ซม. เมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองหม่น ผลเป็นผลสด รูปกลมแป้น สีเหลือง ผิวมีขนแบบกำมะหยี่

สรรพคุณของ กระท้อน : เปลือก ใช้เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย

ช้าพลู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb. ex Hunter

ชื่อวงศ์ : PIPERACEAE

ชื่ออื่น : นมวา, ผักปูนา, ผักพลูนก, พลูลิง

รูปลักษณะ : ช้าพลู เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-80 ซม. มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ รูปทรงกระบอก ดอกย่อยแยกเพศ ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ ช้าพลู : ต้น ใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม การทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัด ทั้งต้นมีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และคลายกล้ามเนื้อ

ฝิ่นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jatropha multifida Linn.

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น : มะละกอฝรั่ง, มะหุ่งแดง

รูปลักษณะ : ฝิ่นต้น เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้ง สูง 2-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่กว้างแกมรูปโล่ กว้าง 15-20 ซม. ยาว 18- 25 ซม. แยกเป็นแฉกๆ คล้ายใบมะละกอ ดอกช่อแยกแขนง แบบเชิงหลั่น ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีแดง ผลแห้ง รูปไข่กลับกว้าง มี 3 พู แตกได้เมื่อสุกสีเหลือง

สรรพคุณของ ฝิ่นต้น : เปลือก ใช้เปลือกที่มีรสฝาด ปรุงกินเป็นยาคุมธาติ แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน

ฟ้าทะลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees.

ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่ออื่น : ฟ้าทะลายโจร, หญ้ากับงู, น้ำลายพังพอน

รูปลักษณะ : ฟ้าทะลาย เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม. ทั้งต้นมีรสขม ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งออกเป็นพุ่มเล็ก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. สีเขียวเข้ม เป็นมัน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแยกออกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ปากล่างมี 2 กลีบ ผลเป็นฝัก สีเขียวอมน้ำตาล ปลายแหลม เมื่อผลแก่จะแตกเป็นสองซีก ดีดเมล็ดออกมา

สรรพคุณของ ฟ้าทะลาย : ใบและทั้งต้น ใช้เฉพาะส่วนที่อยู่บนดิน ซึ่งเก็บก่อนที่ดอกจะบาน เป็นยาแก้ไข้ แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย เป็นยาขมเจริญอาหาร ขนาดที่ใช้คือ พืชสด 1-3 กำมือ ต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง หรือใช้พืชแห้งบดเป็นผงละเอียด ปั้นเป็นยาลูกกลอน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. กินครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน สำหรับผงฟ้าทะลายที่บรรจุแคปซูลๆ ละ 500 มิลลิกรัม ให้กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น อาการข้างเคียงที่อาจพบคือ คลื่นไส้

สายน้ำผึ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Japanese Honey-suckle, Lonicera japonica Thunb.

ชื่อวงศ์ : CAPRIFOLIACEAE

รูปลักษณะ : สายน้ำผึ้ง เป็นไม้เถาเลื้อยพัน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 3-6 ซม. ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก สีครีมแล้ว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ผลเป็นผลสด รูปกลม เมื่อสุกมีสีดำ

สรรพคุณของ สายน้ำผึ้ง : ต้น ใช้ทั้งต้นแก้บิด ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด ลำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะรักษาฝี แผลเปื่อย มีการทดลองกับผู้ป่วย พบว่ามีฤทธิ์แก้ท้องเสีย

ข่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Siamese Rough Bush, Tooth Brush Tree, Streblus aspera Lour.

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ชื่ออื่น : กักไม้ฝอย, ส้มพอ

รูปลักษณะ : ข่อย เป็นไม้ยืนต้น มีน้ำยางขาว สูง 5-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ผิวใบสากคาย ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกตัวผู้เป็นช่อกลม ช่อดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกมี 2-4 ดอกย่อย กลีบดอกสีเหลือง ผลสด รูปไข่ เมื่อสุกสีเหลือง

สรรพคุณของ ข่อย : เปลือกต้น แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล หุงเป็นน้ำมันทารักษาริดสีดวงทวาร รักษารำมะนาด แก้ท้องร่วง เมล็ด ผสมกับหัวแห้วหมู เปลือกทิ้งถ่อน เปลือกตะโกนา ผลพริกไทยแห้งและเถาบอระเพ็ด ดองเหล้าหรือต้มน้ำดื่ม เป็นยาอายุวัฒนะ

1.ทิวลิป

ทิวลิป เป็นดอกไม้เมืองหนาวที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของฮอลแลนด์ มีอยู่หลายสี ดอกทิวลิปจะปลูกได้ต้องใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม คือไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส แม้ว่าทิวลิปจะเป็นดอกไม้ที่ทำให้นึกถึงฮอลแลนด์ แต่ทั้งดอกไม้และชื่อมีที่มาจากจักรวรรดิเปอร์เชีย ทิวลิปหรือ “lale” เช่นเดียวกับที่เรียกกันในตุรกี เป็นดอกไม้ท้องถิ่นของตุรกี, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และบางส่วนของเอเชียกลาง แม้ว่าจะไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้นำทิวลิปเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปแต่ที่สำคัญคือตุรกีเป็นผู้ทำให้ทิวลิปมีชื่อเสียงที่นั่น เรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ Oghier Ghislain de Busbecqไปเป็นราชทูตของสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนักของสุลต่านสุลัยมานมหาราชแห่งจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1554 Busbecq บรรยายในจดหมายถึงดอกไม้ต่างๆ ที่เห็นที่รวมทั้งนาร์ซิสซัส ดอกไฮยาซินธ์ และทิวลิปที่ดูเหมือนจะบานในฤดูหนาวที่ดูเหมือนผิดฤดู (ดู Busbecq, qtd. in Blunt, 7) ในวรรณคดีเปอร์เชียทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ต่างก็ให้ความสนใจกับดอกไม้ชนิดนี้ คำว่า “tulip” ที่ในภาษาอังกฤษสมัยแรกเขียนเป็น “tulipa” หรือ “tulipant” เข้ามาในภาษาอังกฤษจากฝรั่งเศสที่แผลงมาจากคำว่า “tulipe” และจากคำโบราณว่า “tulipan” หรือจากภาษาลาตินสมัยใหม่ “tulpa” ที่มาจากภาษาตุรกี “tlbend” หรือ “ผ้ามัสลิน” (ภาษาอังกฤษว่า “turban” (ผ้าโพกหัว) บันทึกเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และอาจจะมาจากภาษาตุรกีอีกคำหนึ่งว่า “tlbend” ก็เป็นได้

2.ฟาแลนนอปซิสพันธุ์

ฟาแลนนอปซิสพันธุ์แท้จะมีดอกขนาดค่อนข้างเล็กจึงมีการปลูกเลี้ยงกันไม่มาก แต่ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลฟาแลนนอปซิส ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์จนทำให้ได้ดอกที่สวยงาม ทั้งรูปทรงและสีของดอก เช่น ดอกกลมใหญ่ กลีบดอกหนา ดอกมีหลากหลายสีและมีลวดลายแปลกตา ฟาแลนนอปซิสมีดอกที่สวยงาม เลี้ยงง่าย โตเร็ว อีกทั้งยังสามารถนำมาผสมพันธุ์ได้หลายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นลูกผสมในสกุลฟาแลนนอปซิสด้วยกัน หรือผสมกับสกุลอื่น เช่น สกุลม้าวิ่ง (Doritis) สกุลแวนด้า (Vanda) สกุลรีแนนเธอรา หรือสกุลแมลงปอ (Arachnis) และยังพัฒนาสายพันธุ์เพื่อผลิตเป็นการค้าได้อีก สามารถนำดอกของฟาแลนนอปซิสมาเป็นดอกไม้ประดับแจกันหรือเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญๆ จึงทำให้มีผู้คนนิยมปลูกเป็นจำนวนมาก

การปลูกเลี้ยงฟาแลนนอปซิส ฟาแลนนอปซิสเป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ใบค่อนข้างหนาซึ่งต้องระวังในเรื่องความชื้นที่มีมากไปก็จะทำให้ต้นและใบ เน่าได้ง่าย สามารถปลูกลงกระถางโดยการปลูกจะต้องให้โคนต้นและรากส่วนบน อยู่เหนือเครื่องปลูกขึ้นมา แต่อยู่ต่ำกว่าระดับขอบกระถาง ซึ่งจะดูสวยงามและป้องกันไม่ให้โคนต้นและโคนใบได้รับความชื้นมากเกินไปจนทำให้เน่า ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกประมาณเดือนมีนาคม หรือก่อนเข้าฤดูฝน เพราะถ้าปลูกหลังจากที่เข้าฤดูฝนแล้วอากาศมีความชื้นสูง อาจทำให้กล้วยไม้อวบน้ำมากเกินไปจนเน่าได้ ดังนั้นจึงต้องควบคุมเรื่องน้ำและความชื้นค่อนข้างมาก หรือบางคนอาจปลูกโดยให้ต้นกล้วยไม้เกาะตอไม้หรือกิ่งไม้ก็สามารถทำได้ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดปัญหาน้ำฝนที่ตกลงมาขังในส่วนโคนต้นและใบได้ เพราะไม่มีเครื่องปลูกที่อมความชื้นไว้ น้ำที่ขังอยู่ที่ใบก็จะระเหยออกไปอย่างรวดเร็ว

3.บีโกเนีย

บีโกเนียเป็นพืชสกุลใหญ่ จึงแบ่งออกเป็นพวกๆ โดยอาศัยรูปร่างของส่วน สะสมอาหารหรือรากเป็นหลักได้ดังนี้ คือ

1. บีโกเนียชนิดที่มีรากฝอย (Fibrous – rooted begonia) มีใบสีเขียวและสีน้ำตาลเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อ มีทั้งสีขาว สีชมพู สีแดง และสองสี เช่น ขาวขอบแดง

2. บีโกเนียชนิดที่มีเหง้า (Rhizomatous begonia) ส่วนมากเป็นบีโกเนียที่ปลูกประดับใบ ใบมีสีสวยมีหลายแบบ เช่น รูปใบกลม รูปหัวใจ มีกลีบดอกชั้นเดียว

3. บีโกเนียชนิดที่มีหัว (Tuberous begonia) ดอกมีขนาดใหญ่ มีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกซ้อน

ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกตลอดปี การปลูก: ปลูกเป็นพืชคลุมดิน เป็นไม้กระถาง หรือ ไม้ในภาชนะแขวนก็ได้ การดูแลรักษา: ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วนซุย บริเวณที่มีแสงแดดรำไร รดน้ำปานกลาง อย่าให้แฉะ และควรรดปุ๋ยทางใบ ทุกๆ 2 สัปดาห์ ไม่ชอบอากาศหนาวเย็น

4.กุหลาบหนู

กุหลาบหนู เป็นกุหลาบที่มีความสวยงามน่ารักและสดใส เป็นไม้พุ่ม สูง 20 - 50 เซนติเมตร ลำต้นมีหนาม ใบประกอบออกสลับ ใบย่อย 5 ใบ เป็นรูปรี ขอบหยัก ปลายแหลม โคงมน หูใบติดกับก้านใบ สีเขียวสด ดอก มีหลายสี เช่น สีแดง สีขาว สีชมพู และดอกเดียว 2 สี ออกเป็นดอกเดี่ยวๆที่ปลายยอด กลีบดอกมีทั้ง ชั้นเดียวและหลายชั้น มีกลีบดอกห้ากลีบ เกสรตัวผู้และตัวเมียแยกที่อยู่กัน ชนิดสองสี ปลาบกลีบดอก เป้นสีแดง โคนกลีบดอกเป็นสีขาว เวลาออกดอกบานจะดูสวยงามสดใสมาก ออกดอกตลอดทั้งปีกุหลาบหนูเป็นไม้กลางแจ้ง ปลูกได้ทั้งลงดินและปลูกลงกระถาง เป็นไม้ชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ถ้าปลูกลงดินควรยกแปลงปลูกให้สูง ปลูกในกระถางควรทำทางระบายน้ำใหัไหลดี ตั้งในที่ที่มีแดดส่อง ถึงทั้งวันดินปลูกเพิ่มฟางแห้งหั่น ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก แกลบดำ แกลบดิบ คลุกให้เข้ากัน จากนั้นนำต้นลง ปลูก กลบดินโคนต้นให้แน่น ใช้ฟางแห้งคลุมหน้าดินไว้ บำรุงปุ๋ยขี้วัวขี้ควายแห้งโรยตามหน้าดิน 15 วัน ครั้ง จะทำให้ โตเร็วและมีดอกสวยงาม

5.อาซาเลีย

อาซาเลียเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนที่อยู่ในเขตร้อน แต่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากและมีอากาศเย็นตลอดปี จึงเป็นการยากที่จะทำการปลูกเลี้ยงในพื้นที่ราบที่มีอุณหภูมิสูง แต่ก็มีบางพันธุ์ที่พอจะสามารถปรับตัวให้อยู่รอดและเจริญเติบโตผลิดอกได้ในสภาวะดังกล่าว แต่อาจจะต้องมีการปรับสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ เพื่อให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของอาซาเลีย

อาซาเลียเป็นพืชที่มีรากขนาดเล็กและบอบบางมาก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องดูแลเรื่องเครื่องปลูกเป็นอย่างดี เครื่องปลูกจะต้องอุ้มน้ำได้ดี ร่วนซุย และระบายน้ำได้ดีด้วยเพราะถ้าเครื่องปลูกแน่นมากรากจะชอนไชในเนื้อดินหรือเครื่องปลูกไม่ได้ทำให้ไม่เจริญเติบโต ที่สำคัญอาซาเลียเป็นพืชที่ชอบเครื่องปลูกที่มีสภาพความเป็นกรด ตามตำราต่างประเทศนั้นระดับความเป็นกรดของเครื่องปลูกที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของอาซาเลียอยู่ที่ 4.5-6.0 ดังนั้นในต่างประเทศการปลูกเพื่อจำหน่ายมักจะใช้พีทมอสเป็นเครื่องปลูกเนื่องจากว่ามีสภาพความเป็นกรด แต่จากประสบการณ์ เราสามารถหาเครื่องปลูกในบ้านเราแทนได้ ได้แก่ หน้าดินที่มีฮิวมัสสูงผสมกับแกลบ ขุยมะพร้าว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ส่วนผสมอัตราส่วนเท่าไรก็ได้ตามที่เมื่อผสมมาแล้วได้เครื่องปลูกที่ร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และระบายน้ำได้ดีเป็นใช้ได้

6.รักเร่

รักเร่ เป็นพันธุ์ไม้ดอกที่มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก โคลัมเบีย และทั่วไปในทวีปอเมริกากลาง ดอกมีรูปทรงและสีสรรสวยงามสะดุดตา ก้านดอกแข็งแรง นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เช่นเดียวกับกุหลาบ แต่ในประเทศไทยไม่นิยมปลูก เนื่องมาจากมีชื่อที่ไม่เป็นมงคล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ รักเร่เป็นไม้พุ่ม รากมีลักษณะคล้ายหัว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ดอกเป็นแบบเดียวกับเบญจมาศ ก้านดอกยาวแข็งแรง กลีบดอก แบ่งออกเป็น 2 ตอน กลีบดอกชั้นนอกนี้แผ่กว้างออก หรืออาจจะห่อเป็นหลอดก็ได้แล้วแต่ชนิดของดอก มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบรองดอก ด้านในเป็นแผ่นบาง ๆ เรียงกันเป็นระเบียบติดอยู่กับฐานของดอก ส่วนกลีบรองดอกด้านนอบเล็กกว่าด้านใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ ดอกมีหลายสี เช่น ชมพู น้ำเงิน ขาว แดง แสด ส้ม ม่วง และเหลือง เป็นต้น การดูแล และการขยายพันธ์ รักเร่ชอบขึ้นในที่กลางแจ้งแดดจัด แต่มีความชื้นพอเพียง ควรปลูกในดินที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี บางครั้งจำเป็นต้องหาวัสดุคลุมดินให้รักเร่ เช่น ฟาง ใบไม้แห้ง หรือเปลือกถั่ว เป็นต้น สำหรับการขยายพันธุ์รักเร่นั้น สามารถเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ต่อกิ่ง หรือใช้ราก เมื่อต้นให้ดอกแล้วต้นจะแก่และโทรมไปในที่สุด โดยจะทิ้งรากที่เป็นหัวไว้ในดิน ให้ตัดต้นเหนือระดับดินประมาณ 3 นิ้ว เพราะส่วนของตาที่จะเจริญเป็นต้นใหม่จะอยู่บริเวณโคนต้น แล้วจึงขุดหัวขึ้นมาจากดิน ประโยชน์ หัวใต้ดิน นำมาต้มกับหมูรับประทานแก้โรคหัวใจ แก้ไข้ต้น น้ำคั้นจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ ฆ่าเชื้อ Staphylococcus แต่สำหรับใบรักเร่ บางพันธุ์มีพิษ ไม่นิยมรับประทาน

7.แกลดิโอลัส

แกลดิโอลัส (อังกฤษ: Gladiolus) จัดเป็นพืชหัว (Corm) เมื่อปลูกแล้วจะเกิดหัวใหม่ขึ้นแทนหัวเก่า สามารถใช้ขยายพันธุ์ ได้ต่อไป และยังมีหัวย่อยเกิดขึ้นอีกมากมาย ปัจจุบันนี้มีการผลิตหัวย่อยได้ผลดีที่ภาคเหนือของประเทศไทย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

1.แกลดิโอลัส แกรนดิฟลอรัส (Gladiolus grandiflorus) เป็นชนิดต้นใหญ่ ช่อดอกอวบยาว และแข็งแรง ดอกใหญ่เรียงชิดกัน ช่อดอกหนึ่ง ๆ อาจมีดอกถึง 20 ดอก และดอกบานพร้อมกันประมาณ 5-7 ดอก

2.แกลดิโอลัส พรายมูลินัส (Gladiolus primulinus) เป็นชนิดต้นเล็ก ช่อดอกเล็กยาวเรียว ดอกเล็กเรียงห่างกัน จำ นวนดอกในช่อน้อย มีลักษณะพิเศษคือ กลีบบนชั้นในงุ้มงอปรกเกสร

3.แกลดิโอลัส ทูเบอเจนนิอาย (Gladiolus tubergenii) เป็นชนิดที่ต้นและดอกเล็ก แต่ดอกในช่อเรียงชิดกันใช้ในการผสมเพื่อผลิตแกลดิโอลัสพันธุ์ดอกจิ๋ว

4.แกลดิโอลัส โควิลลีอาย (Gladiolus covillei) เป็นลูกผสมระหว่าง แกลดิโอลัส คาร์ดินาลิส (Gladiolus cardinalis) ซึ่งเป็นชนิดที่มีต้นสูงใหญ่ ดอกสีแดง กับแกลดิโอลัส ทริสติส (Gladiolus tristis) ซึ่งเป็นชนิดดอกเล็ก สูงไม่เกิน 60 ซม. ใน 1 ช่อมีเพียง 2-4 ดอก มีสีขาวหรือครีม และมีสีม่วงหรือสีนํ้าตาลปนอยู่เป็นเส้น

5.แกลดิโอลัส นานุส (Gladiolus nanus) เป็นประเภทหนึ่งของพันธุ์โควิลลีอายที่ต้นมีขนาดเล็ก ช่อดอกเล็กเรียวยาว ขนาดดอกเล็กบอบบาง มีสองสีในแต่ละกลีบจำ นวนดอกในช่อน้อยและ ดอกจะบานพร้อมกันคราวหนึ่งเพียง 1-2 ดอก ในแต่ละช่อ

8.กุหลาบ

กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ปลูกกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น

กุหลาบสามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ขนาดดอก สีดอก ความสูงต้น และจำแนก ตามลักษณะของดอก เป็นต้น ในที่นี้ได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ทางการค้าในตลาดโลกเป็น 5 ประเภทดังนี้

1.กุหลาบดอกใหญ่ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses

2.กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses)

3.กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses) สด

4.กุหลาบดอกช่อ (spray roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ให้ผลผลิตต่ำต่อพื้นที่ (120-160 ดอกต่อตารางเมตรต่อปี) ความยาวก้านระหว่าง 40-70 ซม. มักมี 4-5 ดอกในหนึ่งช่อ และยังมีตลาดจำกัดอยู่ เช่นพันธุ์ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น

5.กุหลาบหนู (miniature roses) มีขนาดเล็กหรือแคระโดยธรรมชาติ ความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 1 ฟุตให้ผลผลิตสูง 450-550 ดอก/ตร.ม./ปี มีความยาวก้านดอกระหว่าง 20-30 ซม. ยังมีตลาดจำกัดอยู่ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ และอิตาลี

9.ชบา

ชบา (อังกฤษ: Hibiscus เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /h??b?sk?s/[2]) หรือ “Hibiscus” ประกอบด้วยพืชที่เรียกชื่อเดียวกัน แต่บางครั้งก็เรียกว่า “rosemallow” หรือ “jamaica” ชบามีด้วยกันราว 200 ถึง 230 สปีชีส์ ที่เป็นพืชดอกของวงศ์Malvaceae ชอบอากาศอุ่นในกึ่งเขตร้อนและเขตร้อนทั่วโลก ไม้ตระกูลนี้รวมทั้งพืชปีเดียวและพืชยืนต้น เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดย่อม

ลักษณะทั่วไป ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย

10.พุดตาน

พุดตาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus mutabilis L.; ชื่อสามัญ: Dixie rosemallow; Cotton rose; Confederate rose) พุดตานเป็นไม้พุ่มเตี้ย ตามต้นและกิ่งมีขน ใบมีลักษณะคล้ายใบฝ้าย ขนาดใหญ่ ขอบใบหยัก ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายดอกชบาซ้อน บานในตอนเช้า เมื่อแรกบานจะมีสีขาว เมื่อสายจะเปลี่ยนสีเป็นสีชมพู และเป็นสีชมพูเข้มในตอนบ่าย ออกดอกดกตลอดทั้งปี ต้นพุดตาน ชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ไม่ชอบที่แฉะหรือมีน้ำขัง ปลูกได้ดีในที่ดอน ดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

11.ดอกราชาวดี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Buddleja paniculata Wall.

ชื่อวงศ์ : Loganiaceae

ชื่อสามัญ : Butterfly Bush, Byttneria, Summer lilac

ชื่อพื้นเมือง : ไค้หางหมา, หางกระรอกเขมร

ถิ่นกำเนิด : เขตร้อนของทวีปเอเชีย ลักษณะทั่วไป:

เป็น ไม้กิ่งเถาที่แตกกิ่งก้านสา ขามากลำต้นเป็นเหลี่ยมเล็กน้อยเ ปลือกหุ้มลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาใ บดกเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกิ่งสีเขียวกว ้าง 3ถึง 5เซนติเมตรยาว 4ถึง7เซนติเมตรหน้าใบสากคายคล้า ยกระดาษทรายละเอียดท้องใบเรียบก ว่า ขอบใบจักเป็นซี่เล็กๆโดยตลอด ใบทรงรูปไข่ปลายค่อนข้างแหลม ฤดูการออกดอก : ออกดอกเป็นระยะตลอดปี

12.ดอกเอื้องหมายนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Costus speciosus Smith

วงศ์ Costaceae

ชื่อสามัญ crape ginger, malay ginger, spiral flag.

ชื่อ อื่นๆ เอื้องหมายนา (ทั่วไป) ; ชู้ไลบ้อง, ชูเลโบ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน ; เอื้องช้าง (นครศรีธรรมราช) ; เอื้องต้น (ยะลา) ; เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง) ; เอื้องใหญ่, บันไดสวรรค์ (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป

เป็น พืชมีหัว ลำต้นกลมอวบนำสูง 1.5-2.5 เมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว บริเวณโคนต้นติดหัวแข็งคล้ายไม้ ใบออกเรียงกันเป็นเกลียวคล้ายก้นหอย ตัวใบยาวเรียวแหลมฐานใบมน โคนใบมีขนและมีส่วนหุ้มรอบลำต้นออกดอกเป็นช่อ ที่ยอด ดอกย่อยรวมกันอยู่หนาเน่น ใบประดับสีม่วงแดงลักษณะรูปไข่ แต่ละใบประดับมีดอกย่อย 1 ดอก ดอกย่อยมีกลีบ เลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็นกลีบ ลักษณะกลมปลายมนสีขาวหรือออกแดงเล็กน้อย ส่วนอีก กลีบหนึ่งลักษณะคล้ายลิ้น เป็นแผ่นสีขาวตรงกลางสีเหลือง ขอบหยักเป็นคลื่น ผลกลมมีเนื้อแข็งสีแดง เมล็ดสีดำเป็นมัน เอื้องหมายนาชอบขึ้นในที่ชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ บริเวณเชิงเขาตามนำตก และริมทางน้ำ

สรรพคุณ

เหง้า รสฉุน เย็นจัด มีพิษ ใช้ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ สตรีตกขาวเละโรคที่ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แผลอักแสบบวมมีหนอง ฆ่าพยาธิและทำให้แท้ง

13.ดอกทิวา

ชื่อ วิทยาศาสตร์ Cestrum Diurnum L. ตระกูล Solanaceae ชื่อสามัญ Day Cestrum ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะอินดีสตะวันตก ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 - 5 เมตร แตกกิ่งยืดยาวจำนวนมาก เป็นไม้ดอกหอมสกุลเดียวกับราตรี คนไทยรู้จักกันมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี ออกดอกดกส่งกลิ่นหอมฟุ้ง ใบมีลักษณะรูปรีแกมใบหอก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกเล็ก มี 5 - 6 กลีบ ปลายกลีบม้วนออกกลิ่น หอมตอนกลางวัน เมล็ดแก่เป็นสีดำซึ่งต่างจากราตรีที่เป็นสีขาว

14.ดอกพลับพลึงตีนเป็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenocallis littoralis Salisb.

ตระกูล AMARYLLIDACEAE

ชื่อสามัญ Spider lily

ลักษณะทั่วไป

ไม้ พุ่มขนาดเล็ก มีหัวใต้ดินลักษณะเป็นกลีบๆเรียงเวียนเป็นวงซ้อนอัดแน่นเป็น ลำต้นเทียม เจริญเติบโตเป็นช่อชูส่วนของใบขึ้นมาเหนือดิน แตกกอ

ต้น : มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นกลมสูงประมาณ 30 ซม. ใบ รูปแถบแคบเรียวแหลม ออกตรงข้ามกันสองข้าง ขอบใบเรียบ อวบน้ำ

ใบ :ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่รอบต้น ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 100-120 เซนติเมตร ปลายเรียวมนถึงแหลมทู่ โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา สีเขียว เป็นมัน ปลายใบอ่อนโค้งลง

ดอก : สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มที่กลางต้น ก้านช่อดอกแข็งและค่อนข้างแบน ยาว 30-45เซนติเมตร ช่อละ 4-8 ดอก ดอกย่อยเกิดเดี่ยวๆ บนปลายก้านดอกย่อย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปเรียว ยาว กลีบดอกโคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก มีส่วนที่ยื่นออกมาเป็นรูปแถบเรียวเล็ก ดอกบานเต็มที่กว้าง 8-10 เซนติเมตร

15.ดอกพุดดงหนำเลี้ยบเทียม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kopsia jusminiflora Pitard วงศ์ : Apocynaceae

ชื่ออื่นๆ : เข็มบุษบา พุดดง มะดีควาย หนำเลี๊ยบเทียม

ลักษณะทั่วไป :

ไม้พุ่มขนาดเล็ก เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ทุกส่วนมีน้ำยางขาว

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 8-10 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียว แหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน

ดอก : สีขาว กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ใบประดับ 1 คู่ ออก ตรงข้าม รูปแถบยาว แต่ละช่อย่อยมีดอกย่อย 3 ดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบมีขนาดไม่เท่ากัน ตรงโคนสีแดงส้ม มีขน ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปขอบขนาน ปลายมน ดอกกลางบานก่อนดอกบานเต็มที่กว้าง 2.5-4.0 เซนติเมตร

ผล : ผลสด รูปกระสวยมักออกเป็นคู่ เมื่อสุกสีม่วงดำ

16.ดอกหิรัญญิการ์

ชื่อวิทยาศาสร์ Beaumontia brevityba. Oliv. ตระกูล APOCYNACEAE ชื่อสามัญ Nepal Trumpet

ลักษณะทั่วไป

ต้น หิรัญญิการ์เป็นไม้เถาใหญ่เนื้อแข็ง ทุกส่วนของลำต้นหรือเถาจะมียางสีขาว ส่นยอดหรือส่วนอื่นๆ ที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนสีน้ำตาลอมแดงขึ้นปกคลุม หิรัญญิการ์มักเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่นและสามารถ เลื้อยไปได้ไกลประมาณ 15 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาแผ่เป็นพุ่มแน่นเฉพาะส่วนยอดหรือ บริเวณที่ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ใบ หิรัญญิการ์เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้นลักษณะใบหยาบยาวหนา รูปใบมน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบเรียบ เกลี้ยง ไม่มีจัก ใบมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และ กว้างป ระมาณ 4-6 เซนติเมตร ใบด้านบนเป็นมัน

ดอก ดอกหิรัญญิการ์มีขนาดใหญ่ สีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะคล้ายถ้วย ตอนปลายของดอกจะบานกว้างมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ติดอยู่กับเนื้อบริเวณ โคนกลีบ มีลักษณะเป็นเส้นยาว แยกออกจากกัน คือจะมีเกสรติดอยู่กลีบละ 1 อัน หนึ่งดอกมีเกสร ตัวผู้อยู่ 5 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กซ่อนอยู่ข้างในดอก ดอกเมื่อบานเต็ม ที่จะมีความกว้างประมาณ 8 เซนติเมตรและยายประมาณ 13 เซนติเมตร ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกตั้ง แต่ 6-15 ดอก ดอกจะผลัดกันบานครั้งละประมาณ 4 ดอก

17.ดอกพุดจีบ

ชื่อสามัญ : East Indian Rosebay Crepe Jasmine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ervatamia eornaria Stapf

วงศ์ : APOCYNACEAE

ชื่อพื้นเมือง : พุดสวน พุดสา พุดป่า

ลักษณะทั่วไป :

พุด จีบเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑.๕- ๓เมตรแตกกิ่งก้าน สาขามาก ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยวรูปหอกออกเป็นคู่ ู่ตรงข้าม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน หน้าใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ดอกออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่งฝักปลายแหลมและโค้ง มีกลิ่นหอมแรง เวลาเช้าถึงสาย

การขยายพันธุ์ : ปักชำกิ่ง หรือเพาะเมล็ด

ลักษณะเด่น : ออกดอกตลอดปี

18.ดอกสร้อยสายเพชร

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum wallichii Merr.

ชื่อสามัญ Nodding Clerodendron

วงศ์ LABIATAE

ชื่ออื่น ระย้าแก้ว/สร้อยระย้า/สร้อยสายเพชร/สังวาลย์พระอินทร์/ตุ้มหูพระอินทร์ ลักษณะทั่วไป

เป็น ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบดอกออกเป็นช่อตามยอด หรือที่ปลายกิ่ง ก้านดอกยาวประมาณ 25 ซม.ก้านดอกเล็กเรียวคล้ายเส้นด้าย กลีบรองดอกรูประฆัง สีแดง กลีบดอกมีสีขาวปลายแยก 5 กลีบ ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนไปจนถึงหน้าหนาว ประมาณเดือน ธันวาคม-มกราคม ระยะการบานของดอกนานเป็นเดือน ช่อดอกจะบาน และยาวออกมาเรื่อยๆ จนยาวเป็นเมตรจนกว่าจะบานหมด

19.ดอกชมนาด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Vallaris solanacea Kize

ตระกูล APOCYNACEAE

ชื่อสามัญ Bread Flower

ลักษณะทั่วไป

ต้น ชำมะนาดป่าเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ลำต้นมีความสูงโดยประมาณ 7 เมตรเศษ ๆ และมีน้ำยางสีขาว ลำต้นจะเป็นสีเขียวคล้ำ ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ใบจะมีการเรียงตัวกันเป็นคู่ออกตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ส่วนโคนใบก็แหลมเช่นกัน ใบจะมีความ กว้างประมาณ 4 เซนติเตร และยาวประมาณ 14 เซนติเมตร เนื้อใบบางและมีเส้น ใบประมาณ 10-12 คู่ ก้านใบยาว ดอก ออกดอกที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นช่อพวง หรือในบางครั้งดอกก็อาจจะออกตามง่ามใบ ด้วย ดอกจะเป็นสีขาวมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ภายในดอกหนึ่ง ๆ จะมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 5 อัน ที่ก้านเกสรจะมีขน ส่วนเกสรตัวเมีย จะมีอยู่ 2 ช่องติดกัน และท่อเกสรตัวเมีย ก็จะมีขนด้วย

20.ดอกหีบไม้งาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carissa macrocarpa (Ecklon) A.DC. 'Boxwood Beauty'

ชื่อวงศ์ : Apocynaceae

ชื่อสามัญ : Boxwood beauty, Natal plum

ลักษณะ ทั่วไป : ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามปลายแหลมแยกเป็น 2 แฉก ยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร ออกตามข้อ ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางขาว

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากซ้อนกันถี่ ใบรูปไข่เกือบกลม กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-6.5 เซนติเมตร ปลายใบมนมีติ่งหนามสั้น โคนใบรูปหัวใจหรือตัด ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา แข็ง ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีเขียวอ่อน

ดอก : สีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อละ 1-3 ดอก กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 2-3 เซนติเมตร

ผล : ผลสดแบบมีเนื้อ ทรงกลมแป้นเล็กน้อย ขนาด 2-4 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดงปนดำ มี 6-10 เมล็ด

21.ดอกสร้อยฟ้า

ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora x alatocaeruleac Lindley. ชื่อ วงศ์: PASSIFLORACEAE ลักษณะทั่วไป: ต้น ไม้เถาเลื้อยเถาใหญ่มีมือเกาะ ลำต้นทอดเลื้อยได้ 2-3 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว ขอบใบเว้าลึกเป็น3 แฉก ปลายใบแหลม โคนเว้า ขนาดใบกว้าง 7-10 ซม. ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบสีม่วงมีกลิ่นหอม มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มี ระยางสีม่วงเรียงซ้อนกันหลายชั้น เมล็ด มีเมล็ดจำนวนมาก ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกตลอดปี การขยายพันธุ์: ใช้กิ่งตอน ปักชำ หรือเมล็ด

22.ดอกลำโพงกาสลัก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Datura fastuosa L.

ชื่อสามัญ: Thorn Apple

ลักษณะทั่วไป

เป็น พืชล้มลุก ประเภทเดียวกับมะเขือ ชื่อพื้นเมืองเช่น มะเขือบ้าดอกดำ เมื่อโตเต็มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้น กิ่ง และก้านใบมีสีม่วงเข้มดำมัน

ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่ สีเขียวเข้ม เรียงสลับกัน กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันหยาบๆ ฐานหรือโคนใบมักไม่เสมอกัน

ดอก: มีสีม่วง ขนาดของดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น เมื่อดอกโตเต็มที่ปากดอกจะบานออกดูคล้ายรูปแตร ขนาดของดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น ดอกมักจะซ้อนกัน 3 ชั้น เป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นพันธุ์ผสม ดอกจะซ้อนกัน 2 และ 4 ชั้น

ประโยชน์:

ใช้ เป็นยาสมุนไพร โดยเมล็ดใช้หุงทำน้ำมันใส่แผล แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน, ใช้ใบสดตำพอกฝี แก้ปวดบวมอักเสบ ใบและยอด มีแอลคาลอยด์ hyoscyamine และ hyoscine ใช้แก้อาการปวดท้องเกร็ง และขยายหลอดลม ใช้แก้หอบหืดได้และดอกใช้สูบเพื่อแก้อาการหอบหืดได้

23.ดอกยี่เข่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagerstroemia indica L.

ชื่อวงศ์: Lythraceae

ชื่อสามัญ Crape myrtle, Indian lilac, Crape flower

ชื่ออื่นๆ คำฮ่อ

ลักษณะทั่วไป

ไม้ พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ แผ่กว้าง บางครั้งมีลักษณะเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลเป็นมัน มีสะเก็ดสีขาวลอกเป็นแผ่น

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-4.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบผิวใบด้านบนสีเขียวเช้มมีขนสากตามเส้นกลางใบและเส้นใบ ผิวใบด้านล่างสีเขียว อ่อนกว่าก้านใบสั้น

ดอก สีขาว ชมพู และม่วง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอก 6 กลีบปลายกลีบดอกแผ่กว้างเป็นลอนคลื่นโคนกลีบเรียว ดอกบานเต็มที่กว้าง 3-5 เซนติเมตร

ผล ผลเเห้งแตก รูปถ้วย เปลือกเเข็ง มีเมล็ดจำนวนมาก

24.ดอกระฆังทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chrysothemis pulchella (Donn ex Sims) Decne

ชื่อวงศ์ : Gesneriaceae

ลักษณะทั่วไป :ไม้คลุมดิน ลำต้นและใบอวบน้ำ ลำต้นกิ่งก้านและใบมีขนสั้นๆปกคลุม

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 10-12 เซนติเมตร ยาว 15-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักซี่ฟัน แผ่นใบย่น ผิวใบสีน้ำตาลแดงอมเขียว

ดอก : สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีแดงส้ม โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก สั้นๆ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉกกลมมน ดอกบานเต็มที่ กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร

การใช้งานด้านภูมิทัศน์

: ปลูกประดับสวนในพื้นที่เฉพาะใกล้ที่นั่ง หรือศาลาเพราะดอกเด่น แต่พุ่มใบเปราะหักง่ายไม่เหมาะกับบ้านที่ มีสุนัขหรือในที่สาธารณะ ถ้าดินแฉะต้นจะเน่าตาย ชอบอากาศร้อน

25.ดอกหมวกจีน

ชื่อ วิทยาศาสร์ Holmskioldia Sanguinea. Retz. ตระกูล VERBENACEAE ชื่อสามัญ Chinese Hat Plant, Cup and Saucer Plant. Parasol Flower.

ลักษณะทั่วไป

ต้น หมวกจีนเป็นไม้กึ่งต้นกึ่งเลื้อย หรือไม้รอเลื้อยแบบเดียวกับต้นเฟื่องฟ้า ลำต้นและกิ่งก้าน เป็นลำสี่เหลี่ยม มีความสูงประมาณ 30 ฟุต ใบ หมวกจีนเป็นไม้เดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นทรงรีรูปใบพลู โคนใบมน ปลายใบเป็นติ่งแหลมยาว ริมใบเป็นจักเล็กน้อย ใบจะมีความยาวประมาณ 4 นิ้ว มีก้านใบสั้นประมาณ 2 เซนติเมตร ดอก เมื่อยามหมวกจีนออกดอกจะมีสีสันราวกันต้นไม้แฟนซี ดอกจะสะพรั่งไปทั้งต้น ดอกจะมีสี เหลือง สีส้ม สีแดง ไล่จากสีอ่อนไปหาสีแก่ลักษณะของดอกที่มองเห็นโดยรวม จะเห็นเป็น แผ่นกลมทรงหมวกจีน ซึ่งเป็นใบประดับของหมวกจีนนั่นเอง และหากจับดูก็จะรู้สึกคล้าย กับ ว่าเป็นวัสดุที่ทำด้วยหนังหรือแผ่นยางอ่อน ๆ อะไรทำนองนั้น และยังสามารถทนแดด ทนลม และทนต่อการกระทบกระทั่งได้เป็นอย่างดี หมวกจีนจะออกดอกเป็นช่อตามข้อต้น โคนก้านใบและปลายกิ่ง ส่วนดอกแท้ของดอกจีนนั้น จะอยู่ส่วนกลางของใบประดับ มีลักษณะรูปร่างคล้ายแตรฮอร์น ยื่นออกมาจากข้างใน และมีเกสรสีเหลืองยาวพ้นปากแตรออกมาอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งมีขนาดความยาวโดยประมาณ 1 เซนติเมตรเศษ เมื่อแก่ดอกก็หลุดออกจากใบประดับ พร้อมกับเกิดตุ่ม เป็นเมล็ดกลม ๆ ดิตอยู่กลางหมวกจีนแทนดอก

26.ดอกขิงม่วง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dichorisandra thyrsiflora

ชื่อสามัญ Blue Ginger

วงศ์ Commelinaceae

ถิ่นกำเนิด บราซิล

ลักษณะทั่วไป

ลำ ต้นตั้งตรง สูงถึง 2 เมตร ใบ ใบออกสลับเป็น 2 แถว รูปใบหอกแกมรูปรี ปลายแหลม กว้าง 6-8 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อดอกออกที่ยอด เป็นช่อตั้งทรงกระบอก ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีม่วงมีเส้นใบสีม่วงดำ กลีบดอก 3 กลีบ สีม่วงโคนกลีบสีขาว ขยายพันธุ์ ตอน ปักชำ สภาวะเหมาะสม - แสงแดดช่วงเช้า ร่มรำไร - ชื้นแต่ไม่ท่วมขัง

27.ดอกอินทนิล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia macrocarpa Wall.

ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE

ชื่อสามัญ : Queen's flower, Queen's crape myrtle

ชื่ออื่นๆ จ่อล่อ, จะล่อหูกวาง บางงอ บะซะ บาเอ อินทนิล

ลักษณะทั่วไป

เป็น ไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผิวเปลือกนอกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน ดอก : ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพู หรือสีม่วง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดใหญ่ ขยายพันธุ์:โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิด: ที่ราบลุ่มริมน้ำ ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบทั่วไป

28.ดอกแอฟริกันไวโอเลต

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saintpaulia ionantha

วงศ์ : Gesneriaceae

ชื่อสามัญ : African Violet

ลักษณะทั่วไป

พันธุ์ ดั้งเดิมนั้นมีกลีบดอกชั้นเดียว และมีสีเดียวคือ สีม่วง ดอกออกเป็นช่อ ก้านดอกยาวประมาณ 7-10 นิ้ว กลีบดอก มี 5 กลีบ ใบเป็นรูปไข่ ของใบเรียบ มีขนอ่อนอยู่ทั่วไปทั้งบนใบและใต้ใบ ต่อมามีการผสมพันธุ์ปรับปรุงพันธุ์ต่าง ๆ ออกมามากมาย ทำให้ปัจจุบันนั้นมีหลายสี เช่น สีขาว ชมพู แดง ม่วง และมีทั้งที่เป็นดอกชั้นเดียวและ ดอกซ้อน นอกจากนี้ยังมีทั้งกลีบดอกเรียบ และกลีบดอกหยักด้วย

การขยายพันธุ์

เมล็ด เมล็ดของแอฟริกันไวโอเล็ตนั้นมีขนาดเล็กมาก ดังนี้นการเพาะเมล็ดจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และ การปักชำ

29.ดอกมอร์นิ่งกลอรี่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ip omoea Rorsfalliae. (L.) Roth.

วงศ์ CONVOLVULACEAE

ชื่อสามัญ Deep rose. morning glory

ลักษณะทั่วไป

ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยฤดูเดียว เถามีขนาดเล็ก ตามเถามีขนขึ้นปกคลุมจนทั่ว โดยเฉพาะ บริเวณปลายยอด ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบทั้ง 2 ข้าง หรือใบเป็นรูปหัวใจ ดอก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรืออาจจะออกเป็นกลุ่ม ๆ หนึ่ง ๆ จะมีประมาณ 5 ดอก รูปทรง ของดอกจะคล้ายกับแตร หรือคล้ายดอกผักบุ้ง มีขนาดเล็กและมีความยาวประมาณ 3 นิ้ว ดอกมีสีต่าง ๆ กัน เช่น สีม่วงอมน้ำเงิน หรือ สีม่วงปนขาว สีขาว สีแดง สีฟ้า สีชมพู

30.ดอกสาบแร้งสาบกา

ชื่อสามัญ : Goat Weed

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ageratum conyzoides Linn.

วงศ์ : COMPOSITAE

ชื่อ อื่น ๆ : เทียนแม่ฮาง (เลย), หญ้าสาบแฮ้ง (เชียงใหม่), หญ้าสาบแร้ง (ราชบุรี), ตับเสือเล็ก (สิงห์บุรี), เซ้งอั้งโซว (จีน-แต้จิ๋ว) ลักษณะ ทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีอายุเพียงปีเดียวตาย ลำต้นจะตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามาก ทั้งต้นจะมีขนปกคลุมอยู่ และเมื่อเด็ดมาขยี้ดมจะมีกลิ่นเฉพาะตัวเลย ลำต้นสูงประมาณ 1-2 ฟุต ใบ : ออกใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ แต่ตรงส่วนยอดใบจะเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อย พื้นใบมีสีเขียว และมีขนสั้น ๆ อ่อน ๆ ปกคลุมอยู่ ยาวประมาณ 2-5 นิ้ว ก้านใบมีขนปกคลุมตลอดทั้งก้าน ดอก : ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกขนาดเล็กประมาณ 6 มม. อัดตัวอยู่กันแน่น ดอกมีสีม่วงน้ำเงินหรือขาว มีอยู่ 5 กลีบ ๆ เลี้ยงสีเขียว ผล : แปลกมาก คือจะเป็นรูปเส้นตรงสีดำ ส่วนบนจะมีขนสั้นอยู่ 5 เส้น การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิดซึ่งจัดเป็นวัชชพืชชนิดหนึ่ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบ และราก สรรพคุณ : ทั้งต้น แก้ไข้ ขับระดู แก้บิด แก้ลม และแก้ช่องทวารหนักหย่อนยาน ใบ พอกแก้คัน แก้แผลเรื้อรังที่เยื่อเมือก ห้ามเลือด ทาภายนอกแก้ปวดบวม แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ น้ำต้มกินแก้ไข้ น้ำคั้นใช้หยอดตาแก้ตาเจ็บ เป็นยาทำให้อาเจียน ราก ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนนิ่ว แก้ไข้

31.ดอกแพรเซียงไฮ้

ชื่อวิทยาศาสตร์: Portulaca grandiflora Hook.f

ชื่อวงศ์: PORTULACACEAE

ชื่อสามัญ: Portulaca Rose, Rose Moss, Sun Plant

ชื่อพื้นเมือง: ดอกผักเบี้ย แดงสวรรค์ ปักเบี้ยฝรั่ง (กรุงเทพฯ)

ลักษณะ ทั่วไป: ต้น เป็นไม้ดอกคลุมดิน สูงประมาณ 0.2 เมตร ลำต้นและใบอวบน้ำ ใบ ใบเดี่ยวออกเวียนสลับ รูปแท่งทรงกระบอก ใบยาว 2-3 เซนติเมตร มักโค้ง ปลายแหลม ดอก ดอกมีหลายสี เช่น สีชมพู แดง เหลือง ม่วง หรือขาว บางทีลาย ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งมี 2-8 ดอก กลีบเลี้ยง 2 กลีบ รูปไข่ ยาว 0.5-1.2 เซนติเมตร กลีบดอก 4-8 กลีบ หรือมากกว่า รูปไข่กลับยาว 1.2-3 เซนติเมตร ขอบย้วย มีทั้งพันธุ์ลาและพันธุ์ซ้อน ฝัก/ผล รูปไข่เมื่อแก่แตกตามขวาง เมล็ด รูปไต ผิวค่อนข้างขรุขระ

32.ดอกพวงแสดต้น

ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Tecoma capensis (Thunb) Lindl. ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE ชื่อสามัญ : Cape Honey Suckle , Kaffir Honeysuckle ชื่ออื่นๆ พวงแสดต้น, หงอนนกยูง ลักษณะทั่วไป

ต้น : ไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเปราะ หักง่าย กิ่งอ่อนมักจะโน้มลง ทำให้เป็นพุ่มเตี้ย กิ่งก้านทอดยาว ใบ : ใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามใบย่อยมี 5 - 9 ใบ รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 2 - 3 เซนติเมตร ยาว 3 - 5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบจัก ดอก : ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อนจำนวน 10 - 30 ดอก สีส้มแดงหรือเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ และโค้งงอลง เกสรตัวผู้มี 4 อัน โผล่พ้นกลีบดอกดอกออกตลอดปี ผล : เป็นฝักกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2 - 6 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกได้ การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ดตอนกิ่งปักชำ

33.ดอกทัทิม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum L.

ชื่อวงศ์ : Punicaceae

ชื่อสามัญ : Pomegranate

ชื่ออื่น : พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (ภาคเหนือ) หมากลิง (แม่ฮ่องสอน) เซียะลิ้ว เจียะลิ้ว (จีน)

ลักษณะ : ทับทิมเป็นไม้พุ่มแตกกิ่งก้าน โคนต้นมีกิ่งที่เปลี่ยนไปเป็นหนามยาว แข็ง ใบ เดี่ยว แผ่นใบแคบ ขอบใบเป็นรูปขอบขนาน ยอดอ่อนเป็นสีแดง ใบออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน หรือใบออกสลับกัน ดอก เดี่ยว กลีบเลี้ยงหนาสีแดง จะคงทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสีแดง หรือสีเหลืองอ่อน ถ้ากลีบดอกสีแดง ผลเมื่อแก่จัดจะมีเปลือกแดงปนชมพู ปนน้ำตาลเหลือง ถ้ากลีบดอกสีเหลืองอ่อน ผลแก่จัดสีเหลืองปนน้ำตาล ผล กลมโต แล้วแต่พันธุ์ เปลือกนอกของผลหนาค่อนข้างเหนียว เปลือกด้านในสีเหลือง ภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก อัดกันแน่นเต็มเปลือก แต่ละเมล็ดมีเนื้อสีชมพู หรือสีแดงลักษณะใส มีรสหวาน หวานอมเปรี้ยว

34.ดอกดาวกระจาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Comos spp. ตระกูล Compositae ชื่อสามัญ Cosmos ถิ่นกำเนิด อเมริกากลาง

ลักษณะทั่วไป

ดาวกระจาย มีพุ่มต้นสูง 3-4 ฟุต เป็นไม้ดอกที่พบปลูกตามรั้วบ้าน และขึ้นเองทั่วไปตามริมทางเมล็ดงอกง่ายเจริญเติบโตเร็วเมื่อต้นโตเต็มที่จะ ออกดอกสะพรั่งทยอยบานนาน 4- 6 สัปดาห์จากนั้นดอกจะโรยพร้อมกับติดเมล็ดเพราะดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและ ปลายกิ่งดอกวงนอกเป็นหมันกลีบดอกมีสีต่างๆมีตั้งแต่สีชมพู ชมพูอมม่วง แดง ขาว กลีบดอกบาง มี 8 กลีบสีเหลืองถึงสมมีหลายพันธุ์เช่นพันธุ์ดอกซ้อนมีพุ่มเตี้ย ส่วนดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองปลายจักส่วนมากเป็นดอก ชั้นเดียว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก ประมาณ 3 นิ้ว

35.ดอกกุหลาบเมาะลำเลิง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pereskia bleo (Kunth) DC.

วงศ์ : Cactaceae

ชื่อสามัญ : Wax Rose

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 5 เมตร

ลำต้น โคนต้นมีเนื้อไม้ กิ่งก้านอวบน้ำ และมีหนามยาวสีน้ำตาลแดง แข็ง ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ

ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรี รูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่น ก้านใบยาว

ดอก มีสีแดงอมส้ม ออกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก เป็นช่อสั้นที่ปลายกิ่ง ดอกทยอยบาน ปลายก้านเชื่อมติดกันติดกับฐานรองดอกมีใบประดับเล็กๆ 2-5 กลีบ รูปร่างไม่แน่นอน มีทั้งสามเหลี่ยมไปจนถึงปลายเรียวแหลม กลีบเลี้ยง 2-3 กลีบ รูปไข่ กลีบดอกรูปไข่กลับ 10-15 กลีบ เรียงซ้อนกันหลายชั้น ปลายกลีบเว้าตื้นหรือมีติ่งแหลม กลีบชั้นนอกใหญ่กว่าชั้นใน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ออกดอกตลอดปี

ผล รูปกรวยแหลม ด้านบนแบน เมื่อสุกสีเหลือง

เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในโคลัมเบีย เขตร้อนของอเมริกา ปานามา ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน

ขยายพันธุ์ : ด้วยการปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง

36.ดอกคอเดีย

ชื่อ วิทยาศาสตร์ Geiger tree,cordia ตระกูล Cordia sebestena linn ชื่อสามัญ Boraginaceae ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อน

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้น สูง ประมาณ 5 - 10 เมตร ลำต้นเดี่ยว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านต่ำ กิ่งแขนงส่วนใหญ่จะตั้งฉาก กับลำต้น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลเทาถึงเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือ กลม โคนมน ผิวใบสากมือ สีเขียวสด ดอกเป็นสีแสดแดง หรือ สีส้ม ออกเป็นช่อ กระจุกที่ปลายยอด แต่ ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงเป็นเป็นรูปกรวยยาว ปลายจักเป็น 3 - 4 ซี่ กลีบดอก เป็นรูปปากแตร ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 - 7 กลีบ ขอบกลีบย้วย ผิวกลีบย่นจากโคนกลีบขึ้นไปเกือบ ถึงปลายกลีบดอก ดอกบานเต็มที่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 - 5 ซม. เวลามีดอกดกและบานพร้อมๆ กัน ช่อตั้งชูขึ้นสร้างสีสันฉูดฉาดสวยงาม น่าชมยิ่ง ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ผลเป็นรูปไข่ค่อนข้าง กลมสีขาว ดอกออกเกือบตลอดปี

37.ดอกาสะลองคำ

ชื่อ สามัญ Tree Jasmine ชื่อวิทยาศาสตร์ Radermachera ignea (Kurz) Steenis วงศ์ BIGNONIACEAE ชื่ออื่น กากี (สุราษฎร์ธานี), กาซะลองคำ (เชียงราย), แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง), จางจืด (เชียงใหม่), สะเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ) ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 6–20 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบแหลม ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก เมื่อแก่แตกเป็นสองซีกเมล็ดมีปีก ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และแยกหน่อ สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย ถิ่นกำเนิด ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ

38.ดอกบานชื่นหนู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zinnia angustifolia Kunth

ชื่อสามัญ : Narrowleaf Zinnia, Classic Zinnia

ชื่อวงศ์ : Compositae

ลักษณะทั่วไป : ไม้ดอกล้มลุก ลำต้นมีขนปกคลุม

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปแถบหรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 0.7-2 เซนติเมตร ยาว 7-9 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียว มักโค้งลง มีขนเป็นเส้น ยาว ไม่มีก้านใบ

ดอก : สีเหลืองและขาว วงในสีเหลืองเข้มถึงน้ำตาล ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง มีทั้ง ดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ดอกวงนอกมีกลีบดอกชั้นเดียว รูปรีถึงรูปไช่กลับค่อนข้างกลม 5-7 กลีบ ดอกวงใน มีกลีบดอกสีเหลืองเข้มถึงน้ำตาล เป็นหลอดอัดเเน่นอยู่กลางดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-3 เซนติเมตร

ผล : ผลแห้ง เมล็ดล่อน ปลายมีขน

39.ดอกชบาซ้อน

ชื่อ สามัญ Chinese rose ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus rosa sinensis. ตระกูล MALVACEAE

ถิ่นกำเนิด จีน อินเดียและฮาวาย

ลักษณะทั่วไป

ชบา ในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้าน ปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆ ทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความ สูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย

40.เยอบีร่า

ชื่อสามัญ : Gerbera , Barberton daisy

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gerbera jamesonii

วงศ์: Compositae

ถิ่นกำเนิด: South Africa

เยอบีร่า เป็นไม้ ดอกที่ปลูกง่าย ให้ดอกตลอดปีซึ่งสามารถจำหน่ายได้ทุกฤดูกาล ดอกของเยอบีร่านั้นมีสีสันหลากหลายและสวยสดใส จึงนิยมตัดดอกมาปักแจกันเพราะว่ามีอายุการปักแจกันนานสามารถอยู่ได้หลายวัน โดยนำมาประดับในอาคารสำนักงาน ห้องทำงาน และบ้านเรือน

เยอ บีร่าไม่ใช่จะมีเพียงแค่ความสวยงามเท่านั้น แต่ยังมีประสิทธิภาพในการดูดสารพิษภายในอาคารได้ดีอีกด้วย จึงจัดว่าเป็นไม้ดอกไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่า

ดอก เยอบีร่ามีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว มีหลากสี สดใส ทั้งสีขาวไส้ดำ สีเหลืองไส้ดำ สีชมพูไส้ดำ สีแดงไส้ดำ สีส้มไส้ดำ สีบานเย็นไส้ดำ สีครีมไส้ดำ และสีเหลืองไส้ดำ ออกดอกได้ตลอดทั้งปี นำเข้า 14 สายพันธุ์ มาจากประเทศเนเธอร์แลนด์

ลำดวน เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดศรีสะเกษ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melodorum Fruticosum Lour.วงศ์ : Annonaceae

ชื่ออื่น : หอมนวล

อินทนิลน้ำ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสกลนคร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia spesiosa (L.) Pers.

วงศ์ : Lythraceae

ชื่อสามัญ : Queen's Flower , Queen's Crape Myrtle , Pride of India

ชื่ออื่น : ตะแบกดำ อินทนิล

สะเดาเทียม เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสงขลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs

วงศ์ : Meliaceae

ชื่ออื่น : สะเดาช้าง

กระซิก เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสตูล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia parvifiora Roxb.

วงศ์ : Papilionaceae

ชื่อสามัญ : Black Wood

ชื่ออื่น : ครี้ ซิก สรี้

โพทะเล เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสมุทรปราการ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thespesia populnea ( L.) Sol.ex Correa

วงศ์ : Malvaceae

ชื่อสามัญ : Portia Tree , Cok Tree , Tulip Tree

ชื่ออื่น : ปอกะหมัดไพร ปอมัดไซ บากู

จิกทะเล เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสมุทรสงคราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia asiatica (L. ) Kurz

วงศ์ : Lecythidaceae (Barringtoniaceae)

ชื่ออื่น : โดนเล

สัตบรรณ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสมุทรสาคร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris (L.) R.Br.

วงศ์ : Apocynaceae

ชื่อสามัญ : White Cheesewood

ชื่ออื่น : ตีนเป็ด พญาสัตบรรณ หัสบรรณ

มะขามป้อม เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสระแก้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L.

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่อสามัญ : Malacca Tree , Emblic Myrabolan

ชื่ออื่น : กันโตด กำทวด

ตะแบก เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสระบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia floribunda Jack

วงศ์ : Lythraceae

ชื่ออื่น : ตะแบกนา ตะแบกไข่ เปื๋อยนา เป๋อย หางค่าง

มะกล่ำต้น เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสิงห์บุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adenanthera pavonina L.

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Red Sandalwood Tree

ชื่ออื่น : มะกล่ำตาช้าง มะหัวแดง มะโหกแดง

มะค่าโมง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสุโขทัย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Afzelia xylocarpa ( Kurz) Craib.

วงศ์ : Leguminosae

ชื่ออื่น : มะค่าใหญ่ มะค่าหลวง

มะเกลือ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสุพรรณบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff.

วงศ์ : Ebenaceae

ชื่อสามัญ : Ebony Tree

ชื่ออื่น : มักเกลือ ผีเผา

เคี่ยม เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cotylelobium melanoxylon (Hook.f) Pierre

วงศ์ : Dipterocarpaceae

ชื่อสามัญ : Resak Tembaga

ชื่ออื่น : เคี่ยมขาว เคี่ยมแดง เคี่ยมดำ

มะค่าแต้ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสุรินทร์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sindora siamensis Teijsm.& Miq.

วงศ์ : Leguminosae

ชื่ออื่น : แต้ มะค่าหนาม มะค่าหยุม

ทุ้งฟ้า เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดกระบี่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia macrophylla Wall.ex G.Don

วงศ์ : Apocynaceae

ชื่ออื่น : ทุ้งฟ้าไก่ ตีนเทียน พวมพร้าว

ไทรย้อยใบแหลม เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Focus Benjamina L.

วงศ์ : Moraceae

ชื่อสามัญ : Golden Fig, Weeping Fig

ชื่ออื่น : ไทรกระเบื้อง ไทรย้อย ไทร

ขานาง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดกาญจนบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homalium tomentosum ( Vent.) Benth.

วงศ์ : Flacourtiaceae

ชื่อสามัญ : Moulmein Lancewood

ชื่ออื่น : ค่านาง ช้างเผือกหลวง เปลือย ลิงง้อ

มะหาด เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดกาฬสินธุ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus lacucha Roxb.

วงศ์ : Moraceae

ชื่ออื่น : หาด ปาแต หาดหนุน

สีเสียดแก่น เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia catechu ( L.f) Willd.

วงศ์ : Leguminosae - Mimosoideae

ชื่อสามัญ : Catechu Tree

ชื่ออื่น : สีเสียดเหนือ สะเจ สีเสียดเหลือง

กัลปพฤกษ์ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดขอนแก่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia bakeriana Craib.

วงศ์ : Leguminosae - Mimosoideae

ชื่อสามัญ : Wishing Tree

ชื่ออื่น : กานล์

จัน เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดจันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros decandra Lour.

วงศ์ : Ebenaceae

ชื่ออื่น : จันลูกหอม จันขาว จัน อิน

อะราง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดฉะเชิงเทรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum dasyrachis ( Miq.) Kurz.

วงศ์ : Leguminosae

ชื่ออื่น : นนทรีป่า ร้าง อะล้าง ช้าชม คางรุ้ง

ประดู่ป่า เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดชลบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus macrocarpus Kurz

วงศ์ : Leguminosae

ชื่ออื่น : จิต๊อก ดู่ ประดูเสน

มะตูม เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดชัยนาท

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aegle marmelos (L.) Correa ex Roxb.

วงศ์ : Rutaceae

ชื่อสามัญ : Beal Fruit Tree

ชื่ออื่น : กะทันตาเถร ตุ่มตัง ตูม มะปีส่า

ขี้เหล็กบ้าน เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดชัยภูมิ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea ( Lam.) Irwin & Barneby

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Thai Copper Pod

ชื่ออื่น : ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กใหญ่ ยะหา

มะเดื่อชุมพร เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดชุมพร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus racemosa L.

วงศ์ : Moraceae

ชื่อสามัญ : Cluster Fig

ชื่ออื่น : มะเดื่อ มะเดื่ออุทุมพร

กาซะลองคำ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดเชียงราย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Radermachera ignea ( Kurz) Steenis

วงศ์ : Bignoniaceae

ชื่อสามัญ : Tree Jasmine

ชื่ออื่น : กากี แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น จางจืด สะเภา อ้อยช้าง ปีบทอง

ทองกวาว เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub.

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Flame of the Forest , Bastard Teak

ชื่ออื่น : กวาว ก๋าว จอมทอง จ้า จาน ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น

ศรีตรัง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดตรัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jacaranda filicifolia ( Anderson) D.Don

วงศ์ : Bignoniaceae

ชื่ออื่น : แคฝอย

หูกวาง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดตราด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa L.

วงศ์ : Tropical Almond

ชื่ออื่น : ดัดมือ หลุมปัง

แดง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดตาก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : xylia xylocarpa ( Roxb.) Taub.var.kerrii (Craib ex Hutch.) I.C.Nielsen

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Iron Wood

ชื่ออื่น : กร้อม คว้าย ไคว เพร่ จาลาน ตะกร้อม ปราน สะกรอม

สุพรรณิการ์ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดนครนายก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cochlospermum regium ( Mart.&Schrank) Pilg.

วงศ์ : Bixaceae (Cochlospermaceae)

ชื่อสามัญ : Yellow Silk Cotton

ชื่ออื่น : ฝ้ายคำ

กันเกรา เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดนครพนม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea Fragrans Roxb.

วงศ์ : Potaliaceae

ชื่อสามัญ : Anan

ชื่ออื่น : มันปลา ตำเสา ทำเสา

จันทน์หอม เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดนครปฐม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mansonia gagei J.R. Drumm.ex Prain.

วงศ์ : Sterculiaceae

ชื่ออื่น : จันทน์ จันทน์ชะมด จันทน์ขาว จันทน์พม่า

สาธร เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดนครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia leucantha Kurz var. buteoides (Gagnep.) P.K.Loc

วงศ์ : Leguminosae

ชื่ออื่น : กระเจ๊าะ ขะเจ๊าะ

แซะ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชื่อวิทยาศาสตร์:Callerya atropurpurea (Wall.) Schot [Milledtia atropurpurea (Wall.)Bebtg

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Catechu Tree

ชื่ออื่น : กระแซะ พุงหมู

อินทรชิต เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดนครสวรรค์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia loudonii Teijsm.&Binn.

วงศ์ : Lythraceae

ชื่ออื่น : เกรียบ ตะเกรียบ ตะแบกขน เสลาใบใหญ่ เสลา

นนทรี เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดนนทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum pterocarpum ( DC.) Beck.ex K.Heyne

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Yellow Flamboyant

ชื่ออื่น : กระถินป่า กระถินแดง สารเงิน

ตะเคียนชันตาแมว เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดนราธิวาส

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Neobalanocarpus heimii ( King) P.S.Ashton (Balanocarpus heimii King)

วงศ์ : Dipterocarpaceae

ชื่ออื่น : ตะเคียนชัน

กำลังเสือโคร่ง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดน่าน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Betula alnoides Buch.-Ham.ex G.Don

วงศ์ : Betulaceae

ชื่อสามัญ : Birch

ชื่ออื่น : กำลังพญาเสือโคร่ง

กาฬพฤกษ์ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia grandis L.f.

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Pink Shower

ทองหลางลาย เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดปทุมธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina variegata L.

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Indian Coral Tree, Variegated Tiger's Claw

ชื่ออื่น : ปาริชาติ ปาริฉัตร ทองบ้าน ทองเผือก ทองหลางด่าง มังการา (ฮินดู)

เกด เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manikara hexandra ( Roxb.) Dubard

วงศ์ : Sapotaceae

ชื่อสามัญ : Milkey Tree

ชื่ออื่น : ครินี ไรนี (ฮินดู)

โพศรีมหาโพธิ๋ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดปราจีนบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus religiosa L.

วงศ์ : Moraceae

ชื่อสามัญ : Sacred Fig Tree, Pipal Tree

ชื่ออื่น : โพ ปู ย่อง สลี

ตะเคียนทอง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดปัตตานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea odorata ( Roxb.)

วงศ์ : Dipterocarpaceae

ชื่อสามัญ : Iron Wood

ชื่ออื่น : โกกี้ แคน จะเคียน ตะเคียนใหญ่

หมัน เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordia cochinchinensis Pierre

วงศ์ : Baraginaceae (Ehretiaceae)

เทพธาโร เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดพังงา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum porrectum (Roxb.)

วงศ์ : Lauraceae

ชื่ออื่น : จะไคหอม จะไคต้น จวงหอม พลูต้นขาว

พะยอม เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดพัทลุง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea roxburghii G.Don

วงศ์ : Dipsterocarpaceae

ชื่อสามัญ : White Meranti

ชื่ออื่น : กะยอม ขะยอม พะยอมแดง แคน พะยอมทอง ยางหยวก

บุนนาค เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดพิจิตร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mesua ferrea L.

วงศ์ : Guttiferae

ชื่อสามัญ : Iron Wood, Ceylon Iron Wood

ชื่ออื่น : นาคบุตร ปะนาคอ สารภีดอย ก๊าก่อ ก้ำก่อ

ปีบ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis L.f.

วงศ์ : Bignoniaceae

ชื่อสามัญ : Cork Tree

ชื่ออื่น : กาซะลอง กาดสะลอง

โกสน

ชื่อสามัญ Garden croton

ชื่อวิทยาศาสตร์ Codiaeum variegatum Blume

ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae

ชื่อพื้นเมือง กรีสาเก โกรต๋น

ฟิโลเดนดรอน

ชื่อสามัญ Philodendro

ชื่อวิทยาศาสตร์ Philodendron spp

ชื่อวงศ์ ARACEAE

หมากเขียว

ชื่อสามัญ Mac Arthur palm

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ptychosperma spp

ชื่อวงศ์ PALMAE

สาวน้อยประแป้ง

ชื่อสามัญ Spotted Dumbcana

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dieffenbachia picta

ชื่อวงศ์ Araceae

บอนสี

ชื่อสามัญ Deladium

ชื่อวิทยาศาสตร์ Caladium bicolor vent.

ชื่อวงศ์ Araceae

คล้า

ชื่อสามัญ Calathea

ชื่อวิทยาศาสตร์ Calathea picturata.

ชื่อวงศ์ Marantaceae.

แสงจันทร์

ชื่อสามัญ Lettuce Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisonia alba

ชื่อวงศ์ NYCTAGINACEAE.

พลูด่าง

ชื่อสามัญ lvy-Arum หรือ Devil-lvy

ชื่อวิทยาศาสตร์ Scindapsus sp.

ชื่อวงศ์ Araceae

เสน่ห์จันทร์แดง

ชื่อสามัญ King of Hrarts

ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalomena wallisii

ชื่อวงศ์ Araceae

หน้าวัว

ชื่อสามัญ Anthurium

ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthurium andraeanum

ชื่อวงศ์ Araceae

ฤาษีผสม

ชื่อสามัญ Coleus

ชื่อวิทยาศาสตร์ Plectranthus be hril

ชื่อวงศ์ Labiatae.

ใบเงิน

ชื่อสามัญ Caricature Plant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Grapthophyllun pictum

ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE

ใบทอง

ชื่อสามัญ Gold Leaves

ชื่อวิทยาศาสตร์ Grapthophyllun pictum

ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE

ใบนาค

ชื่อสามัญ P. kewense

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseuderanthemum atropurpureum.

ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE

ปรง

ชื่อสามัญ Sago palm

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cycas revolute

ชื่อวงศ์ Cycadaceae

ม้าลาย

ชื่อสามัญ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Haworthia reinwardtii

ชื่อวงศ์ Marantaceae.

ลิ้นมังกร

ชื่อสามัญ Mather - in - law's Tongue

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sancivieria.

ชื่อวงศ์ SCROPHULARRIACEAE

ครุฑตีนกบ

ชื่อสามัญ Variegated balgour aralia

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polysias balgouriana “marginata”

ชื่อวงศ์ PANDANACEAE

วาสนาอธิฐาน

ชื่อสามัญ Cornstalk Plant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena fragrans massangeana

ชื่อวงศ์ Agavaceae

ว่านกาบหอยแครง

ชื่อสามัญ ว่านกาบหอยแครง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tradescantia spathacea , Swarty

ชื่อวงศ์ COMMELINACEAE

เป็ปเปอร์โรเมีย

ชื่อสามัญ Pepperromia

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tradescantia spathacea , Swarty

ชื่อวงศ์ COMMELINACEAE

ก้ามปูหลุด

ชื่อสามัญ Wandering jew

ชื่อวิทยาศาสตร์ Zebrina pandula.

ชื่อวงศ์ COMMELINACEAE

ไผ่ฟิลิปินส์

ชื่อสามัญ Gold dust

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena surculosa

ชื่อวงศ์ Agavaceae

ฟิโลทอง

ชื่อสามัญ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Philodendron cv. Lemon Lime

ชื่อวงศ์ Philodendron

ชื่อพื้นเมือง ฟิโลเดรนดรอนสีทอง ฟิโลทอง

รางทอง

ชื่อสามัญ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenocallis littoralos Salosb cv.variegata

ชื่อวงศ์ AMARYLLIDACEAE

ชื่อท้องถิ่น รางทอง

พุทธรักษา

ชื่อสามัญ Canna, Indian shoot

ชื่อวิทยาศาสตร์ Canna generalis

ชื่อวงศ์ CANNACEAE

ไทรด่าง

ชื่อสามัญ Gogen fig

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina L. var. variegate

ชื่อวงศ์ MORACEAE

เงินไหลมา

ชื่อสามัญ Tricolor Nephthytis

ชื่อวิทยาศาสตร์ Syngonium podophyllum

ชื่อวงศ์ Agavaceae

มรกตหยก

ชื่อสามัญ Dwarf Bouquet

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena dermensis

ชื่อวงศ์ Agavaceae

เพชรชมพู

ชื่อสามัญ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyline termialis "amabilis"

ชื่อวงศ์ Agavaceae

ไทร

ชื่อสามัญ Banyan Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus annlata.

ชื่อวงศ์ Moraceae

แก้ว

ชื่อสามัญ Chinese Box Tree, Orange Jasmine, Andaman Satinwood.

ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya panicclata Jack.

ชื่อวงศ์ Rutaceae

เฟิร์นข้าหลวง

ชื่อสามัญ Bird's nest fern

ชื่อวิทยาศาสตร์ Asplenium nidus

ชื่อวงศ์ Aspleniaceae

ข่อย

ชื่อสามัญ Siamese rough bush

ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblue asper ชื่อวงศ์ Moraceae

เขียวหมื่นปี

ชื่อสามัญ Chinese Evergreen ชื่อวิทยาศาสตร์ Aglaonema modestum

ชื่อวงศ์ ARACEAE

เฟิร์นใบมะขาม

ชื่อสามัญ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Nephrolepis cordifolia (L.) C.Presl.

ชื่อวงศ์ AGAVACEAE

ชื่อท้องถิ่น ฟิร์นใบมะขาม

กล้วยพัด

ชื่อสามัญ Traveller's tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ravenala madagascariensis

ชื่อวงศ์ Strelifziaceae

ไทรใบกลม

ชื่อสามัญ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficusannulata Blume

ชื่อวงศ์ MORACEAE

ชื่อพื้นเมือง

ไทรใบกลม

ทองหลางด่าง

ชื่อสามัญ Indian Coral Tree, Variegated Tiger’s claw

ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina variegata Linn.

ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE

ปาล์มพัด

ชื่อสามัญ -

วิทยาศาสตร์ Prichardia Pacifica Seem. & H.A. Wendl

ชื่อวงศ์ PALMAE

ต้นมะหาด

มะหาด (อังกฤษ: lakoocha) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดจากทวีปเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทรายดินร่วนปนทราย ดินร่วน และ ดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงและแสงแดดเข้าถึงได้น้อย มักขึ้นกระจายตามป่าดิบทั่วไป

ชื่อ::ในแต่ละภูมิภาค มะหาดจะมีชื่อเรียกต่างๆกันกล่าวคือ ภาคเหนือเรียก หาดหนุน ในจังหวัดเชียงใหม่เรียก ปวกหาด ภาคกลางเรียก หาด ทางภาคใต้เรียก มะหาด ในจังหวัดตรังเรียก มะหาดใบใหญ่ และตั้งแต่จังหวัดนราธิวาสถึงประเทศมาเลเซีย เรียก กาแย , ตะแป , ตะแปง

ลักษณะ :: มะหาดเป็นยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ความสูง 15 - 20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลไหม้เป็นลายแตกละเอียด มีส่วนยอดเป็นพุ่มหนาและทึบใบไม้เป็นใบเดี่ยว ขนาดวงรีจนถึงรูปไข่ กว้าง 5 - 20 เซนติเมตร ยาว 10 - 30 เซนติเมตร ที่ขอบใบมีริวขึ้นโดยรอบ มีขนขึ้นทั้ง 2 ด้านของใบดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และกลายเป็นผลในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ลักษณะดอกจะมีสีขาวอมเหลืองมีขนาดเล็กผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง รัศมีจากจุดศูนย์กลางยาว 2.5 - 5 เซนติเมตร รูปร่างกลมแป้นใหญ่ มีทรงบิ้วเบี้ยวเป็นบางลูก เปลือกนอกผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม แต่ละผลมีเมล็ด 1 เมล็ด รูปทรงรี

ต้นตีนเป็ด

พญาสัตบรรณ หรือ สัตบรรณ ตีนเป็ด ตีนเป็ดต้น หัส-บัน จะบัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris อยู่ในวงศ์ Apocynaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครเป็นพืชท้องถิ่นดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ในทุกภาค

ลักษณะ :: เปลือกหนาแต่เปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็กๆ สีขาวปนน้ำตาลกรดดูจะมียางสีขาวลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้นๆ เปลือกชั้นในสีน้าตาล มีน้ายางสีขาว ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมรูปขอบขนาน หรือรูปมนแกมรูปบรรทัด ปลายใบเป็นติ่งเล็กน้อย ใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีขาวนวล ถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ปากท่อของกลีบดอกมีขนยาวปุกปุย ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่นๆ ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง ปกติจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมผลเป็นฝักยาว ฝักคู่หรือเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้นๆ กลมเรียวยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตก มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้น

ต้นยอป่า

คติความเชื่อคนโบราณท่านนิยมปลูกยกไว้ในบริเวณบ้าน โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) เชื่อว่าจะป้องกันจัญไรได้ ทั้งชื่อ “ยอ” ยังเป็นมงคลนาม ถือเป็นเคล็ดว่า จะได้รับการสรรเสริญเยินยอ หรือยกยอปอปั้นในสิ่งที่ดีงาม

ชื่อพื้นเมือง :: ยอป่า(ไทย,อีสาน,ใต้) สลักป่า, สลักหลวง (พายัพ) อุ้มลูกดูหนัง (สระบุรี) กะมูดู(มลายู)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :: Morinda coreia Ham.

วงศ์ :: RUBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :: ยอป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 4-15 เมตร ผลัดใบ ต้นใบกิ่งก้านคล้ายยอบ้าน ผิดแต่ยอป่าใบแคบ ยาวเรียกว่า มีผลกลม ผิวนอกเป็นปุ่มปมไม่ลึกเหมือนยอบ้าน ทั้งมีขนาดเล็กกว่า กลิ่นฉุนน้อยกว่า เนื้อเยื่อข้างในขาวและมีน้ำมาก พบขึ้นอยู่ตามเบญจพรรณทั่วๆ ไป ดอกมักออกระหว่างเดือนเมษายน ไปจนถึงเดือนกรกฎาคม และเป็นผลระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม

การปลูก :: พบขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณทั่ว ๆ ไป ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ใช้เมล็ด หรือปักชำกล้า

ต้นปีบทอง

ปีบทอง หรือ กาซะลอง (อังกฤษ: Tree Jasmine; ชื่อวิทยาศาสตร์: Radermachera ignea (Kurz) Steenis ; ชื่ออื่น: กากี, สำเภาหลามต้น, จางจืด, สะเภา, อ้อยช้าง) เป็นไม้ต้นผลัดใบในวงศ์แคหางค่าง (Bignoniaceae) สูงประมาณ 10 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นประเภทใบประกอบแบบ 2-3 ชิ้น ใบย่อยรูปไข่ปลายใบแหลม ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้น พบตั้งแต่พม่าตอนใต้ ไปถึงเกาะไหหลำปีบทอง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดเชียงราย และเป็นเป็นพรรณไม้ประจำมหาวิทยาลัยสองแห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเรียกว่า "กาซะลองคำ" และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเรียกว่า "ปีปทอง"ดอก สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น กระจุกละ 5 - 10 ดอก บานไม่พร้อมกัน กลีบเลี้ยงรูปถ้วยสีม่วงแดง กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4 - 7 ซม. ปลายเป็นแฉกสั้น ๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก ยาว 26 - 40 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก

ต้นจำปา

จำปา มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของจีน อินเดีย ไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย และมีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า จำปากอ (มลายู-ใต้) จำปาเขา จำปาทอง (นครศรีธรรมราช) จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี)จำปาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 20 ฟุตมีสีน้ำตาลปนขาวเล็กน้อย กิ่งเปราะ ใบสีเขียวใหญ่เป็นมัน ดอกเริ่มแย้มจะมีกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ ออกดอกเกือบตลอดปี แต่จะมีปากในช่วงฤดูฝน ปลูกนานกว่า 3 ปี จึงจะออกดอก จำปาเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ไม่ชอบที่น้ำขังจะทำให้ตายได้ ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วน โปร่ง อุดมสมบูรณ์ และจำปาเป็นไม้ที่มีประโยชน์ทางด้านสมุนไพร

ลักษณะวิสัย :: ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นตรง ทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวยคว่ำ ค่อนข้างโปร่ง แตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด เปลือกสีเทาอมขาว มีกลิ่นฉุน

ลักษณะใบ:: เป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนานกว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 10-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ เนื้อใบบาง ใบอ่อนมีขน ใบแก่เกลี้ยง เส้นใบ 16-20 คู่ ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร โคนก้านใบป่อง

ลักษณะดอก:: เป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองอมส้ม ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกตั้งขึ้น ดอกตูมรูปกระสวย มีแผ่นสีเขียวคลุมอยู่ และจะหลุดไปเมื่อดอกบาน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน มีจำนวน 12-15 กลีบ แต่ละกลีบรูปยาวรีแกมรูปหอกกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 4-4.5 เซนติเมตร กลิ่นหอมแรง ดอกเริ่มแย้มและส่งกลิ่นหอมยามพลบค่ำ ในเช้าวันต่อมากลีบดอกจะกางออกจากกัน และร่วงหล่นในช่วงเวลาเย็น ออกดอกเกือบตลอดปี แต่จะมีมากช่วงต้นฤดูฝน

ต้นยางพารา

ต้นยางพาราเป็นต้นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล และเปรู ทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า คาอุท์ชุค [Caoutchouc] แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ. 2313 (1770) โจเซฟ พริสลี่ จึงพบว่า ยางสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกว่าว่า ยางลบหรือตัวลบ [Rubber] ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในอังกฤษและฮอลแลนด์เท่านั้น ในอเมริกาใต้มีศูนย์กลางของการซื้อขายยางก็อยู่ที่เมืองท่าชื่อ พารา (Para) จึงมีชื่อเรียกว่า ยางพารา การกรีดยาง

? เวลากรีดยาง : ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกรีดยางมากที่สุดคือ ช่วง 6.00-8.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สามารถมองเห็นต้นยางได้อย่างชัดเจนและได้ปริมาณน้ำยางใกล้เคียงกับการกรีดยางในตอนเช้ามืด แต่การกรีดยางในช่วงเวลา 1.00-4.00 น. จะให้ปริมาณยางมากกว่าการกรีดยางในตอนเช้าอยู่ร้อยละ 4-5 ซึ่งเป็นช่วงที่ได้ปริมาณน้ำยางมากที่สุดด้วย แต่การกรีดยางในตอนเช้ามืดมีข้อเสีย คือ ง่ายต่อการกรีดบาดเยื่อเจริญส่งผลให้เกิดโรคหน้ายางทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองและไม่มีความปลอดภัยจากสัตว์ร้ายหรือโจรผู้ร้าย ? การหยุดพักกรีด : ในฤดูแล้ง ใบไม้ผลัดใบหรือฤดูที่มีการผลิใบใหม่ จะหยุดพักการกรีดยางเนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโตของใบและต้นยาง การกรีดยางในขณะที่ต้นยางเปียก จะทำให้เกิดโรคเส้นดำหรือเปลือกเน่าได้ ? การเพิ่มจำนวนกรีด : สามารถเพิ่มจำนวนวันกรีดได้โดย ? การเพิ่มวันกรีด : สามารถกรีดในช่วงผลัดใบแต่จะได้น้ำยางในปริมาณน้อย ไม่ควรเร่งน้ำยางโดยใช้สารเคมีควรกรีดเท่าที่จำเป็นและในช่วงฤดูผลิใบต้องไม่มีการกรีดอีก ? การกรีดยางชดเชย : วันกรีดที่เสียไปในฤดูฝนสามารถกรีดทดแทนได้แต่ไม่ควรเกินกว่า 2 วันในรอยกรีดแปลงเดิม และสามารถกรีดสายในช่วงเวลา 6.00-8.00 น. หากเกิดฝนตกทั้งคืน ? การกรีดสาย : เมื่อต้นยางเปียกหรือเกิดฝนตกสามารถกรีดหลังเวลาปกติโดยการกรีดสายซึ่งจะกรีดในช่วงเช้าหรือเย็นแต่ในช่วงอากาศร้อนจัดไม่ควรทำการกรีด

ต้นโมกมัน

ต้นไม้ประจำจังหวัด ราชบุรี

ชื่อพันธุ์ไม้ โมกมัน

ชื่อสามัญ Ivory, Darabela

ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia tomentosa Roem. & Schult.

วงศ์ APOCYNACEAE

ชื่ออื่น มักมัน (สุราษฎร์ธานี), มูกน้อย มูกมัน (น่าน), โมกน้อย โมกมัน (ทั่วไป), เส่ทือ แนแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โมกมันเหลือง (สระบุรี)

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20 เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาอ่อนและมียางขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีป้อม หรือเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบเนื้อใบบาง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง กลีบรองดอกและโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ปลายกลีบแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ ดอกแรกบานจะมีสีขาวอมเหลือง ข้างนอกเป็นสีเขียวอ่อน ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวฝักขรุขระ ฝักแก่เต็มที่จะแตกออกเป็นร่อง เมล็ดเป็นรูปยาว

ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด กลางแจ้ง ทนแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณ และป่าโปร่งทั่วไป

ต้นหูกวาง

ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Terminalia Catappa, Linn

วงศ์ : COMBRETACEAE

ชื่อที่เรียก : ในไทยทั่วไปเรียก หูกวาง ภาคใต้เรียก โคน, ดัดมือหลุมบัง พายัพเรียก ตาปัง

ลักษณะ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีกิ่งก้านแตกแผ่ออกไปรอบต้นเป็นชั้นๆ ดูคล้ายฉัตร ถ้าต้นงามจะแตกแผ่ออกเป็น 2-3 ชั้น สวยดี ใบโตใหญ่ รูปลักษณะคล้ายหูกวางจริงๆ แต่โตกว่าหูของกวาง จึงเรียกว่าต้น หูกวาง ใบเขียวแก่และหนา ใช้เป็นไม้ร่มดี ดอกเป็นช่อเล็กๆ ยาวๆ แกมเขียวๆ เหลืองๆ มีผลเกิดจากดอกกลมเเบนๆ มีสันขึ้นเป็นปีก โดยรอบ เมล็ดในโต รับประทานได้เป็นอาหาร

การเจริญเติบโต : เป็นไม้ที่เกิดตามป่าราบทั่วๆไป ปลูกตามบ้านตามวัด เป็นไม้ร่มบังแดดได้ดี เพราะใบมีพุ่มงาม ขึ้นได้ในดินทุกภาคของ ประเทศไทย ขยายพันธ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ : ใช้เป็นร่มไม้ได้ดีมาก แต่ไม่ใคร่มีใครปลูกใกล้ตัวอาคารบ้าน เรือน ยิ่งเป็นตึกยิ่งไม่หน้าปลูก เพราะเป็นไม้โตเจริญเร็ว ร่กจะดันตัว อาคารทำให้ตัวอาคารแตจกหรือร้าวเสียหายหมดใบแก่ให้สีขี้ม้าและนำมาใช้ในการย้อมผ้าได้ เมล็ด นำเอามาทำเป็นอาหารรับประทานได้ ต้นหูกวางนี้มีชื่อทางการค้า ว่า indian almond. ใช้รับประทานแก้ขัดเบา แก้นิ่ว

ต้นสารภี

ชื่อพื้นเมือง: ทรพี สร้อยทอง สารภีแนน สารภีป่า

ลักษณะทั่วไป: ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 - 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ทึบ เปลือกสีเทาปนดำ

ใบ: เดี่ยว เรียงสลับ

ดอก: สีขาวมีกลิ่นหอม ออกเป้นดอกเดี่ยว หรือ ช่อแบบช่อกระจุกตามกิ่ง ดอก ออก ม.ค - มี.ค

ผล: ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยวทรงกระสวย ผล ออก ก.พ - เม.ย

ด้านภูมิทัศน์: ปลูกให้ร่มเงาในบ้าน ได้ดีเพราะพุ่มใบสวย ดอกหอม ผล เป็นอาหารนก

ประโยชน์: ดอกตูมใช้ย้อมไหมใสแดง ดอกมีสารช่วยขยายหลอดลม ขับลม บำรุงหัวใจและแก้ไข้

คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นสารภีไว้ประจำบ้านจะทำให้มีอายุยืนนานเพราะสารภีเป็นไม้ที่มีเนื้อไม้ละเอียดแข็งแรง ทนทาน และเป็นไม้ไทยที่มีอายุยืนอีกด้วย นอกจากนี้โบราณเชื่ออีกว่า ดอกสารภียังช่วยเป็นสิ่งบำรุงสุขภาพจิตที่ดี เพราะดอกสารภีเป็นเครื่องยาบำรุงหัวใจชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ร่างกายเกิดอารมณ์เยือกเย้นอ่อนหวาน ดังนั้นจึงทำให้ชีวิตมีอายุยืนยาว ได้เช่นกัน

ต้นตะขบ

ชื่อวงศ์ TILIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ Muntingla calabura L.

ชื่อสามัญCalabura ,Jamalcan ,cherry ,jam tree

ชื่อพื้นเมืองอื่น ครบฝรั่ง (สุราษฏร์ธานี)ตะขบ , ตะขบฝรั่ง(ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดเล็ก (ExST) สูงประมาณ 5-7 เมตร เปลือกสีเทา กิ่งแผ่สาขาขนานกับพื้นดิน ตามกิ่งมีขนปกคลุม ขนนุ่ม และปลายเป็นตุ่ม ยอดอ่อนเมื่อจับดูรู้สึกเหนียวมือเล็กน้อย ใบ เป็นใบเลี้ยงเดียว เรียงสลับแบบทแยงกัน ลักษณะใบรูปขอบขนานแกรมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบข้างหนึ่งมน ข้างหนึ่งแหลม ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมหนาแน่ เส้นใบมี 3-5 เส้น ด้านบนสีเขียวด้านล่างสีนวล ก้านใบยาว มีขน โคนก้านเป็นปม ๆ ดอก ดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ เหมือนง่ามใบ เวลาบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว มีขน กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ไม่ติดกัน สีเขียว รูปหอก ปลายแหลมเป็นหางยาว โคลนกลีบตัดด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปไข่กลับป้อม ๆ ย่น เกลี้ยง ผล ลักษณะลูกทรงกลม ผิวบางเรียบ ขนาด 1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีแดง รสหวาน เมล็ด มีลักษณะเล็ก ๆ จำนวนมาก

กล้วยไม้สกุล แวนด้า

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ แวนด้า เข็มขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda lilacina

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : ใบรูปแถบเรียงสลับ ปลายใบหยักเป็นฟัน ออกดอกที่ข้างลำต้น มีหลายช่อ ยาว 12-15 ซม. ช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ดอกขนาด 1.5-2 ซม. กลีบดอกสีขาวรูปแถบแกมรูปไข่กลับ กลีบปากมีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็ก ปลายแผ่เป็นแผ่นสั้นผายออก มีจุดขนาดเล็กสีม่วงหนาแน่น ปลายเส้าเกสรสีเหลือง ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ แวนด้าเดียรีอิ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda dearei

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : ใบแบน มีลักษณะของลำต้นอ้วนใหญ่ ใบกว้างและบิดเล็กน้อย ช่อดอกสั้นมีดอกน้อย กลีบนอกและกลีบในกว้าง แข็งหนา เนื้อละเอียด ดอกสีเหลืองนวลสะอาด หูปากสองข้างเล็กขาว โคนแผ่นปากสีขาว ปลายสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม แวนด้าชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการผสมปรับปรุงพันธุ์ที่ให้ลูกผสมไปทางสีเหลือง โดยใช้ผสมพันธุ์ควบคู่กับแวนด้าแซนเดอเรียน่า

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ แวนด้าไตรคัลเลอร์

ชื่อวิทยาศาสตร์: Vanda tricolor

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : ใบมีลักษณะยาวเป็นคลื่นกว้าง 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 40เซนติเมตร ช่อดอกโค้งยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีดอกประมาณ 5–10 ดอกต่อช่อ กลีบนอกและกลีบในสีเหลืองอมขาว มีจุดสีน้ำตาลอมแดง ปากเป็นแฉก หูปากเล็กแผ่นปากสีม่วง

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ ฟ้ามุ่ย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda coerulea

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : ใบค่อนข้างกว้างกว่าใบของแวนด้าชนิดอื่น ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร ใบซ้อนเรียงสลับกัน ช่อดอกตั้งตรงยาวประมาณ 20–50 เซนติเมตร ออกดอก 5–15 ดอก ดอกสีฟ้าอ่อนจึงถึงฟ้าแก่ มีลายเป็นตารางสีฟ้าแก่กว่าสีพื้น ปากเล็กหูปากแคบโค้ง ปลายมนที่ปลายมี 2 ติ่ง เส้าเกสรเบื้องบนสีขาว ขนาดดอกใหญ่ประมาณ 7–10 เซนติเมตร ดอกขนาดใหญ่และบานทนนาน ออกดอกเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ แวนด้า เอื้องสามปอยขุนตาล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda denisoniana

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : ใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ช่อดอกออกด้านข้างไม่ตั้งตรง ช่อดอกสั้น มีดอกประมาณ 5–7 ดอกต่อช่อ รูปดอกโปร่ง

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ แวนด้า เอื้องสามปอยชมพู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda bensoni

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : ใบแบน มีลักษณะใบซ้อนเรียงสลับกัน ช่อดอกตั้งและยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ช่อหนึ่งมี 13–15 ดอก ดอกสีน้ำตาล มีลายสมุกคล้ายฟ้ามุ่ย กลีบดอกหนาขอบกลีบเป็นคลื่น ด้านหลังกลีบและกระเป๋าเป็นสีชมพู ดอกห่าง รูปดอกโปร่ง ขนาด 4.4 เซนติเมตร

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ แวนด้า เอื้องสามปอยหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda benbonii

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : ใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะคล้ายกับสามปอยชมพู มีใบกว้างและยาวกว่าเล็กน้อย ดอกช่อหนึ่งมีประมาณ 10 ดอก ดอกมีกลีบนอกและกลีบในมีสีขาวอมเหลืองกลีบดอกห่าง หูปากทั้งสองข้างสีขาวแผ่นปากสีเขียวเหลือบเหลือง ปากเว้าเดือยสั้น รูปดอกใหญ่ขนาดดอกโตประมาณ 7 เซนติเมตร ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ แซนเดอเรียน่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda sanderiana

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น :ใบแบน หน้าตัดของใบเป็นรูปตัววี (V) ปลายใบเป็นฟันแหลมๆ ไม่เท่ากัน ใบเรียงซ้อนค่อนข้างถี่มีลักษณะเป็นแผง ช่อดอกตั้งแข็งตั้งยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5–15 ดอก ดอกเรียงรอบช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกเป็นพุ่ม ขนาดดอกโตประมาณ 8–12 เซนติเมตร

กล้วยไม้สกุล รองเท้านารี

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ รองเท้านารีเหลืองตรัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum godefroyae

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : ใบลาย ท้องใบสีม่วง ปลายมนคล้ายรูปลิ้น ก้านดอกสีม่วงมีขน ดอกโตสีครีมเหลือง กลีบนอกบนรูปกลม ปลายยอดแหลมเล็กน้อย กลีบในสองข้างกลมรี ปลายกลีบเว้า ประจุดลายสีน้ำตาลจางตรงโคนกลีบแล้วค่อยจางออกตอนปลาย ปากกระเปาะขาวไม่มีลาย

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ รองเท้านารีเหลืองพังงา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum leucochilum

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : มีลักษณะคล้ายกับรองเท้านารี “เหลืองตรัง” แต่รองเท้านารีเหลืองพังงาจะมีสีครีมออกเหลือง และที่กระเปาะมีจุดประเล็กๆ สีน้ำตาล

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ รองเท้านารีเหลืองปราจีน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum concolor

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ก้านดอกยาวมีขน อาจมี 2–3 ดอกบนก้านเดียวกันได้ กลีบดอกด้านบนผายออกคล้ายพัด ปลายมนสูง กลีบในกางพอประมาณ เมื่อดอกบานจะคุ้มมาข้างหน้าแลดูคล้ายดอกบานไม่เต็มที่ พื้นดอกสีเหลืองอ่อน มีประจุดเล็กๆ สีม่วงประปราย กระเปาะสีเดียวกับกลีบดอก ปลายกระเปาะค่อนข้างเรียวแหลมและงอนปลายเส้าเกสรเป็นแผ่นใหญ่

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ รองเท้านารีอ่างทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum angthong

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : ปลายใบมน ด้านบนสีเขียวคล้ำประลาย ด้านใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกยาวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กขนาดไม่สม่ำเสมอ การประจุดกระจายจากโคนกลีบ พื้นกลีบดอกสีขาว กลีบค่อนข้างหนา

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ รองเท้านารีม่วงสงขลา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum barbatum ชื่อวงศ์ : Orchidaceae ลักษณะเด่น : มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีฝาหอย แต่ดอกมีสีม่วงเข้มกว่า

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ รองเท้านารีเหลืองกระบี่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum exul

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : มีใบสีเขียวไม่มีลาย ใบแคบและหนา ผิวเป็นมัน เส้นกลางใบเป็นรอยลึกรูปตัววี ก้านดอกแข็ง ดอกใหญ่ กลีบดอกนอกบนเป็นรูปใบโพธิ์กว้าง สอบตรงปลาย กลีบดอกสีขางไล่จากโคนกลีบ แนวกลางของกลีบเป็นสีเหลืองอมเขียวประด้วยจุดสีม่วง กลีบในสีเหลืองแคบและยาวกว่ากลีบนอก กระเปาะสีเหลืองเป็นมัน

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ รองเท้านารีสุขะกุล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum sukhakulii ชื่อวงศ์ : Orchidaceae ลักษณะเด่น : มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีคางกบ แต่มีรายละเอียดส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ พื้นกลีบสีเขียวมีจุดสีม่วงประปรายทั่วกลีบ ปลายกลีบดอกแหลม พื้นกลีบมีสีทางสีเขียวถี่ๆ ลายทางจากโคนดอกวิ่งไปรวมที่ปลายกลีบ กลีบในกางเหยียด ขอบกลีบมีขนเช่นเดียวกับบริเวณโคนดอก

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ รองเท้านารีฝาหอย ชื่อวิทยาศาสตร์ :Paphiopedilum bellatulum ชื่อวงศ์ : Orchidaceae ลักษณะเด่น : ใบใหญ่ปลายมน ใบลายสีเขียวแก่และเขียวอ่อนใต้ท้องใบสีม่วงแดง ก้านดอกสั้นมีขน กลีบดอกนอกกว้างมนกลมปลายกลีบคุ้มลงด้านหน้า กลีบในทั้งสองกว้างมนรูปไข่ คุ้มออกด้านหน้า กลีบนอกและกลีบในเกยกันทำให้แลดูลักษณะดอกกลมแน่น กลีบดอกสีขาวนวล ประจุดสีม่วงจากโคนกลีบ กระเปาะมนกลมคล้ายฟองไข่นก Plover (ซึ่งเป็นที่มาของรองเท้านารีฝาหอยที่เรียกว่า“Plover Orchid”)

กล้วยไม้สกุล หวาย

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ เอื้องผึ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Den. aggregatum ชื่อวงศ์ : Orchidaceae ลักษณะเด่น : เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยป้อมสั้นและเบียดกันแน่น ลักษณะใบแข็งหนาสีเขียวจัด ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ก้านช่อดอกอ่อนโค้งลงมา ช่อหนึ่งมีมากกว่า 20 ดอก พื้นดอกสีเหลืองอ่อน ปากสีเหลืองเข้ม ขนาดดอกโตประมาณ 3 เซนติเมตร

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ หวายเอื้องสายหลวง, เอื้องสาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Den. anosmum

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : ลำลูกกล้วยห้อยลงเป็นสายยาว ใบรูปรีขอบขนาน ปลายใบแหลม ดอกเดี่ยวออกตามข้อ ดอกกว้าง 4-5 เซนติเมตร สีม่วงอ่อน กลีบปากรูปทรงกลมปลายแหลม โคนกลีบปากม้วนเข้าหากันและมีแต้มสีม่วงเข้มทั้งสองด้าน ผิวกลีบด้านในมีขนปกคลุม ผิวด้านนอกมีขนเฉพาะขอบกลีบ ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ช่วงออกดอกมักผลัดใบ พบทางภาคใต้

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ หวาย เอื้องเงินแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ :Den. cariniferum ชื่อวงศ์ : Orchidaceae ลักษณะเด่น : ลักษณะลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยทรงกระบอก ผิงมักเป็นร่อง ใบรูปขอบขนาน ปลายเบี้ยว ออกดอกเป็นช่อ 2-5 ดอก ดอกกว้าง 3-4 ซม. กลีบดอกสีขาวครีม ปลายสีเหลือง โคนของกลีบปากสีส้มเข้มถึงส้มแดง กระดกห่อขึ้น ปลายแผ่เป็นแผ่นค่อนข้างยาว ขอบหยักเป็นคลื่น สีเหลืองอมส้มถึงขาว กลางกลีบเป็นสันนูน มีเส้นสีส้มเป็นริ้วตามความยาวกลีบเป็นระยะ ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ หวาย เอื้องคำ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Den. chrysotoxum ชื่อวงศ์ : Orchidaceae ลักษณะเด่น : เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยรูปทรงหลายเหลี่ยมโดยจะมีตอนกลางลำโป่ง แล้วเรียวลงมาโคนและยอด ความยาวประมาณ 20–50 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะมีสีค่อนข้างเหลืองตอนบนของลำจะมีใบอยู่ 4–5 ใบ ยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ 12-25 ดอก แต่ละช่อดอกจะห่างไม่อัดแน่น ดอกมีสีส้มสด กลีบปากสีส้มมีขนาดใหญ่ ปลายบานเป็นทรงกลม มีขนนุ่มปกคลุม ขนาดดอกประมาณ3-5 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ หวาย เอื้องเงินหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Den. formosum

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะเด่น : เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยตั้งตรง กลมค่อนข้างอ้วน ความยาวประมาณ 30–50 เซนติเมตร ที่กาบใบมีขนสีดำลักษณะใบรูปไข่ยาวรี ยาวประมาณ10–15 เซนติเมตร ปลายใบมี 2 แฉกไม่เท่ากัน ออกดอกที่ยอด ช่อดอกสั้น ช่อหนึ่งๆ มี 3–5 ดอก กลีบดอกมีสีขาว ปากสีเหลืองส้มโคนปากสอบปลายปากเว้า มีสันนูนสองสันจากโคนออกมาถึงกลางปาก ขนาดดอกโตประมาณ 10 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ หวาย เหลืองจันทบูร ชื่อวิทยาศาสตร์ : Den. friedericksianum ชื่อวงศ์ : Orchidaceae ลักษณะเด่น: เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถบจังหวัดจันทบุรี เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง ออกดอกในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม ขนาดดอกโตประมาณ 5 เซนติเมตร

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ หวาย เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควาย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Den. pulchellum ชื่อวงศ์ : Orchidaceae ลักษณะเด่น : เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะกลม ต้นอ่อนเป็นเส้นสีม่วงลักษณะใบรูปไข่ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร เมื่อลำแก่แล้วจะทิ้งใบ แตกช่อห้อยที่ปลายลำ ออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ช่อหนึ่งมี 5–10 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อนมีเส้นเหลืองชมพู ปากรูปไข่กลมแบะแอ่นลงมีแต้มสีเลือดหมู 2 แต้ม กลีบนอกเป็นรูปใบ ภายในกลีบเป็นรูปไข่ ขนาดดอกโตประมาณ 5–7 เซนติเมตร

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ หวาย เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Den. thyrsiflorum ชื่อวงศ์ : Orchidaceae ลักษณะเด่น : เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างกลมหรือแบนโคนเล็กและใหญ่ด้านบน สีเขียว ลำลูกกล้วยลำหนึ่งๆ มีใบประมาณ 3–4 ใบ ลักษณะใบแหลมยาวประมาณ 10–18 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกห้อยเป็นพวงยาว ดอกแน่น กลีบดอกสีขาวกางผายออก โคนกลีบปากกระดกม้วนขึ้น ปลายแหลม ม้วนขึ้นสีเหลือง ภายในมีขนแต่ริมสันปากไม่มีขน ขนาดดอกโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร บานพร้อมกันทั้งช่อและบานนานประมาณ 1 สัปดาห์ ออกดอกเดือนมกราคมถึงเมษายน

ชื่อดอกไม้ : ดอกกล้วยไม้ หวาย เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง, เอื้องไม้ตึง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Den. tortile ชื่อวงศ์ : Orchidaceae ลักษณะเด่น : ลำต้นเจริญทางด้านข้าง โคนลำลูกกล้วยคอด ใบรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อตามข้อ 3-6 ดอกต่อข้อ ดอกกว้าง 5-7 เซนติเมตร กลีบดอกสีม่วง มักบิดเป็นคลื่น มีเส้นสีม่วงตามความยาวกลีบ โคนกลีบปากม้วนขึ้นเป็นกลีบยาว โคนสีม่วง ปลายผายออก สีเหลืองอ่อน ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน

Night Jessamine(กล้วยไม้ราตรี)

ชื่อสามัญ : Night Jessamine(กล้วยไม้ราตรี) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cestrum Nocturnum วงศ์ : solanaceae ลักษณะ มีกลิ่นหอมในเวลากลางคืน จึงทำให้มีอีกชื่อนึ่งว่า หอมดึก มักปลูกเป็นไม้ประดับ มีถิ่นกำเนิด จากเกาะอินดีส ประเทศอินโดนิเซีย

กล้วยไม้สกุล กุหลาบ

กุหลาบแดง Aerides crassifolia Parish ex Burbidge กุหลาบแดงเป็นกุหลาบที่มีเดือยดอกยาวเห็นได้ชัดเจน เดือยงอนขึ้นและไม่ซ่อนตัวอยู่ใต้ปลายปาก ใบยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร ใบหนา ผิวใบอาจย่นมากหรือน้อย โดยย่นตามขวางของใบ ในประเทศไทยพบที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งที่นครนายกและกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบในประเทศพม่า ลาว และเวียดนาม

กุหลาบอินทจักร Aerides flabellata Rolfe ex Downie

กุหลาบอินทจักรมีก้านช่อดอกค่อนข้างแข็ง ช่อดอกตั้ง ออกดอก 5-10 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะคล้ายกัน สีเขียวอมเหลืองและมีแต้มสีน้ำตาลอมม่วง กลีบปากเป็น 3 หยัก สีขาวมีจุดสีชมพูอมม่วง ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ดอกขนาด 2-3 เซนติเมตร

กุหลาบมาลัยแดง Aerides multiflora Roxb กุหลาบมาลัยแดงมีลำต้นแข็งแรง ใบหนาโค้ง ซ้อนกันถี่ ใบกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ช่อดอกโค้งห้อย ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ก้านช่อมักมีสีคล้ำเกือบดำ ออกดอกเบียดชิดกันแน่นช่อ โดยทั่วไปจะมีกลีบดอกสีม่วงแดง มักจะมีสีจางจนถึงขาวที่โคนกลีบ และสีจะเข้มขึ้นจนสุดที่ปลายกลีบช่อดอกจะแตกแขนงถ้าเลี้ยงให้สมบูรณ์และอากาศเย็น ออกดอกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

กุหลาบเหลืองโคราช Aerides houlettiana Rchb. f กุหลาบเหลืองโคราชออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม จุดเด่นของกุหลาบเหลืองโคราชอยู่ตรงที่มีสีเหลือง ในแต่ละต้นจะมีความผิดเพี้ยนกันไป คือ อาจมีสีเหลืองเข้ม เหลืองอ่อน หรือบางต้นแทบไม่มีสีเหลืองเลย ในการคัดพันธุ์ควรเลือกสีเหลืองเข้มเป็นหลัก เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ในประเทศไทยมีชนิดนี้เพียงชนิดเดียวที่ดอกมีสีเหลืองมีกลิ่นคล้ายกลิ่นตะไคร้

กุหลาบกระเป๋าปิด Aerides odorata Lour.

สกุลกุหลาบที่ส่วนปลายปากแคบกว่าหู และทั้ง 2 ส่วนพับขึ้นมาปิดเส้าเกสรไว้กุหลาบกระเป๋าปิดมีลำต้นบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย ต้นห้อยย้อยลง มักแตกแขนงเป็นหลายยอด ใบยาวประประมาณ 15-25 เซนติเมตร กว้าง 2-3 เซนติเมตร เรียงสลับซ้ายขวา ปลายใบหยักไม่เท่ากัน ใบค่อนข้างบางไม่แข็งทื่อ ขอบใบบิดเล็กน้อย โคนใบหุ้มต้น ออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

กล้วยไม้สกุลเข็ม

Ascocentrum curvifolium

ใบมีสีเขียวอ่อน ค่อนข้างอวบน้ำ ใบแคบ โค้ง เรียว ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ในฤดูแล้งขอบใบจะปรากฏจุดสีม่วงประปรายและจะหนาแน่ขึ้นเมื่อแล้งเพิ่มมากขึ้น ดอกสีแดงอมส้ม ดอกโตประมาณ 1.5 เซนติเมตร ช่อดอกรูปทรงกระบอก ตั้งตรง แข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกแน่นช่อ บานทนนับเป็นสัปดาห์ ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

เข็มแสด Ascocentrum miniatum

เข็มแสดมีลำต้นไม่สูงนัก ใบเรียงซ้อนกันแน่น ใบอวบหนา ปลายใบเป็นฟันแหลม และโค้งเล็กน้อย ใบสีเขียวแก่ และอาจมีสีม่วงบ้างเล็กน้อย เมื่อมีสภาพอากาศแห้งแล้ง ใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกมีกลีบหนา ผิวกลีบเป็นมันสีส้มหรือสีเหลืองส้ม ขนาดดอกโตประมาณ 1–1.5 เซนติเมตร ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกแน่นช่อ ช่อหนึ่งอาจมีมากกว่า 50 ดอก ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม

กล้วยไม้เข็มม่วง Ascocentrum ampullaceum

เข็มม่วงมีลำต้นตั้งแข็ง ใบแบนกว้าง ปลายตัดและมีฟันแหลมๆ ไม่เท่ากันทลายฟัน ใบยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ใบสีเขียวคล้ำ ในฤดูแล้งใบจะมีจุดสีม่วงเล็กน้อย ดอกสีม่วงแดง ก้านดอกสั้นเป็นสีเดียวกับดอก เดือยดอกยาวดอกโตประมาณ 2 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งตรงรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ดอกแน่น ช่อหนึ่งมีประมาณ 30 ดอก มักออกดอกบริเวณส่วนล่างของลำต้น ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ดอกบานทนประมาณ 2 สัปดาห์

กล้วยไม้สกุลช้าง

กล้วยไม้สกุลช้าง ไอยเรศหรือพวงมาลัย Rhynchostylis retusa

ใบยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร มีทางสีเขียวแก่สลับกับสีเขียวอ่อนตามความยาวของใบคล้ายกล้วยไม้ช้าง ปลายใบมีลักษณะเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก โค้งห้อยลง ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านช่อยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 150 ดอก มากกว่ากล้วยไม้ช้าง รูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พวงมาลัย” ต้นใหญ่ๆ มักจะแตกหน่อที่โคนต้น เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นได้ ดอกขนาดมีขนาดประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสี

เขาแกะ Rhynchostylis coelestis

มีลักษณะช่อดอกตั้งขึ้น ใบมีลักษณะแบนคล้ายแวนด้า ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และบางกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โคนใบซ้อนกันเป็นแผง ใบโค้งสลับกันในทางตรงกันข้าม ด้วยลักษณะนี้เองจึงได้ชื่อว่า “เขาแกะ” ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ดอกมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบดอกทั้งกลีบนอกและกลีบในมีพื้นสีขาว มีแต้มสีม่วงครามที่ปลายกลีบทุกกลีบ ฐานของแผ่นปากและครึ่งหนึ่งของแผ่นปากที่ต่อกับฐานมีสีขาว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของแผ่นปากเป็นสีม่วงครามเช่นเดียวกับที่ปลายกลีบแต่สีเข้มกว่า ปากของเขาแกะคล้ายกับปากของไอยเรศ

ช้างRhynchostylis gigantea

ใบหนา แข็ง ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ปลายใบเป็นแฉก 2 แฉก มน และสองแฉกของใบไม่เท่ากัน รากเป็นรากอากาศ มีขนาดใหญ่ ทรงกระบอกโค้งลง ช่อดอกยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ช่อละ 25-60 ดอก ขนาดดอกประมาณ 2.5-3.0 เซนติเมตร ปลายสองข้างเบนเข้าหากัน ปลายปากมี 3 แฉก สองแฉกข้างมน แฉกกลางมนและมีขนาดเล็กกว่ามาก ใกล้โคนปากด้านบนมีสันนูนเตี้ยๆ 2 เสัน ดอกมีกลิ่นหอมฉุน หอมไกล

กล้วยไม้สกุล ฟาแลนอปซีส

รูปทรงดอกและสีของดอก ดอกกลมใหญ่ กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง ก้านช่อยาว เหมาะสำหรับปักแจกัน ต้นหนึ่งออกดอกได้หลายช่อใบอวบน้ำ ค่อนข้างหนาแผ่แบนรูปคล้ายใบพาย ดอกกลมใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ 5-8 ซม.ก้านช่อยาว บางช่อยาวถึง 80 ซม.

เขากวาง Phalaenopsis cornucervi (Breda) Bl. & Rchb. f.

เขากวางออกดอกเป็นช่อ 2-3 ดอก กลีบสีเขียวอมเหลือง มีขีดสีน้ำตาลตามแนวขวางของกลีบหรืออาจไม่มี ซึ่งชนิดที่ไม่มีขีดสีน้ำตาลตามแนวขวางของกลีบหาได้ยาก โคนกลีบปากกระดกขึ้น ดูเป็นหลอดยาว ปลายกระดกขึ้นสีขาว มีริ้วสีชมพูอมม่วงกระจาย ดอกขนาด 3-4 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี ดอกดกเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม

กาตาฉ่อ Phalaenopsis decumbens Holtt.

พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกเป็นช่อ 8-10 ดอก กลีบสีขาว โคนมีจุดหรือขีดสีม่วง โคนและปลายกลีบดอกกระดกขึ้น สีขาว ด้านโคนสีม่วง ดอกขนาด 4-6ซม. ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม

กล้วยไม้สกุล สิงโต

สิงโตพัดแดงBulbophyllum lepidum (BI.) J.J. Sm.

เป็นกล้วยไม้ที่ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยของเป็นรูปไข่ยาว 1.5 ซม. ลำลูกกล้วยห่างกันประมาณ 2-3 ซม. ใบรูปหอกกลับ ยาวประมาณ 16 ซม. กว้างประมาณ 3-6 ซม. ช่อดอกแบบซี่ร่ม มีดอก 4-10 ดอก ดอกกว้างประมาณ 1 ซม. สีแดงอ่อนถึงแดงเข้ม กลีบเลี้ยงบนรูปรี ปลายกลีบเรียวแหลม กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมติดกันตั้งแต่ปลายกลีบจนเกือบถึงฐานของกลีบ ขอบของกลีบเลี้ยงมีขนสีม่วง กลีบดอกรูปไข่ถึงรูปไข่แกมหอก ยาวประมาณ 5-6 มม. ปลายกลีบดอกแคบ ขอบเป็นขนสั้น

สิงโตร่มใหญ่ Bulbophyllum cirrhopetalum picturatum Lodd. ex Lindl.

ลำลูกกล้วยรูปไข่ ใบรูปขอบขนาน ปลายใบเว้าบุ๋ม ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกแบบซี่ร่มแผ่เป็นรัศมีเกือบกลม 8-10 ดอก ดอกกว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปทรงกลม สีม่วงแดง ปลายยาวเป็นหาง กลีบเลี้ยงคู่ข้างเรียวยาว สีเขียวอมเหลือง โคนกลีบมีจุดสีม่วงแดงจำนวนมาก ปลายกลีบบิดตัวเชื่อมติดกัน กลีบดอกรูปไข่ สีม่วงเข้ม ขอบกลีบหยักเป็นฟันจัก ปลายกลีบเรียวแหลม กลีบปากรูปสามเหลี่ยม โคนกลีบมีติ่งรูปครึ่งวงกลมอยู่ทั้งสองข้าง

สิงโตก้ามปูแดง Bulbophyllum patens King ex. Hook. f.

ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยยาว 0.6-2.5 ซม. ลำลูกกล้วยแต่ละลำห่างกันประมาณ 8 ซม. ลำลูกกล้วย 1 ลำมีใบ 1 ใบ ใบรูปขอบขนาน ปลายใบเว้าบุ๋ม มีขนาดยาวประมาณ 14 ซม. กว้าง 4.5 ซม. ดอกเป็นดอกเดี่ยว กว้าง 3 ซม. พื้นดอกเป็นสีเหลืองจางๆ มีจุดเล็กๆ สีม่วงกระจายอย่างหนาแน่นทั่วทั้งดอก จึงดูคล้ายกับว่าดอกมีสีแดงคล้ำ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบเลี้ยงคู่ล่างกางออกจากกันอย่างเด่นชัด และมีขนาดกว้างกว่ากลีบเลี้ยงบน กลีบดอกเล็กกว่ากลีบเลี้ยง กลีบปากรูปแถบอ้วนและหนา มีขนาดเล็กกว่ากลีบอื่นๆ มาก โคนเส้าเกสรยื่นออกมาเชื่อมกับโคนกลีบปาก

สิงโตอาจารย์เต็ม Bulbophyllum smitinandii

กล้วยไม้ชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2509 โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.ดร.เต็ม สมิตินันท์ นักพฤกษศาสตร์คนสำคัญของประเทศไทย เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปไข่ มีใบรูปขอบขนานหนึ่งใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 4 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลืองเข้ม มีประและขีดสีม่วงแกมแดง กลีบเลี้ยงบนรูปหอก กลีบเลี้ยงข้างเบี้ยวรูปไข่แกมรูสามเหลี่ยม กลีบดอกรูปหอก กลีบปากสีขาวมีแฉกข้าง มีแต้มเป็นพื้นสีม่วงแดงและมีขนสีขาวประปราย

สิงโตสยาม Bulbophyllum siamense Rchb. f.

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปไข่ยาว 3-5 ซม. ลำลูกกล้วยห่างกัน 3-8 ซม. มีใบรูปขอบขนานหนึ่งใบ แผ่นใบหนา ยาวประมาณ 25 ซม. กว้าง 7 ซม. ส่วนปลายใบจะกว้างกว่าส่วนโคนใบ ปลายใบป้านค่อนข้างแหลม ออกดอกเดี่ยวตามข้อของเหง้า ก้านดอกยาวประมาณ 10 ซม. ดอกกว้าง 5-7 ซม. ดอกสีเหลือง มีเส้นสีม่วงแดงพาดตามแนวยาวกลีบค่อนข้างถี่โดยไม่มีเส้นขวาง กลีบเลี้ยงบนรูปหอกยาวประมาณ 5 ซม. ปลายแหลม กลีบเลี้ยงคู่ข้างโค้งเป็นรูปตัว S กลีบดอกเบี้ยวรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม

สิงโตรวงข้าว Bulbophyllum morphologorum Krzl.

ลำลูกกล้วยรูปไข่ มีใบที่ปลายลำหนึ่งใบ ใบรูปขอบขนาน ดอกออกเป็นช่อที่โคนลำ ช่อดอกแบบกระจะยาว 15-22 ซม. ปลายช่อโค้งลง ดอกกว้างประมาณ 1 ซม. เรียงอยู่อย่างหนาแน่น ดอกสีครีมจนถึงสีส้ม มีจุดสีน้ำตาลแกมม่วง กลีบเลี้ยงบนรูปขอบขนาน กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปรีเชื่อมติดกัน กลีบดอกรูปสามเหลี่ยม ปลายเรียวยาว ขอบหยักไม่เป็นระเบียบ กลีบปากรูปขอบขนาน ดอกบานเกือบพร้อมกันทั้งช่อ ดอกมีกลิ่นหอม

สิงโตรวงทอง Bulbophyllum orientale Seident

ลำลูกกล้วยรูปไข่ มีใบรูปขอบขนานหนึ่งใบ แผ่นใบหนาแข็ง ช่อดอกแบบกระจะโค้งลง ช่อดอกยาวประมาณ 10-12 ซม. ดอกกว้างประมาณ 1 ซม. เรียงอยู่อย่างหนาแน่น กลีบมีสีเขียวและมีเส้นสีม่วงแดงเรียงตามความยาวกลีบเป็นระยะ กลีบเลี้ยงคู่ข้างใหญ่กว่ากลีบเลี้ยงบน กลีบดอกรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ขอบหยักเล็กน้อย กลีบปากสีออกเหลือง ดอกมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย

สิงโตลินด์เลย์ Bulbophyllum lindleyanum Griff.

ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยเกือบกลม มีใบรูปขอบขนานหนึ่งใบ ออกดอกเป็นช่อโปร่งโค้ง ช่อดอกแบบกระจะ ยาวประมาณ 18-25 ซม. มีดอกจำนวนมาก ดอกกว้างประมาณ 1 ซม. ดอกสีครีมมีเส้นสีม่วงตามความยาวกลีบเป็นระยะ ที่ขอบกลีบมีขน กลีบเลี้ยงบนรูปไข่ กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปสามเหลี่ยม ปลายกลีบเลี้ยงทั้งสามมีสีม่วงเข้ม กลีบปากรูปแถบหนา ปลายกลีบโค้งลง ด้านบนกลีบเรียบ ด้านล่างกลีบมีขนปกคลุม ดอกมีกลิ่นหอม

สิงโตนกเหยี่ยวใหญ่ Bulbophyllum Mastigion putidum (Teijsm. & Binn.) Garay, Hamer & Siegerist

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปไข่ ใบรูปขอบขนานนึ่งใบ ขนาดกว้าง 2 ซม. ยาว 7-11 ซม. ดอกออกที่ลำลูกกล้วยเป็นดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาวประมาณ 16-18 ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปไข่ มีเส้นสีม่วงแดงตามแนวยาวเป็นระยะ ขอบมีขนเป็นครุยสีม่วงแดง กลีบเลี้ยงคู่ข้างทั้งสองข้างบิดตัวเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว โคนกลีบโป่งพองออก ปลายกลีบเรียวแหลม กลีบดอกรูปสามเหลี่ยม ด้านข้างเป็นครุยสีม่วงแดง มีเดือยเป็นตุ่มขนาดเล็กสีม่วงแดงหนาแน่น กลีบปากสีแดงมีขนาดเล็กแผ่เป็นแผ่นรูปแถบแกมรูปสามเหลี่ยม มีสันนูนตรงกลาง 2 สัน

สิงโตนกเหยี่ยวเล็ก Bulbophyllum mastigion fasinator (Rolfe) Garay. Hamer & Slegerist

เป็นกล้วยไม้ที่มีลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปไข่ มีใบรูปขอบขนานหนึ่งใบ ดอกออกที่โคนลำ เป็นดอกเดี่ยว ดอกกว้างประมาณ 2-3 ซม. ยาวประมาณ 16 ซม. กลีบสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง มีเส้นสีน้ำตาลอมม่วงตามความยาวกลีบ กลีบเลี้ยงคู่ข้างยาวมากและเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบเลี้ยงบนรูปไข่ ปลายกลีบแหลมมีรยางค์และและพู่ยื่นยาวจำนวนมาก กลีบดอกรูปแถบ ปลายกลีบแหลมมีรยางค์และและพู่ยื่นยาวจำนวนมาก กลีบปากรูปสามเหลี่ยมอวบอ้วน และโค้งลง สีม่วงแดง เส้าเกสรสั้น ฐานเส้าเกสรยาวมาก

ลิ้นมังกร

ชื่ออื่นๆ : ปัดแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Habenaria rhodocheila Hance

ลักษณะ : มีหัวใต้ดิน ใบรูปหอก ช่อดอกแบบกระจายออกที่ปลายยอด มี 3-15 ดอก ดอกกว้าง 1.5-2 ซม. เกิดค่อนไปทาง

ปลายช่อ กลีบเลี้ยงบนเชื่อมกับกลีบดอกคล้ายเป็นหมวก กลีบปากเป็นสามแฉก แฉกกลางเว้าบุ๋ม ดอกมีทั้งสีส้ม แดง

ชมพู โอรส

ช่วงเวลาออกดอก ก.ค. - ก.ย.

แหล่งที่พบ : ขึ้นบนดินทรายชื้นแฉะใต้ร่มไม้และทุ่งหญ้าและบริเวณลานหินริมน้ำตก พบมากที่ภูหินร่องกล้า ที่อื่นๆ

ที่พบ เขาใหญ่ ภูสอยดาว ชายป่าสระบุรี

ว่านไก่แดง

ชื่ออื่นๆ : กาฝากก่อตาหมู ไก่แดง เอื้องหงอนไก่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aeschymanthus Hildebrandii Hemsl.

ลักษณะ : เป็นพืชอิงอาศัยหรือกาฝากเกาะตามต้นไม้ใหญ่ พบขึ้นต้นเดี่ยวหรืออาจจะ5พบเป็นกอ ลำต้นสูงประมาณ 20-30 ซม. ลำต้นเปราะและหักง่าย

ลักษณะดอกและใบดังที่เห็นในภาพ

ช่วงเวลาออกดอก ก.ย. - พ.ย.

แหล่งที่พบ : เกาะตามต้นก่อ หรือต้นไม้อื่นๆ ในป่าดิบเขา พบทั่วทุกภาค

เอื้องหมายนา

ชื่ออื่นๆ : เอื้องดิน บรรไดเวียน เอื้องช้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coutus specious

ลักษณะ : มีหัวเง่าขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน ลำต้นอวบน้ำสูงประมาณ 1.5-2 เมตร เติบโตขึ้นทางยอดไม่แตกกิ่งและใบ ใบเรียวยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ

ลักษณะดอก: ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายยอด แต่ละช่อมีกาบใบ สีแดง สีม่วงแดง สีแดงอ่อนแกมชมพู เรียงชิดติดกันเป็นจำนวนมาก ในแต่ระใบประดับจะมีดอกย่อย 1 ดอก จะเริ่มบานไล่จากชั้นล่างขึ้นบนจนกว่าจะหมด และหลุดร่วงไป เหลือแต่หลอดสีแดงเป็นที่เจริญเติบโตของเมล็ด

ช่วงเวลาออกดอก : ตลอดปี พบมากในช่วง ส.ค.- ก.ย.

แหล่งที่พบ : บริเวณชายป่าที่ชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ เชิงเขา ริมน้ำตก

กระ

ชื่ออื่นๆ : กระ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : -

ลักษณะ : -

ลักษณะดอก : -

ช่วงเวลาออกดอก มิ.ย. - ส.ค.

แหล่งที่พบ : บริเวณชายป่าที่ชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ เชิงเขา ริมน้ำตก

เทียนนกแก้ว

ชื่ออื่นๆ : Parrot flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Impatiens psittacina Hk. f.

ลักษณะ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ สูง 0.5-1.5 เมตร ใบเดี่ยวรูปไข่กว้าง โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจัก

ขนาดกว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-6 ซม.

ลักษณะดอก : สีแดงม่วงแกมแดงบางส่วนเป็นสีชมพู ออกเดี่ยวตามก้านใบ หรือปลายยอด ขนาดดอกกว้าง 2-3 ซม. ยาวประมาณ 5-6 ซม. กลีบรองดอกรูป

ถ้วยปากบาน ลักษณะดอกดังในภาพ

ช่วงเวลาออกดอก ต.ค. - พ.ย.

แหล่งที่พบ : ขึ้นตามรอยแตกของเขาหินปูที่มีการสะสมของอินทรีย์สาร พบที่ความสูง 1,500 -1,800 เมตร

ประโยชน์ เป็นพืชหายาก สวยงาม ได้ชมแล้วชื่นใจ

ยี่โถปีนัง

ชื่ออื่นๆ : หญ้าจิ้มฟันควาย แขมเหลือง แขมดอกขาว น้ำทราย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arundina graminifolia ( D. Don ) Hochr.

ลักษณะ : เป็นกล้วยไม้ขนาดใหญ่ ต้นผอมตรง สูง 50-160 ซม. แผ่นใบบางและอื่น โคนเป็นกาบหุ้มต้น ช่อดอกสั้นเกิดที่ปลายยอด จำนวนดอกในช่อน้อย

มักจะบานครั้งละ 1 ดอก ขนาดดอก 2-6 ซม. กล้วยไม้ชนิดนี้มีขนาดต้น ใบ ดอก ตลอดจนสีดอกอาจแตกต่างกันได้ค่อนข้างมากในแต่ละท้องถิ่น

เอนอ้า

ชื่ออื่นๆ : เอนอ้าขน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Osbeckia stellata Ham.

ลักษณะ : เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ใบรูปรีแกมขอบขนาน มีขนละเอียดปกคลุมทั่วใบ ดอกเป็นช่อปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก สีชมพูออกม่วง ( บานเย็น ) กลีบดอก 4 กลีบ เวลาบานจะอ้าออก ช่วงเวลาออกดอก ตลอดปี

แหล่งที่พบ : ขึ้นบริเวณป่าเสื่อมโทรมที่ธรรมชาติกำลังฟื้นตัวที่มีทุ่งหญ้าโล่ง และบริเวณพื้นที่ชื้อแฉะบนลานหิน

ดอกหรีดเชียงดาว

ชื่ออื่นๆ : ไม่มี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gentiana leptoclada ssp. australis

ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเกลี้ยง สูง 40-80 ซม. ใบรูปไข่ กว้าง 1-1.3 ซม. ยาว 2-4 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเรื่อย ดอก สีม่วงอมฟ้า ออกเป็นกระจุก 1-5 ดอก ที่ปลายยอดและซอกใบ ดอกบานมีขนาด 2.5-3 ซม. กลีบรองดอกเป็นถ้วยตื้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ

ช่วงเวลาออกดอก ต.ค. - ธ.ค.

แหล่งที่พบ : ดอยหลวงเชียงดาว ความสูง 1,600 เมตร ขึ้นไป

ดุสิตา

ชื่ออื่นๆ : หญ้าข้าวก่ำน้อย ดอกขมิ้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Utricularia delphinioides Thor. ex Pell.

สมเด็จพระราชินีฯ ทรงพระราชทานนามว่า ดอกดุสิตา

ลักษณะ : เป็นหญ้าลำต้นเล็ก สูงประมาณ 5-25 ซม. ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ขึ้นบนลานหินโล่งจะมีลำต้นสั้น หากขึ้นรวมกับทุ่งหญ้าที่มีน้ำขังจะมีลำต้นที่ยาวกว่า ดอกออกเป็นช่อๆ มีดอกย่อยจำนวน 3-5 ดอก สีม่วงเข้ม โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ด้านบนมีสีม่วงอมน้ำเงิน

ช่วงเวลาออกดอก ตุลาคม - พฤศจิกายน

แหล่งที่พบ : ขึ้นบนลานหินที่ชื้นแฉะ และบริเวณที่มีน้ำขังตื้นๆ

ประโยชน์ : สวยดี ดูแล้วสบายตา

ปุดใหญ่

ชื่ออื่นๆ : ปุด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Achasma macrocheilos Griff

เป็นพืชตระกูลขิงข่า มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สูง 1.5-3 เมตร ใบคล้ายใบกล้วย

ลักษณะ : ปลายแคบเป็นติ่งแหลม โคนมน ก้านใบยาวและโคนก้านใบจะแผ่ออกเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอกเป็นช่อสั้นๆ ใกล้ๆ กับโคลนต้นซึงแทงขึ้นมาจากเหง้า ช่อหนึ่งมี 4-10 ดอก ดอกเป็นรูปกรวยหงายสีแดงสด ขอบกลีบสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมีหลายกลีบแล้วแต่ความสมบูรณ์ของแต่ละต้น

ช่วงเวลาออกดอก ตลอดปี มากสุดในช่วงต้นฤดูฝน

แหล่งที่พบ : ขึ้นทั่วไปตามป่าดินชื้น

ว่านกาบหอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tradescantia spathacea Stearn

ชื่อสามัญ : Oyster plant , White flowered tradescantia

วงศ์ : Commelinaceae

ชื่ออื่น : กาบหอยแครง ว่านหอยแครง (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 20-45 ซม. ลำต้นอวบใหญ่ แตกใบรอบเป็นกอ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงซ้อนเป็นวงรอบ รูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียว ท้องใบสีม่วงแดง เนื้อใบหนา ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยใบประดับสีม่วงปนเขียว รูปหัวใจคล้ายหอยแครง มี 2 กาบ โคนกาบทั้งสองประกบเกยซ้อนและโอยหุ้มดอกสีขาว ดอกสีขาวเล็กอยู่รวมเป็นกระจุก กลีบดอก 3 กลีบ รูปไข่ สีขาว แผ่นกลีบหนา เกสรเพศผู้มี 6 อัน ผล รูปรี กว้าง 2.5-3 มม. ยาว 3.5 มม. มีขนเล็กน้อย ผลแก่แตกออกเป็น 3 ซีก เมล็ดเล็ก

สร้อยสุวรรณา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Utricularia bifida L.

ชื่อวงศ์ : LENTIBULARIACEAE

ชื่ออื่น : หญ้าสีทอง

ลักษณะ : พืชล้มลุก ขึ้นเป็นกอเล็ก สูง 10-15 ซม. ใบ เดี่ยว ขนาดเล็ก เรียงเวียนรอบโคนต้น มีอวัยวะจับแมลงเกิดตามข้อของไหล หรือบนใบ รูปกลมขนาดเล็ก มีก้านชูสั้นๆ ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อตั้งจากโคนกอ มีดอกย่อย 2-6 ดอก ขนาด 6-10 มม. กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบบนมีขนาดใหญ่ประมาณ 2 เท่าของกลีบอื่น ปลายมนรูปไข่กลับ บริเวณโคนมีเส้นสีแดงเข้ม ตามยาว กลีบล่างมนกลมหรือแยกเป็น 2 พู ตรงกลางกลีบเป็นถุง รูปจงอยโค้ง ไปด้านหลัง เกสรผู้ 2 อัน ติดอยู่บนหลอดกลีบดอก ผล แบน รูปรีแกมรูปไข่ เมล็ด ขนาดเล็ก จำนวนมาก อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโดนีเซีย

แหล่งที่พบ :ในประเทศไทยพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขึ้นตามพื้นที่โล่งชื้นแฉะ ออกดอกช่วงเดือน กันยายน-ธันวาคม ช่วงออกดอกจะทิ้งใบ

เล็บมือนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Quisqualis indica L.

ชื่อสามัญ: Chinese honey Suckle, Rangoon Creeper, Drunken Sailor

ชื่ออื่น: จะมั่ง จ๊ามั่ง มะจีมั่ง (ภาคเหนือ), อะดอนิ่ง (มลายู-ยะลา), ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

วงศ์: COMBRETACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้เถาขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างแข็ง แตกกิ่งก้านหนาทึบ ลำต้นหรือกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมเทาปกคลุม แต่ต้นที่แก่ผิวจะเกลี้ยง หรือบางทีก็มีหนาม ต้องมีหลักยืดหรือร้านให้ลำเถาเกาะยึด

กระดุมเงิน

ชื่อพื้นเมือง : กระดุมเงิน หญ้ากระจ่อน หญ้าตุ้มหู (เลย)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eriocaulon henryanum Ruhle

ชื่อวงศ์ : ERIOCAULACEAE

ชื่อสามัญ : -

ลักษณะ : ไม้ล้มลุกปีเดียว มีเหง้า ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปแถบ ปลายแหลม โคนหุ้มลำต้น ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอ่อนเป็นมัน ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น กลม สีขาว ดอกแยกเพศแต่อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้อยู่รอบใน ดอกเพศเมียอยู่รอบนอก แต่ละดอกมีวงกลีบรวม 2 ชั้น ชั้นละ 2-3 กลีบ ปลายกลีบรวมมีขนฟู ผลแห้ง แก่แล้วแตก เมล็ดเล็กมาก

เข็มป่าหรือปิ้งขาว

ชื่อที่เรียก

ชื่ออื่นๆ

: ปิ้งขาว

: เข็มป่า เขาะคอโด่ะ แบบิสี่ พอกวา นมสวรรค์เขา พวงพีขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ :

Clerodendrum colebrookianum Walp.

ลักษณะ : ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-2 ซม. ลำต้นสีเขียว ปลายยอดเป็นสี่เหลี่ยมเห็นชัดเจน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 15-20 ซม. ยาว 18-23 ซม. ก้านใบยาว 15-20 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ดอกสีขาวออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 ซม. กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 2.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบรองดอกเป็นรูปถ้วย ปลายหยักเป็นติ่ง 5 ติ่ง ผลกลม มี 2 หรือ 4 พู ติดกัน กลีบรองดอกติดคงทน แผ่ออก เมื่อแก่จะมีสีดำ

ช้องแมว

ชื่อสามัญ : Wild sage

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Gmelina philippensis, Cham.

ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันกับคู่ มีลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ปลายใบมน ดอกมีสีเหลืองออกเป็นช่อตามกิ่งข้าง โดยออกจากซอกของใบประดับซึ่งเรียงซ้อนกัน และดอกจะห้อยลงกลับหัว ตัวใบประดับมีสีเขียวอมเหลืองมีสีแดงประอยู่เป็นจุด ที่โคนกลีบติดกันเป็นรูปหลอด กลีบดอกแยกกันที่ปลายของหลอดดอก ช้องแมวจะออกดอกในช่วง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม การขยายพันธุ์ใช้วิธีปักชำ

งิ้วป่า

ชื่อสามัญ:งิ้วป่า ง้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Bombax anceps Pierre

ชื่อวงศ์: BOMBACACEAE

ลักษณะพืช:ไม้ต้น ผลัดใบ มีความสูง 8-15 เมตร ลำต้นเมื่อยังเล็กจะมีหนาม เมื่อโตขึ้นจะมีหนามน้อยลง

ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 5-7 ใบ แผ่นใบย่อยรูปหอก กว้าง 3-6 ซม.ยาว 10-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โดนใบสอบแคบ ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยง ดอกใบสีขาว ออกเดี่ยวบริเวณเหนือแผลเป็นของใบและปลายกิ่ง ผลรูปกระสวย กว้าง 5 ซม. ยาว 10-15 ซม. เมล็ดกลมสีน้ำตาลคล้ำถึงดำมีปุยสีขาวหุ้ม

กุ่มบก

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name ):Crateva adansonii DC. ssp. trifoliata ( Roxb.)

ชื่อวงศ์ ( Family Name ) :CAPPARACEAE

ชื่ออื่นๆ(Common Name ) :ผักกุ่ม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ )

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ต้นผลัดใบสูง 5 - 25 เมตร

ใบ ใบประกอบ ออกสลับใบย่อย 3 ใบ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2-6เซนติเมตร ยาว 4 - 12 เซนติเมตร ปลายมนหรือกลมมักมีตื่งโคนสอบ เนื้อใบหนา

ดอก ดอกเป็นสีขาวเปลี่ยนเป็นสีนวล ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอก 4 กลีบ รูปรีกว้าง 0.5 - 1 เซนติเมตร ยาว 1.5 - 2.5 เซนติเมตร เกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านสีม่วงยาว ก้านชูเกสรตัวเมียยาวกว่า เกสรตัวผู้ ผลกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 - 3.5 เซนติเมตร ผิวสีน้ำตาลแดง อมม่วง

เทียนน้อย

ชื่ออื่นๆ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : -

ลักษณะ : มีลักษณะลำต้นเป็นไม้พุ่ม ใบเป็นสีเขียวเรียวยาว ดอกมีลักษณะเป็นกลีบ สีชมพู

ช่วงเวลาออกดอก ส.ค. - ก.ย.

แหล่งที่พบ : บนเขาที่มีความชื้นสูง

ดอกสุวรรณภา

ชื่ออื่นๆ : ไม่มี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sencio craibianus

ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มเตี้ย สูง 5-10 ซม. ใบเล็กแหลมเรียว ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อๆ ละหลายดอกตามง่ามใบหรือปลายก้าน ดอกสีเหลือง กลีบดอกแผ่ออกโดยรอบเป็นวงกลม และมีสีเหลืองเป็นกระจุกอยู่ตรงกลาง

ช่วงเวลาออกดอก ธันวาคม - กุมภาพันธ์

แหล่งที่พบ : ตามภูเขาหินปูนที่มีความสูงตั้งแต่ 2,000 เมตรขึ้นไป

ดอกนี้ถ่ายที่ ดอยหลวงเชียงดาว ก.พ.

เอื้องเลี่ยม เอื้องน้ำต้น ว่านนอแรด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calanthe caridioglossa Schltr

ลักษณะ : ลำต้นเป็นกล้วยไม้ดิน ลำกล้วยรูปขอบขนาน ตรงกลางโป่งออก สูงถึงปลายช่อดอกประมาณ 1 เมตร ใบรูปหอก กว้าง 4-7 ซม. ยาว 15-35 ซม. ปลายแหลม ขอบใบห่อเข้าหากัน ทิ้งใบเมื่อออกดอก

ดอกออกเป็นช่อๆ ละ 10-20 ดอก สีแดงเข้ม สีแดงออกม่วง สีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม สีบานเย็น สีส้ม สีชมพูอ่อน ขนาดดอก 1.2-2.5 ซม. ออกดอกช่วงเดือน พ.ย. - ก.พ.

แหล่งที่พบในไทย : ขึ้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่บนหินที่มีการทับถมของซากอินทรีย์สารและมีความชื้นสูง

แหล่งกำเนิดและแพร่กระจาย : ประเทศไทย

หญ้าหนวดเสือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Burmania coelestris D. Don

ลำต้น : เป็นลำต้นเดี่ยวตั้งตรงสูงประมาณ 30 ซม.

ดอก : เป็นดอกเดี่ยว หรื อเป็นช่อเล็กๆ ดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็น 3 ปีก

แหล่งที่พบ : บริเวณลานหินทรายที่มีน้ำขังหรือที่ชื้นแฉะ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในหลายพื้นที่ ใกล้ๆ ที่พบคือเขาสมอปูน ทุ่งโนนสน ดอยเวียงผา เขาใหญ่

เอื้องศรีเชียงดาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sirindhornia pulchella

แหล่งที่พบ : ขึ้นตามรอยแตกของภูเขาหินปูนที่มีการสะสมของอินทรีย์สารที่อุดมสมบูรณ์ พบเพียงที่เดียว

ในโลกที่ดอยหลวงเชียงดาว

ว่านพร้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthogonium graclle Wall. ex Lindl.

ลักษณะ : ลำต้นเจริญทางด้านข้าง มีใบพับจีบรูปแถบ 2-3 ใบ ปลายใบเรียวแหลม ช่อดอกกระจายออกข้างลำต้น มีหลายดอก มีทั้งสีขาว ชมพู และม่วง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดคล้ายปากแตร

ช่วงเวลาออกดอก ต.ค. - พ.ย.

แหล่งที่พบ : บนเขาสูงในหลายพื้นที่

เหยื่อเลียงผา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Impatlens kerriae

ลำต้น : อวบน้ำ แตกเป็นทรงพุ่ม ขึ้นกลางแจ้งสูงประมาณ 1 เมตร หากขึ้นในร่มลำต้นจะสูงประมาณ 1-2 เมตร ใบกว้างปลายเรียวดังที่เห็นในภาพ

ดอก : สวย ออกตามตาในแต่ละชั้นของโคนใบ ลักษณะของดอกดังที่เห็นในภาพ

แหล่งที่พบ : ขึ้นบริเวณโขดหินและไหล่เขาหินปูนที่ไม่ปะทะลมแรง มักขึ้นอยู่ในที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,900 เมตรขึ้นไป พบบนเขาสูงทางภาคเหนือ

เอื้องแซะภู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendroblum bellatulum Rolfe

ลักษณะ : ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปไข่ ช่อดอกแบบกระจุก มี 1-3 ดอก ดอกกว้าง 2 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากรูปไต เว้าลึก ปลายกลีบปากใหญ่กว่าโคนกลีบ มีสัน 2-4 ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆช่วงเวลาออกดอก ส.ค. - ก.ย.

แหล่งที่พบ : บนเขาสูงในหลายพื้นที่กระเจียว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma sparganifolia Gagnep

ลักษณะ : อยู่ใต้ดินมักลัษณะเป็นเง้า ส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินคือกลีบดอก ใบคล้ายกระชาย

ลักษณะดอกมีกลีบเป็นชั้นๆ ดังที่เห็นในภาพ กระเจียวมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีสีสันแตกต่างกัน และมีชื่อเรียกเฉพาะที่ต่างกันออกไป

ช่วงเวลาออกดอก มิ.ย. - ส.ค.แหล่งที่พบ : ขึ้นบนดินทรายชื้นในป่าโปร่งและทุ่งหญ้า พบได้ทั่วไปทุกภูมิภาคที่มีป่าเต็งรัง ที่พบมากที่สุดคือ ทุ่งกระเจียว จ.ชัยภูมิ

หญ้ามวนฟ้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cynoglossum lanceolatum Klw.

ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุก สูง 1-1.5 เมตร ใบเดี่ยวรูปหอก ใบช่วงใกล้ยอดมีขนาดเล็ก ใบที่โคนต้นมีขนาดใหญ่กว้าง โคนใบสอบปลายใบแหลม ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน

ดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน ขนาดดอกประมาณ 1 ซม. ออกเป็นช่อปลายกิ่ง ช่อดอกม้วนงอ กลีบดอก 5 กลีบ

ช่วงเวลาออกดอก มิ.ย. - ต.ค.

แหล่งที่พบ : พบขึ้นบนความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป มักอยู่บนที่โล่งแจ้งมีแสงแดดส่องถึง

ชมพูเชียงดาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pedicularis siamensis

ลักษณะ : ลำต้นสูงประมาณ 40-60 ซม. ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ หรือรอบต้นในระนาบเดียวกัน แผ่นใบคล้ายเฟิร์น รูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีหยักเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ขนาดกว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 1.5-4.5 ซม. ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ผิวใบด้านบนมีประขาว ด้านล่างเป็นนวลแป้งขาว ก้านใบสั้น

ดอกสีชมพูแกมม่วง ออกเป็นช่อตั้งตรงตามซอกใบ ดอกยาว 2-4 ซม. ไม่มีก้านดอก กลีบร่องดอกห่อเป็นถ้วย กลีบดอกบนเป็นหลอดยาว ตอนปลายเป็นจงอยโค้งแหลม กลีบล่างแผ่กว้างแยกออกเป็น 3 แถว

ช่วงเวลาออกดอก ต.ค. - ธ.ค.

แหล่งที่พบ : ดอยหลวงเชียงดาว

ฟอร์เก็ตมีน๊อทป่า

ชื่ออื่นๆ : ...

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cynoglossum lanceolatum Forssk.

ลักษณะ : ลำต้นแข็ง สูงประมาณ 0.5-1 เมตร มีกิ่งก้านแตกแขนงรอบลำต้น ใบเล็กเรียว ปลายแหลมโคนมน มีขนอ่อนปกคลุมทั้งสองด้าน

ดอกสีน้ำเงินอมฟ้า 5 แฉก ออกตามปลายยอด มีหลายดอกทยอยบาน โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ

ช่วงเวลาออกดอก ตุลาคม - ธันวาคม

แหล่งที่พบ : พบตามทุ่งหญ้าโล่ง ระดับความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป

นางอั้วน้อย

ชื่ออื่นๆ : ว่านข้าวเหนียว เอื้องข้าวตอก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Habenaria dentata ( Sw.) Schltr

ลักษณะ : ต้นเหนือดินสูง 10-20 ซม. ใบรูปรี ปลายมนหรือแหลม มี 3-5 ใบ

เรียงเป็นระยะเวียนรอบต้น แผ่นใบค่อนข้างหนาและอวบน้ำ ช่อดอกสูง 12-20 ซม.

ดอกค่อนข้างแน่น ขนาดดอก 1.2-1.5 ซม. กลีบปากเป็น 3 แฉก แฉกข้างกว้าง และขอบมน แฉกกลางผอมเรียว

ช่วงเวลาออกดอก กรกฎาคม - ตุลาคม

แหล่งที่พบ : ขึ้นตามพื้นดินในที่ร่มตามป่าดิบชื้นทุกภาค

เอื้องนวลจันทร์

ชื่ออื่นๆ : เอื้องเหลืองพิศมร เอื้องเหลืองศรีสะเกษ เอื้องดินลาว หัวข้าวเหนียว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spathoglottis lobbii Lindl.

ลักษณะ : เป็นหัวขนาดเล็กสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน ใบกว้าง 2 ซม. ยาว 20-30 ซม. ทิ้งใบร่วงหมดในฤดูร้อน ดอกเป็นช่อตั้งตรงราว 20-30 ซม. มีขนละเอียดปกคลุม ช่อละ 4-6 ดอก ออกรอบๆ ก้านช่อดอกโดยเรียงสลับกัน ดอกสีเหลือง กลีบนอกคู่ล่างมีเส้นสีม่วงประปราย ปลายปากดอกผายกว้างและมีร่อง โคนปากมีจุดและแถบสีแดง ขนาดดอก 2.5-3 ซม.

ช่วงเวลาออกดอก พ.ค. - พ.ย.

แหล่งที่พบ : ขึ้นตามพื้นดินขึ้นในทุ่งหญ้าและลานหินที่มีน้ำไหลผ่าน พบได้ทุกภาคของไทย แหล่งที่พบขึ้นเยอะ คือ ทุ่งโนนสน เขาสมอปูน ภูหินร่องกล้า และที่อื่นๆ

ว่านจุก

ชื่ออื่นๆ : เอื้องดิน เอื้องดินใบหมาก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spathoglottis plicata Bl.

ลักษณะ : ลำต้นเป็นหัวแบบเผือกอยู่ใต้ดิน มีการเจริญทางด้านข้าง ใบรูปแถบ ใบยาวมาก ช่อดอกมี 8-15 ดอก ดอกออกเกือบทุกช่อ ดอกกว้าง 4 ซม. สีชมพูแกมม่วง

ช่วงเวลาออกดอก พฤษภาคม - ตุลาคม

แหล่งที่พบ : ขึ้นตามพื้นดินที่ชุ่มชื้นในป่าดิบ พบได้ง่ายทางภาคตะวันออกและภาคใต้

ลิลลี่ดอย

ชื่ออื่นๆ : ไม่มี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : .....

ลักษณะ : เป็นพื้นล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นจะเจริญเติบโตในฤดูฝนและ ลำต้นจะแห้งไปในฤดูแล้ง หัวใต้ดินจะแตกต้นใหม่ในฤดูฝนถัดไป ลักษณะลำต้นแข็งตั้งตรง ความสูง 1-2 เมตร ใบแข็ง เล็กและเรียว ออกดอกที่ปลายยอด ลักษณะดอกมี 6 กลีบ ปลายกลีบม้วนโค้งขึ้นด้านบน จะทยอยบานจากล่างขึ้นบนจนสุดที่ปลายยอด เกสรห้อยลงและมีจำนวนเท่ากลีบ เกสรที่ได้รับการผสมจะพัฒนาเป็นฝักและมีเมล็ดเพื่อสืบพันธ์ต่อไป

ช่วงเวลาออกดอก สิงหาคม - กันยายน

แหล่งที่พบ : ภูสอยดาว ที่ระดับความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป นักท่องเที่ยวมือบอน

และพวกมักง่ายชอบดึงต้นขึ้นมาเพื่อจะนำลงไปปลูก ถอนขึ้นมาแล้วก็ทิ้งไว้แถวนั้นให้เห็นบ่อยๆ

กุหลาบพันปี

ชื่ออื่นๆ : คำแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhododendron arboreum subsp.

ลักษณะ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 2-12 เมตร ใบแข็งแผ่นใบหนา รูปทรงรีขอบใบเรียบ ลักษณะดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อละ 4-12 ดอก ดอกสีแดงสด กลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ

ช่วงเวลาออกดอก มกราคา - กุมภาพันธ์

แหล่งที่พบ : ขึ้นตามไหลเขาบนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,800 เมตรขึ้นไป พบในหลายดอยในจังหวัดเชียงใหม่ แหล่งที่พบคือกิ่วแม่ปานบนดอยอินทนนท์ ดอยอ่างขาง ดอยเวียงผา ดอยม่อนจอง

กุง

ชื่ออื่นๆ : หญ้าบัว หญ้าขนไก่ หญ้ากระเทียม กระถินทุ่ง กระถินนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xyris pauciflora Willd.

ลักษณะ : เป็นหญ้าชนิดหนึ่งมีเหง้าอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ช่อดอกเดี่ยวไม่มีก้าน สูงราว 30-50 ซม. ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ดอกสีเหลืองมี 3 กลีบ ในแต่ช่อช่อดอก จะมีดอกอ่อนหลายดอกซ้อนกันอยู่ จะทยอยบานทีละดอกต่อวันบานวันเดียวแล้วจะโรย

ช่วงเวลาออกดอก ตุลาคม - พฤศจิกายน

แหล่งที่พบ : ขึ้นตามทุ่งหญ้าทั้งบนเขาสูงและที่ราบตามท้องนาทุ่งหญ้าที่มีน้ำแฉะ

บุก

ชื่ออื่นๆ : มันชูรัน หัววุ้น บุกรอ กระแท่ง ลอกใหญ่ อีผุก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amorphophallus sp.

ลักษณะ : เป็นไม้มีหัวขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน มีใบโผล่ขึ้นจากดิน ก้านใบกลม อวบอ้วนสีเขียวอ่อน โคนมีสีเขียวเข้ม สูง 0.5-2 เมตร ดอกมี 2 แบบ แบบที่มีชื่อดอกชูสูงขึ้นจากพื้น และดอกที่ออกบริเวณผิวดินซึ่งไม่มีก้านดอก

ลักษณะดอกมีเกสรเป็นหลอดปลายเรียวอยู่ตรงกลาง จานรองดอกห่ออยู่ด้านล่าง ของหลอดเกสร จานรองดอกมีหลายรูปแบบ บางต้นมีรองจานดอกสูงเท่าคน

ช่วงเวลาออกดอก เมษายน - กรกฎาคม

แหล่งที่พบ : พบทั่วไปในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาค

ประโยชน์ ใบอ่อนที่ยังไม่บานสามารถนำไปแกงส้มได้ ทานอร่อย หัวขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ดินใช้ทำอาหาร แกง หรือทำไอครีมรสบุก และขนมหม้อแกงบุก นอกจากนี้ยังใช้ทำเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยลดความอ้วนอีกด้วย

จ๊าฮ่อม

ชื่ออื่นๆ : หว้าชะอำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peristrophe lanceolaria (Foxb.) Nees.

ลักษณะ: ลำต้นสูง 1-1.5 เมตร ใบรูปรีหรือรูปหอก กว้าง 2-6 ซม. ยาว 9-16 ซม. ปลายเรียวแหลม ขอบใบเรียบโคนแคบ ท้องใบมีขนสั้น ปกคลุม ดอกออกเป็นช่อตามยอดหรือง่ามใบ ช่อดอกยาว 5-10 ซม.

สีชมพูหรือสีชมพูอมม่วง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย

ปลายแยกเป็น 2 กลีบ ดังที่เห็นในภาพ

ช่วงเวลาออกดอก พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์

แหล่งที่พบ : ขึ้นตามท่องหญ้าชายป่าดิบ พบได้ทั่วไป

เทียนอินทนนท์

ชื่ออื่นๆ : ยังไม่ได้รับรายงาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : ยังไม่ได้รับรายงาน

ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุก ขึ้นเป็นพุ่มปกคลุมตามพื้นดิน ใบรี ขอบใบหยัก ออกดอกปลายยอด มี 2-3 ดอกต่อช่อ ทยอยบาน

ช่วงเวลาออกดอก ตุลาคม - ธันวาคม

แหล่งที่พบ : ไป พบมากที่ดอยอินทนนท์ ดอยผ้าห่มปก

ประโยชน์ เป็นไม้คลุมดินในที่ร่มเงาต้นไม้ใหญ่

หยาดน้ำค้าง

ชื่ออื่นๆ : จอกบ่อวาย หญ้าน้ำค้าง

ดอกไม้ป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drosera Burmanil

ลักษณะ : ลำต้นแนบติดกับพื้นดิน ใบรูปมนรีอวบอ้วนแผ่เป็น รัศมี กว้าง 4 ซม. ปลายงอโค้งคล้ายกับซ้อน ใบอ่อนสีเขียวและ มีขนเล็กๆ สีแดงจำนวนมากปกคลุมอยู่ตามขอบใบ ปลายขนจะมีตุ่มใสๆ ที่มีน้ำหวานเหนียวๆ ฉาบอยู่รอบๆ คล้ายหยาดน้ำค้างเพื่อล่อให้แมลงเข้ามาเกาะ

ช่วงเวลาออกดอก กรกฏาคม - ตุลาคม

แหล่งที่พบ : ตามลานหินที่มีน้ำชื้นแฉะ

เอื้องปากนกแก้ว

ชื่ออื่นๆ : เอื้องดิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium cruentum Rchb. f.

ลักษณะทั่วไป : เป็นกล้วยไม้ที่มีลำต้นใต้ดิน ใบยาวเรียวเหมือนใบอ่อนของมะพร้าว ในฤดูแล้งใบจะโทรมลง มักขึ้นอยู่ในทุ่งหญ้าคา เมื่อถึงฤดูแล้งหลังโดนไฟป่าเผาแล้วฝนมา ก็จะแตกใบออกมาพร้อมทั้งแทงช่อดอกโผล่ขึ้นจากดิน ออกดอกไปทั่วบริเวณทุ่งหญ้า สวยงามมากๆ

แหล่งที่พบ : ตามทุ่งหญ้าคาบนที่สูง

ช่วงเวลาออกดอก : ประมาณเดือนมิถุนายน ถึง กรกฏาคม

กุหลาบขาวเชียงดาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhododendron kiwl lm.

ลักษณะทั่วไป : ลำต้นแข็ง แตกเป็นทรงพุ่มเตี้ย ความสูงของต้นที่ขึ้นในบริเวณที่ปะทะลมประมาณ 0.75-1.0 เมตร บริเวณไม่ปะทะลม 1-1.5 เมตรช่อดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ในแต่ละช่อมี 3- 5 ดอก

แหล่งที่พบ : บนเขาสูงที่เป็นภูเขาหินปูน มักขึ้นบนที่สูงตั้งแต่ 1,800 เมตร ขึ้นไป พบได้ที่ดอยหลวงเชียงดาว และ ดอยภูแว

ช่วงเวลาออกดอก : ประมาณเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม

วนารมย์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lespedeza sulcata Craib

ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาขยายไปตามพื้นหญ้า ลักษณะเหมือนพืชคลุมดิน ดอกมีกลีบเป็นชั้นๆ ดังที่เห็นในภาพ โดยดอกชั้นล่างจะเริ่มบานก่อน แล้วบานไล่ขึ้นไปข้างบน มีดอกสวยไปจนกว่าจะบานสุดดอก เวลาดอกบานจะบานพร้อมกันทั้งพุ่มสวยงามมาก

แหล่งที่พบ : ขึ้นแซมบนทุ่งหญ้ากลางแจ้งที่ชุ่มชื้นและมีสภาพดินปนทรายร่วนซุย

ช่วงเวลาออกดอก : ประมาณเดือนกันยายน ถึง ตุลาคม

หางเสือลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nosema cochinchinense (Lour.) Merr

ลักษณะทั่วไป : ลำต้นสูง 30-60 ซม. สีแดง เป็นเหลี่ยมมนๆ มีขนนุ่มละเอียดปกคลุมอยู่หนาแน่น และแตกกิ่งก้านเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด ดอกเป็นหลอดเล็กๆ สีม่วงหรือม่วงอ่อน เรียงตัวอัดกันแน่นเป็นรูปทรงกระบอกใบ รูปขอบขนานแคบถึงรูปขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 4-6 ซม. ขอบใบหยักโค้งละเอียด โคนมีสีแดงแต้ม มีขนนนุ่มละเอียดปกคลุมทั้งสอง

สรรพคุณ : เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สิริมงคล

แหล่งที่พบ : ขึ้นปะปนตามทุ่งหญ้าป่าสนที่มีน้ำขังหรือชุ่มชื้นบนภูเขาสูงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภูเรือ

ช่วงเวลาออกดอก : ประมาณเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม

ฉัตรฟ้า

ชื่อท้องถิ่น : นมสวรรค์ พนมสวรรค์ ฉัตรฟ้า

ชื่อวงศ์ : VERBERNACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum paniculatum Linn.

ลักษณะทั่วไป : ลำต้นเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตรงเป็นเหลี่ยมสี่เหลี่ยมเป็นข้อๆไม่มีกิ่ง แต่มีก้านใบแตกออกจากลำต้นโดยตรง ใบสีเขียวแกมดำ ผิวใบระคายเล็กน้อย ขอบใบเป็นแฉก 5 แฉก ปลายแฉกแหลม ออกดอกตรงยอดมี 2 ชนิด คือ สีขาวกับสีแดง

สรรพคุณ : - ดอก แก้เลือดในท้อง แก้พิษสัตว์

- ส่วนใบแก้ลมและพิษฝีดาษ

- ต้นและราก แก้พิษแมงป่อง ตะขาบ แก้ไข้เหนือ ขับลมให้ออกมาทั่วตา

แหล่งที่พบ : ไทย อินโดนีเซีย พม่า จีน

ช่วงเวลาออกดอก : ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม

เทียนก้ามกุ้ง

ชื่อสามัญ : เทียนภู

ชื่อท้องถิ่น : เทียนก้ามกุ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Impatiens pseudochinenis

วงศ์ : BALSAMINACEAE

ลักษณะทั่วไป : พืชล้มลุกขนาดสูงประมาณ 30-50 ซม.ลำต้นเป็นปล้องอวบน้ำ และเปราะหักง่ายใบเรียวยาว และมีหนามตามขอบใบดอกสีม่วงอมชมพูและมีจะงอยยาว ก้านดอกเรียบ กลีบเลี้ยงรูปไข่

แหล่งที่พบ : พบอยู่ตามทุ่งหญ้า บนภูเขาหินปูนทั่วไป

ช่วงเวลาออกดอก : ออกดอกตลอดทั้งปี

อรพิม

ชื่ออื่นๆ : คิ้วนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia Winitii, Craib

ชื่อวงศ์ : Leguminosae

ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่แข็ง ใบเป็นใบประกอบ ช่อหนึ่งจะมีใบ 15-20 ใบ แผ่นใบจะเว้าผ่ากลาง เป็นสองซีกเล็กๆ ดูคล้ายใบย่อย 2 ใบ จะออกสลับกันตลอดก้านใบ ดอกจะออกโคนก้านใบและยอดเถาเป็นช่อ ๆ ช่อใหญ่จะมีดอกประมาณ 10-20 ดอก ดอกจะทยอยกันบานจนหมดช่อ มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยง ดอกตูม และก้านดอก จะเป็นขนสีนํ้าตาลนุ่ม มีฝักยาว วัดได้ประมาณ 15-30 ซม. ออกดอก ฤดูฝนตลอดฤดูหนาว ถ้าจะปลูกขึ้นซุ้มต้องเป็นซุ้มที่แข็งแรงและ ขนาดใหญ่

แหล่งที่พบ : ตามป่าไม้ผลัดใบและป่าโปร่งบนเขาหินปูนทางภาคกลาง และภาคตะวันตกเฉียงใต้

ช่วงเวลาออกดอก : ประมาณเดือนสิงหาคม ถึง มกราคม

กระทือ

ชื่ออื่นๆ : กะแวน กะแอน ระแอน แสมดำ กระทือป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet

ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชตระกูลขิงข่า ลักษณะลำต้นเหมือนข่าแต่โตกว่า ใบรูปหอก ลำต้นสูง 1- 2 เมตร ปลายแหลม ขอบใบเรียว ก้านช่อดอกโผล่พ้นขึ้นมาจากเหง้าใต้ดินยาว 20-30 ซม. ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น ดอกจะเป็นหลอดขนาดเล็กเมื่อบานจะโผล่ออกมาจากกลีบที่เป็นชั้นๆ

แหล่งที่พบ : ตามป่าเบญจพรรณ และชายป่า

ช่วงเวลาออกดอก : ประมาณเดือนพฤษภาคม

พวงหยก

ชื่อสามัญ : Gray Jade Vine , Emerald

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strongylodon macrobotrus A.

วงศ์ : PAPILIONOIDEAE

ลักษณะทั่วไป : ลำต้นเป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง เถามีสีน้ำตาลเข้ม แล้วจะทิ้งต้นย้อยลงมา แลดูสวยงาม ใบมีมีขนาดใหญ่ มีความกว้างประมาณ 4 ซม. และยาวประมาณ 13 ซม. จะออกสลับซ้าย - ขวาไปตลอดกิ่ง ใบหนึ่งก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะค่อนข้างรี มีปลายใบและโคนใบแหลมลักษณะของดอกจะออกเป็นช่อห้อยลง มีสีเขียวหยกดอกจะเริ่มทยอยบานจากบริเวณโคนช่อก่อน ตัวดอกมีลักษณะคล้ายกับดอกแค แต่ดอกพวงหยกจะมีขนาดใหญ่กว่า แต่ละดอกจะมีก้านดอกยึดติดกับแกนของช่อรวมกันเป็นพวง มีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ส่วนกลีบดอกนั้นจะแบน หนึ่งดอกจะมี 5 กลีบ มีขนาดต่างๆ ช่อดอกที่สมบูรณ์มีความยาวประมาณ 65-70 ซม.

ประโยชน์ : นิยมปลูกพวงหยกบริเวณริมกำแพง ซุ้มประตู หรืออาจ เป็นซุ้มที่นั่งเล่น หรือซุ้มในสวนสาธารณะ

ช่วงเวลาออกดอก : ประมาณเดือนพฤศจิกายน ถึง มกราคม

ดอกหงอนนาค

ชื่ออื่นๆ : น้ำค้างกลางเที่ยง หญ้าหงอนเงือก หงอนเงือก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia giganteum ( Vahl. ) Br.

ลักษณะ : ลำต้น : สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นอวบน้ำ ใบรูปดาบ กว้าง 4.12 มม. ยาว 15- 40 ซม. ออกสลับรอบข้อที่ผิวดิน

ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด ดอกสีม่วงอ่อนหรือม่วงน้ำเงิน สีขาว และสีชมพู ซึ่งค่อนข้างหายาก กลีบดอก 3 กลีบ กลีบตรงกลางด้านบนจะตั้งฉากกับกลีบ ด้านข้างทั้ง 2 กลีบ ยามเช้าจะหุบดอก แล้วจะบานเมื่อมีแสงแดด ส่วนกลางของดอกมักหยดน้ำติดอยู่

แหล่งที่พบ : ขึ้นบริเวณลานดินทรายที่มีน้ำขังหรือทุ่งหญ้าป่าสนบนภูเขาสูงๆ ที่ชุ่มชื้น จุดที่มีหงอนนาคทุ่งใหญ่ที่สุดของไทยอยู่ที่ภูสอยดาว นอกจากนี้ยังพบได้อีกหลายแห่งเช่น เขาสมอปูน ทุ่งโนนสน เขาใหญ่ และอีกหลายที่

ช่วงเวลาออกดอก ส.ค. - ต.ค

'นางแลว' ไม้ประดับกินได้

จะพบต้น "นางแลว" หรือ "เอื้องแลว" ได้ทางภาคเหนือ แถวเชียงใหม่ เชียงราย บางบ้านปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ บ้างก็เอาดอกไปทำอาหาร ทั้งลวกจิ้มน้ำพริก แกงรวมกับชะอม หรือจะรวมกับผักชนิดอื่นนำไปแกงแคได้ รสชาติอร่อย ออกหวาน ชอบที่ร่ม หรือแดดรำไร สภาพดินร่วนซุย

เป็นไม้ล้มลุกขึ้นตามป่าในฤดูแล้ง อยู่ในวงศ์ LILIACEAE ลำต้นอยู่ใต้ดิน ทั้งต้นรวมถึงใบสูง 30-80 เซนติเมตร

ใบ เป็นใบเดี่ยวมีก้านออกจากต้นใต้ดินยาว 20-45 เซนติเมตร รูปหอก โคนใบสอบ ปลายแหลม ขอบขนานเรียบ ใบกว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 23-28 เซนติเมตร ผืนใบด้านบนสีเขียวมัน แต่หลังใบสากเล็กน้อย ตามใบเส้นใบขนานตามความยาวของใบ

ดอก ออกเป็นช่อ มีโคนโผล่จากต้นใต้ดินมีหลายดอก คล้ายกับช่อกล้วยไม้ แต่ละช่อมีดอกย่อยเล็กสีขาวอมชมพูจำนวนมาก

ขยายพันธุ์ แยกหน่อจากต้นแม่ปลูก

ไม้ดอกไม้ประดับ หมายถึง ไม้ดอกที่นำมาใช้ในการประดับตกแต่งสวน หรือสถานที่ต่างๆ โดยไม้ดอก (Flowering plant) หมายถึง พรรณไม้ที่ออกดอกมีสีสันสวยงาม หรือมีกลิ่นหอม อาจจำแนกไม้ดอกออกได้เป็น ๒ วิธี คือ วิธีแรกเป็นการจำแนกตามลักษณะของพรรณไม้ และวิธีที่ ๒ เป็นการจำแนกตามประโยชน์ใช้สอย

ไม้ดอกที่เป็นไม้เถา หรือไม้เลื้อย หมายถึง ไม้ดอกที่ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องอาศัยยึดเหนี่ยวพาดพิงต้นไม้หรือวัสดุอื่นในการทรงตัว หากไม่มีสิ่งใดให้พาดพิง ก็จะเลื้อยไปตามพื้นดิน

เงินไหลมา ลักษณะเป็นเถาเลือย ถือได้ว่าเป็นนามที่เป็นมงคล เพราะเงินทองที่ไหลมาเทมาสู่บ้านเรือน และสมาชิกทุกคนภายในบ้าน

ม่านบาหลี เป็นไม้เลื้อยดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ มีรากเป็นเส้นสีแดงดูสวยงาม เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้คลุมระแนง

ไม้ดอกที่เป็นพุ่ม หมายถึง ไม้ดอกที่มีเนื้อไม้แข็ง ลำต้นตั้งตรงเป็นอิสระได้โดยไม่ต้องอาศัยต้นไม้หรือวัสดุอื่นยึดเหนี่ยวพาดพิง มีอายุอยู่ได้นานหลายปี มีความสูงไม่มากนัก และมีการแตกกิ่งก้านไม่สูงจากพื้นดิน

กระดังงาสงขลา ดอกจะมีสองสีคือสีเขียวอ่อน และสีเหลืองจะมีกลิ่นหอมแต่ไม่ส่งกลิ่นหอมมากนักโดยเฉพาะเวลากลางวัน

กาวดูล็อป ใบมีขนาดใหญ่ ส่วนดอกจะเป็นสีแดง

โกสน ลักษณะใบจะแตกออกจากต้นและปลายกิ่ง ส่วนดอกออกเป็นพวงห้อยลงมาด้านล่าง เป็นต้นไม้สิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย

ขิงด่าง เป็นว่านสิริมงคล เหมาะที่จะปลูกเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้าน เชื่อกันว่าเป็นว่านที่สามารถป้องกันอันตรายต่างๆ ได้

ขิงแดง มีช่อดอกที่สวยงาม สามารถบานอยู่บนต้นได้นาน และมีรูปทรงของดอกที่แปลกกว่าไม้ดอกชนิดอื่น ๆ นิยมนำมาปักแจกัน

เข็มเชียงใหม่ ใบจะมีขนาดเล็กสีเขียวเข้ม ดอกสีส้มดกเต็มต้น

เข็มเล็ก ลักษณใบมนรีปลายใบแหลม แต่ละชนิดจะมีขนาดดอกและสีไม่เหมือนกัน นิยมปลูกตามบ้าน ตามริมรั้ว

เข็มสามสี ใบมีลักษณะแคบ ปลายใบแหลม และใบมีสามสี ถ้าหากปลูกในที่มีแสงแดงจัด สีบนใบจะสดใสสวยงามมาก

คริสติน่า ยอดมีสีแดงสดเมื่อถูกตัดแต่งบ่อยๆ จะยิ่งแตกพุ่มยอด ทำให้มองดูมีสีสันตลอดเวลา

ชบาด่าง ลักษณะใบจะเรียงสลับ มีหลายสี เส้นใบเป็นรูปฝ่ามือ ส่วนดอกคล้ายระฆัง

ชาดัด นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง และทำเป็นแนวกั้นรั้วบ้าน

ดาษตะกั่ว ขอบใบมีลักษณะเป็นรอยยัก ใบมีสองสีสลับกันระหว่างสีเขียวและสีแดง

หอมเจ็ดชั้น ชอบปริมาณแสงแดดตลอดวัน

และไม่ผลัดใบ มักออกดอกในช่วงหน้าหนาว ดอกมีกลิ่นหอมมาก

หอมหมื่นลี้ ใบของมันจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และเป็นมันเงา ที่ช่วยกระตุ้นให้กลิ่นหอมของดอกที่มีสีขาวนวล มีกลิ่นหอมมากยิ่งขึ้น

เทียนหยด ใบเป็นสีเขียวสด เวลาใบดกจะเป็นพุ่มน่าชมมาก ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ส่วนช่อดอกจะห้อยลงเป็นระย้า

ไทรย้อย ใบมีสีเขียวเป็นมัน เป็นไม้พุ่มขนาดกลางที่มีทรงพุ่มหนาทึบแผ่กิ่งก้าน

สาขาทิ้งใบห้อยระย้าแลดูสวยงามและมีรากอากาศแตกออกจากลำต้น ย้อยลงสู่พื้นดินเป็น

จำนวนมาก

นีออน ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเป็นดอกสีม่วงจางปลายแยกเป็น 5 แฉก สีม่วงสด

ถึงสีชมพูอมม่วงแดง มักออกดอกพร้อมกันทั้งต้น

ไผ่จีน เป็นไม้พุ่มเป็นกอ ลำต้นตั้งตรงกลมเป็นทรงกระบอกกลวง ขนาด 2- 7 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยง สีเขียวบางต้นมีลายขาวแซม ไม่มีหนาม เนื้อเเข็ง มีช้อปล้องชัดเจน

ไผ่ป่า เป็นไม้ไผ่ที่ขึ้นอยู่ตามป่าดงดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าโปร่งทั่วประเทศ

ไผ่ใหญ่ ลำต้นแข็ง ไม่เป็นโพรง มีใบแน่นหนา ลำต้นตรงใหญ่ มีกิ่งชิดไม่ห่าง

พุดซ้อน เป็นไม้หอมที่มีดอกโตกลีบซ้อนสีขาวบริสุทธิ์ และมีกลิ่นหอมแรง ดอกเมื่อแก่แล้วจะกลายเป็นสีเหลือง

โมก ดอกของต้นโมกนั้น มีสีขาวสะอาด มีกลิ่นหอมสดชื่นตลอดทั้งวัน

โมกซ้อน ลำต้นเรียบ มีจุดขาว ดอกมีลักษณะซ้อน

โมกพวง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ออกดอกตลอดปี ออกดอกเป็นพวงใหญ่ ดอกมีกลิ่นหอม

ฤาษีผสม ใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจัก มีตั้งแต่สีเขียว ม่วง แดง น้ำตาล นิยมปลูกเป็นไม้คลุมดินหรือใช้ตกแต่งสวนหย่อม

หางนกยูง หางนกยูงเป็นไม้ที่ปลูกง่าย ทนทาน ออกดอกทั้งปี เหมาะให้ร่มเงาในที่โล่ง

หูปลาช่อน ใบมีรูปร่างหลายแบบ ทั้งแบบรียาวรูปหัวใจ หรือใบกลมพับเป็นจีบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย

ไม้ดอกที่เป็นไม้ล้มลุก หมายถึง ไม้ดอกประเภทที่มีวงจรชีวิตสั้น ส่วนใหญ่เมื่อเกิดมาแล้วจะเจริญเติบโตให้ดอกจนครบวงจรชีวิต แล้วตายภายในฤดูเดียวหรือปีเดียว จัดเป็นไม้ดอกฤดูเดียว เป็นไม้ดอกที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับมากที่สุด เพราะปลูกและตกแต่งได้ง่าย มีการเจริญเติบโตเร็ว นอกจากไม้ดอกล้มลุกที่มีอายุปีเดียวแล้ว มีไม้ดอกล้มลุกบางชนิดที่มีอายุมากกว่า ๑ ปี ซึ่งจัดเป็นไม้ดอกล้มลุกสองฤดู หรือไม้ดอกล้มลุกหลายฤดู

กล้วยบัว ปลีออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกตั้งขึ้น มีใบประดับรูปไข่สีส้มแดงหุ้มช่อดอกไว้ ลักษณะคล้ายกลีบดอกบัวเมื่อบานจะแผ่กางแล้วม้วนลง

กล้วยพัด กล้วยพัดมีความโดดเด่นที่ใบเรียงตั้งขึ้นคล้ายพัดจีน เป็นพืชพื้นเมืองของเกาะมาดากัสการ์ในมหาสมุทรอินเดีย

กล้วยร้อยหวี ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็นปลีมีงวงยาวเป็นพิเศษเรียงลงมากว่า 1 เมตร

คล้าน้ำ ดอกมีสีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงจากกอ ก้านช่อดอกกลมเรียวยาว ปลายก้านแตกแขนงย่อยหลายแขนงห้อยลงพื้น

คุณนายตื่นสาย ดอกมีสีสันสวยงาม ปลูกคลุมดินประดับสวนในพื้นที่ที่ได้รับ

แสงแดดจัด

ต้นกก มีลำต้นใต้ดิน เจริญเติบโตเป็นกอ ลำต้นเหนือดินมีลักษณะเป็นก้านแข็งกลม ดอกออกเป็นช่อกลมสีน้ำตาลแดงที่ปลายยอด

ตีนตุ๊กแก พืชใบเลี้ยงคู่ลำต้นทอดนอนไปตามพื้น ชูยอดและดอกขึ้น ออกดอกตลอดปี เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี

พลับพลึง กทม. มีลำต้นใต้ดิน ส่วนลำต้นเหนือดิน ประกอบด้วยกาบสีขาวหุ้มกันเป็นชั้น ๆ เหมือนพลับพลึงทั่วไป มักขึ้นเป็นกลุ่มกอ

พลับพลึงหนู ใบมีสีเขียวเข้มเป็นใบยาวเรียว มีดอกสีขาว และออกดอกตลอดทั้งปี

หญ้านวลน้อย มีลำต้นเลื้อยแผ่ปกคลุมดินใบยาว 1 – 4 นิ้ว ปลายใบแหลม แตกกิ่งก้านสาขาตามข้อปล้อง รากแผ่กระจายใต้ผิวดิน

หญ้าเบอร์มิวด้า แตกต่างจากหญ้าชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีใบที่เล็กมาก แคบสั้น ข้อปล้องสั้น ลำต้นเลื้อยคลุมดิน แตกกิ่งก้านสาขาตามข้อปล้องรากแผ่กระจายใต้ผิวดิน

หญ้ามาเลเซีย มีลำต้นเลื้อยแผ่ปกคลุมดิน ใบใหญ่เหมือนผักชีฝรั่ง ใบยาว 2 – 4 นิ้วปลายใบแหลมแตกกิ่งก้านสาขาตามข้อปล้อง รากแผ่กระจายใต้ดิน

ไม้ดอกชนิดอื่น ๆ

กุหลาบหิน ดอกจะทยอยบานนาน 2 - 3 เดือนในช่วงฤดูหนาว แม้ดอกจะเล็กแต่สีสันสะดุดตามาก ถ้าปลูกในร่ม ใบจะเขียวเข้มและไม่ค่อยออกดอกเพราะชอบแดดจัด

จันทร์ผา ลำต้นมีความแข็งแกร่งมาก การแตกใบจะแตกออกบริเวณยอด ใบสีเขียวเข้มเป็นรูปหอก และเรียวยาว

ถั่วบลาซิล นิยมปลูกเป็นไม้ประดับคลุมพื้นที่ ให้เป็นแปลงใหญ่ ตามรีสอร์ท ต่างๆ เพราะเป็นต้นไม้ที่คลุมดินได้ดี และให้ดอกที่สวยงามสีเหลืองอร่าม

โป๊ยเซียน เป็นไม้มงคลลักษณะดอก และสีจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์

เฟิร์นข้าหลวง การเรียงตัวของใบจะเรียงตัวแบบเกลียวคล้ายดอกกุหลาบ ใบที่เกิดใหม่จะอ่อนและเปราะหักได้ง่ายแต่พอ

เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีความเหนียวและหนามาก

เฟิร์นใบมะขาม ลักษณะคล้ายใบมะขาม เป็นไม้คลุมดิน สูง 10-20 เซนติเมตร

ลิ้นมังกร มีลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน ลักษณะลำต้นเป็นข้อ ๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออมาพ้นดินเป็นกอ ลักษณะใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบมีสีเหลืองกลางใบสีเขียวอ่อน

วาสนา คนไทยและจีนมีความเชื่อกันว่า ใครได้ปลูก ต้นวาสนาจะมีความเจริญงอกงาม นิยมปลูกในกระถางวางประดับไว้ตามมุมห้องหรือปลูกลงดินไว้ตามมุมตึก