เลี้ยงเป็ด

พันธุ์เป็ดเนื้อ

เป็ดพันธุ์แท้แบ่งได้ 3 ประเภทคือ เป็ดพันธุ์เนื้อ เป็ดพันธุ์ไข่ เป็ดพันธุ์เนื้อพันธุ์ไข่ นอกจากมีเป็ดพันธุ์แท้แล้วก็ยังมีเป็ดพันธุ์ลูกผสม ที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์เพื่อต้องการลักษณะต่างๆ ที่ตลาดต้องการ

เป็ดที่เลี้ยงเป็นการค้าในปัจจุบันทั้งเป็ดเนื้อและเป็ดไข่พันธุ์ต่าง ๆ มีหลักฐานยืนยันว่าได้รับการ ปรับปรุงพันธุ์มาจากเป็ดมอลลาร์ด

1.พันธุ์ปักกิ่ง

ลักษณะประจำพันธุ์ : มีขนสีขาว ปากมีสีเหลืองหรือสีส้มแข้ง ผิวหนังสีเหลือง

มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน รูปร่างใหญ่โต ลำตัวกว้างลึกและหนา ขนสีขาวล้วน ปากสีเหลือง-ส้ม แข้งและเท้าสีหมากสุก ผิวหน้าสีเหลือง เลี้ยงง่าย ไม่ฟักไข่ ให้ไข่ดีพอใช้ ประมาณ 160 ฟองต่อปี เปลือกไข่สีขาว เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนักประมาณ 4 กก. ตัวเมียหนัก 3.5 กก.

เป็ดปักกิ่งมีนิสัยค่อนข้างตื่นตกใจง่าย ผู้เลี้ยงควรระวัง เพราะอาจกระทบกับการเจริญเติบโตได้ ใช้เลี้ยงไล่ทุ่งไม่ค่อยได้ผล ควรเลี้ยงในเล้าที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก จึงจะเติบโตดี นอกจากให้เนื้อแล้ว ขนเป็ดปักกิ่งยังเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมผลิตลูกขนไก่ และใช้ทำฟูกที่นอนได้ด้วย

2. เป็ดเทศ (Muscovy)

ลักษณะประจำพันธุ์ : แบ่งเป็น 3 พวก คือ ชนิดสีขาว ชนิดสีดำ และชนิดขาวดำ เป็ดเทศชนิดสีขาวจะมีขน สีขาว ผิวหนังสีขาว แข้งสีเหลืองหรือส้มอ่อน ปากสีเนื้อ ส่วนเป็ดเทศชนิดสีดำ จะมีขนดำปนขาว ปากสีชมพูแข้งสีเหลือง หรือสีตะกั่วเข้ม

มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ เป็นเป็ดอีกพันธุ์หนึ่งต่างหาก

เมื่อทำการผสม พันธุ์กับเป็ดพันธุ์อื่น จะให้ลูกเป็นหมัน เช่น เป็นพันธุ์ปั๊วฉ่าย

เป็ดเทศใช้อาหารพวกพืชสดได้ดีคล้าย ๆ กับห่าน เป็นเป็ดที่ให้เนื้อดีแต่ให้ไข่น้อย และโตค่อนข้างช้า จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมเลี้ยงเป็นการค้า เป็ดเทศชอบฟักไข่และเลี้ยงลูกไก่ มีนิสัยชอบบิน เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้ จะมีน้ำหนักประมาณ 4-4.5 กก. ตัวเมียมีน้ำหนัก 3.0-3.5 กก.

เป็ดเทศมี 2 ชนิด คือชนิดมีสีขาวและชนิดสีดำทั้ง 2 ชนิดบริเวณหน้าและเหนือจมูก มีหนังย่นสีแดงเป็นเทศชนิดที่มีสีขาวจะมีขนสีขาว ผิวหนังสีขาว แข้งสีเหลือง-ส้มอ่อน ปากมีสีเนื้อ

ชนิดสีดำมีขนที่หน้าอก ลำตัวและหลังสีดำประขาวปากสีชมพู แข้งสีเหลืองหรือตะกั่วเข้ม

3. พันธุ์ปั๊วฉ่าย

เป็นเป็ดพันธุ์ผสมระหว่างเป็ดเทศกับเป็ดธรรมดา พันธุ์พื้นเมืองของไทย ลูกเป็ดที่ได้จะเป็นหมันทั้งเพศผู้และเพศเมีย

ลักษณะเป็ดพันธุ์นี้ : คือโครงร่างใหญ่ เล็บแหลมดำ และว่องไว กระโดดเก่งกว่าลูกเป็ดธรรมดา เลี้ยงง่าย โตเร็ว ไม่เที่ยวหากินไกล ไม่ร้องเสียงดัง รสชาติของเนื้อดีกว่าเป็ดธรรมดา เนื้อแน่น มีไขมันต่ำ ชาวจีน นิยมบริโภคมานานนับร้อยปีแล้ว ในช่วงตรุษและสารทจีน ราคาดีกว่าเป็ดธรรมดามาก

การเลี้ยงใช้เวลาประมาณ 3.5-4 เดือน เป็ดตัวผู้จะมีน้ำหนัก 3-3.5 กก. ส่วนตัวเมียจะหนัก 2.5-3 กก.

4. พันธุ์ลูกผสม ไฮ-บริด

นำมาเผยแพร่โดยบริษัทเอกชน มีเลี้ยงกันอยู่หลายพันธุ์ในขณะนี้ เช่น พันธุ์ เชอรี่วอลเลย์ พันธุ์ทีเกล พันธุ์ฮักการด์ พันธุ์เลคการด์ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มีการพัฒนาพันธุ์โดยมีพันธุ์ปักกิ่งผสมอยู่ด้วย

5. พันธุ์พื้นเมือง

มีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกัน คือ

5.1พันธุ์นครปฐม

เป็นเป็ดตัวผู้ที่คัดออกจากเป็ดพันธุ์ไข่ และนำมาเลี้ยงเป็นเป็ดเนื้อ ได้รับความนิยมจากผู้เลี้ยงมากที่สุด เพราะลูกเป็ดราคาถูก เลี้ยงง่าย และได้น้ำหนักดีกว่าเป็ดพื้นเมืองพันธุ์อื่น ๆ ใช้เวลาเลี้ยง 3-4 เดือน ได้ น้ำหนักเฉลี่ย 1.6-2.0 กก. ตัวผู้จะมีหัวสีเขียว คอควั่นขาว อกสีแดง ลำตัวสีเทา และเท้าสีส้ม

5.2พันธุ์กากีผสม

เป็นเป็ดตัวผู้ที่คัดออกจากเป็ดไข่พันธุ์กากีผสมและนำมาเลี้ยงเป็นเป็ดพันธุ์เนื้อ เป็นเป็ดพันธุ์ เล็ก น้ำหนักไม่ค่อยดี จึงไม่นิยมเลี้ยงกันมากนัก ใช้เวลาเลี้ยง 4 เดือน ได้น้ำหนัก 1.3-1.6 กก.

การเลี้ยงเป็ดตัวผู้เป็นเป็ดพันธุ์เนื้อเดิมทีเดียว ไม่ได้นิยมกันมากนัก จนกระทั่งเกษตรกรแถบนครปฐม สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา อยุธยา อ่างทอง หลังจากทำนาแล้ว ก็ลองซื้อลูกเป็ดตัวผู้มาเลี้ยง จนกลายเป็นความนิยมทั่วไป โดยส่วนมากนิยมเลี้ยงเป็ดพื้นเมือง การเลี้ยงก็โดยอาศัยให้เป็ดหากินเก็บข้าวตกและลูกกุ้ง ลูกปลาตามหนอง คลอง บึง ต่าง ๆ

6.เป็ดบาบารี่

เป็นเป็ดที่มีการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างเป็ดเทศพันธุ์พื้นเมือง เพศเมีย กับเป็ดเทศพันธุ์บาบารี่ 100% แล้วนำลูกเป็ดเทสเพศเมีย ที่ได้ไปผสมกับเป็ดเพศพ่อ พันธุ์บาบารี่ 100% อีกครั้งหนึ่ง จะได้เป็ดเทศลูกผสมสายเลือดบาบารี่ 75% มีลักษณะเด่นคือเป็นเป็ดเนื้อลูกผสมที่มีโครงการใหญ่เนื้อมาก ไขมันต่ำ ไร้กลิ่นสาป เนื้อตัวสะอาดทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่นเดียวกับเป็ดพื้นเมืองธรรมดา แต่มีข้อดีคือ เลี้ยงง่าย โตเร็ว สามารถใช้อาหารที่หาตามท้องถิ่นได้ ออกไข่ปีละ 4-5 ชุด ๆ ละประมาณ 20 ฟอง สามารถฟักไข่ได้เอง และเลี้ยงลูกเก่ง ข้อสำคัญ จำหน่ายได้ราคาดีเป็นที่ต้องการของตลาด

ลักษณะเด่น : ของเป็ดพันธุ์บาบารี่ คือ เลี้ยงง่าย ทนต่อโรค เลี้ยงได้ทั้งผักตามธรรมชาติและอาหารข้นผสมรำปรายข้าว ให้อาหารเพียงวันละ 2 มื้อ เช้าและเย็น ซึ่งใน 1 ปี สามารถเลี้ยงได้ถึง 5 รุ่น โดยแต่ละรุ่นจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 75 วัน จะมีน้ำหนักประมาณตัวละ 2.8 กิโลกรัม จำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 60 บาท

ขั้นตอนการเลี้ยงเป็ด

การเลี้ยงลูกเป็ด 0-2 สัปดาห์

1. การเตรียมโรงเรือนสำหรับลูกเป็ด 0-2 สัปดาห์

1.1 การทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้ สำหรับลูกเป็ดระยะแรก โดยการล้างน้ำและนำออกตากแดด การเตรียมกรงกก จะต้องเตรียมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่ทุกครั้งที่นำเป็ดเข้า

1.2 การให้น้ำสะอาด ในระยะแรกที่ลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม น้ำที่เตรียมไว้ควรเป็นน้ำสะอาด

1.3 โรงเรือนและอุปกรณ์ ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าได้แก่

- โรงเรือนที่ใช้กกลูกเป็ด ควรป้องกันลมและฝนได้ พร้อมที่จะต้องป้องกันสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นศัตรูและเป็นพาหนะนำเชื้อโรคมาสู่เป็ด เช่น สุนัข แมว หนู นก ต่าง ๆ

1.4 ลงบันทึกในใบรายงานการเตรียมโรงเรือน

2. การกกลูกเป็ด

2.1 การกกควรแบ่งลูกเป็ดกรง ๆ ละ 60 ตัว บนกรงกกขนาด 110 x 130 ซม.

2.2 แหล่งความร้อนใช้หลอดไฟฟ้า 100 วัตต์ 1 หลอด / ลูกเป็ด 60 ตัว ในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวัน ให้ใช้แสงธรรมชาติ

3. การให้น้ำและอาหารลูกเป็ด

ในระยะเวลา 2 วันแรก ควรให้อาหารสำหรับเป็ดแรกเกิด - 3 สัปดาห์ ใส่ภาชนะแบนๆ มีขอบเตี้ย ๆ และมีน้ำสะอาดวางให้กิน น้ำควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน ภาชนะใส่น้ำควรล้างทำความสะอาดทุก ๆ วัน วันละ 2 ครั้ง

4. สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม

เมื่อลูกเป็ดมาถึงและนำลูกเป็ดออกวางในกรงกก ควรสำรวจดูความแข็งแรง ถ้าตัวไหนอ่อนแอก็ให้แยกเลี้ยงต่างหาก ทันทีที่ปล่อยลูกเป็ดลงพื้นของกรงกก สิ่งแรกที่ควรสอนลูกเป็ด คือ ให้ลูกเป็ดกินน้ำและต้องให้กินน้ำก่อน 2-3 ชั่วโมง เมื่อเห็นตัวไหนกินน้ำไม่เป็นควรจะจับปากลูกเป็ดจุ่มลงในน้ำ เพื่อให้ลูกเป็ดเรียนรู้

การเลี้ยงเป็ด 6 สัปดาห์ ขึ้นไป

เมื่อลูกเป็ดระยะนี้จะเจริญเติบโตเต็มที่โดยเป็ดเพศเมียจะเจริญเติบโตเต็มที่ ช่วงระยะเวลา 8 สัปดาห์ และเป็ดเพศผู้จะเจริญเติบโตเต็มที่ ช่วงระยะเวลา 10 สัปดาห์ การเลี้ยงเป็ดระยะช่วงเวลา 6 สัปดาห์ขึ้นไปนี้มีข้อปฏิบัติดังนี้

1. การให้อาหาร จะใช้อาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงดูเป็ดช่วงระยะเวลา 6 สัปดาห์ขึ้นไป การให้อาหารช่วงระยะเวลานี้ต้องหมั่นตรวจสอบความเพียงพอสำหรับเป็ดในกินอาหาร พร้อมทั้งเกลี่ยอาหารให้กระจายสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เป็ดได้รับอาหารในปริมาณที่เท่า ๆ กัน น้ำหนักเป็ดสม่ำเสมอทั้งฝูงและเป็ดจะได้มีความสมบูรณ์เต็มที่

2. การให้น้ำ ต้องสะอาด ควรทำความสะอาดรางน้ำถ้ามีตะไคร่น้ำ ควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย และหมั่นตรวจสอบดูว่ามีอาหารตกค้างรางน้ำหรือไม่ เพราะจะทำให้น้ำเสียได้ง่าย

3. หมั่นตรวจสอบรอบ ๆ โรงเรือน อย่าให้หนู แมว หมา มาบริเวณโรงเรือนเลี้ยงเป็ด

อุปกรณ์ในการเลี้ยงเป็ด

1.เครื่องกกลูกเป็ด ลูกเป็ดเมื่อยังเล็กอยู่ไม่สามารถสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายได้เพียงพอ เมื่ออยู่ในสภาพ อากาศเย็นโดยเฉพาะในเวลากลางคืนหรือตอนเช้า ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้นานๆ ลูกเป็ดจะตายหรือแคระ แกร็นได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องมีเครื่องกกเพื่อให้ลูกเป็ดได้รับความอบอุ่นเพียงพอ การกกลูกเป็ด สามารถท้าได้ 2 วิธี คือ กกโดยใช้แม่เป็ดกก และกกโดยใช้เครื่องกก

1.1 การกกด้วยแม่เป็ด เป็นวิธีแบบธรรมชาติใช้ได้ส้าหรับกรณีที่เลี้ยงเป็ดจ้านวนไม่ มากหรือเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้าน มีลูกเป็ดไม่กี่ตัวก็ปล่อยให้แม่เป็ดกกและเลี้ยงลูกเอง

1.2 กกด้วยเครื่องกก เครื่องกกที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ เครื่องกกแก๊ส เครื่องกกไฟฟ้า หลักการและวิธีด้าเนินการ ดูรายละเอียดในการเลี้ยงไก่และการจัดการไก่กระทง

2. อุปกรณ์ให้อาหาร อุปกรณ์ให้อาหารเป็ดควรท้าเป็นรางจะได้ผลดีกว่าการใช้ถังอาหารเช่นเดียวกับที่ใช้ในการเลี้ยง ไก่ เนื่องจากเป็ดเป็นสัตว์ปีกที่หากินตามแหล่งน้ำ ปากเป็ดจึงออกแบบมาให้เหมาะสมกับการกินอาหาร ในลักษณะกรองของแข็งจากนั้น ดังนั้น พฤติกรรมการกินอาหารของเป็ดจะไม่ใช้วิธีจิกแล้วกลืนกินแบบ ไก่ แต่จะกินอาหารเข้าปากก่อนแล้วจึงค่อยยกหัวขึ้นเพื่อกลืนอาหารโดยใช้ลิ้นดันเข้าไป จึงทำให้อาหาร บางส่วนร่วงหล่นออกจากปาก ดังนั้น การให้อาหารเป็ดจึงควรใช้อุปกรณ์ให้น้ำแบบรางจะช่วยให้อาหาร หกหล่นจากปากสู่พื้นน้อยกว่าการให้แบบถังอาหาร รางอาหารสำหรับเป็ดมีหลายรูปแบบ เช่น ท้าเป็น รางไม้กึ่งอัตโนมัติ รางไม้รูปตัววี หรือรูปตัวยู หรืออาจจะใช้รางรถยนต์ผ่าซีกก็ได้

3. อุปกรณ์ให้น้ำ เนื่องจากเป็ดเป็นสัตว์ที่หากินตามแหล่งน้ำ ดังนั้น นอกจากเป็ดจะดื่มน้ำแล้วก็ยังมีนิสัยชอบเล่น น้ำอีกด้วย จึงท้าให้สิ้นเปลืองน้ำมาก ถ้าหากเราใช้กระปุกน้ำเช่นเดียวกับที่ใช้เลี้ยงไก่ก็อาจจะสิ้นเปลือง แรงงานมากในการเติมน้ำ ดังนั้น การเลี้ยงเป็ดจึงนิยมใช้อุปกรณ์ให้น้ำแบบรางอัตโนมัติ โดยอาจจะใช้ ท่อน้ำขนาดใหญ่ผ่าซีกแล้วใช้ปูนซีเมนต์ปิดหัวท้าย ด้านหนึ่งติดวาล์วลูกลอยเพื่อควบคุมระดับน้ำในราง หรืออาจจะก่อปูนท้าเป็นรางน้ำไว้ด้านหนึ่งของโรงเรือนเพื่อให้เป็ดได้กินและเล่นน้ำด้วยก็ได้ น้ำที่ล้น ออกมาก็ปล่อยให้ไหลออกไปนอกโรงเรือน รางน้ำควรจะวางให้ห่างจากรางอาหารพอควร เพื่อบังคับให้เป็ดได้เดินไปกินน้ำและอาหารจะ ช่วยให้เป็ดได้ออกกำลังกายและช่วยลดการการสูญเสียอาหาร เนื่องจากเมื่อเป็ดกินอาหารก็จะกินจนเต็ม ปากแล้วจึงค่อยกลืนลงคอ ถ้าหากอุปกรณ์ให้อาหารอยู่ใกล้อุปกรณ์ให้น้ำเมื่อกินอาหารอยู่ในปากเป็ดก็จะเดินไปกินน้ำทันทีจะทำให้อาหารที่ยังค้างอยู่ในปากตกลงไปในน้ำท้าให้สิ้นเปลืองอาหารและท้าให้น้ำ สกปรกเร็วขึ้น

การเตรียมตัวเพื่อเลี้ยงลูกเป็ด

ก่อนลูกเป็ดมาถึงควรเตรียมตัวในเรื่องต่างๆ ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม ดังนี้

1. ทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง พร้อมทั้งพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 7 วัน

2. นำวัสดุรองพื้นหรือเปลือกข้าวที่ใหม่และสะอาด รองพื้นคอกให้มีความหนาประมาณ 4 นิ้ว วัสดุรองพื้นนี้จะต้องแห้ง สะอาด และไม่มีเชื้อรา

3. จัดเตรียมเครื่องกกให้พร้อมที่จะใช้งานเมื่อลูกเป็ดมาถึง

4. มีแผงล้อมเครื่องกกกันไม่ให้ลูกเป็ดออกห่างจากเครื่องกกมากเกินไป แผงล้อมเครื่องกกอาจ ใช้ลวดตาข่าย แผงไม้ไผ่สาน (เสียม) หรือสังกะสีแผ่นเรียบ ความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร วางห่าง จากเครื่องกกประมาณ 60 เซนติเมตร ในระยะการกก 2-3 วันแรก

5. จัดเตรียมอุปกรณ์ให้น้ำและอาหารไว้ให้พร้อม และมีปริมาณเพียงพอ

6. เพื่อให้ลูกเป็ดกินอาหารเป็นได้เร็วขึ้น ควรปูพื้นบริเวณเครื่องกกด้วยกระสอบป่านที่สะอาด แล้วโรยอาหารให้กิน อย่าใช้กระดาษปูพื้นเนื่องจากกระดาษจะลื่นจนเป็นสาเหตุท้าให้ลูกเป็ดขาเสียได้

การเลี้ยงดูลูกเป็ด

การเลี้ยงดูลูกเป็ดเล็กมีหลักปฏิบัติง่าย ๆ ดังนี้

1. ลูกเป็ดอายุ 1 วันถึง 3 สัปดาห์ ควรให้ความอบอุ่นด้วยเครื่องกก

2. ระวังอย่าให้ลูกเป็ดเล็กลงเล่นน้ำ อุปกรณ์ให้น้ำควรจะมีที่กั้นไม่ให้เป็ดลงไปเล่น เพราะลูกเป็ด เล็กขนจะเปียกง่ายเนื่องจากต่อมน้ำมันที่ช่วยให้ขนเป็ดเป็นมันและป้องกันการเปียกน้ำยังมีน้อย ซึ่ง อาจจะทำให้เป็ดหนาวและเป็ดปอดบวมได้ง่าย หรือตายได้

3. การให้อาหารลูกเป็ดในช่วงแรกควรให้กินครั้งละน้อยหรือให้อาหารทุก 2-3 ชั่วโมงและจากนั้น เมื่อลูกเป็นกินอาหารได้เก่งแล้วก็จะลดลงให้วันละ 3 ครั้ง ปริมาณอาหารที่ให้ควรให้มากพอที่ลูกเป็ดจะ กินได้เกือบตลอดเวลาแต่อย่าให้จนเหลือและต้องคอยดูความสะอาดอย่าให้เศษดินและสิ่งสกปรกลงไปใน อาหารจนกระทั่งอายุครบ 1 สัปดาห

การจัดการอื่น ๆ

1. การจี้ปาก (Beak trimming) เนื่องจากปากของเป็ดจะแตกต่างจากปากของไก่ ดังนั้น การจี้ ปากจึงแตกต่างกัน สำหรับเป็ดจะทำการจี้เฉพาะบริเวณส่วนปลายที่งองุ้มลงมา (Nail) ประมาณ 2 มิลลิเมตรเท่านั้น การจี้ปากมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็ดได้กินอาหารอัดเม็ดได้สะดวกขึ้น การจี้ปากจะท้า เมื่อเป็ดอายุประมาณ 14 วัน โดยใช้แผ่นเหล็กร้อนประมาณ 800 °ซ

2. การให้แสงสว่าง การให้แสงสว่างสำหรับเป็ดเนื้อนั้น ระยะกกจะให้แสง 24 ชั่วโมง เพื่อให้ลูก เป็ดมีโอกาสได้กินอาหารได้มากขึ้น เมื่อเป็ดโตขึ้นหรือในระยะเป็ดรุ่นอาจจะให้แสงเพียง 12 ชั่วโมง/วัน หรืออาจจะให้แสง 23 ชั่วโมง/วันก็ได้ ความเข้มแสงประมาณ 1 ฟุตเทียน (10 ลักซ์) เพื่อให้เป็ดได้ มองเห็นอาหารและน้ำก็เพียงพอแล้ว

การฆ่าและการถอนขน

1. การเตรียมตัวก่อนฆ่าเป็ด ก่อนการฆ่าเป็ดจะต้องอดอาหารประมาณ 6 ชั่วโมงแต่ต้องให้ เป็ดได้ดื่มน้ำตลอดเวลา เพื่อไม่ให้มีอาหารตกค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหารซึ่งอาจจะท้าให้ปนเปื้อนเนื้อ เป็ดได้

2. การจับและการขนส่ง การจับและการขนส่งเป็ดไปยังโรงงานช้าแหละจะท้าคล้ายกับการจับ ไก่กระทงคือ จะต้องระวังไม่ได้เป็ดบอบช้ำโดยเฉพาะบริเวณผิวหนัง ระวังอย่าให้เป็นแผลขีดข่วน ปีกหัก ขาหัก เนื่องจากจะทำให้ราคาตก

3. การฆ่าและการถอนขน ปัจจุบันมีโรงงานชำแหละเป็ดเนื้อที่ทันสมัยจะมีวิธีการฆ่าและการ ถอนขนตามขั้นตอนดังนี้ - เป็ดจะถูกย้ายจากกล่องขนส่ง จับแขวนบนราวเหล็กในลักษณะเอาหัวลง ตัวเป็ดจะถูก เลื่อนไปตามราวเหล็กผ่านส่วนที่มีการช๊อตด้วยกระแสไฟฟ้าให้สลบเสียก่อน - เชือดคอเอาเลือดออก เป็ดที่ตายแล้วจะถูกลวกในถังน้ำรอนที่ควบคุมอุณหภูมิไว้ ประมาณ 135-145 °ฟ – เมื่อลวกน้ำร้อนแล้วเป็ดจะถูกส่งไปยังเครื่องถอนขนจนเหลือแต่ขนดาวน์และขนเส้น ขนาดเล็ก - เป็ดจะถูกเป่าด้วยลมจนแห้งเพื่อให้ขนดาวน์และขนเส้นที่ยังคงเหลืออยู่นั้นฟูขึ้นมา - น้าเป็ดจุ่มลงในถังกาวที่ต้มจนเหลว มีอุณหภูมิประมาณ 145-220 °ฟ ให้กาวเคลือบ จนทั่วล้าตัวเป็ดและมีความหนาพอสมควร จากนั้นจึงผ่านอ่างน้ำเย็นเพื่อให้กาวที่เคลือบตัวเป็ดนั้นเย็น และแข็งตัวทันที - ใช้มือแกะกาวออกซึ่งจะมีขนดาวน์และขนเส้นติดออกมากับกาวนั้นด้วย ก็จะทำให้ได้ ซากเป็ดที่สะอาด กาวส่วนที่ลอกออกมานี้จะนำไปต้มจนละลายแล้วกรองเอาขนออกจากนั้นจึงนำไปใช้ ใหม่ได้อีก – ซากเป็ดที่สะอาดจะถูกนำไปเข้าสู่ขบวนการช้าแหละ แยกชิ้นส่วน หรือบรรจุลงถุง สุญญากาศทั้งตัวตามความต้องการของตลาด

อาหารสำหรับเป็ดเนื้อ

เนื่องจากเป็ดเนื้อมีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว ดังนั้น อาหารสำหรับเป็ดเนื้อจึงควรเป็นอาหาร อัดเม็ดจะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้มากขึ้นและลดการตกหล่นของอาหาร นอกจากนี้ การให้อาหารอัดเม็ด สำหรับเป็ดเนื้อมีข้อดีอีกหลายประการ ได้แก่

- ประหยัดอาหารได้ประมาณ 15-20% เมื่อเทียบกับอาหารผง เนื่องจากมีการสูญเสียอาหารจาก การตกหล่นน้อยลงและอาหารที่ตกหล่นนั้นเป็ดสามารถเก็บกินได้ง่ายกว่า

- เป็ดกินอาหารได้มากขึ้นส่งผลให้เป็ดมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วขึ้นประมาณ 20-30% เมื่อ เทียบกับการให้อาหารแบบป่น

- สะดวกในการจัดการ โดยเฉพาะส้าหรับฟาร์มขนาดใหญ่

- ช่วยให้รางน้้าสะอาดขึ้น เนื่องจากเป็ดสามารถกินและกลืนอาหารได้ง่ายกว่าอาหารป่น ขนาดของอาหารอัดเม็ดจะต้องสัมพันธ์กับขนาดและอายุของเป็ดที่เลี้ยง คือ ลูกเป็ดในระยะเป็ด เล็กควรใช้อาหารอัดเม็ดขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร หรืออาหารเม็ดบี้แตก เมื่อ เป็ดโตขึ้นก็ให้อาหารอัดเม็ดขนาดใหญ่ขึ้น คือ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ตารางที่ 2 แสดงระดับความต้องการโภชนะในอาหารเป็ดเนื้อพันธุ์ปักกิ่งระยะต่าง ๆ

การสุขาภิบาลและการป้องกันโรค

การสุขาภิบาลและการป้องกันโรคเป็ดนั้นกระท้าเช่นเดียวกับการเลี้ยงไก่ แต่โรคที่เกิดกับเป็ดจะ แตกต่างกับไก่ โรคที่ส้าคัญที่มักเกิดกับเป็ด ได้แก่ เพล็ก อหิวาต์สัตว์ปีก และสารพิษ

โรคของเป็ด

โรคเพล็ก

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส

อาการ เป็ดจะแสดงอาการขาอ่อน นอนหมอบ ตัวสั่น ต่อมาไม่ช้าจะเกิดอาการอัมพาต เป็ดกระหายน้ำจัด บางทีมีน้ำลาย เหนียว ๆ ไหลออกจากปาก ตาแฉะ จมูกสกปรก หายใจมีเสียงครืดคราด ท้องเดิน อุจจาระสีขาว และจะตายภายใน 24 ชั่วโมง ระยะฟักตัวของโรคตั้งแต่ต้นจนแสดงอาการเหล่านี้ประมาณ 1 สัปดาห์

คุณลักษณะของวัคซีน

เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อไวรัสเชื้อเป็น สเตรนแจนเซ่น สำหรับทำวัคซีนในเป็ด ไม่ทำให้เป็ดเป็นโรค แต่สามารถทำให้เกิดความคุ้มโรคกาฬโรคเป็ดได้เป็นอย่างดี วัคซีนกาฬโรคเป็ด เป็นวัคซีนแห้งบรรจุในขวดสูญญากาศ

วิธีการใช้และขนาดของวัคซีน

ละลายวัคซีนด้วยน้ำยาละลาย เขย่าให้ละลายให้หมด แล้วใช้ทันที ควรแช่ในน้ำแข็ง และใช้ภายใน 2 ชั่วโมง ห้ามเก็บวัคซีนที่เหลือไว้ใช้ในคราวต่อไป

วิธีการฉีด

ฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนัง (คอ) หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ที่อก) ตัวละ 0.5 ซีซี ต่อตัว

โปรแกรมวัคซีน ฉีดวัคซีนเมื่อเป็ดอายุได้ 21 วัน

ข้อควรระวัง

อย่าทำวัคซีนในช่วงเป็ดผลัดขน เพราะจะได้ภูมิคุ้มกันโรคที่ต่ำ

การเก็บรักษาวัคซีน

วัคซีนผงแห้งควรเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียล หรือในกระติกน้ำแข็ง