isic
“มาตรฐานอุตสาหกรรมสากล” มีชื่อเรียกย่อๆ ว่า ISIC (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities) เป็นมาตรฐานที่ก่อตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) โดยเครื่องหมาย CE ที่ระบุเอาไว้เป็นคำที่ย่อมาจากภาษาฝรั่งเศสคือ “Conformite Europeene” เป็นความหมายเช่นเดียวกันกับคำในภาษาอังกฤษคือ “European Conformity” ในอดีตเคยใช้เป็นเครื่องหมายตัวอักษรว่า EC แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นตัวอักษร CE แทน ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2536
เครื่องหมาย CE ที่ปรากฏอยู่ตามสินค้าต่างๆ จะเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นถึงการรับรองจากผู้ผลิต (Manufacturer’s Declaration) โดยหมายถึงสินค้าชิ้นนั้นๆ มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดทางด้านสุขภาพ มีความปลอดภัย และยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อม เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เชื่อมโยงกับสหภาพยุโรป
การปรากฏอยู่ของเครื่องหมายดังกล่าวบนสินค้านั้น จะทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้าไปวางจำหน่ายได้อย่างเป็นอิสรเสรีภายในเขตเศรษฐกิจยุโรป หรือที่เรียกกันว่า “EEA” (European Economic Area) โดยเขตเศรษฐกิจจะประกอบไปด้วยกลุ่มสหภาพยุโรป EU (European Community) และกลุ่มสมาคมการค้าเสรียุโรป “EFTA” (European Free Trade Association) ยกเว้นแค่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เท่านั้น โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่มสมาชิก จะมีการดำเนินตามกฎหมายภายในประเทศ ด้วยความสอดคล้อง และเป็นระเบียบตามสหภาพยุโรป EC Directives ซึ่งสัมพันธ์กับเครื่องหมาย CE
สำหรับ ISO จะเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ว่าด้วยเรื่องของมาตรฐานฐาน “International Standards Organization” มีการก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2590 สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป้าหมายหลักของ ISO นั้นก็เพื่อช่วยส่งเสริมมาตรฐานการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานระหว่างประเทศ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แก้ปัญหาการถูกกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการร่วมมือช่วยพัฒนาที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสรุปใจความได้ว่าองค์กรใดก็ตามที่ได้รับมาตรฐาน ISO จะสามารถมั่นใจได้ว่าสินค้าหรือบริการขององค์กรดังกล่าวได้รับมาตรฐานไว้วางใจในระดับสากล
โดยแต่ละ ISO จะมีมาตรฐานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
ISO 9000 จะเป็นการจัดการระบบเพื่อบริหารเน้นประกันคุณภาพ สามารถตรวจสอบได้ผ่านทางระบบเอกสาร
ISO 9001 มาตรฐานระบบคุณภาพ ที่เน้นการดูแล ออกแบบ การติดตั้ง การบริการ และการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ISO 9002 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ที่เน้นดูแลเฉพาะการผลิต การบริการ และการติดตั้งเท่านั้น
ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ที่ใช้เน้นให้ความสำคัญในการดูแลเรื่องการตรวจสอบขั้นสุดท้าย
ISO 9004 เป็นแนวทางที่ช่วยให้เกิดการบริหารระบบงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดคุณภาพสูงสุด ซึ่งจะมีข้อแนะนำในการบริหารจัดการ มีการกำหนข้อย่อยๆ ในธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป
ISO 14000 เป็นระบบมาตรฐานที่สนใจกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เน้นให้ความสำคัญกับองค์กรในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
ISO 18000 เป็นมาตรฐานการจัดการ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
ISO/TS 16949 คือระบบมาตรฐานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์
ส่วน UL certificate จะเป็นองค์กรอิสระไม่ขึ้นตรงกับใคร มีหน้าที่ให้ความรับรองเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นของ Underwriters Laboratories Inc
มาตรฐานอุตสาหกรรม
British Standard (BS) เป็นมาตรฐานของประเทศอังกฤษ
German Industrial Standard (DIN) เป็นมาตรฐานของประเทศเยอรมัน
Japanese Industrial Standard (JIS) เป็นมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น
American National Standard Institute (ANSI) เป็นมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา
Thailand Industrial Standard (TIS) เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของประเทศไทย
Verband Deutscher Elektrotechniker (VDE) เป็นมาตรฐานของกลุ่มวิศวกรไฟฟ้าในประเทศเยอรมนี
Keuring van Elektrotechnische Materialen (KEMA) เป็นมาตรฐานการทดสอบของประเทศเนเธอร์แลนด์
International Electrotechnical Commission (IEC) เป็นมาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศที่จัดทำมาตรฐานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
African Regional Standards Organization (ARSO ) เป็นองค์การมาตรฐานแห่งภูมิภาคแอฟริกา
RoHS (The Restriction of The Use of Certain Hazardous Substance In Electrical and Electronic Equipment) เป็นระเบียบของสหภาพยุโรปหรือ EU (The European Union) ว่าด้วยเรื่องของการห้ามใช้สารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟฟ้าและเล็กทรอนิกส์
WEEE (Waste from Electrical and Electronic Equipment) เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีการห้ามนำเอาสารเคมีอันตราย 6 ชนิดเข้ามาใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ คือ ปรอท (Hg) ตะกั่ว (Pb), แคดเมียม (Cd), โครเมียม เฮกซะวาเลนต์ (Cr(Vl) ), โพลิโบรมิเนต-ไบฟินิล (PBB) และโพลิโบรมิเนต-ไดฟินิล-อีเทอร์ (PBDE)
คำว่า BOI ย่อมาจาก Thailand Board of Investment เป็นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่จะอยู่ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม
มาตรฐานที่ใช้ในการผลิต
Codex Alimentarius Commission (CAC) เป็นคณะกรรมการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ
GAP (Good Agricultural Practice) เป็นมาตรฐานการผลิตสินค้าการเกษตร โดยจะถูกกำหนดด้วยหน่วยงานต่างๆ มีกระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้บังคับใช้กับทางผู้ประกอบการสินค้าเกษตรภายในประเทศ
GMP(Good Manufacturing Practice) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับผลิตและเก็บรักษาอาหาร มีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้กำหนดและบังคับใช้กับผู้ประกอบการโรงงานอาหารภายในประเทศ
HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) เป็นมาตรฐานที่เน้นคามปลอดภัยด้านสุขอนามัยอาหาร มีการกำหนดโดย Codex Alimentarius ซึ่งมีการบังคับใช้กับผู้ประการในโรงงานอาหารส่งออก ในกลุ่มประเทศยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ISO เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย Codex Alimentarius บังคับกับผู้ประกอบการอาหารส่งออก
SQF2000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย Codex Alimentarius กับผู้ประกอบการโรงงานอาหารส่งออกของประเทศสหรัฐอเมริกา
Animal Welfare เป็นมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ ถูกกำหนดภายใต้กลุ่มประเทศของสหภาพยุโรป สำหรับฟาร์มและสถานที่เลี้ยงสัตว์
GMOs (Genetically modified organisms) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้สินค้าหรือวัตถุดิบมาทำการดัดแปลงพันธุกรรม ถูกกำหนดโดยประเทศในสหภาพยุโรปบางประเทศ บังคับใช้กับโรงงานอาหารสัตว์
NFPA (National Fire Protection Association) เป็นมาตรฐานในการป้องกันอัคคีภัย
ASME = American Society of Mechanical Engineers
ASTM = American Society of Testing and Material
AWWA = American Water Work Association
API = American Petroleum Institute
IP = The Institute of Petroleum
CTFA = Cosmetic, Toiletry and Frangrance Association, Inc.,
CODE = Codex Alimentarius Commission – CAC
--------------------------------------------------------------------------
การจัดประเภทธุรกิจตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities : ISIC) เป็นมาตรฐานการจัดหมวดหมู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งจัดทำโดย United Nations Statistics Division (UNSD) เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกใช้อ้างอิงในการจัดจำแนกข้อมูลสถิติเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศได้
สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักเลขาธิการอาเซียนได้นำ ISIC มาเป็นกรอบในการจัดทำ ASEAN Common Industrial Classification (ACIC) เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้เป็นมาตรฐานการจัดประเภท ธุรกิจร่วมกัน ดังนั้น เมื่อสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จัดทำ Thailand Standard Industrial Classification (TSIC) ขึ้นเพื่อใช้เป็น national classification นั้น จึงได้อ้างอิงจาก ACIC ด้วยเพื่อข้อมูลที่หน่วยงานราชการต่างๆ จัดทำและเผยแพร่นั้น สอดคล้องและใช้เปรียบเทียบข้อมูลกับประเทศสมาชิกอื่นได้
ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะที่เป็นทั้งผู้จัดทำและผู้ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจ จึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการนำ ISIC มาใช้ ทั้งในรูปของคณะทำงานพหุภาคีเพื่อปรับปรุง TSIC รวมถึงการดำเนินงานภายในธปท. เพื่อปรับปรุงรหัสและระบบงานในการจัดจำแนกข้อมูล ตลอดจนการปรับปรุง detailed classification อื่นๆ ให้สอดรับการปรับปรุง ISIC — ACIC — TSIC อีกด้วย ดังที่ได้กล่าวสรุปไว้ในบทความนี้
1. ความเป็นมาของ ISIC (International Standard Industrial Classification)
ISIC เป็นมาตรฐานการจัดหมวดหมู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (economic activities) ซึ่งจัดทำโดย United Nations Statistics Division (UNSD) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่ในสาขาเดียวกันหรือสาขาที่คล้ายกันเข้าด้วยกัน เพื่อให้การจัดเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลสถิติแขนงต่างๆ เป็นไปตามมาตรฐานสากลและสามารถเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศได้
ISIC ถูกจัดทำขึ้นครั้งแรกในปี 1948 ซึ่งนับเป็น version 1.0 ของมาตรฐาน ISIC โดยถูกจัดทำขึ้นตามมติของThe Economic and Social Council ที่ให้ประเทศสมาชิกใช้มาตรฐานเดียวกันในการจัดหมวดหมู่ประเภทธุรกิจของประเทศ
ISIC เป็นมาตรฐานการจัดกลุ่มที่พิจารณาตามกระบวนการผลิตที่มีลักษณะเดียวกันเป็นหลัก ไม่ใช่การจัดกลุ่มตามประเภทของผลิตภัณฑ์ *(1) จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการผลิตกับผลิตภัณฑ์ไม่ได้เป็นไปในลักษณะ 1 ต่อ 1 กล่าวคือ ในหนึ่งกระบวนการผลิตภายใต้รหัส ISIC หนึ่งๆ อาจจะเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หลายชนิด เป็นต้น นอกจากนี้ การจัดประเภทของ ISIC นั้น ไม่ได้จำแนกตามประเภทกิจการ ความเป็นเจ้าของ คุณลักษณะตามกฎหมาย หรือวิธีปฏิบัติงาน เนื่องจากคุณสมบัติเหล่านี้ไม่มีผลต่อกระบวนการผลิต นั่นคือ ISIC จะไม่พิจารณาความแตกต่างว่าเป็นหน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชน ไม่ได้ให้ความสำคัญว่าการผลิตจะดำเนินการโดยบริษัทจำกัดหรือบริษัทข้ามชาติ และไม่ได้พิจารณาว่ากระบวนการผลิตใช้เครื่องจักรหรือแรงงาน ซึ่งการจัดประเภทธุรกิจในลักษณะนี้จะทำให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความคล้ายคลึงและความเชื่อมโยงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้
เกณฑ์ทั่วไปในการระบุกิจกรรมหลักเพื่อจัดหมวด ISIC คือจะพิจารณาว่ากิจกรรมการผลิตสินค้าหรือบริการใดในหน่วยงานที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด (value added) แต่ในทางปฏิบัติอาจไม่สามารถวัดมูลค่าเพิ่มของแต่ละกิจกรรมได้โดยง่าย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอนุโลมให้ใช้ตัวแปรอื่นๆ เป็น proxy แทน เช่น (1) มูลค่าของผลผลิตสูงสุดหรือรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงสุด หรือ (2) ปัจจัยการผลิต อาทิ จำนวนแรงงานที่ใช้ผลิตสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
โครงสร้างของ ISIC จำแนกได้เป็น 4 ระดับ คือ ระดับหมวดใหญ่ ระดับหมวดย่อย ระดับหมู่ใหญ่ และระดับหมู่ย่อย ดังนี้
- หมวดใหญ่ (Section) ใช้แทนด้วยตัวอักษรเพื่อจัดประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะคล้ายกันไว้ในประเภทเดียวกัน เป็นระดับใหญ่ที่สุด เช่น เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ใช้แทนด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ หมวด A — U
- หมวดย่อย (Division) เป็นกลุ่มกิจกรรมซึ่งแบ่งย่อยลงจากระดับ “หมวดใหญ่” ใช้แทนด้วยรหัสตัวเลข 2 ตัวแรก เช่น การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ การล่าสัตว์ และกิจกรรมบริการที่เกี่ยวข้อง
- หมู่ใหญ่ (Group) เป็นกลุ่มกิจกรรมซึ่งแบ่งย่อยลงจากระดับ “หมวดย่อย” ใช้แทนด้วยรหัสตัวเลข 3 ตัวแรก เช่น การปลูกพืชล้มลุก
- หมู่ย่อย (Class) เป็นกลุ่มกิจกรรมซึ่งแบ่งย่อยลงจากระดับ “หมู่ใหญ่” ใช้แทนด้วยตัวเลขรหัส 4 ตัวแรก เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่ว และพืชที่เมล็ดให้น้ำมัน
ตัวอย่าง ISIC เป็นดังนี้
หมวดใหญ่ (Section) เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง A
หมวดย่อย (Division) การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว การล่าสัตว์และกิจกรรมบริการที่เกี่ยวข้อง 01
หมู่ใหญ่ (Group) การปลูกพืชล้มลุก 011
หมู่ย่อย (Class) การปลูกธัญพืช (ยกเว้นข้าว) พืชตระกูลถั่วและพืชน้ำมัน 0111
2. การปรับปรุง ISIC ของ UNSD
UNSD ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการปรับปรุง ISIC อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม โดยในปี 2004 UNSD ได้ทำการปรับปรุงจาก ISIC Revision 3 เป็น Revision 3.1 และต่อมาได้ปรับเป็น Revision 4 และเผยแพร่ให้ประเทศต่างๆ ใช้งานอย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่ปี 2008
ตารางที่ 1 : Development of ISIC
Version Year of Issue
ISIC 1948
ISIC Revision 1 1958
ISIC Revision 2 1968
ISIC Revision 3 1990
ISIC Revision 3.1 2004
ISIC Revision 4 2008
ที่มา : UNSD, International Standard IndustrialClassification (ISIC Rev.4), 2008
การปรับปรุง ISIC ในครั้งนี้ได้เพิ่มรายละเอียดของการแบ่งกลุ่มให้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ได้กับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันไปได้ สามารถใช้เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศได้ รวมทั้งสามารถสะท้อนถึงการเติบโตของภาคบริการในหลายประเทศด้วย โดยได้จัดหมวดใหญ่ (Section) ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็น 21 ประเภทเพิ่มหมวดย่อย (division) เป็น 88 หมวด เพิ่มหมู่ใหญ่ (group) เป็น 238 หมู่ และเพิ่มหมู่ย่อย (class) เป็น 419 หมู่ (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 : ISIC Rev.3 vs ISIC Rev.4
ISIC Rev. 3 ISIC Rev. 4
Section Division Class Section Division Class
A Agriculture, 2 9 A Agriculture, 3 38
hunting & forestry forestry & fishing
B Fishing 1 1
C Mining and quarrying 5 12 B Mining and quarrying 5 14
D Manufacturing 23 127 C Manufacturing 24 137
E Electricity, gas 2 4 D Electricity, gas, steam and air 1 3
and water supply conditioning supply
E Water supply; sewerage, 4 8
waste management and
remediation activities
F Construction 1 5 F Construction 3 11
G Wholesale and retail trade; 3 29 G Wholesale and retail trade; 3 43
repair of motor vehicles, repair of motor vehicles and
motorcycles and personal motorcycles
and household goods
H Hotels and restaurants 1 2 I Accommodation and food 2 7
service activities
I Transport, storage and 5 17 H Transportation and storage 5 20
communications J Information and communication
J Financial Intermediation 3 12 K Financial and insurance 3 18
activities
K Real estate, renting and 5 31 L Real estate activities 1 2
business activities M Professional, scientific and 7 14
technical activities
N Administrative and support 6 26
service activities
L Public administration and 1 8 O Public administration and 1 7
defense; compulsory social defense; compulsory social
security security
M Education 1 5 P Education 1 8
N Health and social work 1 6 Q Human heath and social 3 9
work activities
O Other community, social and 4 22 R Arts, entertainment and 4 10
personal service activities recreation
S Other service activities 3 17
P Activities of private 1 1 T Activities of households as 2 3
households with employed employers; undifferentiated
persons goods- and services-producing
activities of households for
own use
Q Extra-territorial organizations 1 1 U Activities of extraterritorial 1 1
and bodies organizations and bodies
Total 17 60 292 21 88 419
นอกจากความแตกต่างของประเภทกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นแล้ว ISIC Rev.4 ยังได้ปรับในรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม โดยความแตกต่างระหว่าง ISIC Rev.3 และ ISIC Rev.4 สามารถสรุปได้ตามตารางที่ 3
ตารางที่ 3 : ความแตกต่างระหว่าง ISIC Rev. 3.1 และ ISIC Rev. 4
ISIC Rev. 3 ISIC Rev. 4.0
(1) ความละเอียดของการจำแนกหมวดใหญ่ ความละเอียดของการจำแนกหมวดใหญ่
- หมวดใหญ่ 17 หมวด (A — Q) - หมวดใหญ่ 21 หมวด (A — U)
- หมวดย่อย 60 หมวด - หมวดย่อย 88 หมวด
- หมู่ใหญ่ 159 หมู่ - หมู่ใหญ่ 238 หมู่
- หมู่ย่อย 292 หมู่ - หมู่ย่อย 419 หมู่
2) ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดกลุ่มของธุรกิจภาคบริการมาก ให้ความสำคัญต่อภาคธุรกิจบริการ โดยแยกหมู่ย่อยของการ
เท่าที่ควร โดยให้รวมกิจการบริการเสริมไว้ในหมู่ย่อย ให้บริการต่างหาก จากกิจกรรมหลัก เพื่อให้สามารถระบุ
เดียวกันกับกิจกรรมหลัก เช่น ธุรกิจบริการซ่อมแซม กลุ่มธุรกิจภาคบริการได้อย่างชัดเจน
เครื่องจักร ให้รวมไว้ในหมวดย่อยการผลิตเครื่องจักร เป็นต้น
3) การจัดกลุ่มกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แบ่งรายละเอียดของกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ ICT ให้มี
คอมพิวเตอร์ อิเลคทรอนิกส์ และโทรคมนาคม ไม่มีหมวดหมู่ ความละเอียดมากขึ้น ทั้งใน การผลิต การขายส่ง ขายปลีก
จำแนกเด่นชัด และการให้บริการ
4) ธุรกิจประเภทการขนส่ง แบ่งเป็นหมวดย่อย ด้วยปัจจัย ธุรกิจประเภทการขนส่ง แบ่งเป็นหมวดย่อย ด้วยลักษณะ
กำหนดการเดินทางที่แน่นอน คือ การขนส่งแบบมี ของบริการ เป็น การขนส่งสินค้า กับ การขนส่งผู้โดยสาร
ตารางเวลา กับ การขนส่งแบบไม่มีตารางเวลา
5) การจัดประเภทการเป็นตัวกลางทางการเงิน อยู่ในประเภท J การจัดประเภทการเป็นตัวกลางทางการเงิน อยู่ในประเภท K
ประกอบด้วย 3 หมวดย่อย 5 หมู่ใหญ่ และ 12 หมู่ย่อย แบ่งเป็น 3 หมวดย่อย 10 หมู่ใหญ่ และ 18 หมู่ย่อย โดยมี
หมู่ย่อยใหม่ที่สำคัญ ได้แก่
- Activities of holding companies
- Trusts, fund and other financial vehicles
- Reinsurance
- Fund management activities
3. ประสบการณ์ของต่างประเทศ ในการจัดประเภทธุรกิจตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
โครงสร้างและระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันของประเทศต่างๆ ทำให้มีความต้องการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติจำแนกตามประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับที่ลงรายละเอียดลึกกว่ามาตรฐานสากล ซึ่งอาจทำให้การใช้งาน ISIC ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ดังนั้น การจัดทำ National classification เพื่อจำแนกประเภทธุรกิจจึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นแนวทางหนึ่งที่หลายประเทศนำมาใช้
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ (International comparability) UNSD ได้แนะนำให้ประเทศต่างๆ ใช้หลักการ นิยามและเกณฑ์ในการจัดประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจเดียวกันกับ ISIC เป็นพื้นฐานสำหรับการจัดทำ national classification ตัวอย่างเช่น การจัดประเภทธุรกิจตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ และญี่ปุ่น (ตามตารางที่ 4) นั้น ใช้ ISIC Rev.4 เป็นพื้นฐานและได้ปรับเพิ่มในรายละเอียดของกิจกรรม นอกจากนี้ ประเทศอังกฤษและญี่ปุ่นยังใช้ NACE*(2) และ NAICS*(3) เป็นมาตรฐานอ้างอิงเพิ่มเติมอีกด้วย
ตารางที่ 4 : มาตรฐานการจัดประเภทธุรกิจตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจของต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ ญี่ปุ่น
Industrial North American Australian and UK Standard Standard Industrial
Classification Industry Classification New Zealand Industrial Classification for
System (NAICS) Standard Industrial Classification of Japan (JSIC)
Classification Economic Activities
(ANZSIC) (UKSIC)
Number of 20 Sectors, 100 19 divisions (A—S), 21 sections (A—U) 20 divisions (A—T),
Sectors/ Subsectors 86 subdivisions, and 88 divisions major groups, 529
Categories 214 groups,and groups and 1,455
506 classes industries
Link to ISIC Rev.4 ISIC Rev.4 ISIC Rev.4(2 digit ISIC Rev.4
international (2 digit level) level) NACE Rev.2 NAICS 2007
classifications (4 digit level)
Version in use NACIS 2007 ANZSIC 2006 UKSIC 2007 JSIC Rev.12
ที่มา : Website UNSD และ national compilers
4. มาตรฐานการจัดประเภทธุรกิจของประเทศไทย (Thailand Standard Industrial Classification : TSIC)
การจัดทำ TSIC ครั้งแรกเกิดขึ้นโดยกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย เพื่อใช้ในการบริหารงานแรงงาน เช่นการจัดหางาน การแนะแนวอาชีพ งานคุ้มครองแรงงาน งานพัฒนาแรงงาน และงานจัดเก็บสถิติอุตสาหกรรม ต่อมาเมื่อ UNSD ปรับเป็น ISIC Rev.4 สำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็น หน่วยงานหลักในการปรับปรุง TSIC จึงได้จัดตั้งคณะทำงานมาตรฐานสถิติและคณะทำงานย่อยจัดทำมาตรฐานการจำแนกข้อมูลสถิติขึ้น เพื่อร่วมกันพิจารณาปรับปรุง TSIC ใหม่ให้สอดคล้องกับ ISIC Rev.4 และเพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีการจัดจำแนกข้อมูลเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ โดยคณะทำงานดังกล่าวประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตในแต่ละประเภท/แต่ละหมวด เช่น ผู้แทนจากสำนักเศรษฐกิจการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง ธปท. เป็นต้น ทั้งนี้ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดหมวดหมู่และการแบ่งกิจกรรมย่อยในหัวข้อต่างๆ จะอยู่ภายใต้กรอบการพิจารณาว่า กิจกรรมแต่ละประเภทมีอยู่จริง ในประเทศไทยและมีความเป็นไปได้ในการจัดจำแนกข้อมูล กิจกรรมย่อยในระดับ 5 หลัก (ลงรายละเอียดกว่ามาตรฐาน ISIC 1 ระดับ) มีความถูกต้องครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการใช้งาน และสามารถสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ
ทั้งนี้ การปรับปรุง TSIC 2009 จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของมาตรฐานการจัดประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจสากล 3 ฉบับ ได้แก่
1. International Standard Industrial Classification of All Economic Activities, Revision 4 (ISIC Rev.4) จัดทำโดย UN Statistics Division (UNSD)
2. ASEAN Common Industrial Classification (ACIC)4 จัดทำโดยสำนักงานเลขาธิการอาเซียน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการจัดประเภทธุรกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน
3. East Asian Manufacturing Industrial Classification (EMAIC)5 Ver.1 จัดทำโดย EAMS Secretariat ร่วมกับ ASEAN Secretariat เพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการจัดประเภทธุรกิจของประเทศสมาชิก ASEAN+3
การปรับปรุง TSIC ในครั้งนี้ เป็นการเพิ่มรหัสจาก ISIC ในระดับหมู่ใหญ่ (group) ระดับหมู่ย่อย (class) รวมทั้งสร้างรหัสเพิ่มในระดับ 5 หลัก ซึ่งเป็นระดับ “กิจกรรม” (Activity) ดังมีรายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้
- หมวดใหญ่ (Section) คงไว้ตาม ISIC หมวดใหญ่ 21 หมวด ใช้แทนด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษหมวด A — U
- หมวดย่อย (Division) คงไว้ตาม ISIC หมวดย่อย 88 หมวด ใช้แทนด้วยรหัสตัวเลข 2 ตัวแรก
- หมู่ใหญ่ (Group) ปรับเพิ่มจาก 238 รหัสตาม ISIC เป็น 243 รหัส ใช้แทนด้วยตัวเลขรหัส 3 ตัวแรก
- หมู่ย่อย (Class) ปรับเพิ่มจาก 419 รหัสตาม ISIC เป็น 440 หมู่ย่อยและใช้แทนด้วยรหัสตัวเลข 4 ตัวแรก
- กิจกรรม (Activity) มีจำนวน 1,089 กิจกรรม ใช้แทนด้วยรหัสตัวเลข 5 ตัว โดยเพิ่มเป็น suffix ต่อจากรหัสในแต่ละหมู่ย่อย
ตัวอย่างโครงสร้าง TSIC
หมวดใหญ่ (Section) เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง A
หมวดย่อย (Division) การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ การล่าสัตว์และกิจกรรมบริการที่เกี่ยวข้อง 01
หมู่ใหญ่ (Group) การปลูกพืชล้มลุก 011
หมู่ย่อย (Class) การปลูกธัญพืช (ยกเว้นข้าว) พืชตระกูลถั่วและพืชน้ำมัน 0111
กิจกรรม (Activity) การปลูกข้าวโพดที่ใช้เมล็ดแก ? 01111
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจัดประเภทธุรกิจตามรหัส TSIC นั้น ให้เป็นไปตามเกณฑ์การจัดประเภทธุรกิจของ ISICกล่าวคือพิจารณาจากกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (value-added) สูงสุด ดังกล่าวแล้วข้างต้น
5. การใช้งาน ISIC และ TSIC ของธปท.
ธปท. ในฐานะธนาคารกลางของประเทศ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการติดตามภาวะเศรษฐกิจการเงินและเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศอย่างใกล้ชิด ตลอดจนการวิเคราะห์และวิจัยด้านเศรษฐกิจการเงินเพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินนโยบาย ข้อมูลที่ใช้จึงจำเป็นที่ต้องมีรายละเอียดที่เพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและศึกษาผลกระทบของการดำเนินนโยบายต่อภาคเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรม การเกษตร อสังหาริมทรัพย์และการเงิน ได้อย่างครบถ้วน
ธปท. ใช้รหัสมาตรฐานการจัดประเภทธุรกิจเพื่อหลากหลายวัตถุประสงค์ ได้แก่
(1) เพื่อจัดจำแนกสถิติเศรษฐกิจ อาทิ เงินทุนเคลื่อนย้ายจำแนกตามประเภทธุรกิจ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจจำแนกรายสาขา เป็นต้น
(2) ใช้ในการรายงานข้อมูลของสถาบันการเงินผ่านระบบบริหารข้อมูล (Data Management System : DMS) เช่น ระบุวัตถุประสงค์ที่ลูกค้าขอกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน (เพื่อใช้จัดประเภทของสินเชื่อ) การรายงานรายละเอียดของประเภทธุรกิจของผู้ทำธุรกรรมในรายงานทะเบียนบุคคล (Involved Party) สำหรับธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การรายงานประเภทธุรกิจของผู้กู้สำหรับข้อมูลสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น
(3) ใช้ในการรายงานแบบสำรวจธุรกิจเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคารที่ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท. ดำเนินการ อาทิ การสำรวจฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ หนี้ต่างประเทศ สินเชื่อการค้าระหว่างประเทศ และการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ฯลฯ
ปัจจุบัน การจัดประเภทธุรกิจตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจสำหรับการใช้งานของธปท. (BOTSIC) อ้างอิงจากมาตรฐาน TSIC 2001 ในระดับหมู่ย่อยมาปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานของธปท. โดยความละเอียดของรหัสที่ ธปท. ใช้มีจำนวน 7 หลัก และได้เผยแพร่ให้สถาบันการเงินใช้งานในการรายงานข้อมูลผ่านทาง BOT Website ภายใต้หัวข้อการรับส่งข้อมูลกับธปท.*(6)
BOTSIC จะมีรายละเอียดที่แตกต่างจาก TSIC 2001 โดยเฉพาะหมวด J ตัวกลางทางการเงิน (Financial Intermediation) หมวด F ก่อสร้าง (Construction) และหมวด K บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ (Real Estate activities, renting & business activities) ซึ่งมีรหัสสำหรับกิจกรรมและกิจกรรมย่อยเพิ่ม แต่สำหรับหมวดอื่นๆ จะมีรายละเอียดถึงระดับหมู่ย่อยเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้สถาบันการเงินไม่ต้องลงรหัสประเภทธุรกิจถึงระดับกิจกรรมและกิจกรรมย่อยในทุกๆ หมวด
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการปรับปรุง ISIC เป็น Rev.4 โดย UNSD รวมทั้งการปรับปรุง TSIC จาก TSIC 2001 เป็น TSIC 2009 ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท. จึงต้องปรับปรุง BOTSIC ใหม่ให้สอดคล้องกัน โดยได้ดำเนินการต่างๆ ดังนี้
(1) จัดทำ BOTSIC ชุดใหม่ โดยยังคงจำแนกรายละเอียดลงระดับรหัส 7 หลัก (รายละเอียดในภาคผนวก 2) ทั้งนี้ สถาบันการเงิน ผู้ตอบแบบสำรวจ และผู้ให้ข้อมูลอื่นๆ ยังคงส่งข้อมูลตาม BOTSIC เดิม จนกว่าธปท. จะประกาศให้ใช้ BOTSIC ชุดใหม่อย่างเป็นทางการ เนื่องจากต้องชะลอเวลาเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างข้อมูลเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกันที่จัดทำโดยหน่วยงานอื่นๆ
(2) จัดทำ mapping table ระหว่างรหัส BOTSIC เดิม กับ BOTSIC ชุดใหม่ เพื่อใช้ในการแปลงข้อมูลอนุกรม เวลาชุดปัจจุบัน ให้สามารถเชื่อมกับข้อมูลในอนาคตที่จะมีข้อมูลดิบเข้ามาตามรหัส BOTSIC ใหม่ ทั้งนี้ การจัดทำ mapping ได้อ้างอิงตารางเปรียบเทียบการจัดประเภท ISIC ของ UNSD (Correspondence between ISIC Rev.3.1 and ISIC Rev.4*(7)) และตารางเปรียบเทียบการจัดประเภท ISIC Rev.3 กับ TSIC 2009 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นแนวทางในการจัดทำ
(3) จัดทำ mapping table ชุดลงรายละเอียด เพื่อใช้ในการแปลงทะเบียนนิติบุคคลในระบบ DMS เป็น BOTSIC ใหม่ชั่วคราว อย่างไรก็ดี การจำแนกประเภทธุรกิจสำหรับนิติบุคคลนอกหมวดที่ ธปท. จำแนกรายละเอียดลงระดับรหัส 7 หลัก อาทิ การเงิน (หมวด K) หมวดการก่อสร้าง (หมวด F) และหมวดอสังหาริมทรัพย์ (หมวด L) จะถูกปรับไปตามทะเบียนนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต่อไป
6. ผลกระทบต่อข้อมูลที่ธปท. จัดทำและเผยแพร่
ปัจจุบัน ฝ่ายบริหารข้อมูล ได้จัดทำสถิติ/เครื่องชี้ที่สำคัญในรูปของตารางประกอบจำแนกรายละเอียดตามประเภทธุรกิจเพื่อรองรับการวิเคราะห์เชิงจุลภาค และเผยแพร่บน BOT website ซึ่งตารางสถิติเหล่านี้มีกำหนดแผนงานการปรับไปสู่ ISIC/BOTSIC ชุดใหม่ ดังมีรายละเอียดสังเขปดังนี้
ตารางที่ 5 : แผนการปรับตารางสถิติไปสู่ ISIC/BOTSIC ชุดใหม่
ข้อมูล ปัจจุบัน แผนงาน
(1) สถิติภาคต่างประเทศ
- ข้อมูล flow ของ FDI / Thai - เผยแพร่ตาม BOTSIC เดิม - จะเริ่มเผยแพร่ตาม ISIC Rev. 4 ระดับ Section
Direct Investment Abroad ปลายปี 2554 พร้อมกับการปรับไปใช้คู่มือการ
จัดทำสถิติดุลการชำระเงินและฐานะการลงทุน
- ข้อมูล stock ของ FDI / Thai - ระหว่างประเทศฉบับที่ 6 (BPM) ของกองทุน
Direct Investment Abroad / การเงินระหว่างประเทศ
Foreign portfolio investment - ข้อมูลอดีต จะปรับจาก BOTSIC เดิมเป็น ISIC
Rev. 4 ในระดับหัวหมวดเท่าที่สามารถแปลงและ
เชื่อมต่อข้อมูลอนุกรมเวลาได้
- ข้อมูลอดีต ที่ไม่สามารถแปลงเป็น ISIC Rev. 4
ได้ จะเผยแพร่ในรูปของ discontinued series
(2) สถิติการเงิน - เผยแพร่ตาม ISIC Rev. - ขณะนี้ อยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบของการปรับ
- ข้อมูลการให้กู้ยืมของสถาบัน 3 รายการสำคัญ ระดับ 3-7 หลัก BOTSIC ต่อชุดข้อมูล FI และ FM ใน ระบบ DMS
การเงิน จำแนกตามประเภทธุรกิจ - กำหนดจะเผยแพร่ตาม ISIC Rev. 4 เมื่อประกาศให้
สถาบันการเงินรายงานข้อมูลผ่านระบบ DMS
เป็น BOTSIC ชุดใหม่แล้ว
(3) สถิติภาคเศรษฐกิจจริง ใช้ข้อมูลจากการสำรวจฯ ของ - อยู่ระหว่างการประสานงานกับหน่วยงานที่
- การสำรวจภาวะการทำงาน สำนักงานแห่งชาติ ซึ่งจำแนกตาม เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแผนการปรับสู่ ISIC Rev.4
ของประชากร ISIC Rev. 3
- ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย จำแนก
ตามอุตสาหกรรม
- ผู้ว่างงาน จำแนกตาม
อุตสาหกรรมที่เคยทำ
- ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ - เผยแพร่ตาม ISIC Rev. - กำหนดแผนการปรับสู่ ISIC Rev.4 พร้อมกับ
จำแนกรายสาขา 3 รายการ สำคัญระดับ Section สถิติ/เครื่องชี้ภาคเศรษฐกิจจริงอื่นๆ
ภาคผนวก 1 : ตัวอย่างหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการจัดประเภทอุตสาหกรรม
หน่วยงาน บทบาท มาตรฐานที่ใช้อ้างอิง
สำนักงานสถิติแห่งชาติ - เป็นตัวแทนของประเทศ ในการประสานงานกับ ISIC Rev.4.0 ฉบับแปลเป็นภาษาไทย
UNSD ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรหัส ISIC
- นำรหัส ISIC ฉบับ UNSD มาใช้ในงานสำมะโน
และการสำรวจต่างๆ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
- ดำเนินการแปล ISIC Rev.4.0 เป็นภาษาไทย
และจัดทำเอกสารเผยแพร่ต่อบุคคลทั่วไป
กรมการจัดหางาน - เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดรหัสการจัดประเภท การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม
กระทรวงแรงงาน อุตสาหกรรม ที่เป็นมาตรฐานของประเทศไทย (TSIC) (TSIC) ซึ่งอ้างอิงจากต้นแบบ ISIC Rev.4.0
ซึ่งเดิมเป็นภารกิจของกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย
- TSIC ที่จัดทำขึ้นมีเลขรหัสรวม 6 หลัก โดยรหัส
5 ลำดับแรกอ้างอิงจากรหัส ISIC โดยไม่มีการ
เปลี่ยนแปลง ส่วนเลขรหัสลำดับที่ 6 เป็นการเพิ่มเติม
ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
- จัดทำเอกสารเผยแพร่โครงสร้าง และคำอธิบายการ
จัดประเภทอุตสาหกรรม ตามมาตรฐาน TSIC เป็น
ภาษาไทยต่อบุคคลทั่วไป
ธนาคารแห่งประเทศไทย - นำมาตรฐาน TSIC 2001 และ TSIC 2009 ISIC-BOT ปรับปรุงล่าสุด 20 ธ.ค.2547
มาปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการ (ปรับปรุงจากต้นแบบ TSIC 2001 และอ้างอิง
ใช้งานของ ธปท.โดยรหัสมาตรฐานที่ ธปท. ใช้ ISIC Rev.3.0)อยู่ระหว่างการ migrate
มีความละเอียด 7 หลัก ไปใช้ ISICBOT 2009 โดยปรับปรุง จาก
TSIC 2009
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า - ใช้มาตรฐานรหัส TSIC ในการจำแนกประเภท การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม
กระทรวงพาณิชย์ นิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ โดย (ประเทศไทย) ปี 2544 (TSIC 2001)
ใช้วัตถุประสงค์แรกตั้งเป็นปัจจัยพิจารณากำหนด
ประเภทอุตสาหกรรม
- จัดทำฐานข้อมูลทะเบียนรายนิติบุคคล พร้อมประเภท
อุตสาหกรรม และให้บริการสืบค้นต่อบุคคลทั่วไป
*(1) มาตรฐานเพื่อการจัดกลุ่มสินค้าและบริการที่ UNSD จัดทำ ได้แก่ Central Product Classification (CPC) นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานสำหรับการ จัดกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการจำแนกข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ ได้แก ? Broad Economic Categories (BEC) และ Standard International Trade Classification (SITC)
*(2) NACE หมายถึง The Statistical Classification of Economic Activities in the European Community หรือ Nomenclature statistique des activit?s ?conomiques dans la Communaut? europ?enne (NACE) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดประเทศอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป ประกอบด้วยรหัส 6 หลัก
*(3) North American Industry Classification System
*(4) ASEAN Common Industrial Classification (ACIC) จัดทำโดย ASEAN Secretariat เป็นมาตรฐานการจัดประเภทธุรกิจในระดับ 3 หลัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการจัดประเทศธุรกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน และใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำ National SIC โดยนำไปขยาย ต่อในระดับ 4 และ 5 หลักต่อไป มาตรฐานนี้จัดทำขึ้นภายใต้โครงการ ASEAN Task Force on Harmonization of Statistical Classifications (TFSC)
*(5) East Asia Manufacturing Industrial Classification (EAMIC) Ver.1 จัดทำโดย EAMS Secretariat ร่วมกับ ASEAN Secretariat ภายใต้การสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น เป็นมาตรฐานการจัดประเภทธุรกิจเฉพาะภาคการผลิตในระดับ 4 หลัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับประเทศสมาชิก ASEAN+3 (China, Japan, and South Korea)
*(6) http://www.bot.or.th/Thai/DataManagementSystem/FI_FM1/Code/Pages/index.aspx
*(7) Correspondence between ISIC Rev.3.1 and ISIC Rev.4 เป็นตารางเปรียบเทียบการจัดประเภทกิจกรรมระหว่าง ISIC Rev 3.1 และ Rev.4 ที่จัดทำโดย UNSD (http://unstats.un.org/unsd/cr/registry/regso.asp?Ci=60&Lg=1)
เอกสารอ้างอิง
United Nations (2008), “International Standard Industrial Classification (ISIC Rev.4)”
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2553), “การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี 2552 ฉบับปรับปรุงโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ”
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (2553), “การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) ปี 2552”
ปุณฑริก ศุภอมรกุล และดาวินา คุณวิภูศิลกุล (2553), “ย้อนอดีต...ขีดอนาคตคลังข้อมูลธปท.”, BOT StatisticsSymposium, ฝ่ายบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
สุวัชชัย ใจข้อ (2547), “แนวการกำหนดรหัสประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ”, ฝ่ายบริหารข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย
อโนทัย พุทธารี พรสวรรค์ รักเป็นธรรม สุภาดา รุจิรดากุล และอัญชลี ศิริคะเณรัตน์ (2553), “การปรับปรุงดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจและการสำรวจภาวะธุรกิจ (Business Tendency Survey)”, ฝ่ายบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
อโนทัย พุทธารี อังสุปาลี วัชราเกียรติ และอรณิชา ตัตตะวะศาสตร์ (2553), “ฐานข้อมูลภาคเศรษฐกิจจริง : ทิศทางและการพัฒนา” , BOT Statistics Symposium, ฝ่ายบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
คณะผู้จัดทำ
ฝ่ายบริหารข้อมูล
ปุณฑริก ศุภอมรกุล PuntharS@bot.or.th
อังสุปาลี วัชราเกียรติ AngsupaW@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/bot/1121117