ปลูกผักกินเอง
ปลูกผักบนต้นกล้วย
ของฝากจากเวียดนาม
ศักดา ศรีนิเวศน์
สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
Email : sakdasi@doae.go.th
โทรศัพท์ 08-1899-0710
เมื่อเดือน มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้รับเกียรติจากมูลนิธิโครงการหลวง
ให้เป็นผู้ประสานงานนำคณะเจ้าหน้าที่โครงการหลวง จำนวน 19 คน นำโดย ดร.ไพฑูรย์
พลสนะ และ อาจารย์เสียงทอง นุตลัย ไปศึกษาดูงานด้านการปลูกผักเมืองหนาวตาม
มาตรฐาน UREPGAP ที่เมืองดาลัท จังหวัดลามด่ง และตลาดกลางสินค้าเกษตรเบิ่นดินห์
นครโฮจิมินท์ ประเทศเวียดนาม
ในโอกาสที่ไปเยี่ยมชมการปลูกพืชผักเมืองหนาวที่ “ออการ์นิคฟาร์ม” (Organik
farm) ของ ดร.เหวียน บา ฮุง (Dr. Nguyen Ba Hung) ซึ่งเป็นผู้ปลูกผัก ที่ได้มาตรฐานตาม
มาตรฐานของยุโรปเพียงรายเดียวในประเทศเวียดนาม คณะของเราได้รับความรู้จาก ดร. ฮุง เป็น
อันมาก ดร. ฮุง สำเร็จการศึกษาทางด้านพันธุศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และมีความสนใจ
ทางด้านการเกษตรมาก เมื่อสำเร็จการศึกษาก็ไม่ยอมไปเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย หัน
มายึดอาชีพเป็นเกษตรกรเสียเอง ทั้งนี้เพราะท่านมีความรักและสนใจอาชีพการเกษตร
ประกอบกับท่านอยากจะช่วยเหลือเกษตรกรพี่น้องของท่านที่ยังยากจนและขาดความรู้
ทางด้านการพัฒนาเกษตรแผนใหม่ เพื่อพัฒนาให้ทันต่อสถานการณ์ของโลก ท่านได้พัฒนา
ฟาร์มของท่านเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรรอบ ๆ ฟาร์ม โดยเริ่มพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่
และหาได้ในท้องถิ่น แม้แต่โครงของโรงเรือนปลูกผักก็ทำด้วยไม้ไผ่แต่ท่านก็สามารถได้
มาตรฐาน UREPGAP ท่านเพาะปลูกพืชผัก ทั้งผักกินใบและผักกินผล รวมทั้งสิ้น 89 ชนิด
โดยเน้นพืชผักที่เก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุน้อย ๆ และพืชผักที่มีขนาดเล็กที่เรียกว่า “เบบี้” (baby
vegetable) มีเกษตรกรที่อยู่ในเครือ(Contract farmer) ของท่าน จำนวน 12 ครอบครัว โดย
แต่ละครอบครัวมีพื้นที่เพาะปลูกผัก ครอบครัวละ 2 เฮกตาร์ หรือประมาณ 12 ไร่เศษ ผลิต
ผักต่าง ๆ ได้อาทิตย์ละ 5 ตัน เมล็ดพันธุ์ผักส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทยและประเทศต่าง
ๆ ทางยุโรป เช่น ฮอลแลนด์ และฝรั่งเศส เป็นต้น
เมื่อเมล็ดพันธุ์ดีต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาแพงมากอย่างชนิดที่เรียกว่า
นับเมล็ดขาย ดังนั้น ดร.ฮุง และเกษตรกรเวียดนามทั่วไปในเมืองดาลัท จึงใช้เมล็ดพันธุ์
อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยใช้วิธีการตกกล้าลงในกระบะเพาะ ที่เป็น
หลุม ๆ ละ 1 เมล็ด แตกต่างจากเกษตรกรไทยของเรามาก แม้จะรู้ว่าเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาแพง
แต่กลับไม่สนใจแก้ปัญหา ยังคงใช้วิธีเพาะเมล็ดพันธุ์ โดยการหว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลง
กล้า ซึ่งจะได้ต้นกล้าที่มีคุณภาพดีน้อย และมีความเสียหายค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เพราะต้นกล้า
ส่วนหนึ่งจะถูกทำลายโดยด้วงหมัดผัก ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญมากของผักทุกชนิด โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในระยะกล้า และเมื่อย้ายไปปลูกในแปลงปลูกต้นกล้าก็จะช้ำ หรือเหี่ยวเฉาหรือบาง
ต้นอาจเน่าตายไปเลย ทำให้เกษตรกรไทยมีต้นทุนในการเพาะปลูกผักที่สูงมาก
ก่อนที่จะไปถึงการปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วย ใคร่ขอกล่าวถึงการเตรียมหรือการ
เพาะต้นกล้าเสียก่อน เกษตรกรเวียดนามขยันและประณีตมาก ในเรื่องของดินหรืออาจจะ
เรียกปุ๋ยหมักสำหรับเพาะกล้าก็ว่าได้ เพราะ ดินเพาะกล้า เป็นดินที่ได้จากการหมักมูลสัตว์
ผสมกับเศษพืชผักที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว ขุยมะพร้าวหรือขี้เลื้อย และหรือเศษวัสดุอื่น ๆ
หมักจนได้ที่แล้วจึงนำมาร่อนด้วยตะแกรงที่มีรูขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร หรืออาจจะ
ใหญ่กว่า เพื่อแยกเอาเศษวัสดุที่มีขนาดใหญ่ออก หรืออาจทำการแยกโดยลักษณะคล้าย ๆ
กับการแยกกรวดออกจากทรายที่ใช้ในการฉาบปูนสำหรับก่อสร้างก็ได้ แล้วจึงนำดินปลูกที่
ได้มาใส่ในกระบะโฟม หรือพลาสติกที่มีขายโดยทั่วไป และใช้เครื่องอัดดินที่เกษตรกรคิด
ดัดแปลงทำขึ้นเอง มีลักษณะการทำงานคล้ายกับตะแกรงปิ้งปลา
โดยทำหัวกดที่เป็นทองเหลืองยึดติดอยู่กับแผงไม้ยึดติดด้วยสกูร ตามจำนวนรูหรือช่องของ
กระบะเพาะ จากนั้นจึงใส่กระบะที่ได้ใส่ดินเพาะที่มีความชื้นที่เหมาะสมแล้ว ลงให้เข้า
กับล๊อก ที่เกษตรกรได้ตั้งไว้แล้ว ซึ่งช่องของกระบะจะตรงกับหัวกดหรือแผ่นกดพอดี และ
เมื่อกดแท่นหัวอัดลงในกระบะ ดินที่อยู่ในช่องกระบะก็จะถูกกดลงในช่อง โดยการกดต้อง
ไม่กดอัดให้ดินปลูกแน่นจนเกินไป แล้วจึงนำกระบะที่กดดินแล้วออก ก็จะเห็นว่าดินปลูกใน
กระบะถูกอัดแน่นและมีรูเล็ก ๆ สำหรับหยอดเมล็ดพันธุ์ผักลงไป เนื่องจากหัวกด
ทองเหลืองนี้จะมีปุ่มเล็ก ๆ คล้าย หัวนมอยู่ตรงปลายด้วย จากนั้นจึงนำเมล็ดพันธุ์ผักหยอด
ลงในรูเล็ก ๆ ในแต่ละช่องของกระบะ รูละ 1 เมล็ด ซึ่งต้องใช้ความอดทนและความพยายาม
สูงมาก เมื่อหยอดจนครบทุกช่องแล้ว จึงนำดินปลูกมาโรยปิดหน้าอีกครั้ง เพื่อป้องกัน
เมล็ดพันธุ์กระเด็นหรือลอยเมื่อรดน้ำ หลังจากนั้นจึงนำกระบะที่หยอดเมล็ดพันธุ์แล้วไปวาง
เรียงไว้บนชั้นที่ยกเหนือพื้นดินประมาณ 80 เซนติเมตร ในโรงเรือน ทั้งนี้เพื่อป้องกันความ
เสียหายจากการทำลายของแมลงศัตรูพืชที่อาจจะกระโดดขึ้นมาที่กระบะเพาะกล้าได้
จากนั้นจึงให้น้ำตามปกติ โดยลักษณะของการให้น้ำต้องเป็นละอองฝอยขนาดเล็ก หากมี
ละอองฝอยขนาดใหญ่ เมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้าที่งอกอาจจะเสียหาย เนื่องจากแรงกระแทก
ของน้ำได้ และเมื่อต้นกล้าผักเจริญเติบโตมีใบประมาณ 3-4 ใบ จึงนำออกจากกระบะเพาะ
โดยการให้น้ำก่อนแล้วจึงค่อย ๆ เคาะออก ต้นกล้าก็จะหลุดออกมามีลักษณะเป็นแท่งตาม
รูปทรงของรูในกระบะเพาะ
จากนั้นจึงนำไปปลูกในแปลงปลูก วิธีนี้แม้ว่าจะใช้เวลามากแต่เกษตรกรสามารถประหยัด
ค่าเมล็ดพันธุ์ได้เป็นอันมาก และต้นกล้าแข็งแรง ไม่ชะงักหรือเหี่ยวเฉาเมื่อเคลื่อนย้ายลง
แปลงปลูก และยังป้องกันความเสียหายของต้นกล้าพันธุ์จากด้วงหมัดผักด้วย
สำหรับการปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วย ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย วิธีนี้เป็นงาน
ทดลองของ ดร.ฮุง กับหุ้นส่วนของท่าน โดยปกติแล้วเกษตรกรจะตัดต้นกล้วยทิ้งทุกครั้งที่
ตัดเครือ กล้วยที่แก่แล้วออก แต่ ดร.ฮุง เห็นว่าเป็นการสูญเสียไปเปล่า ๆ โดยที่ไม่ได้อะไร
ดังนั้น เมื่อตัดเครือกล้วยแล้ว (จะเป็นกล้วยน้ำว้าหรือกล้วยอะไรก็ได้) ท่านจึงได้เจาะรูที่ต้น
กล้วยในลักษณะทแยงลงไป ให้รูมีขนาดเท่ากับแท่งดินที่ยึดรากต้นกล้าที่ย้ายมาจากกระบะ
เพาะ จากนั้นจึงเอาต้นกล้า (ผักสลัด) ยัดใส่ลงไปในรูของต้นกล้วยที่เจาะไว้ โดยจำนวนรูที่
จะเจาะหรือจำนวนผักที่จะปลูกมากหรือน้อย ไม่สามารถบอกได้ ท่านให้ดูขนาดของต้น
กล้วยว่าใหญ่หรือเล็ก จากนั้น ก็ไม่ต้องรดน้ำให้ผักที่ปลูก หรือรดน้ำให้ต้นกล้วยแต่อย่างใด
จะทำเพียงอย่างเดียว คือ คอยค้ำยันไม่ให้ต้นกล้วยล้มเท่านั้น
หลังจากนั้น ประมาณ 30 วัน (ขึ้นอยู่กับอายุของผักที่ปลูก) ก็เก็บเกี่ยวผักไปขาย
ได้เลย ท่านบกว่าผักสลัดที่ท่านทดลองปลูกมีรสชาติดีมาก หวาน และกรอบ ใบเป็นเงา
งาม ทั้งนี้เป็นเพราะต้นกล้วยมีธาตุโปรแตสเซียมสูง นั่นเอง วิธีนี้เกษตรกรท่านใดจะเอาไป
ทดลองปลูกก็ได้ แต่อายุผักที่ปลูกไม่ควรจะยาวนานเกิน 40 วัน เพราะต้นกล้วยจะโทรมและ
เหี่ยวแห้งตายเสียก่อน ผักที่ปลูกควรเป็นผักกินใบที่ไม่ต้องการแสงแดดที่แรงมากนัก
ทดลองปลูกผักบนต้นกล้วย
วันอาทิตย์ ที่ 12 July 2009
วันนี้หาอะไรทำเล่นๆ หลังจากล้างรถเเสร็จเหลือบไปเห็นต้นกล้วยเล็บมือนางหน้าบ้าน
เลยลองคิดจะปลูกผักบนต้นกล้วยดู หากเป็นไปได้จะเหมาะสำหรับคนที่มีพื้นที่น้อยๆ และอยากปลูกผักกินเอง
เพราะต้นกล้วยต้นนึงถ้าปลูกผักจริงๆคงได้ไม่ต่ำกว่า 20 ต้น ต่อต้นกล้าน 1 ต้น
การทดลองโดยใช้เมล็ดผักที่เท่าที่หาได้ก็คือเมล็ดผักบุ้ง จริงๆอยากปลูกพวกสลัดผักกาด