satellite duo

หลักการตั้งหัวรับสัญญาณแบบ DUO

http://www.pome-sat.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539470554&Ntype=1

หลักการตั้งหัวรับสัญญาณแบบ DUO

จากภาพตัวอย่างรูปที่ 1 เป็นการแสดงภาพเปรียบเทียบลักษณะการรับสัญญาณสัญญาณโดยตรงจากดาวเทียม โดยมีจุดโฟกัสอยู่ตรงกลางจานพอดี จานที่มีจุดรวมสัญญาณอยู่ตรงกลาง เขาเรียกการรวมสัญญาณของจานดาวเทียมแบบนี้ว่า Prime Focus ( ไพรม์โฟกัส ) ส่วนมากจานแบบนี้จะเป็นจานลักษณะทรงกลม

ในขณะที่เรารับสัญญาณจากดาวเทียมโดยตรงอยู่ สัญญาณจากดาวเทียมดวงข้างเคียงก็จะสะท้อนสัญญาณเข้ามาที่หน้าจานเราด้วยเช่น กัน แต่เราก็จะยังไม่สามารถรับสัญญาณได้เพราะว่าจุดรวมสัญญาณที่สะท้อนลงมาไม่ ได้อยู่ที่จุดที่เราตั้งหัวรับสัญญาณเอาไว้ จะเห็นว่าจุดรวมสัญญาณขอดาวเทียมดวงข้างเคียงจะมีจุดโฟกัสหรือจุดรวมความ เข็มสัญญาณสูงสุดอยู่ที่จุดที่ 2 เหมือน รูปที่ 2

หาก ว่าสัญญาณที่จุดนี้มีความแรงสัญญาณเพียงพอ เราก็สามารถดักรับสัญญาณที่จุดนี้มาใช้งานได้ โดยวิธีการ นำเอาตัวหัวรับสัญญาณดาวเทียมหรือที่เรียกกันว่า LNB มาดักรับสัญญาณที่จุดนี้เท่านี้เราก็จะสามารถรับสัญญาณเพิ่มได้อีก 1 ดวงแล้วละครับ ซึ่งวิธีการแบบนี้ครับที่ช่างเขาเรียกว่าการติดตั้งจานแบบ DUO หรือตั้งจานแบบหลายหัวรับ

รูปที่ 2 3 4 5 แสดงให้เราเห็นว่า ในขณะที่เราตั้งจานรับสัญญาณดวงที่ต้องการอยู่นั้น สัญญาณจากดาวเทียมดวงข้างเคียงก็จะส่งสัญญาณผ่านเข้าหน้าจานเราด้วยเช่นกัน ต่อไปเราจะมาหาวิธีและหลักการตั้งหัวรับสัญญาณเพื่อรับสัญญาณดาวเทียมดวง ข้างเคียงมาใช้งาน ซึ่งวิธีนี้ที่เขาเรียกว่า การติด ตั้งจานดาวเทียมแบบ DUO หรือแบบหลายหัวรับ

สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนติดตั้งจานแบบ DUO

1. ความแรงสัญญาณดวงข้างเคียง ดูว่าดวงไหนน่าจะใช้ได้ (ถ้าไม่รู้ก็ต้องลอง)

2. ต้องรู้ระบบของดาวเทียมที่ต้องการรับเพิ่ม จะได้เลือกตัว LNB ได้ถูกว่าจะใช้ระบบ C – BAND หรือ KU – BAND

3. ข้อมูลความถี่ของช่องรายการที่ต้องการทำ DUO

หลักการคร่าวๆก่อนลงมือ เกี่ยวกับหน้าจาน

1. ต้องรู้แนวสัญญาณของดาวเทียมที่พาดผ่านหน้าจาน ว่าอยู่แนวไหน

2. ต้องรู้แนวการตั้งขั้วเลข 0 ของตัว LNB ว่าต้องตั้งอย่างไร

แนวสัญญาณของดาวเทียมที่พาดผ่านหน้าจาน เราต้องรู้...เราจะได้ใช้ตัว LNB ควานหาสัญญาณแบบวง แคบยิ่งขึ้นหรือง่ายยิ่งขึ้น คงจำได้นะครับว่าดาวเทียมที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าลอยอยู่ในแนวทิศตะวัน ออกไปตะวันตก ฉะนั้นก็หมายความว่าแนวสัญญาณที่พาดผ่านหน้าจานเราก็ต้องอยู่ในแนวทิศตะวัน ออกไปตะวันตกเช่นกัน แต่ถ้าให้เราดูด้วยสายตาธรรมดาเราจะดูไม่ออก เพราะหน้าจานมันเอียงและทำมุมที่แตกต่างจากปกติอยู่ฉะนั้นผมมีวิธีให้สังเกต ได้แบบง่ายๆ คือให้ดูที่แนวเลข 0 ของตัว LNB ครับ ถ้าแนว 0 ชี้ไปทางไหนให้เรากะประมาณได้เลยว่าแนวนั้นละครับเป็นแนวที่สัญญาณของ ดาวเทียมพาดผ่านหน้าจาน ดูจากตัวอย่างรูปที่ 6 ครับ แนวเลข 0 ชี้ลงมาฝั่งแขนซ้ายล่างก็เท่ากับว่าแนวที่สัญญาณพาดผ่านก็เป็นแนวนั้นด้วย เช่นกัน

ตอนนี้ลองมาดูอีกตัวอย่างครับถ้าเราตั้งจานที่ดาวเทียมดวงอื่นบ้างลองสังเกตที่เลข 0 ของตัว LNB ตามตัวอย่าง รูปที่ 7 เลข 0 ของตัว LNB จะชี้ขึ้นไปทางเกือบเท่ากับแขนซ้ายบน อย่างนี้ก็หมายความว่าแนวที่ดาวเทียมพาดผ่านหน้าจานเราก็จะเป็นเหมือนรูปที่ 7 ขวามือ ด้วยเช่นกัน

เมื่อเรารู้แนวทางบ้างแล้วต่อไปจะลองมาดูที่ตัว LNB แต่ละยี่ห้อครับว่าแนวเลข 0 ของตัว LNB แต่ละยี่ห้อชี้แนวไปทางไหนบ้าง แนวเลข 0 ของตัว LNB เป็นเส้นที่ใช้อ้างอิงเสาอากาศภายในกระบอก LNBเพื่อจะได้ปรับตั้ง LNB ได้ตรงและถูกกับการส่งและการรับ ถ้าปรับตั้งเลข 0 หรือเสาอากาศของ LNB ไม่ตรง ก็จะเป็นเหตุให้การรับสัญญาณรับได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือ อาจจะรับไม่ได้เลย

LNB ที่ใช้แนวเลข 0 เทียบกับ แนวตะวันออกหรือตะวันตก หรือเทียบกับแนว HOR

DYNASAT , PROFEES , MAZZ , INFOSAT , IDEA CHUN

LNB ที่ใช้แนวเลข 0 เทียบกับ แนวทิศเหนือหรือทิศใต้ หรือเทียบกับแนว VER

PSI, ATM, SAMART, CKU PSI, CKU INFO, CKU DYNASAT, CKU ATM, CKU MAZZ, CKU IDEA

สำหรับ LNB KU-BAND ทุก ยี่ห้อ ส่วนมากจะให้ดูที่ขั้วต่อสาย เทียบกับแนวทิศใต้การติดตั้งจานดาวเทียมแบบหลายหัวรับหรือที่ช่างเขาเรียก กันว่าการติดตั้งจานแบบ DUO ไม่มีวิธีการที่ชัดเจน ตายตัวเพราะขนาดจาน และมุมสะท้อนแต่ละตำเหน่งแต่ละดวงจะมีมุมสะท้อนคนละมุมไม่เท่ากัน และไม่สามารถใช้สูตรคำนวณได้ว่ามันน่าจะติดตั้งอยู่ที่ตรงไหน แต่เราสามารถรู้และกะประมาณได้ตามรูปแบบและหลัก การที่กล่าวมาข้างตนเท่านั้น