ขอ อย

การแปรรูป สมุนไพร http://papc.pharmacycouncil.org/share/file/file_1522.%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95.pdf

การขายยา http://papc.pharmacycouncil.org/share/file/file_1522.%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95.pdf

การผลิตเครื่องสำอางทั่วไป ถ้าท่านๆได้ลองโทรไปถามอ.ย. จะได้รับคำตอบเหมือนๆกันคือ ผลิตได้เลย ไม่ต้องขออนุญาต และเครื่องสำอางทั่วไปไม่ต้องมีเลขที่อ.ย.(ไม่เชื่อลองพลิกดูฉลากกล่องสบู่โฟมแชมพูดิ มีเลขอ.ย.มั้ย)

ยกเว้นว่า ถ้าท่านอยากมีใบรับรองไว้ยืนยันกะคนซื้อว่ามีมาตรฐาน ก็ให้ทำเรื่องขออนุญาตผลิตซึ่งเค้าจะมาตรวจสถานที่ แล้วประเมินคุณภาพ ปกติแล้วการผลิตเครื่องสำอางถ้าขอใบอนุญาตผู้ผลิต ต้องจัดสถานที่และมาตรฐานต่างๆให้เทียบเท่ากับการผลิตอาหาร (อาหารที่ขออ.ย.ทำสถานที่ยังไง เครื่องสำอางที่ได้ใบรับรองก็ต้องทำสถานที่อย่างนั้น)

แต่ทีนี้ กฏหมายล่าสุดปี2551 ออกมาให้ผู้ผลิตเครื่องสำอางทั้งน้อยและใหญ่ ต้องได้มาตรฐานGMP ซึ่งเป็นการลงทุนที่สูงมาก เชื่อว่าถ้าบังคับแบบเข้มงวดจริงๆ พวกotopหรือสินค้าHomeMade(handmade) อาจจะเดือดร้อนกันหมด เพราะต้องเร่งทำสถานที่ให้ได้GMP ซึ่งถ้าลองศึกษาหลักการแล้วมันยากมากๆ เรื่องสถาปัตยกรรมและเครื่องไม้เครื่องมือ เค้าบังคับกันน่าดู รายย่อยอาจตายหมด (ถ้าคิดสู้ก็รอดนะ)

ทีนี้พวกผู้บริโภคก็ได้เฮกัน เรพาะเค้าจะยกเลิกเครื่องสำอางทั่วไป แล้วบังคับให้เครื่องสำอางทุกชนิดเป็นเครื่องสำอางควบคุมให้หมด โดยการไปจดแจ้งที่อ.ย.เพื่อได้เลขที่product ID ซึ่งได้มาเก็บไว้เฉยๆ เหมือนเป็นบัตรประชาชนให้สินค้า แต่ก็ไม่ได้มีเครื่องหมายอ.ย.นะ เพราะเครื่องหมายอ.ย.จะมีเฉพาะบนฉลากอาหาร,ยาและเครื่องสำอางควบคุมพิเศษเท่านั้น(เครื่องสำอางที่มีเลขที่อ.ย.เพราะมีสารที่เสี่ยงและอันตรายเท่านั้นถึงจะมีเลขอ.ย.ที่ฉลาก)ไม่เชื่อก็ลองโทรไปถามกลุ่มควบคุมเครื่อสำอางเหอะ

ที่ขายได้คือ ยาแผนโบราณ ในหมวดยาสามัญประจำบ้านครับ

ยาที่ร้านทั่วไปขายได้ ต้องมีคำว่า ยาสามัญประจำบ้าน ครับ

เหมือนพวกยาหมอง ยาดม ยาที่ขายตามร้านขายของชำครับ

แต่ถ้า จดทะเบียนเป็น หมวดยาสามัญประจำบ้าน ไม่ได้

เขาก็จะจดเป็น อย อาหารเสริม

ในกรณีต้องการขอ อย. ( จริงๆไม่ได้เกี่ยวย อย. แต่ขอยืมชื่อมาใช้แล้วกันเพราะจำชื่อ บจก.ที่ขอเกี่ยวกับการันตรีคุณภาพไม่ได้ ) จขกท. ต้องเอาสินค้าที่ต้องการแบนด์หรือคุณภาพไปทดลองค่ะ ชนิดละ 10 ชิ้นค่ะ เขาจะเช็คคุณภาพว่ามีคุณภาพหรือเปล่า เช่น สารสะกัดมาจากอะไร มีสารพิษที่ร้ายแรงหรือเปล่า, ทดสอบเรื่องความเหนียว ความร้อน ความเย็น ว่าอยู่ในมาตรฐานหรือเปล่า ห้ามเกินเท่าไหร่, วัดค่ากรดด่าง เป็นต้นค่ะ คุณสามารถขอ ณ สสจ ที่จว.ของคุณได้ค่ะ ถ้าที่ กทม ให้มาขอที่อย จ.นนทบุรี

----------------------------------------------------------

ข้อแรกกฎใหม่ โรงงานต้องมี gmp ไอ้ประเภททาว์นเฮาส์ลเลิกคิด ถ้าไม่มีโรงงานเอง ต้องจ้างผลิตกับที่ๆมีgmp เพราะเขาต้องมาตรวจว้สได้มาตรฐานไหม สะอาดไหม นะบบกระบวนการไหม

ข้อสองต้องเอาตำหรับยาไปตรวจหาสารพิษ ซึ่งต้องจ้างแลปมาตรฐาน หรือ คณะวิทย์ เช่น จุฬา

ข้อสาม ควรยื่นขอตราฮาลาไปด้วยพร้อมกันจะดีมาก ซึ่งต้องไปแจ้งสำนักจุฬาให้มาตรวจอีก และก็ต้องจ้างแลปทางด้าน วิทยาศาสตร์อาหารอิสลาม ของจุฬาทำรับรอง

ข้อสี่ ไปกรมทรัพย์สินจดทะเบียนตำหรับยา ว่ายาตัวนี้เป็นสูตรเรา เว้นแต่เป็นตำหรับยามาตรฐานอันนี้จดไม่ได้

ข้อห้า ยื่นหลักฐานให้ทาง ตั้งแต่ทะเบียนนิติบุคล ใบรับรอง ให้ อย.ตรวจเพื่อขึ้นทะเบียนยา ซึ่งอาจจะโดนตีกลับหลายรอบมาก ซึ่งทะเบียนยานี้ยาวครับ ซึ่งเดี่ยวนี้การขึ้นทะเบียนยาแบบสูตรเราเองยากมาก โดยมากจะอนุมัติสูตรยามาตรฐานที่มีในตำรายืนยัน เช่นอย่างของแผนไทยก็ ยาจันทลีลา

แต่ก็มีหลายๆคนเลี่ยงไปขอ เลข อย. เป็นอาหารเสริมแทนซึ่งจะของ่ายกว่า แต่ไม่สามารถบอกว่าสรรพคุณไรบนฉลาก บอกเพียงแต่อาหารเสริม เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากฟักข้าว รับประทาน วันละ 2 เม็ด แต่ถ้าเป็นทะเบียนยาก็จะสามารถโฆษณาได้ เช่น คูลแคป บรรเทาอาการลดไข้