ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน อยู่ในวงศ์ขิง กลุ่มเดียวกับขมิ้นชัน การสุ่มซื้อว่านชักมดลูกในตลาดสมุนไพร พบว่าเป็นเหง้าที่มีลักษณะต่างกันอยู่ กลุ่มที่พบมากจะเรียกกันว่า ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa) และ ว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia)

ว่านชักมดลูกตัวเมีย ขอเรียกสั้น ๆ ในบทความนี้ว่า ว่านตัวเมีย ลักษณะหัวกลมรีตามแนวตั้ง แขนงสั้น

ว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia) หรือว่านตัวผู้ มีลักษณะต่างไปเล็กน้อย คือหัวใต้ดินจะกลมแป้นกว่า แขนงข้างจะยาวกว่า แต่บางครั้งแขนงข้างถูกตัดออกไป หรือหักไป ทำให้จำแนกไม่ชัดเจนนัก ผู้ไม่คุ้นเคยอาจจำแนกไม่ได้ และมักมีปัญหาในการซื้อขาย

หากผ่าดูเนื้อในเปรียบเทียบกัน ว่านตัวเมีย จะมีสีขาวนวล วงในมีสีชมพูเรื่อ ๆ ทิ้งไว้สีชมพูจะเข้มขึ้น ส่วนเนื้อในว่านตัวผู้มีสีคล้ายกัน แต่วงในออกสีเขียวแกมเทาอ่อน ๆ ทิ้งไว้จะออกสีชมพูเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน แต่หากผู้ซื้อไม่มีตัวอย่างเทียบเคียงจะจำแนกยาก

จากการสำรวจและตรวจสอบพันธุกรรมดีเอ็นเอ ระบุว่าว่านชักมดลูกมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์มากกว่า 2 ชนิด แต่ที่มีการวิจัยตรวจสอบคุณภาพชัดเจน มีเพียงสองชนิดข้างต้น

อนึ่ง พบว่าพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ไม่พบปลูกในประเทศไทย และมีลักษณะคล้ายว่านชักมดลูกของไทย รวมทั้งมีสรรพคุณคล้ายกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma xanthorrhiza มีการวิจัยในต่างประเทศค่อนข้างมาก ทำให้มีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นผลวิจัยของว่านชักมดลูกของเรา พบว่ามีสารสำคัญคนละกลุ่มกัน ส่วนว่านชักมดลูกของเรามีการวิจัยอย่างเป็นระบบในสัตว์ทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยล้วน

สรรพคุณตามตำรายาไทย ใช้เหง้าว่านชักมดลูกรักษาอาการของสตรี เช่นประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน ตกขาว ขับน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย ริดสีดวงทวาร และไส้เลื่อน

จากสรรพคุณดังกล่าว นักวิจัยตีความว่า ว่านชักมดลูกน่าจะมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงคือเอสโตรเจน จึงนำมาสู่งานวิจัยเพื่อพิสูจน์ ในการทดลองฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน สัตว์ทดลองใช้หนูแรตตัวเมียที่ตัดรังไข่ออกไป โดยมีกลุ่ม 1 หนูปกติ กลุ่ม 2 หนูตัดรังไข่ กลุ่ม 3 หนูตัดรังไข่ได้รับเอสโตรเจน กลุ่ม 4 หนูตัดรังไข่ได้รับว่านตัวเมีย และกลุ่ม 5 หนูตัดรังไข่ได้รับว่านตัวผู้ พบว่าว่านตัวเมียแสดงฤทธิ์ดังกล่าวจริง โดยทำให้มดลูกหนูทดลองโตใกล้เคียงกับกลุ่ม 1 และ 3 สารออกฤทธิ์เป็นกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ ซึ่งมีโครงสร้างไม่หมือนเอสโตรเจน เราเรียกสารสำคัญของว่านตัวเมีย ว่าเป็นกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน แปลว่าเป็นสารที่ได้จากพืชในธรรมชาติที่ออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนนั่นเอง ส่วนกลุ่ม 2 และ 5 มดลูกหนูทดลองเล็กลงอย่างชัดเจน แสดงว่าว่านตัวผู้ไม่มีฤทธิ์ดังกล่าวเลย จึงไม่นำมาทดลองต่อไป ดังนั้นการเลือกวัตถุดิบว่านชักมดลูกที่ถูกต้องเพื่อใช้ทำยาแผนไทยจึงมีความสำคัญต่อสรรพคุณที่ต้องการ

วงการแพทย์ยอมรับว่า สารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจนมีศักยภาพสำหรับรักษาสุขภาพของสตรีวัยทอง การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในสตรีวัยทอง ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวามและแสบร้อนผิวหนัง หงุดหงิด ไขมันในเลือดสูง ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และที่สำคัญคือกระดูกพรุน ไฟโตเอสโตรเจนมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นและต้านการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมและความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย และพัฒนาเป็นโรคเรื้อรัง รวมทั้งโรคมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ

จากผลการวิจัยในสัตว์ทดลองและหลอดทดลองของนักวิจัยไทยพิสูจน์ว่า ว่านตัวเมียและสารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นเทียบเท่าไวตามินซี มีฤทธิ์ต้านการอักเสบซึ่งเป็นผลดีกับโรคในระบบประสาท นอกจากนั้นยังช่วยรักษาและซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจด้วย

พบสารชื่อโฟราซิโตฟีโนนในว่านชักมดลูกที่แสดงฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำดี และเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากขึ้น จึงลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี สำหรับความเป็นพิษ มีการทดลองพิษเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง พบว่าสารประกอบข้างต้นมีความเป็นพิษต่ำ น่าจะปลอดภัยถ้าจะพัฒนาเป็นยา

สารสกัดด้วยเอทิลอะซิเตทช่วยให้การลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่างๆ เข้าไปในตับและเสริมให้เกิดการขับโคเลสเตดรอลและกรดน้ำดีสู่ทางเดินอาหารและออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระ

ว่านชักมดลูกทำให้หลอดเลือดแข็งแรงขึ้นโดยต้านออกซิเดชั่นที่เกิดขึ้นที่ผนังหลอดเลือดแดง การทดลองในหนูที่ตัดรังไข่เลียนแบบสตรีวัยทอง และให้กินผงว่านชักมดลูก และ สารสกัดด้วยเฮกเซน พบว่าสามารถป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น ทั้งยังแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย

พบทั้งฤทธิ์ป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนที่ทดลองในหนูที่ถูกตัดรังไข่ และกินสารสกัดว่านตัวเมียติดต่อกัน 5 สัปดาห์ พบว่าสามารถป้องกันการสูญเสียแคลเซียม รัษาระดับความหนาแน่นของมวลกระดูกได้เช่นเดียวกับกลุ่มหนูที่กินเอสโตรเจน และดีกว่าเอสโตรเจนตรงที่ทำให้ขนาดมดลูกของหนูทดลองโตขึ้นน้อยกว่า

มีข้อมูลว่าสมุนไพรหลายชนิดทำให้ตับอักเสบ จึงนำว่านตัวเมียมาทดสอบในประเด็นนี้ พบว่าว่านตัวเมียแสดงฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษคาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ได้โดยกระตุ้นกลไกการล้างพิษและลดการสร้างสารเคมีที่เป็นพิษในร่างกาย

เมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดแอลกอฮอล์ของว่านตัวเมียล่วงหน้า 4 วัน ก่อนฉีดสารทำลายไตชื่อ ซิสพลาติน หลังจากนั้น 5 วัน ฆ่าหนูเก็บเลือดไปตรวจหาระดับ BUN และพลาสมาเครอาทินิน พร้อมกับตรวจสภาพเซลล์ไตในกล้องจุลทรรศน์ และตรวจหาระดับเอนซามย์ที่แสดงถึงการทำลายเซลล์ไตพบว่า สารสกัดว่านตัวเมียทำให้ระดับของค่าต่าง ๆ ที่ระบุข้างต้นลดลงเป็นปกติเมื่อเปรียบเทียบกับหนูขาวกลุ่มควบคุมที่ถูกฉีดสารพิษเท่านั้น สารออกฤทธิ์เป็นสารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ ผ่านกลไกต้านออกซิเดชั่น

เฉพาะการวิจัยฤทธิ์ปกป้องตับและไตเท่านั้น ที่ทำการทดลองในหนูตัวผู้

จอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคของคนวัยทอง พบในผู้สูงอายุ (50 ขึ้นไป) ทำให้สูญเสียการมองเห็น สารต้านอนุมูลอิสระเป็นกระบวนการธรรมชาติที่จะป้องกันเซลล์เรตินาของตาจากการถูกทำลายโดยสภาพเครียดจากอนุมูลอิสระ และถ้าอยู่ในสภาพนี้ต่อเนื่อง จะเกิดความเสียหายต่อสารสีในเซลล์เรตินา ทำให้จอประสาทตาเสื่อม ในหลอดทดลอง สารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ชนิดหนึ่งที่แยกได้จากว่านตัวเมียป้องกันเซลล์เรตินาจากความเสียหายดังกล่าวได้ด้วยกระบวน การต้านออกซิเดชั่น

สำหรับโรคสมองเสื่อม ทดสอบการเรียนรู้และความจำของหนูวิสต้าที่ตัดรังไข่ เปรียบเทียบผลของสารสกัดเฮกเซนของว่านตัวเมียกับเอสโตรเจน ทดสอบทุกระยะเวลา 30 วัน สรุปผลว่า เมื่อทดสอบถึงวันที่ 67 หนูที่ตัดรังไข่ความจำเสื่อมลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเทียบกับหนูปกติ กลุ่มที่กินสารสกัดว่านตัวเมียและกลุ่มที่ฉีด estrogen ยังมีความจำดีใกล้เคียงกัน สารสกัดในขนาดสูงประสิทธิผลยิ่งดีขึ้น

สารประกอบจากว่านตัวเมียฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (P388 leukemic cell) โดยการทำลายดีเอ็นเของเซลล์มะเร็ง

ว่านชักมดลูกตัวเมียเป็นสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพสูงที่จะผลิตเป็นยาสำหรับสตรีวัยทอง เพราะสามารถป้องกันและรักษาครอบคลุมอาการที่สำคัญได้หมด ที่น่าสนใจคือผงว่านตัวเมียแสดงผลการทดลองดีพอ ๆ กับสารสกัด ทำให้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้ง่ายและไม่ต้องลงทุนมากอย่างไรก็ตามเป็นการทดลองในสัตว์ทดลอง ซึ่งเป็นกระบวนการเบื้องต้น จากนี้ควรมีการทดสอบความเป็นพิษระยะยาว จัดทำแนวทางตรวจสอบคุณภาพให้ชัดเจนและแม่นยำ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีและทดสอบในมนุษย์ ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ ในเร็ววันนี้ น่าจะมีผลิตภัณฑ์ว่านชักมดลูกตัวเมียสำหรับสตรีวัยทอง ที่สำเร็จด้วยฝีมือนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย

ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินและมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สำหรับในประเทศไทย ว่านชักมดลูกที่พบได้ตามท้องตลาดจะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa Roxb.) ซึ่งจะมีลักษณะของหัวกลมรีตามแนวตั้ง มีแขนงสั้น (ตามภาพแรก) และว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia Roscoe) จะมีลักษณะต่างจากตัวเมียตรงที่ หัวใต้ดินจะกลมแป้นมากกว่า และแขนงจะยาวมากกว่า (ตามภาพที่สอง) ทำให้การซื้อมาใช้บางครั้งอาจจะจำแนกลำบาก เพราะบางครั้งเมื่อนำมาเทียบกันทั้งตัวเมียและตัวผู้จะคล้ายกันมาก โดยจะปลูกมากในจังหวัดเลยและเพชรบูรณ์

ทั้งนี้ยังได้พบว่ามีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับว่านชักมดลูกของไทยมาก และมีสรรพคุณทางยาที่คล้ายคลึงกัน โดยเป็นว่านชัดมดลูกที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma zanthorrhiza Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Curcuma xanthorrhiza Roxb.)

สมุนไพรว่านชักมดลูก ตามสรรพคุณตำรายาไทยนั้น จะใช้ว่านชักมดลูกตัวเมียเป็นหลัก เพราะมีสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ของสตรี ไม่ว่าจะเป็นอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว เป็นต้น จากสรรพคุณดังกล่าวนักวิจัยก็ได้ตีความว่า ว่านชักมดลูกน่าจะมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน ซึ่งมีงานวิจัยพบว่าว่านชักมดลูกตัวเมียจะออกฤทธิ์ได้เป็นอย่างดีเพราะมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ แม้จะมีโครงสร้างไม่เหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจนก็ตาม และเรียกสารชนิดนี้ว่า ไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งวงการแพทย์ต่างก็ยอมรับว่าสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจนมีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพต่าง ๆ ของสตรีวัยทองได้เป็นอย่างดี

ดังนั้นการเลือกว่านชักมดลูกมาเป็นวัตถุดิบให้ถูกต้องเพื่อใช้ทำยาสมุนไพรจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อสรรพคุณที่ต้องการ

สำหรับวิธีกินว่านชักมดลูกหัวสด ๆ ให้เอาหัวว่านชักมดลูกมาปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาต้มน้ำดื่ม แต่ถ้าเป็นชนิดสำเร็จรูปก็ให้รับประทานตามที่ระบุไว้ข้างขวดได้เลย

ผลข้างเคียงของยาว่านชักมดลูก

    • มีอาการตกขาวมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยที่สุด แต่ก็มีคำแนะนำว่าสามารถรับประทานต่อไปได้เลย

    • มีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน มีอาการไอเหมือนจะเป็นไข้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้สตรีที่ร่างไม่แข็งแรง และมีคำแนะนำว่าให้หยุดรับประทานสักพักจนกว่าอาการไข้จะหายไป แล้วให้รับประทานต่อในปริมาณที่ลดลงครึ่งหนึ่ง หรือสำหรับผู้ไม่ได้มีอาการไข้ให้เริ่มรับประทานในปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณในการรับประทานตามฉลากสมุนไพร

    • มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังและตามลำตัว ซึ่งเป็นอาการที่พบได้น้อย มีคำแนะนำว่าถ้าหากอาการไม่รุนแรงมากจนเกินให้รับประทานต่อได้ แต่ถ้าผื่นมากก็ให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง หากอาการดีขึ้นค่อยกลับมารับประทานในปริมาณที่กำหนด

    • มีอาการปวดหน้าอก ตึงหน้าอก หรือปวดมดลูก ช่องคลอด แนะนำว่าหากมีอาการดังกล่าวให้ลดปริมาณยาลงครึ่งหนึ่ง หลังจากอาการดีขึ้นค่อยรับประทานในปริมาณที่กำหนด

    • สำหรับสตรีวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน หลังจากรับประทานอาจจะมีประจำเดือนใหม่เกิดขึ้นได้ โดยคุณสามารถรับประทานต่อไปได้ ประจำเดือนก็จะค่อย ๆหมดไปเอง

ผลข้างเคียงดังกล่าวเป็นผลมาจากกลไกการทำงานของว่านชักมดลูกและไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใด

สรรพคุณของยาว่านชักมดลูก

    1. ว่านชักมดลูกมีความปลอดภัยมากกว่า กวาวเครือขาว และยังช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น

    2. ว่านชักมดลูก ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว หรือมดลูกต่ำไม่เข้าที่

    3. มีส่วนช่วยเสริมหรือขยายหน้าอก

    4. ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ขาวนวล และมีเลือดฝาด

    5. มีส่วนช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ฝ้า และรอยดำ

    6. ช่วยแก้อารมณ์แปรปรวนต่าง ๆของสตรี เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว จิตใจห่อเหี่ยว โกรธง่าย อ่อนไหวง่าย ให้หายไป

    7. ช่วยกระชับหน้าท้องที่หย่อนคล้อยหลังคลอดบุตร

    8. ช่วยกระชับช่องคลอดภายในของสตรี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น

    9. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอดหรือในมดลูก

    10. ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง

    11. ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอดของสตรีให้ลดลงหรือหายไป

    12. ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดของสตรี

    13. ช่วยรักษาอาการหน่วงเสียวของมดลูกหรืออาการเจ็บท้องน้อยเป็นประจำให้ดีขึ้น

    14. ช่วยแก้ปัญหาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ

    15. ช่วยรักษาอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน หรืออาการปวดท้องอย่างรุนแรงให้มีอาการดีขึ้น

    16. ช่วยแก้อาการตกขาวในสตรี ทำให้อาการดีขึ้น

    17. ช่วยทำให้สตรีมีอารมณ์ทางเพศที่สมบูรณ์ ทำให้อารมณ์ทางเพศที่ขาดหายไปกลับมาเหมือนเดิม

    18. ว่านชักมดลูกมีสรรพคุณช่วยขับน้ำคาวปลา

    19. ช่วยแก้พิษอาหารไม่ย่อย

    20. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร

    21. ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อน

    22. ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในสตรีวัยทอง

    23. ช่วยดับกลิ่นปาก และกลิ่นตามตัว

    24. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมและความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย

    25. ช่วยปกป้องเซลล์เรตินาของตาจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมของคนวัยทอง

    26. ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน โดยช่วยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม ช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก

    27. ช่วยรักษาซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ

    28. ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น ช่วยป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น

    29. ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (P388 leukemic cell) ด้วยการไปทำลายดีเอ็นเอของเซลล์มะเร็ง

    30. ช่วยในการลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ เข้าไปในตับและช่วยเสริมให้เกิดการขับคอเลสเตอรอลและกรดน้ำดีสู่ทางเดินอาหารและออกจากร่างกายพร้อมกับอุจจาระ

    31. ว่านชักมดลูกมีประโยชน์ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี และช่วยเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากยิ่งขึ้น จึงช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี

    32. มีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษคาร์บอนเตตระคลอไรด์ โดยไปช่วยกระตุ้นกลไกการล้างพิษและลดการสร้างสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย

    33. ช่วยปกป้องตับและไต

    34. มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลดีกับโรคในระบบประสาท

    35. นำมาเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตยาสมุนไพรยี่ห้อต่าง ๆ ทั้งชนิดแคปซูล ชนิดผง เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี en.wikipedia.org/wiki/Curcuma_comosa, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล