rfid

RFID ชื่อเต็มๆ ก็คือ Radio Frequency Identification หรือการระบุข้อมูลสิ่งต่างๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งพวกเราทุกคนคงจะคุ้นเคยกับระบบนี้เป็นอย่างดี เพราะว่า RFID ถูกนำเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันของเราอย่างหลากหลาย เพียงแต่ว่าเราจะรู้หรือไม่เท่านั้นเองว่าสิ่งเหล่านั้นใช้เทคโนโลยี RFID ... ย้อนอ่านตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ RFID

จากตารางในบทความตอนที่ 1 (คลิกดูตาราง) จะเห็นว่า RFID ที่ขายในเว็บไซต์ของเรามี 3 ประเภท คือ

1. มาตรฐาน ISO10536 หรือ RFID 125 KHz

2. มาตรฐาน ISO15693 หรือ ICODE

3. มาตรฐาน ISO14443 Type A หรือ Mifare

ในการเลือกใช้แต่ละมาตรฐานต้องคำนึงถึงว่าเครื่องอ่าน-เขียนรองรับมาตรฐานของการ์ดที่ใช้อยู่หรือไม่ เช่น เครื่องอ่าน-เขียนตามมาตรฐาน Mifare ไม่สามารถใช้ได้กับบัตร ICODE ถึงแม้ว่าจะใช้ย่านความถี่เดียวกัน คือ 13.56MHz แต่โปรโตคอลที่รับส่งข้อมูลแตกต่างกัน หากต้องการใช้ร่วมกันอาจเปลี่ยนไปใช้เครื่องอ่าน-เขียนที่รองรับหลายมาตรฐาน (Multi-Protocol) แทน เช่น Pi‐931‐X34CC จาก บจก. ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี หรือ SL500F-USB Reader/Write จาก StrongLink Technology Co., Ltd.

3. มาตรฐาน ISO14443A หรือ Mifare เป็นมาตรฐาน RFID ที่ความถี่ 13.56 MHz

เหมาะสำหรับงานต้องการเก็บข้อมูลไว้ที่บัตร มีระบบ Login ก่อนเขียนหรืออ่านข้อมูลที่บัตร

3.1. บัตร Mifare 1K 13.56MHz White Card Tag (รหัสสินค้า ERFC006)

เช่นเดียวกับบัตร ICODE ก่อนที่เราจะใช้งาน RFID ประเภท Mifare จำเป็นจะต้องทราบถึงรายละเอียดของบัตรก่อนจึงจะสามารถใช้งานบัตรได้ถูกต้อง โครงสร้างข้อมูลของบัตร Mifare ขนาด 1 KByte มีดังนี้

จากภาพแสดงรูปแบบข้อมูลบนบัตร Mifare จะเห็นได้ว่า บัตรจะแบ่งข้อมูลออกเป็นเซ็คเตอร์ (Sector) ทั้งหมด 16 เซ็คเตอร์ (ตั้งแต่ 0 ถึง 15) ในแต่ละเซ็คเตอร์ประกอบด้วยชุดข้อมูล 4 บล็อค (Block) โดย บล็อคต่างๆ เก็บข้อมูลบนบัตรดังนี้

1. Sector 0 Block 0 เก็บข้อมูลของบัตรหรือค่า UID (Unique Identifier) ขนาด 16 บิต สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถเขียนได้

2. Block 0, 1, 2 ของทุก Sector (ยกเว้น Sector 0 ที่ใช้ได้เฉพาะ Block 1,2) ใช้เก็บข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการเขียน-อ่านบัตร โดยบัตร Mifare ยังมีฟังชั่น Value Block เขียนข้อมูลลงไปเฉพาะ 4 ไบต์แรก (ไบต์ที่ 0-3) และ Backup ข้อมูลไว้ที่ไบต์ที่ 8-11 Invert ข้อมูลไว้ในไบต์ 4-7 เก็บข้อมูลตำแหน่ง (Address) ของ Block ขนาด 1 ไบต์ไว้ที่ไบต์ที่ 12 กับ 14 และ Invert ข้อมูลตำแหน่งไว้ที่ 13 กับ 15

ฟังก์ชั่น Value Block เหมาะสำหรับระบบที่ต้องการความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูล ไม่ต้องการใช้ข้อมูลทั้ง Block ต้องการเพียงเขียน อ่าน เพิ่ม หรือลด และมีระบบป้องกันข้อมูล เหมาะสำหรับระบบคิดเงินในศูนย์อาหารระบบบัตรคูปอง

3. Block 3 ในแต่ละ Sector เก็บข้อมูลสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลใน Block นั้น ประกอบด้วย

- Key A เก็บรหัสการเข้าถึงข้อมูลของบัตร เก็บไว้ที่ Block 3 Byte ที่ 0 – 5

- Key B เก็บรหัสการเข้าถึงข้อมูลของบัตร เก็บไว้ที่ Block 3 Byte ที่ 11 – 15

- Access Bits เป็นค่าที่ใช้กำหนดสิทธิ์ของ Key A และ Key B สามารถอ่าน/เขียน Block ไหนได้บ้าง ใน Sector นั้น เช่นผู้ใช้บัตรอาจกำหนดให้ ตนเองถือ Key A อยู่ซึ่ง กำหนดสิทธิ์ใน Access bits แล้วให้สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลได้ แต่ผู้ใช้ทั่วไปถือ Key B สามารถอ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว