น้ำน้อย

น้ำน้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE และมีชื่ออื่นๆ เช่น กลมกลึง กระทุ่มคลอง ท้องคลอง กำจาย น้ำนอง ผักจ้ำ มะจ้ำ มงจาม น้ำน้อยเป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนาน ดอกเดี่ยวออกเหนือซอกใบ กลีบดอกด้านนอกสีน้ำตาลแดง ด้านในสีเหลือง ผลกลุ่มสีม่วงดำ

ไม้น้ำน้อย ชื่อนี้อาจจะทำให้ผู้ที่ได้ยินรู้สึกถึงความเหือดแห้ง เหี่ยวแห้ง ขาดความชุ่มชื้น จริงๆ แล้วไม้ต้นนี้มีที่มา และไม่ใช่น้ำน้อยอย่างชื่อที่ถูกเรียก แต่ชื่อน้ำน้อย หมายความว่า เมื่อใดที่น้ำ (นม) น้อย ก็ขอให้คิดถึงไม้ชนิดนี้ บรรดาพ่อหมอแม่หมอทั้งหลาย ต่างรู้จักกันดีถึงสรรพคุณที่เหมาะอย่างยิ่งกับคุณแม่ โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก หรือคุณแม่ลูกอ่อน แต่ทุกวันนี้ ไม้น้ำน้อยไม่ค่อยเหลือให้เห็นแล้ว เพราะคนสมัยนี้น้ำนมน้อย ก็คิดถึงนมผงมากกว่า

แม่หมอเมืองเลยท่านหนึ่งบอกว่า “คนโบราณ ไม่มีดอก นมผง นมกล่อง มาให้เด็กน้อยกินเหมือนทุกวันนี้ เด็กน้อย แต่ก่อนกินแต่นมแม่ เมื่อแม่ไม่มีน้ำนม ก็มีแต่น้ำข้าว เอามาให้กิน แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วเมื่อแม่ลูกอ่อนบ่มีน้ำนม หรือที่ว่าน้ำนมลักหนี ผู้เฒ่าจะไปหาไม้ยา พวกไม้น้ำน้อย ไม้นมสาว มาต้มให้กิน พอกินแล้วน้ำนมกะมี บางคนกินแล้ว นมเค่งเอ่งเต่ง จนน้ำนมไหลเปียกเสี่ยเปียกผ้าเลยล่ะ” สรรพคุณคับต้นของไม้น้ำน้อยที่พ่อหมอแม่หมอเมืองเลยได้บอกมานี้ ทำให้รู้สึกอัศจรรย์ใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษแต่โบราณของเราที่ได้ส่งมอบสมบัติเพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ไว้ให้พวกเราลูกหลาน

ผู้หญิงเรานั้น เวลาที่เจ็บและทรมานที่สุดก็คือ ตอนคลอดลูก แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่มีความสุขมากที่สุดที่ได้หน้าเห็นลูกน้อย หลังผ่านความเจ็บปวดอย่างหนักหนาในการให้กำเนิดลูกไปแล้ว ความลำบากก็ยังไม่สิ้นสุด ผู้หญิงในอดีตนั้น เมื่อคลอดลูกแล้วต้องอยู่ไฟ หรือที่คนโบราณเรียกว่า “อยู่กรรม คำเดือน” การอยู่ไฟ หรือการอยู่กรรม เป็นสิ่งที่ลำบากมากสาหรับผู้เป็นแม่ อยากกินอะไรใด ก็กินไม่ได้ ต้องขะลำ คือ ระมัดระวังอาหารการกินหรือกิจกรรมบางอย่าง เพราะอาจผิดกรรมได้ และจะมีผลถึงลูกที่เกิดมา เช่น น้ำนมหลบ น้ำนมแห้ง ป่วยจากการกินของผิด จนไม่สามารถให้นมลูกได้ เพราะนมอาจเป็นพิษต่อลูก

การอยู่กรรมของแม่ จึงต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะขาดจะเกินไม่ได้ ในช่วงนั้นต้องมียาหม้อกรรม (ยาต้มขณะอยู่ไฟ) เพื่อให้แม่ลูกอ่อนกินบำรุงร่างกายและให้มีน้ำนมเลี้ยงลูก ในช่วงนี้ผู้เฒ่าผู้แก่จะบอกให้สามีไปหาไม้ยามาต้มให้ภรรยา โดยไม้ยาชนิดหนึ่งที่ใช้มาแต่โบราณ ก็คือ ไม้น้ำน้อย นั่นเอง ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยเพิ่มน้ำนมและบำรุงแม่ลูกอ่อน

นอกจากบำรุงน้ำนมให้แม่หลังคลอดแล้ว ผู้หญิงทั่วไปที่ผอมแห้งก็สามารถนำไม้น้ำน้อยมาต้มกินบำรุงร่างกายได้ น้ำน้อยเป็นพืชในวงศ์กระดังงา ซึ่งพืชอื่นๆ ในวงศ์นี้ มักจะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำนม ยาบำรุงกำลัง เช่น ข้าวหลามดง นอกจากนี้ ใบและกิ่งของต้นน้ำน้อย ยังพบสาร Suberosol ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ ในหลอดทดลอง

สมุนไพรบำรุงน้ำนมแม่ โดยเฉพาะกับแม่ที่เพิ่งคลอดลูก หรือแม่ลูกอ่อน แม่หมอเมืองเลยท่านหนึ่งบอกว่า “คนโบราณ ไม่มีดอก นมผง นมกล่อง มาให้เด็กน้อยกินเหมือนทุกวันนี้ เด็กน้อย แต่ก่อนกินแต่นมแม่ เมื่อแม่ไม่มีน้ำนม ก็มีแต่น้ำข้าว เอามาให้กิน แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วเมื่อแม่ลูกอ่อนบ่มีน้ำนม หรือที่ว่าน้ำนมลักหนี ผู้เฒ่าจะไปหาไม้ยา พวกไม้น้ำน้อย ไม้นมสาว มาต้มให้กิน พอกินแล้วน้ำนมกะมี นอกจากบำรุงน้ำนมให้แม่หลังคลอดแล้ว ผู้หญิงทั่วไปที่ผอมแห้งก็สามารถนำไม้น้ำน้อยมาต้มกินบำรุงร่างกายได้

ตำรับที่ 1 ใช้ลำต้นไม้น้ำน้อยประมาณ 1 กำมือ ต้มกินต่างน้ำ หรือต้มรวมกับต้นนมวัว ต้นนมสาว ต้นข้าวหลามดง ทั้งสามอย่างเท่าๆ กัน ในปริมาณ 1 กำมือ จะช่วยให้น้ำนมไหลดี มดลูกเข้าอู่เร็ว ต้มกินจนหลังจากการอยู่ไฟจึงลดปริมาณการกินลง

ตำรับที่ 2 ใช้ลำต้นน้ำน้อย 2-3 กีบ ลำต้นเดื่อป่อง 2-3 กีบ ลำต้นนมสาว 2-3 กีบ ลำต้นนมวัว 2-3 กีบ ลำต้นตะโกนา 2-3 กีบ ลำต้นซ้าโก 2-3 กีบ ลำต้นข้าวหลามดง 2-3 กีบ นำสมุนไพรทุกอย่างมัดรวมกันเป็นหนึ่งมัด ต้มในยาหม้อกรรม และให้แม่อยู่ไฟกินเรื่อยๆ ต่างน้ำ หรือกินแทนน้ำ เพราะการกินน้ำอุ่น จะทำให้ดีเร็วขึ้น โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร