ขนุนสำปะลอ

สาเก ชื่ออื่น ขนุนสำปะลอ (ภาคกลาง); สาเก (ภาคกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus altilis (Parkinson) Fosberg

ชื่อสามัญ Bread Fruit Tree Bread nut Tree อังกฤษ: Breadfruit, มาลายาลัม: kada-chakkai, ฮาวาย: อุลุ, อินโดนีเซีย: สุกุน ตากาลอก: โคโล)

วงศ์ Moraceae

เป็นไม้ผลพื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออก และมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ต่อมาจึงแพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก และปลูกแพร่หลายทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน

สาเก ไม้ยืนต้นนสูง 15-20 เมตร ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านทรงพุ่มแผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ทุกส่วนของสาเกมียางขาวข้น ใบเดี่ยว ออกสลับ มีขนาดใหญ่ กว้าง 25-35 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร ใบเว้าเป็นแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ก้านใบและเส้นใบมีสีเหลืองเห็นชัดเจน แผ่นใบสีเขียวเข้ม หนา ยอดอ่อนมีกาบสีเหลืองอมเขียวหุ้ม ดอกเป็นช่อ แยกเป็นช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกตัวเมีย ช่อดอกตัวผู้เป็นช่อยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร รูปทรงคล้ายกระบอง ห้อยลง ส่วนช่อดอกตัวเมียเป็นรูปทรงกลม ออกดอกตลอดปี ผล เป็นผลรวม มีรูปทรงรูปไข่หรือเกือบกลม ขนาดประมาณ 15-20 เซนติเมตร ภายในมีเนื้อไม่มีเมล็ด สีเขียวอมเหลือง

ประโยชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงา ผลใช้ประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน http://bit.ly/2HEVthz

สาเกเชื่อม เป็นขนมหวานโบราณขึ้นชื่ออย่างหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า ถ้าบุคคลใดเป็นโรคผู้หญิงหรือกามโรค เชื่อกันว่าถ้ากินขนมสาเกแล้วจะแสลงทำให้แผลลุกลาม

สาเกในไทยแบ่งได้ 2 ชนิด คือ สาเกพันธุ์ดั้งเดิมจะมีเมล็ด ในเมืองไทยเรียกว่า “ขนุนสำปะลอ” แม้ว่าจะมีเมล็ด เมล็ดนำมาต้มกินรสชาติคล้ายเมล็ดขนุนหรือเกาลัดจีน และนำมาทำไส้ขนมต่างๆ ได้ ดอกตากแห้งนำมาจุดไฟให้เกิดควันใช้ไล่ยุง เปลือกต้นของขนุนสำปะลอ ใช้ทำเส้นใยทนทานทำเชือกได้ http://bit.ly/2EMPHIP

ส่วนที่เรียกว่า “สาเก” คือสายพันธุ์ที่ไม่มีเมล็ดที่มักนำมาทำขนม

สำหรับสายพันธุ์ที่ปลูกในเมืองไทยนั้นแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักๆ ได้แก่

พันธุ์ข้าวเหนียว ลักษณะ ผลใหญ่ เมื่อสุกเนื้อเหนียว ไม่ร่วน นิยมปลูกเพื่อทำขนม

พันธ์ข้าวเจ้า ลักษณะ ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่นิยมรับประทาน

- ผลสาเกนำไปต้มหรืออบจะได้เนื้อนุ่มเหมือนก้อนแป้ง ใช้ทำขนม เช่น เชื่อม แกงบวด (ก่อนนำสาเกมาเชื่อม จะแช่น้ำปูนใสสัก 1-2 ช.ม. ทำให้เนื้อแน่นไม่ยุ่ย)

- ชาวอินโดนีเซียนำสาเกไปอบกรอบใช้เป็นอาหารว่าง และมีการนำไปป่นเป็นแป้งเพื่อทำขนมปังกรอบ

- เนื้อสาเกมีพลังงานสูง ให้แคลเซียมและวิตามินเอจำนวนมาก ช่วยป้องกันโรคหัวใจและกระดูกพรุน ผลแก่ใช้ทำใช้ทำขนมปัง โดยหั่นเป็นชิ้นบางๆตากแดดหรืออบแห้ง

- ในฟิลิปปินส์นำผลสาเกต้มสุกกินกับน้ำตาลและมะพร้าวขูดฝอย หรือเคลือบน้ำตาลแล้วทำให้แห้ง ใบและผลใช้เป็นอาหารสัตว์

- ยางสาเกนิยมใช้เป็นชันยาเรือและใช้ดักนก

- ก้านดอกตัวผู้มีเส้นใยนำมาผสมกับใยปอสาใช้ทอผ้า เปลือกลำต้นมีเส้นใย ใช้ทอผ้าได้เช่นกัน

- เนื้อไม้ใช้ทำเรือแคนู กระดานโต้คลื่น หีบและลังไม้ http://bit.ly/2BKs452

สรรพคุณทางยา

- รากมีรสเบื่อเมา มีการนำมาใช้เป็นยารักษากามโรค ใช้รากมาฝนผสมกับน้ำดื่มครั้งละไม่เกิน 1 แก้วตะไล วันละครั้ง อาการจะค่อยๆ ทุเลาลง

- เปลือกต้นสาเกมีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาย่างไฟแล้วนำมาต้มน้ำกิน

- น้ำยางจากต้นสาเกสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง เช่น กลาก เกลื้อน หิด

- เนื้อสาเกที่เรานำมาเชื่อมกินนั้น มีวิตามินหลายชนิดซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ โดยช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL) และช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL)

เส้นใยอาหารจากสาเกช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลในร่างกาย จึงช่วยควบคุมโรคเบาหวานได้ ช่วยในการทำงานของลำไส้และระบบขับถ่าย ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยกำจัดสิ่งตกค้างในลำไส้ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ http://bit.ly/2EMPHIP

ภาพ ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้

http://bit.ly/2BLYuMq