หุ้น

วัฏจักรหุ้นและการเงิน

เงินเฟ้อจะfollow ตามเศรษฐกิจ ประมาณ 6 เดือน

ช่วง1. หุ้นดีสุด ตราสารหนี้รองลงมา เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เงินเฟ้อลง

ช่วง2. ทองดีสุด หุ้นรองลงมา เศรษฐกิจดีขึ้น เงินเฟ้อขึ้น แต่เศรษฐกิจขึ้นมากกว่าเงินเฟ้อ

ช่วง3. เงินฝากดีสุด ทองรองลงมา เงินเฟ้อขึ้นมากกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ

ช่วง4. ตราสารหนี้ดีสุด เงินฝากรองลงมา เศรษฐกิจลง เงินเฟ้อเริ่มลง(เงินเฟ้อยังมากกว่าเศรษฐกิจ)

หลัก CANSLIM ของ William O'Neil

C --> Current quarterly earnings per share

ผลกำไรไตรมาสก่อน รายได้ของหุ้นตัวนั้นๆในไตรมาสต่างๆเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25%

A --> Annual earnings

กำไรต่อปีเพิ่มขึ้น รายได้ต่อปีจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25% ในช่วง 5 ปีหลัง

N --> New products, new management, and new highs.

หุ้นตัวใหม่ที่มีรูปแบบและการบริหารที่แตกต่าง รวมถึงราคาสามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้

S --> Share outstanding (Supply and demand)

อุปสงค์ และ อุปทาน ยิ่งที่ปริมาณหุ้นน้อย ยิ่งทำให้ราคาสูง ดังนั้นลองมองหาหุ้นที่มี Free Float น้อยๆ หรือ Small-Mid Cap ดูบ้าง น้อยกว่า 25 ล้านหุ้น ยิ่งดี

L --> Leaders and laggards.

ผู้นำ และ ผู้ตาม เลือกลงทุนในหุ้นที่มีความเข้มแข็งในอันดับต้นของกลุ่มนั้นๆ สัก 2-3 บริษัท หุ้นพวกนี้มักจะปรับตัวดีกว่าหุ้นอื่นๆในหมวดเดียวกันในอัตรา 80-90% ใน 12 เดือน และนักลงทุนควรหลีกเลี่ยงงหุ้นที่ปรับตัวแย่ลงในระยะ 7 เดือน

I --> Institutional ownership.

หุ้นตัวนั้นควรได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบัน เรียกว่ามีคนช่วยเชียร์ว่างั้นเถอะ อย่างไรก็ดี หุ้นที่มีสถาบันถืออยู่มากเกินไปกลับไม่ใช่หุ้นดีเพราะจะกลายเป็นปัจจัยที่ ทำให้เกิดแรงขายอย่างแรงตามมาเมื่อเหตุปัจจัยในอนาคตเปลี่ยนแปลง

M --> Market direction.

ต้องเข้าใจทิศทางการตลาด นักลงทุนต้องศึกษาตลาดเพื่อหาสัญญาณการเพิ่ม และปรับตัวลงของตลาด เพราะเขาเชื่อว่า หุ้น 3 ใน 4 จะมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับตลาดเสมอ

จากหลัก CANSLIM ทั้ง 7 ข้อ ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ที่นักลงทุนคัดเลือกหุ้น จะมีหุ้นไม่เกิน 5% ที่เข้าเกณฑ์นี้ (โดยเฉลี่ยคือ 2% ของหุ้นทั้งหมดในตลาด) เรียกว่าว่า หลัก CANSLIM นี่ โหดสุดๆ และเข้มงวดมาก นั้นเป็นเพราะโอนีลต้องการเลือกเฉพาะหุ้นที่ดีที่สุดเท่านั้น

สุดท้าย ปรัชญาการเลือกหุ้นของโอนีลคือ หุ้นทุกตัวแย่พอกันหมดหมด ไม่มีหุ้นดีซักตัว จนว่าจะมีหุ้นตัวใดที่ปรับตัว มีราคาสูงขึ้น จนเข้าเงื่อนไข (เงื่อนไขง่ายๆคือ New High) ถ้าซื้อแล้วหุ้นลง ต้อง "Cut Loss" เสมอ

เพราะความลับทั้งหมดทั้งมวลของการประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น ที่โอนีลสะสมมา ก็คือ "การขาดทุนให้น้อยที่สุดในเวลาที่คุณคิดผิด”

จากหนังสือ "How To Make Money In Stocks" by William J. O'Neil (1988)

9Professionaltrader

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สวัสดีครับทุกท่าน นี่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ผมใช้เทรดในปัจจุบัน ถ้ากราฟไหนตรงเงื่อนไขนี้ผมก็มักจะใช้มันในการเทรด ไม่ยากครับวิธีนี้ ง่ายๆ แค่หาจุดกึ่งกลางราคาของราคาเมื่อวานนะครับ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกะไอ้เจ้า Pivot กันก่อนนะครับ ว่ามันมีความสำคัญยังไง Pivot คือ ราคากึ่งกลางของช่วงเวลาที่เราวัด จากจุดสูงสุดถึงต่ำสุด (งงมั้ยครับ.. อิอิ ผมก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน..เอาเป็นว่าเข้าใจกันนะ) เราจะหา Pivot หรือจุดกึ่งกลางได้ยังไง จุด Pivot เราจะหากันจากกราฟของเมื่อวานนะครับ เราดูราคาสูงสุด ( High = H ) ราคาต่ำสุด ( Low =L ) และราคาปิด ( Close=C) เปิดกราฟ Daily นะครับ แล้วใช้เม้าท์ชี้ที่แท่งเทียน แล้วมันจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับราคาพวกนี้นะครับ ( สำหรับท่านที่เทรด Marketiva นะครับ ) ดูรูปด้านล่างนะครับ

เห็น กรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆกันมั้ยครับ ในนั้นจะบอกราคา Open ,High, Low, Close ครับ เราจะใช้ราคา High , Low , Close มาใช้ในการคำนวณเพื่อหา Pivot นะครับ

สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่า Pivot คือ

Pivot = (High + Low +Close)/3

จุดกึ่งกลางเท่ากับ ราคาสูงสุด บวก ราคาต่ำสุด บวก ราคาปิด แล้วเอาทั้งหมด มาหารด้วย 3 ครับ

หรือ P = (H+L+C)/3

จากตัวอย่างเรา ลองคำนวณกันเล่นๆนะครับ

แทนค่าที่ได้ลงไปในสูตรเลย

High = 1.2577 , Low=1.2353, Close=1.2367

แทนลงไปในสูตรข้างบนครับ

Pivot = ( 1.2577+1.2353+1.2367) เราก็จะได้ ค่า Pivot เท่ากับ 1.2432

พอเราได้ค่า Pivot ของเมื่อวานแล้ว เราก็มาดูกราฟของวันนี้เลยครับ ดูราคาว่ามันวิ่งกลับไปเทสที่ Pivot มั้ย ถ้ามันไปเทส หรือราคาไกล้เคียง เราก็เตรียมเข้าออเดอร์กันได้เลยครับ

ขอนอกเรื่องนิดนึงนะครับ นอกจากเราจะใช้ค่า ราคา High Low Close ในการหา Pivot ได้แล้ว เรายังสามารถใช้ ราคาเหล่านี้ราคา แนวรับและแนวต้านของกราฟได้อีกด้วย เรามาดูกันครับ ว่าหากันยังไง

เมื่อเราได้ค่า Pivot , P แล้ว เราเอา P มาใส่ใน สูตรเหล่านี้นะครับ

อิอิ ผมขออธิบายศัพท์ก่อนนะครับ ลืมๆ

จุด กึ่งกลาง , Pivot, P

แนวรับ (Suport)

แนวรับที่ 1, Support 1 , S1

แนว รับที่ 2, Support 2 , S2

แนวรับที่ 3, Support 3 , S3

แนวต้าน( Resistance)

แนวต้านที่ 1 , Resistance 1, R1

แนวต้านที่ 2 , Resistance 2, R2

แนวต้านที่ 3 , Resistance 3, R3

เรามาดูสูตรที่ใช้ ในการคำนวณค่าเหล่านี้เลยครับ

P=(H+L+C)/3

S1=P-0.382(H-L)

S2=P-0.50(H-L)

S3=P-0.618(H-L)

R1=P+0.382(H-L)

R2=P+0.50(H-L)

R3=P+o.618(H-L)

เรา จะเห็นว่า มีตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ตัวเลขพวกนี้เป็นตัวเลข Fibonacci Number ครับ เด๋วรายละเอียดเราค่อยมาว่ากันในบทความต่อไป หรือถ้าท่านใดอยากศึกษา Search Google เลยครับ มีเพียบบบ

จากสูตรข้างบน เราก็จะได้แนวรับและแนวต้าน พอได้แล้ว เราก็ใช้ Horizontal line แปะไว้บนกราฟเลยครับ ( สำหรับ คนที่เทรด marketiva นะครับ คลิกขวาที่กราฟ แล้วเลือก Indicators >> Horizontal Line )

เพียงแค่นี้ก็จะมีแนว รับแนวต้านของวันอยู่บนกราฟเราละครับ

มาเข้าเรื่องกันต่อครับ การใช้ Pivot ในการเทรดยังไมได้เห็นภาพกันเลย ผมจะใช้กราฟของโปรแกรม Mt4 นะครับ ในการอธิบาย และใช้ Fibonacci Retracement ในการหา ค่า Pivot ค่า Pivot ก็คือค่า 50 % ใน Fibonacci นั่นเองครับ

ก่อนอื่นเซตกราฟ ใน Mt4 ของท่านก่อนนะครับ คลิกขวาที่กราฟ แล้วเลือก Properties ครับ ตามรูปด้านล่างเลยนะครับ

จากนั้น ก็ไปคลิ็ก ที่ช่อง Common แล้วก็ติ็ก ตามรูปเลยนะครับ แล้วกดปุ่ม OK

พอกด OK แล้วจะได้กราฟ หน้าตาแบบนี้นะครับ คลิกขวา เลือก Periodicity ที่ 15 minutes

จากรูป เราจะเห็นเส้นปะแนวตั้ง เส้นนี้คือ มันจะแบ่งช่วงของราคาวันต่อวันครับ เราก็สามารถรู้จุดสูงสุดและต่ำสุดของอดีตได้

เอาล่ะครับ เกริ่นนำมานานมาก หลายท่านคงบ่นแล้วสิ เมื่อไรมึงจะเข้าเรื่องซักทีวะ ++ ใจเย็นๆครับ ท่าน เด๋วผมขอนอกเรื่องนอกซักเรื่องครับ เป็นการตั้งค่า Fibonacci ให้บอก จุด pivot แสดงราคาให้เราได้ด้วย เริ่มกันเลยครับ

ให้ ไปคลิกที่ Insert แล้วก็เลือก Fibonacci แล้วเลือก Retracement นะครับ พอเลิกแล้ว มันจะติดอยู่ที่เมาท์ของเรา เอามันไปจิ้มที่ยอด สูงสุดก่อนครับของช่วงเวลาเมื่อวานนี้ ที่อยู่ในกรอบเส้นปะอ่ะครับ

พอ จิ้มที่สุดสูงสุุด จิ้มค้างไว้นะครับ อย่าพึ่งปล่อยเมาท์ แล้วลากมันลงมาหาจุดต่ำสุดของวันครับ ลากลงมาเลยครับท่าน เราก็จะได้ดังรูปด้านล่างนี้ครับ

จากนั้น ให้ให้คลิกขวาที่ตัว Fibonacci มันจะมีจุดขาวๆขึ้นมาแล้วเลือก Fibonacci Properties หรือไม่เราก็คลิกขวาที่กราฟครับ แล้วเลือก Objects List แล้วเลือก Fibo แล้วคลิกที่ Edit จากนั้น จะขึ้นหน้าต่างใหม่ขึ้นมาตามรูปด้านล่างเลยครับ

ให้ เลือกที่ Fibo Levels นะครับ แล้วให้เรา พิมคำว่า =%$ ต่อท้ายตัวเลขที่ช่อง Descripttion ให้หมดทุกตัวเลยนะครับ ยกเว้น ที่ ช่อง 50 ให้ลบออกครับ แล้วพิมคำว่า Pivot=%$ ลงไป จะได้ตามรูปครับ

ครับ และแล้วเราก็ได้ Pivot แล้ว ซึ่งเป็นราคา Pivot ของวันที่ผ่านมา ซึ่งเราจะเรามาใช้ในการสังเกตการณ์ในกราฟของวันนี้ ที่เรากำลังเล่นอยู่ จากรูปจะเห็นว่า ราคา Pivot อยู่ที่ 1.4933 ซึ่งในช่วงตลาด โตเกียว ราคาจะค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นไป จนใกล้ถึงจุด Pivot ของเรา ถ้าราคาไม่สามารถทะลุผ่าน Pivot ขึ้นไป ให้เปิด Sell ได้ทันที จากนั้นก็รอราคาลงมาเรื่อยๆ จนเราพอใจ แล้วเราค่อยปิด เอากำไร การตั้ง stop Loss ของวิธีนี้ ควรตั้งอยู่เหนือ ราคา 61.8( ในกรณีที่เรา Sell แต่ถ้าเรา Buy ก็ตั้งต่ำกว่า 38.2 ไว้ประมาณ 10 จุด) ข้อสังเกตอีกอย่างของวิธีการนี้คือ ถ้าราคาทดสอบ ที่บริเวณ Pivot หรือใกล้เคียงราคา Pivot ให้เราคิดไว้เลยว่า ไม่นานมันจะกลับตัว หรือไม่ก็รอแท่งเทียนยืนยันการกลับตัว ถ้ามีแท่งเทียนกลับตัว เราก็เปิด ออเดอร์ตามมาเลย ดูภาพด้านล่างนะครับ ภาพตัวอย่างนี้ ราคาวิ่งไม่ถึง จุด Pivot แล้วลงมาทันที แล้วลงเยอะด้วย ใคร Sell กำไรบานเลยครับ ดูรูปด้านล่างกันเลยครับ

ไม่ยาก นะครับวิธีนี้ ง่ายๆ แต่ต้องรอหน่อย รอแค่จุด Pivot วันนึงเราอาจจะได้เทรดแค่ครั้งเดียว หรือสองครั้ง

วิธีนี้เหมาะสำหรับ Day Trade นะครับ เล่นรายวันยาวๆหน่อย เด๋วดูตัวอย่างประกอบกันเลยครับ

หวัง ว่าวิธีนี้คงทำให้ทุกคนที่อ่านบทความนี้มีกำไรจากฟอเร็กซ์นะครับ .. ขอให้ร่ำรวยครับ ^^ pipsrunner

Buy ที่ Pivot สบายๆเลยครับ

ราคา กลับมาเทสที่ Pivot สองครั้ง ไม่ผ่าน เรา Sell ได้เลยครับ

Credit:www.9professionaltrader.blogspot.com การ เทรดโดยการใช้Pivot(Trading by using Pivot) | Forex Trading Blog สอนเทรด Forex - แหล่งศึกษาข้อมูล Forex และสอน Trade Forex แบบมืออาชีพ

Under Creative Commons License: Attribution

Boilinger Band: เล่นสั้นดีหรือซื้อที่แนวต้านอาจดีกว่า

Boilinger Band เป็นเครื่องมือหรือ indicator ที่ใช้วัดความเสี่ยงหรือการแกว่งตัวของราคา นอกจากใช้วัดความแกว่งตัวแล้วยังสามารถนำมาใช้เป็นสัญญาณซื้อขายได้หลายแบบ ได้ทำการทดสอบกับ SET 25 ปีเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ

เวอร์ชั่น Youtube HD

Boilling Band คิดค้นโดย John boilinger ที่รวมการวัดความแกว่งของราคาหรือ standard derivation รวมเข้ากับเส้นค่าเฉลี่ย BB Band จะประกอบไปได้ด้วย

    1. middle band หรือ mband เป็นเส้นค่าเฉลี่ยแบบ SMA

    2. upper band หรือ uband นำ mband มาบวกเข้ากับ standard derivation

    3. lower band หรือ lband นำ mband มาลบด้วย standard derivation

ค่าความแกว่งหรือ standard derivation จะเพิ่มขึ้นลดลงตามสภาพตลาด จะทำให้ความกว้างของ band หรือ uband-lband หดแคบซึ่งมีความหมายว่าราคาได้เข้าสู่ช่วง sideway ถ้า band มีความกว้างมากขึ้นราคาได้เปลี่ยนเป็น trend ที่มีทิศไปทางใดทางนึง

นักวิเคราะห์มักใช้ BB Band มาวิเคราะห์ว่าจะมีกลยุทธอย่างไร เช่นถ้า band แคบให้รอการ breakout หรือถ้า band กว้างให้ซื้อที่แนวรับที่ lband แล้วไปขายที่แนวต้าน uband และอาจใช้ mband เป็นตัวบอกทิศทางที่ควรจะถือครองสถานะ ว่าจะเล่นสั้นถ้า mband ชี้ลง หรือถ้าชี้ขึ้นให้ถือได้ยาวขึ้น

การที่มีกลยุทธผสมกับการทำนายอาจสร้างความสับสนให้กับนักลงทุนว่าจะปฏิบัติแบบใดให้ได้ประโยชน์สูงสุด จึงได้ทดสอบกลยุทธต่างกันดังนี้

    1. BBBreak , จะซื้อเมื่อราคา close cross uband ขึ้น และขายเมื่อราคา close cross lband ลง เป็นลักษณะ trend following ซื้อที่แนวต้าน ขายที่แนวรับ , การทำแบบนี้ถ้าเป็น trend ที่ดีจะได้กำไร แต่ถ้าเป็น sideway หรือขาลงจะพบกับ false signal, นักวิเคราะห์ส่วนมากจะแนะนำว่าห้ามซื้อที่แนวต้านคือไม่ให้ใช้วิธีแบบนี้

    2. BBSwing, ซื้อราคา close cross lband ขึ้น ขายเมื่อราคา close cross uband ลง ลักษณะจะเป็นแบบที่ยอดนิยมคือ ซื้อที่แนวรับ ขายแนวต้าน ลงซื้อขึ้นขายนั่นเอง

    3. BBM, ซื้อราคา close cross mband ขึ้น ขายเมื่อราคา close cross mband ลง, ลักษณะจะเป็น trend following แบบเส้นค่าเฉลี่ย 1 ค่า ซึ่งปกติจะให้จำนวน trade ที่มากกว่าปกติ

ผลการทดสอบพบว่า แบบที่ยอดนิยม BBSwing ให้ผลตอบแทนติดลบ แต่ BBBreak ที่คนทั่วไปจะห้ามทำกลับทำกำไรได้ใกล้เคียงกับ MACD, BBM ให้กำไรมากกว่าในจำนวน trade จำนวนมาก

แต่ถ้ามองจากมุม commission, BBM จะน่าสนใจถ้าไม่กังวลเรื่อง operation loss ที่จะทำให้เกิด slippage หรือราคาซื้อขายถูกหรือแพงกว่าที่ตั้งใจ

ถ้าดูจากความแม่นยำหรือ winratio กลยุทธ indicator ที่ให้ความแม่นยำสูงไม่ได้ให้กำไรสูง แต่กลับเป็น

indicator ที่ให้ payoff หรือขนาดกำไรสูงจะให้ ผลตอบแทนที่ดี

trend following โดยปกติจะพบว่าให้กำไรรวมมากกว่ากลยุทธถือครองเฉยๆ SET=6% หรือซื้อเฉลี่ย(การซื้อเฉลี่ย=ถือ/2) และให้กำไรดีกว่าการเล่นสั้นๆ

การทดสอบยังยืนยันว่า trend following ให้กำไรที่น่าพอใจกว่าการเล่นสั้นที่ผิดวิธี

BB Band มีกลยุทธที่ให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ถ้าเลือกถูกวิธีผลลัพธ์ที่คาดหวังจะน่าพอใจ

There is no way to predict the price of stocks and bonds over the next few days or weeks.

But it is quite possible to foresee the broad course of these prices over longer periods, such as the next three to five years.

-- Eugene Fama, Lars Peter Hansen and Robert Shiller;Economics:Noble Prize 2013.

สัญญาณซื้อขายที่ดี ใน Systematic trading

สัญญาณซื้อขาย ใน Systematic Trading สร้างมาจาก indicator ที่ใช้ราคา(Price) เป็น input โดยไม่มี เหตุผล ปัจจัยในจากในหรือต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง indicator ที่นิยมใช้ที่สามารถให้ สัญญาณซื้อขาย(Buy sell Signal) ได้ มี MACD cross zero, MACD cross signal หรือ Histrogram, Stochastic, RSI

เวอร์ชั่นวีดีโอ Youtube HD

ผลการทดสอบจาก SET 25 ปีที่มี CAGR(Compound Annual Growth Rate) ที่ 6% พบว่า

    • มีแค่ RSI ที่ให้ผลตอบแทนต่อปีต่่ำกว่า SET ต่ำถึงขนาดติดลบ -2%,RSI มีลักษณะซื้อของที่ถูกที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ broker พยายามบอกให้ซื้อลงทุนเมื่อหุ้นถูกมากๆ หุ้นลงมากขึ้นนี้แล้ว ปลอดภัย แต่ดูผลลัพธ์แล้วจะเข้าใจว่า ปลอดภัยคืออะไร

    • MACD signal ซึ่งเป็นตัวแทนของ Trend following ให้ผลตอบแทนสูง ในจำนวนการ trade ที่น้อยมาก ตกปีละ 3 ครังเท่านั้นเอง, เมื่อหุ้นขึ้นแรง broker จะบอกให้ลดความเสี่ยง หุ้นขึ้นมาเยอะแล้วน่าจะปรับลง เป็นที่มาของการขายหมูนั่นเอง ในลักษณะความเป็นจริง หุ้นที่ทะยานขึ้นจะไปได้นานและไกลพอสมควร สังเกตจากค่า Payout ที่ขนาดกำไรมีขนาดใหญ่กว่าขนาดขาดทุนมาก,

    • Stochastic ให้ผลตอบแทนที่สูง แต่มี จำนวนการ trade ที่สูง ถ้าคิดค่า commission ที่ 0.15% เมื่อนำไปหักออกจาก CAGR จะมีค่าต่่ำกว่า MACD, trade เดือนละ 2 ครั้ง ก็มากแล้ว ลองนึกไปถึง day trade เข้าเช้าออกบ่ายดูว่าจำนวนครั้งจะมากแค่ไหน ถ้า Broker รู้เข้าใจลึกซึ้งถึงเรื่องนี้ คงต้องการให้เรา trade ตาม stochastic เป็นแน่แท้ ได้ค่า commission มากกว่าเป็น 10 เท่า และเป็นเรื่องที่ไม่น่าสงสัยเลยทำไม broker ถึงบอกให้ ลงซื้อขึ้นขาย ซึ่งเป็น ลักษณะของ Stochastic

    • Hist มีลักษณ เมื่อหุ้นขึ้นแล้วซื้อตาม แต่เมื่อหมดแรงส่ง กลายเป็น sideway,Hist จะให้ signal ขาย เป็นลักษณะ ระแวงว่าจะลง ทั้งๆที่ส่วนมากเป็นแค่ sideway ออกข้าง , เนื่องจากพยายาม ลดความเสี่ยงคือการขายออกหลายครั้ง ก็จะไปกัดกินผลตอบแทน และเข้าออกหลายครั้ง , sideway กับขาลงจะต่างกันแต่ Hist จะตีความว่า sideway หรือขาลงก็ขายไว้ก่อน ลองนึกดูว่าเหมือนสิ่งที่ Broker บอกเมื่อไม่แน่ใจว่าหุ้นจะขึ้นต่อหรือไม่ซึ่งจะเกิดในกรณี sideway (Hist ในภาพจะมีความหมายว่า MACD ตัด Signal ในปัจจุบัน ซึ่งอาจทำให้สับสนกับ Histrogram ที่มาจาก MACD-Signal)

    • Payout =ขนาดกำไร/ขนาดขาดทุน มีความสำคัญมากพอๆกับ win ratio =%จำนวนครั้งที่ถูก ถ้าเอา payout*win ratio จะสามารถบอกคุณภาพของ signal ได้(Payout บางทีก็เรียก Payoff), จำนวนครั้งที่ถูกต้องไม่เพียงพอตัดสินคุณภาพได้ ทำให้คิดไปถึง นักวิเคราะห์ที่ทำนายหุ้นได้ถูกบ่อยๆ ซึ่งไม่ใช่สิ่งสำคัญทั้งหมด

    • Hist,Stochastic มีลักษณะ ซื้อถูกแล้วขายแพง ซึ่งเป็นสามัญสำนึกทั่วๆไป ให้ผลตอบแทนน้อยกว่า MACD ที่เป็น trend following ที่เป็น ซื้อแพงแล้วไปขายแพงกว่า

    • SET มี CAGR=6% เป็นนโยบาย Buy&Hold ที่กองทุนหุ้นทั่วไปใช้ รวมทั้ง LTF ให้ผลตอบแทนแค่ 6% ซึ่งน้อยกว่าหลายเท่าตัวเมื่อเลือกใช้ signal ที่มีคุณภาพ

    • ปัจจัย ข่าว เศรษฐกิจ ที่วิทยุ ทีวี หนังสือพิมพ์ นักวิเคราะห์พยายามอธิบายว่ามีผลต่อราคาขึ้นลงยังไง อาจจะเป็นจริงแต่ไม่สะดวกเท่า การคำนวณราคา อย่างเดียว ถ้าไม่สนใจปัจจัยข่าวเหล่านั้น ผลตอบแทนที่ใช้ราคาเป็นปัจจัยอย่างเดียว ก็ให้ผลลัพธ์ที่อยู่ในระดับสูงจนน่าพอใจแล้ว

    • Trend following ให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจในระยะยาว, ในระยะสั้น MACD ที่ให้สัญญาณซื้อขาย 4 เดือนต่อครั้งคงไม่สามารถให้ผลตอบแทนในระยะสั้นได้ ต้องถือยาวมากกว่า 4 เดือนโดยเฉลี่ย