เรื่องที่ 4.4 ประเทศไทยกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและแนวทางแก้ไข

  ประเทศไทยประสบปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับประเทศอื่นแต่อาจจะน้อยกว่า ประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และ 2550 ได้ให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ประชนไทย มีคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดูแล ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ อุปนิสัย ใจคอของคนไทยมักโอบอ้อมอารีต่อผู้อื่น ต้อนรับชาวต่างชาติโดยไม่แสดงความรังเกียจ ทําให้การละเมิด ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยมีน้อยกว่าประเทศอื่น

ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยมักจะประสบ ได้แก่

  1. การละเมิด หรือการล่วงล้้ำดินแดนของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จากการที่ชาวบ้าน เข้ามาทํามาหากินบริเวณชายแดน เช่น การทําป่าไม้ ทํานา เก็บของป่า ทําให้เกิดการกระทบกระทั่งกันบริเวณ ชายแดน ซึ่งรัฐบาลไทยได้พยายามทําข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านและร่วมมือกันดูแลบริเวณชายแดน

  2. การหนีเข้าเมืองของคนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาหางานทําในประเทศไทย เนื่องจาก เศรษฐกิจของประเทศไทยดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ เช่น ลาวกัมพูชา พม่ารัฐบาลไทยได้ผลักดันไม่ให้ คนต่างชาติหนีเข้าเมือง และดําเนินการส่งกลับประเทศ

  3. การรุกล้ำอาณาเขตทางทะเล จากการหนีเข้าเมืองทางเรือ และชาวประมงที่ทําการประมงข้าม เขตเศรษฐกิจจําเพาะของประเทศไทย หรือชาวประมงไทยรุกล้้ำอาณาเขตประเทศเพื่อนบ้าน ทําให้เกิดปัญหา บางครั้งมีการปะทะกัน และมีผู้เสียชีวิต เป็นต้น

ดังนั้น ประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติจึงต้องร่วมมือกันคุ้มครองสิทธิ มนุษยชน และหาทางแก้ไขปัญหาดังนี้

  1. ทุกประเทศต้องเคารพสิทธิมนุษยชนตามอุดมคติที่ปรากฏอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2492

  2. ทุกประเทศต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการลี้ภัยของคนในประเทศหนึ่งไปยังอีก ประเทศหนึ่งภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ โดยประเทศเจ้าของผู้ลี้ภัยจะต้องพยายามรับผู้ลี้ภัย กลับประเทศโดยไม่เอาผิดประการใด ขณะเดียวกันองค์การสหประชาชาติจะต้องพยายามส่งผู้ลี้ภัยที่ไม่ยอม กลับประเทศของตนไปยังประเทศที่สามให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันมิให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างประเทศ เจ้าของผู้ลี้ภัย กับประเทศที่ผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่ ซึ่งอาจนําไปสู่ความขัดแย้งได้

  3. ประชาชนผู้ลี้ภัยเพราะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศของตนต้องไม่ใช้ดินแดนของ ประเทศที่ตนอาศัยอยู่ชั่วคราวเป็นฐานปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลของประเทศตน

สรุปสาระสําคัญ

  การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่นานาชาติโดยเฉพาะองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสําคัญ อย่างมากโดยได้ออกปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ พ.ศ.2492 และเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก ขององค์การสหประชาชาติเคารพสิทธิมนุษยชนตามที่ระบุไว้ในปฏิญญาดังกล่าว แต่องค์การสหประชาชาติ ก็ไม่มีอํานาจบังคับให้ทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น การละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิทาง การเมืองของพลเมืองในบางประเทศ และสิทธิของคนกลุ่มน้อยยังคงปรากฏอยู่ในประเทศที่จํากัดสิทธิของ ประชาชน