เรื่องที่ 1.9

พระอานนท์

เรื่องที่ 1.9 พระอานนท์

เป็นสหชาติและพุทธอุปัฏฐากของสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องว่าเป็น เอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าพระสาวกอื่นถึง 5 ประการ และ เป็นพหูสูต เนื่องจากเป็นผู้ทรงจําพระสูตรที่สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ และเป็นผู้ที่ สาธยายพระสูตร จนทําให้ปฐมสังคายนาสําเร็จ เรียบร้อย

พระอานนท์ ก่อนจะผนวชนั้น ทรงเป็น เจ้าชายแห่งศากยวงศ์ โดยเป็นพระโอรสของพระเจ้า อมิโตทนศากยราช ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้า สุทโธทนมหาราชพระพุทธบิดาพระมารดาของท่านทรง พระนามว่า มฤคี พระอานนท์จึงถือว่าเป็นลูกผู้น้องของเจ้าชายสิทธัตถะ

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่ 2 ได้เสด็จกลับไปโปรดพระพุทธ บิดาและพระญาติวงศ์ศากยะ ณ นครกบิลพัศด์ ในครั้งนั้นบรรดาศากยราชได้ทรงเลื่อมใสศรัทธา ต่างได้ ถวายพระโอรสของตนให้ออกบวชตามเสด็จ ยังเหลือแต่ศากยกุมารเหล่านี้คือ เจ้าชายมหานามะ เจ้าชายอนุ รุทธะ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภัคคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอานนท์ และเจ้าชายเทวทัต ครั้นพระพุทธองค์ ประทับอยู่กรุงกบิลพัศดุพอสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็เสด็จจาริกต่อไปยังที่อื่น

ที่มา : https://www.pariyat.com/สารธรรม/พระศาสดาและสงฆ์สาวก/item/อานนท์-พระอานนทเถระ

ที่มา : https://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=14957

ศากยกุมารเหล่านี้ได้ถูกพระประยูรญาติวิจารณ์ว่า เหตุที่ไม่ออกผนวชตามเสด็จนั้น คงจะไม่ถือ ว่าตนเองเป็นพระประยูรญาติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ้าชายมหานามะได้ฟังดังนั้นเกิดละอาย พระทัย จึงได้ไปปรึกษากับเจ้าชายอื่นๆ ในที่สุดตกลงกันว่าจะออกผนวชตามเสด็จ โดยเจ้าชายมหานามะไม่อาจ บวชได้ เนื่องจากจะต้องเป็นกษัตริย์ต่อไป จึงให้พระอนุชาคือเจ้าชายอนุรุทธะออกผนวชแทน ศากยกุมารทั้ง 6 องค์ มีพระอานนท์เป็นต้น รวมทั้งอุบาลี ซึ่งเป็นกัลบกด้วยเป็น 7 ได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปเพื่อขอบรรพชาอุปสมบท และได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ที่อนุปิยอัมพวัน เขตอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ พระพุทธองค์โปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลา บวชก่อน ให้ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง พระอุปัชฌายะของพระอานนท์ ชื่อพระเวลัฏฐสีสเถระ

พระอานนท์เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาธรรมจากสํานักของท่านพระปุณณมันตานีบุตร ไม่นาน ก็ได้สําเร็จชั้นโสดาบัน ในกาลต่อมาท่านได้เล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า พระปุณณมันตานีบุตร มีอุปการคุณต่อท่าน มาก พระปุณณมันตานีบุตร ได้กล่าวสอนท่านว่า

“ดูกรอานนท์ เพราะถือมั่นจึงมีตัณหา มานะ ทิฐิว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะไม่ ถือมั่น รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหามานะทิฐิว่าเป็นเรา เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มสาวมี นิสัยชอบแต่งตัวส่องดูเงาของตนที่กระจกหรือที่ภาชนะน้ำอันใสบริสุทธิ์ผุดผ่องเพราะยึดถือจึงเห็น เพราะไม่ยึดจึงไม่เห็น ฉันใด เพราะถือมั่นรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่าเป็นเราเพราะไม่ถือ มัน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหามานะ ทิฐิว่า เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกัน”

จากนั้น พระอานนท์เล่าต่อไปว่า พระปุณณมันตานีบุตรได้ถามท่านว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านตอบว่าไม่เที่ยง และในตอนสุดท้ายของการสอนธรรมครั้งนี้ ท่าน บอกแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า ท่านได้ตรัสรู้ธรรม ซึ่งหมายถึงได้สําเร็จเป็นพระโสดาบัน พระอานนท์ได้รับ แต่งตั้งเป็นพุทธอุปัฏฐาก

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้ทรงตรัสรู้แล้วถึง 20 พรรษา แต่ยังไม่มีผู้ใดเป็นพุทธอุปัฏฐาก ประจํา ซึ่งได้สร้างความลําบากแก่พระองค์เป็นอย่างมาก พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า บัดนี้พระองค์ทรงพระชรา แล้ว ภิกษุผู้อุปัฏฐากพระองค์บางรูปทอดทิ้งพระองค์ไปตามทางที่ตนปรารถนา บางรูปวางบาตรจีวรของ พระองค์ไว้บนพื้นดินแล้วเดินจากไปเสีย จึงขอให้พระสงฆ์เลือกพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งขึ้นเป็นพุทธ อุปัฏฐากประจํา คณะสงฆ์เห็นว่าควรจะมีพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งคอยสนองงานของพระพุทธองค์

ในครั้งนั้นพระสงฆ์ทั้งหลายนําโดยพระสารีบุตรมหาเถระ ได้กราบทูลขอเป็นพุทธอุปัฏฐาก แต่พระพุทธ องค์ทรงห้ามเสีย แม้พระเถระรูปอื่นๆ จะกราบทูลเสนอตัวเป็นพุทธอุปัฏฐาก แต่พระพุทธองค์ก็ทรงห้ามเสียทุก รูป คงเว้นแต่พระอานนท์ที่มิได้กราบทูลด้วยถ้อยคําใด พระภิกษุรูปอื่น ได้เตือนให้พระอานนท์ขอโอกาส แต่พระอานนท์ก็ไม่ทรงขอ

พระพุทธองค์ตรัสกับพระภิกษุทั้งหลายว่า ไม่มีผู้ใดจะสามารถให้พระอานนท์เกิดความ อุตสาหะขึ้นมาได้เลย แต่เมื่อพระอานนท์รู้แล้ว ท่านจักอุปัฏฐากพระองค์เอง เมื่อพระภิกษุทั้งหลายได้ยิน พระดํารัสนั้น ก็ทราบทันทีว่า พระองค์ทรงประสงค์ให้พระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐาก จึงได้พูดตักเตือนให้ ท่านทูลขอตําแหน่งพุทธอุปัฏฐากจากพระองค์

ที่มา : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/29749.html

ดังนั้น ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลขอพร 8 ประการ หากพระองค์ทรงประทานพร 8 ประการนี้ ท่านจึงจะรับตําแหน่งพุทธอุปัฏฐาก ท่านกราบทูลขอพร ว่า

1. ถ้าจักไม่ประทานจีวรอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์

2. ถ้าจักไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์

3. ถ้าจักไม่โปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์

4. ถ้าจักไม่ทรงพาข้าพระองค์ไปในที่ที่ทรงรับนิมนต์ไว้

5. ถ้าพระองค์จักไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้

6. ถ้าข้าพระองค์จะพาบริษัทซึ่งมาแต่ที่ไกลเพื่อเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาแล้ว

7. ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น

8. ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอันใดในที่ลับหลังข้าพระองค์จักเสด็จมาตรัสบอกพระธรรม เทศนานั้นแก่ข้าพระองค์อีก


พระพุทธองค์ได้ตรัสถามถึงโทษและอานิสงส์ที่ทูลขอพร 8 ประการนี้ ท่านได้กราบทูลว่า ถ้าท่าน ไม่ทูลขอพรข้อ 14 ก็จักมีคนพูดได้ว่า ท่านรับตําแหน่งพุทธอุปัฏฐาก เพื่อหวังลาภสักการะ ถ้าท่านไม่ทูลขอพรข้อ 5-7 ก็จักมีคนพูดได้ว่า พระอานนท์บํารุงพระศาสดาไปทําไม เพราะกิจเท่านี้พระองค์ก็ยังไม่ทรง สงเคราะห์เสียแล้ว และหากท่าน ไม่ทูลขอพรข้อ 8 เมื่อมีคนมาถามท่านลับหลังพระพุทธองค์ว่า คาถานี้ สูตร นี้ ชาดกนี้ พระพุทธองค์ตรัสที่ไหน ถ้าท่านตอบเขาไม่ได้ เขาก็จะพูดได้ว่า พระอานนท์เฝ้าติดตามพระพุทธ องค์เหมือนเงาตามตัวอยู่เป็นเวลานาน ทําไมเรื่องเท่านี้ยังไม่รู้

ครั้นท่านได้ทูลชี้แจงแสดงโทษในข้อที่ไม่ควรได้ และอานิสงส์ในข้อที่ควรได้อย่างนี้แล้ว พระ พุทธองค์จึงทรงประทานพรตามที่พระอานนท์กราบทูลขอทุกประการ พระอานนท์จึงได้รับตําแหน่งพุทธ อุปัฏฐาก และได้อุปัฏฐากพระพุทธองค์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงวันเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เป็นเวลา 25 พรรษา

กิจในหน้าที่ของพุทธอุปัฏฐากที่ท่านทําเป็นประจําแก่พระพุทธเจ้าคือ

1. ถวายน้ำ 2 อย่าง คือน้ำเย็นและน้ำร้อน

2. ถวายไม้สีฟัน 3 ขนาด

3. นวดพระหัตถ์และพระบาท

4. นวดพระปฤษฎางค์

5. ปัดกวาดพระคันธกุฎี และบริเวณพระคันธกุฎี


ในตอนกลางคืนท่านกําหนดเวลาได้ว่า เวลานี้พระพุทธองค์ทรงต้องการอย่างนั้นอย่างนี้แล้วเข้า เฝ้า เมื่อเฝ้าเสร็จก็ออกมาอยู่ยาม ณ ภายนอกพระคันธกุฎีในคืนหนึ่งๆ ท่านถือประทีปด้ามใหญ่เวียนรอบ บริเวณพระคันธกุฎีถึง 8 ครั้ง ท่านคิดว่าหากท่านง่วงนอน เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเรียกท่านจะไม่สามารถขาน รับได้ ฉะนั้น จึงไม่ยอมวางประทีปตลอดทั้งคืน

พระอานนท์ ขยันในการอุปัฏฐากมาก ในบรรดาพระภิกษุผู้เคยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามาแล้ว ไม่มี ใครทําได้เหมือนท่าน เพราะพระภิกษุเหล่านั้นไม่รู้พระทัยของพระพุทธองค์ดี จึงอุปัฏฐากได้ไม่นาน ด้วย เหตุนี้ในคราวที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานพระองค์ได้ตรัสกับท่านว่า

“อานนท์ เธอได้อุปัฏฐากตถาคตด้วยกายธรรม วจีกรรมมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ซึ่งเป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นความสุข ไม่มีสอง หากประมาณมิได้มาช้านานแล้ว เธอได้ทําบุญไว้มากแล้ว อานนท์ เธอจงประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยฉับพลัน”

แล้วตรัสประกาศเกียรติคุณของพระอานนท์ให้ปรากฏแก่ภิกษุทั้งหลายว่า พระอานนท์ผู้เป็น เอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุรูปอื่น 5 ประการคือ

1. มีสติ รอบคอบ

2. มีคติ คือความทรงจําแม่นยํา

3. มีความเพียรดี

4. เป็นพหูสูต

5. เป็นยอดของภิกษุผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า


ภิกษุอื่น ๆ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะก็ได้รับเพียงอย่างเดียว แต่พระอานนท์ท่าน ได้รับถึง 5 ประการ นับว่าหาได้ยากมาก ความเป็นพหูสูตรของพระอานนท์นั้นนับว่าเป็นคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา กล่าวคือภายหลังพุทธปรินิพพานแล้ว มีภิกษุบางพวกกล่าวติเตียนพระศาสนา ทําให้พระมหากัสสปเถระเกิด ความสังเวชในใจว่า ในอนาคตพวกอลัชชีจะพากันกําเริบ เหยียบย่ําพระศาสนา จําต้องกระทําการสังคายนา พระไตรปิฎกให้เป็นหมวดหมู่ จึงได้นัดแนะพระภิกษุสงฆ์ให้ไปประชุมกันที่กรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัย ตลอดเข้าพรรษา พระอานนท์เถระผู้เป็นพุทธอุปฐาก ซึ่งได้รับประทานพรข้อที่ 3 ทําให้ท่านเป็น ผู้ทรงจํา พระพุทธวจนะไว้ได้มาก ท่านจึงได้รับหน้าที่ตอบคําถามเกี่ยวกับพระธรรม

พระอานนท์เป็นผู้มีปัญญา มีความจําดี ท่านได้ฟังครั้งเดียว ไม่ต้องถามอีกก็สามารถจําได้เป็น จํานวน 60,000 บาท 15,000 คาถา โดยไม่เลอะเลือน ไม่คลาดเคลื่อน เหมือนบุคคลเอาเถาวัลย์มัดดอกไม้ถือ ไป เหมือนจารึกอักษรลงบนแผ่นศิลา เหมือนน้ํามันใสของราชสีห์ที่บุคคลใส่ไว้ในหม้อทองคํา ฉะนั้น ด้วย เหตุที่ท่านขยันเรียน และมีความจําดีนี่เอง ท่านจึงได้รับยกย่องว่าเป็นพหูสูต เป็นธรรมภัณฑาคาริก ทรงจําพระ พุทธพจน์ได้ถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ คือท่านเรียนจากพระพุทธองค์ 82,000 พระธรรมขันธ์และเรียนจาก เพื่อนสหธรรมมิกอีก 2,000 พระธรรมขันธ์ แม้ท่านจะเป็นเพียงพระโสดาบันก็ตาม แต่ท่านก็มีปัญญา แตกฉานในปฏิสัมภิทา มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องปฏิจจสมุปบาท จึงสามารถสั่งสอนศิษย์ได้มากมาย ศิษย์ ของท่านส่วนมากก็เป็นพหูสูตเช่นเดียวกับท่าน ว่ากันว่า ท่านพูดได้เร็วกว่าคนธรรมดา 8 เท่า คือคนเราพูด คําท่าน พูดได้ 8 คํา

เกียรติคุณอีกอย่างหนึ่งที่ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ คือ มีฝีมือทางช่าง สาเหตุที่ทรง ชมเชย เพราะครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ไปสู่ทักษิณาคิรีชนบท ได้ทอดพระเนตรเห็นกัน นาของชาวมคธเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคันนาสั้น ๆ คั่น ในระหว่าง แล้วตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า จะเย็บจีวร อย่างนั้น ได้หรือไม่ ท่านทูลรับว่า เย็บได้ และต่อมาท่านเย็บจีวรให้พระหลายรูปแล้วนําไปถวายให้ ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทอดพระเนตรแล้วตรัสชมเชยท่านในท่ามกลางสงฆ์

ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าสุทโทธนมหาราช ผู้เป็นพระพุทธบิดาได้สิ้นพระชนม์แล้ว พระ นางมหาปชาบดี ผู้เป็นพระอัครมเหสี และพระมาตุจฉาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มีศรัทธาที่จะออก บวช แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามเสียแม้พระนางจะได้กราบทูลขอถึง 3 ครั้ง แต่พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงประทาน พระพุทธานุญาต ทําให้พระนางเสียพระทัยมาก จึงกรรแสงอยู่หน้าประตูป่ามหาวัน เมื่อพระอานนท์ทราบ เข้า จึงมีพระมหากรุณาจิตคิดจะช่วยเหลือพระนางให้สําเร็จดังประสงค์ จึงได้ไปกราบทูลขอสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ ทําให้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานพระพุทธานุญาต โดยมีเงื่อนไขว่าสตรีนั้น จะต้องรับครุธรรม 8 ประการ ก่อน ถึงจะอุปสมบทได้ ซึ่งพระนางก็ทรงยอมรับครุธรรมนั้น และได้ อุปสมบทเป็นภิกษุณีรูปแรกของพระพุทธศาสนา

ภายหลังจากพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว พระมหากัสสปเถระเจ้า ได้ดําริจะให้มีการทําปฐม สังคายนาพระธรรมวินัยพระมหาเถระได้รับอนุมัติจากสงฆ์ให้เลือกพระภิกษุผู้เชี่ยวชาญในพระธรรมวินัยจํานวน 500 รูป เพื่อทําปฐมสังคายนา พระมหากัสสปเถระเลือกได้ 499 รูป อีกรูปหนึ่งท่าน ไม่ยอมเลือก ความจริงท่านต้องการจะเลือกพระอานนท์ แต่ขณะนั้นพระอานนท์ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ครั้นจะเลือกพระอานนท์ก็เกรงจะถูก ครหา แต่ครั้นจะเลือกภิกษุอื่น ไม่เลือกพระอานนท์ ก็เกรงว่าการทําสังคายนาครั้งนี้จะไม่สําเร็จผลด้วยดี เพราะ พระอานนท์ได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นพหูสูต เป็นธรรมภัณฑาคาริก


ที่มา : http://sicen-ed.blogspot.com/2016/01/3_20.html

ต่อมาพระสงฆ์ลงมติว่าพระอานนท์ควรจะเข้าร่วมทําสังคายนาครั้งนี้ด้วย ท่านจึงได้รับเข้าเป็น คณะสงฆ์ผู้จะทําสังคายนา ครบจํานวน 500 รูป ท่านได้เดินทางจากนครกุสินารากลับไปยังนครสาวัตถี ระหว่างทางท่านได้แสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนจํานวนมากที่เศร้าโศกเสียใจ เพราะการปรินิพพานของ พระพุทธองค์ เมื่อถึงพระเชตวันมหาวิหาร ท่านก็ได้ปฏิบัติปัดกวาดพระคันธกุฎีเสมือนเมื่อพระพุทธองค์ยัง ทรงพระชนม์อยู่ นอกจากปฏิบัติพระคันธกุฎีแล้ว ท่านได้ใช้เวลาส่วนมากให้หมดไปด้วยการยืนและนั่ง ไม่ค่อยจะได้จําวัด ด้วยเหตุนี้เองจึงทําให้ท่านไม่สบาย ต้องฉันยาระบายเพื่อให้กายเบา ครั้นให้ปฏิสังขรณ์ เสนาสนะที่ชํารุดในพระเชตวันสําเร็จแล้ว พอใกล้วันเข้าพรรษาจึงได้ออกเดินทางไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อร่วมทํา สังคายนา เมื่อถึงแล้ว ท่าน ได้ทําความเพียรอย่างหนักเพื่อให้สําเร็จอรหันต์ก่อนการทําสังคายนาแต่ก็ยังไม่ สําเร็จ เพื่อน ๆ ได้ตักเตือนท่านว่าในวันรุ่งขึ้นท่านจะต้องเข้าไปนั่งในสังฆสันนิบาตแล้ว ขอให้ทําความเพียร อย่าประมาท ในคืนนั้น ท่านได้เดินจงกรม กําหนดกายคตาสติ จนจวบปัจจุสมัยใกล้รุ่ง จึงลงจากที่จงกรม หมายใจจะหยุดนอนพักผ่อนในวิหารสักครู่ก่อน แต่พอเอนกายลงนอน ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและ เท้าทั้งสองยังไม่พ้นจากพื้น ก็ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์

ก่อนการสังคายนาพระธรรมวินัยจะเริ่ม พระมหากัสสปเถระทั้งปัญหาหลายประการแก่พระอานนท์ อาทิ การใช้เท้าหนีบผ้าของพระศาสดาในขณะปะหรือชุนผ้า การ ไม่อาราธนาให้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดํารงพระชนม์อยู่ แม้จะได้ทรงแสดงนิมิต โอภาสหลายครั้ง ก่อนที่พระองค์จะปลงสังขาร การเป็นผู้ขวนขวาย ให้สตรีเข้ามาบวชในพุทธศาสนา การ ไม่กราบทูลถามเรื่องสิกขาบทเล็กน้อยที่พระพุทธองค์ทรงตรัสให้สงฆ์ ถอนได้ว่าคือสิกขาบทอะไรบ้าง และการจัดสตรีให้เข้าไปถวายบังคมพระพุทธสรีระก่อนบุรุษภายหลัง ปรินิพพาน ทําให้น้ำตาของสตรีเหล่านั้นเปื้อนพระพุทธสรีระ ถึงแม้พระอานนท์เถระจะอ้างเหตุผลมากล่าว แก่ที่ประชุมสงฆ์ แต่เมื่อที่ประชุมสงฆ์เห็นว่าเป็นอาบัติ ท่านก็แสดงอาบัติต่อสงฆ์ หรือแสดงการยอมรับผิด

การแสดงอาบัติของพระอานนท์นั้นเป็นกุศโลบายของพระมหากัสสปเถระที่ต้องการจะวาง ระเบียบวิธีการปกครองคณะสงฆ์ให้ที่ประชุมเห็นว่า อํานาจของสงฆ์นั้นยิ่งใหญ่เพียงใด คําพิพากษาวินิจฉัย ของสงฆ์ถือเป็นคําเด็ดขาด แม้จะเห็นว่าตนไม่ผิด แต่เมื่อสงฆ์เห็นว่าผิด ผู้นั้นก็ต้องยอม เป็นตัวอย่างที่ภิกษุ สงฆ์รุ่นหลังจะได้ยอมทําตาม นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมเกียรติคุณของพระอานนท์เถระ ให้เป็นตัวอย่างของ ผู้ว่าง่าย เคารพยําเกรงผู้ใหญ่ เป็นปฏิปทาที่ใครๆ พากันอ้างถึงด้วยความนิยมชมชอบในกาลต่อมา

ภายหลังสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระอานนท์ได้เที่ยวจาริก สั่งสอนเวไนยสัตว์แทนองค์พระศาสดา จนพระชนมายุของท่านล่วงเข้า 120 ปี ท่านจึงได้พิจารณาอายุสังขาร ของท่านพบว่า อายุสังขารของท่านนั้นยังอีก 7 วันก็จะสูญสิ้นเข้าสู่พระนิพพาน ท่านจึงพิจารณาว่าท่านจะ เข้านิพพาน ณ ที่ใด ก็เห็นว่าท่านจะเข้านิพพานที่ปลายแม่น้ำโรหิณี ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ กับเมือง

โกลิยะ ซึ่งมีพระประยูรญาติอยู่ทั้ง 2 ฝ่าย บรรดาพระประยูรญาติและชนที่มาชุมนุมกัน ณ ที่นั้นต่างก็รองรับ พระธาตุไว้แล้วสร้างพระเจดีย์บรรจุไว้ทั้ง 2 ฟากของแม่น้ำโรหิณี

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง พระอานนท์ได้รับยกย่อเป็นเลิศหลายด้าน คือ

1. ผู้เป็นเลิศทางพหูสูต คือ คงแก่เรียน ใฝ่ศึกษา ฟังมาก

2. เป็นผู้มีสติมั่นคง มีความระลึกรู้และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

3. เป็นผู้มีสติปัญญาดี จดจําพุทธพจน์ได้เป็นอย่างดีทั้งหมด

4. เป็นผู้มีความเพียร มีความพยายามในการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติธรรม

5. เป็นพุทธอุปัฏฐาก คอยรับใช้พระพุทธเจ้าอย่างดียิ่ง