ตอนที่ 1 หลักปฏิบัติตามทางสายกลางของพระพุทธศาสนาและศาสนาที่ตนนับถือ

  การดําเนินชีวิตของมนุษย์ให้ประสบกับความสุขและความสําเร็จนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ยึดทาง สายกลางประพฤติปฏิบัติให้เกิดความสมดุลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ไม่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป เช่น บํารุงบําเรอร่างกายด้วยวัตถุอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันก็ไม่เอนเอียงไปทางจิตมากเกินจนไม่ให้ความสําคัญแก่ ร่างกายเลยกลายเป็นการทรมานร่างกายให้ลําบากด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งวิธีการปฏิบัติที่ไม่สมดุลนี้พระพุทธองค์ ได้ทดลองปฏิบัติมาแล้ว ได้แก่ การบําเพ็ญทุกรกิริยา อดอาหารจนร่างกายผ่ายผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ก็ไม่สามารถทําให้พระองค์ตรัสรู้ได้ จึงเห็นว่าเป็นวิธีการที่มิใช่แนวทางที่ถูกต้อง พระพุทธองค์จึงแนะนําให้ ปฏิบัติตามทางสายกลาง ไม่เอียงสุดไปทางด้านใดด้านหนึ่ง อันเป็นหนทางที่นําพระพุทธองค์ไปสู่การค้นพบ ความจริงอันประเสริฐและเข้าถึงนิพพานในที่สุด ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลางของพระพุทธเจ้าสามารถสรุป เป็นหลักยึดอยู่ 3 ประการ 

  1. ทางสายกลางนั้นชอบด้วยเหตุผลและมีคุณฝ่ายเดียว

  2. ทางสายอื่นที่เอียงสุดเป็นทางที่มีโทษมาก จะมีคุณบ้างก็ส่วนน้อย
  3. ทางสายกลางต้องเป็นทางที่นําไปสู่ความพ้นทุกข์และสามารถหลุดพ้นจากกิเลส

  ทางสายกลางในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา หรือเรียกง่ายๆว่ามรรค ซึ่งแปลว่า ทาง มีองค์ประกอบ 8 ประการ และทําให้ผู้ดําเนินตามเป็นอารยชนจึงเรียกชื่อเต็มว่าอริยอัฏจังคิกมรรค หรือ มรรคมีองค์แปด ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกต้องตามทํานองคลองธรรม ตามความเป็นจริงด้วย ปัญญา เช่น เห็นว่าทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว เห็นว่านรกสวรรค์มีจริง เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม

  2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดําริชอบ หมายถึง การใช้สมองคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม เช่น ดําริไม่ปองร้ายผู้อื่น ดําริไม่พยาบาทเบียดเบียนผู้อื่น คิดจะหลีกเลี่ยงอบายมุขทั้งปวง

  3. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ หมายถึง การพูดสนทนาแต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงามด้วยถ้อยคําสุภาพ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดคําหยาบ ไม่พูดส่อเสียด

  4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทําชอบ หมายถึงการประพฤติดีงามทางกาย เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม

  5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ หมายถึง การทํามาหากินอย่างสุจริต ไม่ประกอบอาชีพทุจริต ไม่ประกอบอาชีพมิจฉาวณิชชา คือ ค้ามนุษย์ ค้าอาวุธ ค้าสิ่งเสพติด ค้าน้ำเมาหรือสุรา ค้าเนื้อสัตว์

  6. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ หมายถึง ความอุตสาหพยายาม ประกอบความเพียรในทางกุศล เช่น พยายามระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นในจิตใจ พยายามละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดสิ้นไป พยายาม สร้างความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พยายามรักษาความดีที่มีให้คงอยู่ตลอดไป

  7. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ หมายถึง การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย มีสติ ดํารงอยู่ด้วยความรู้ตัว อยู่เป็นปกติ มีสติขณะที่คิด พูด และกระทํา

  8. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ หมายถึง การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส การตั้งจิต ให้แน่วแน่เป็นสมาธิ ปราศจากนิวรณ์ 5 คือเครื่องที่ปิดกั้นไม่ให้จิตเป็นสมาธิ ได้แก่ ความใคร่ในกาม ความพยายาม ปองร้ายเขา ความง่วงซึม ความฟุ้งซ่านรําคาญใจ และความลังเลสงสัย

  มรรคมีองค์แปด สามารถสรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังแผนภูมิพีระมิดข้างล่างนี้

  สัมมาทิฏฐิ ปัญญา สัมมาสังกัปปะ สมาธิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ศีล สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเป็นศีลซึ่งเป็นพื้นฐานทําให้เกิดสมาธิ เราจะมีสมาธิ ได้ต่อเมื่อเรามีศีล ประพฤติดีประพฤติชอบ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเป็นสมาธิ เมื่อเรามี สมาธิก็จะทําให้เกิดปัญญา ปัญาจะทําให้เรามีความเห็นชอบ คิดชอบ ประพฤติถูกต้องตามทํานองคลองธรรม ดังนั้นศีลจึงเป็นพื้นฐานทําให้เกิดสมาธิ สมาธิทําให้เกิดปัญญา

การนําอริยมรรคไปประยุกต์ใช้

  อริยมรรคหรือทางสายกลาง เป็นหลักคําสอนในพระพุทธศาสนาที่มีข้อปฏิบัติให้ยึดหลักความพอดี ไม่มาก ไม่น้อย ไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป ซึ่งเราสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการดําเนินชีวิตได้อย่างมี ความสุข เช่น การทํางานเราก็ต้องทําให้พอดีกับกําลังกาย กําลังสติปัญญา ไม่ควรหักโหมจนเกิด ความเครียด ร่างกายทรุดโทรม รับประทานอาหารก็ให้พอดี ถ้ารับประทานมากเกินไปก็จะทําให้อึดแน่นท้องรับประทานน้อยเกินไปก็จะไม่อิ่ม หิว ไม่มีสมาธิทํางาน อ่อนเพลีย การออกกําลังกายก็ควรออกให้พอดีไม่หักโหม เพราะอาจทําให้เจ็บป่วยได้ แต่ถ้าหากออกกําลังกายน้อยไปก็จะไม่มีภูมิต้านทาน อย่างนี้เป็นต้น ทางสายกลางหรือความพอดีของแต่ละคนอาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับอัตภาพของแต่ละบุคคล เช่น ผู้มีทรัพย์ มากบริจาคเงินทําบุญมากก็ไม่เดือดร้อน ผู้มีทรัพย์น้อย หากบริจาคเงินทําบุญจํานวนมากก็จะเดือดร้อน ผู้มี ร่างกายแข็งแรง บิ๊กปืน ก็สามารถยกของหนักได้มากกว่าผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรงหรือบอบบาง ดังนั้นเราควร ดําเนินชีวิต โดยยึดหลักทางสายกลาง ความพอดี ตามอัตภาพของตนเอง ก็จะทําให้มีความสุขในชีวิต


สรุปสาระสําคัญ

  หลักการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา ทรงสอนให้ยึดทางสายกลาง ซึ่งเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา กําหนดข้อปฏิบัติเรียกว่า มรรคมีองค์แปด บุคคลใดสามารถปฏิบัติตนตามหลักมรรคมี องค์แปด ได้ ก็จะทําให้สามารดําเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข