เรื่องที่ 3.4 วัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล 

ที่มา: https://www.baanmaha.com/community/showthread.php?21942-วันดำรงราชานุภาพ-วันที่-21-มิถุนายน



  สังคมไทยรู้จักการเลือกสรรสิ่งที่เป็นประโยชน์ และสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของคนไทย เป็นการผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิม มีการยอมรับและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมถ้าสิ่งนั้นสอดคล้องกับ ความประพฤติที่มีอยู่เดิม

  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า คนไทยมีลักษณะที่เอื้อต่อการ ปรับตัว คือ คนไทยรักอิสระ มีขันติธรรมไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้จักประสานประโยชน์ ดังนั้น คนไทยจึงมีวิถีชีวิตที่ ไม่ขัดกับกระแสโลก วัฒนธรรมไทยจึงมีความเจริญงอกงาม ไม่หยุดนิ่งดังเช่นวัฒนธรรมของชนเผ่า เช่น อินเดียน พื้นเมือง หรือชนเผ่าต่าง ๆ ในอดีต


  นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีก เช่น พระพุทธศาสนา ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยมาก โดยเฉพาะ ด้านคติธรรม เช่น การสอนคุณธรรมต่าง ๆ อาทิ ความกตัญญูกตเวที การมีสัมมาคารวะ ความสุภาพอ่อนน้อม อย่างไร ก็ตาม ถ้าคนไทยเห็นว่าทำแล้วได้ประโยชน์ที่จะรักษาและปฏิบัติตาม เช่น การสรงน้ำพระในวันสงกรานต์ พิธีแรกนาขวัญ ทำเพื่อให้ปลูกข้าวได้ผลดี รวมทั้งผู้มีอิทธิพล หรือผู้มีอำนาจจะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมได้มากขึ้น เช่น เจ้านายหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 นิยมแต่งกายแบบยุโรป ทำให้ประชาชน นิยมเลียนแบบตามไปด้วย 

ที่มา: https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/897033/

ที่มา: https://aomhugdaily.com/content/8506/



  อย่างไรก็ตาม บางสิ่งบางอย่างที่ไม่ได้รับการยอมรับ ได้แก่ ความรู้สึก หรืออารมณ์ที่ผูกพันกับสิ่งเก่าๆ ตามความเคยชิน เช่น คนแก่ในชนบทมักกลัวการเข้าโรงพยาบาล เพราะคิดว่าเป็นสถานที่ที่จะต้องไปตาย และ ทัศนคติบางอย่างที่คนรู้ว่าดีแต่ไม่ยอมรับ เช่น ชาวชนบทนิยมเก็บเงินไว้ที่บ้าน ไม่นิยมฝากเงินไว้กับธนาคาร เป็นต้น


  เมื่อสังคมไทยมีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันตก และชาติตะวันออก ทำให้เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ ๆ มีการนำมาปรับให้เหมาะสมและหลอมเป็นวัฒนธรรมไทย เช่น ตัวอักษรไทย ประยุกต์มาจากอักษรขอม และนำมาจัดวางสระใหม่ ขนมไทยในอดีตใช้มะพร้าวและแป้งเป็นส่วนผสมที่ สำคัญ เช่น ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมต้ม จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ (Marie Gimar) ภรรยาของออกญาวิไชเยนทร์ สอนให้คนไทยทำขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนผสมสำคัญ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น ในสมัยต่อมาขนมไทยดังกล่าวกลายเป็นขนมมงคล เพราะมีคำว่า “ทอง” ซึ่งคนไทยถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

ที่มา: http://natty-thaidessert.blogspot.com/2010/07/blog-post.html

ที่มา: https://www.radiodailynews.com/ดนตรีไทยกับเอกลักษณ์ขอ/


  ดนตรีไทยถือว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมไทยที่สามารถสื่อถึงความเป็นไทยได้ เป็นอย่างดี ทั้งวัสดุที่ใช้ทำจากภูมิปัญญาไทย อย่างไรก็ตาม มีเครื่องดนตรีหลายอย่างที่มีการรับและผสมผสานกับเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น กระจับปี่ แตร ปี่ไฉน จากประเทศอินเดีย ปี กลองแขกจากชวา ประเทศอินโดนีเซีย ตะโพน ฆ้อง จะเข้ จากมอญ เป็นต้น




   ในปัจจุบันการรับวัฒนธรรมสากลของคนไทยมีมากขึ้นด้วยอิทธิพลของสื่อสารมวลชนต่าง ๆ เช่น อาหาร ภาษาการแต่งกาย เทคโนโลยี ศิลปะ การก่อสร้างบ้านเรือนและสถาปัตยกรรม เกิดการผสมผสาน วัฒนธรรมขึ้น ขณะเดียวกันชาวต่างชาติก็รับวัฒนธรรมไทยเข้าไปผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง ด้วยเช่นกัน

ที่มา: https://www.bltbangkok.com/lifestyle/entertainment/27189/

ที่มา: https://www.iop.co.th/album/4907/calendar-thai-people039s-way-of-life

สรุปสาระสำคัญ

       วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต (The way of life) ของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่วิธีแต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีจราจรและขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ วิธีแสดง ความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต โดยแนวทางการแสดงออกถึงวิถีชีวิตนั้นอาจเริ่มมาจาก เอกชนหรือคณะบุคคลทำเป็นตัวแบบแล้วคนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติสืบต่อกันมา วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไป ตามเงื่อนไขและกาลเวลาเมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนอง ความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ซึ่งอาจทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้ วัฒนธรรมเดิม ดังนั้นการรักษาหรือธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมเดิมจึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนา วัฒนธรรมให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย