เรื่องที่ 1.7

พระธัมมทินนาเถรี

ที่มา : https://sites.google.com/site/maxnapk/phra-thrrm-thin-na-theri

เรื่องที่ 1.7 พระธัมมทินนาเถรี

พระธัมมทินนาเถรี ผู้ได้รับการแต่งตั้งจาก พระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุณีทั้งหลายผู้ เป็นธรรมกถึก ก็โดยเหตุ 2 ประการ คือ เป็นผู้ยิ่งด้วย คุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นอย่างชัดเจนในคุณ ข้อนี้ของท่าน และได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสน กัลป์ ในที่สุดก็บรรลุผลสําเร็จ

พระธัมมทินนาเถรีถือกําเนิดในสกุลเศรษฐี ที่มั่งคั่ง มีทรัพย์มากในพระนครราชคฤห์ เมื่อเติบ ใหญ่ได้แต่งงานมีครอบครัวกับวิสาขเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์นั่นเอง

ต่อมาเมื่อครั้งที่พระเจ้าผู้มีพระภาคเจ้าเทศนา โปรดเหล่าชฏิลทั้งสามพร้อมทั้งบริวาร ที่อุรุเวลาเสนานิคมแล้วก็ทรงระลึกถึงปฏิญญาที่ได้ทรงให้ไว้กับพระเจ้า พิมพิสารเมื่อก่อนที่จะทรงตรัสรู้ว่าถ้าตรัสรู้แล้วก็จะทรงมาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จึงได้เสด็จดําเนินไปยังกรุงราชคฤห์ กับหมู่ภิกษุซึ่งเป็นชฏิลเก่า แล้วทรงแสดงธรรมถวายพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเสด็จพระราชดําเนินมาพร้อมกับ บริวารแสนสองหมื่นคนเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า

ในคนแสนสองหมื่นคนที่มาพร้อมกับพระราชาในครั้งนั้น หนึ่งหมื่นคนประกาศตนเป็นอุบาสก อีกหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคนพร้อมกับพระเจ้าพิมพิสาร ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล วิสาขอุบาสก สามีของ พระธัมมทินนา เป็นคนหนึ่งในจํานวนนั้นซึ่งเป็นผู้ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผลในการเฝ้าครั้งแรกนั่นเอง

ในวันต่อมาวิสาขอุบาสกก็ได้ฟังธรรมอีก ในครั้งนี้อุบาสกสําเร็จสกทาคามิผลและหลังจากนั้นอีก หนึ่งวัน เมื่อได้ฟังธรรมอีก จึงได้ดํารงอยู่ในอนาคามิผล ในวันที่วิสาขอุบาสกสําเร็จเป็นเป็นพระอนาคามี แล้วเดินทางกลับบ้าน ก็ไม่ได้กลับมาเหมือนอย่างวันอื่น ที่เมื่อกลับมาก็มองนั่นดูนี่ หัวเราะยิ้มแย้มพลางเดิน เข้ามา หากแต่กลายเป็นคนสงบกายสงบใจเดินเข้าบ้านไป

พระธัมมทินนาแง้มหน้าต่างมองไปที่ถนนเห็นเหตุการณ์ในการมาของสามีแล้วก็สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับ สามี เมื่อนางออกมายืนที่หัวบันไดทําการต้อนรับเขาพลางก็เหยียดมือยื่นออกไปให้สามีจับสามีกลับหดมือของตนเสีย

นางคิดว่าจะไปถามในเวลารับประทานอาหาร แต่ก่อนสามีจะรับประทานพร้อมกันกับนางแต่วันนั้น กลับไม่ยอมมองนาง รับประทานอาหารคนเดียว นางคิดว่าจะไปถามเวลานอน ในวันนั้นสามีไม่ยอมเข้า ห้องนอน กลับสั่งให้จัดห้องอื่นให้

พระธัมมทินนาคิดว่าตนคงกระทําความผิดอันใดไว้สามีจึงไม่ยอมพูดด้วย ไม่นอนร่วมห้องด้วย ก็เกิด ความเสียใจอย่างรุนแรง จึงเข้าไปหาแล้วถามว่า ตัวนางเองมีความผิดอะไรสามีจึงไม่ยอมถูกเนื้อต้องตัว ไม่ยอม พูดด้วย และไม่ยอมนอนร่วมห้องด้วย

วิสาขอุบาสกจึงบอกว่า ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วได้บรรลุโลกุตตรธรรม ผู้ได้ บรรลุโลกุตตรธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ประพฤติอย่างที่เคยทํามาแต่ก่อน ท่านยอมสละทรัพย์สมบัติและให้อิสระ แก่นาง นางจึงถามว่า “ธรรมนั้นผู้ชายเท่านั้นหรือที่พึงได้ หรือแม้เป็นผู้หญิงก็สามารถบรรลุได้ด้วย”

ที่มา : https://sites.google.com/site/maxnapk/phra-thrrm-thin-na-theri

เมื่อทราบว่าผู้หญิงก็สามารถบรรลุธรรมได้พระธัมมทินนาจึงขออนุญาตบวชในสํานักภิกษุณี เรียนกัมมัฏฐานตามชอบใจในอารมณ์สามสิบแปดอย่างเริ่มทําสมณธรรม จนได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระธัมมทินนาเถรีคิดว่าใจของนางหมดกิเลสแล้วบัดนี้นางจะอยู่ทําอะไร ในที่นี้ นางจะไปกรุงราชคฤห์ถวายบังคมพระศาสดาและพวกญาติของนางเป็นจํานวนมากจะกระทําบุญ พระเถรีจึง กลับมากรุงราชคฤห์กับภิกษุณีทั้งหลาย

วิสาขะได้ฟังว่าพระธัมมทินนาเถรีกลับมาจึงคิดว่า นางบวชแล้วยังไม่นานเลยก็กลับมา นางคงจะยัง ยินดีอยู่ใน โลกีย์วิสัยละมัง แล้วก็ได้ไปสํานักนางภิกษุณี ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง แล้วจึงคิดว่าจะถาม ถึงเรื่องที่ตนสงสัยก็เห็นจะไม่สมควร จึงถามปัญหาด้วยอํานาจปัญจขันธ์

พระธัมมทินนาเถรีก็วิสัชนาปัญหาที่วิสาขอุบาสกถามแล้ว เหมือนเอาพระขรรค์ตัดก้านบัวฉะนั้น

อุบาสกรู้ว่า พระธัมมทินนาเถรีมีญาณกล้าจึงถามปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อย ๆ พระเถรีก็เฉลย ปัญหาเหล่านั้นโดยลําดับ จนในที่สุด อุบาสกถามโดยอาการทุกอย่างในอนาคามีมรรคตามลําดับ ในฐานะที่ ตนบรรลุแล้ว ทั้งยังถามปัญหาในอรหัตมรรค ซึ่งเป็นการถามตามที่ได้เล่าเรียนมา เพราะตนยังไม่บรรลุถึงขั้นนั้น

พระธัมมทินนาเถรีก็รู้ว่า อุบาสกมีวิสัยเพียงอนาคามิผลเท่านั้น คิดว่าบัดนี้ อุบาสกถามเกินวิสัยของ ตนไปและกล่าวว่า ท่านวิสาขะ ท่านยังไม่อาจกําหนดที่สุดแห่งปัญหาทั้งหลายได้ ท่านวิสาขะ ถ้าท่านยังจํานง หวังพรหมจรรย์ที่หยั่งลงสู่พระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีพระนิพพานเป็นที่สุด ท่านวิสาขะ ท่านจง ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามความข้อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์อย่างไร ก็พึงทรงจําไว้อย่างนั้น

วิสาขอุบาสกกราบทูลนัยแห่งคําถามและคําตอบทั้งหมดแด่พระศาสดา พระศาสดาทรงสรรเสริญ พระเถรีนั้นด้วยพระพุทธพจน์ว่า ภิกษุณีธัมมทินนาเป็นบัณฑิต ปัญญาเทียบกับพระสัพพัญญุตญาณ ทรงตั้ง พระธัมมทินนาเถรี ไว้ในตําแหน่งเลิศของภิกษุณีผู้เป็นธรรมกถึก

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. มีปัญญาและใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาชีวิตก่อนออกบวชนางเป็นภรรยาที่ดีของสามี หลังจากทราบความจริง ว่าสามีได้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลระดับอนาคามีแล้วนางก็ไม่โกรธแต่ยอมรับนับว่านางได้ใช้ปัญญาแก้ปัญหา

2. เป็นนักพูดนักแสดงธรรมชั้นยอด นางสามารถอธิบายธรรมได้อย่างลึกซึ้งเช่น เกี่ยวกับมรรคผล นิพพานซึ่งเป็นนามธรรมล้วน ๆ ให้วิสาขะเศรษฐีฟังจนเข้าใจแจ่มแจ้ง และพระพุทธเจ้ายอมรับและยกย่อง ให้เป็นธรรมกถึก

3. ใฝ่รู้และความก้าวหน้าในทางดี หลังจากนางได้รับทราบจากสามีถึงการออกบวชศึกษาธรรมะ นางก็ปรารถนาจะออกบวชและเมื่อบวชแล้วนางก็เพียรพยายามฝึกฝนตนเองจนเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นได้