เรื่องที่ 3.5 

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตกําเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคําด้วงมารดา น ชื่อ จันทร์ นับถือพระพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2413 ณ บ้านคําบง ตําบลโขงเจียม อําเภอ โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 7 คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็น คนร่างเล็กผิวดําแดงแข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กําเนิดฉลาดเป็นผู้ว่านอน สอนง่าย ได้เรียนอักษรในสํานักของอา คือ เรียนอักษร ไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอม อ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็วเพราะมีความทรงจําดี และขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ

เมื่อหลวงปู่มันอายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสํานักบ้านคําบง ได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนามีสวดมนต์ และพระสูตรต่าง ๆ ในสํานักบรรพชาจารย์ จดจําได้รวดเร็ว อาจารย์ เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ 17 ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดา เต็มความสามารถ ท่าน เล่าว่าเมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอ ไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนหน หนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเพราะติดใจในคําสั่งของยายว่าต้องบวชให้ยาย เพราะยายได้เลี้ยงท่านยาก คําสั่งของยายนี้ คอยสะกิดใจอยู่เสมอ

ครั้นอายุหลวงปู่มั่นได้ 22 ปี ท่านเล่าว่า มีความอยากบวชเป็นกําลัง จึงอําลาบิดามารดาบวช ท่านทั้งสองก็อนุมัติตามประสงค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านได้ศึกษาในสํานัก ท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนา ราม) อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 พระอุปัชฌาย์ ขนานนาม มคธ ให้ว่าภูริทัตโต เสร็จ อุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาสํานักศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ณ วัดเลียบ ต่อไป

ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวก บําเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หุบ เขา ซอกห้วย ธารเขา เอื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลง ไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จําพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับพระธรรมเทศนา กับเจ้าคุณ พระอุบาลี (สิริจันทเถระจันทร์) 3 พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม ถ้ำสิงโต ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย จึงกลับมาภาคอิสาน ทําการอบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนาแก่สหธรรมิกและอุบาสก อุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใส มากขึ้น โดยลําดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลาย กระจายทั่วภาคอิสาน เกียรติคุณของท่านฟังเฟื่องเลื่องลือไปไกล

ธุดงควัตร ที่ท่านถือปฏิบัติเป็นประจํา 4 ประการ

เมื่อถึงวัยชรา จึงอยู่ในเสนาสนะป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกําลังที่จะภิกขาจาร บิณฑบาต เป็นที่ ๆ ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยําเกรง ไม่รบกวน นัยว่าในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริก โดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่นคราวที่ไป อยู่ภาคเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ทําให้ชาวมูเซอร์ที่พูดไม่รู้เรื่องกัน บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้

ธรรมโอวาท คําที่เป็นคติ ที่ท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อย ๆ เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทําด้วย กาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ ดังนี้

1. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเป็นเลิศ

2. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง

เมื่อท่านอธิบาย ตจะปัญจกกรรมฐาน จบลง มักจะกล่าวเตือนเป็นคํากลอนว่า แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากําเนิดใน ภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่ ดังนี้

การบําเพ็ญประโยชน์ ของท่านหลวงปู่มั่น มี 2 ประการดังนี้

1. ประโยชน์ชาติ ท่านหลวงปู่ได้เอาธุระเทศนาอบรมสั่งสอนศีลธรรมอันดีงามแก่ประชาชน พลเมือง ของทุกชาติ ในทุก ๆ ถิ่น ที่ท่านได้สัญจรไป คือ ภาคกลางบางส่วน ภาคเหนือเกือบทั่วทุกจังหวัด ภาคอิสานเกือบทั่วทุกจังหวัด ไม่กล่าวสอนให้เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองของประเทศ ทําให้พลเมืองของ ชาติ ผู้ได้รับคําสั่งสอนเป็นคนมีศีลธรรมดี มีสัมมาอาชีพง่ายแก่การปกครองของผู้ปกครอง ชื่อว่าได้บําเพ็ญ ประโยชน์แก่ชาติ ตามควรแก่สมณวิสัย

2. ประโยชน์ศาสนา ท่านหลวงปู่ได้บรรพชาและอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนา ด้วยความเชื่อ และความเลื่อมใสจริง ๆ ครั้นบวชแล้วก็ได้เอาธุระทางพระพุทธศาสนาด้วยความอุตสาหะพากเพียรจริงๆ ไม่ทอด ธุระ ในการบําเพ็ญสมณธรรม

หลวงปู่มั่น ท่านปฏิบัติธุดงควัตรเคร่งครัด นอกจากเพื่อวิเวกในส่วนตนแล้ว ท่านมุ่งไปเพื่อ สงคระห์ผู้มีอุปนิสัยในถิ่นนั้น ๆ ด้วย ผู้ได้รับสงเคราะห์ ด้วยธรรมจากท่านแล้ว ย่อมกล่าวไว้ด้วยความ ภูมิใจว่า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นคน

ส่วนหน้าที่ในวงการคณะสงฆ์ ท่านหลวงปู่ ได้รับพระกรุณาจากพระสังฆราชเจ้าในฐานะเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุตติกนิกาย ให้เป็นพระอุปัชฌายะ ตั้งแต่อยู่จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูวินัยธรฐานานุกรม ของเจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทรเถระจันทร์) ท่านก็ได้ทําหน้าที่นั้น โดยเรียบร้อยตลอดเวลา ที่ยังอยู่เชียงใหม่ ครั้นจากเชียงใหม่มาแล้ว ท่านก็งดหน้าที่นั้น โดยอ้างว่าแก่ชราแล้ว ขออยู่ตามสบาย งานศาสนา ในด้านวิปัสสนาธุระ นับว่าท่านได้ทําเต็มสติกําลัง ยังศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ปฏิบัติตลอดมา นับแต่พรรษาที่ 23 จนถึงพรรษาที่ 59 อันเป็นปีสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน อาจกล่าวได้ด้วยความภาคภูมิใจว่า ท่านเป็นพระเถระที่มีเกียรติคุณเด่นที่สุดในด้านวิปัสสนาธุระรูปหนึ่งในยุคปัจจุบัน

ที่มาจาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail